คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 226

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 698 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6612-6613/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานวางเพลิงทำลายทรัพย์สินจากการประท้วง ความรับผิดทางอาญาจากการกระทำความผิดร่วม
น. เป็นคนหมู่บ้านเดียวกันกับจำเลยที่ 1 บ้านอยู่ห่างกันประมาณ 1 กิโลเมตรเคยเห็นจำเลยที่ 1 มาก่อนเกิดเหตุ ย่อมจำจำเลยที่ 1 ได้ไม่ผิดตัวแน่นอน และไม่เคยมีเรื่องโกรธเคืองกับจำเลยที่ 1 มาก่อน จึงไม่มีเหตุให้ระแวงว่า น. จะแกล้งใส่ร้ายปรักปรำจำเลยที่ 1 การที่ น. ไม่ได้ร้องตะโกนบอกชาวบ้านให้มาช่วยดับไฟและไม่ได้ไปแจ้งเจ้าพนักงานตำรวจทันที เพราะผู้ชุมนุมประท้วงมีมากและเจ้าพนักงานตำรวจกับประชาชนเข้าไปดับไฟก็ถูกผู้ชุมนุมประท้วงขัดขวางและทำร้ายจนไม่สามารถดับไฟได้เช่นนี้ ไม่ได้เป็นเหตุให้ไม่น่าเชื่อว่า น.ไม่เห็นเหตุการณ์ คำเบิกความของ น. สมเหตุสมผล แม้โจทก์จะมี น. เป็นประจักษ์พยานเพียงปากเดียวก็มีน้ำหนักน่าเชื่อถือพยานหลักฐานโจทก์รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานร่วมกันก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมืองและวางเพลิงเผาทรัพย์ การสอบคำให้การ ต. และนายดาบตำรวจ ป. มีขึ้นก่อนที่จำเลยที่ 2 ถูกจับกุมแม้ข้อความที่บันทึกจะเป็นพยานบอกเล่าและไม่ได้ทำต่อหน้าจำเลยที่ 2 ก็สามารถใช้รับฟังประกอบคำเบิกความของพันตำรวจโท ร. ซึ่งเป็นประจักษ์พยานลงโทษจำเลยที่ 2 ได้ จำเลยที่ 2 ถือกระป๋องน้ำมันมา และมีผู้ถือคบเพลิง 10 ถึง 20 คน เข้าไปรายล้อมจำเลยที่ 2 แล้วจำเลยที่ 2 เทน้ำมันจากกระป๋องลงไปที่คบเพลิง พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ผิดแผกไปจากผู้ประท้วงอื่น ย่อมทำให้จำเลยที่ 2 โดดเด่นน่าสนใจกว่าผู้ประท้วงอื่นการที่พันตำรวจโทร. จำจำเลยที่ 2 ได้ จึงเป็นเรื่องที่น่าเชื่อถือแม้พยานโจทก์จะไม่มีผู้ใดเบิกความว่าจำเลยที่ 2 เป็นคนจุดไฟเผาอาคารที่เกิดเหตุแต่คำเบิกความของพันตำรวจโท ร. ประกอบบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของ ต.และนายดาบตำรวจ ป. รับฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 เป็นคนราดน้ำมันลงในคบเพลิงที่ใช้โยนขึ้นไปเผาหลังคาอาคารเก็บพัสดุ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกับผู้ที่จุดไฟคบเพลิงโยนขึ้นไปบนหลังคาอาคารเก็บพัสดุอันเป็นการวางเพลิงเผาอาคารดังกล่าวแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5432/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานตำรวจกลั่นแกล้งจับกุมและเรียกรับเงินจากผู้เสียหาย เข้าข่ายความผิดฐานกรรโชก, หน่วงเหนี่ยวกักขัง, และปฏิบัติหน้าที่มิชอบ
คดีอาญา แม้ผู้เสียหายไม่ได้มาเบิกความตอบคำถามค้านของทนายจำเลยก็ตาม แต่ศาลย่อมนำคำเบิกความของผู้เสียหายตอบคำถามโจทก์มาประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์และรับฟังลงโทษจำเลยได้
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 กระทำความผิดเป็นเหตุเฉพาะตัวของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ย่อมไม่ทำให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ที่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่ากระทำความผิด จำเลยที่ 1 จึงไม่หลุดพ้นความผิด
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ มีหน้าที่จับผู้กระทำผิดกฎหมายวันเกิดเหตุจำเลยกลั่นแกล้งจับผู้เสียหายแล้วเรียกเอาเงินจากผู้เสียหายเพื่อจะได้ปล่อยผู้เสียหายจนผู้เสียหายยอมให้เงินแก่จำเลย จึงเป็นการหน่วงเหนี่ยวกักขังกับกรรโชกผู้เสียหายและปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริต
โจทก์บรรยายฟ้องข้อหาหน่วงเหนี่ยวกักขังว่า จำเลยกับพวกร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายโดยใส่กุญแจมือเป็นเหตุให้ผู้เสียหายปราศจากเสรีภาพในร่างกายแต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงว่า ได้ให้ผู้เสียหายกระทำการใดให้แก่จำเลยกับพวกหรือบุคคลอื่นอันเป็นองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 310 ทวิ แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะระบุมาตราดังกล่าวมาด้วย ก็ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้ศาลลงโทษตามบทมาตรา 310 ทวิ นี้
