คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 226

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 698 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 59/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล่อซื้อยาเสพติด, ความผิดพยายามจำหน่าย, และการลดโทษจากคำรับสารภาพ
การที่เจ้าพนักงานตำรวจใช้สายลับนำเงินไปล่อซื้อ ยาเสพติดให้โทษจากจำเลยมิได้เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย มิได้ผิดศีลธรรมหรือทำนองคลองธรรม มิได้เป็นการใส่ร้าย ป้ายสีหรือยัดเยียด ความผิดให้จำเลย หากจำเลยมิได้มี ยาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เมื่อสายลับ ไปขอซื้อยาเสพติดให้โทษจากจำเลย จำเลยย่อมไม่มียาเสพติดให้โทษ จะจำหน่ายให้แก่สายลับ ความผิดย่อมไม่อาจเกิดขึ้นได้ การกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวเป็นเพียงวิธีการ เพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลย ไม่เป็นการแสวงหาหลักฐานโดยมิชอบ ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน รับฟังลงโทษจำเลยได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226 จำเลยรับเงินจากสายลับ แล้วจำเลยไปหยิบฝิ่นมา แต่ยังไม่ทันได้ส่งมอบฝิ่นให้แก่สายลับ เจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับ จำเลยเสียก่อน จำเลยจึงยังไม่มีความผิดฐานจำหน่ายฝิ่น คงมีความผิดฐานพยายามจำหน่ายฝิ่นโดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้นปัญหานี้แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การชั้นจับกุม/สอบสวน, คำซัดทอดผู้ร่วมกระทำผิด, พยานหลักฐานประกอบ, การวินิจฉัยความผิด, การรอการลงโทษ
ไม่มีกฎหมายบทใดบัญญัติห้ามมิให้ศาลรับฟังคำให้การชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนของจำเลยประกอบการพิจารณาของศาล ส่วนจะมีน้ำหนักรับฟังได้เพียงใดหรือไม่นั้น สุดแล้วแต่เหตุผลของคำให้การนั้น
ไม่มีบทกฎหมายใดห้ามมิให้รับฟังคำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันเป็นพยานหลักฐาน เพียงแต่คำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำความผิดเพียงอย่างเดียวเป็นพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักน้อยต้องรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ด้วย จึงจะมีน้ำหนักรับฟังเพื่อลงโทษผู้กระทำความผิดคนอื่นได้
โจทก์มีร้อยตำรวจโท ฉ.พนักงานสอบสวนเป็นพยานเบิกความยืนยันว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ได้ให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนด้วยความสมัครใจตามเอกสารหมาย จ.10 ถึง จ.12 ส่วนจำเลยที่ 5 ให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมตามเอกสารหมาย จ.4 และให้การภาคเสธตามเอกสารหมาย จ.14และจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ได้นำชี้สถานที่เกิดเหตุประกอบคำให้การรับสารภาพตามเอกสารหมาย จ.17 และแสดงท่าทางให้ถ่ายภาพประกอบคำให้การรับสารภาพตามภาพถ่ายหมาย จ.18 ซึ่งกระทำต่อหน้าประชาชนจำนวนมาก เชื่อได้ว่าให้การรับสารภาพด้วยความสมัครใจ คำให้การของจำเลยแต่ละคนกล่าวถึงข้อเท็จจริงในการกระทำความผิด และระบุชัดว่าจำเลยแต่ละคนร่วมกับ บ.ในการเคลื่อนย้ายศพผู้ตาย ซึ่งสอดคล้องกับคำเบิกความของสิบตำรวจตรี ธ.ผู้ไปตรวจดูสภาพหลุมศพว่าได้ขุดพบโครงกระดูกของผู้ตาย ประกอบกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ล้วนแต่สนิทสนมกับ บ.ผู้ต้องหาในคดีฆ่า ส.ผู้ตายโดยเจตนา และจำเลยที่ 5 เป็นภริยาของบ. เช่นนี้พฤติการณ์จึงมีน้ำหนักฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 มีเจตนาเคลื่อนย้ายศพ ส.เพื่อช่วย บ.จริง
ในการวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ เมื่อศาลล่างทั้งสองมิได้ฟังคำซัดทอดของ ร.และ น.เพียงอย่างเดียว แต่โจทก์มีพยานวัตถุและคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 1 ที่ 2ที่ 3 และที่ 5 ในชั้นจับกุม คำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ 3ในชั้นสอบสวน และบันทึกการนำชี้สถานที่เกิดเหตุประกอบคำให้การรับสารภาพกับภาพถ่ายการชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำให้การรับสารภาพเป็นพยานหลักฐาน ย่อมฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยใด ๆ ว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ได้เคลื่อนย้ายศพ ส.เพื่อปิดบังการตายหรือสาเหตุแห่งการตายของ ส.ตามฟ้อง ดังนี้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยปัญหานี้ชอบแล้ว
เมื่อกรณีมีเหตุอันสมควรปรานีรอการลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 และการรอการลงโทษดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 4 ที่มิได้ฎีกาให้ได้รับการรอการลงโทษดุจจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังคำให้การรับสารภาพและคำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำผิดประกอบการพิจารณาคดีอาญา
ไม่มีกฎหมายบทใดบัญญัติห้ามมิให้ศาลรับฟังคำให้การชั้นจับกุมและชิ้นสอบสวนของจำเลยประกอบการพิจารณาของศาล ส่วนจะมีน้ำหนักรับฟังได้เพียงใดหรือไม่นั้นสุดแล้วแต่เหตุผลของคำให้การนั้น ไม่มีบทกฎหมายใดห้ามมิให้รับฟังคำชัดทอดของผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันเป็นพยานหลักฐาน เพียงแต่คำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำความผิดเพียงอย่างเดียวเป็นพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักน้อยต้องรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ด้วย จึงจะมีน้ำหนักรับฟังเพื่อลงโทษผู้กระทำความผิดคนอื่นได้ โจทก์มีร้อยตำรวจโทฉ.พนักงานสอบสวนเป็นพยานเบิกความยืนยันว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ได้ให้การ รับสารภาพในชั้นสอบสวนด้วยความสมัครใจตามเอกสาร หมาย จ.10 ถึง จ.12 ส่วนจำเลยที่ 5 ให้การรับสารภาพ ในชั้นจับกุมตามเอกสารหมาย จ.4 และให้การภาคเสธ ตามเอกสารหมาย จ.14 และจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ได้นำชี้สถานที่เกิดเหตุประกอบคำให้การรับสารภาพตามเอกสารหมาย จ.17 และแสดงท่าทางให้ถ่ายภาพประกอบคำให้การรับสารภาพตามภาพถ่ายหมาย จ.18ซึ่งกระทำต่อหน้าประชาชนจำนวนมาก เชื่อได้ว่าให้การรับสารภาพด้วยความสมัครใจ คำให้การของจำเลยแต่ละคนกล่าวถึงข้อเท็จจริงในการกระทำความผิดและระบุชัดว่าจำเลยแต่ละคนร่วมกับ บ. ในการเคลื่อนย้ายศพผู้ตาย ซึ่งสอดคล้องกับคำเบิกความของสิบตำรวจตรีธ.ผู้ไปตรวจดูสภาพหลุมศพว่าได้ขุดพบโครงกระดูกของผู้ตายประกอบกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ล้วนแต่สนิทสนมกับบ.ผู้ต้องหาในคดีฆ่าส.ผู้ตายโดยเจตนา และจำเลยที่ 5 เป็นภริยาของบ.เช่นนี้พฤติการณ์จึงมีน้ำหนักฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 มีเจตนาเคลื่อนย้ายศพส. เพื่อช่วยบ. จริง ในการวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ เมื่อศาลล่างทั้งสองมิได้ฟังคำซัดทอดของร.และน.เพียงอย่างเดียว แต่โจทก์มีพยานวัตถุและคำให้การรับสารภาพของ จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ในชั้นจับกุม คำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ 3 ในชั้นสอบสวน และบันทึกการนำชี้สถานที่เกิดเหตุประกอบคำให้การรับสารภาพกับภาพถ่ายการชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำให้การรับสารภาพเป็นพยานหลักฐาน ย่อมฟังได้โดย ปราศจากข้อสงสัยใด ๆ ว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3และที่ 5 ได้เคลื่อนย้ายศพส.