พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10675/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์ต้องระบุองค์ประกอบความผิดครบถ้วน แม้จำเลยรับสารภาพ ศาลก็ไม่อาจลงโทษได้
โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานภาพยนต์ที่จำเลยนำออกขายได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายทั้งสอง อันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่นเพื่อการค้าตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 (1), 70 วรรคสอง ฟ้องของโจทก์จึงขาดองค์ประกอบความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10673/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาต และการละเมิดลิขสิทธิ์เกมคอมพิวเตอร์: องค์ประกอบความผิดและข้อกำหนดการคุ้มครองลิขสิทธิ์
พ.ร.บ.ภาพยนต์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 53 วรรคหนึ่ง บัญญัติ "ห้ามมิให้ผู้ใดจัดตั้งหรือประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้รับประโยชน์ตอบแทน เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน" และมาตรา 4 บัญญัติให้นิยามคำว่า "วีดิทัศน์" ว่า วัสดุที่มีการบันทึกภาพหรือภาพและเสียงซึ่งสามารถนำมาฉายให้เห็นเป็นภาพที่เคลื่อนไหวได้อย่างต่อเนื่องในลักษณะที่เป็นเกมการเล่น... และนิยามคำว่า "ร้านวีดิทัศน์" ว่า สถานที่ที่จัดให้มีเครื่องมือ หรืออุปกรณ์ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกในการฉาย เล่น หรือดูวีดิทัศน์ โจทก์บรรยายการกระทำของจำเลยว่า จำเลยประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ ชื่อร้าน "ไอซ์เกมส" โดยทำเป็นธุรกิจและได้รับค่าตอบแทน โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน และจำเลยนำแผ่นดีวีดีเกมสไปเดอร์แมนและเกมสไปเดอร์แมน 3 เดอะเกมส์ ที่บันทึกเสียงและภาพ บรรจุลงในเครื่องเล่นเกมแล้วต่อสายไปเชื่อมกับเครื่องรับสัญญาณภาพ (โทรทัศน์) เพื่อให้ลูกค้าเช่าเล่นเกมและยึดได้เครื่องเล่นเกมเพลย์สเตชั่นทูโทรทัศน์สี จอยสติ๊ก สายเอวี สายไฟฟ้าของกลาง กับแผ่นดีวีดีเกมซึ่งจัดเป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกในการเล่นเกมโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จึงฟังได้ว่าจำเลยประกอบกิจการร้านไอซ์เกมส์ในลักษณะให้บริการลูกค้าเช่าผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์และโทรทัศน์ แผ่นดีวีดีเกมคอมพิวเตอร์ของกลางคดีนี้จึงเป็นวัสดุที่มีการบันทึกภาพและเสียงในลักษณะที่ผู้เล่นสามารถนำมาเล่นโดยฉายภาพและเสียงผ่านเครื่องเล่นเกมเพลย์สเตชั่นทูและโทรทัศน์ได้อย่างต่อเนื่อง อันจัดเป็นวีดีทัศน์ตามนิยามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 จึงเป็นฟ้องที่บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด รวมทั้งรายละเอียดและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้นๆ รวมทั้งสิ่งของที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ฟ้องโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิดตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
งานอันมีลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 หมายถึง งานสร้างสรรค์ของผู้อื่นที่กฎหมายให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ภายใต้หลักเกณฑ์และวิธีการสำหรับการให้ความคุ้มครองที่ พ.ร.บ.ฉบับนี้กำหนดไว้
ผู้เสียหายมีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์เกมของตนเป็นครั้งแรกที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2546 และปี 2549 โดยโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีหรือไม่ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 8 อันเป็นข้อเท็จจริงซึ่งเป็นสาระสำคัญและเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบความผิดตามข้อหาที่โจทก์กล่าวอ้างมาในฟ้อง จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นนี้ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้
งานอันมีลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 หมายถึง งานสร้างสรรค์ของผู้อื่นที่กฎหมายให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ภายใต้หลักเกณฑ์และวิธีการสำหรับการให้ความคุ้มครองที่ พ.ร.บ.ฉบับนี้กำหนดไว้
