คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ม. 31 (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8452/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดลิขสิทธิ์งานวรรณกรรมในภาพยนตร์: การทำซ้ำโดยไม่ได้รับอนุญาต และความรับผิดของผู้ประกอบการ
โจทก์เป็นผู้ประพันธ์และเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในนวนิยายเรื่องดาวพระศุกร์ ทำสัญญาอนุญาตให้จำเลยร่วมที่ 2 นำนวนิยายเรื่องดังกล่าวไปสร้างเป็นภาพยนตร์ได้ 1 ครั้ง เพื่อจัดฉายตามโรงภาพยนตร์ทั่วประเทศภายใน 7 ปี ดังนี้ แม้จำเลยร่วมที่ 2 จะมีลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์ที่ได้ดัดแปลงขึ้นตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 9 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะที่ทำสัญญาก็ตาม แต่สิทธิในลิขสิทธิ์สำหรับงานภาพยนตร์ดังกล่าวของจำเลยร่วมที่ 2 มีจำกัดอยู่เพียงสิทธิในการโฆษณาหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งภาพยนตร์นั้นด้วยการฉายตามโรงภาพยนตร์ภายใน 7 ปีตามสัญญาเท่านั้น จำเลยร่วมที่ 2 ไม่มีสิทธิในการทำซ้ำหรือดัดแปลง นำออกโฆษณา หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนด้วยวิธีอื่น ดังนี้ การที่จำเลยร่วมที่ 2 นำภาพยนตร์เรื่องดาวพระศุกร์ที่ตนสร้างขึ้นไปบันทึกเป็นวีดีโอเทปในรูปของงานโสตทัศนวัสดุหรือภาพยนตร์แล้วนำวิดีโอเทปนั้นออกจำหน่ายและให้เช่า จึงเป็นการทำซ้ำงานวรรณกรรมนวนิยายเรื่องดาวพระศุกร์อันเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ซึ่งมีอยู่ในภาพยนตร์นั้นโดยไม่มีสิทธิที่จะทำได้ตามสัญญา และโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมของโจทก์ ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 24 (1) หรือ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 27 (1) ส่วนวิดีโอเทปที่จำเลยร่วมที่ 2 ทำซ้ำขึ้นแล้วนำออกจำหน่ายและให้เช่านั้นเป็นสิ่งที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ เมื่อจำเลยร่วมที่ 2 รู้อยู่แล้วว่าวิดีโอเทปนั้นตนได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ยังนำออกจำหน่ายให้เช่าเพื่อหากำไร การกระทำในส่วนนี้ของจำเลยร่วมที่ 2 ยังเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมของโจทก์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 27 (1) หรือ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 31 (1) อีกด้วย
จำเลยร่วมที่ 1 เป็นบริษัทจำกัด มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการซื้อขายลิขสิทธิ์ทั้งในรูปของภาพยนตร์หรือภาพยนตร์วิดีโอเทปเพื่อนำมาผลิตหรือบันทึกเป็นวิดีโอเทปและนำออกขาย ให้เช่า หรือให้ใช้สิทธิแก่บุคคลทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ การเข้าทำสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์นั้นจึงควรอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจสอบถึงสิทธิของคู่สัญญาเสียก่อนว่ามีสิทธิอนุญาตหรือไม่เพียงใดเพื่อป้องกันปัญหาที่จำเลยร่วมที่ 1 อาจต้องรับผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมนั้นได้ การที่จำเลยร่วมที่ 1 เข้าทำสัญญากับจำเลยร่วมที่ 2 โดยมิได้ทำการตรวจสอบถึงสิทธิดังกล่าวของจำเลยร่วมที่ 2 ก่อน เมื่อจำเลยร่วมที่ 2 ไม่มีสิทธิตามสัญญาที่จะอนุญาตให้จำเลยร่วมที่ 1 นำภาพยนตร์เรื่องดาวพระศุกร์ซึ่งมีงานวรรณกรรม