คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ.

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 739 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2559/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางร่วมกัน, การรอนสิทธิใช้ประโยชน์, อายุความละเมิดต่อเนื่อง, อำนาจฟ้องผู้เสียหายพิเศษ
แม้ถนนสาธารณะจะอยู่ในความดูแลของสุขาภิบาล แต่ประชาชนทั่วไปก็มีสิทธิใช้ประโยชน์ร่วมกัน โดยเฉพาะโจทก์ซึ่งมีที่ดินและบ้านเรือนอยู่ติดถนนสาธารณะดังกล่าวย่อมได้รับประโยชน์จากการใช้ถนนสาธารณะนั้นยิ่งกว่าบุคคลทั่วไป การที่จำเลยปลูกสร้างโรงเรือนปิดกั้นถนนสาธารณะเป็นเหตุให้โจทก์ไม่อาจใช้ประโยชน์ได้ตามปกติ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปได้
การที่จำเลยปลูกสร้างโรงเรือนลงในที่พิพาทอันเป็นถนนสาธารณะเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ในอันที่จะใช้ประโยชน์จากที่พิพาทดังกล่าว เมื่อจำเลยยังไม่รื้อถอนโรงเรือนออกจากที่พิพาท การกระทำละเมิดของจำเลยยังคงมีอยู่ตลอดไป คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2520/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอพิจารณาใหม่หลังขาดนัดยื่นคำให้การและเหตุผลความล่าช้าที่ศาลรับฟังได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคแรกกำหนดระยะเวลาแก่คู่ความในการใช้สิทธิขอให้พิจารณาใหม่ไว้เป็น 2 ประการ กล่าวคือ ประการแรกจะต้องยื่นคำขอต่อศาลภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แก่จำเลยแต่ถ้าศาลได้กำหนดการอย่างใด ๆ เพื่อส่งคำบังคับโดยวิธีส่งหมายธรรมดาหรือโดยวิธีอื่นแทน ก็ให้นับแต่เมื่อการส่งคำบังคับมีผลใช้ได้ และประการหลังหากมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้จนเป็นเหตุให้คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดไม่อาจยื่นคำขอภายในเวลาที่กำหนดไว้ในประการแรกแล้วคู่ความฝ่ายนั้นมีสิทธิยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง ส่วนข้อความตอนท้ายของบทบัญญัติดังกล่าวซึ่งห้ามมิให้ยื่นคำขอเมื่อพ้นกำหนด 6 เดือน นับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือได้มีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่น มีความหมายว่าห้ามมิให้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่เมื่อพ้นหกเดือนนับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือมีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่นแม้จะมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้จนทำให้การยื่นคำขอต้องล่าช้าเกิน 6 เดือนก็ตาม
จำเลยที่ 3 ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ล่าช้าเกิน 15 วันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับโดยมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้แต่คำขอนั้นมิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งถึงเหตุแห่งการยื่นคำขอล่าช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคแรก ซึ่งวรรคสองของมาตรา 208 บังคับให้ต้องกล่าว แม้เป็นชั้นตรวจคำขอ ศาลก็ชอบที่จะสั่งยกคำขอให้พิจารณาใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2518/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน การเรียกร้องค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงที่ดิน และการพิพากษานอกคำฟ้อง
จำเลยตกลงขายที่ดินให้โจทก์นำไปจัดสรรขาย โดยอนุญาตให้โจทก์เข้าไปดำเนินการแบ่งแยกเป็นแปลงย่อยและขายที่ดินที่แบ่งแยกได้ เพื่อนำเงินมาชำระราคาที่ดินให้จำเลย เมื่อชำระครบถ้วนแล้วจำเลยจะไปทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนให้แก่โจทก์ ดังนี้ สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเข้าหุ้นกันจัดสรรที่ดินขาย โดยโจทก์ลงทุนปรับปรุงที่ดินจำเลยลงทุนเป็นที่ดิน จำเลยผิดสัญญาโจทก์จึงฟ้องเรียกเงินที่ลงทุนไปคืน ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาซื้อขายซึ่งตกเป็นโมฆะ ให้จำเลยคืนเงินค่าที่ดินที่โจทก์ชำระไปแล้ว เป็นการพิพากษานอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