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยต่อผู้เสียหายในแต่ละข้อหารวมกันมาในข้อเดียวกัน แสดงว่า โจทก์ประสงค์ให้ศาลลงโทษสำหรับความผิดที่จำเลยกระทำต่อผู้เสียหายในแต่ละข้อหาเพียงกระทงเดียวการที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลย รวม 2 กระทง เป็นการพิพากษาเกินคำขอ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5432/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติหน้าที่มิชอบของเจ้าพนักงานตำรวจ, การหน่วงเหนี่ยวกักขัง, กรรโชกทรัพย์, และขอบเขตการลงโทษ
คดีอาญา แม้ผู้เสียหายไม่ได้มาเบิกความตอบคำถามค้านของทนายจำเลยก็ตาม แต่ศาลย่อมนำคำเบิกความของผู้เสียหายตอบคำถามโจทก์มาประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์และรับฟังลงโทษจำเลยได้
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 กระทำความผิดเป็นเหตุเฉพาะตัวของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ย่อมไม่ทำให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ที่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่ากระทำความผิด จำเลยที่ 1 จึงไม่หลุดพ้นความผิด
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ มีหน้าที่จับผู้กระทำผิดกฎหมายวันเกิดเหตุจำเลยกลั่นแกล้งจับผู้เสียหายแล้วเรียกเอาเงินจากผู้เสียหายเพื่อจะได้ปล่อยผู้เสียหายจนผู้เสียหายยอมให้เงินแก่จำเลย จึงเป็นการหน่วงเหนี่ยวกักขังกับกรรโชกผู้เสียหาย และปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริต
โจทก์บรรยายฟ้องข้อหาหน่วงเหนี่ยวกักขังว่า จำเลยกับพวกร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายโดยใส่กุญแจมือเป็นเหตุให้ผู้เสียหายปราศจากเสรีภาพในร่างกาย แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงว่า ได้ให้ผู้เสียหายกระทำการใดให้แก่จำเลยกับพวกหรือบุคคลอื่นอันเป็นองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ.มาตรา 310 ทวิ แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะระบุมาตราดังกล่าวมาด้วย ก็ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้ศาลลงโทษตามบทมาตรา 310 ทวิ นี้
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยต่อผู้เสียหายในแต่ละข้อหารวมกันมาในข้อเดียวกัน แสดงว่า โจทก์ประสงค์ให้ศาลลงโทษสำหรับความผิดที่จำเลยกระทำต่อผู้เสียหายในแต่ละข้อหาเพียงกระทงเดียวการที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลย รวม 2 กระทง เป็นการพิพากษาเกินคำขอ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4147/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพต่อพนักงานสอบสวน, การครอบครองยาเสพติด, และอำนาจศาลในการลงโทษตามความผิดที่เบากว่า
ในชั้นสอบสวนพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาแก่จำเลยว่ามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยก็ให้การรับสารภาพด้วยความสมัครใจว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางเป็นของ น.ที่นำมาฝากจำเลยไว้ คำให้การดังกล่าวพนักงานสอบสวนจัดทำขึ้นในวันเดียวกันกับที่จำเลยถูกจับกุม ตามพฤติการณ์เชื่อได้ว่าจำเลยให้การต่อพนักงานสอบสวนด้วยความสัตย์จริง โดยไม่ทันมีเวลาคิดไตร่ตรองหาลู่ทางแก้ตัวให้พ้นผิดจึงใช้เป็นหลักฐานยันจำเลยในชั้นพิจารณาของศาลได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 134
