คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ.

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 739 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2172-2173/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการผู้จัดการร่วมรับผิดในฐานะนายจ้าง และการฟ้องซ้ำฐานะบุคคลต่างกัน
จำเลยที่ 1 เป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างของโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคล และมีฐานะเป็นนายจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 จำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดกับบริษัทจำเลยที่ 2
คดีเดิมโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดในฐานะที่เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นกรรมการผู้จัดการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบริษัทจำกัด ถือว่าจำเลยที่ 1 ในคดีเดิมและคดีนี้เป็นคนละคนกัน จึงมิใช่เป็นกรณีที่คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกอันจะเป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1968/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเลิกจ้าง: แม้ฟ้องผิดวันเลิกจ้าง แต่ฟ้องหลังมีข้อพิพาทแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2532 ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2532 แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2533 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ขณะฟ้องจึงมีข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายเรื่องจำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1822/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีต้องอาศัยเอกสารหลักฐานที่ถูกต้อง หากเจ้าพนักงานไม่สามารถแสดงเอกสารต้นฉบับหรือเหตุผลที่สมควร ศาลไม่อาจรับฟังได้
ศาลมีคำสั่งเรียกเอกสารของโจทก์ซึ่งอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 และเอกสารเหล่านั้นเป็นที่มาของรายการรายได้ที่เจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 อ้างว่ามีจำนวนสูงกว่ารายได้ที่โจทก์แสดงไว้ในแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี แต่จำเลยมิได้ส่งเอกสารดังกล่าวต่อศาลเพื่อให้ศาลพิจารณาถึงความถูกต้องโอย อ้างว่าหาไม่พบโดยไม่มีเหตุผล ทั้ง ๆ ที่เอกสารเหล่านั้นไม่ใช่จำนวนเล็กน้อย ผู้ทำรายการรายได้ที่อ้างว่ารวบรวมจากเอกสารดังกล่าวก็ไม่ได้มาเบิกความรับรองว่าถูกต้องตรงกับต้นเรื่อง จึงไม่อาจรับฟังได้ว่ารายการรายได้ดังกล่าวเป็นความจริงและถูกต้อง และโจทก์ยื่นรายการเสียภาษีต่ำกว่ารายได้ เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจที่จะประเมินให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มขึ้นตามที่แจ้งการประเมิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 754/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ล้มละลายต้องมีจำนวนแน่นอน การฟ้องขอให้ล้มละลายต้องพิสูจน์ได้ว่าหนี้มีอยู่จริงและสามารถบังคับได้
การพิจารณาคดีล้มละลายต้องได้ความจริงตามมาตรา 9 ศาลจึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ดังนั้น แม้คู่ความมิได้โต้เถียงเรื่องหนี้ที่โจทก์ฟ้องกำหนดจำนวนแน่นอนได้หรือไม่ก็ตาม ศาลย่อมยกเรื่องดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยเองได้
มูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ล้มละลายเป็นมูลหนี้ส่งมอบเครื่องยนต์เรือคืนเพราะผิดสัญญาเช่าซื้อและสัญญาเลิกกัน โจทก์ยังคงมีกรรมสิทธิ์ในเครื่องยนต์เรือและมีสิทธิติดตามเอาคืน หากคืนไม่ได้จึงจะใช้ราคา เมื่อปรากฏว่าจำเลยยังครอบครองและใช้ประโยชน์เครื่องยนต์เรือดังกล่าวอยู่ และอยู่ในสภาพที่สามารถบังคับให้จำเลยคืนเครื่องยนต์เรือได้ แม้โจทก์จะนำสืบว่าได้ติดตามเพื่อยึดเครื่องยนต์เรือคืน แต่จำเลยมีเรือหลายลำไม่ทราบว่าอยู่ในเรือลำใด จึงไม่สามารถยึดคืนได้ ก็หาใช่ว่าการคืนเครื่องยนต์เรือไม่สามารถกระทำได้จนต้องบังคับให้ใช้ราคาแทนอย่างเดียวไม่ โจทก์ย่อมฟ้องร้องโดยอาศัยอำนาจศาลบังคับให้จำเลยคืนเครื่องยนต์เรือได้ และหากบังคับได้เช่นนี้หนี้ค่าเครื่องยนต์เรือก็ไม่ใช่หนี้ที่จะบังคับเอาแก่จำเลยได้อีก ทั้งฟ้องโจทก์ไม่มีหนี้จำนวนอื่นคงมีแต่เครื่องยนต์เรือเท่านั้น เมื่อหนี้ส่งมอบเครื่องยนต์เรือคืนยังอยู่ในสภาพที่อาจบังคับกันได้ จึงไม่แน่นอนว่าหนี้ที่จะบังคับให้ใช้ราคาแทนการส่งมอบเครื่องยนต์เรือจะมีหรือไม่ หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจึงยังไม่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนตาม พ.ร.บ. ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 9(3) โจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ แม้โจทก์จะได้รับการยกที่ดินให้โดยไม่เสียค่าตอบแทน