เพื่อปิดบังการตายหรือสาเหตุแห่งการตายของส.ตามฟ้อง ดังนี้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยปัญหานี้ชอบแล้ว เมื่อกรณีมีเหตุอันสมควรปรานีรอการลงโทษจำคุก จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 และการรอการลงโทษ ดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีศาลฎีกาจึงมีอำนาจ พิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 4 ที่มิได้ฎีกาให้ได้รับการรอ การลงโทษดุจจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบ ด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6558/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องร้องละเมิดลิขสิทธิ์, การมอบอำนาจ, พยานหลักฐาน, และความรับผิดของผู้ขาย
ในกรณีความผิดอาญาซึ่งกระทำต่อนิติบุคคลนั้น ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆ ของนิติบุคคลมีอำนาจร้องทุกข์แทนนิติบุคคลได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3 และมาตรา 5 แต่ตาม ป.วิ.อ. ไม่ได้บัญญัติการมอบอำนาจให้ผู้แทนนิติบุคคลไว้เป็นการเฉพาะ จึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาใช้เท่าที่พอจะใช้บังคับได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 15 และตาม ป.วิ.พ. มาตรา 47 วรรคสาม บัญญัติเกี่ยวกับใบมอบอำนาจที่ได้ทำในต่างประเทศ ซึ่งถ้าเป็นต่างประเทศที่มีกงสุลสยามต้องให้กงสุลนั้นเป็นพยาน แต่ถ้าได้ทำในเมืองต่างประเทศที่ไม่มีกงสุลสยาม ต้องให้เจ้าพนักงานโนตารีปับลิกหรือแมยิสเตร็ดหรือบุคคลอื่น ซึ่งกฎหมายแห่งท้องถิ่นตั้งให้เป็นผู้มีอำนาจเป็นพยานในเอกสารเช่นว่านี้และต้องมีใบสำคัญของรัฐบาลต่างประเทศแสดงว่าบุคคลที่เป็นพยานนั้นเป็นผู้มีอำนาจกระทำการได้ โดยไม่ปรากฏว่าผู้รับมอบอำนาจจะต้องลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจแต่อย่างใดไม่ ดังนั้น เมื่อหนังสือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยได้ลงนามโดยมีอำนาจทำการแทนนิติบุคคล และมีพยานตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ลงลายมือชื่อไว้ หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย ผู้รับมอบอำนาจจากนิติบุคคลผู้เสียหาย ย่อมมีอำนาจมอบอำนาจช่วงให้แจ้งความร้องทุกข์ได้
แม้ว่าภาพโปรแกรมไมโครซอฟท์มันนี่ ภาพโปรแกรมอโดเบ ไทป์เมเนเจอร์ โครงสร้างแฟ้มข้อมูลของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โครงสร้างแฟ้มข้อมูลเพื่อใช้ในทางติดตั้งสำเนาโปรแกรมลงบนสื่อบันทึกถาวรในเครื่องคอมพิวเตอร์ โครงสร้างแฟ้มข้อมูลของโปรแกรมคอมพิวเตอร์เมื่อติดตั้งบนสื่อบันทึกถาวรของเครื่องคอมพิวเตอร์เรียบร้อยแล้ว จะเป็นเอกสารที่ผู้เสียหายจัดทำขึ้นเอง และได้ทำขึ้นภายหลังจากที่มีการจับกุมจำเลยแล้วก็ตาม แต่เอกสารดังกล่าวไม่ใช่ของกลางในคดีอาญาหากแต่เป็นเอกสารที่ผู้เสียหายได้จัดทำขึ้นจากโปรแกรมของผู้เสียหายเพื่อพิสูจน์ว่าผู้เสียหายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในฐานะเป็นผู้สร้างสรรค์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าวและแผ่นซีดีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ อันเป็นวัตถุพยาน ซึ่งได้กระทำซ้ำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายซึ่งมีอยู่แล้วเท่านั้น ดังนั้น เอกสารที่ผู้เสียหายทำขึ้นจึงใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีได้
