พบผลลัพธ์ทั้งหมด 63 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 957/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกักกันผู้กระทำผิดซ้ำฐานลักทรัพย์: เกณฑ์การพิจารณาตามประวัติโทษและการกระทำความผิดต่อเนื่อง
จำเลยเคยถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุกไม่ต่ำกว่า 6 เดือนมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกฐานรับของโจร ครั้งที่สองฐานลักทรัพย์ เมื่อจำเลยพ้นโทษครั้งที่ 2 ไปแล้วภายในเวลา 10 ปี จำเลยกลับมากระทำผิดฐานลักทรัพย์ จนศาลพิพากษาลงโทษจำคุกเกินกว่า 6 เดือนอีก ความผิดของจำเลยเหล่านี้ ก็เป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ซึ่งอยู่ในประเภทเดียวกันกับที่ระบุไว้ในมาตรา 41(8) ทั้งสิ้น จึงเข้าเกณฑ์ที่ศาลจะให้กักกันได้
จำเลยทำการลักทรัพย์ 2 ราย ในเวลาห่างกันราว 1 เดือน ทั้งเป็นความผิดที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราของมาตรา 335 ตั้งแต่ 2 อนุมาตราขึ้นไป คือ (1)(7)(11) ดังนี้ จึงเห็นได้ชัดว่าเป็นผู้กระทำความผิดติดนิสัย สมควรที่ให้กักกันจำเลย
จำเลยทำการลักทรัพย์ 2 ราย ในเวลาห่างกันราว 1 เดือน ทั้งเป็นความผิดที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราของมาตรา 335 ตั้งแต่ 2 อนุมาตราขึ้นไป คือ (1)(7)(11) ดังนี้ จึงเห็นได้ชัดว่าเป็นผู้กระทำความผิดติดนิสัย สมควรที่ให้กักกันจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1475/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามลักทรัพย์และการกักกันผู้กระทำผิดติดนิสัย
การพยายามกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80 นั้นเป็นความผิดแล้ว เพียงแต่ต้องระวางโทษต่ำกว่าความผิดสำเร็จเท่านั้น ฉะนั้น ความผิดที่จำเลยกระทำในคดีนี้ย่อมเป็นความผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 41(8) แล้ว ถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดติดนิสัยและพิพากษาให้กักกันจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1475/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา และการกักกันผู้กระทำผิดติดนิสัย
การพยายามกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 80 นั้น เป็นความผิดแล้ว เพียงแต่ต้องระวางโทษต่ำกว่าความผิดสำเร็จเท่านั้น ฉะนั้น ความผิดที่จำเลยกระทำในคดีนี้ย่อมเป็นความผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 41(8) แล้วถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดติดนิสัยและพิพากษาให้กักกันจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พระราชทานอภัยโทษไม่ลบล้างคำพิพากษาเดิม และสิทธิการฟ้องกักกันยังคงมี
แม้จำเลยจะได้รับพระราชทานอภัยโทษตามพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษให้ลดโทษลงเพียงใด ถึงขั้นปล่อยตัวไปก็ตาม คำพิพากษาของศาลที่กำหนดโทษไว้เดิมนั้นก็หาได้ถูกลบล้างไปไม่
การที่ศาลทหารกล่าวไว้ในคำพิพากษาให้ยกคำขอที่ขอให้กักกันจำเลย เพราะไม่อยู่ในอำนาจของศาลทหารนั้น หาตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องขอให้กักกันจำเลยต่อศาลที่มีอำนาจไม่
การที่ศาลทหารกล่าวไว้ในคำพิพากษาให้ยกคำขอที่ขอให้กักกันจำเลย เพราะไม่อยู่ในอำนาจของศาลทหารนั้น หาตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องขอให้กักกันจำเลยต่อศาลที่มีอำนาจไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษทางอาญา: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ไขบทที่ศาลชั้นต้นปรับผิดพลาดได้ แต่ห้ามเพิ่มโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยผิดกฎหมายหลายบทให้ลงโทษจำเลยตามบทหนัก จำเลยฝ่ายเดียวอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ว่าจำเลยผิดหลายกระทงให้ลงโทษตามกระทงที่หนักที่สุด ส่วนกำหนดโทษให้คงเดิมดังนี้ เป็นเรื่องศาลอุทธรณ์เห็นว่าศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยมาไม่ถูกต้อง ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะพิพากษาแก้เสียให้ถูกต้องโดยไม่เพิ่มเติมกำหนดโทษจำเลยให้สูงขึ้นอีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาญาหลายกระทง และขอบเขตการฎีกาเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น
