คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 226

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 698 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 186/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมกระทำความผิดลักทรัพย์: คำรับสารภาพและพยานหลักฐานสนับสนุน
จำเลยที่ 2 ได้ร่วมเจรจาและคัดเลือกสร้อยคอทองคำอยู่ด้วยกับจำเลยที่ 1 ครั้นจำเลยที่ 1 ลักเอาสร้อยคอทองคำของกลางแล้วพากันออกจากร้านของผู้เสียหายไปพร้อมกัน เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจติดตามจับกุมจำเลยทั้งสองจำเลยที่ 2 ก็ให้การรับสารภาพต่อเจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมในข้อหาลักทรัพย์และในชั้นสอบสวนจำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพข้อหาลักทรัพย์และนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพโดยสมัครใจ คำให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 2 มีรายละเอียดสอดคล้องต้องกันกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 1พยานโจทก์ย่อมมีน้ำหนักรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ลักสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายไปจริง แม้โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานที่เห็นเหตุการณ์ขณะเกิดเหตุมาเบิกความก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 86/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รับฟังคำซัดทอดผู้กระทำผิดร่วมกันได้ พยานแวดล้อมประกอบคำรับสารภาพเชื่อถือได้
แม้โจทก์จะไม่มีพยานรู้เห็นว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันลักรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหาย แต่โจทก์ก็มีพยานแวดล้อม โดยได้ตรวจพบเอกสารแสดงการทำประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถของผู้เสียหายอยู่กับพวกของจำเลย สำหรับรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายนั้น ในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ได้ให้การรับสารภาพข้อหาลักทรัพย์และได้ให้การถึงรายละเอียดวิธีการลักรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหาย เมื่อลักรถจักรยานยนต์ไปแล้วก็ได้นำไปให้จำเลยที่ 3 ซึ่งจำเลยที่ 3 ก็เบิกความได้สอดคล้องกับที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การ ฉะนั้น เมื่อพิเคราะห์พยานแวดล้อมซึ่งสมเหตุสมผลสอดคล้องกับคำรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ประกอบกับคำให้การของจำเลยที่ 3 แล้วน่าเชื่อได้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันลักทรัพย์ตามฟ้องจริง
ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้รับฟังคำซัดทอดของผู้กระทำผิดด้วยกัน ฉะนั้นการที่ศาลเห็นว่าจำเลยที่ 3 ให้การด้วยความสุจริตใจ พอให้รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 นำรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายมามอบให้โดยบอกว่าเป็นรถจักรยานยนต์ที่ลักมา จึงสามารถรับฟังประกอบการพิจารณาคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9558/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาเตรียมอาวุธและร่วมกันไปก่อเหตุ ถือเป็นตัวการร่วมในความผิดฐานฆ่าผู้อื่น แม้ไม่ได้ลงมือยิงเอง