ไมโครซอฟท์มันนี่ได้เริ่มจัดพิมพ์ตั้งแต่ ค.ศ.1991 แล้วพัฒนาเพิ่มเติมเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบันมีไมโครซอฟท์มันนี่ 97, 98 แล้ว ซึ่งหลังจาก ค.ศ.1991 ได้มีโปรแกรมที่พัฒนาเพิ่มเติมเป็นการวางรากฐานส่วนใหญ่มาจากโปรแกรมแรก หรือแก้ไขเพิ่มเติมจากโครงสร้างโปรแกรมหลักให้แก่โปรแกรมปี 91 โปรแกรมที่จำเลยจำหน่ายเป็นโปรแกรมปี 95 แต่โปรแกรมที่โจทก์จัดพิมพ์เพื่อใช้เปรียบเทียบนั้นเป็นโปรแกรมปี 97 แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นงานสร้างสรรค์ และมีการพัฒนาจากรากฐานเดิมไปเรื่อย ๆ โดยอาศัยโครงสร้างโปรแกรมหลักอันเดิม การที่โจทก์ฟ้องว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ไมโครซอฟท์มันนี่ 95 แต่นำโปรแกรมปี 97 ซึ่งเป็นโปรแกรมที่พัฒนามาจากปี 95 มาแสดงต่อศาล เมื่อศาลได้ตรวจดูวัตถุพยานแล้วก็ปรากฏภาพโปรแกรมตรงกับเอกสารที่โจทก์จัดพิมพ์เปรียบเทียบ กรณีจึงมิใช่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง
ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 (1) บัญญัติถึงกรณีผู้ที่กระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ ให้มีความหมายรวมถึงผู้ขาย มีไว้เพื่อขายเสนอขายไว้ด้วย เมื่อปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้ขายแผ่นซีดีของกลางให้แก่ผู้ซื้อ การกระทำของจำเลยถือได้ว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์อันจึงเป็นความผิดตามกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5459/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบัตรไม่สมบูรณ์: การประดิษฐ์ไม่ใหม่-ขาดขั้นสูง, จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบละเมิด
จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันผลิตและมีไว้เพื่อขายเครื่องกรองน้ำ(ชนิดใช้สารกรอง) อันเป็นผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ซึ่งมีโจทก์ร่วมเป็นผู้ทรงสิทธิบัตร จำเลยที่ 1 ได้เคยฟ้องโจทก์ร่วมเป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ฉบับเดียวกันนี้เป็นคดีแพ่ง ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดโดยวินิจฉัยว่าการออกสิทธิบัตรการประดิษฐ์ให้แก่โจทก์ร่วม ไม่ชอบด้วยมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 เป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์ตามมาตรา 54 วรรคแรก จำเลยที่ 1ย่อมยกขึ้นกล่าวอ้างได้ตามมาตรา 54 วรรคสอง
การประดิษฐ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้จะต้องเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ซึ่งต้องไม่ใช่งานที่ปรากฏอยู่แล้ว คำว่า งานที่ปรากฏอยู่แล้วมีอยู่หลายกรณีด้วยกันคือมีการจดสิทธิบัตรไว้แล้ว เป็นงานที่ใช้หรือแพร่หลายอยู่แล้วก่อนยื่นคำขอ หรือเป็นงานที่เปิดเผยต่อสาธารณชนโฆษณาในสิ่งพิมพ์ หากสิ่งประดิษฐ์ใดมีลักษณะ 3 ประการที่กล่าวมา จะไม่ถือว่าเป็นสิ่งใหม่
ก่อนหน้าที่โจทก์ร่วมจะไปขอจดทะเบียนสิทธิบัตรเครื่องกรองน้ำที่พิพาท เครื่องกรองน้ำตามสิทธิบัตรของโจทก์ร่วมได้มีแพร่หลายอยู่แล้ว เมื่อโจทก์ร่วมไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าการประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำตามสิทธิบัตรของโจทก์ร่วมแตกต่างจากการประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำที่แพร่หลายอยู่ก่อนนั้นอย่างไร กรณีจึงยังไม่แน่ชัดว่าการประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำของโจทก์ร่วมเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ซึ่งเข้ากฎเกณฑ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ได้ นอกจากนี้เครื่องกรองน้ำตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ที่พิพาทของโจทก์ร่วมอันมีวิธีการทำงานโดยการปล่อยให้น้ำไหลจากท่อน้ำในถังกรองที่ 1ผ่านสารกรองต่างๆ ที่ใส่ไว้เป็นชั้นๆ โดยน้ำจากสารกรองชั้นสุดท้ายจะไหลผ่านท่อน้ำรูปตัวแอลไปสู่ด้านบนของถังกรองที่ 2 แล้วไหลผ่านสารกรองในถังกรองที่ 2 ที่จัดเรียงเป็นชั้นๆ จนถึงชั้นสุดท้าย หลังจากนั้นน้ำจะไหลออกจากปลายท่อซึ่งมีก๊อกสำหรับเปิดน้ำใช้ ซึ่งหลักการทำงานของเครื่องกรองน้ำตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ที่พิพาทดังกล่าวนั้น เป็นหลักการทำงานที่อาศัยหลักของแรงดันน้ำ ขับดันให้น้ำไหลไปตามท่อที่วางไว้ภายในถังกรอง ประกอบกับหลักการไหลจากที่สูงไปยังที่ต่ำของน้ำเพื่อให้น้ำไหลผ่านสารกรองด้านบนสุดไปยังสารกรองที่อยู่ด้านล่างสุด อันเป็นหลักการอย่างธรรมดาสามัญที่บุคคลทั่ว ๆ ไปย่อมทราบดีอยู่แล้ว
คดีแพ่งเรื่องก่อนเป็นเรื่องที่โจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 ได้พิพาทกันในคดีแพ่งเกี่ยวกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์เดียวกันกับในคดีนี้ โดยศาลฎีกาในคดีดังกล่าวนั้นวินิจฉัยไว้ว่า สิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่สิทธิบัตร 422 นั้นไม่สมบูรณ์แม้ว่าคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีแพ่งจะผูกพันคู่ความในคดีดังกล่าวเฉพาะในทางแพ่งก็ตาม แต่ศาลย่อมจะนำคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวมาชั่งน้ำหนักประกอบพยานหลักฐานของคู่ความในคดีอาญาได้
สิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่สิทธิบัตร 422 ของโจทก์ร่วมมิใช่การประดิษฐ์ที่ไม่เป็นที่ประจักษ์โดยง่ายแก่บุคคลที่มีความชำนาญในระดับสามัญสำหรับงานประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำ จึงมิใช่การประดิษฐ์ที่มีขั้นตอนที่สูงขึ้น เมื่อสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของโจทก์ร่วมดังกล่าวไม่สมบูรณ์ การกระทำของจำเลยทั้งสองในการผลิตและมีไว้เพื่อขายเครื่องกรองน้ำตามสิทธิบัตรของโจทก์ร่วม จึงไม่เป็นความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5459/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบัตรไม่สมบูรณ์ เครื่องกรองน้ำที่แพร่หลายก่อน การผลิตไม่เป็นความผิด
จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันผลิตและมีไว้เพื่อขายเครื่องกรองน้ำ (ชนิดใช้สารกรอง) อันเป็นผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ซึ่งมีโจทก์ร่วมเป็นผู้ทรงสิทธิบัตร จำเลยที่ 1 ได้เคย ฟ้องโจทก์ร่วมเป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ฉบับเดียวกันนี้เป็นคดีแพ่ง ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด โดยวินิจฉัยว่าการออกสิทธิบัตรการประดิษฐ์ให้แก่โจทก์ร่วม ไม่ชอบด้วยมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติ สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 เป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์ตามมาตรา 54 วรรคแรก จำเลยที่ 1 ย่อมยกขึ้นกล่าวอ้างได้ตามมาตรา 54 วรรคสอง การประดิษฐ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้จะต้องเป็นการประดิษฐ์ ขึ้นใหม่ซึ่งต้องไม่ใช่งานที่ปรากฏอยู่แล้ว คำว่า งานที่ปรากฏ อยู่แล้วมีอยู่หลายกรณีด้วยกันคือมีการจดสิทธิบัตรไว้แล้ว เป็นงานที่ใช้หรือแพร่หลายอยู่แล้วก่อนยื่นคำขอ หรือเป็นงานที่ เปิดเผยต่อสาธารณชนโฆษณาในสิ่งพิมพ์ หากสิ่งประดิษฐ์ใด มีลักษณะ 3 ประการที่กล่าวมา จะไม่ถือว่าเป็นสิ่งใหม่ ก่อนหน้าที่โจทก์ร่วมจะไปขอจดทะเบียนสิทธิบัตรเครื่องกรองน้ำ ที่พิพาท