พบผลลัพธ์ทั้งหมด 739 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5061/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทแรงงานและการดำเนินการตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ การยื่นข้อเรียกร้องและการไกล่เกลี่ย
การที่บริษัทนายจ้างยื่นข้อเรียกร้องต่อผู้ร้องซึ่งเป็นสหภาพแรงงาน แล้วผู้ร้องไม่ยอมรับข้อเรียกร้องและไม่ยอมเจรจานั้นถือว่าได้มีข้อพิพาทแรงงานเกิดขึ้น เมื่อบริษัทนายจ้างได้แจ้งข้อพิพาทแรงงานต่อพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานอันเป็นการดำเนินการตาม พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 21 แล้ว ย่อมเป็นหน้าที่ของพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานที่จะพิจารณาข้อเรียกร้องดังกล่าวและดำเนินการไกล่เกลี่ย ให้ฝ่ายแจ้งข้อเรียกร้องและฝ่ายรับข้อเรียกร้องตกลงกันต่อไปตามมาตรา 22 หากไม่อาจตกลงกันได้บริษัทนายจ้างและผู้ร้องชอบที่จะดำเนินการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 22 วรรคท้าย ต่อไป จะใช้สิทธิทางศาลขอให้วินิจฉัยชี้ขาดว่าการยื่นข้อเรียกร้องดังกล่าวไม่ชอบหาได้ไม่ เพราะตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 หาได้มีบทบัญญัติให้บุคคลใช้สิทธิทางศาลสำหรับกรณีนี้แต่ประการใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5059/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีบุกรุก: การหมดอายุความและการฟ้องเพื่อเอาคืนการครอบครอง
ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานบุกรุก ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์มิได้ครอบครองที่ดินพิพาทในขณะฟ้องคดีนี้ตามที่บรรยายมาในฟ้อง การที่โจทก์มีคำขอให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและต้นไม้ออกจากที่ดินพิพาทและห้ามจำเลยเกี่ยวข้องกับที่ดิน พิพาทมาพร้อมกับฟ้องคดีอาญา ถือได้ว่าเป็นการฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครอง ซึ่งโจทก์จะต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง เมื่อปรากฏจากคำเบิกความของโจทก์ในชั้นไต่สวนดังกล่าวว่า โจทก์ฟ้องคดีนี้เกินกว่า 1 ปี นับแต่วันถูกแย่งการครอบครอง โจทก์จึงหมดสิทธิฟ้องแม้จำเลยจะยังมิได้ให้การต่อสู้คดี
ปัญหาเรื่องสิทธิฟ้องร้องของโจทก์เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
ปัญหาเรื่องสิทธิฟ้องร้องของโจทก์เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5016/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจในการยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่หลังถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียว
ก่อนจำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ ศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยหลังจากนั้นเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่จะฟ้อง ร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 22(3) การยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ในคดีนี้เป็นการต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ถูกโจทก์ฟ้องให้ชำระหนี้ จึงเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่จะยื่นคำขอจำเลยหามีสิทธิยื่นไม่
การที่ศาลจะมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีแทนจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 25 นั้น ต้องเป็นกรณีที่จำเลยได้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ไว้ก่อนแล้ว คดีอยู่ในระหว่างพิจารณา และศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ภายหลัง เมื่อจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดไปก่อนแล้วจึงยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายหลัง กรณีย่อมไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าวที่ศาลจะต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาว่าคดีแทนจำเลย.