ตามคำเบิกความของพยานโจทก์ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยมีพฤติการณ์ในการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษ ตรงกันข้ามกลับมีใจความตรงกับคำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยที่พนักงานสอบสวนบันทึกไว้ซึ่งระบุว่า จำเลยให้การรับต่อพนักงานสอบสวนว่า เมทแอมเฟตามีนของกลางเป็นของ น.ที่นำไปฝากจำเลยไว้ เมื่อ น.อยากเสพเวลาใดก็จะไปเอาจากจำเลยมาเสพครั้งละ 1 ซองบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลย เป็นพยานเอกสารที่โจทก์อ้างส่งต่อศาลเพื่อสนับสนุนคำพยานบุคคลของโจทก์ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยปรุงแต่งเรื่องราวขึ้นเพื่อบิดเบือนข้อเท็จจริง จึงต้องรับฟังว่าจำเลยให้การในชั้นสอบสวนไปตามความสัตย์จริงดังกล่าวแล้ว พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบรับฟังได้ว่าจำเลยเพียงแต่รับฝากเมทแอมเฟตามีนของกลางจาก น. เมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบถึงพฤติการณ์แวดล้อมกรณีว่าจำเลยครอบครองเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ โดยมีเจตนาเพื่อขาย จ่ายแจก แลกเปลี่ยน หรือให้บุคคลหนี่งบุคคลใด จึงไม่อาจสันนิษฐานในทางเป็นผลร้ายแก่จำเลยว่าจำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางมีจำนวนมากเกินความจำเป็นที่จำเลยมีไว้เพื่อเสพเองแสดงว่าจำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายโดยไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุน จึงไม่ชอบ
ปัญหาที่ว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามฟ้องหรือไม่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 ความผิดตามฟ้องของโจทก์จึงรวมถึงการมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 67 อยู่ด้วยถือได้ว่าความผิดตามฟ้องรวมการกระทำหลายอย่าง แต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง เมื่อทางพิจารณาฟังได้ว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว ซึ่งมีระวางโทษเบากว่าตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสุดท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4147/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย: หลักฐานไม่ชัดเจน ศาลแก้เป็นครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
ในชั้นสอบสวนพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาแก่จำเลยว่ามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยก็ให้การรับสารภาพด้วยความสมัครใจว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางเป็นของ น. ที่นำมาฝากจำเลยไว้ คำให้การดังกล่าวพนักงานสอบสวนจัดทำขึ้นในวันเดียวกันกับที่จำเลยถูกจับกุม ตามพฤติการณ์เชื่อได้ว่าจำเลยให้การต่อพนักงานสอบสวนด้วยความสัตย์จริง โดยไม่ทันมีเวลาคิดไตร่ตรองหาลู่ทางแก้ตัวให้พ้นผิดจึงใช้เป็นหลักฐานยันจำเลยในชั้นพิจารณาของศาลได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134
ตามคำเบิกความของพยานโจทก์ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยมีพฤติการณ์ในการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษ ตรงกันข้ามกลับมีใจความตรงกับคำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยที่พนักงานสอบสวนบันทึกไว้ซึ่งระบุว่า จำเลยให้การรับต่อพนักงานสอบสวนว่า เมทแอมเฟตามีนของกลางเป็นของ น. ที่นำไปฝากจำเลยไว้ เมื่อ น. อยากเสพเวลาใดก็จะไปเอาจากจำเลยมาเสพครั้งละ 1 ซองบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลย เป็นพยานเอกสารที่โจทก์อ้างส่งต่อศาลเพื่อสนับสนุนคำพยานบุคคลของโจทก์ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยปรุงแต่งเรื่องราวขึ้นเพื่อบิดเบือนข้อเท็จจริง จึงต้องรับฟังว่าจำเลยให้การในชั้นสอบสวนไปตามความสัตย์จริงดังกล่าวแล้ว พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบรับฟังได้ว่าจำเลยเพียงแต่รับฝากเมทแอมเฟตามีนของกลางจาก น. เมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบถึงพฤติการณ์แวดล้อมกรณีว่าจำเลยครอบครองเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ โดยมีเจตนาเพื่อขาย จ่ายแจก แลกเปลี่ยน หรือให้บุคคลหนึ่งบุคคลใด จึงไม่อาจสันนิษฐานในทางเป็นผลร้ายแก่จำเลยว่าจำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า เมทแอมเฟตามีนของกลางมีจำนวนมากเกินความจำเป็นที่จำเลยมีไว้เพื่อเสพเองแสดงว่าจำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายโดยไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุน จึงไม่ชอบ
