คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ม. 70 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10675/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์ต้องระบุองค์ประกอบความผิดครบถ้วน แม้จำเลยรับสารภาพ ศาลก็ไม่อาจลงโทษได้
โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานภาพยนต์ที่จำเลยนำออกขายได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายทั้งสอง อันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่นเพื่อการค้าตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 (1), 70 วรรคสอง ฟ้องของโจทก์จึงขาดองค์ประกอบความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8220/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเผยแพร่เพลงละเมิดลิขสิทธิ์ในร้านอาหาร ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ หากไม่มีเจตนาหากำไรโดยตรง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยประกอบกิจการค้าขายอาหารตามสั่งและเครื่องดื่ม จำเลยเปิดแผ่นวีซีดีเพลง "กำลังใจที่เธอไม่รู้" อันเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ซึ่งได้มีผู้ทำขึ้นหรือดัดแปลงขึ้นให้ลูกค้าในร้านอาหารของจำเลยฟัง ไม่ปรากฎว่าจำเลยเปิดเพลงเพื่อหากำไรโดยตรงจากการที่ให้ลูกค้าฟังเพลงโดยการเรียกเก็บค่าตอบแทนหรือเรียกเก็บเพิ่มรวมไปกับอาหารและเครื่องดื่มแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ประกอบมาตรา 70 วรรคสอง เพราะไม่ครบองค์ประกอบความผิดของบทมาตราดังกล่าว ซึ่งต้องเป็นการกระทำเพื่อหากำไรโดยตรงจากการละเมิดลิขสิทธิ์ แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8220/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเผยแพร่เพลงละเมิดลิขสิทธิ์ในร้านอาหาร ไม่ถือเป็นความผิดฐานหาผลกำไรโดยตรง
ความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ต้องเป็นการเผยแพร่งานนั้นต่อสาธารณชน "เพื่อหากำไร" ซึ่งหมายความว่า กำไรนั้นหากจำเลยได้มาหรือจะได้มาจะต้องเกิดจากการกระทำแก่งานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น แต่ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมานั้นได้ความว่า จำเลยประกอบกิจการค้าขายอาหารตามสั่งและเครื่องดื่มจำเลยเปิดแผ่นวีซีดีเพลง "กำลังใจที่เธอไม่รู้" อันเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ซึ่งได้มีผู้ทำขึ้นหรือดัดแปลงขึ้นให้ลูกค้าในร้านอาหารของจำเลยได้ฟัง ไม่ปรากฏว่าจำเลยเปิดเพลงดังกล่าวเพื่อหากำไรโดยตรงจากการที่ให้ลูกค้าได้ฟังเพลงโดยการเรียกเก็บค่าตอบแทนจากลูกค้าในการเปิดเพลงดังกล่าว หรือเรียกเก็บเพิ่มรวมไปกับค่าอาหารและเครื่องดื่มแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ประกอบมาตรา 70 วรรคสอง เพราะไม่ครบองค์ประกอบความผิดของบทมาตราดังกล่าวซึ่งต้องเป็นการกระทำเพื่อหากำไรโดยตรงจากการละเมิดลิขสิทธิ์ แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6380/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดลิขสิทธิ์: การกระทำ 'เพื่อหากำไร' แตกต่างจาก 'เพื่อการค้า' และหลักฐานความผิดต้องชัดเจน
การกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 29 ต้องเป็นการกระทำแก่งานแพร่เสียงแพร่ภาพ ซึ่งหมายถึงงานที่นำออกสู่สาธารณชนโดยการแพร่เสียงทางวิทยุกระจายเสียง การแพร่เสียงและหรือภาพทางวิทยุโทรทัศน์ หรือโดยวิธีอย่างอื่นอันคล้ายคลึงกัน ตามบทนิยามในมาตรา 4 ของ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537
ความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อหากำไรตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ต้องเป็นการกระทำแก่งานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น "เพื่อหากำไร" แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายโดยนำเพลงที่บันทึกในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยละเมิดลิขสิทธิ์ออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน ขาย เสนอขาย มีไว้เพื่อขาย อันเป็นการกระทำเพื่อการค้าก็ตาม แต่การกระทำ "เพื่อการค้า" กับการกระทำ "เพื่อหากำไร" มีความหมายแตกต่างกันได้ ดังจะเห็นได้จากการที่ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง บัญญัติให้การละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 31 เพื่อการค้า ต้องระวางโทษหนักกว่าการกระทำเพื่อหากำไรตามมาตรา 70 วรรคหนึ่ง ทั้งตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำไปโดยมีเจตนาจะหากำไรโดยตรงจากการนำเพลงดังกล่าวออกแพร่เสียง จึงเป็นคำฟ้องที่บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ไม่ครบถ้วนไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5405/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายกรรมต่างกัน: ละเมิดลิขสิทธิ์ vs. ประกอบกิจการโดยไม่ได้รับอนุญาต และการลงโทษกรรมเดียว
ความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตกับความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายวีดิทัศน์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตนั้น กฎหมายประสงค์จะลงโทษผู้ประกอบกิจการดังกล่าวที่ไม่ได้รับใบอนุญาตในการประกอบกิจการจากนายทะเบียน เมื่อจำเลยประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายทั้งภาพยนตร์และวีดิทัศน์ในสถานที่เดียวกันและในวันเวลาเดียวกันโดยไม่ได้รับใบอนุญาต การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวกันเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานประกอบกิจการให้เช่าแลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตอันเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
ส่วนความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าและความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตนั้นเป็นความผิดต่อกฎหมายคนละฉบับ มีองค์ประกอบแห่งความผิดที่แตกต่างกัน ทั้งเจตนาในการกระทำความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวสามารถแยกต่างหากจากกันได้ การกระทำของจำเลยทั้งสองข้อหาจึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5405/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์และการประกอบกิจการโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
การกระทำของจำเลยในความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าและฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์และวีดิทัศน์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตนั้นเป็นความผิดต่อกฎหมายคนละฉบับ มีองค์ประกอบแห่งความผิดที่แตกต่างกัน ทั้งเจตนาในการกระทำความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวสามารถแยกต่างหากจากกันได้ การกระทำของจำเลยทั้งสองข้อหาดังกล่าวจึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน ส่วนความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์และวีดิทัศน์โดยไม่ได้รับใบอนุญาต แม้กฎหมายจะบัญญัติองค์ประกอบความผิดและโทษในการกระทำดังกล่าวไว้คนละมาตรา แต่ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 38 วรรคหนึ่ง และมาตรา 54 วรรคหนึ่ง ล้วนมีเจตนาที่จะลงโทษผู้ประกอบกิจการดังกล่าวที่ไม่ได้รับใบอนุญาตในการประกอบกิจการจากนายทะเบียน ความผิดทั้งสองมาตราดังกล่าวจึงอยู่ที่การไม่ได้รับใบอนุญาตในการประกอบกิจการ นอกจากนี้มาตรา 55 แห่ง พ.ร.บ. เดียวกันนี้ยังกำหนดให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา 38 ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 54 ด้วยในตัว จึงเห็นได้ว่า พ.ร.บ.นี้กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการทั้งภาพยนตร์และวีดิทัศน์ในสถานที่เดียวกันมีใบอนุญาตในการประกอบกิจการเป็นใบอนุญาตเดียวกันได้ เมื่อจำเลยประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายทั้งภาพยนตร์และวีดิทัศน์ในสถานที่เดียวกันและในวันเวลาเดียวกัน ทั้งโจทก์บรรยายฟ้องกล่าวอ้างการกระทำความผิดของจำเลยในส่วนนี้รวมกันมาในข้อเดียวกันการกระทำของจำเลยในการประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์และวีดิทัศน์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจึงเป็นกระทำกรรมเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3882/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดลิขสิทธิ์เพลงผ่านระบบแชร์เน็ตเวิร์ค: โจทก์ต้องพิสูจน์การกระทำความผิดฐานทำซ้ำ ไม่ใช่แค่เผยแพร่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์เพลงของโจทก์ร่วมโดยการนำเอาเพลงอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมตามฟ้องมาทำซ้ำลงในหน่วยประมวลผลกลาง (ซีพียู) แล้วติดตั้งในระบบเอ็มพี 3 ใช้ระบบแชร์เน็ตเวิร์ค ซึ่งเมื่อใช้แผ่นซีดีที่มีเพลงเอ็มพี 3 ใส่เข้าไปในหน่ายประมวลผลกลางแล้วพ่วงกับหน่วยประมวลผลกลางอื่นสามารถเรียกเพลงออกมาฟังได้โดยมีสัญญาภาพออกมาทางจอมอนิเตอร์เรียกเก็บค่าบริการจากลูกค้า ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 28 และ 68 แสดงว่า โจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยในการทำความผิดเกี่ยวกับการทำซ้ำซึ่งงานดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุหรือสิ่งบันทึกเสียงซึ่งไม่ใช่เรื่องการกระทำความผิดเกี่ยวกับการเผยแพร่งานดังกล่าวต่อสาธารณชน เพราะงานที่ถูกบรรจุใหม่ในหน่วยประมวลผลกลางนั้นเป็นงานที่ถูกทำซ้ำขึ้นมาใหม่หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น การเผยแพร่งานที่บรรจุไว้ในหน่วยประมวลผลกลางดังกล่าวต่อสาธารณชนจึงไม่ใช่ความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 69 วรรคสอง ประกอบมาตรา 28 (2) และไม่อาจถือว่าโจทก์มีความประสงค์ที่จะขอให้ลงโทษจำเลยในเรื่องการเผยแพร่งานซึ่งได้ทำขึ้นมาใหม่โดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อหากำไรทางการด้วยการเผยแพร่ต่อสาธารณชนอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (2) ด้วย เพราะโจทก์ไม่ได้อ้างบทกฎหมายมาตรานี้ไว้ในคำฟ้องแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2086/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับใช้กฎหมายอาญาเมื่อกฎหมายเปลี่ยนแปลงระหว่างการกระทำความผิด และการกำหนดโทษที่เหมาะสม
ตามมาตรา 2 ของ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 ซึ่งบัญญัติให้ยกเลิก พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 ทั้งฉบับ บัญญัติว่า "พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป" เมื่อมีการประกาศใช้วันที่ 4 มีนาคม 2551 การเริ่มต้นนับระยะเวลาจึงต้องเริ่มนับหนึ่งในวันรุ่งขึ้น คือ 5 มีนาคม 2551 เป็นวันที่หนึ่ง ซึ่งจะครบ 90 วัน ในวันที่ 2 มิถุนายน 2551
คดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพและข้อเท็จจริงยุติแล้วว่า ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้อง จำเลยประกอบกิจการจำหน่ายวีซีดีภาพยนตร์และแผ่นดิจิตอลวิดีโอดิสก์ภาพยนตร์ (ดีวีดีภาพยนตร์) โดยไม่ได้รับใบอนุญาต และขณะจำเลยกระทำความผิดคดีนี้ พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 ยังคงมีผลใช้บังคับ เพียงแต่ขณะที่ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพิจารณาคดีนี้อยู่นั้น กฎหมายฉบับดังกล่าวถูกยกเลิกไปแล้วโดยมาตรา 3 (4) แห่ง พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 โดยยังให้การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดอยู่ถือไม่ได้ว่า พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 ยกเลิกความผิดฐานนี้ แต่เป็นเรื่องที่กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างจากกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพิจารณาคดี อันเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลที่จะต้องปรับใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย เมื่อระวางโทษในความผิดฐานดังกล่าวตาม พ.ร.บ. ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มีเพียงโทษปรับโดยไม่มีโทษจำคุกจึงเป็นคุณมากกว่า ต้องใช้โทษตามกฎหมายดังกล่าวในส่วนที่ไม่มีโทษจำคุกมาบังคับแก่คดี สำหรับในส่วนของโทษปรับ เมื่อโทษปรับตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 ลงโทษปรับได้เพียงไม่เกินสองหมื่นบาทแต่โทษตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 กำหนดโทษปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท ทั้งยังให้ปรับต่อไปรายวันอีกวันละหนึ่งหมื่นบาท จึงต้องใช้โทษปรับตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 มาบังคับแก่คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9068/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานประกอบกิจการวีดิทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดเฉพาะครั้งคราว เมื่อหยุดประกอบกิจการแล้วถือว่าสิ้นสุด
ความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่าหรือจำหน่ายวีดิทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นเป็นความผิดจากการประกอบกิจการให้เช่าหรือจำหน่ายวีดิทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาตในแต่ละครั้งละคราว เมื่อหยุดประกอบกิจการแล้วก็ไม่เป็นความผิดอีกต่อไป โจทก์บรรยายฟ้องระบุชัดว่าจำเลยกระทำผิดเฉพาะเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 เวลากลางวันในคำฟ้องดังกล่าวไม่ปรากฏว่าจำเลยมีการกระทำผิดต่อเนื่องออกไปอีก ของกลางที่ยึดได้จากจำเลยที่เกี่ยวกับวีดิทัศน์ก็มีการยึดทั้งแผ่นดีวีดีเกมเพลย์สเตชั่น ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายจำนวน 64 แผ่น และแผ่นซีซีดีและแผ่นดีวีดีเกมเพลย์สเตชั่น ที่ไม่มีผู้ยืนยันสิทธิอีกจำนวน 2,230 แผ่น อันส่อแสดงว่าเจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมยึดของกลางที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการให้เช่าหรือจำหน่ายวีดิทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาตมาหมดแล้ว โดยสภาพพฤติการณ์แห่งคดีที่ปรากฏดังกล่าวเชื่อว่า หลังเกิดเหตุคดีนี้จำเลยยังไม่อาจประกอบกิจการตามฟ้องต่อได้ และไม่อาจมีการประกอบกิจการโดยไม่ได้รับอนุญาตอีกต่อไป คำให้การรับสารภาพของจำเลยในคดีนี้ เป็นการรับสารภาพตามข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายมา เมื่อไม่มีข้อเท็จจริงใดให้โจทก์ยืนยันในคำฟ้องว่าจำเลยยังคงกระทำความผิดต่อเนื่องออกไปอีก ลำพังคำให้การรับสารภาพของจำเลยจะฟังว่าจำเลยกระทำผิดต่อเนื่องออกไปอีกดังที่โจทก์อุทธรณ์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10515/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์ต้องระบุวันเวลาโฆษณางานครั้งแรก หากไม่ระบุถือว่าขาดองค์ประกอบความผิด
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) บัญญัติว่า ฟ้องต้องมีการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ในความผิดฐานขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขายงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อหากำไรในทางการค้า โดยรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานนั้นกระทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 (1), 70 วรรคสอง ซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นนั้นต้องเป็นงานสร้างสรรค์ที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครองโดยได้มาตามเงื่อนไขของกฎหมาย และต้องอยู่ในอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ด้วย การที่จะรู้ว่างานสร้างสรรค์ใดของนิติบุคคลผู้สร้างสรรค์ยังอยู่ในอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์อยู่หรือไม่ ต้องรู้ว่างานสร้างสรรค์นั้นมีการโฆษณางานครั้งแรกเมื่อใด เนื่องจากมาตรา 19 วรรคท้าย บัญญัติว่า "ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้น แต่ถ้าได้มีการโฆษณางานนั้นในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก" เมื่อโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่างานที่นิติบุคคลเป็นผู้สร้างสรรค์มีการโฆษณางานครั้งแรกเมื่อใดซึ่งเป็นส่วนสาระสำคัญ แม้จำเลยให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดตามฟ้อง แต่ถ้าศาลเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดเพราะงานสร้างสรรค์อันมีลิขสิทธิ์นั้นพ้นอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์แล้ว ศาลก็ต้องพิพากษายก ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง
of 4