การที่ศาลจะมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีแทนจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 25 นั้น ต้องเป็นกรณีที่จำเลยได้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ไว้ก่อนแล้ว คดีอยู่ในระหว่างพิจารณา และศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ภายหลัง เมื่อจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดไปก่อนแล้วจึงยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายหลัง กรณีย่อมไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าวที่ศาลจะต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาว่าคดีแทนจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4988/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ล้มละลาย: แม้มีหนี้สิน แต่มีทรัพย์สินและรายได้เพียงพอชำระหนี้ได้ ศาลไม่ควรสั่งให้ล้มละลาย
เมื่อพยานหลักฐานของจำเลยที่นำสืบมาฟังได้ว่า จำเลยมีทรัพย์สินเป็นที่ดินจำนวนหลายแปลง ซึ่งแม้ที่ดินดังกล่าวจะติดจำนองทุกแปลง และจำเลยนำสืบว่าราคาที่แท้จริงมากกว่ามูลค่าจำนองโดยการประมาณของจำเลยเอง โดยไม่มีหลักฐานจากสำนักงานที่ดินมายืนยันสนับสนุน แต่จำเลยก็มีที่ดินอยู่มากแปลงซึ่งเมื่อรวมมูลค่ากันแล้ว ส่วนที่เกินจากการถูกบังคับจำนองก็น่าจะมีมูลค่าเหลืออยู่เป็นเงินจำนวนสูง นอกจากนี้จำเลยยังมีทรัพย์สินอื่นอีกมาก และยังประกอบอาชีพมีรายได้ รวมทั้งจำเลยนำสืบได้อีกว่าช. ลูกหนี้โจทก์ซึ่งจำเลยเป็นผู้ค้ำประกัน ยังประกอบธุรกิจหากโจทก์บังคับคดีแก่ ช. ก็จะได้ชำระหนี้ส่วนหนึ่ง สรุปแล้วจำเลยนำสืบมาพอที่จะเชื่อได้ว่า จำเลยยังอยู่ในฐานะที่อาจชำระหนี้ได้ กรณีมีเหตุไม่ควรให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4955/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นฎีกาเกินกำหนด & ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและอาวุธปืน: ศาลฎีกาไม่รับฎีกาเนื่องจากเหตุสุดวิสัยไม่สมเหตุผล & วางโทษอาวุธปืนใหม่
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นรับฎีกาภายหลังระยะเวลาที่จะยื่นฎีกาได้สิ้นสุดลงแล้ว ดังนี้ จำเลยมีสิทธิจะขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาได้เฉพาะกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยเท่านั้น แต่พฤติการณ์ตามคำร้องของจำเลยที่อ้างว่า จำเลยไม่เข้าใจขั้นตอนต่าง ๆ ในการต่อสู้คดีว่าจำเลยมีสิทธิที่จะยื่นฎีกาภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ทนายจำเลยเพิ่งทราบว่าศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาฎีกาแล้วจำเลย ไม่มีเจตนาที่จะไม่ยื่นฎีกาภายในกำหนดระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดนั้น ไม่ใช่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัย จึงไม่เข้าเกณฑ์ที่จำเลยจะขอขยายระยะเวลาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีมอร์ฟีน โคเคอีน และฝิ่นไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายในวาระเดียวกัน แม้วัตถุแห่งการกระทำความผิดจะต่างชนิดกัน แต่ต่างเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียว
จำเลยมีอาวุธปืนลูกซองพร้อมกระสุนปืนลูกซองและกระสุนปืนขนาด .32 ไว้ในครอบครองเป็นกรรมเดียวกัน แต่ศาลล่างทั้งสองวางโทษ 2 กระทง จึงไม่ชอบ แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์และฎีกาปัญหาข้อนี้แต่ปัญหานี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงวางโทษเสียใหม่ให้ถูกต้อง.
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีมอร์ฟีน โคเคอีน และฝิ่นไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายในวาระเดียวกัน แม้วัตถุแห่งการกระทำความผิดจะต่างชนิดกัน แต่ต่างเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียว
จำเลยมีอาวุธปืนลูกซองพร้อมกระสุนปืนลูกซองและกระสุนปืนขนาด .32 ไว้ในครอบครองเป็นกรรมเดียวกัน แต่ศาลล่างทั้งสองวางโทษ 2 กระทง จึงไม่ชอบ แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์และฎีกาปัญหาข้อนี้แต่ปัญหานี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงวางโทษเสียใหม่ให้ถูกต้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4944/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ผลของการวินิจฉัยศาลชั้นต้นเรื่องฟ้องซ้ำทำให้โจทก์ฟ้องไม่ได้อีก แม้คำสั่งศาลจะใช้คำไม่ถูกต้อง
แม้ในการวินิจฉัยปัญหาเรื่องฟ้องซ้ำของศาลชั้นต้นจะเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาข้อกฎหมายก่อนมีคำพิพากษา และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเฉพาะข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267ก็ตาม แต่ผลจากคำวินิจฉัยในเรื่องฟ้องซ้ำนั้นย่อมทำให้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาดังกล่าวอีกไม่ได้ตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) แม้ศาลชั้นต้นจะใช้คำว่าจำหน่ายคดีเฉพาะข้อหาดังกล่าวซึ่งไม่ถูกต้องก็ตาม ก็มีผลเท่ากับเป็นการยกฟ้องโจทก์ ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโจทก์จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 220 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 มาตรา 13
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4876/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าที่ดินเพื่อเลี้ยงปลาไม่เข้าข่ายกฎหมายเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิซื้อที่ดิน
ขณะเกิดกรณีพิพาทโจทก์ไม่ได้ทำนาในที่ดินพิพาทแล้ว แต่ได้ขุดบ่อเลี้ยงปลาจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้เช่านาตามความหมายในพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 เป็นการเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมประเภทอื่น จึงต้องนำมาตรา 63 มาใช้บังคับ ซึ่งมีใจความว่าในกรณีที่การเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมประเภทใดนอกจากการเช่านาเมื่อรัฐบาลเห็นสมควรกำหนดให้การเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมประเภทนั้นมีการควบคุมก็ให้มีอำนาจกระทำการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา เมื่อปรากฏว่ายังไม่มีพระราชกฤษฎีกาควบคุมการเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมประเภทอื่น ดังนั้น โจทก์จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง และศาลพิพากษายกฟ้องแล้วฟ้องแย้งย่อมต้องตกไปเพราะการฟ้องแย้งนั้นจะมีได้ต้องมีฟ้องเดิมและตัวโจทก์เดิมที่จะเป็นจำเลยของฟ้องแย้งอยู่ด้วย.
เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง และศาลพิพากษายกฟ้องแล้วฟ้องแย้งย่อมต้องตกไปเพราะการฟ้องแย้งนั้นจะมีได้ต้องมีฟ้องเดิมและตัวโจทก์เดิมที่จะเป็นจำเลยของฟ้องแย้งอยู่ด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4866/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของนายจ้างในการไม่อนุมัติลาออกและการไล่ออกลูกจ้าง ศาลเพิกถอนคำสั่งได้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้ลาออกจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยแล้วมีสิทธิ ได้รับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การที่จำเลยกลับมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากงานเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะจำเลยมีเจตนากลั่นแกล้งที่จะไม่จ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้แก่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยจ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและเพิกถอนคำสั่งเรื่องไล่ออกจากงานของจำเลย จำเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยโจทก์ไม่มี สิทธิได้รับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่ามีเหตุจะเพิกถอนคำสั่งของจำเลยเรื่องไล่ออกจากงานหรือไม่ และจำเลยต้องจ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแก่โจทก์หรือไม่ เช่นนี้ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยพยานหลักฐานและพฤติการณ์ต่าง ๆ ของจำเลยที่กระทำต่อโจทก์ว่า ก่อนที่โจทก์จะยื่นใบลาออก จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์ ถือว่าเป็นการลดตำแหน่งและจำเลยไม่พิจารณาขึ้นเงินเดือนกับจ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์โดยไม่เคยกล่าวหา ว่าโจทก์กระทำผิดหรือตั้งกรรมการสอบสวนความผิดเมื่อถึงกำหนดใบลาออก โจทก์มิได้ไปทำงานจำเลยมิได้ไล่โจทก์ออกจากงานในเวลาที่สมควรนั้น เพื่อให้เห็นว่าจำเลยกลั่นแกล้งโจทก์ เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต อันจะเชื่อมโยงให้เห็นว่าคำสั่งของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นเหตุให้ศาลแรงงานกลางเพิกถอนคำสั่งของจำเลยได้ จึงเป็นการวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทโดยตรง มิใช่นอกฟ้องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4746/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้จากดอกเบี้ยสัญญาจำนองที่ไม่ได้รับจริง ศาลฎีกาพิพากษากลับให้คืนเงินภาษีพร้อมดอกเบี้ย
จำเลยไม่มีพยานหลักฐานมาสืบให้เห็นว่า โจทก์และภรรยาได้รับดอกเบี้ยตามสัญญาจำนองเลย คงอ้างแต่เพียงว่าเมื่อระบุว่าคิดดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ไว้ในสัญญาจำนอง ก็ต้องถือว่าโจทก์และภรรยาได้รับดอกเบี้ยตามที่ระบุไว้นั้น พยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของจำเลย ฟังได้ว่า โจทก์และภรรยาไม่ได้รับเงินดอกเบี้ยตามสัญญาจำนอง จึงไม่มีเงินได้พึงประเมินจากเงินดอกเบี้ย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4741/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวสงวนเฉพาะคู่ความในคดีเท่านั้น ผู้ร้องสอดไม่มีสิทธิ
ผู้ที่จะร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 ต้องเป็นคู่ความในคดีที่ขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองนั้น ผู้ร้องสอดเพียงแต่ยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความ ผู้ร้องสอดจึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองประโยชน์ตามบทบัญญัติดังกล่าว