ผู้เสียหายมีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์เกมของตนเป็นครั้งแรกที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2546 และปี 2549 โดยโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีหรือไม่ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 8 อันเป็นข้อเท็จจริงซึ่งเป็นสาระสำคัญและเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบความผิดตามข้อหาที่โจทก์กล่าวอ้างมาในฟ้อง จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นนี้ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5405/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์และการประกอบกิจการโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
การกระทำของจำเลยในความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าและฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์และวีดิทัศน์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตนั้นเป็นความผิดต่อกฎหมายคนละฉบับ มีองค์ประกอบแห่งความผิดที่แตกต่างกัน ทั้งเจตนาในการกระทำความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวสามารถแยกต่างหากจากกันได้ การกระทำของจำเลยทั้งสองข้อหาดังกล่าวจึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน ส่วนความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์และวีดิทัศน์โดยไม่ได้รับใบอนุญาต แม้กฎหมายจะบัญญัติองค์ประกอบความผิดและโทษในการกระทำดังกล่าวไว้คนละมาตรา แต่ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 38 วรรคหนึ่ง และมาตรา 54 วรรคหนึ่ง ล้วนมีเจตนาที่จะลงโทษผู้ประกอบกิจการดังกล่าวที่ไม่ได้รับใบอนุญาตในการประกอบกิจการจากนายทะเบียน ความผิดทั้งสองมาตราดังกล่าวจึงอยู่ที่การไม่ได้รับใบอนุญาตในการประกอบกิจการ นอกจากนี้มาตรา 55 แห่ง พ.ร.บ. เดียวกันนี้ยังกำหนดให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา 38 ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 54 ด้วยในตัว จึงเห็นได้ว่า พ.ร.บ.นี้กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการทั้งภาพยนตร์และวีดิทัศน์ในสถานที่เดียวกันมีใบอนุญาตในการประกอบกิจการเป็นใบอนุญาตเดียวกันได้ เมื่อจำเลยประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายทั้งภาพยนตร์และวีดิทัศน์ในสถานที่เดียวกันและในวันเวลาเดียวกัน ทั้งโจทก์บรรยายฟ้องกล่าวอ้างการกระทำความผิดของจำเลยในส่วนนี้รวมกันมาในข้อเดียวกันการกระทำของจำเลยในการประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์และวีดิทัศน์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจึงเป็นกระทำกรรมเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5405/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกัน: ละเมิดลิขสิทธิ์ vs. ประกอบกิจการโดยไม่ได้รับอนุญาต และการลงโทษกรรมเดียว
ความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตกับความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายวีดิทัศน์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตนั้น กฎหมายประสงค์จะลงโทษผู้ประกอบกิจการดังกล่าวที่ไม่ได้รับใบอนุญาตในการประกอบกิจการจากนายทะเบียน เมื่อจำเลยประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายทั้งภาพยนตร์และวีดิทัศน์ในสถานที่เดียวกันและในวันเวลาเดียวกันโดยไม่ได้รับใบอนุญาต การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวกันเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานประกอบกิจการให้เช่าแลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตอันเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
ส่วนความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าและความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตนั้นเป็นความผิดต่อกฎหมายคนละฉบับ มีองค์ประกอบแห่งความผิดที่แตกต่างกัน ทั้งเจตนาในการกระทำความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวสามารถแยกต่างหากจากกันได้ การกระทำของจำเลยทั้งสองข้อหาจึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
ส่วนความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าและความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตนั้นเป็นความผิดต่อกฎหมายคนละฉบับ มีองค์ประกอบแห่งความผิดที่แตกต่างกัน ทั้งเจตนาในการกระทำความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวสามารถแยกต่างหากจากกันได้ การกระทำของจำเลยทั้งสองข้อหาจึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2086/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับใช้กฎหมายอาญาเมื่อกฎหมายเปลี่ยนแปลงระหว่างการกระทำความผิด และการกำหนดโทษที่เหมาะสม