จำเลยที่ 2 กับพวกเตรียมอาวุธปืนพกให้จำเลยที่ 1 พาติดตัวไปแล้วเดินทางไปที่เกิดเหตุด้วยกันโดยเจตนาจะไปวิวาทกับผู้เสียหายกับพวก ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 กับพวกมีเจตนาใช้อาวุธปืนนั้นในการวิวาทเมื่อพวกของจำเลยทั้งสองเข้าชกต่อยกับผู้เสียหายและพวก จำเลยที่ 2ก็ยืนอยู่กับจำเลยที่ 1 และการที่จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนพกที่เตรียมมายิงผู้เสียหายกับพวกก็อยู่ในความรู้เห็นของจำเลยที่ 2 แล้วจำเลยที่ 2ยังหลบหนีไปกับจำเลยที่ 1 และพวก แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้ร่วมชกต่อยและใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายกับพวก แต่จำเลยที่ 2 อยู่ในที่เกิดเหตุใกล้ชิดเพียงพอที่จะช่วยเหลือได้ ถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการในการใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายกับพวก มีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต และพาอาวุธปืนไปในหมู่บ้านและทางสาธารณะโดยมิได้รับอนุญาตด้วย
ความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตโจทก์ไม่ได้อาวุธปืนพกที่ใช้กระทำผิดมาเป็นของกลาง โจทก์คงนำสืบแต่เพียงว่าจำเลยทั้งสองกับพวกไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนอาวุธปืนให้มีและใช้อาวุธปืนขนาดใดเลย เมื่อโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าอาวุธปืนพกที่ใช้กระทำผิดเป็นอาวุธปืนที่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมายหรือไม่ จึงต้องฟังเป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 ว่าเป็นอาวุธปืนของผู้อื่นซึ่งได้รับอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมายอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 72 วรรคสามเท่านั้น และเมื่อโจทก์ฟ้องและนำสืบว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำผิดฐานนี้ จึงเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้อุทธรณ์ฎีกาด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9558/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางอาญาของตัวการร่วม โดยเจตนาสนับสนุนการใช้อาวุธปืน และข้อจำกัดในการพิสูจน์อาวุธปืนผิดกฎหมาย
จำเลยที่ 2 กับพวกเตรียมอาวุธปืนพกให้จำเลยที่ 1 พาติดตัวไปแล้วเดินทางไปที่เกิดเหตุด้วยกันโดยเจตนาจะไปวิวาทกับผู้เสียหายกับพวก ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 กับพวกมีเจตนาใช้อาวุธปืนนั้นในการวิวาท เมื่อพวกของจำเลยทั้งสองเข้าชกต่อยกับผู้เสียหายและพวก จำเลยที่ 2 ก็ยืนอยู่กับจำเลยที่ 1 และการที่จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนพกที่เตรียมมายิงผู้เสียหายกับพวกก็อยู่ในความรู้เห็นของจำเลยที่ 2แล้วจำเลยที่ 2 ยังหลบหนีไปกับจำเลยที่ 1 และพวก แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้ร่วมชกต่อยและใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายกับพวก แต่จำเลยที่ 2 อยู่ในที่เกิดเหตุใกล้ชิดเพียงพอที่จะช่วยเหลือได้ ถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการในการใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายกับพวก มีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต และพาอาวุธปืนไปในหมู่บ้านและทางสาธารณะโดยมิได้รับอนุญาตด้วย
ความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต โจทก์ไม่ได้อาวุธปืนพกที่ใช้กระทำผิดมาเป็นของกลาง โจทก์คงนำสืบแต่เพียงว่าจำเลยทั้งสองกับพวกไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนอาวุธปืนให้มีและใช้อาวุธปืนขนาดใดเลยเมื่อโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าอาวุธปืนพกที่ใช้กระทำผิดเป็นอาวุธปืนที่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมายหรือไม่ จึงต้องฟังเป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 ว่าเป็นอาวุธปืนของผู้อื่นซึ่งได้รับอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมาย อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯมาตรา 72 วรรคสาม เท่านั้น และเมื่อโจทก์ฟ้องและนำสืบว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำผิดฐานนี้ จึงเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 1ซึ่งมิได้อุทธรณ์ฎีกาด้วย ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8889/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังคำให้การชั้นสอบสวนประกอบการพิจารณาคดี และเจตนาฆ่าจากการกระทำด้วยอาวุธอันตราย
