คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ.

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 739 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1465/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยจากสัญญาจะซื้อจะขายและการคืนค่าขึ้นศาลเกินจำนวน ศาลฎีกาวินิจฉัยอัตราดอกเบี้ยตามสัญญา และคืนเงินค่าขึ้นศาลที่เกินกำหนด
โจทก์ฟ้องเรียกเงินมัดจำ 935,442 บาท คืนพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่จำเลยได้รับไว้จนถึงวันฟ้อง โดยอาศัยเหตุการคืนสู่ฐานะเดิม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสอง และขอดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ โดยอาศัยข้อตกลงตามสัญญาจะซื้อจะขาย จึงเป็นการขอดอกเบี้ยโดยอาศัยเหตุต่างกัน ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินมัดจำและดอกเบี้ยตามขอรวมเป็นเงิน 1,035,442 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงิน 935,442 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า สำหรับดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จให้จำเลยใช้แก่โจทก์อัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ฎีกาว่า จำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามสัญญาจะซื้อจะขายนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ดังนั้นโจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้จำนวน 200 บาท และค่าขึ้นศาลสำหรับดอกเบี้ยในอนาคตอีก 100 บาท ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ (2) และ ข้อ (4) แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลมาจำนวน 8,040 บาท จึงเสียค่าขึ้นศาลเกินมา ต้องคืนค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาสำหรับส่วนที่เกิน 300 บาท แก่โจทก์ไปทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3772-3775/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์ โจทก์ออกโฉนดโดยไม่ชอบ จำเลยมีสิทธิในที่ดินดีกว่า
ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตที่ดินที่ประกาศให้เป็นที่หวงห้ามสำหรับประชาชนใช้เลี้ยงสัตว์สาธารณประโยชน์ จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันการที่โจทก์ออกโฉนดที่ดินโดยอาศัยสิทธิจากการแจ้งการครอบครองภายหลังประกาศดังกล่าว แม้โจทก์จะซื้อมาโดยสุจริตและโฉนดที่ดินยังไม่ถูกเพิกถอนก็ตาม ก็หาทำให้โจทก์มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท เมื่อโจทก์มิได้ครอบครองอยู่ก่อนแล้วจำเลยเข้าแย่งจากโจทก์ จำเลยจึงมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสี่อ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยทั้งสี่ต่อสู้คดีว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน จึงเป็นกรณีที่ราษฎรฟ้องกันเองว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ เป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และฎีกาสำนวนละ200 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3500/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลกรณีฟ้องแทนกองทุนรวม: ศาลสั่งเสียค่าขึ้นศาลแยกรายกองทุนรวมตามทุนทรัพย์ที่เรียกร้อง
กองทุนรวม 4 กองทุน ต่างเป็นกองทุนรวมที่จดทะเบียนแล้ว จึงมีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกัน และแยกต่างหากจากบริษัทโจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการกองทุนรวมตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ มาตรา 124 วรรคสองโจทก์นำทรัพย์สินของกองทุนรวมแต่ละกองทุนไปลงทุนในหุ้นกู้ของบริษัทจำเลย ซึ่งผลประโยชน์หรือความเสียหายที่เกิดขึ้นย่อมตกแก่กองทุนรวมแต่ละกองทุนตามส่วนของเงินที่นำไปลงทุน และแม้หุ้นกู้ที่จำเลยเสนอขายแก่โจทก์จะเป็นคราวเดียวกัน แต่โจทก์เป็นเพียงผู้นำทรัพย์สินของกองทุนรวมทั้งสี่กองทุนไปลงทุนโดยโจทก์ได้รับค่าธรรมเนียมการจัดการเป็นผลตอบแทนเท่านั้นมิใช่เป็นผู้ซื้อหุ้นกู้ของจำเลยเอง มูลหนี้ที่เกิดจากการซื้อขายหุ้นของแต่ละกองทุนจึงมิได้เกี่ยวข้องกัน ดังนั้น แม้โจทก์ในฐานะผู้จัดการกองทุนรวมจะฟ้องบังคับให้จำเลยชำระเงินค่าไถ่ถอนหุ้นกู้ที่โจทก์ซื้อจากจำเลยในนามกองทุนรวมทั้งสี่ กองทุนรวมกันมาเป็นคดีเดียวกัน ก็ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่เรียกร้องจากจำเลยเป็นรายกองทุนรวมไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3140/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลอุทธรณ์คำสั่งขอให้พิจารณาใหม่: การคำนวณตามทุนทรัพย์หรือค่าปลดเปลื้องทุกข์