ตามมาตรา 2 ของ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 ซึ่งบัญญัติให้ยกเลิก พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 ทั้งฉบับ บัญญัติว่า "พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป" เมื่อมีการประกาศใช้วันที่ 4 มีนาคม 2551 การเริ่มต้นนับระยะเวลาจึงต้องเริ่มนับหนึ่งในวันรุ่งขึ้น คือ 5 มีนาคม 2551 เป็นวันที่หนึ่ง ซึ่งจะครบ 90 วัน ในวันที่ 2 มิถุนายน 2551
คดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพและข้อเท็จจริงยุติแล้วว่า ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้อง จำเลยประกอบกิจการจำหน่ายวีซีดีภาพยนตร์และแผ่นดิจิตอลวิดีโอดิสก์ภาพยนตร์ (ดีวีดีภาพยนตร์) โดยไม่ได้รับใบอนุญาต และขณะจำเลยกระทำความผิดคดีนี้ พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 ยังคงมีผลใช้บังคับ เพียงแต่ขณะที่ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพิจารณาคดีนี้อยู่นั้น กฎหมายฉบับดังกล่าวถูกยกเลิกไปแล้วโดยมาตรา 3 (4) แห่ง พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 โดยยังให้การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดอยู่ถือไม่ได้ว่า พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 ยกเลิกความผิดฐานนี้ แต่เป็นเรื่องที่กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างจากกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพิจารณาคดี อันเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลที่จะต้องปรับใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย เมื่อระวางโทษในความผิดฐานดังกล่าวตาม พ.ร.บ. ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มีเพียงโทษปรับโดยไม่มีโทษจำคุกจึงเป็นคุณมากกว่า ต้องใช้โทษตามกฎหมายดังกล่าวในส่วนที่ไม่มีโทษจำคุกมาบังคับแก่คดี สำหรับในส่วนของโทษปรับ เมื่อโทษปรับตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 ลงโทษปรับได้เพียงไม่เกินสองหมื่นบาทแต่โทษตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 กำหนดโทษปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท ทั้งยังให้ปรับต่อไปรายวันอีกวันละหนึ่งหมื่นบาท จึงต้องใช้โทษปรับตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 มาบังคับแก่คดี
คดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพและข้อเท็จจริงยุติแล้วว่า ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้อง จำเลยประกอบกิจการจำหน่ายวีซีดีภาพยนตร์และแผ่นดิจิตอลวิดีโอดิสก์ภาพยนตร์ (ดีวีดีภาพยนตร์) โดยไม่ได้รับใบอนุญาต และขณะจำเลยกระทำความผิดคดีนี้ พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 ยังคงมีผลใช้บังคับ เพียงแต่ขณะที่ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพิจารณาคดีนี้อยู่นั้น กฎหมายฉบับดังกล่าวถูกยกเลิกไปแล้วโดยมาตรา 3 (4) แห่ง พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 โดยยังให้การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดอยู่ถือไม่ได้ว่า พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 ยกเลิกความผิดฐานนี้ แต่เป็นเรื่องที่กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างจากกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพิจารณาคดี อันเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลที่จะต้องปรับใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย เมื่อระวางโทษในความผิดฐานดังกล่าวตาม พ.ร.บ. ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มีเพียงโทษปรับโดยไม่มีโทษจำคุกจึงเป็นคุณมากกว่า ต้องใช้โทษตามกฎหมายดังกล่าวในส่วนที่ไม่มีโทษจำคุกมาบังคับแก่คดี สำหรับในส่วนของโทษปรับ เมื่อโทษปรับตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 ลงโทษปรับได้เพียงไม่เกินสองหมื่นบาทแต่โทษตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 กำหนดโทษปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท ทั้งยังให้ปรับต่อไปรายวันอีกวันละหนึ่งหมื่นบาท จึงต้องใช้โทษปรับตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 มาบังคับแก่คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9068/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานประกอบกิจการวีดิทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดเฉพาะครั้งคราว เมื่อหยุดประกอบกิจการแล้วถือว่าสิ้นสุด
ความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่าหรือจำหน่ายวีดิทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นเป็นความผิดจากการประกอบกิจการให้เช่าหรือจำหน่ายวีดิทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาตในแต่ละครั้งละคราว เมื่อหยุดประกอบกิจการแล้วก็ไม่เป็นความผิดอีกต่อไป โจทก์บรรยายฟ้องระบุชัดว่าจำเลยกระทำผิดเฉพาะเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 เวลากลางวันในคำฟ้องดังกล่าวไม่ปรากฏว่าจำเลยมีการกระทำผิดต่อเนื่องออกไปอีก ของกลางที่ยึดได้จากจำเลยที่เกี่ยวกับวีดิทัศน์ก็มีการยึดทั้งแผ่นดีวีดีเกมเพลย์สเตชั่น ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายจำนวน 64 แผ่น และแผ่นซีซีดีและแผ่นดีวีดีเกมเพลย์สเตชั่น ที่ไม่มีผู้ยืนยันสิทธิอีกจำนวน 2,230 แผ่น อันส่อแสดงว่าเจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมยึดของกลางที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการให้เช่าหรือจำหน่ายวีดิทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาตมาหมดแล้ว โดยสภาพพฤติการณ์แห่งคดีที่ปรากฏดังกล่าวเชื่อว่า หลังเกิดเหตุคดีนี้จำเลยยังไม่อาจประกอบกิจการตามฟ้องต่อได้ และไม่อาจมีการประกอบกิจการโดยไม่ได้รับอนุญาตอีกต่อไป คำให้การรับสารภาพของจำเลยในคดีนี้ เป็นการรับสารภาพตามข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายมา เมื่อไม่มีข้อเท็จจริงใดให้โจทก์ยืนยันในคำฟ้องว่าจำเลยยังคงกระทำความผิดต่อเนื่องออกไปอีก ลำพังคำให้การรับสารภาพของจำเลยจะฟังว่าจำเลยกระทำผิดต่อเนื่องออกไปอีกดังที่โจทก์อุทธรณ์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10515/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์ต้องระบุวันเวลาโฆษณางานครั้งแรก หากไม่ระบุถือว่าขาดองค์ประกอบความผิด
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) บัญญัติว่า ฟ้องต้องมีการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ในความผิดฐานขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขายงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อหากำไรในทางการค้า โดยรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานนั้นกระทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 (1), 70 วรรคสอง ซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นนั้นต้องเป็นงานสร้างสรรค์ที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครองโดยได้มาตามเงื่อนไขของกฎหมาย และต้องอยู่ในอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ด้วย การที่จะรู้ว่างานสร้างสรรค์ใดของนิติบุคคลผู้สร้างสรรค์ยังอยู่ในอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์อยู่หรือไม่ ต้องรู้ว่างานสร้างสรรค์นั้นมีการโฆษณางานครั้งแรกเมื่อใด เนื่องจากมาตรา 19 วรรคท้าย บัญญัติว่า "ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้น แต่ถ้าได้มีการโฆษณางานนั้นในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก" เมื่อโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่างานที่นิติบุคคลเป็นผู้สร้างสรรค์มีการโฆษณางานครั้งแรกเมื่อใดซึ่งเป็นส่วนสาระสำคัญ แม้จำเลยให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดตามฟ้อง แต่ถ้าศาลเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดเพราะงานสร้างสรรค์อันมีลิขสิทธิ์นั้นพ้นอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์แล้ว ศาลก็ต้องพิพากษายก ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3975/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีละเมิดลิขสิทธิ์ที่ขัดแย้งกับข้อเท็จจริงในการพิจารณาคดี ทำให้ต้องยกฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 โดยการเสนอให้เช่าและให้เช่าวิดีโอเทปภาพยนตร์ซึ่งเป็นงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 แต่ทางพิจารณาข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติได้ว่า วิดีโอเทปภาพยนตร์ของกลางเป็นวิดีโอเทปภาพยนตร์มีตราเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์และมีสติกเกอร์ที่มีตราประทับของเจ้าพนักงานกับข้อความว่า "อนุญาตแล้ว" ปรากฏอยู่ ไม่ใช่วิดีโอเทปภาพยนตร์ที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ตามที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้อง เมื่อข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องและเป็นข้อแตกต่างในสาระสำคัญ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางต้องพิพากษายกฟ้อง การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้องจึงเป็นการไม่ชอบ และเมื่อไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองตามฟ้องแล้วก็ย่อมไม่อาจพิพากษาให้ริบของกลาง รวมทั้งให้วิดีโอเทปของกลางตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2572/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลิขสิทธิ์ภาพยนตร์: การทำซ้ำโดยผู้ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ ไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์งานวรรณกรรมต้นฉบับ
จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตจากโจทก์ตามสัญญาให้ใช้ลิขสิทธิ์ให้นำงานวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์เรื่อง ผีเสื้อและดอกไม้ ไปสร้างเป็นภาพยนตร์ภายใน 5 ปี นับแต่วันทำสัญญาดังกล่าว และจำเลยที่ 1 ได้นำงานวรรณกรรมนั้นไปสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง ผีเสื้อและดอกไม้เมื่อปี 2528 ซึ่งเป็นการสร้างภาพยนตร์ภายใน 5 ปี นับแต่วันทำสัญญาดังกล่าวในปี 2527 แสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติถูกต้องตามสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ที่ได้ทำไว้กับโจทก์ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมนั้นแล้ว
จำเลยที่ 1 นำงานวรรณกรรมของโจทก์มาสร้างเป็นภาพยนตร์ เป็นการดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์โดยได้รับอนุญาตจากโจทก์ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ จำเลยที่ 1 จึงมีลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์ เรื่อง ผีเสื้อและดอกไม้ที่ได้ดัดแปลงขึ้น จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะทำซ้ำ หรือดัดแปลง หรือนำออกโฆษณาซึ่งงานภาพยนตร์ หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานภาพยนตร์นั้น ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์นั้นแก่ผู้อื่น และอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิในการทำซ้ำหรือดัดแปลงหรือนำออกโฆษณาหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานภาพยนตร์นั้นตามมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 ทันทีที่สร้างสรรค์งานภาพยนตร์นั้นเสร็จ และมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานภาพยนตร์นั้นเพิ่มขึ้นอีกตามมาตรา 15 (3) และมาตรา 78 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ในวันที่ 22 มีนาคม 2538 อันเป็นวันที่ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ใช้บังคับ โดยมีอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์เป็นเวลา 50 ปี นับแต่ปี 2528 อันเป็นปีที่จำเลยที่ 1 ได้สร้างสรรค์งานภาพยนตร์นั้นขึ้นตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 มาตรา 18 ประกอบมาตรา 16 วรรคท้าย
อย่างไรก็ตามสิทธิที่จำเลยที่ 1 มี นั้น ต้องไม่กระทบกระเทือนสิทธิของโจทก์ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ที่มีอยู่ในงานวรรณกรรมเรื่อง ผีเสื้อและดอกไม้ เดิมที่ถูกดัดแปลงนั้น ตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่จำเลยที่ 1 ดัดแปลงวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ และสิทธิแต่ผู้เดียวของโจทก์ในงานวรรณกรรมคงมีอยู่ตลอดอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมของโจทก์ซึ่งมีอยู่ตลอดชีวิตของโจทก์ผู้สร้างสรรค์และมีอยู่ต่อไปอีก 30 ปีนับแต่โจทก์ถึงแก่ความตาย ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ.2474 มาตรา 5 (ข) และมาตรา 14 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์สร้างสรรค์งานวรรณกรรมเรื่อง ผีเสื้อและดอกไม้ โดยโจทก์ไม่มีลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์ เพราะเป็นงานอันเป็นลิขสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ดัดแปลงงานวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยได้รับอนุญาตจากโจทก์ ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการทำซ้ำหรือดัดแปลงงานภาพยนตร์มีลิขสิทธิ์เรื่องผีเสื้อและดอกไม้ เป็นงานในรูปแบบใดก็ได้ อันเป็นสิทธิที่จำเลยที่ 1 ได้มาโดยผลของกฎหมาย แม้ในสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จะระบุให้จำเลยที่ 1 สามารถนำภาพยนตร์ที่สร้างไว้ออกทำซ้ำและเผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ โดยไม่ได้ระบุถึงการทำในรูปแบบวิดีโอซีดี ก็ไม่ทำให้สิทธิแต่ผู้เดียวของจำเลยที่ 1 ในการทำซ้ำหรือดัดแปลงภาพยนตร์ดังกล่าว อันเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของตนที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายและได้มาโดยผลของกฎหมายนั้นเสียไป