การที่จะปรับบทว่าคดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่นั้น ชอบที่จะต้องพิจารณาในฐานความผิดเป็นกระทง ๆไป เสมือนมิได้ร่วมแต่ละกระทงความผิดฟ้องมาในคดีเดียวกัน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยผิดฐานขับรถโดยประมาท เป็นเหตุให้คนตายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2+1 กระทงหนึ่งและผิดฐานขับขี่รถโดยไม่มีใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติรถยนต์มาตรา 16,33 อีกกระทงหนึ่ง แต่ให้ลงโทษฐานขับรถโดยประมาทซึ่งเป็นกระทงหนักแต่กระทงเดียวตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91 ลดโทษให้แล้ว ลงจำคุก 1 ปี ศาลอุทธรณ์ฟังว่ารูปคดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยประมาท พิพากษาแก้ให้ปรับจำเลย 50 บาท ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ฯมาตรา 16,33 นอกนั้นให้ยกเสีย ทั้งนี้ ในกระทงความผิดฐานทำให้คนตายโดยประมาทซึ่งศาลอุทธรณ์และศาลชั้นต้นพิพากษากลับกันตรงข้ามนั้น ไม่ใช่เป็นคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขตามนัยแห่งกฎหมาย จึงปรับบทให้ต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 220 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหาได้ไม่ โจทก์ชอบที่จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในกระทงความผิดฐานนี้ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2507)
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยผิดฐานขับรถโดยประมาท เป็นเหตุให้คนตายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2+1 กระทงหนึ่งและผิดฐานขับขี่รถโดยไม่มีใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติรถยนต์มาตรา 16,33 อีกกระทงหนึ่ง แต่ให้ลงโทษฐานขับรถโดยประมาทซึ่งเป็นกระทงหนักแต่กระทงเดียวตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91 ลดโทษให้แล้ว ลงจำคุก 1 ปี ศาลอุทธรณ์ฟังว่ารูปคดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยประมาท พิพากษาแก้ให้ปรับจำเลย 50 บาท ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ฯมาตรา 16,33 นอกนั้นให้ยกเสีย ทั้งนี้ ในกระทงความผิดฐานทำให้คนตายโดยประมาทซึ่งศาลอุทธรณ์และศาลชั้นต้นพิพากษากลับกันตรงข้ามนั้น ไม่ใช่เป็นคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขตามนัยแห่งกฎหมาย จึงปรับบทให้ต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 220 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหาได้ไม่ โจทก์ชอบที่จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในกระทงความผิดฐานนี้ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2507)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 422/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลบล้างมลทินโทษกักกัน และการเพิ่มโทษซ้ำโดยอาศัยโทษกักกันเดิมที่ไม่สามารถนำมาใช้เพิ่มโทษได้
ก่อนใช้ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติกักกันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้าย พ.ศ.2479 มาตรา 5 บัญญัติให้ถือกักกันเป็นโทษอาญาสถานหนึ่ง เมื่อใช้ประมวลกฎหมายอาญาแล้ว ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 15 ให้เปลี่ยนโทษกักกันมาเป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัยโทษกักกันจึงไม่ใช่โทษอาญาเสียแล้ว แต่บทบัญญัติมาตรา 15 นี้ย่อมไม่ย้อนหลังไปบังคับถึงโทษกักกันที่ได้เสร็จสิ้นพ้นโทษไปแล้ว
จำเลยเคยต้องคำพิพากษาให้กักกันมีกำหนด 3 ปี พ้นโทษไปเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2498 ก่อนใช้พระราชบัญญัติล้างมลทินฯ พ.ศ.2499 และก่อนใช้ประมวลกฎหมายอาญา ดังนี้ โทษกักกันที่จำเลยได้รับเสร็จสิ้นไปแล้วก่อนประมวลกฎหมายอาญาออกใช้ ก็คงถือเป็นโทษอยู่ ย่อมได้รับการล้างมลทินโดยพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ พ.ศ.2499 มาตรา 3 จะกักกันจำเลยโดยอาศัยเหตุที่จำเลยเคยถูกกักกันมาแล้วตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 41 อีกหาได้ไม่