การที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ แล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี โดยมิได้อุทธรณ์ขอให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดี เป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8847/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นในการออกคำสั่งระงับการก่อสร้าง และการพิจารณาคำสั่งตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
การออกคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้ใดก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น สำหรับในเขตกรุงเทพมหานครหมายถึงผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 2 ดังนั้น การที่ ส. ผู้อำนวยการเขตบางกอกใหญ่ในฐานะผู้ปฏิบัติราชการแทนจำเลยที่ 2 มีคำสั่งให้โจทก์ระงับการดัดแปลงอาคาร จึงเห็นได้ว่าคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งของจำเลยที่ 2 โดยเฉพาะ มิใช่คำสั่งของกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร มาตรา 40 (3) ที่กำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจพิจารณามีคำสั่งตามมาตรา 41 คือสั่งโดยกำหนดเวลาให้เจ้าของอาคารยื่นคำขออนุญาตให้ถูกต้องภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้มีคำสั่งตามมาตรา 40 (1) นั้น เป็นบทบังคับให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องพิจารณามีคำสั่งตามมาตรา 41 ภายในเวลาอันสมควร มิใช่บังคับให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องมีคำสั่งตามมาตรา 40 (1) เสียก่อนหรือบังคับให้คำสั่งตามมาตรา 40 (1) ต้องมีผลบังคับไปชั่วระยะเวลาหนึ่งก่อนจึงจะพิจารณามีคำสั่งดังที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 40 (3) ได้ ดังนั้นคำสั่งที่ให้โจทก์ระงับการดัดแปลงอาคารและคำสั่งที่ให้โจทก์แก้ไขและยื่นคำขอรับใบอนุญาตฉบับใดจะออกก่อนหลังกันอย่างไรและลงวันที่ในคำสั่งหรือไม่จึงไม่ใช่ข้อสำคัญ คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นทั้งสองฉบับและคำวินิจฉัยอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมายและไม่มีเหตุจะเพิกถอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7704/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการโต้แย้งสิทธิครอบครองที่ดิน ผู้ร้องต้องดำเนินการทางอื่น
ที่ผู้ร้องอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีนำเรือเพื่อจะไปขุดคันดินที่กั้นระหว่างที่ดินพิพาทกับที่ดินของผู้ร้องเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีล้ำเข้ามาในที่ดินของผู้ร้องนั้น เป็นการกล่าวอ้างว่าผู้ร้องมีสิทธิครอบครองในที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการบังคับคดี ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะต้องไปดำเนินการในทางอื่นต่อไป เจ้าพนักงานบังคับดคีไม่ได้ดำเนินการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2209/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาฟ้องค่าเวนคืน และการคืนค่าขึ้นศาลเกินจำนวนที่กำหนด