นวนิยายเรื่องดังกล่าวอันเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์รวมอยู่ด้วยไปทำซ้ำโดยบันทึกเป็นวิดีโอเทปแล้วนำม้วนวิดีโอเทปนั้นออกจำหน่าย จำเลยร่วมที่ 1 จึงไม่อาจอ้างว่าตนมีสิทธิตามสัญญาที่จะทำซ้ำงานภาพยนตร์นั้นเป็นวิดีโอเทปภาพยนตร์และนำม้วนวิดีโอเทปนั้นออกจำหน่ายได้ เมื่อจำเลยร่วมที่ 1 ทำซ้ำงานภาพยนตร์นั้นซึ่งมีงานวรรณกรรมของโจทก์รวมอยู่ด้วยโดยทำเป็นวิดีโอเทปและนำม้วนวิดีโอเทปที่ทำขึ้นนั้นออกจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมนวนิยายเรื่องดาวพระศุกร์ การกระทำของจำเลยร่วมที่ 1 ดังกล่าวจึงเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมของโจทก์ ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 24 (1) และมาตรา 27 (1) หรือตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 27 (1) และมาตรา 31 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8452/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดลิขสิทธิ์วรรณกรรมจากภาพยนตร์วิดีโอ: ความรับผิดของผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย และผู้ประกอบการ
ตามสัญญาอนุญาตให้สร้างภาพยนตร์ซึ่งเป็นสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์กำหนดว่าโจทก์อนุญาตให้จำเลยร่วมที่ 2 นำนวนิยายเรื่องดาวพระศุกร์ ซึ่งเป็นงานวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ไปสร้างเป็นภาพยนตร์ 35 มิลลิเมตร ได้ 1 ครั้ง เพื่อจัดฉายตามโรงภาพยนตร์ทั่วประเทศภายใน 7 ปี ดังนี้ แม้จำเลยร่วมที่ 2 จะสร้างภาพยนตร์เรื่องดาวพระศุกร์โดยได้รับอนุญาตจากโจทก์ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมนวนิยายดังกล่าวตามสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ อันเป็นการนำเอางานอันมีลิขสิทธิ์มาดัดแปลงและจำเลยร่วมที่ 2 มีลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์ที่ดัดแปลงขึ้นตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 มาตรา 9 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะที่ทำสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ แต่สิทธิในลิขสิทธิ์สำหรับงานภาพยนตร์ดังกล่าวของจำเลยร่วมที่ 2 ที่ได้มาตามสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ดังกล่าวมีจำกัดอยู่เพียงสิทธิในการโฆษณาหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งภาพยนตร์นั้นด้วยการฉายตามโรงภาพยนตร์ทั่วประเทศภายใน 7 ปี เท่านั้น จำเลยร่วมที่ 2 ไม่มีสิทธิในการทำซ้ำหรือดัดแปลง นำออกโฆษณาหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งภาพยนตร์นั้นด้วยวิธีอื่น ไม่อาจให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานภาพยนตร์นั้น หรือให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์ในงานยนตร์นั้นแก่ผู้อื่นได้ ตลอดจนไม่อาจอนุญาตให้ผู้อื่นทำซ้ำหรือดัดแปลงนำออกโฆษณาหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานภาพยนตร์นั้น หรือไม่อาจอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิในการให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานภาพยนตร์นั้นตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 มาตรา 13 และ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 (ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2537) มาตรา 15 ได้ การที่จำเลยร่วมที่ 2 นำภาพยนตร์เรื่องดาวพระศุกร์ที่ตนสร้างขึ้นไปบันทึกเป็นวิดีโอเทปในรูปของงานโสตทัศนวัสดุหรือภาพยนตร์ แล้วนำวิดีโอนั้นออกจำหน่ายและให้เช่า