พบผลลัพธ์ทั้งหมด 739 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6184/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเรื่องสัญชาติไทยของบุคคลที่มีมารดาเป็นคนต่างด้าวและการถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ
การที่โจทก์ทั้งสิบสามไปรายงานตัวต่อสำนักงานกิจการญวนอพยพจังหวัดอุบลราชธานีว่าเป็นคนญวนอพยพ ตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศให้คนญวนอพยพที่มีอายุ 12 ปี ขึ้นไปมารายงานตัวต่อสำนักงานกิจการญวนอพยพก็เพราะกลัวว่าจะถูกจับกุม และก่อนฟ้องคดีนี้บิดาของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 และเป็นตา ของโจทก์ที่ 12 ถึงที่ 13ได้มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดว่าโจทก์ทั้งสิบสามเป็นคนสัญชาติไทย ขอให้เพิกถอนชื่อโจทก์ทั้งสิบสามออกจากทะเบียนบ้านญวนอพยพ แต่ได้รับการปฏิเสธ แสดงว่าจำเลยทั้งสองยืนยันว่าโจทก์ดังกล่าวยังเป็นคนสัญชาติญวนอยู่ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แล้ว
โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 เป็นบุตรของนาง จ. โจทก์ที่ 9 ถึงที่ 11เป็นบุตรของโจทก์ที่ 1 ซึ่งนาง จ. และโจทก์ที่ 1 เป็นคนต่างด้าวเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรโดยมิได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและไม่ปรากฏบิดา ที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8จะได้สัญชาติไทยโดยการเกิด สัญชาติไทยของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 ก็ต้องถูกถอนตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 1 โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 จึงมิใช่ผู้ที่มีสัญชาติไทย
โจทก์ที่ 12 และที่ 13 เกิดในราชอาณาจักรโดยมีโจทก์ที่ 5 และที่ 6 เป็นมารดาโจทก์ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ที่ 12 และที่ 13 จึงได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 มาตรา 7(3) ถึงแม้โจทก์ที่ 5 และที่ 6 ซึ่งเป็นมารดาจะได้ถูกถอนสัญชาติไทย แต่มารดาโจทก์ก็เกิดในราชอาณาจักรมิใช่คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โจทก์ที่ 12 และที่ 13 จึงมิใช่บุคคลที่จะต้องถูกถอนสัญชาติไทยตามที่กำหนดไว้ในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515.
โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 เป็นบุตรของนาง จ. โจทก์ที่ 9 ถึงที่ 11เป็นบุตรของโจทก์ที่ 1 ซึ่งนาง จ. และโจทก์ที่ 1 เป็นคนต่างด้าวเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรโดยมิได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและไม่ปรากฏบิดา ที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8จะได้สัญชาติไทยโดยการเกิด สัญชาติไทยของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 ก็ต้องถูกถอนตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 1 โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 จึงมิใช่ผู้ที่มีสัญชาติไทย
โจทก์ที่ 12 และที่ 13 เกิดในราชอาณาจักรโดยมีโจทก์ที่ 5 และที่ 6 เป็นมารดาโจทก์ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ที่ 12 และที่ 13 จึงได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 มาตรา 7(3) ถึงแม้โจทก์ที่ 5 และที่ 6 ซึ่งเป็นมารดาจะได้ถูกถอนสัญชาติไทย แต่มารดาโจทก์ก็เกิดในราชอาณาจักรมิใช่คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โจทก์ที่ 12 และที่ 13 จึงมิใช่บุคคลที่จะต้องถูกถอนสัญชาติไทยตามที่กำหนดไว้ในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6171/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับข้อเท็จจริงทางกฎหมายจากคำให้การของผู้ถูกฟ้อง หากไม่ปฏิเสธหนี้ถือว่ายอมรับ