นิติกรรมอันเป็นโมฆะที่คู่กรณีกลับคืนยังฐานะเดิม จะต้องเป็นนิติกรรมที่เป็นโมฆียะแล้วมีการบอกล้าง มิใช่นิติกรรมที่เป็นโมฆะมาแต่แรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2482/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงานแก้ไขคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ กรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม และการชดใช้ค่าเสียหายแทนการรับกลับเข้าทำงาน
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 41(4) ให้อำนาจคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์วินิจฉัยชี้ขาดคำร้องตามมาตรา 125 และในกรณีที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ชี้ขาดว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม ก็ให้มีอำนาจให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือให้จ่ายค่าเสียหายได้ คำสั่งชี้ขาดดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติใดบัญญัติว่าให้ถึงที่สุด คู่ความที่ไม่พอใจคำสั่งนั้น จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลแรงงานให้วินิจฉัยว่าคำสั่งดังกล่าวชอบหรือไม่อีกได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 8(4) หากศาลแรงงานเห็นว่า คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ใช้อำนาจหน้าที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม ศาลแรงงานย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขให้ถูกต้องและเหมาะสมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2413/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และดุลพินิจเจ้าพนักงานบังคับคดีในการรักษาสินทรัพย์ยึด
จำเลยชำระหนี้ตาม คำพิพากษาให้กับ ส. ภริยาโดยชอบด้วย กฎหมายของโจทก์ แต่ ส. ไม่ได้เป็นตัว เจ้าหนี้และไม่เป็นผู้มีอำนาจรับชำระหนี้แทนโจทก์ นอกจากนี้ ส. ไม่ได้อยู่ร่วมกับโจทก์และในวันที่ ส. รับชำระหนี้โจทก์ก็ไม่ได้อยู่รู้เห็นด้วย จึงหาเป็นการแสดงว่าโจทก์ให้ ส. รับชำระหนี้แทนและเป็นการให้สัตยาบันในการชำระหนี้ไม่ การชำระหนี้ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 315
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะมอบทรัพย์สินที่ยึดมาจากลูกหนี้ให้ผู้ใดรักษาเป็นดุลพินิจ ของเจ้าพนักงานบังคับคดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2403/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำขอพิจารณาใหม่ต้องระบุเหตุผลคัดค้านคำตัดสินชัดเจน การอ้างคำให้การเดิมไม่เพียงพอ
คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยมิได้กล่าวโดย ละเอียดชัดแจ้งซึ่ง ข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลว่าไม่ถูกต้องอย่างไร จำเลยกล่าวแต่เพียงว่าได้ ยื่นคำให้การอย่างละเอียดและมีเหตุผลอาจชนะคดีได้ โดย จะถือ เอาคำให้การของจำเลยเป็นส่วนหนึ่งของคำขอให้พิจารณาใหม่นั้นไม่ได้ ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2402/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจสมบูรณ์แม้ชื่อกรรมการไม่ตรงตามที่ระบุไว้ หากมีอำนาจลงนามตามหนังสือรับรองบริษัท
หนังสือมอบอำนาจระบุว่า บริษัทโจทก์โดย ว. และ ณ.กรรมการเป็นผู้มอบอำนาจให้ฟ้อง แต่ ตอนท้ายของหนังสือมอบอำนาจกลับปรากฏว่า ว. ร่วมกับ อ. กรรมการอีกคนหนึ่งของโจทก์เป็นผู้ลงลายมือชื่อมอบอำนาจให้ฟ้อง เมื่อตาม หนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครระบุว่า กรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อแทนโจทก์คือ ว. ลงลายมือชื่อร่วมกับ ก.หรือคนใดคนหนึ่งในสองคนนี้ลงลายมือชื่อร่วมกับกรรมการอีกคนหนึ่งและต้อง ประทับตราสำคัญของโจทก์ ดังนั้นการที่ ว. ลงลายมือชื่อร่วมกับ อ. กรรมการอีกคนหนึ่งของโจทก์และประทับตราสำคัญของโจทก์ จึงถือได้ว่าการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์สมบูรณ์แล้วแม้ ณ. จะไม่ได้ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2389/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในบ้านที่ปลูกบนที่ดิน: การซื้อขายส่วนควบ การจดทะเบียน และผลกระทบต่อการบังคับคดี