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา25 วรรคสอง และมาตรา 26 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนใช้สิทธิฟ้องคดีเรียกเงินค่าทดแทนต่อศาลได้ภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีในกรณีที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จสิ้นไปภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ แต่หากรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นไปภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวหรือวินิจฉัยอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดเวลานั้นผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่วันที่พ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับคำอุทธรณ์ ดังนั้น การที่จำเลยมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้เสร็จสิ้นไปภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันรับคำอุทธรณ์ โจทก์จึงต้องฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่จำเลยได้รับคำอุทธรณ์
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา26 วรรคหนึ่ง เป็นเรื่องกำหนดระยะเวลาการใช้สิทธิฟ้องคดี มิใช่อายุความฟ้องร้องตาม ป.พ.พ. บรรพ 1 ลักษณะ 6 จึงนำเอา ป.พ.พ.มาตรา 193/14 ในเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับไม่ได้
โจทก์อุทธรณ์และฎีกาเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายว่า โจทก์ฟ้องคดีภายในอายุความ ขอให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์ต่อไป จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ. ตาราง 1 ข้อ 2 (ก) แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาแต่ละชั้นศาลเกินมา จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาส่วนที่เกินกว่า 200 บาท ให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7219/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าอ้างเอกสารเป็นพยาน, สัญญาประกันภัย, การกรอกข้อมูล, ศาลรับฟังหลักฐาน, โมฆียะ
จำเลยอ้างและขอคำสั่งศาลเรียกประวัติการตรวจรักษาของผู้ป่วยจากโรงพยาบาลเป็นพยานเอกสาร เมื่อโรงพยาบาลส่งเอกสารมาแล้ว ศาลชั้นต้นสั่งในรายงานกระบวนการพิจารณาถึง 2 ครั้ง ให้จำเลยชำระค่าอ้างเอกสารเป็นพยาน แต่จำเลยไม่ชำระ ในชั้นอุทธรณ์โจทก์ได้กล่าวแก้อุทธรณ์เป็นประเด็นว่าจำเลยไม่ชำระต่อศาล ในชั้นฎีกาโจทก์ก็กล่าวตั้งประเด็นในเรื่องนี้อีก จำเลยก็ยังไม่ชำระต่อศาล ดังนี้ แสดงว่าจำเลยจงใจไม่ชำระค่าอ้างเอกสารเป็นพยานตาม ตาราง 2 (5) ท้าย ป.วิ.พ. เอกสารดังกล่าวจึงเป็นพยานหลักฐานที่ได้ยื่นฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ศาลชอบที่จะปฏิเสธไม่รับเอกสารนั้นไว้ และถ้ารับไว้แล้วก็ไม่ชอบที่จะรับฟังเอกสารนั้น ศาลจึงนำข้อความในเอกสารดังกล่าวมาประกอบการวินิจฉัยไม่ได้
ส. กรอกข้อความหรือตอบคำถามจำเลยในใบคำขอเอาประกันชีวิตไปตามความเป็นจริง สัญญาประกันชีวิตระหว่าง ส. กับจำเลยจึงไม่เป็นโมฆียะ จำเลยไม่มีสิทธิบอกล้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4752/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนตามกฎหมาย: การเชิดตัวแทนและผลผูกพันสัญญา แม้ไม่มีหลักฐานแสดงความเป็นตัวแทนโดยชัดแจ้ง
แม้สัญญาจ้างเหมาเรือจะไม่ระบุว่าบริษัท ค. เป็นตัวแทนหรือกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่สินค้าคือปูนซีเมนต์ที่บรรทุกมากับเรือนั้นเป็นของจำเลยที่ 1 ที่สั่งซื้อจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเพื่อนำมายังประเทศไทยซึ่งเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ใบตราส่งก็ระบุว่าผู้รับตราส่งหรือผู้รับสินค้าคือจำเลยที่ 1 เมื่อเรือขนสินค้ามาถึงท่าเรือเกาะสีชัง ประเทศไทยแล้ว นายเรือก็ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1 ไปทำการขนสินค้าตามหนังสือบอกกล่าวความพร้อมซึ่งระบุว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้เช่า/ผู้รับสินค้า ต่อมาโจทก์ที่ 1 ได้ทำการกักสินค้า จำเลยที่ 1 ได้ติดต่อบริษัท ค. ให้ติดต่อฝ่ายโจทก์ให้ปล่อยสินค้าโดยระบุว่าเป็นความผิดของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้โอนเงินค่าระวางเรือจำนวน 160,000 ดอลลาร์สหรัฐ มาเรียบร้อยแล้ว โดยจำเลยที่ 1 จะรับผิดชอบเรื่องค่าเรือเสียเวลาจำนวน 1,550,000 บาท โดยให้ธนาคารทำสัญญาค้ำประกัน ทั้งปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ให้จำเลยที่ 2 ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันไว้แก่โจทก์ที่ 1 เป็นจำนวน 1,550,000 