จำเลยให้การว่า ก่อนระยะเวลาที่โจทก์อ้างว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าโทรศัพท์นั้นจำเลยไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ แต่ในช่วงระยะเวลาที่โจทก์อ้างว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าโทรศัพท์แก่โจทก์ จำเลยว่าได้ให้เช่าช่วงไปแล้วโดยไม่ได้ปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ คำให้การของจำเลยทั้งหมดไม่ปรากฏว่า จำเลยกล่าวปฏิเสธถึงหนี้และใบทวงหนี้ตามฟ้อง จึงเท่ากับเป็นการยอมรับข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์ โจทก์ไม่ต้องนำสืบพยาน และจำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะนำสืบพยานฝ่ายตน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6094/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และสิทธิเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลของผู้ถูกละเมิด
แม้โจทก์ที่ 2 จะขับรถจักรยานยนต์ให้โจทก์ที่ 1 และที่ 3 นั่งซ้อนท้ายมาด้วย เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย แต่เหตุดังกล่าวมิใช่เหตุโดยตรงที่ทำให้รถเกิดเฉี่ยวชนกันเมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถแซงรถผู้อื่นบนสะพานล้ำเส้นทึบแบ่งกึ่งกลางถนนออกไปเฉี่ยวชนรถโจทก์ที่ 2 ซึ่งขับมาด้วยความเร็วประมาณ 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เหตุที่เกิดขึ้นจึงเกิดจากความประมาทของจำเลยที่ 1 แต่เพียงฝ่ายเดียว
โจทก์ที่ 2 เป็นข้าราชการ แม้จะมีสิทธิได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลทั้งในส่วนของตนตลอดจนโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาและโจทก์ที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรก็ตาม สิทธิดังกล่าวก็เป็นสิทธิที่รัฐกำหนดให้แก่ข้าราชการไม่เกี่ยวกับความรับผิดของจำเลย โจทก์ทั้งสามจึงมีสิทธิที่จะเรียกร้องเอาค่ารักษาพยาบาลจากจำเลยผู้ต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดได้อีก
โจทก์ทั้งสามฟ้องให้จำเลยรับผิดฐานละเมิดมาในฟ้องเดียวกันโดยแยกทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องมา ชัดเจน เป็นส่วนของแต่ละคน เมื่อทุนทรัพย์ที่โจทก์ที่ 3 เรียกร้องไม่เกิน 50,000 บาทและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 3จะฎีกาเกี่ยวกับจำนวนค่าเสียหายของโจทก์ที่ 3 ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248
โจทก์ที่ 2 เป็นข้าราชการ แม้จะมีสิทธิได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลทั้งในส่วนของตนตลอดจนโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาและโจทก์ที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรก็ตาม สิทธิดังกล่าวก็เป็นสิทธิที่รัฐกำหนดให้แก่ข้าราชการไม่เกี่ยวกับความรับผิดของจำเลย โจทก์ทั้งสามจึงมีสิทธิที่จะเรียกร้องเอาค่ารักษาพยาบาลจากจำเลยผู้ต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดได้อีก