จึงเป็นการทำซ้ำงานวรรณกรรมนวนิยายเรื่องดาวพระศุกร์อันเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ซึ่งมีอยู่ในภาพยนตร์นั้น โดยไม่มีสิทธิที่จะทำได้ตามสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ และไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมนั้น การกระทำดังกล่าวของจำเลยร่วมที่ 2 ย่อมเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมนวนิยายเรื่องดาวพระศุกร์ของโจทก์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 มาตรา 24 (1) หรือ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 27 (1)
เมื่อจำเลยร่วมที่ 2 ไม่มีสิทธิที่จะอนุญาตให้ผู้อื่นนำภาพยนตร์เรื่องดาวพระศุกร์ซึ่งมีงานวรรณกรรมนวนิยายเรื่องดังกล่าวอันเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์รวมอยู่ด้วยไปทำซ้ำโดยวิธีอื่น ซึ่งรวมถึงการบันทึกเป็นม้วนวิดีโอเทปภาพยนตร์ได้ การที่จำเลยร่วมที่ 1 แม้ว่าจะได้รับอนุญาตจากจำเลยร่วมที่ 2 ให้นำภาพยนตร์ดังกล่าวที่จำเลยร่วมที่ 2 สร้างขึ้นไปบันทึกเป็นวิดีโอเทปและนำออกจำหน่ายตามสัญญาที่ทำกับจำเลยร่วมที่ 2 ก็ไม่มีสิทธิที่จะทำซ้ำงานภาพยนตร์ดังกล่าวเป็นวิดีโอเทปภาพยนตร์และนำม้วนวิดีโอเทปนั้นออกจำหน่ายได้รวมทั้งอนุญาตให้บริษัทจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 3 กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 2 นำม้วนมาสเตอร์เทปภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวไปผลิตเป็นวิดีโอเทปออกจำหน่ายได้เช่นกัน
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 ได้บัญญัติให้ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี แต่อย่างไรก็ดี ไม่ว่าคู่ความฝ่ายใดจะชนะคดีเต็มตามข้อหาหรือแต่บางส่วน ศาลมีอำนาจที่จะพิพากษาให้คู่ความฝ่ายที่ชนะคดีนั้นเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง หรือให้คู่ความแต่ละฝ่ายเสียค่าฤชาธรรมเนียมส่วนของตนหรือตามส่วนแห่งค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงซึ่งคู่ความทั้งสองฝ่ายได้เสียไปก็ได้ ตามที่ศาลจะใช้ดุลพินิจ โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง ซึ่งเห็นได้ว่าการสั่งให้คู่ความฝ่ายใดรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมจำนวนมากน้อยเพียงใด เป็นดุลพินิจของศาล มีเพียงดุลพินิจในการสั่งเกี่ยวกับค่าทนายความซึ่งเป็นค่าฤชาธรรมเนียมอย่างหนึ่งเท่านั้นที่ต้องเป็นไปตามอัตราค่าทนายความในตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกับจำเลยอื่นใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์ โดยไม่ได้แยกให้จำเลยแต่ละคนชดใช้เท่ากับจำนวนเงินที่จำเลยแต่ละคนต้องชดใช้แก่โจทก์ จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 267/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการฟ้องร้องละเมิดลิขสิทธิ์: ผู้ได้รับอนุญาตใช้สิทธิแต่ผู้เดียวมีอำนาจร้องทุกข์
บริษัท น. ได้รับสิทธิให้ทำการฉายภาพยนตร์เรื่อง ทูดายฟอร์ ในโรงภาพยนตร์ รวมทั้งทำเป็นวิดีโอออกขายหรือให้เช่าแต่ผู้เดียวในประเทศไทย เมื่อจำเลยกระทำละเมิดโดยนำเอาแถบบันทึกภาพและเสียงภาพยนตร์หรือวิดีโอเทปเรื่องดังกล่าวออกให้เช่าหรือเสนอให้เช่าแก่บุคคลทั่วไป จึงเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานสร้างสรรค์ภาพยนตร์ดังกล่าว บริษัท น. จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4794/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์: การละเมิดลิขสิทธิ์โดยการมีแผ่นภาพยนตร์ละเมิดไว้เพื่อขาย แม้ไม่มีการขายจริงก็ถือเป็นความผิด