ปัญหาที่ว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 ความผิดตามฟ้องของโจทก์จึงรวมถึงการมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 67 อยู่ด้วยถือได้ว่าความผิดตามฟ้องรวมการกระทำหลายอย่าง แต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง เมื่อทางพิจารณาฟังได้ว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว ซึ่งมีระวางโทษเบากว่าตามที่พิจารณาได้ความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสุดท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2089/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ร่วมกันฆ่า, เป็นผู้ใช้, รับของโจร, มีอาวุธปืนเถื่อน, ศาลพิพากษากลับ
พยานโจทก์มีพันตำรวจโทสมหมาย กองวิสัยสุข เบิกความว่า หลังเกิดเหตุเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอโนนไทย ได้ออกหมายจับนายถ่ายแซ่จึง และจำเลยทั้งห้าเนื่องจากเป็นผู้ต้องสงสัย ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมนายถ่ายได้ก่อน นายถ่ายให้การรับสารภาพว่า นายถ่ายได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4ฆ่าผู้ตายทั้งสี่ เนื่องจากนายสมศักดิ์ผู้ตายจะให้จำเลยที่ 1 และที่ 5 ออกจากราชการระหว่างสอบสวนเจ้าพนักงานตำรวจจึงกันนายถ่ายไว้เป็นพยาน โจทก์มีนายถ่ายเป็นประจักษ์พยานเบิกความว่าในวันเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ได้ชวนพยานไปฆ่านายสมศักดิ์เนื่องจากนายสมศักดิ์จะให้จำเลยที่ 1 รับผิดชอบในกรณีมีคนลอบวางเพลิงเผาโรงเรียนบ้านจานและยังจะไม่ให้จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นครูโรงเรียนบ้านจานขายของที่โรงเรียนบ้านจานอีกต่อไป โดยจำเลยที่ 1 นัดว่าจะไปรับพยานที่หน้าบ้านนางหลอดพี่สาวพยานเวลาประมาณ 21 นาฬิกา เมื่อถึงเวลานัด จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์มาหาพยานและบอกพยานว่าจำเลยที่ 1 จะล่วงหน้าไปก่อน ให้พยานรอจำเลยที่ 2 และที่ 4 จะขับรถยนต์มารับพยาน ต่อมาจำเลยที่ 4 ขับรถยนต์กระบะมามีจำเลยที่ 2 นั่งอยู่ที่กระบะท้ายแล้วจำเลยที่ 4 ได้ขับรถไปสมทบกับจำเลยที่ 1 ที่บริเวณวัดสระจระเข้ เมื่อไปถึงจำเลยที่ 4 หยิบอาวุธปืนเล็กกล อาร์ก้า 1 กระบอก ส่งให้พยาน จำเลยที่ 1 ที่ 2และพยานได้เดินไปซุ่มอยู่บริเวณรั้วบ้านนายสมศักดิ์จนถึงเวลาประมาณ 23 นาฬิกาทั้งสามจึงลอดรั้วลวดหนามเข้าไปในบริเวณบ้านนายสมศักดิ์ จากนั้นจำเลยที่ 1 ปีนขึ้นไปบนระเบียงชั้นสอง แล้วใช้ไขควงงัดหน้าต่างเข้าไปในบ้านและลงไปที่ชั้นล่าง พบผู้ตายทั้งสี่กำลังนอนหลับอยู่ จำเลยที่ 1 เดินมาเปิดประตูและรับอาวุธปืนจากพยานจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนดังกล่าวยิงบริเวณศีรษะผู้ตายทั้งสี่จนถึงแก่ความตาย ต่อจากนั้นจำเลยที่ 1 ที่ 2 และพยานได้ช่วยกันค้นหาทรัพย์สินภายในบ้านผู้ตาย พบกุญแจ 1 พวงวางอยู่บนโต๊ะรับแขก พยานได้ปลดสร้อยคอทองคำที่นางจิราภรณ์สวมอยู่ส่งให้จำเลยที่ 1และเอากุญแจบนโต๊ะรับแขกไปไขประตูโรงรถ มีรถยนต์กระบะและรถจักรยานยนต์ของนายสมศักดิ์จอดอยู่ในนั้น จำเลยที่ 2 พยายามติดเครื่องรถยนต์กระบะ แต่เครื่องยนต์ไม่ติด จำเลยที่ 1 จึงเข็นรถจักรยานยนต์ซึ่งมีกุญแจเสียบติดไว้มาติดเครื่อง แล้วขับรถออกไปหาจำเลยที่ 4 ซึ่งจอดรถคอยอยู่บริเวณวัดสระจระเข้ มีจำเลยที่ 2 นั่งซ้อนท้ายส่วนพยานถืออาวุธปืนเดินมาสมทบ เมื่อมาถึงพยานได้ส่งอาวุธปืนให้แก่จำเลยที่ 4จำเลยที่ 4 เอาไปเก็บไว้ที่พนักพิงในรถยนต์กระบะ จำเลยที่ 4 สั่งให้พยานกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยกรถจักรยานยนต์ของนายสมศักดิ์ขึ้นรถยนต์กระบะ แล้วจำเลยที่ 4 ได้ขับรถยนต์กระบะตรงไปทางจังหวัดนครราชสีมา ส่วนจำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์ของจำเลยที่ 1 โดยมีจำเลยที่ 2 นั่งซ้อนท้ายไปทางบ้านหนองกระสังข์ พยานจึงเดินไปดูลิเกที่บริเวณวัดสระจระเข้ หลังเกิดเหตุประมาณ 17 วัน เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมพยานวันรุ่งขึ้นเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ได้ เห็นว่า แม้คำเบิกความของนายถ่ายเข้าลักษณะคำซัดทอดของผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดด้วยกันกับจำเลยที่ 2 ก็ตาม ก็ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้รับฟังพยานดังกล่าวแต่อย่างใดการจะเชื่อพยานได้หรือไม่ จะต้องดูว่าพยานเบิกความอย่างมีเหตุมีผลหรือไม่ ในเรื่องนี้นายถ่ายเบิกความถึงพฤติการณ์ในการกระทำความผิดเป็นขั้นเป็นตอน เริ่มตั้งแต่ขั้นตระเตรียมวางแผน ขั้นตอนการดำเนินการกระทำความผิด และขั้นตอนหลังเกิดเหตุแล้วโดยละเอียดสมเหตุสมผลไม่ปรากฏว่ามีพิรุธแต่ประการใด เมื่อฟังประกอบกับคำรับสารภาพชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 2 ซึ่งให้การต่อพนักงานสอบสวนทันทีในวันที่จำเลยที่ 2 ถูกจับกุมนั่นเอง จำเลยที่ 2 ยังไม่มีโอกาสที่จะปรุงแต่ง อีกทั้งคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 2 มีรายละเอียดกล่าวถึงขั้นตอนการกระทำความผิดยากที่พนักงานสอบสวนจะปรุงแต่งขึ้นเอง เชื่อว่าจำเลยที่ 2 ให้การต่อพนักงานสอบสวนด้วยความสมัครใจ ทั้งยังนำชี้สถานที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและมีการถ่ายรูปไว้ด้วย ปรากฏตามบันทึกการจับกุม บันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 2 บันทึกการนำชี้สถานที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและภาพถ่ายเอกสารหมาย จ.33 จ.44จ.3 และ จ.2 ตามลำดับ การนำชี้สถานที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพของจำเลยที่ 2 ก็ได้กระทำโดยเปิดเผยมีประชาชนมากมายมามุงดู ที่จำเลยที่ 2 อ้างว่าถูกบังคับขู่เข็ญให้รับสารภาพและแสดงท่าต่าง ๆ ประกอบคำรับสารภาพ จึงฟังไม่ขึ้น และที่จำเลยที่ 2 เบิกความอ้างฐานที่อยู่ไม่มีน้ำหนักที่จะหักล้างพยานโจทก์ได้ ศาลฎีกาเชื่อว่าจำเลยที่ 2 เป็นคนร้ายที่ร่วมกระทำความผิดในคดีนี้ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 มีความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในความครอบครอง ร่วมกันพาอาวุธปืนติดตัวไปในทางสาธารณะหมู่บ้าน โดยไม่มีเหตุอันควรและไม่ได้รับอนุญาต ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและร่วมกันลักทรัพย์ในเคหสถานในเวลากลางคืนโดยมีอาวุธ ปัญหาต่อไปว่าจำเลยที่ 4มีความผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นฆ่าผู้ตาย ร่วมกันมีอาวุธปืน และเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครอง ร่วมกันพาอาวุธปืนติดตัวไปในทางสาธารณะ หมู่บ้าน โดยไม่มีเหตุอันสมควร และไม่ได้รับอนุญาต และรับของโจรหรือไม่ พยานโจทก์มีนายเสริมศักดิ์ กองดิน และนางดรุณี ทบวอ ซึ่งรับราชการครูอยู่ที่โรงเรียนเดียวกันกับจำเลยที่ 5 เบิกความว่า จำเลยที่ 4 เป็นสามีของจำเลยที่ 5เมื่อประมาณต้นปี 2536 จำเลยที่ 5 นำสิ่งของมาขายที่บ้านพักครูภายในโรงเรียนนายสมศักดิ์ในฐานะอาจารย์ใหญ่ได้ขอร้องให้จำเลยที่ 5 เลิกขายแข่งกับร้านสหกรณ์ของโรงเรียน จำเลยที่ 5 ไม่ยอมเลิก นายสมศักดิ์จะพูดกับจำเลยที่ 5 อีกครั้งเมื่อโรงเรียนเปิดเทอม แต่มาถูกฆ่าตายเสียก่อน นอกจากนี้พยานโจทก์มีจ่าสิบตำรวจพันธ์ศักดิ์ คล้ายนาค ซึ่งเคยทำงานร่วมกับจำเลยที่ 4 เบิกความว่า เมื่อต้นปี 2536พยานได้พูดคุยกับจำเลยที่ 4 และเคยถามจำเลยที่ 4 ว่ากลับบ้านบ่อยหรือไม่ จำเลยที่ 4 ตอบว่ากลับบ้านทุกสัปดาห์ เพราะจำเลยที่ 5 มีปัญหากับอาจารย์ใหญ่ อาจารย์ใหญ่จะเอาจำเลยที่ 5 ออก เมื่อฟังประกอบกับคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 ตามเอกสารหมาย จ.43 ที่ว่า ประมาณเดือนพฤษภาคม 2536 จำเลยที่ 4 มาหาจำเลยที่ 1 ที่โรงเรียนบ้านจานและบอกจำเลยที่ 1 ว่าจะต้องจัดการเอาไว้ไม่ได้หรอกหมายถึงต้องฆ่านายสมศักดิ์ จำเลยที่ 1 ซึ่งมีเรื่องไม่พอใจนายสมศักดิ์ที่จะให้จำเลยที่ 1 รับผิดกรณีเกิดเหตุมีคนลอบวางเพลิงเผาโรงเรียนบ้านจานอยู่แล้ว จำเลยที่ 1จึงตอบตกลง จำเลยที่ 4 บอกว่าจำเลยที่ 4 จะเป็นผู้เอาอาวุธปืนมาให้ ในวันเกิดเหตุ จำเลยที่ 