โจทก์ทั้งสามฟ้องให้จำเลยรับผิดฐานละเมิดมาในฟ้องเดียวกันโดยแยกทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องมา ชัดเจน เป็นส่วนของแต่ละคน เมื่อทุนทรัพย์ที่โจทก์ที่ 3 เรียกร้องไม่เกิน 50,000 บาทและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 3จะฎีกาเกี่ยวกับจำนวนค่าเสียหายของโจทก์ที่ 3 ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5990/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินประจำตำแหน่ง ส.ส. ไม่อยู่ในข่ายเงินเดือนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286(2) บังคับคดีได้
เงินประจำตำแหน่ง เงินค่ารับรองและเงินช่วยเหลือค่าที่พักของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมิใช่เงินเดือน ทั้งตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมิใช่ข้าราชการเงินทั้ง 3 ประเภทจึงไม่อยู่ในความหมายของเงินเดือนของข้าราชการหรือลูกจ้างของ รัฐบาล ตามป.วิ.พ. มาตรา 286(2) โจทก์ย่อมขอบังคับคดีได้ กรณีนี้ไม่มีกฎหมายให้อำนาจศาลกำหนดเงินจำนวนตามที่เห็นสมควร เพื่อมิให้ต้องรับผิดในการบังคับคดีดังเช่นกรณีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286 (1) (3) (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5950/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความรับผิดทางแพ่งจากเช็ค การใช้บัตรประชาชนปลอมเปิดบัญชี และการรับฟังพยานหลักฐาน
ในระหว่างที่คดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดชดใช้เงินตามเช็คอยู่ในการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยได้ยื่นคำแถลงว่าตำรวจจับตัว ข. ได้ และพนักงานอัยการได้ฟ้อง ข.ต่อศาลอาญาในข้อหาปลอมบัตรประจำตัวประชาชนและใช้บัตรประจำตัวประชาชนปลอมแสดงต่อเจ้าหน้าที่ของ ธนาคารโจทก์จนหลงเชื่อว่าเป็นบัตรประจำตัวประชาชนที่แท้จริงของจำเลย และยอมให้ ข. เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันที่ธนาคารโจทก์ในชื่อของจำเลย ศาลอาญาได้พิพากษาว่า ข. มีความผิดฐานใช้บัตรประจำตัวประชาชนปลอมแล้วปรากฏตามสำเนาคำพิพากษาของศาลอาญาท้ายคำแถลง ของจำเลย ซึ่งทนายโจทก์ได้รับสำเนาคำแถลงดังกล่าวของจำเลยแล้ว มิได้แถลงคัดค้านข้อเท็จจริงตามคำแถลงดังกล่าวแต่อย่างใด ศาลฎีกาก็รับฟังสำเนาคำพิพากษาของศาลอาญาดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5812/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ยื่นคำขอประทานบัตรและการฟ้องร้องกรณีบุกรุกพื้นที่ทำเหมืองแร่
โจทก์เป็นเพียงผู้ยื่นคำขอประทานบัตรเท่านั้น ซึ่งอธิบดีมีอำนาจสั่งยกคำขอประทานบัตรเสียได้ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิเข้าไปกระทำการใด ๆ แก่พื้นที่และไม่มีสิทธิครอบครอง แร่ที่มีอยู่ในเขตพื้นที่ตามคำขอยังเป็นสมบัติของรัฐอยู่ ถ้ามีผู้มาขุดแร่ต้องถือว่ารัฐเป็นผู้เสียหายโดยตรง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5726/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิทำกินในที่ดิน สทก.1 ฝ่าฝืน พ.ร.บ.ป่าสงวนฯ สัญญาซื้อขายเป็นโมฆะ
ทรัพย์ของจำเลยที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดเป็นต้นผลอาสิน (ต้นทุเรียน เงาะ ขนุน ชมพู่) ในที่ดินตามหนังสืออนุญาตให้ได้รับการผ่อนผันให้มีสิทธิทำกินชั่วคราวในเขตป่าสงวนแห่งชาติเรียกว่า สทก.1 ซึ่ง น. เป็นผู้ได้รับการผ่อนผันให้มีสิทธิครอบครองทำกินชั่วคราวมีเงื่อนไขว่า จะแบ่งแยกหรือโอนสิทธิหรือให้เช่าช่วงทำกินไปยังบุคคลอื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม ฉะนั้น น. จึงเป็นผู้มีสิทธิทำกินในที่ดินดังกล่าวแต่ผู้เดียว แม้ น. ได้ทำหนังสือสัญญาการซื้อขายทรัพย์ที่โจทก์นำยึดให้ผู้ร้อง