โจทก์มีประจักษ์พยานรู้เห็นใกล้ชิดมาให้การต่อพนักงานสอบสวนแต่ประจักษ์พยานโจทก์เบิกความในชั้นศาลเพื่อช่วยเหลือจำเลย ศาลจึงนำคำให้การของพยานโจทก์ดังกล่าวชั้นสอบสวนมาฟังประกอบข้อพิจารณาของศาลได้ ทั้งไม่มีบทบัญญัติใดห้ามมิให้ศาลรับฟังคำให้การชั้นสอบสวนหรือให้รับฟังแต่เฉพาะพยานที่มาเบิกความต่อศาลเท่านั้น เมื่อคำให้การชั้นสอบสวนเกิดขึ้นโดยสมัครใจของพยานโจทก์ ศาลจึงนำคำให้การพยานชั้นสอบสวนมาฟังประกอบได้
ผู้ตายถูกจำเลยใช้มีดอีโต้ขนาดยาวประมาณ 1 ศอก ฟันที่บริเวณศีรษะและท้อง กะโหลกศีรษะแตกมีสมองไหลไม่รู้สึกตัวเมื่อมาโรงพยาบาลจนแพทย์ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดและเย็บแผลให้ แม้แผลภายนอกจะหาย แต่ผู้ตายก็ยังมีอาการไม่สามารถพูดได้รับฟังไม่รู้เรื่อง แม้จะออกจากโรงพยาบาลมานอนรักษาตัวต่อที่บ้านอาการผู้ตายก็คงเช่นเดิม การที่จำเลยใช้มีดอีโต้ขนาดใหญ่ฟันที่บริเวณท้องและที่ศีรษะซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญจนเป็นเหตุให้ผู้ตายกะโหลกศีรษะแตกมีสมองไหลเห็นได้ชัดว่าเป็นการฟันอย่างแรง แสดงว่าจำเลยฟันโดยมีเจตนาฆ่าผู้ตาย เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา ความตายของผู้ตายย่อมเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลยที่ใช้มีดอีโต้ฟัน จำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่าผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8889/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังคำให้การพยานชั้นสอบสวนประกอบการพิจารณาคดีอาญา และการพิสูจน์ความตายจากบาดแผล
โจทก์มีประจักษ์พยานรู้เห็นใกล้ชิดมาให้การต่อพนักงานสอบสวนแต่ประจักษ์พยานโจทก์เบิกความในชั้นศาลเพื่อช่วยเหลือจำเลย ศาลจึงนำคำให้การของพยานโจทก์ดังกล่าวชั้นสอบสวนมาฟังประกอบข้อพิจารณาของศาลได้ทั้งไม่มีบทบัญญัติใดห้ามมิให้ศาลรับฟังคำให้การชั้นสอบสวนหรือให้รับฟังแต่เฉพาะพยานที่มาเบิกความต่อศาลเท่านั้น เมื่อคำให้การชั้นสอบสวนเกิดขึ้นโดยสมัครใจของพยานโจทก์ ศาลจึงนำคำให้การพยานชั้นสอบสวนมาฟังประกอบได้
ผู้ตายถูกจำเลยใช้มีดอีโต้ขนาดยาวประมาณ 1 ศอก ฟันที่บริเวณศีรษะและท้อง กะโหลกศีรษะแตกมีสมองไหลไม่รู้สึกตัวเมื่อมาโรงพยาบาลจนแพทย์ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดและเย็บแผลให้ แม้แผลภายนอกจะหาย แต่ผู้ตายก็ยังมีอาการไม่สามารถพูดได้รับฟังไม่รู้เรื่อง แม้จะออกจากโรงพยาบาลมานอนรักษาตัวต่อที่บ้านอาการผู้ตายก็คงเช่นเดิม การที่จำเลยใช้มีดอีโต้ขนาดใหญ่ฟันที่บริเวณท้องและที่ศีรษะซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญจนเป็นเหตุให้ผู้ตายกะโหลกศีรษะแตกมีสมองไหลเห็นได้ชัดว่าเป็นการฟันอย่างแรง แสดงว่าจำเลยฟันโดยมีเจตนาฆ่าผู้ตาย เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา ความตายของผู้ตายย่อมเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลยที่ใช้มีดอีโต้ฟัน จำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่าผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7547/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางอาญาจากการใช้เรือโดยประมาทและเจตนาจนน่าเกิดอันตราย เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 