4 มาที่บ้านพักครูที่จำเลยที่ 5 พักอยู่ นายถ่ายได้มาหาจำเลยที่ 1ที่บ้านพบจำเลยที่ 1 และที่ 2 จำเลยที่ 1 จึงชวนให้นายถ่ายร่วมฆ่านายสมศักดิ์จำเลยที่ 1 ได้ไปหาจำเลยที่ 4 โดยจำเลยที่ 4 ว่า นายถ่ายมา จำเลยที่ 4 พูดว่า"จัดการเป็นไรปืนมีแล้ว" ให้จำเลยที่ 1 กลับไปรับประทานอาหารก่อน แล้วมาที่นี่ประมาณ 20 ถึง 21 นาฬิกา คำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 แม้จะเป็นคำให้การของผู้กระทำความผิดด้วยกัน ก็ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้ศาลรับฟังแต่อย่างใด ดังนั้น คำให้การของจำเลยที่ 1 ในชั้นสอบสวนย่อมนำมาประกอบการพิจารณาได้ เมื่อคำเบิกความของนายเสริมศักดิ์ นางดรุณี และจ่าสิบตำรวจพันธ์ศักดิ์สอดคล้องกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 1 และเมื่อรับฟังประกอบกับคำเบิกความของนายถ่ายที่เบิกความยืนยันว่า จำเลยที่ 4 เป็นผู้ขับรถยนต์กระบะมารับพยานกับจำเลยที่ 2 ไปยังที่บริเวณวัดสระจระเข้ใกล้บ้านนายสมศักดิ์พร้อมมอบอาวุธปืนเล็กกล อาร์ก้า ให้แก่พยานเพื่อนำไปยิงนายสมศักดิ์ จำเลยที่ 4 คงคอยอยู่ที่นั่น เมื่อยิงผู้ตายทั้งสี่แล้ว พยานเป็นคนนำอาวุธปืนมาคืนให้แก่จำเลยที่ 4 จำเลยที่ 4 รับอาวุธปืนไปวางไว้ที่หลังพนักพิง จากนั้นจำเลยที่ 4 ได้บอกให้พยานกับพวกยกรถจักรยานยนต์ที่เอามาจากโรงรถบ้านผู้ตายขึ้นรถยนต์กระบะของจำเลยที่ 4จำเลยที่ 4 ก็ขับรถไปทางจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งก็ได้ความว่าจำเลยที่ 4 นำรถจักรยานยนต์ไปจอดทิ้งไว้ที่อื่นเพื่ออำพรางคดีพยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบมามีน้ำหนักมั่นคงฟังได้ว่า จำเลยที่ 4 คือคนร้าย พยานหลักฐานของจำเลยที่ 4 ไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้ การที่จำเลยที่ 4 มาหาจำเลยที่ 1 ที่โรงเรียนบ้านจาน และบอกจำเลยที่ 1 ว่า "จะต้องจัดการเอาไว้ไม่ได้หรอก" หมายถึงฆ่านายสมศักดิ์ ซึ่งจำเลยที่ 1 มีเรื่องไม่พอใจนายสมศักดิ์ที่จะให้จำเลยที่ 1 รับผิดกรณีเกิดเหตุลอบวางเพลิงเผาโรงเรียนบ้านจานอยู่แล้ว จึงทำให้จำเลยที่ 1 ตอบตกลงถือว่าจำเลยที่ 4 เป็นผู้ก่อให้จำเลยที่ 1 ตัดสินใจที่จะกระทำการฆ่านายสมศักดิ์และจำเลยที่ 4 รับว่าจะเป็นผู้พาอาวุธปืนมาให้ด้วย ในที่สุดจำเลยที่ 1 ที่ 2 และนายถ่ายได้นำอาวุธปืนที่จำเลยที่ 4 มอบให้ไปฆ่านายสมศักดิ์ บุตรและภริยาของนายสมศักดิ์ตามที่จำเลยที่ 4 ยุยงส่งเสริม จำเลยที่ 4 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และจำเลยที่ 4 ยังมีความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองและร่วมกันพาอาวุธปืนติดตัวไปในทางสาธารณะ หมู่บ้าน โดยไม่มีเหตุอันสมควรและไม่ได้รับอนุญาต และการที่จำเลยที่ 4 นำรถจักรยานยนต์ที่จำเลยที่ 2กับพวกร่วมกันลักมาไปจอดทิ้งไว้ที่อื่น โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์อันได้มาจากการกระทำความผิด จำเลยจึงมีความผิดฐานรับของโจรด้วย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1พิพากษามานั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาโจทก์ฟังขึ้น
พิพากษากลับ ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1950/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานสนับสนุนการปล้นทรัพย์ข้ามชาติ เจ้าพนักงานตำรวจมีหน้าที่ปราบปรามแต่กลับให้ความช่วยเหลือ
แม้จำเลยที่ 3 มิได้อยู่ในฐานะเป็นตัวการในการปล้นเงินที่ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพราะขณะทำการปล้นจำเลยที่ 3 อยู่ที่ประเทศไทย แต่พฤติการณ์ของจำเลยที่ 3 ที่ร่วมวางแผนปรึกษากับผู้ร่วมกระทำความผิดเพื่อจะไปปล้นเงินดังกล่าว และให้ความช่วยเหลือด้านอุปกรณ์ที่ใช้ในการปล้นแก่ตัวการก่อนการกระทำความผิด ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้สนับสนุนในความผิดฐานปล้นทรัพย์