บริษัท ซ. เพียงแต่ได้รับสิทธิในการทำซ้ำ เผยแพร่และจัดจำหน่ายภาพยนตร์ของโจทก์ร่วมในประเทศไทยแต่ผู้เดียว หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งบริษัท ซ. คงมีลิขสิทธิ์เฉพาะในงานที่ได้ดัดแปลงเป็นภาพยนตร์วิดีโอซีดีและวิดีโอเทปและมีสิทธิทำซ้ำ เผยแพร่ต่อสาธารณชนกับจัดจำหน่ายภาพยนตร์อันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมในประเทศไทยได้โดยไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์ของโจทก์ร่วม เพราะได้รับอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์จากโจทก์ร่วมแล้วเท่านั้น จึงไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ที่มีอยู่ในงานของผู้สร้างสรรค์เดิมที่ถูกดัดแปลง ดังนั้น จึงต้องถือว่าโจทก์ร่วมยังคงเป็นเจ้าของในงานภาพยนตร์ตามคำฟ้องในฐานะผู้สร้างสรรค์อยู่ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 11 โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายคดีนี้และมีอำนาจร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยได้
การที่แผ่นภาพยนตร์วิดีโอซีดีของกลางถูกนำมาเก็บไว้ในสถานประกอบการค้าของจำเลยและจำเลยมิได้สั่งซื้อแผ่นภาพยนตร์วิดีโอซีดีของกลางจากผู้มีสิทธิดัดแปลงทำซ้ำในประเทศไทยหรือตัวแทนจำหน่ายโดยตรง เป็นพฤติการณ์ที่ชี้ให้เห็นว่าจำเลยรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่าแผ่นภาพยนตร์วิดีโอซีดีของกลางทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น เมื่อจำเลยมีแผ่นภาพยนตร์วิดีโอซีดีของกลางไว้เพื่อขายอันเป็นการกระทำเพื่อการค้าโดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นภาพยนตร์วิดีโอซีดีที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธ์ของโจทก์ร่วม แม้จะไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เสนอขายและขายแผ่นภาพยนตร์วิดีโอซีดีของกลางให้ผู้อื่นด้วย การกระทำของจำเลยตามที่ได้ความดังกล่าวก็ถือได้ว่าเป็นการมีไว้เพื่อขายซึ่งแผ่นภาพยนตร์วิดีโอซีดีที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นอันเป็นการกระทำเพื่อการค้าซึ่งเป็นความผิดฐานหนึ่งตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 31 (1) ประกอบมาตรา 70 วรรคสอง และกรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยได้กระทำโดยมีเจตนาทุจริตหรือไม่ เพราะความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าวหาได้มีองค์ประกอบว่าผู้กระทำความผิดจะต้องกระทำโดยมีเจตนาทุจริตด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9525/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อสันนิษฐานเรื่องลิขสิทธิ์และการพิสูจน์เจ้าของลิขสิทธิ์ในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ โดยจำเลยไม่โต้แย้งสิทธิ
คดีเกี่ยวกับลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า งานที่มีการฟ้องร้องในคดีนั้นเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง
ผู้เสียหายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง การที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยถือว่าเป็น การฟ้องคดีแทนผู้เสียหาย จึงต้องถือว่าผู้เสียหายได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 62 เช่นเดียวกับที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์