1(ข) โดยสรุปว่า จำเลยทั้งห้าร่วมกันดัดแปลงต่อเติมเรือเอี้ยมจุ๊นซึ่งมิใช่เรือที่ทำขึ้นสำหรับขนส่งคนโดยสารโดยไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการและไม่ได้มาตรฐานโดยต่อเติมชั้นสองของเรือเป็นดาดฟ้าให้บรรทุกขนส่งคนโดยสารได้ ส่วนของโครงหลังคาชั้นสองมีเสาเหล็กรองรับ 17 ต้น ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว พื้นดาดฟ้าชั้นสองเป็นเหล็กแผ่นเรียบ หนาประมาณ 1 หุน ยึดติดกับเสาเหล็กไม่แข็งแรง คานรับดาดฟ้าเล็ก และดาดฟ้าสูงจากพื้นชั้นล่าง 2.10 เมตร ซึ่งสูงเกินไปไม่สามารถบรรทุกคนโดยสารได้อย่างปลอดภัยและไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่เจ้าพนักงานกรมเจ้าท่าจะออกใบอนุญาตใช้เรือให้เป็นเรือรับจ้างขนส่งคนโดยสารได้และตามวันเวลาในฟ้องข้อ 1 จำเลยทั้งห้าใช้เรือลำเกิดเหตุบรรทุกคนโดยสารมากถึง 70 คน ซึ่งลักษณะและการบรรทุกน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลในเรือ แล้วแล่นไปในบริเวณอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์และการกระทำของจำเลยทั้งห้าเป็นความประมาทปราศจากความระมัดระวังซึ่งจำเลยทั้งห้าจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ แต่จำเลยทั้งห้าหาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ เมื่อดาดฟ้าชั้นสองไม่สามารถรับน้ำหนักคนโดยสารเป็นจำนวนมากหักลง เรือเสียการทรงตัวและพลิกคว่ำเป็นเหตุให้คนโดยสารจมน้ำตาย 39 คน ดังนี้ คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยทั้งห้าได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยทั้งห้าเข้าใจข้อหาได้ดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) และครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 233 และองค์ประกอบของการกระทำโดยประมาทตามมาตรา 59 วรรคสี่ คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
แม้การตกลงว่าจ้างเรือทั้งสองลำกระทำในคราวเดียวกันและมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน แต่เรือที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 ใช้กระทำความผิดในคดีนี้กับเรือที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 ใช้กระทำความผิดในคดีอาญาของศาลแขวงขอนแก่น เป็นเรือคนละลำกัน สามารถแยกการกระทำออกจากกันได้กรณีจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ฉะนั้น แม้ศาลฎีกาจะมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในคดีอาญาของศาลแขวงขอนแก่น โจทก์ก็ยังมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2และที่ 4 ในคดีนี้ หาเป็นฟ้องซ้ำไม่
พยานโจทก์ทั้งสองจบการศึกษาจากโรงเรียนนายเรือ หลักสูตร 5 ปี เรือโท ส. รับราชการที่กรมเจ้าท่าในตำแหน่ง เจ้าพนักงานตรวจเรือเป็นเวลาประมาณ 3 ปี มีหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจเรือมาโดยตลอด ส่วนเรือเอก ช. รับราชการเป็นเจ้าท่าภูมิภาคที่ 7 มีตำแหน่งเป็นเจ้าพนักงานตรวจเรือตั้งแต่ปี 2510 ถึง 2530 พยานทั้งสองจึงเป็นผู้ชำนาญการพิเศษในการตรวจเรือความเห็นของพยานทั้งสองจึงเป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยชี้ขาดและมีน้ำหนักให้รับฟังได้