เครื่องกรองน้ำตามสิทธิบัตรของโจทก์ร่วมได้มี แพร่หลายอยู่แล้ว เมื่อโจทก์ร่วมไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า การประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำตามสิทธิบัตรของโจทก์ร่วมแตกต่าง จากการประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำที่แพร่หลายอยู่ก่อนนั้นอย่างไร กรณีจึงยังไม่แน่ชัดว่าการประดิษฐ์เครื่อง กรอง น้ำ ของ โจทก์ร่วม เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ซึ่งเข้ากฎเกณฑ์ที่จะขอรับสิทธิบัตร การประดิษฐ์ได้ นอกจากนี้เครื่องกรองน้ำตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ที่พิพาทของโจทก์ร่วมอันมีวิธีการทำงานโดยการปล่อยให้น้ำไหล จากท่อน้ำในถังกรองที่ 1 ผ่านสารกรองต่าง ๆ ที่ใส่ไว้ เป็นชั้น ๆ โดยน้ำจากสารกรองชั้นสุดท้ายจะไหลผ่านท่อน้ำ รูปตัวแอลไปสู่ด้านบนของถังกรองที่ 2 แล้วไหลผ่านสารกรองในถังกรองที่ 2 ที่จัดเรียงเป็นชั้น ๆ จนถึงชั้นสุดท้ายหลังจากนั้นน้ำจะไหลออกจากปลายท่อซึ่งมีก๊อกสำหรับเปิดน้ำใช้ ซึ่งหลักการทำงานของเครื่องกรองน้ำตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ที่พิพาทดังกล่าวนั้น เป็นหลักการทำงานที่อาศัยหลักของแรงดันน้ำ ขับดันให้น้ำไหลไปตามท่อที่วางไว้ภายในถังกรอง ประกอบกับ หลักการไหลจากที่สูงไปยังที่ต่ำของน้ำเพื่อให้น้ำไหลผ่านสารกรอง ด้านบนสุดไปยังสารกรองที่อยู่ด้านล่างสุด อันเป็นหลักการอย่างธรรมดาสามัญที่บุคคลทั่ว ๆ ไปย่อมทราบดีอยู่แล้ว คดีแพ่งเรื่องก่อนเป็นเรื่องที่โจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1ได้พิพาทกันในคดีแพ่งเกี่ยวกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์เดียวกันกับในคดีนี้ โดยศาลฎีกาในคดีดังกล่าวนั้นวินิจฉัยไว้ว่าสิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่สิทธิบัตร 422 นั้นไม่สมบูรณ์แม้ว่าคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีแพ่งจะผูกพันคู่ความในคดีดังกล่าว เฉพาะในทางแพ่งก็ตาม แต่ศาลย่อมจะนำคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว มาชั่งน้ำหนักประกอบพยานหลักฐานของคู่ความในคดีอาญาได้ สิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่สิทธิบัตร 422 ของโจทก์ร่วมมิใช่การประดิษฐ์ที่ไม่เป็นที่ประจักษ์โดยง่ายแก่บุคคลที่มีความชำนาญในระดับสามัญสำหรับงานประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำ จึงมิใช่การประดิษฐ์ที่มีขั้นตอนที่สูงขึ้น เมื่อสิทธิบัตร การประดิษฐ์ของโจทก์ร่วมดังกล่าวไม่สมบูรณ์ การกระทำของ จำเลยทั้งสองในการผลิตและมีไว้เพื่อขายเครื่องกรองน้ำ ตามสิทธิบัตรของโจทก์ร่วม จึงไม่เป็นความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4979/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานประกอบกัน: คำให้การผู้เสียหาย, คำรับสารภาพผู้ร่วมกระทำผิด, พยานตำรวจสนับสนุนคดีปล้นทรัพย์
แม้ในชั้นสอบสวนผู้เสียหายในคดีปล้นทรัพย์จะให้การแตกต่างจากคำเบิกความของผู้เสียหายในชั้นพิจารณาไปบ้างแต่ในชั้นสอบสวนผู้เสียหายก็ให้การยืนยันว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยกับชายอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นคนร้ายยืนคุมผู้เสียหายอยู่ในบ้านเกิดเหตุขณะที่คนร้ายอีกคนหนึ่งใช้ผ้ามัดมือของผู้เสียหายไว้ คำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายนี้ได้ให้การในวันเกิดเหตุนั้นเอง ได้กล่าวไว้อย่างละเอียดเป็นขั้นเป็นตอนในการที่ถูกคนร้ายร่วมกันปล้นทรัพย์และใช้อาวุธปืนยิงจนผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กาย ยากที่ผู้เสียหายจะปรุงแต่งเรื่องขึ้นมาเองเพื่อปรักปรำหรือแกล้งใส่ร้ายจำเลย คำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายนี้จึงรับฟังเป็นความจริงยิ่งกว่าคำเบิกความในชั้นพิจารณาได้เพราะผู้เสียหายเบิกความภายหลังเกิดเหตุเป็นเวลานานเกินสิบปี ผู้เสียหายคงไม่อาจจดจำรายละเอียดและเหตุการณ์ในการที่ คนร้ายร่วมกระทำผิดได้ครบถ้วนดังเช่นที่ให้การไว้ในชั้นสอบสวน ในวันเกิดเหตุนั้นเป็นแน่ แม้คำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายเป็นเพียงพยานบอกเล่า แต่ก็ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้รับฟังเสียเลย การที่จะรับฟังพยานบอกเล่าได้หรือไม่ เพียงใด ย่อมสุดแล้วแต่เหตุผลเป็นเรื่อง ๆ ไป โดยรับฟังได้ในฐานะพยานประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ คดีนี้โจทก์มีผู้เสียหายมาเบิกความและมีคำให้การรับสารภาพของ จ. และ ส. ในชั้นสอบสวนซัดทอดจำเลยซึ่งเป็นผู้ต้องหาในคดีเดียวกันว่า ในการร่วมกันปล้นทรัพย์ผู้เสียหายนี้ จำเลยเป็นผู้ชักชวน จ. และ ส.ไปด้วยกันซึ่ง จ. และ ส. ได้ให้การต่อพนักงานสอบสวนทันทีในวันที่ จ. และ ส. ถูกจับกุม และเป็นการยากที่ จ.และ ส. จะปรุงแต่งขึ้นเพื่อต่อสู้คดีหรือปรักปรำจำเลยจ. กับ ส. ได้ให้การชั้นสอบสวนตามความเป็นจริงโดยสมัครใจ คำให้การชั้นสอบสวนของผู้กระทำผิดด้วยกันดังกล่าวก็ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้ศาลรับฟัง ย่อมนำมารับฟังประกอบคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายได้ นอกจากนั้นโจทก์ยังมีเจ้าพนักงานตำรวจผู้สอบสวน จ. และ ส.มาเบิกความสนับสนุนว่า ชั้นสอบสวน จ. และ ส.ให้การรับสารภาพและยังได้นำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมจำเลยก็ให้การรับสารภาพ เช่นนี้เมื่อฟังคำเบิกความของผู้เสียหายในชั้นพิจารณา คำให้การของผู้เสียหายในชั้นสอบสวนประกอบคำให้การรับสารภาพของ จ.และ ส. ในชั้นสอบสวน กับคำเบิกความของเจ้าพนักงานตำรวจตลอดจนคำให้การรับสารภาพของจำเลยในชั้นจับกุมดังกล่าวแล้วเชื่อได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยได้ร่วมกับพวกอีกสองคนปล้นทรัพย์ของผู้เสียหายตามฟ้องไปจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4979/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐาน: คำให้การชั้นสอบสวน, คำรับสารภาพ, พยานประกอบ และการเชื่อถือได้ของพยาน
แม้ในชั้นสอบสวนผู้เสียหายในคดีปล้นทรัพย์จะให้การแตกต่างจากคำเบิกความของผู้เสียหายในชั้นพิจารณาไปบ้าง แต่ในชั้นสอบสวนผู้เสียหายก็ให้การยืนยันว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยกับชายอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นคนร้ายยืนคุมผู้เสียหายอยู่ในบ้านเกิดเหตุขณะที่คนร้ายอีกคนหนึ่งใช้ผ้ามัดมือของผู้เสียหายไว้ คำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายนี้ได้ให้การในวันเกิดเหตุนั้นเอง ได้กล่าวไว้อย่างละเอียดเป็นขั้นเป็นตอนในการที่ถูกคนร้ายร่วมกันปล้นทรัพย์และใช้อาวุธปืนยิงจนผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กาย ยากที่ผู้เสียหายจะปรุงแต่งเรื่องขึ้นมาเองเพื่อปรักปรำหรือแกล้งใส่ร้ายจำเลย คำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายนี้จึงรับฟังเป็นความจริงยิ่งกว่าคำเบิกความในชั้นพิจารณาได้ เพราะผู้เสียหายเบิกความภายหลังเกิดเหตุเป็นเวลานานเกินสิบปี ผู้เสียหายคงไม่อาจจดจำรายละเอียดและเหตุการณ์ในการที่คนร้ายร่วมกระทำผิดได้ครบถ้วนดังเช่นที่ให้การไว้ในชั้นสอบสวนในวันเกิดเหตุนั้นเป็นแน่
