พบผลลัพธ์ทั้งหมด 63 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1321/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกักกันผู้ต้องโทษเดิมและการพิจารณาโทษซ้ำเมื่อกระทำผิดซ้ำ ศาลต้องเคารพคำสั่งปล่อยตัวเดิม
ประมวลกฎหมายอาญามีผลเพียงให้โทษกักกันที่จำเลยได้รับอยู่เดิมเปลี่ยนลักษณะมาเป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัยเท่านั้นแม้ตามประมวลกฎหมายอาญาจะมิได้ถือว่าการที่จำเลยถูกกักกันต่อมานั้นเป็นโทษก็ตาม ก็ยังเรียกไม่ได้ว่าจำเลยได้พ้นโทษกักกันนั้นไปแล้ว เพราะยังต้องถูกกักกันอยู่โดยผลแห่งคำพิพากษาของศาล
แต่เมื่อปรากฏว่า ศาลได้ปล่อยจำเลยไปโดยถือว่าจำเลยไม่เคยต้องคำพิพากษาให้กักกันศาลก็จะรื้อฟื้นขึ้นมาว่าจำเลยเคยต้องคำพิพากษาให้กักกัน (เพื่อจะนำมาพิจารณารวมกับการกระทำผิดครั้งหลังให้กักกันตามมาตรา 41 แห่งประมวลกฎหมายอาญา)หาได้ไม่
แต่เมื่อปรากฏว่า ศาลได้ปล่อยจำเลยไปโดยถือว่าจำเลยไม่เคยต้องคำพิพากษาให้กักกันศาลก็จะรื้อฟื้นขึ้นมาว่าจำเลยเคยต้องคำพิพากษาให้กักกัน (เพื่อจะนำมาพิจารณารวมกับการกระทำผิดครั้งหลังให้กักกันตามมาตรา 41 แห่งประมวลกฎหมายอาญา)หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 709/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกักกันผู้กระทำผิดและการพิจารณาโทษจำคุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 14 และ 41
จำเลยต้องโทษฐานลักทรัพย์ศาลจำคุก 6 เดือน ต่อมาจำเลยต้องโทษฐานทำร้ายร่างกาย ต่อสู้เจ้าพนักงานและเมาสุรา ศาลรวมกะทงลงโทษจำคุก 1 ปี แต่ฐานทำร้ายร่างกายนั้นศาลวางโทษจำคุก 4 เดือน ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย จึงนำมากักกันจำเลยไม่ได้คงเหลือโทษฐานลักทรัพย์ครั้งเดียว ที่เป็นโทษฐานที่ระบุไว้ในมาตรา 41 ประมวลกฎหมายอาญา และมีกำหนดโทษจำคุกถึง 6 เดือน ศาลจึงมีอำนาจตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา 14 ที่จะสั่งตามที่เห็นสมควร ศาลจึงอาจสั่งให้ยกเลิกการกักกันให้จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 709/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกักกันผู้กระทำผิดและการพิจารณาโทษซ้ำหลังพ้นโทษ: อำนาจศาลตามมาตรา 14 และ 41 ประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยต้องโทษฐานลักทรัพย์ ศาลจำคุก 6 เดือนต่อมาจำเลยต้องโทษฐานทำร้ายร่างกาย ต่อสู้เจ้าพนักงานและเมาสุราศาลรวมกะทงลงโทษจำคุก 1 ปีแต่ฐานทำร้ายร่างกายนั้นศาลวางโทษจำคุก 4 เดือนความผิดฐานทำร้ายร่างกายจึงนำมากักกันจำเลยไม่ได้คงเหลือโทษฐานลักทรัพย์ครั้งเดียวที่เป็นโทษฐานที่ระบุไว้ในมาตรา 41 ประมวลกฎหมายอาญาและมีกำหนดโทษจำคุกถึง 6 เดือนศาลจึงมีอำนาจตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 14 ที่จะสั่งตามที่เห็นสมควรศาลจึงอาจสั่งให้ยกเลิกการกักกันให้จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1073/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใบแดงแจ้งโทษท้ายฟ้องเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง การรื้อฟื้นคดีในประเด็นความถูกต้องของใบแดงแจ้งโทษจึงต้องห้ามตามกฎหมาย
ใบแดงแจ้งโทษท้ายฟ้อง ย่อมถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง
ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยรับว่า จำเลยรับว่าจำเลยเคยต้องโทษและพ้นโทษจริงตามใบแดงแจ้งโทษท้ายฟ้องทุกครั้ง เมื่อศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์และลงโทษกักกันจำเลยจนคดีถึงที่สุดไปแล้ว จำเลยจะมาร้องขอให้ศาลรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาในปัญหาที่ว่า ใบแดงแจ้งโทษท้ายฟ้องมิใช่ใบแดงแจ้งโทษความผิดของจำเลยหาได้ไม่ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)
ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยรับว่า จำเลยรับว่าจำเลยเคยต้องโทษและพ้นโทษจริงตามใบแดงแจ้งโทษท้ายฟ้องทุกครั้ง เมื่อศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์และลงโทษกักกันจำเลยจนคดีถึงที่สุดไปแล้ว จำเลยจะมาร้องขอให้ศาลรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาในปัญหาที่ว่า ใบแดงแจ้งโทษท้ายฟ้องมิใช่ใบแดงแจ้งโทษความผิดของจำเลยหาได้ไม่ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1073/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใบแดงแจ้งโทษท้ายฟ้องเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง การรื้อฟื้นคดีในประเด็นเคยต้องโทษขัดต่อกฎหมาย
ใบแดงแจ้งโทษท้ายฟ้อง ย่อมถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง
ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยรับว่า จำเลยเคยต้องโทษและพ้นโทษจริงตามใบแดงแจ้งโทษท้ายฟ้องทุกครั้ง เมื่อศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์และลงโทษกักกันจำเลยจนคดีถึงที่สุดไปแล้ว จำเลยจะมาร้องขอให้ศาลรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาในปัญหาที่ว่า ใบแดงแจ้งโทษท้ายฟ้องมิใช่ใบแดงแจ้งโทษความผิดของจำเลยหาได้ไม่ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)
ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยรับว่า จำเลยเคยต้องโทษและพ้นโทษจริงตามใบแดงแจ้งโทษท้ายฟ้องทุกครั้ง เมื่อศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์และลงโทษกักกันจำเลยจนคดีถึงที่สุดไปแล้ว จำเลยจะมาร้องขอให้ศาลรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาในปัญหาที่ว่า ใบแดงแจ้งโทษท้ายฟ้องมิใช่ใบแดงแจ้งโทษความผิดของจำเลยหาได้ไม่ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 433/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสถานะโทษกักกันเป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัยหลังมีกฎหมายใหม่ และผลกระทบต่อการล้างมลทิน
ศาลพิพากษาจำคุกจำเลย 1 ปี และให้ส่งตัวไปกักกันอีก 3 ปีคดีถึงที่สุดก่อนใช้พระราชบัญญัติล้างมลทินและประมวลกฎหมายอาญาเมื่อจำเลยถูกจำคุกครบ 1 ปี แล้วระหว่างที่จำเลยถูกกักกันอยู่ มีพระราชบัญญัติล้างมลทินฯและประมวลกฎหมายอาญา ประกาศใช้บังคับเมื่อความผิดของจำเลยที่ต้องคำพิพากษามาแล้วนั้น เข้าเกณฑ์ที่ศาลอาจพิพากษาให้กักกันได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา41โทษกักกันที่จำเลยได้รับอยู่จึงเปลี่ยนลักษณะมาเป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา15 วรรคแรกแม้ตามประมวลกฎหมายอาญาไม่ถือว่ากักกันเป็นโทษหากเป็นแต่เพียงวิธีการเพื่อความปลอดภัยที่จำเลยยังต้องรับต่อไปก็ตามก็ยังไม่ถือว่าจำเลยได้พ้นโทษกักกันนั้นไปแล้ว เพราะยังต้องถูกกักกันอยู่ โดยผลแห่งคำพิพากษาของศาลความผิดในกรณีนี้ของจำเลยจึงยังไม่ถูกลบล้างตาม มาตรา3 พระราชบัญญัติลบล้างมลทินฯ พ.ศ.2499 ศาลจะสั่งปล่อยจำเลยไปหาได้ไม่ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 433/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงโทษกักกันเป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัยหลังมี พ.ร.บ. ล้างมลทินฯ และประมวลกฎหมายอาญา
ศาลพิพากษาจำคุกจำเลย 1 ปีและให้ส่งตัวไปกักกันอีก 3 ปี คดีถึงที่สุดก่อนใช้ พ.ร.บ. ล้างมลทินและประมวลกฎหมายอาญา เมื่อจำเลยถูกจำคุกครบ 1 ปีแล้ว ระหว่างที่จำเลยถูกกักกันอยู่ มีพ.ร.บ. ล้างมลทินฯ และประมวลกฎหมายอาญา ประกาศใช้บังคับ เมื่อความผิดของจำเลยที่ต้องคำพิพากษามาแล้วนั้น เข้าเกณฑ์ที่ศาลอาจพิพากษาให้กักกันได้ตามประมวลกฎหมายอาญา ม. 41 โทษกักกันที่จำเลยได้รับอยู่จึงเปลี่ยนลักษณะมาเป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัยตามประมวลกฎหมายอาญา ม. 15 วรรคแรกแม้ตามประมวลกฎหมายอาญาไม่ถือว่ากักกันเป็นโทษ หากเป็นแต่เพียงวิธีการเพื่อความปลอดภัยที่จำเลยยังต้องรับต่อไปก็ตาม ก็ยังไม่ถือว่าจำเลยได้พ้นโทษกักกันนั้นไปแล้ว เพราะยังต้องถูกกักกันอยู่ โดยผลแห่งคำพิพากษาของศาล ความผิดในกรณีนี้ของจำเลยจึงยังไม่ถูกลบล้างตาม ม. 3 พ.ร.บ. ล้างมลทินฯ พ.ศ. 2499 ศาลจะสั่งปล่อยจำเลยไปหาได้ไม่ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 54/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงโทษกักกันหลังคดีอาญาถึงที่สุด โดยอาศัยบทบัญญัติกฎหมายที่บัญญัติขึ้นใหม่ที่เป็นคุณแก่จำเลย