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ร่วมทุนกันซื้อเรือลำเกิดเหตุซึ่งเป็นเรือเอี้ยมจุ๊นมาต่อเติมดัดแปลงเป็นเรือสองชั้นเพื่อรับจ้างขนส่งคนโดยสารไปชมทิวทัศน์ในอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ โดยจำเลยที่ 2 มีหน้าที่ยื่นขอใบอนุญาตใช้เรือต่อการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ดูแลเขื่อนอุบลรัตน์ จำเลยที่ 3มีหน้าที่จัดหาผู้โดยสารเรือ จำเลยที่ 4 มีหน้าที่ออกแบบต่อเติมเรือและได้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ควบคุมเรือลำเกิดเหตุซึ่งมีลักษณะน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลในเรือนั้น ไปใช้รับจ้างขนส่งคนโดยสารด้วยการบรรทุกจนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลในเรือนั้น จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จึงเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 233 ประกอบด้วยมาตรา 83เมื่อการกระทำนั้นเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4จึงต้องรับโทษหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 238 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ใช้เรือลำเกิดเหตุรับจ้างขนส่งคนโดยสารโดยเจตนาจนน่าจะเกิดอันตรายแก่บุคคลในเรือนั้น อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 233 กรณีไม่ใช่กระทำโดยประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคสี่ ซึ่งจะต้องเป็นการกระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แม้ผลแห่งการกระทำของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตายอันนอกเหนือจากเจตนาที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลก็ตาม แต่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 238 วรรคหนึ่ง ก็บัญญัติให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 รับโทษหนักขึ้นในผลแห่งการกระทำความผิดตามมาตรา 233จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงไม่มีความผิดฐานกระทำโดยประมาทและการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายอีกบทหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7547/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางอาญาจากการใช้เรือโดยประมาทและโดยเจตนา จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 1 (ข) โดยสรุปว่า จำเลยทั้งห้าร่วมกันดัดแปลงต่อเติมเรือเอี้ยมจุ๊นซึ่งมิใช่เรือที่ทำขึ้นสำหรับขนส่งคนโดยสารโดยไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการและไม่ได้มาตราฐานโดยต่อเติมชั้นสองของเรือเป็นดาดฟ้า ให้บรรทุกขนส่งคนโดยสารได้ ส่วนของโครงหลังคาชั้นสองมีเสาเหล็กรองรับ 17 ต้น ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว พื้นดาดฟ้าชั้นสองเป็นเหล็กแผ่นเรียบ หนาประมาณ 1 หุน ยึดติดกับเสาเหล็กไม่แข็งแรง คานรับดาดฟ้าเล็ก และ ดาดฟ้าสูงจากพื้นชั้นล่าง 2.10 เมตร ซึ่งสูงเกินไปไม่สามารถบรรทุกคนโดยสารได้อย่างปลอดภัย และไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ ที่เจ้าพนักงานกรมเจ้าท่าจะออกใบอนุญาตใช้เรือให้เป็นเรือรับจ้างขนส่งคนโดยสารได้ และตามวันเวลาในฟ้องข้อ 1 จำเลยทั้งห้าใช้เรือลำเกิดเหตุบรรทุกคนโดยสารมากถึง 70 คน ซึ่งลักษณะและการบรรทุกน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลในเรือแล้วแล่นไปในบริเวณอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ และการกระทำของจำเลยทั้งห้า เป็นความประมาทปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งจำเลยทั้งห้าจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ แต่จำเลยทั้งห้าหาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ เมื่อดาดฟ้าชั้นสองไม่สามารถรับน้ำหนักคนโดยสารเป็นจำนวนมากหักลง เรือเสียการทรงตัวและพลิกคว่ำเป็นเหตุให้คนโดยสารจมน้ำตาย 39 คน ดังนี้ คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยทั้งห้าได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและ รายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยทั้งห้าเข้าใจข้อหาได้ดี ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) และครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 233 และ องค์ประกอบของการกระทำโดยประมาทตามมาตรา 59 วรรคสี่ คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