การที่โจทก์ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่า จำเลยก่อสร้างรั้วรุกล้ำที่ดินพิพาทของโจทก์ ก็ไม่เป็นผลดีแก่คดีของโจทก์เพราะเป็นการแจ้งความภายหลังที่กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทได้ตกเป็นของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์แล้ว จำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1382
จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีว่าไม่ได้รุกล้ำที่ดินโจทก์ หากรุกล้ำจำเลยก็ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่รุกล้ำโดยการครอบครองปรปักษ์ ซึ่งศาลชั้นต้นได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้แล้ว แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่รุกล้ำโดยการครอบครองปรปักษ์ โดยจำเลยมิได้ฟ้องแย้งและเสียค่าขึ้นศาลมาก็ตามแต่ศาลอุทธรณ์ก็เพียงพิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์เท่านั้น ศาลอุทธรณ์หาได้พิพากษาเกินไปกว่า หรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง อันเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ไม่
โจทก์ได้รับการยกที่ดินให้และได้รับมรดกจาก ก. ย. และ ส.โดยมิได้เสียค่าตอบแทน ฉะนั้น เมื่อจำเลยเป็นผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม แม้จะยังมิได้จดทะเบียนก็ย่อมยกเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้ เพราะแม้โจทก์จะจดทะเบียนโดยสุจริต แต่ก็มิได้เสียค่าตอบแทนแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4014/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: สัญญาประนีประนอมยอมความผูกพัน คดีหลังจึงต้องห้าม
เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์และจำเลยทำกันไว้ในคดีแรกยอมรับกันว่าที่ดินโจทก์ทางด้านทิศเหนือมีแนวเขตติดต่อกับที่ดินของจำเลยทางด้านทิศใต้ เช่นนี้เท่ากับโจทก์ยอมรับแล้วว่าแนวเขตที่ดินของจำเลยถูกต้องมิได้รุกล้ำที่ดินโจทก์ เมื่อคดีแรกได้มีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความถึงที่สุดไปแล้ว การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยอีกโดยกล่าวอ้างว่า โฉนดที่ดินจำเลยด้านทิศใต้ออกทับที่ดินโจทก์ด้านทิศเหนือ ประเด็นในคดีแรกกับประเด็นในคดีหลังจึงเป็นประเด็นที่วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์ในคดีหลังจึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4011-4012/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้าง ผู้ขับขี่ และผู้รับประกันภัยต่อความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และการแบ่งความรับผิดเมื่อประมาทร่วมกัน
จำเลยที่ 3 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 3ขับรถไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 และรถคันที่จำเลยที่ 3 ขับได้ประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 3 กับผู้ตายขับรถชนกันโดยประมาทไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน จำเลยทั้งสามกับผู้ตายจะต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 1 เจ้าของรถคันที่ผู้ตายขับซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเท่ากันแต่โจทก์ที่ 1 ไม่ได้ฟ้องผู้ตายให้ร่วมรับผิดใช้ค่าเสียหายด้วยจำเลยทั้งสามก็ควรจะรับผิดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ที่ 1 เพียงกึ่งหนึ่ง และเนื่องจากหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกชำระได้แม้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่อุทธรณ์ฎีกาก็ให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ที่ 3 ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245(1) ความรับผิดระหว่างจำเลยทั้งสามกับโจทก์ที่ 2 ภริยาของผู้ตาย โจทก์ที่ 3 บุตรของผู้ตายจึงต้องเป็นพับ กันไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3911/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกคืนภาษีที่ชำระเกินสำหรับผู้เช่าที่ชำระภาษีแทนผู้ให้เช่า แม้มิใช่ผู้รับประเมิน
ตามสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับกรมโรงงานอุตสาหกรรม โจทก์มีหน้าที่ชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนกรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่า เมื่อจำเลยเรียกเก็บภาษีเกินไป จำเลยก็หามีสิทธิที่จะยึดเงินส่วนที่เกินไว้โดยไม่ต้องคืนให้แก่ผู้มีสิทธิในเงินนั้นไม่เมื่อโจทก์อ้างว่าเป็นผู้ชำระเงินส่วนที่เกินนั้นไป แม้โจทก์จะมิใช่ผู้รับการประเมินและมิได้เป็นผู้ขอให้พิจารณาการประเมินนั้นใหม่ โจทก์ก็มีสิทธิเรียกเงินส่วนที่เกินนั้นคืนได้
ตามสัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันฉบับ พ.ศ. 2523-2537 ระหว่างโจทก์กับกรมโรงงานอุตสาหกรรม โจทก์มีหน้าที่ต้องสร้างโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 แล้วยกกรรมสิทธิ์ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่า ฉะนั้นมูลค่าของโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 ที่โจทก์ก่อสร้างตามสัญญาแล้วยกกรรมสิทธิ์ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม จึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้รับจากการที่ให้โจทก์เช่าโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 ด้วย ดังนั้น เมื่อค่ารายปีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ใช้เป็นหลักในการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นค่ารายปีที่คำนวณเทียบเคียงได้กับค่าเช่าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่าได้รับในการให้เช่าโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2การประเมินของเจ้าพนักงานที่แจ้งให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินจึงเป็นการประเมินที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3804/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องขับไล่ที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน: ฟ้องไม่เคลือบคลุมและอายุความไม่ตัดสิทธิ
โจทก์บรรยายฟ้องอ้างสิทธิของโจทก์ว่าเป็นผู้ครอบครองที่ดินของกรมชลประทานเขตกั้นน้ำเค็มชายทะเลฝั่งทิศใต้ โดยได้รับอนุญาตจากกรมชลประทานให้ใช้ที่ดินดังกล่าวในกิจการที่เกี่ยวกับภาระหน้าที่ขอกรมพลาธิการทหารบก จำเลยเช่าที่ดินบางส่วนซึ่งอยู่ในความครอบครองดังกล่าว ต่อมากรมพลาธิการทหารบกมีหนังสือบอกเลิกการเช่าให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจำเลยไม่ยอมออกไปภายในกำหนดขอให้ศาลบังคับขับไล่จำเลย แม้จะไม่ระบุว่าที่ดินที่เช่ามีเขตติดต่ออะไร กำหนดเวลาเช่านานเท่าใด และไม่แนบหลักฐานทางทะเบียนเกี่ยวกับที่ดินพิพาทมาท้ายฟ้อง ก็ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์ซึ่งแจ้งชัดอยู่แล้วเป็นฟ้องเคลือบคลุม
ที่ดินพิพาทแม้จะไม่มีโฉนด แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินของกรมชลประทานเขตคันกั้นน้ำเค็ม ชายทะเล จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 เมื่อโจทก์ซึ่งได้รับอนุญาตให้ใช้ที่ดินพิพาทจากกรมชลประทานฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทการที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยแย่งการครอบครองจากโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่ฟ้องคดีภายใน 1 ปี จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้นถือได้ว่าเป็นการยกอายุความขึ้นต่อสู้กับแผ่นดินในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จึงต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1306

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3765/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีขับไล่หลังสัญญาเช่าสิ้นสุด: ฟ้องได้โดยอาศัยสัญญากับจำเลย แม้สัญญาหลักจะสิ้นสุดแล้ว
เมื่อจำเลยประพฤติหรือปฏิบัติผิดสัญญาอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยโดยอาศัยมูลเหตุตามสัญญาที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ได้ โดยไม่ต้องคำนึงว่าสัญญาเช่าอาคารพิพาทที่โจทก์ทำไว้กับกระทรวงการคลังซึ่งเป็นเจ้าของอาคารพิพาทจะสิ้นสุดแล้วหรือไม่โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 และเมื่อสัญญาเช่าช่วงครบกำหนด โจทก์ได้บอกเลิกการเช่าช่วงโดยชอบแล้วจำเลยจึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จะอยู่ในอาคารพิพาทได้ต่อไป
of 74