ก็ไม่มีผลบังคับ เพราะการขายทรัพย์ดังกล่าวเป็นการขายในสภาพติดกับที่ดิน ซึ่งทำให้ผู้ซื้อได้สิทธิครอบครองทรัพย์ที่นำยึด จึงถือได้ว่าเป็นการโอนสิทธิทำกินชั่วคราวในที่ดินดังกล่าวอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และเงื่อนไขดังกล่าว ทรัพย์ดังกล่าวจึงหาตกเป็นของผู้ร้องไม่ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขัดทรัพย์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5716/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับมรดกของบุตรที่ได้รับการรับรองโดยคำพิพากษา: อำนาจฟ้องและผลของกฎหมาย
คำสั่งศาลที่ว่าจำเลยเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ ช. ผู้ตายมีผลทำให้ผู้ตายและจำเลยมีฐานะเป็นบิดาและบุตรชอบด้วยกฎหมายนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1557(3) การที่จำเลยจะเกิดสิทธิรับมรดกของผู้ตายย้อนหลังไปถึงวันที่ผู้ตายถึงแก่กรรมหรือไม่ เป็นผลอันเกิดจากบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1558 หาได้มีผลมาจากคำพิพากษาในคดีก่อนไม่ เมื่อไม่มีบทกฎหมายสารบัญญัติใดให้สิทธิฟ้องขอเพิกถอนคำพิพากษาดังกล่าวว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายไว้เช่นกรณีอื่น จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิในการรับมรดกของผู้ตาย โจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5586/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าตอบแทนการใช้ทรัพย์สินยึดในธุรกิจดิสโก้เธค: สิทธิของผู้ดำเนินกิจการและผู้จะซื้อทรัพย์สิน
โจทก์ฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้แก่โจทก์ ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยึดอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจดิสโก้เธค ที่บ้านเลขที่ 1857 ซึ่งเป็นสถานที่ใช้ดำเนินธุรกิจดิสโก้เธค ไว้ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาเมื่อยึดแล้วผู้ร้องที่ 1 และที่ 2 ได้ขอเข้าดำเนินธุรกิจดิสโก้เธค ในสถานที่ดังกล่าวต่อไป ศาลชั้นต้นอนุญาตโดยมีเงื่อนไขว่าผู้ร้องที่ 1 และที่ 2 ต้องชำระค่าตอบแทนเดือนละ 200,000 บาท โดยนำมาวางไว้ต่อศาลเพื่อประโยชน์ของคู่ความ ดังนี้ เงินค่าตอบแทนดังกล่าวจึงเป็นการมุ่งที่จะให้เป็นค่าตอบแทนในการที่ศาลอนุญาตให้ผู้ร้องที่ 1และที่ 2 เข้าดำเนินธุรกิจสถานดิสโก้เธค ซึ่งย่อมต้องอาศัยอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ติดตั้งอยู่ในสถานดิสโก้เธค นั้นเป็นหลักหาได้มุ่งถึงค่าตอบแทนในการใช้อาคารและที่ดินด้วยไม่ดังนั้น ไม่ว่าผู้ร้องที่ 3 จะเป็นผู้จะซื้อที่ดินที่ตั้งสถานดิสโก้เธค หรือไม่ก็ตาม ผู้ร้องที่ 3 ก็ไม่มีสิทธิที่จะขอรับเงินค่าตอบแทนนี้ไปจากศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5575/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินยังไม่โอนจนกว่าจะจดทะเบียน แม้มีสัญญาประนีประนอมยอมความ การโอนจึงไม่เป็นยักยอก
จำเลยเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดิน แม้ต่อมาศาลจะพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้จำเลยยกที่ดินให้ว. ครึ่งหนึ่ง โดยใส่ชื่อ ว. เป็นเจ้าของรวมในโฉนด แต่เมื่อยังไม่มีการจดทะเบียนใส่ชื่อ ว. เป็นเจ้าของรวม ว. ก็ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน ที่ดินยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยเพียงผู้เดียว การที่จำเลยโอนที่ดินทั้งหมดให้ ถ. จึงไม่เป็นความผิดฐานยักยอก.