จำเลยปฏิเสธฟ้องโจทก์แต่เพียงว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดเท่านั้น เมื่อจำเลยไม่ให้การหรือนำสืบโต้แย้งว่า ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรมตามฟ้อง หรือโต้แย้งสิทธิของผู้เสียหายในงานดังกล่าวมาโดยชัดแจ้ง ผู้เสียหายย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง ว่า งานดนตรีกรรมที่มีการฟ้องร้องเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายโดยโจทก์ไม่จำต้องสืบพยานในข้อนี้อีก ดังนั้น ไม่ว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาในข้อนี้จะมีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังได้หรือไม่ก็ตาม ก็ไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อคดีของโจทก์
งานดนตรีกรรมตามรายชื่อเพลงท้ายฟ้องรวม 22 เพลง เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายและแผ่นซีดีของกลางซึ่งบันทึกงานดนตรีกรรมตามรายชื่อเพลงท้ายฟ้องดังกล่าวเป็นแผ่นซีดีเพลงที่มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย จำเลยได้เสนอขายแผ่นซีดีเพลงวัตถุพยานของกลางซึ่งมีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายให้แก่พนักงานของผู้เสียหายผู้ล่อซื้อและพฤติการณ์ที่มีการวางปกแผ่นซีดีเพลงดังกล่าวในร้านค้าที่เกิดเหตุ ย่อมชี้ให้เห็นได้โดยชัดแจ้งว่าจำเลยมีเจตนาที่จะเสนอขายแผ่นซีดีเพลงตามแผ่นปกดังกล่าวมาแต่ต้นแล้ว กรณีนี้ถือไม่ได้ว่า พนักงานของผู้เสียหายเป็นผู้ก่อให้จำเลยกระทำความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5688/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีซีดีละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อขาย แม้ไม่มีการล่อซื้อ ก็ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์
จำเลยเอากล่องซีดีภาพยนตร์พร้อมปกซึ่งมีภาพและชื่อของภาพยนตร์เรื่องต่าง ๆ ประมาณ 100 เรื่อง วางแสดงไว้ที่หน้าร้านเพื่อเตรียมไว้เสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไป แม้ภายในกล่องจะไม่มีแผ่นซีดีภาพยนตร์อยู่ก็ตาม แต่จำเลยก็สามารถไปนำแผ่นซีดีภาพยนตร์ที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของกลางที่อยู่หลังร้านออกมาขายให้แก่ผู้ซื้อได้ หากจำเลยมีแผ่นซีดีภาพยนตร์ของกลางไว้โดยไม่มีเจตนาเพื่อจะขายแผ่นซีดีและแม้คดีนี้จะไม่มีการล่อซื้อแผ่นซีดีภาพยนตร์จากจำเลย แต่การที่จำเลยมีแผ่นซีดีภาพยนตร์หลายเรื่องหลายแผ่นไว้ พร้อมทั้งมีการวางกล่องกับปกซีดีภาพยนตร์ไว้ในร้านแสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยได้ว่าจำเลยมีแผ่นซีดีภาพยนตร์ของกลางไว้เพื่อขายแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 31 (1), 70 วรรคสอง
จำเลยกระทำผิดโดยเพียงแต่มีแผ่นซีดีภาพยนตร์ซึ่งมีบุคคลอื่นทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมทั้งเจ็ดไว้เพื่อขายจำนวนเพียง 102 แผ่น ตามคำฟ้องของโจทก์ที่ขอให้จ่ายเงินค่าปรับกึ่งหนึ่งให้แก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ก็มิได้ขอให้จ่ายเงินแก่ผู้เสียหายคนละเท่า ๆ กัน และไม่ปรากฏเหตุอันควรที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศจะพิพากษาให้จ่ายเงินค่าปรับกึ่งหนึ่งแก่ผู้เสียหายทั้งเจ็ดซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ที่เข้าเป็นโจทก์ร่วมคนละเท่า ๆ กัน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรแก้ไขเป็นให้จ่ายเงินค่าปรับที่จำเลยได้ชำระตามคำพิพากษากึ่งหนึ่งให้แก่โจทก์ร่วมทั้งเจ็ดตามคำขอในคำฟ้องของโจทก์เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2000/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลิขสิทธิ์ภาพหมีพูห์: การคุ้มครองเฉพาะการแสดงออกทางศิลปะ ไม่คุ้มครองความคิดสร้างสรรค์ และการขาดเจตนาละเมิด