จำเลยเคยต้องคำพิพากษาให้กักกันมีกำหนด 3 ปี พ้นโทษไปเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2498 ก่อนใช้พระราชบัญญัติล้างมลทินฯ พ.ศ.2499 และก่อนใช้ประมวลกฎหมายอาญา ดังนี้ โทษกักกันที่จำเลยได้รับเสร็จสิ้นไปแล้วก่อนประมวลกฎหมายอาญาออกใช้ ก็คงถือเป็นโทษอยู่ ย่อมได้รับการล้างมลทินโดยพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ พ.ศ.2499 มาตรา 3 จะกักกันจำเลยโดยอาศัยเหตุที่จำเลยเคยถูกกักกันมาแล้วตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 41 อีกหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 422/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โทษกักกันที่พ้นโทษแล้วก่อนใช้ประมวลกฎหมายอาญา ย่อมได้รับการล้างมลทินตาม พ.ร.บ.ล้างมลทินฯ และไม่อาจนำมาเพิ่มโทษซ้ำได้
ก่อนใช้ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติกักกันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้าย พ.ศ.2479 มาตรา 5 บัญญัติให้ถือกักกันเป็นโทษอาญาสถานหนึ่ง เมื่อใช้ประมวลกฎหมายอาญาแล้ว ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 15 ให้เปลี่ยนโทษกักกันมาเป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัย โทษกักกันจึงไม่ใช่โทษอาญาเสียแล้ว แต่บทบัญญัติมาตรา 15 นี้ย่อมไม่ย้อนหลังไปบังคับถึงโทษกักกันที่ได้เสร็จสิ้นพ้นโทษไปแล้ว
จำเลยเคยต้องคำพิพากษาให้กักกันมีกำหนด 3 ปี พ้นโทษไปเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2498 ก่อนใช้พระราชบัญญัติล้างมลทิน ฯ พ.ศ. 2499 และก่อนใช้ประมวลกฎหมายอาญา ดังนี้ โทษกักกันที่จำเลยได้รับเสร็จสิ้นไปแล้วก่อนประมวลกฎหมายอาญาออกใช้ ก็คงถือเป็นโทษอยู่ ย่อมได้รับการล้างมลทินโดยพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ พ.ศ.2499 มาตรา 3 จะกักกันจำเลยโดยอาศัยเหตุที่จำเลยเคยถูกกักกันมาแล้วตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 41 อีก หาได้ไม่.
จำเลยเคยต้องคำพิพากษาให้กักกันมีกำหนด 3 ปี พ้นโทษไปเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2498 ก่อนใช้พระราชบัญญัติล้างมลทิน ฯ พ.ศ. 2499 และก่อนใช้ประมวลกฎหมายอาญา ดังนี้ โทษกักกันที่จำเลยได้รับเสร็จสิ้นไปแล้วก่อนประมวลกฎหมายอาญาออกใช้ ก็คงถือเป็นโทษอยู่ ย่อมได้รับการล้างมลทินโดยพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ พ.ศ.2499 มาตรา 3 จะกักกันจำเลยโดยอาศัยเหตุที่จำเลยเคยถูกกักกันมาแล้วตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 41 อีก หาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 405/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: การบุกรุกเพื่อทำร้ายร่างกาย ทำให้สิทธิฟ้องฐานบุกรุกระงับ
จำเลยบุกรุกเข้าไปในร้านของ จ.แล้วทำร้าย ย.ในที่นั้นทันที เห็นได้ชัดว่าจำเลยมีเจตนาประสงค์ต่อผลโดยตรงต่อการที่จะทำร้าย ย. และการกระทำก็ไม่ขาดตอน ทั้งการที่ทำร้าย ย.ก็เป็นเหตุหนึ่งที่แสดงถึงความที่ไม่มีเหตุอันสมควรที่จะเข้าไปในเคหสถานของ จ.อันเป็นองค์สำคัญของความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 364 ด้วย การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท เมื่อต้องคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดฐานทำร้ายร่างกายไปแล้ว สิทธิที่จะฟ้องจำเลยฐานบุกรุกย่อมระงับไป
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2507)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2507)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1659/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยในคดีลักทรัพย์หลายกรรม ฟ้องไม่บรรยายรายละเอียดครบถ้วน ศาลลงโทษทุกกรรมเรียงกระทงมิได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำผิดกฎหมายต่างกรรมต่างวาระกัน คือ ได้บังอาจลักทรัพย์รวม 49 รายการ โดยลักไปครั้งละ 1 และ 2 รายการ จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องแล้วศาลสอบโจทก์ โจทก์แถลงว่า ตามทางสอบสวนได้ความว่าจำเลยลักเอาทรัพย์รายนี้ไปรวม 40 ครั้ง และศาลสอบจำเลย ๆ ก็รับว่าลักไปรวม 40 ครั้งจริง ดังนี้ ศาลก็ลงโทษจำเลยทุกกรรมเรียงกระทงรวม 40 กระทงมิได้ เพราะฟ้องโจทก์มิได้บรรยายไว้ดังคำแถลงของโจทก์ และแม้คำฟ้องนี้จะมิได้ระบุให้ชัดเจนว่าจำเลยลักทรัพย์รายนี้รวมกี่ครั้ง ครั้งไหนกี่รายการ และครั้งไหนจำเลยลักอะไร แต่เมื่อจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี มิได้หลงต่อสู้แล้ว ฟ้องโจทก์มิใช่เป็นฟ้องเคลือบคลุม