การที่จะรื้อฟื้นเอาคำพิพากษาในคดีอาญาถึงที่สุดแล้ว มาเปลี่ยนแปลงได้ จะต้องอาศัยอำนาจตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 2 วรรค 2 และมาตรา 3
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 12 ถึง 16 ได้บัญญัติเรื่องวิธีการเพื่อความปลอดภัยไว้และได้มี ม.41 บัญญัติถึงเงื่อนไขในการที่จะกักกันไว้ด้วย ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงไปจากที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.กักกันฯ พ.ศ.2479 ม.8,9 ต้องนำบทบัญญัติม.41 แห่งประมวลกฎหมายอาญาที่บัญญัติภายหลังเป็นคุณแก่จำเลยมาใช้บังคับ
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 12 ถึง 16 ได้บัญญัติเรื่องวิธีการเพื่อความปลอดภัยไว้และได้มี ม.41 บัญญัติถึงเงื่อนไขในการที่จะกักกันไว้ด้วย ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงไปจากที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.กักกันฯ พ.ศ.2479 ม.8,9 ต้องนำบทบัญญัติม.41 แห่งประมวลกฎหมายอาญาที่บัญญัติภายหลังเป็นคุณแก่จำเลยมาใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 54/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงโทษกักกันหลังคำพิพากษาถึงที่สุด โดยอาศัยกฎหมายที่บัญญัติขึ้นใหม่ที่เป็นคุณแก่จำเลย
การที่จะรื้อฟื้นเอาคำพิพากษาในคดีอาญาถึงที่สุดแล้วมาเปลี่ยนแปลงได้ จะต้องอาศัยอำนาจตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง และมาตรา 3
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 12 ถึง 16 ได้บัญญัติเรื่องวิธีการเพื่อความปลอดภัยไว้และได้มี มาตรา41 บัญญัติถึงเงื่อนไขในการที่จะกักกันไว้ด้วยซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงไปจากที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติกักกันฯ พ.ศ.2479 มาตรา8,9. ต้องนำบทบัญญัติ มาตรา 41 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ที่บัญญัติภายหลังเป็นคุณแก่จำเลยมาใช้บังคับ
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 12 ถึง 16 ได้บัญญัติเรื่องวิธีการเพื่อความปลอดภัยไว้และได้มี มาตรา41 บัญญัติถึงเงื่อนไขในการที่จะกักกันไว้ด้วยซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงไปจากที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติกักกันฯ พ.ศ.2479 มาตรา8,9. ต้องนำบทบัญญัติ มาตรา 41 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ที่บัญญัติภายหลังเป็นคุณแก่จำเลยมาใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 827/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องกักกันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้าย: เงื่อนไขการลงโทษและอำนาจฟ้องแยก
โจทก์ฟ้องขอให้กักกันจำเลยในฐานเป็นผู้มีสันดานเป็นผู้ร้ายโดยจำเลยเคยทำผิดต้องโทษจำคุกอันมิใช่ประมาทหรือลหุโทษมา 4 ครั้ง และมาทำผิดฐานชิงทรัพย์อีกโจทก์จึงฟ้องขอให้กักกันจำเลยฐานเป็นผู้มีสันดานเป็นผู้ร้ายเมื่อคดีมาสู่ศาลฎีกาเมื่อใช้ประมวลกฎหมายอาญาแล้วศาลฎีกาเห็นว่าการลงโทษผู้มีสันดานเป็นผู้ร้ายตาม พ.ร.บ.กักกันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้าย พ.ศ.2479นั้น มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญาแล้ว ศาลฎีกาจึงยกบทบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญาอันมีมาตรา 43,41 เป็นต้นมาใช้แทนและชี้ว่าตาม มาตรา43 โจทก์มีอำนาจแยกฟ้องได้แต่ตาม มาตรา 41 จะลงโทษกักกันได้ต่อเมื่อจำเลยเคยต้องโทษกักกันมาแล้ว หรือเคยถูกศาลพิพากษาให้จำคุกมาไม่ต่ำกว่า 6 เดือนไม่น้อยกว่า 2 ครั้งและมาทำผิด จำเลยนี้เคยต้องโทษเกิน 6เดือนครั้งเดียว จึงยังฟ้องให้ลงโทษกักกันจำเลยไม่ได้ ให้ยกฟ้อง