คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ม. 70 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7873/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องทุกข์แจ้งความและขอบเขตความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ การทำซ้ำ vs. การเผยแพร่
เจตนารมณ์ของกฎหมายในการร้องทุกข์ก็เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทราบว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้นและประสงค์จะให้มีการนำผู้กระทำความผิดมาลงโทษ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ร. ผู้รับมอบอำนาจช่วงจากผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจ และต่อมาได้นำเจ้าพนักงานตำรวจค้นร้านที่เกิดเหตุและจับจำเลยส่งพนักงานสอบสวน จากนั้น ร. จึงได้ร้องทุกข์อีกครั้ง โดยการร้องทุกข์ครั้งหลังมีข้อความระบุถึงตัวผู้กระทำผิดและลักษณะของความผิดชัดเจนถือได้ว่าคดีนี้มีการร้องทุกข์โดยชอบและทำให้การสอบสวนในเวลาต่อมาชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานสร้างสรรค์ประเภทดนตรีกรรม สิ่งบันทึกเสียง และโสตทัศนวัสดุของผู้เสียหายโดยนำเอางานซึ่งมีลิขสิทธิ์ตามฟ้องไปบรรจุในเครื่องอ่านข้อมูล แล้วแปลงสัญญาณดิจิตอลเป็นสัญญาภาพและเสียง แพร่ภาพ เนื้อร้อง และทำนองทางจอมอนิเตอร์ และแพร่เสียงทางลำโพงสำหรับลูกค้า ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 27, 28, 29 และ 69 แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยในการกระทำความผิดเกี่ยวกับการทำซ้ำซึ่งงานดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ หรือสิ่งบันทึกเสียง ซึ่งไม่ใช่เรื่องการกระทำผิดเกี่ยวกับการแพร่งานดังกล่าวต่อสาธารณชน เพราะงานที่ถูกบรรจุในเครื่องอ่านข้อมูลนั้นเป็นงานที่ถูกทำซ้ำขึ้นใหม่ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น การเผยแพร่งานที่บรรจุไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวต่อสาธารณชนจึงไม่ใช่ความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27 (2), 28 (2) และไม่อาจถือได้ว่าโจทก์มีความประสงค์ที่จะขอให้ลงโทษจำเลยในเรื่องการเผยแพร่งานซึ่งได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อหากำไรด้วยการเผยแพร่ต่อสาธารณชน อันจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (3) ด้วย เพราะโจทก์ไม่ได้อ้างบทกฎหมายตรานี้ไว้ในคำฟ้องแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4748/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเผยแพร่เพลงละเมิดลิขสิทธิ์หลังหมดอายุสติกเกอร์อนุญาต ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์
สติกเกอร์ที่ติดอยู่ที่ตู้เพลงจำเลยหมดอายุเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2547 ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2547 จนถึงวันเกิดเหตุวันที่ 4 มิถุนายน 2547 จำเลยจึงไม่ได้รับอนุญาตให้เผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานเพลงของโจทก์ร่วม การที่จำเลยนำวีดีโอซีดีที่มีผู้ทำซ้ำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน จึงมีความผิดตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 30 (2) และมาตรา 70 วรรคสอง หาใช่เป็นกรณีที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิอยู่ก่อนและสติกเกอร์ขาดอายุการใช้งานจึงเป็นการผิดสัญญาในทางแพ่งไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3975/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีละเมิดลิขสิทธิ์ที่ขัดแย้งกับข้อเท็จจริงในการพิจารณาคดี ทำให้ต้องยกฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 โดยการเสนอให้เช่าและให้เช่าวิดีโอเทปภาพยนตร์ซึ่งเป็นงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 แต่ทางพิจารณาข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติได้ว่า วิดีโอเทปภาพยนตร์ของกลางเป็นวิดีโอเทปภาพยนตร์มีตราเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์และมีสติกเกอร์ที่มีตราประทับของเจ้าพนักงานกับข้อความว่า "อนุญาตแล้ว" ปรากฏอยู่ ไม่ใช่วิดีโอเทปภาพยนตร์ที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ตามที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้อง เมื่อข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องและเป็นข้อแตกต่างในสาระสำคัญ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางต้องพิพากษายกฟ้อง การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้องจึงเป็นการไม่ชอบ และเมื่อไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองตามฟ้องแล้วก็ย่อมไม่อาจพิพากษาให้ริบของกลาง รวมทั้งให้วิดีโอเทปของกลางตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3285/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเผยแพร่ต่อสาธารณชนงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ละเมิดลิขสิทธิ์: การใช้โปรแกรมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ใช่การเผยแพร่
การนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์และนำออกให้บริการแก่สาธารณชนและบุคคลทั่วไปนั้น มิใช่การกระทำให้ปรากฏซึ่งสิ่งที่เป็นงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือคำสั่งหรือชุดคำสั่งที่นำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อสาธารณชนโดยการแสดง การจำหน่าย หรือโดยวิธีอื่นใดตามความหมายของคำว่า "เผยแพร่ต่อสาธารณชน" ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสี่นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกเผยแพร่ให้บริการแก่สาธารณชนและบุคคลทั่วไปเพื่อค้าหากำไร เป็นการบรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสี่นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าวไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ให้บริการแก่สาธารณชนและบุคคลทั่วไปจึงมิใช่การเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานวรรณกรรมโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อหากำไรและเพื่อการค้าอันจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (2) ตามฟ้อง ดังนี้ แม้โจทก์จะมีพยานหลักฐานมานำสืบถึงข้อเท็จจริงที่ได้ความตามฟ้องของโจทก์ ก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสี่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3285/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเผยแพร่ต่อสาธารณชนทางลิขสิทธิ์: การใช้โปรแกรมละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ถือเป็นเผยแพร่ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์
การนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์และนำออกให้บริการแก่สาธารณชนและบุคคลทั่วไปนั้น มิใช่การกระทำให้ปรากฏซึ่งสิ่งที่เป็นงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือคำสั่งหรือชุดคำสั่งที่นำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อสาธารณชนโดยการแสดง การจำหน่าย หรือโดยวิธีอื่นใดตามความหมายของคำว่า "เผยแพร่ต่อสาธารณชน" ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสี่นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกเผยแพร่ให้บริการแก่สาธารณชนและบุคคลทั่วไปเพื่อค้าหากำไร เป็นการบรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสี่นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าวไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ให้บริการแก่สาธารณชนและบุคคลทั่วไป จึงมิใช่การเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานวรรณกรรมโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อหากำไรและเพื่อการค้าอันจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (2) ตามฟ้อง ดังนี้ แม้โจทก์จะมีพยานหลักฐานมานำสืบถึงข้อเท็จจริงที่ได้ความตามฟ้องของโจทก์ ก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสี่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2572/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลิขสิทธิ์ภาพยนตร์: การทำซ้ำโดยผู้ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ ไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์งานวรรณกรรมต้นฉบับ
จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตจากโจทก์ตามสัญญาให้ใช้ลิขสิทธิ์ให้นำงานวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์เรื่อง ผีเสื้อและดอกไม้ ไปสร้างเป็นภาพยนตร์ภายใน 5 ปี นับแต่วันทำสัญญาดังกล่าว และจำเลยที่ 1 ได้นำงานวรรณกรรมนั้นไปสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง ผีเสื้อและดอกไม้เมื่อปี 2528 ซึ่งเป็นการสร้างภาพยนตร์ภายใน 5 ปี นับแต่วันทำสัญญาดังกล่าวในปี 2527 แสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติถูกต้องตามสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ที่ได้ทำไว้กับโจทก์ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมนั้นแล้ว
จำเลยที่ 1 นำงานวรรณกรรมของโจทก์มาสร้างเป็นภาพยนตร์ เป็นการดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์โดยได้รับอนุญาตจากโจทก์ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ จำเลยที่ 1 จึงมีลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์ เรื่อง ผีเสื้อและดอกไม้ที่ได้ดัดแปลงขึ้น จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะทำซ้ำ หรือดัดแปลง หรือนำออกโฆษณาซึ่งงานภาพยนตร์ หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานภาพยนตร์นั้น ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์นั้นแก่ผู้อื่น และอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิในการทำซ้ำหรือดัดแปลงหรือนำออกโฆษณาหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานภาพยนตร์นั้นตามมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 ทันทีที่สร้างสรรค์งานภาพยนตร์นั้นเสร็จ และมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานภาพยนตร์นั้นเพิ่มขึ้นอีกตามมาตรา 15 (3) และมาตรา 78 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ในวันที่ 22 มีนาคม 2538 อันเป็นวันที่ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ใช้บังคับ โดยมีอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์เป็นเวลา 50 ปี นับแต่ปี 2528 อันเป็นปีที่จำเลยที่ 1 ได้สร้างสรรค์งานภาพยนตร์นั้นขึ้นตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 มาตรา 18 ประกอบมาตรา 16 วรรคท้าย