จำเลยที่ 6 ขับรถยนต์ไปส่งจำเลยที่ 1 กับพวกลงเรือข้ามฝั่งไปประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อไปปล้นเงินตามแผนการที่กำหนดไว้ ทั้งยังคอยอำนวยความสะดวกด้วยการไปรอรับโบกเสื้อคลุมให้สัญญาณภายหลังที่จำเลยที่ 1 กับพวกกระทำการปล้นเงินแล้ว ถือได้ว่าจำเลยที่ 6 ให้การช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์แก่จำเลยที่ 1 กับพวกทั้งก่อนและหลังกระทำความผิด จำเลยที่ 6 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนในความผิดฐานปล้นทรัพย์
จำเลยที่ 1 กับพวกได้ร่วมกันปล้นธนาคารในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แล้วพาทรัพย์หนีเข้ามาในประเทศไทย คณะกรรมการปกครองกำแพงนครเวียงจันทน์ได้แต่งตั้งเจ้าพนักงานตำรวจมาสมทบกับเจ้าพนักงานตำรวจของไทยเพื่อติดตามคนร้ายพร้อมของกลางมาลงโทษตามกฎหมาย เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจผู้ได้รับการแต่งตั้งจากประเทศดังกล่าวได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิดที่เป็นคนไทยต่อพันตำรวจเอก ส. หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดหนองคายแล้ว ดังนั้นพนักงานสอบสวนที่ได้รับแต่งตั้งจากพันตำรวจเอก ส. ให้ทำการสอบสวนคดีนี้ จึงถือเป็นพนักงานสอบสวนซึ่งรัฐบาลประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้ร้องฟ้องให้ทำโทษผู้ต้องหา มีอำนาจสอบสวนในระหว่างรอฟังคำสั่งจากอัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทนโดยต้องดำเนินการที่จำเป็นทุกอย่างเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหาย เมื่อต่อมาอัยการสูงสุดได้มอบหมายให้พลตำรวจตรี ห. เป็นพนักงานสอบสวนที่รับผิดชอบ การสอบสวนที่พนักงานสอบสวนได้ดำเนินการไปก่อนหน้านี้ย่อมถือว่าเป็นการสอบสวนโดยชอบไม่ต้องคำนึงว่าพลตำรวจตรี ห. ได้ปฏิบัติเกี่ยวกับการสอบสวนมาแล้วหรือไม่เพียงใด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
แม้เอกสารที่โจทก์อ้างส่งศาลมิได้ระบุไว้ในบัญชีพยานโจทก์อันไม่ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาก็ตามแต่เอกสารที่โจทก์อ้างส่งศาลคดีนี้ โจทก์เพียงใช้ประกอบคำเบิกความของพยานบุคคลซึ่งได้ระบุไว้ในบัญชีพยานโจทก์ จำเลยที่ 2 มีโอกาสซักค้านพยานบุคคลของโจทก์ที่เกี่ยวกับเอกสารทุกฉบับที่โจทก์อ้างส่งศาลได้อยู่แล้ว ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 เสียเปรียบหรือหลงผิดในการต่อสู้คดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลย่อมมีอำนาจรับฟังพยานเอกสารเช่นว่านี้ได้เพราะเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1325/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีร่วมกันจ้างวานและลงมือสังหารเหยื่อ โดยมีพยานหลักฐานเชื่อมโยงผู้ต้องหาหลายคนถึงการวางแผนและลงมือกระทำผิด
คำให้การและคำเบิกความของพยานโจทก์ที่ว่าจำเลยใช้ให้ บ. กับ ส. ฆ่าผู้ตายนั้น ในส่วนสาระสำคัญสอดคล้องกันทุกประการ จะมีแตกต่างกันบ้างก็เป็นเพียง พลความเท่านั้นไม่ทำให้พยานหลักฐานของโจทก์ขาดน้ำหนักในการรับฟัง และในที่สุด บ. กับ ส. มิได้เป็นคนร้ายฆ่าผู้ตาย คนร้ายที่ฆ่าผู้ตายเป็นกลุ่มบุคคลอื่น ซึ่งต่อมาถูกดำเนินคดีและศาลพิพากษาลงโทษแล้ว กลุ่มคนร้ายที่ฆ่าผู้ตาย ไม่มีความเกี่ยวพันกับ บ. และ ส.หากเรื่องไม่เป็นความจริงก็ไม่น่าเชื่อว่าพยานโจทก์จะแกล้งปรักปรำจำเลยในความผิด ข้อหาอุกฉกรรจ์พยานหลักฐานของโจทก์ฟังได้โดยปราศจากสงสัย ว่าจำเลยใช้ให้ บ.และ ส. ฆ่าผู้ตาย แต่ บ.และ ส. มิได้กระทำการตามที่จำเลยใช้ จำเลยจึงมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84 วรรคหนึ่งและวรรคสองตอนท้าย ประกอบมาตรา 289(4) คำซัดทอดระหว่างผู้ร่วมกระทำผิดด้วยกัน ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้รับฟังคำให้การเช่นว่านี้เสียทีเดียวหากการซัดทอดมีเหตุผลรับฟังได้ ศาลมีอำนาจรับฟังมาประกอบการพิจารณาได้ ว. จำคนร้ายไม่ได้และไม่ทราบว่าคนร้ายเป็นใครขณะเกิดเหตุ ว. กำลังขับรถคนร้ายยิงผู้ตายแล้วขับรถจักรยานยนต์หลบหนีไปทันที ว. ทราบเหตุต่อเมื่อผู้ตายถูกยิงแล้ว และล้มตัวเข้ามาหาพร้อมกับบอกว่าถูกยิง เชื่อว่าขณะนั้นคนร้ายหลบหนีไปแล้ว คำเบิกความของ ว. จึงไม่มีผลทำลายน้ำหนักพยานหลักฐานอื่นของโจทก์หลังจากเจ้าพนักงานตำรวจจับ ส. และ น. ได้ บุคคลทั้งสองพาไปหาหมวกกันน็อกที่ทิ้งไว้ในป่าหญ้าข้างทาง ปรากฏว่าหมวกใบหนึ่งมีเส้นผมติดอยู่ จากการตรวจพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญ ปรากฏว่าเป็นเส้นผมของ น. การตรวจพิสูจน์นี้เป็นการทำตามหลักวิชาและมีความแน่นอนสามารถเชื่อถือได้ ประกอบกับ อาวุธปืนที่ น. ใช้ยิงผู้ตายได้มีการดัดแปลงแก้ไขให้ผิดไปจากเดิมอันเป็นพิรุธ พยานหลักฐานของโจทก์ มีน้ำหนักมั่นคงโดยปราศจากสงสัยว่าจำเลยเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่น ฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน การกระทำของจำเลยคือการติดต่อว่าจ้าง อ.กับ ก.ให้ฆ่าผู้ตาย ที่ ก.ขอให้ ส.เข้ามาช่วยเหลือแล้วส. ไปว่าจ้าง กต.และสจ. ให้มาร่วมก็เพียงเพื่อให้สามารถฆ่าผู้ตายให้สำเร็จตามที่ ก. รับจ้างมาจากจำเลยเมื่อ กต.กับสจ.ล้มเลิกส. และ ก. จึงไปติดต่อ น.กับ ช.ให้เข้ามาร่วมทำงานต่อไปจนสำเร็จการที่ส.ก.กต.และสจ. ได้ร่วมกันไปดักยิงผู้ตายหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จแล้วในที่สุด ส.ก.น.และช. สามารถฆ่าผู้ตายได้สำเร็จ จึงเป็นผลของการกระทำที่สืบเนื่องติดต่อมาจากการว่าจ้างของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวอันเป็นความผิดฐานใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และผู้ถูกใช้ได้กระทำความผิดนั้น ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 84 วรรคสอง ประกอบมาตรา 289(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1223/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยฎีกาขอให้ยกฟ้องในความผิดร่วมกันมีและจำหน่ายยาเสพติด เนื่องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอ ศาลฎีกายกประโยชน์แห่งความสงสัยให้
จำเลยที่ 1 มีเฮโรอีนของกลางน้ำหนัก 4.129 กรัมไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจำหน่ายเฮโรอีนดังกล่าวให้แก่สิบตำรวจเอก ค.กับสายลับที่ไปล่อซื้อ นอกจากนี้แล้วจำเลยที่ 1 ยังมีกัญชาแห้งจำนวน 1 ถุง น้ำหนัก 580 กรัมไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่พยานหลักฐานของโจทก์ เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 มีเหตุสงสัยตามสมควรว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานมีเฮโรอีน ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเฮโรอีนจริงหรือไม่ จึงให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยที่ 2ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสองดังนี้ ศาลฎีกายังมีอำนาจยกฟ้องโจทก์ในข้อหาความดีฐานร่วมกับจำเลยที่ 1 มีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 185 แม้ความผิดฐานนี้ต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 2ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1223/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกฟ้องจำเลยเนื่องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอ และขอบเขตความรับผิดทางอาญา
จำเลยที่ 1 มีเฮโรอีนของกลางน้ำหนัก 4.129 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจำหน่ายเฮโรอีนดังกล่าวให้แก่สิบตำรวจเอก ค.กับสายลับที่ไปล่อซื้อ นอกจากนี้แล้วจำเลยที่ 1 ยังมีกัญชาแห้งจำนวน 1 ถุง น้ำหนัก580 กรัม ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่พยานหลักฐานของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 มีเหตุสงสัยตามสมควรว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1ในความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจำหน่ายเฮโรอีนจริงหรือไม่ จึงให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยที่ 2 ตาม ป.วิ.อ.มาตรา227 วรรคสอง ดังนี้ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกฟ้องโจทก์ในข้อหาความผิดฐานร่วมกับจำเลยที่ 1 มีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตด้วย ตาม ป.วิ.อ.มาตรา185 แม้ความผิดฐานนี้ต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 2 ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็ตาม
of 70