งานภาพพิมพ์รูปการ์ตูนหมีพูห์ของผู้เสียหาย อันเป็นศิลปกรรมอยู่ในประเภทของงานอันมีลิขสิทธิ์ที่ผู้เสียหายสร้างสรรค์จินตนาการเป็นงานศิลปกรรมนั้น เป็นการสร้างสรรค์จินตนาการโดยวิจักขณ์จากธรรมชาติ ซึ่งเป็นสัตว์โลกที่เรียกกันว่า "หมี" (BEAR) มาเป็นงานศิลปกรรมในรูปการ์ตูน มนุษย์เมื่อพบเห็นสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติก็สามารถสร้างจินตนาการในศิลปะลักษณะต่าง ๆ กันได้ และเมื่อการสร้างสรรค์จินตนาการภาพการ์ตูนมีที่มาจากสัตว์ธรรมชาติอย่างเดียวกัน โดยการริเริ่มขึ้นเองของผู้สร้างสรรค์แต่ละคน งานศิลปกรรมดังกล่าวจึงอาจจะเหมือนกันหรือคล้ายกันได้โดยไม่จำต้องมีการลอกเลียนทำซ้ำหรือดัดแปลงงานของกันและกันแต่อย่างใด พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 6 วรรคสอง ไม่ได้ให้ความคุ้มครองแก่ความคิดในการสร้างสรรค์งาน ฉะนั้น การใช้ความคิดริเริ่มนำความสวยงามตามธรรมชาติของสัตว์โลกมาสร้างสรรค์เป็นภาพการ์ตูนจึงเป็นความคิดที่กฎหมายไม่ได้ให้ความคุ้มครองเอาไว้ กฎหมายลิขสิทธิ์คุ้มครองเฉพาะการแสดงออกซึ่งความคิดเท่านั้นและการคุ้มครองการแสดงออกซึ่งความคิดดังกล่าวจนถึงขั้นที่ผู้สร้างสรรค์จะเป็นผู้มีลิขสิทธิ์นั้น ยังต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขของ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 8 ด้วย
แม้จะปรากฏข้อเท็จจริงว่าภาพหมีพูห์บนลูกโป่งของกลางได้มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานภาพพิมพ์หมีพูห์ของผู้เสียหายดังที่โจทก์อ้าง แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยสั่งซื้อลูกโป่งมาขายแก่ลูกค้าโดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับภาพบนลูกโป่งว่าจะเป็นภาพใด แต่เน้นที่สีของลูกโป่ง เนื้อของลูกโป่ง ความยืดหยุ่น และลูกโป่งที่ไม่รั่วเท่านั้น ทั้งลูกโป่งดังกล่าวที่มีภาพหมีพูห์ที่คล้ายภาพหมีพูห์ซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ได้แยกออกมาจากลูกโป่งจำนวนประมาณ 1,000,000 ใบ มีจำนวนเพียง 4,435 ใบ ซึ่งนับว่าเป็นจำนวนน้อยมาก ข้อเท็จจริงจึงไม่พอให้รับฟังได้ว่า จำเลยรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานภาพพิมพ์บนลูกโป่งของกลางนั้นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมภาพพิมพ์รูปหมีพูห์ของผู้เสียหาย แล้วจำเลยยังนำลูกโป่งที่มีภาพพิมพ์นั้นออกขายแก่ลูกค้าทั่วไป การกระทำของจำเลยจึงยังไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 31 (1) และ 70 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6558/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องร้องละเมิดลิขสิทธิ์, การมอบอำนาจ, พยานหลักฐาน, และความรับผิดของผู้ขาย
ในกรณีความผิดอาญาซึ่งกระทำต่อนิติบุคคลนั้น ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆ ของนิติบุคคลมีอำนาจร้องทุกข์แทนนิติบุคคลได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3 และมาตรา 5 แต่ตาม ป.วิ.อ. ไม่ได้บัญญัติการมอบอำนาจให้ผู้แทนนิติบุคคลไว้เป็นการเฉพาะ จึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาใช้เท่าที่พอจะใช้บังคับได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 15 และตาม ป.วิ.