แม้การตกลงว่าจ้างเรือทั้งสองลำกระทำในคราวเดียวกัน และมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน แต่เรือที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 ใช้กระทำความผิดในคดีนี้กับเรือที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 ใช้กระทำความผิดในคดีอาญาของศาลแขวงขอนแก่นเป็นเรือคนละลำกัน สามารถแยกการกระทำออกจากกันได้ กรณีจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ฉะนั้นแม้ศาลฎีกา จะมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในคดีอาญาของศาลแขวงขอนแก่น โจทก์ก็ยังมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 4 ในคดีนี้ หาเป็นฟ้องซ้ำไม่
เรือโท ส. และเรือเอก ช. พยานโจทก์ทั้งสองจบการศึกษาจากโรงเรียนนายเรือ หลักสูตร 5 ปี เรือโท ส. รับราชการ ที่กรมเจ้าท่าในตำแหน่ง เจ้าพนักงานตรวจเรือเป็นเวลาประมาณ 3 ปี มีหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจเรือมาโดยตลอด ส่วนเรือเอก ช. รับราชการเป็นเจ้าท่าภูมิภาคที่ 7 มีตำแหน่งเป็นเจ้าพนักงานตรวจเรือตั้งแต่ปี 2510 ถึง 2530 พยานทั้งสอง จึงเป็นผู้ชำนาญการพิเศษในการตรวจเรือ ความเห็นของพยานทั้งสองจึงเป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยชี้ขาดและ มีน้ำหนักให้รับฟังได้
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ร่วมทุนกันซื้อเรือลำเกิดเหตุซึ่งเป็นเรือเอี่ยมจุ๊นมาต่อเติมดัดแปลงเป็นสองชั้นเพื่อรับจ้าง ขนส่งคนโดยสารไปชมทิวทัศน์ในอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ โดยจำเลยที่ 2 มีหน้าที่ยื่นขอใบอนุญาตใช้เรือต่อการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ดูแลเขื่อนอุบลรัตน์ จำเลยที่ 3 มีหน้าที่จัดหาผู้โดยสารเรือ จำเลยที่ 4 มีหน้าที่ออกแบบต่อเติมเรือ และได้ว่าจ้าง จำเลยที่ 1 ควบคุมเรือลำเกิดเหตุซึ่งมีลักษณะน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลในเรือนั้นไปใช้รับจ้างขนส่งผู้โดยสารด้วยการบรรทุกจนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลในเรือนั้น จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จึงเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 233 ประกอบด้วยมาตรา 83 เมื่อการกระทำนั้นเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตายจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จึงต้องรับโทษหนักขึ้นตาม ป.อ. มาตรา 238 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ใช้เรือลำเกิดเหตุรับจ้างขนส่งโดยสารโดยเจตนาจนน่าจะเกิดอันตรายแก่บุคคลในเรือนั้น อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 233 กรณีไม่ใช่การกระทำโดยประมาทตาม ป.อ. มาตรา 59 วรรคสี่ ซึ่งจะต้องเป็นการกระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แม้ผลแห่งการกระทำของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย อันนอกเหนือจากเจตนาที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลก็ตาม แต่ ป.อ. มาตรา 238 วรรคหนึ่ง ก็บัญญัติให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 รับโทษหนักขึ้นในผลแห่งการกระทำความผิดตามมาตรา 233 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงไม่มีความผิดฐานกระทำโดยประมาทและการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย กรณีเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 1 มิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาตลอดจนไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาให้มิต้องถูกรับโทษในบทมาตราดังกล่าวด้วย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7355/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางประกันค่าอากร, การตรวจค้นเอกสาร, และดุลพินิจศาลในการบันทึกคำพยาน