บาท ด้วย เมื่อขนถ่ายสินค้าเสร็จแล้วจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าเรือเสียเวลาให้แก่โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 1 ได้ทวงถามตามหนังสือทวงถามซึ่งระบุว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าเหมาเรือ จำเลยที่ 1 ก็ไม่เคยโต้แย้งว่าจำเลยที่ 1 ไม่ใช่ผู้เช่าเรือเลย สัญญาที่จำเลยที่ 1 จ้างบริษัท ค. ขนถ่ายสินค้านั้นปรากฏข้อความว่าจำเลยที่ 1 ให้บริษัท ค. จัดเตรียมเรือเดินทะเลเพื่อขนถ่ายสินค้าทำนองให้กระทำการแทนเท่านั้น พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าจำเลยที่ 1ได้เชิดบริษัท ค. เป็นตัวแทน
แม้คำฟ้องโจทก์ที่ 1 จะบรรยายฟ้องว่า บริษัท ค. ทำสัญญาแทนจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่ก็เป็นการบรรยายฟ้องในเรื่องกฎหมายลักษณะตัวการตัวแทน เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เชิดบริษัท ค. เป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดในเรื่องตัวการตัวแทนได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
(วรรคนี้วินิจฉัยตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 8191/2538)
ตามสัญญาจ้างเหมาเรือไม่มีข้อห้ามว่ากรณีที่มิได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการแล้ว ห้ามมิให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดฟ้องคดี นอกจากนี้ ป.วิ.พ. ลักษณะ 2 ว่าด้วยวิธีพิจารณาวิสามัญในศาลชั้นต้น หมวด 3 ว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ และ พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 ก็มิได้มีข้อห้ามมิให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดฟ้องโดยมิได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อนเช่นเดียวกัน ยิ่งกว่านั้นตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 บัญญัติว่า "ในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทตามสัญญาอนุญาโตตุลาการโดยมิได้เสนอข้อพิพาทนั้นต่ออนุญาโตตุลาการตามสัญญา คู่สัญญาฝ่ายที่ถูกฟ้องอาจยื่นคำร้องต่อศาลก่อนวันสืบพยานหรือก่อนมีคำพิพากษาในกรณีที่ไม่มีการสืบพยาน ให้มีคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่สัญญาดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อน และเมื่อศาลทำการไต่สวนแล้วไม่ปรากฏว่ามีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นโมฆะหรือใช้บังคับไม่ได้ด้วยเหตุประการอื่นหรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญานั้นได้ ก็ให้มีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสีย" แสดงให้เห็นว่า ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอำนาจที่จะฟ้องคดีได้โดยไม่ต้องเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดก่อน แม้จำเลยที่ 2 จะยื่นคำให้การ แต่จำเลยทั้งสองไม่ได้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลไต่สวนก่อนตามที่กฎหมายกำหนด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและศาลไม่จำต้องจำหน่ายคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7726/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการหักเงินมัดจำออกจากราคาสัญญาซื้อขาย แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์
สัญญาจะซื้อจะขายเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อโจทก์ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยในราคา 500,000 บาท โดยรับเงินมัดจำไปแล้ว 10,000 บาท จำเลยจึงคงค้างชำระราคาเพียง 490,000 บาท แม้ตามคำขอฟ้องแย้งของจำเลยจะขอชำระราคาที่ดินพิพาทของโจทก์ 500,000 บาท และมิได้อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์หักเงินมัดจำออกจากราคาที่ดินก็ตาม ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจนำเงินมัดจำที่โจทก์รับแล้วไปหักกลบลบหนี้กับราคาที่ดิน และพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 490,000 บาท ตามที่เป็นหนี้กันจริงได้โดยไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินคำขอ
of 74