พบผลลัพธ์ทั้งหมด 739 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4737/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์ อากรแสตมป์ค้างชำระ และการได้ภารจำยอมโดยอายุความ
โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 9 มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 10 กระทำกิจการหลายอย่างรวมทั้งฟ้องคดีนี้ จึงเป็นหนังสือมอบอำนาจทั่วไป และโจทก์ดังกล่าวต่างอ้างว่ามีสิทธิใช้ทางพิพาทโดยอาศัยสิทธิที่เป็นเจ้าของที่ดินสามยทรัพย์คนละแปลงต่างกัน แม้จะทำหนังสือมอบอำนาจเป็นตราสารฉบับเดียวกันก็ตาม ก็ต้องเสียอากรตามรายบุคคลคนละ30 บาท ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 108 และบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 21 (ข) จึงต้องปิดอากรแสตมป์ 270 บาท โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 9ปิดอากรแสตมป์เพียง 30 บาท จึงไม่บริบูรณ์ ต้องห้ามมิให้ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งตามมาตรา 118 โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 9 จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ภารจำยอมอาจได้มาโดยอายุความซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยอายุความได้สิทธิตามลักษณะ 3 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งได้แก่อายุความตามมาตรา 1382 ที่กำหนดว่าถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์มีอายุความ 10 ปี มาตราดังกล่าวมุ่งหมายถึงเฉพาะเจ้าของสามยทรัพย์ผู้ใช้สิทธิทางภารจำยอมในภารยทรัพย์เท่านั้น โดยไม่คำนึงถึงเจ้าของภารยทรัพย์ แม้จำเลยจะรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินภารยทรัพย์มาจากนายจิตติโจทก์เจ้าของสามยทรัพย์ก็นับอายุความการใช้ทางพิพาทตั้งแต่นายจิตติเจ้าของเดิมรวมกับระยะเวลาที่จำเลยเป็นเจ้าของติดต่อกันได้เมื่อปรากฏว่าเกิน 10 ปี ย่อมได้ภารจำยอมโดยอายุความตามมาตรา 1401
โจทก์ทั้งสิบฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้ทางพิพาทตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสิบ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าทางพิพาทตกเป็นภารจำยอมเฉพาะที่ดินของโจทก์ที่ 10 ศาลอุทธรณ์ก็ต้องพิพากษาให้ทางพิพาทตกเป็นภารจำยอมเฉพาะแต่ที่ดินของโจทก์ที่ 10และระบุเลขที่ดินและเลขโฉนดที่ดินของโจทก์ที่ 10 ที่ได้ความจากทางพิจารณาลงไปให้ชัดเจน และที่ให้จำเลยทั้งสองรื้อกำแพงคอนกรีตและประตูเหล็กยืด ก็มีในคำขอท้ายฟ้อง ศาลอุทธรณ์จึงไม่ได้พิพากษาเกินหรือนอกไปจากคำขอท้ายฟ้อง.
ภารจำยอมอาจได้มาโดยอายุความซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยอายุความได้สิทธิตามลักษณะ 3 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งได้แก่อายุความตามมาตรา 1382 ที่กำหนดว่าถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์มีอายุความ 10 ปี มาตราดังกล่าวมุ่งหมายถึงเฉพาะเจ้าของสามยทรัพย์ผู้ใช้สิทธิทางภารจำยอมในภารยทรัพย์เท่านั้น โดยไม่คำนึงถึงเจ้าของภารยทรัพย์ แม้จำเลยจะรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินภารยทรัพย์มาจากนายจิตติโจทก์เจ้าของสามยทรัพย์ก็นับอายุความการใช้ทางพิพาทตั้งแต่นายจิตติเจ้าของเดิมรวมกับระยะเวลาที่จำเลยเป็นเจ้าของติดต่อกันได้เมื่อปรากฏว่าเกิน 10 ปี ย่อมได้ภารจำยอมโดยอายุความตามมาตรา 1401
โจทก์ทั้งสิบฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้ทางพิพาทตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสิบ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าทางพิพาทตกเป็นภารจำยอมเฉพาะที่ดินของโจทก์ที่ 10 ศาลอุทธรณ์ก็ต้องพิพากษาให้ทางพิพาทตกเป็นภารจำยอมเฉพาะแต่ที่ดินของโจทก์ที่ 10และระบุเลขที่ดินและเลขโฉนดที่ดินของโจทก์ที่ 10 ที่ได้ความจากทางพิจารณาลงไปให้ชัดเจน และที่ให้จำเลยทั้งสองรื้อกำแพงคอนกรีตและประตูเหล็กยืด ก็มีในคำขอท้ายฟ้อง ศาลอุทธรณ์จึงไม่ได้พิพากษาเกินหรือนอกไปจากคำขอท้ายฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4702/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-อายุความเช็ค: ศาลฯ ยืนฟ้องได้ แม้ฟ้องซ้ำศาลเดิม เหตุคดีก่อนยกฟ้องเพราะอำนาจศาลไม่ครบ