เพราะโจทก์มีสิทธิที่จะกำหนดเงื่อนไขในสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ของตนได้เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับงานวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของตนเท่านั้น ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 อนุญาตให้บริษัทจำเลยที่ 7 นำภาพยนตร์เรื่อง ผีเสื้อและดอกไม้อันมีลิขสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ไปทำซ้ำและนำออกจำหน่ายในวัสดุรูปแบบวิดีโอซีดีจึงไม่ใช่การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานวรรณกรรมเรื่องผีเสื้อและดอกไม้ซึ่งโจทก์มีลิขสิทธิ์ จึงไม่เป็นความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมของโจทก์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27 (1) และมาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (1)
จำเลยที่ 1 นำงานวรรณกรรมของโจทก์มาสร้างเป็นภาพยนตร์ เป็นการดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์โดยได้รับอนุญาตจากโจทก์ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ จำเลยที่ 1 จึงมีลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์ เรื่อง ผีเสื้อและดอกไม้ที่ได้ดัดแปลงขึ้น จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะทำซ้ำ หรือดัดแปลง หรือนำออกโฆษณาซึ่งงานภาพยนตร์ หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานภาพยนตร์นั้น ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์นั้นแก่ผู้อื่น และอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิในการทำซ้ำหรือดัดแปลงหรือนำออกโฆษณาหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานภาพยนตร์นั้นตามมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 ทันทีที่สร้างสรรค์งานภาพยนตร์นั้นเสร็จ และมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานภาพยนตร์นั้นเพิ่มขึ้นอีกตามมาตรา 15 (3) และมาตรา 78 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ในวันที่ 22 มีนาคม 2538 อันเป็นวันที่ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ใช้บังคับ โดยมีอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์เป็นเวลา 50 ปี นับแต่ปี 2528 อันเป็นปีที่จำเลยที่ 1 ได้สร้างสรรค์งานภาพยนตร์นั้นขึ้นตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 มาตรา 18 ประกอบมาตรา 16 วรรคท้าย
อย่างไรก็ตามสิทธิที่จำเลยที่ 1 มี นั้น ต้องไม่กระทบกระเทือนสิทธิของโจทก์ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ที่มีอยู่ในงานวรรณกรรมเรื่อง ผีเสื้อและดอกไม้ เดิมที่ถูกดัดแปลงนั้น ตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่จำเลยที่ 1 ดัดแปลงวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ และสิทธิแต่ผู้เดียวของโจทก์ในงานวรรณกรรมคงมีอยู่ตลอดอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมของโจทก์ซึ่งมีอยู่ตลอดชีวิตของโจทก์ผู้สร้างสรรค์และมีอยู่ต่อไปอีก 30 ปีนับแต่โจทก์ถึงแก่ความตาย ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ.2474 มาตรา 5 (ข) และมาตรา 14 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์สร้างสรรค์งานวรรณกรรมเรื่อง ผีเสื้อและดอกไม้ โดยโจทก์ไม่มีลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์ เพราะเป็นงานอันเป็นลิขสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ดัดแปลงงานวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยได้รับอนุญาตจากโจทก์ ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการทำซ้ำหรือดัดแปลงงานภาพยนตร์มีลิขสิทธิ์เรื่องผีเสื้อและดอกไม้ เป็นงานในรูปแบบใดก็ได้ อันเป็นสิทธิที่จำเลยที่ 1 ได้มาโดยผลของกฎหมาย แม้ในสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จะระบุให้จำเลยที่ 1 สามารถนำภาพยนตร์ที่สร้างไว้ออกทำซ้ำและเผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ โดยไม่ได้ระบุถึงการทำในรูปแบบวิดีโอซีดี ก็ไม่ทำให้สิทธิแต่ผู้เดียวของจำเลยที่ 1 ในการทำซ้ำหรือดัดแปลงภาพยนตร์ดังกล่าว อันเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของตนที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายและได้มาโดยผลของกฎหมายนั้นเสียไป เพราะโจทก์มีสิทธิที่จะกำหนดเงื่อนไขในสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ของตนได้เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับงานวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของตนเท่านั้น ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 อนุญาตให้บริษัทจำเลยที่ 7 นำภาพยนตร์เรื่อง ผีเสื้อและดอกไม้อันมีลิขสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ไปทำซ้ำและนำออกจำหน่ายในวัสดุรูปแบบวิดีโอซีดีจึงไม่ใช่การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานวรรณกรรมเรื่องผีเสื้อและดอกไม้ซึ่งโจทก์มีลิขสิทธิ์ จึงไม่เป็นความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมของโจทก์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27 (1) และมาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 290/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิ์จากการเสนอขายของละเมิด แม้โจทก์ฟ้องผิดฐาน ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขโทษให้ถูกต้อง
แม้ตามฟ้องของโจทก์ในตอนแรกจะบรรยายว่าจำเลยละเมิดลิขสิทธิ์โดยกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายโดยตรงโดยนำม้วนเทปเพลงจำนวน 20 ม้วน แผ่นเอ็มพีสามจำนวน 2 แผ่น และแผ่นวีซีดีคาราโอเกะจำนวน 209 แผ่น ที่บันทึกภาพและเสียงเพลงอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกวางจำหน่ายและเผยแพร่ต่อสาธารณชนก็ตาม แต่ในตอนท้าย โจทก์บรรยายว่าตามวันเวลาที่อ้างว่าจำเลยละเมิดลิขสิทธิ์เจ้าพนักงานจับจำเลยพร้อมยึดได้ม้วนเทปเพลงแผ่นเอ็มพีสาม และแผ่นวีซีดีคาราโอเกะเดียวกันดังกล่าวที่บันทึกภาพและเสียงโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่จำเลยได้เสนอขายแก่บุคคลทั่วไปดังกล่าวข้างต้นเป็นของกลาง การบรรยายฟ้องในตอนท้ายเช่นนี้แสดงให้เห็นว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์โดยกระทำแก่งานที่มีบุคคลอื่นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายอยู่แล้ว ที่โจทก์บรรยายฟ้องในตอนแรกว่า จำเลยนำม้วนเทปเพลง แผ่นเอ็มพีสาม และแผ่นวีซีดีคาราโอเกะและอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย "ออกวางจำหน่าย" มีความหมายเช่นเดียวกับที่โจทก์บรรยายฟ้องในตอนท้ายว่า จำเลย "เสนอขาย" สิ่งของดังกล่าวที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายแก่บุคคลทั่วไป แต่การนำออกวางจำหน่ายหรือเสนอขายซึ่งสิ่งที่มิได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มิได้บัญญัติให้ถือว่าเป็นความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์แต่อย่างใด คงมีแต่เฉพาะมาตรา 31 (1) ที่บัญญัติให้การเสนอขายซึ่งสิ่งที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเป็นการกระทำอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เท่านั้น ในส่วนที่เกี่ยวกับการเผยแพร่ต่อสาธารณชนโจทก์ก็มิได้บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการกระทำใดของจำเลยที่เป็นการเผยแพร่ต่อสาธารณชนอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายโดยตรงแต่อย่างใด ที่โจทก์บรรยายฟ้องมาดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการบรรยายฟ้องว่าจำเลยละเมิดลิขสิทธิ์โดยกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายโดยตรงอันจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 28 ที่โจทก์บรรยายฟ้องมานั้นเป็นเพียงการบรรยายฟ้องว่าจำเลยละเมิดลิขสิทธิ์โดยกระทำแก่งานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 เท่านั้น ดังนี้ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง จึงถือได้ว่าจำเลยรับข้อเท็จจริงว่า จำเลยได้ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายโดยนำม้วนเทปเพลงจำนวน 20 ม้วน แผ่นเอ็มพีสามจำนวน 2 แผ่น และแผ่นวีซีดีคาราโอเกะจำนวน 209 แผ่น ที่มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายมาเสนอขายแก่บุคคลทั่วไปเพื่อหากำไรและเพื่อการค้า การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (1) แม้ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์จะขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 27, 28 และ 69 ไม่ได้ขอให้ลงโทษตามมาตรา 31 (1) และมาตรา 70 วรรคสอง ก็ตาม แต่ก็เป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์อ้างฐานความผิดและบทมาตราผิด ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดและบทมาตราที่ถูกต้องได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบด้วยมาตรา 26 และ ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาว่า จำเลยกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคสอง จำคุก 2 ปี และปรับ 400,000 บาท ก่อนลดโทษให้นั้นจึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้