พ. มาตรา 47 วรรคสาม บัญญัติเกี่ยวกับใบมอบอำนาจที่ได้ทำในต่างประเทศ ซึ่งถ้าเป็นต่างประเทศที่มีกงสุลสยามต้องให้กงสุลนั้นเป็นพยาน แต่ถ้าได้ทำในเมืองต่างประเทศที่ไม่มีกงสุลสยาม ต้องให้เจ้าพนักงานโนตารีปับลิกหรือแมยิสเตร็ดหรือบุคคลอื่น ซึ่งกฎหมายแห่งท้องถิ่นตั้งให้เป็นผู้มีอำนาจเป็นพยานในเอกสารเช่นว่านี้และต้องมีใบสำคัญของรัฐบาลต่างประเทศแสดงว่าบุคคลที่เป็นพยานนั้นเป็นผู้มีอำนาจกระทำการได้ โดยไม่ปรากฏว่าผู้รับมอบอำนาจจะต้องลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจแต่อย่างใดไม่ ดังนั้น เมื่อหนังสือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยได้ลงนามโดยมีอำนาจทำการแทนนิติบุคคล และมีพยานตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ลงลายมือชื่อไว้ หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย ผู้รับมอบอำนาจจากนิติบุคคลผู้เสียหาย ย่อมมีอำนาจมอบอำนาจช่วงให้แจ้งความร้องทุกข์ได้
แม้ว่าภาพโปรแกรมไมโครซอฟท์มันนี่ ภาพโปรแกรมอโดเบ ไทป์เมเนเจอร์ โครงสร้างแฟ้มข้อมูลของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โครงสร้างแฟ้มข้อมูลเพื่อใช้ในทางติดตั้งสำเนาโปรแกรมลงบนสื่อบันทึกถาวรในเครื่องคอมพิวเตอร์ โครงสร้างแฟ้มข้อมูลของโปรแกรมคอมพิวเตอร์เมื่อติดตั้งบนสื่อบันทึกถาวรของเครื่องคอมพิวเตอร์เรียบร้อยแล้ว จะเป็นเอกสารที่ผู้เสียหายจัดทำขึ้นเอง และได้ทำขึ้นภายหลังจากที่มีการจับกุมจำเลยแล้วก็ตาม แต่เอกสารดังกล่าวไม่ใช่ของกลางในคดีอาญาหากแต่เป็นเอกสารที่ผู้เสียหายได้จัดทำขึ้นจากโปรแกรมของผู้เสียหายเพื่อพิสูจน์ว่าผู้เสียหายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในฐานะเป็นผู้สร้างสรรค์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าวและแผ่นซีดีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ อันเป็นวัตถุพยาน ซึ่งได้กระทำซ้ำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายซึ่งมีอยู่แล้วเท่านั้น ดังนั้น เอกสารที่ผู้เสียหายทำขึ้นจึงใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีได้
ไมโครซอฟท์มันนี่ได้เริ่มจัดพิมพ์ตั้งแต่ ค.ศ.1991 แล้วพัฒนาเพิ่มเติมเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบันมีไมโครซอฟท์มันนี่ 97, 98 แล้ว ซึ่งหลังจาก ค.ศ.1991 ได้มีโปรแกรมที่พัฒนาเพิ่มเติมเป็นการวางรากฐานส่วนใหญ่มาจากโปรแกรมแรก หรือแก้ไขเพิ่มเติมจากโครงสร้างโปรแกรมหลักให้แก่โปรแกรมปี 91 โปรแกรมที่จำเลยจำหน่ายเป็นโปรแกรมปี 95 แต่โปรแกรมที่โจทก์จัดพิมพ์เพื่อใช้เปรียบเทียบนั้นเป็นโปรแกรมปี 97 แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นงานสร้างสรรค์ และมีการพัฒนาจากรากฐานเดิมไปเรื่อย ๆ โดยอาศัยโครงสร้างโปรแกรมหลักอันเดิม การที่โจทก์ฟ้องว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ไมโครซอฟท์มันนี่ 95 แต่นำโปรแกรมปี 97 ซึ่งเป็นโปรแกรมที่พัฒนามาจากปี 95 มาแสดงต่อศาล เมื่อศาลได้ตรวจดูวัตถุพยานแล้วก็ปรากฏภาพโปรแกรมตรงกับเอกสารที่โจทก์จัดพิมพ์เปรียบเทียบ กรณีจึงมิใช่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง
ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 (1) บัญญัติถึงกรณีผู้ที่กระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ ให้มีความหมายรวมถึงผู้ขาย มีไว้เพื่อขายเสนอขายไว้ด้วย เมื่อปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้ขายแผ่นซีดีของกลางให้แก่ผู้ซื้อ การกระทำของจำเลยถือได้ว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์อันจึงเป็นความผิดตามกฎหมายแล้ว
of 3