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยเรียกเงินตามเช็คภายในกำหนดอายุความแล้วแต่ศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ เพราะคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลโดยเชื่อคำแถลงของภรรยาจำเลยว่าได้หย่าขาดและจำเลยได้ย้ายออกจาก ภูมิลำเนาตามฟ้องแล้ว กรณีจึงต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 176 มีผลว่าเช็คที่ขาดอายุความระหว่างดำเนินคดี หรือจะสิ้นอายุความระหว่างหกเดือนภายหลังที่ได้พิพากษาคดีถึงที่สุด ให้ขยายอายุความออกไปถึงหกเดือนภายหลังคำพิพากษานั้น ปรากฏว่าศาลยกฟ้องคดีนั้นวันที่ 20 กันยายน2527 เช็คที่ขาดอายุความในระหว่างพิจารณาหรือเหลืออายุความไม่ถึงหกเดือนจึงขยายไปถึงวันที่ 20 มีนาคม 2528 โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องอีกเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2528 คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความและแม้จะเป็นการฟ้องที่ศาลเดิมก็ตาม เพราะมาตรา 176 ไม่มีข้อความจำกัดว่าจะต้องฟ้องต่อศาลอื่น
คดีก่อนศาลจังหวัดปทุมธานียกฟ้องโดย ที่เห็นว่า ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา เป็นการยกฟ้องที่ยังมิได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี เมื่อปรากฏว่าจำเลยยังมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดปทุมธานี โจทก์ก็มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลจังหวัดปทุมธานีได้อีก ไม่เป็นฟ้องซ้ำ.
คดีก่อนศาลจังหวัดปทุมธานียกฟ้องโดย ที่เห็นว่า ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา เป็นการยกฟ้องที่ยังมิได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี เมื่อปรากฏว่าจำเลยยังมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดปทุมธานี โจทก์ก็มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลจังหวัดปทุมธานีได้อีก ไม่เป็นฟ้องซ้ำ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4683/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เรือนพิพาทเป็นส่วนควบของที่ดินหรือไม่ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยหากมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้น
ปัญหาว่า เรือนพิพาทตกเป็นส่วนควบของที่ดินหรือไม่นั้นมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของ ประชาชนเมื่อไม่เป็นประเด็นที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4680-4682/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินจากการซื้อขายและการเพิกถอน น.ส.3ก. ศาลยืนสิทธิผู้ซื้อหากซื้อก่อนการเพิกถอน
ที่ดิน น.ส.3ก. มีชื่อ ย. เป็นเจ้าของ โจทก์ซื้อที่ดินดังกล่าวจาก ย. โดยไม่ได้จดทะเบียน และได้ครอบครองมาโดยตลอดโจทก์จึงได้สิทธิครอบครอง เมื่อจำเลยมีคำสั่งเพิกถอน น.ส.3ก.ดังกล่าว จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4670/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนได้ แม้ไม่ได้ยกเป็นประเด็นข้อพิพาทโดยตรง โดยอ้างอิงมาตรา 383 ป.พ.พ.
เบี้ยปรับหากกำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจหยิบยกบทบัญญัติมาตรา 383 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาใช้ปรับแก่คดีโดยลดเบี้ยปรับลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ แม้ศาลชั้นต้นจะไม่ได้กำหนดเรื่องเบี้ยปรับเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ในคดีโดยตรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2461/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นต่างกัน คำพิพากษาไม่ขัดแย้ง: คดีเดิมเรื่องปฏิบัติหน้าที่ คดีหลังเรื่องเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
คดีเดิมประเด็นมีว่า โจทก์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายระเบียบแบบแผนหรือคำสั่งของจำเลยโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้จำเลยเสียหายหรือไม่ ส่วนคดีหลังประเด็นมีว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมหรือไม่ โจทก์มีสิทธิได้รับค่าจ้าง เงินโบนัส สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยตามฟ้องหรือไม่ ประเด็นทั้งสองคดีจึงแตกต่างกัน ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยอุทธรณ์โจทก์ข้อแรกว่า คดีเดิมกับคดีหลังไม่ใช่มีประเด็นอย่างเดียวกัน คำพิพากษาทั้งสองคดีจึงไม่ขัดกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2445/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกห้างหุ้นส่วน, อำนาจผู้ชำระบัญชี, การแต่งทนาย, และการดำเนินคดีเมื่อหุ้นส่วนถึงแก่กรรม
จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการห้างฯ จำเลยที่ 1 ถึงแก่กรรม ห้างฯ จำเลยที่ 1 ต้องเลิกกันและจัดให้มีการชำระบัญชี ว.หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดห้างฯ จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจแต่งทนายสู้คดีแทนห้างฯ จำเลยที่ 1 กระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตั้งแต่ ว. แต่งตั้งทนายสู้คดีแทนจำเลยที่ 1 ต้องเพิกถอนเสีย เพราะเป็นอำนาจของผู้ชำระบัญชี การที่จะอ้างเหตุฉุกเฉินตาม ป.พ.พ.มาตรา 802 ต้องเป็นตัวแทนกันมาก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2379/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาเลื่อนคดีต้องพิจารณาเหตุจำเป็น ไม่ใช่การยื่นบัญชีระบุพยาน ศาลต้องอนุญาตเลื่อนหากมีเหตุผลสมควร
การพิจารณาในเรื่องการเลื่อนคดีเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 คือ พิเคราะห์ว่า มีเหตุจำเป็นหรือไม่ ส่วนการที่คู่ความที่ขอเลื่อนคดีจะยื่นบัญชีระบุพยานไว้หรือไม่ มิใช่เหตุที่จะนำมาพิจารณา ดังนั้น เมื่อทนายจำเลยขอเลื่อนคดีในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกโดยอ้างว่าต้องเดินทางไปงานเผาศพป้าซึ่งอยู่คนละจังหวัด ถ้าจะมาว่าความเสียก่อนก็จะไปไม่ทันงาน โจทก์มิได้คัดค้านว่าข้ออ้างของทนายจำเลยไม่เป็นความจริง กรณีจึงนับว่ามีเหตุจำเป็นสมควรอนุญาตให้เลื่อนคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2328/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์นอกประเด็น & การกำหนดคุณสมบัติผู้สมัครเลื่อนตำแหน่งไม่ขัดต่อระเบียบลาของพนักงาน
โจทก์อุทธรณ์ในข้อที่โจทก์มิได้บรรยายเป็นข้อหาไว้ในคำฟ้อง แม้ชั้นพิจารณาจำเลยจะเป็นฝ่ายนำสืบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว และศาลแรงงานกลางรับวินิจฉัยให้ ก็เป็นเรื่องนอกประเด็นต้องถือว่าเป็นเรื่องที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ระเบียบการธนาคารออมสิน ฉบับที่ 180 ว่าด้วยการลาของพนักงานธนาคารออมสิน กล่าวถึงสิทธิของพนักงานธนาคารออมสินที่มีเวลาทำงานในธนาคารออมสินเป็นระยะเวลานานเท่าใดแล้วมีสิทธิลาป่วย ลากิจโดยได้รับเงินเดือนเต็มหรือกึ่งหนึ่งหรือไม่ได้รับเงินเดือนในปีหนึ่งมีจำนวนกี่วัน โดยระเบียบมิได้กล่าวถึงเรื่องการกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อเลื่อนตำแหน่งให้มีระดับสูงขึ้น การที่จำเลยกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อเลื่อนตำแหน่งโดย กำหนดว่าต้องมีวันลาไม่เกิน 54 วัน ภายใน 3 ปีนับถึงวันปิดรับสมัคร จึงไม่กระทบถึงสิทธิของพนักงานจำเลย และไม่ฝ่าฝืนระเบียบการธนาคารออมสิน ฉบับที่ 180
ระเบียบการธนาคารออมสิน ฉบับที่ 180 ว่าด้วยการลาของพนักงานธนาคารออมสิน กล่าวถึงสิทธิของพนักงานธนาคารออมสินที่มีเวลาทำงานในธนาคารออมสินเป็นระยะเวลานานเท่าใดแล้วมีสิทธิลาป่วย ลากิจโดยได้รับเงินเดือนเต็มหรือกึ่งหนึ่งหรือไม่ได้รับเงินเดือนในปีหนึ่งมีจำนวนกี่วัน โดยระเบียบมิได้กล่าวถึงเรื่องการกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อเลื่อนตำแหน่งให้มีระดับสูงขึ้น การที่จำเลยกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อเลื่อนตำแหน่งโดย กำหนดว่าต้องมีวันลาไม่เกิน 54 วัน ภายใน 3 ปีนับถึงวันปิดรับสมัคร จึงไม่กระทบถึงสิทธิของพนักงานจำเลย และไม่ฝ่าฝืนระเบียบการธนาคารออมสิน ฉบับที่ 180
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2270/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการสอบสวนหนี้สินและการพิสูจน์มูลหนี้ในคดีล้มละลาย
แม้เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้มีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาสืบประกอบคำขอรับชำระหนี้ว่ามีหนี้อยู่จริงตามคำขอก็ตาม แต่ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 105 ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจออกหมายเรียกเจ้าหนี้ ลูกหนี้หรือบุคคลใดมาสอบสวนในเรื่องหนี้สิน จึงเป็นอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามกฎหมายเพื่อสอบสวนหาความจริงว่าหนี้รายใดขอรับชำระหนี้ได้ หรือต้องห้ามไม่ให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงชอบที่จะใช้อำนาจนี้สอบสวนค้นคว้าหาความจริงเพื่อประโยชน์ของความเป็นธรรม การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำการสอบสวนยังไม่สิ้นกระแสความ แล้วอาศัยเพียงคำให้การของเจ้าหนี้ที่ตอบคำถามเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งตนยังสงสัยอยู่มาอ้างเป็นข้อพิรุธสงสัยว่าไม่มีมูลหนี้ต่อกันจริงเพื่อยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ จึงเป็นการไม่ชอบ