ผู้ร้องกับพี่สาวซื้อ ที่ดินมีโฉนด จากจำเลย โดย ทำหนังสือสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่ง ขณะนั้นบนที่ดินมีบ้านพิพาทของจำเลยปลูกอยู่บ้านพิพาทเป็นส่วนควบของที่ดิน ต่อมาเมื่อผู้ร้องกับพี่สาวซื้อ บ้านพิพาทจากจำเลย แม้จะทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันเอง บ้านพิพาทก็ตก เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องกับพี่สาวตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 107 วรรคสอง ตั้งแต่ วันทำหนังสือสัญญาซื้อขายบ้านพิพาทแล้วโดย ไม่ต้องไปจดทะเบียนการซื้อ ขายต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม มาตรา 456 อีกโจทก์จึงไม่มีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดบ้านพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2342/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับสารภาพมีผลผูกพัน ห้ามฎีกาเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงเดิม และโทษปรับตามกฎหมายศุลกากรต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง คดีต้อง ฟังตามคำรับสารภาพของจำเลยว่า จำเลยมีเจตนากระทำผิดดัง โจทก์ฟ้อง จำเลยจะฎีกาโต้เถียง ข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นไม่ได้ เพราะไม่ใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่าง ต้องห้าม ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ลงโทษจำเลยฐาน นำเงินตราไทยออกไปนอกราชอาณาจักร ตามพระราชบัญญัตศุลกากร พ.ศ. 2469 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีบทลงโทษหนักกว่าพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ. 2485 ซึ่งตามฟ้องของโจทก์ต้องด้วย พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 27 โดย กฎหมายมาตรานี้บัญญัติเกี่ยวกับโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำผิดว่า...สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่ง ได้ รวมค่าอากรด้วย แล้ว หรือจำคุกไม่เกินสิบปีหรือทั้งปรับทั้งจำ คดีนี้ศาลชั้นต้นปรับจำเลยเป็นเงินสี่เท่าของจำนวน เงินตรา ที่นำออกไปนอกราชอาณาจักรตาม กฎหมายแล้ว ซึ่ง บทกฎหมายดังกล่าวมิได้ให้ดุลพินิจ ศาลที่จะใช้ อำนาจปรับให้น้อยกว่านั้นหรือเป็นอย่างอื่นได้ ศาลฎีกาไม่อาจปรับให้น้อยลง หรือลงโทษสถานเบากว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2048/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตนิรโทษกรรมตาม พ.ร.บ.คอมมิวนิสต์ และดุลพินิจการนับโทษต่อของศาล
บทบัญญัติมาตรา 17 สัตตแห่งพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ.2495 ไม่ใช่เรื่องนิรโทษรกรรมแต่เป็นหลักเกณฑ์ที่ผู้กระทำความผิดได้รับการยกเว้นไม่ให้ถูกฟ้องสำหรับความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์เท่านั้น จำเลยกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา จึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับยกเว้นมิให้ฟ้อง
ปัญหาว่าจำเลยได้รับนิรโทษกรรม และนับโทษต่อไม่ได้นั้นเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยได้ แม้ศาลอุทธรณ์จะมิได้วินิจฉัย ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยได้
การจะนับโทษจำคุกจำเลยต่อจากคดีอื่นหรือไม่ เป็นดุลพินิจของศาล แม้คดอื่นและคดีนี้ศาลวางโทษจำคุกตลอดชีวิตเช่นเดียวกัน ศาลใช้ดุลพินิจให้นับโทษต่อได้
of 74