ตาม พ.ร.บ. ศุลกากรฯ มาตรา 112 ในกรณีที่มีปัญหาค่าอากรสำหรับของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ผู้นำเข้าสามารถนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาวางแทนการวางเงินเพิ่มเติมเป็นประกันก็ได้ และนำสินค้าออกไปจากอารักขาของศุลกากร ทั้งนี้ ก็เพื่อความสะดวกแก่ผู้นำเข้าเองโดยไม่ต้องนำของนั้นไปยังศุลกสถานหรือเก็บไว้ในที่มั่นคงแห่งใด ส่วนการที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะชักตัวอย่างของไว้วินิจฉัยปัญหาก็เพื่อเปรียบเทียบราคาตลาดกับสินค้าที่มีชนิด คุณภาพ ปริมาณ น้ำหนักอย่างเดียวกัน หากพนักงานเจ้าหน้าที่มิได้ชักตัวอย่างสินค้าไว้ ก็เป็นภาระของพนักงานเจ้าหน้าที่ ที่จะต้องพิสูจน์ให้ได้ความว่าจำเลยที่ 1 สำแดงราคาสินค้าพิพาทต่ำกว่าราคาตลาด หามีผลทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นไปโดยมิชอบไม่
จำเลยทั้งสองมิได้ให้การว่า การที่พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าตรวจค้นสำนักงานจำเลยที่ 1 แล้วยึดเอกสาร มาประเมินสินค้านั้น เป็นกรณีไม่มีเหตุที่จะออกหมายค้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 69 หมายค้นที่ออกไม่ชอบด้วยกฎหมาย พยานหลักฐานที่ได้มาจากการตรวจค้นจึงไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ การที่จำเลยทั้งสองเพิ่งยกขึ้นอ้างใน ชั้นอุทธรณ์ว่า พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าตรวจค้นสำนักงานจำเลยที่ 1 แล้วยึดเอกสารมาประเมินราคาสินค้า เป็นการไม่ชอบ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ในการพิจารณาสืบพยานนั้น เป็นดุลพินิจของศาลในการจดบันทึกคำพยาน ข้อความที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ ขอให้ศาลจดบันทึกนั้นเป็นรายละเอียดที่มีอยู่ในเอกสารแล้ว ศาลจึงไม่จำต้องบันทึกอีก ที่ศาลภาษีอากรกลางใช้ดุลพินิจ ไม่บันทึกจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6792/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันในความผิดฐานกระทำอนาจารและกระทำชำเราเด็กหญิง
จำเลยกระทำอนาจารแก่ผู้เสียหายรวม 4 ครั้ง และกระทำชำเราผู้เสียหายรวม 2 ครั้ง หลังจากกระทำความผิดในแต่ละครั้งแล้ว จำเลยมิได้ควบคุมหรือหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายไว้เพื่อกระทำอนาจารหรือกระทำชำเรา ผู้เสียหายในครั้งต่อไปอีก ผู้เสียหายกลับไปที่บ้านและมาโรงเรียนตามปกติ ผู้เสียหายจึงพ้นจากภยันตรายอันเกิดจากการกระทำความผิดของจำเลยในแต่ละครั้งไปแล้ว แม้ว่าในแต่ละครั้งจำเลยจะกระทำไปโดยมีเจตนากระทำอนาจารแก่ผู้เสียหายหรือกระทำชำเราผู้เสียหายเหมือนกันก็ตาม การกระทำความผิดของจำเลยในแต่ละครั้งจึงเป็นการกระทำต่อผู้เสียหายโดยมีเจตนาต่างกัน และมิได้เป็นการกระทำต่อเนื่องกัน หากแต่การกระทำในแต่ละครั้งเป็นการกระทำที่จำเลยเกิดมีเจตนาขึ้นใหม่ในทุกครั้งที่ลงมือกระทำ มิใช่เจตนาเดิม จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ในความผิดฐานกระทำอนาจารแก่เด็กหญิงอายุไม่เกิน 15 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้แต่เพียงว่า การกระทำของจำเลยในข้อหาดังกล่าวหาใช่เป็นความผิดกรรมเดียวไม่ ให้ลงโทษในความผิด 4 กรรม เรียงกระทงลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 91 เป็นการแก้ไขเล็กน้อยและยังคงลงโทษจำคุกกระทงละไม่เกิน 5 ปี จำเลยจึงฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้
of 70