อย่างไรก็ตามสิทธิที่จำเลยที่ 1 มี นั้น ต้องไม่กระทบกระเทือนสิทธิของโจทก์ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ที่มีอยู่ในงานวรรณกรรมเรื่อง ผีเสื้อและดอกไม้ เดิมที่ถูกดัดแปลงนั้น ตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่จำเลยที่ 1 ดัดแปลงวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ และสิทธิแต่ผู้เดียวของโจทก์ในงานวรรณกรรมคงมีอยู่ตลอดอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมของโจทก์ซึ่งมีอยู่ตลอดชีวิตของโจทก์ผู้สร้างสรรค์และมีอยู่ต่อไปอีก 30 ปีนับแต่โจทก์ถึงแก่ความตาย ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ.2474 มาตรา 5 (ข) และมาตรา 14 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์สร้างสรรค์งานวรรณกรรมเรื่อง ผีเสื้อและดอกไม้ โดยโจทก์ไม่มีลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์ เพราะเป็นงานอันเป็นลิขสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ดัดแปลงงานวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยได้รับอนุญาตจากโจทก์ ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการทำซ้ำหรือดัดแปลงงานภาพยนตร์มีลิขสิทธิ์เรื่องผีเสื้อและดอกไม้ เป็นงานในรูปแบบใดก็ได้ อันเป็นสิทธิที่จำเลยที่ 1 ได้มาโดยผลของกฎหมาย แม้ในสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จะระบุให้จำเลยที่ 1 สามารถนำภาพยนตร์ที่สร้างไว้ออกทำซ้ำและเผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ โดยไม่ได้ระบุถึงการทำในรูปแบบวิดีโอซีดี ก็ไม่ทำให้สิทธิแต่ผู้เดียวของจำเลยที่ 1 ในการทำซ้ำหรือดัดแปลงภาพยนตร์ดังกล่าว อันเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของตนที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายและได้มาโดยผลของกฎหมายนั้นเสียไป เพราะโจทก์มีสิทธิที่จะกำหนดเงื่อนไขในสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ของตนได้เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับงานวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของตนเท่านั้น ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 อนุญาตให้บริษัทจำเลยที่ 7 นำภาพยนตร์เรื่อง ผีเสื้อและดอกไม้อันมีลิขสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ไปทำซ้ำและนำออกจำหน่ายในวัสดุรูปแบบวิดีโอซีดีจึงไม่ใช่การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานวรรณกรรมเรื่องผีเสื้อและดอกไม้ซึ่งโจทก์มีลิขสิทธิ์ จึงไม่เป็นความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมของโจทก์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27 (1) และมาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 267/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการฟ้องร้องละเมิดลิขสิทธิ์: ผู้ได้รับอนุญาตใช้สิทธิแต่ผู้เดียวมีอำนาจร้องทุกข์
บริษัท น. ได้รับสิทธิให้ทำการฉายภาพยนตร์เรื่อง ทูดายฟอร์ ในโรงภาพยนตร์ รวมทั้งทำเป็นวิดีโอออกขายหรือให้เช่าแต่ผู้เดียวในประเทศไทย เมื่อจำเลยกระทำละเมิดโดยนำเอาแถบบันทึกภาพและเสียงภาพยนตร์หรือวิดีโอเทปเรื่องดังกล่าวออกให้เช่าหรือเสนอให้เช่าแก่บุคคลทั่วไป จึงเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานสร้างสรรค์ภาพยนตร์ดังกล่าว บริษัท น. จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5041/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทมาตราผิดในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ และการตกเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของงานต้นฉบับ
จำเลยให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดตามมาตรา 28 (2) และ 69 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ตามที่โจทก์ฟ้อง แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามมาตรา 31 และ 70 วรรคสอง โดยวางโทษก่อนลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ตาม ป.อ. มาตรา 78 ให้จำคุก 3 เดือน และปรับ 50,000 บาท ซึ่งเป็นระวางโทษขั้นต่ำตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 70 วรรคสอง อันมิใช่ความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ซึ่งมีระวางโทษขั้นต่ำตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 69 วรรคสอง ให้จำคุก 6 เดือน และปรับ 100,000 บาท ดังนี้ จึงเป็นเพียงการปรับบทมาตราผิดเท่านั้น แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง แต่ก็ไม่อาจกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยตามระวางโทษที่บัญญัติไว้ในมาตรา 69 วรรคสองได้ เพราะจะมีผลเป็นการเพิ่มโทษแก่จำเลย
ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 75 ซึ่งบัญญัติให้เฉพาะสิ่งที่ได้ทำขึ้นอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เท่านั้นตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ ดังนั้น เมื่อแผ่นวีซีดีของกลางเป็นแผ่นวีซีดีอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ได้ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4794/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์: การละเมิดลิขสิทธิ์โดยการมีแผ่นภาพยนตร์ละเมิดไว้เพื่อขาย แม้ไม่มีการขายจริงก็ถือเป็นความผิด
บริษัท ซ. เพียงแต่ได้รับสิทธิในการทำซ้ำ เผยแพร่และจัดจำหน่ายภาพยนตร์ของโจทก์ร่วมในประเทศไทยแต่ผู้เดียว หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งบริษัท ซ. คงมีลิขสิทธิ์เฉพาะในงานที่ได้ดัดแปลงเป็นภาพยนตร์วิดีโอซีดีและวิดีโอเทปและมีสิทธิทำซ้ำ เผยแพร่ต่อสาธารณชนกับจัดจำหน่ายภาพยนตร์อันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมในประเทศไทยได้โดยไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์ของโจทก์ร่วม เพราะได้รับอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์จากโจทก์ร่วมแล้วเท่านั้น จึงไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ที่มีอยู่ในงานของผู้สร้างสรรค์เดิมที่ถูกดัดแปลง ดังนั้น จึงต้องถือว่าโจทก์ร่วมยังคงเป็นเจ้าของในงานภาพยนตร์ตามคำฟ้องในฐานะผู้สร้างสรรค์อยู่ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 11 โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายคดีนี้และมีอำนาจร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยได้
การที่แผ่นภาพยนตร์วิดีโอซีดีของกลางถูกนำมาเก็บไว้ในสถานประกอบการค้าของจำเลยและจำเลยมิได้สั่งซื้อแผ่นภาพยนตร์วิดีโอซีดีของกลางจากผู้มีสิทธิดัดแปลงทำซ้ำในประเทศไทยหรือตัวแทนจำหน่ายโดยตรง เป็นพฤติการณ์ที่ชี้ให้เห็นว่าจำเลยรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่าแผ่นภาพยนตร์วิดีโอซีดีของกลางทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น เมื่อจำเลยมีแผ่นภาพยนตร์วิดีโอซีดีของกลางไว้เพื่อขายอันเป็นการกระทำเพื่อการค้าโดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นภาพยนตร์วิดีโอซีดีที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธ์ของโจทก์ร่วม แม้จะไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เสนอขายและขายแผ่นภาพยนตร์วิดีโอซีดีของกลางให้ผู้อื่นด้วย การกระทำของจำเลยตามที่ได้ความดังกล่าวก็ถือได้ว่าเป็นการมีไว้เพื่อขายซึ่งแผ่นภาพยนตร์วิดีโอซีดีที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นอันเป็นการกระทำเพื่อการค้าซึ่งเป็นความผิดฐานหนึ่งตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 31 (1) ประกอบมาตรา 70 วรรคสอง และกรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยได้กระทำโดยมีเจตนาทุจริตหรือไม่ เพราะความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าวหาได้มีองค์ประกอบว่าผู้กระทำความผิดจะต้องกระทำโดยมีเจตนาทุจริตด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5688/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีซีดีละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อขาย แม้ไม่มีการล่อซื้อ ก็ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์
จำเลยเอากล่องซีดีภาพยนตร์พร้อมปกซึ่งมีภาพและชื่อของภาพยนตร์เรื่องต่าง ๆ ประมาณ 100 เรื่อง วางแสดงไว้ที่หน้าร้านเพื่อเตรียมไว้เสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไป แม้ภายในกล่องจะไม่มีแผ่นซีดีภาพยนตร์อยู่ก็ตาม แต่จำเลยก็สามารถไปนำแผ่นซีดีภาพยนตร์ที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของกลางที่อยู่หลังร้านออกมาขายให้แก่ผู้ซื้อได้ หากจำเลยมีแผ่นซีดีภาพยนตร์ของกลางไว้โดยไม่มีเจตนาเพื่อจะขายแผ่นซีดีและแม้คดีนี้จะไม่มีการล่อซื้อแผ่นซีดีภาพยนตร์จากจำเลย แต่การที่จำเลยมีแผ่นซีดีภาพยนตร์หลายเรื่องหลายแผ่นไว้ พร้อมทั้งมีการวางกล่องกับปกซีดีภาพยนตร์ไว้ในร้านแสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยได้ว่าจำเลยมีแผ่นซีดีภาพยนตร์ของกลางไว้เพื่อขายแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 31 (1), 70 วรรคสอง
จำเลยกระทำผิดโดยเพียงแต่มีแผ่นซีดีภาพยนตร์ซึ่งมีบุคคลอื่นทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมทั้งเจ็ดไว้เพื่อขายจำนวนเพียง 102 แผ่น ตามคำฟ้องของโจทก์ที่ขอให้จ่ายเงินค่าปรับกึ่งหนึ่งให้แก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ก็มิได้ขอให้จ่ายเงินแก่ผู้เสียหายคนละเท่า ๆ กัน และไม่ปรากฏเหตุอันควรที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศจะพิพากษาให้จ่ายเงินค่าปรับกึ่งหนึ่งแก่ผู้เสียหายทั้งเจ็ดซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ที่เข้าเป็นโจทก์ร่วมคนละเท่า ๆ กัน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรแก้ไขเป็นให้จ่ายเงินค่าปรับที่จำเลยได้ชำระตามคำพิพากษากึ่งหนึ่งให้แก่โจทก์ร่วมทั้งเจ็ดตามคำขอในคำฟ้องของโจทก์เท่านั้น
of 4