แม้คำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายเป็นเพียงพยานบอกเล่าแต่ก็ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้รับฟังเสียเลย การที่จะรับฟังพยานบอกเล่าได้หรือไม่เพียงใด ย่อมสุดแล้วแต่เหตุผลเป็นเรื่อง ๆ ไป โดยรับฟังได้ในฐานะพยานประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ คดีนี้โจทก์มีผู้เสียหายมาเบิกความ และมีคำให้การรับสารภาพของ จ.และ ส.ในชั้นสอบสวนซัดทอดจำเลยซึ่งเป็นผู้ต้องหาในคดีเดียวกันว่า ในการร่วมกันปล้นทรัพย์ผู้เสียหายนี้ จำเลยเป็นผู้ชักชวน จ.และ ส.ไปด้วยกันซึ่ง จ.และ ส.ได้ให้การต่อพนักงานสอบสวนทันทีในวันที่ จ.และ ส.ถูกจับกุม และเป็นการยากที่ จ.และ ส.จะปรุงแต่งขึ้นเพื่อต่อสู้คดีหรือปรักปรำจำเลย จ.และ ส.ได้ให้การในชั้นสอบสวนตามความเป็นจริงโดยสมัครใจ คำให้การชั้นสอบสวนของผู้กระทำผิดด้วยกันดังกล่าว ก็ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้ศาลรับฟัง ย่อมนำมารับฟังประกอบคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายได้ นอกจากนั้นโจทก์ยังมีเจ้าพนักงานตำรวจผู้สอบสวน จ.และ ส.มาเบิกความสนับสนุนว่า ชั้นสอบสวนจ.และ ส.ให้การรับสารภาพและยังได้นำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมจำเลยก็ให้การรับสารภาพ เช่นนี้ เมื่อฟังคำเบิกความของผู้เสียหายในชั้นพิจารณา คำให้การของผู้เสียหายในชั้นสอบสวนประกอบคำให้การรับสารภาพของ จ.และ ส.ในชั้นสอบสวน กับคำเบิกความของเจ้าพนักงานตำรวจตลอดจนคำให้การรับสารภาพของจำเลยในชั้นจับกุมดังกล่าวแล้ว เชื่อได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยได้ร่วมกับพวกอีกสองคนปล้นทรัพย์ของผู้เสียหายตามฟ้องไปจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4747/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อสันนิษฐานทางกฎหมายยาเสพติด: ครอบครองสารบริสุทธิ์เกิน 20 กรัม ถือว่ามีไว้เพื่อจำหน่าย
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสองที่บัญญัติว่า การผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่ยี่สิบกรัมขึ้นไป ให้ถือว่าผลิต นำเข้าส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายนั้น เป็นข้อสันนิษฐานของกฎหมายโดยเด็ดขาด โจทก์จึงไม่จำต้องนำสืบว่าจำเลยมีพฤติการณ์จำหน่ายเฮโรอีนอย่างใดบ้างเมื่อจำเลยรับว่ามีเฮโรอีนของกลางคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 65.9 กรัม ไว้ในครอบครอง จึงต้องถือว่าและฟังได้ว่าจำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าเจ้าพนักงานตำรวจจะค้นพบเฮโรอีนของกลางได้ที่ใดและจำเลยมีพฤติการณ์จำหน่ายเฮโรอีนด้วยหรือไม่ ไม่ใช่ข้อสำคัญ เพราะจำเลยไม่อาจนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4747/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อสันนิษฐานทางกฎหมายยาเสพติด: ครอบครองสารบริสุทธิ์เกิน 20 กรัม ถือว่ามีไว้เพื่อจำหน่าย
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสองที่บัญญัติว่า การผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่ยี่สิบกรัมขึ้นไป ให้ถือว่าผลิต นำเข้า ส่งออกหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายนั้น เป็นข้อสันนิษฐานของกฎหมายโดยเด็ดขาด โจทก์จึงไม่จำต้องนำสืบว่าจำเลยมีพฤติการณ์จำหน่ายเฮโรอีนอย่างใดบ้าง เมื่อจำเลยรับว่ามีเฮโรอีนของกลางคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 65.9 กรัมไว้ในครอบครอง จึงต้องถือว่าและฟังได้ว่าจำเลยมีไว้ ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่า เจ้าพนักงานตำรวจจะค้นพบเฮโรอีนของกลางได้ที่ใดและจำเลยมีพฤติการณ์จำหน่ายเฮโรอีนด้วยหรือไม่ ไม่ใช่ข้อสำคัญเพราะจำเลยไม่อาจนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวได้
of 70