คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 43

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 100 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8886/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รับของโจร, การคืนทรัพย์สิน, ความเสียหายจากการถูกถอดชิ้นส่วน, ศาลแก้ไขคำพิพากษา
จำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานรับของโจรรถกระบะของกลาง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้จำเลยทั้งสองคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยังไม่ได้คืน 80,100 บาท แก่ผู้เสียหาย ซึ่งรวมถึงโทรศัทพ์เคลื่อนที่ราคา 3,900 บาท สินค้าอุปโภคบริโภคราคา 40,000 บาท กล้องถ่ายรูปราคา 9,000 บาท ซึ่งมิใช่ทรัพย์ที่จำเลยทั้งสองรับของโจรและรถกระบะของกลางนั้นผู้เสียหายก็ได้รับคืนไปแล้ว แม้ได้รับคืนในสภาพที่ถูกถอดชิ้นส่วนบางส่วนซึ่งคิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 27,200 บาท พนักงานอัยการโจทก์ก็ขอให้คืนหรือใช้ราคาไม่ได้ เพราะ ป.วิ.อ. มาตรา 43 ไม่ได้ให้อำนาจไว้ เป็นเรื่องที่ผู้เสียหายจะต้องไปว่ากล่าวเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองเอาเองเป็นคดีใหม่ จะให้จำเลยทั้งสองคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่มิได้รับของโจรกับมูลค่าความเสียหายของรถกระบะของกลางที่ถูกถอดชิ้นส่วนบางส่วนนั้นย่อมไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 24/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีและการกักกันผู้กระทำผิดซ้ำในศาลแขวง
ผู้ว่าคดีศาลแขวงย่อมอยู่ในความหมายของคำว่า พนักงานอัยการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 43 ทั้งนี้โดยนัยแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาตรา 5 ประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (5) ฉะนั้นจึงย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้กักกันจำเลยได้
กักกันมิใช่โทษอาญา แต่เป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 39 (1) ซึ่งมีลักษณะเบากว่าโทษจำคุก (คำพิพากษาฎีกาในที่ประชุมใหญ่ที่ 1455/2511) ฉะนั้น จึงย่อมอยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาให้กักกันจำเลยตามที่ผู้ว่าคดีฟ้องขอมาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 24/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกักกันของ ผู้ว่าคดีศาลแขวง และอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงตามประมวลกฎหมายอาญา
ผู้ว่าคดีศาลแขวงย่อมอยู่ในความหมายของคำว่า พนักงานอัยการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 43 ทั้งนี้โดยนัยแห่ง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาตรา 5 ประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(5) ฉะนั้นจึงย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้กักกันจำเลยได้
กักกันมิใช่โทษอาญา แต่เป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 39(1) ซึ่งมีลักษณะเบากว่าโทษจำคุก(คำพิพากษาฎีกาในที่ประชุมใหญ่ที่ 1455/2511) ฉะนั้น จึงย่อมอยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาให้กักกันจำเลยตามที่ผู้ว่าคดีฟ้องขอมาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 196/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขอให้กักกันผู้กระทำผิดติดนิสัย: การพิจารณาอายุความและอำนาจฟ้อง
ฟ้องขอให้กักกัน หาใช่ฟ้องเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยเพื่อให้ศาลลงโทษตามความผิดไม่ จึงไม่ต้องระบุรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ และแม้จะมิได้บรรยายว่าโจทก์ฟ้องคดีอันเป็นมูลให้เกิดอำนาจฟ้องขอให้กักกันวันเดือนปีใด ไม่อาจทราบว่าภายในอายุความหรือไม่ก็ตาม เมื่อคดีนั้นเป็นคดีของศาลชั้นต้น โจทก์ได้ระบุอ้างเป็นพยานไว้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะเอาสำนวนคดีนั้นมาตรวจดูได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 196/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขอให้กักกันผู้กระทำผิดติดนิสัย ไม่ต้องระบุรายละเอียดการกระทำ หากคดีมูลเหตุอยู่ในอำนาจศาลและไม่ขาดอายุความ
ฟ้องขอให้กักกันหาใช่ฟ้องเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยเพื่อให้ศาลลงโทษตามความผิดไม่ จึงไม่ต้องระบุรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ และแม้จะมิได้บรรยายว่าโจทก์ฟ้องคดีอันเป็นมูลให้เกิดอำนาจฟ้องขอให้กักกันวันเดือนปีใด ไม่อาจทราบว่าภายในอายุความหรือไม่ก็ตาม เมื่อคดีนั้นเป็นคดีของศาลชั้นต้นโจทก์ได้ระบุอ้างเป็นพยานไว้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะเอาสำนวนคดีนั้นมา ตรวจดูได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พระราชทานอภัยโทษไม่ลบล้างคำพิพากษาเดิม และสิทธิในการฟ้องขอโทษกักกันยังคงมี
แม้จำเลยจะได้รับพระราชทานอภัยโทษตามพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษให้ลดโทษลงเพียงใด ถึงขั้นปล่อยตัวไปก็ตาม คำพิพากษาของศาลที่กำหนดโทษไว้เดิมนั้นก็หาได้ถูกลบล้างไปไม่
การที่ศาลทหารกล่าวไว้ในคำพิพากษาให้ยกคำขอที่ขอให้กักกันจำเลยเพราะไม่อยู่ในอำนาจของศาลทหารนั้น หาตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องขอให้กักกันจำเลยต่อศาลทีมีอำนาจไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พระราชทานอภัยโทษไม่ลบล้างคำพิพากษาเดิม และสิทธิการฟ้องกักกันยังคงมี
แม้จำเลยจะได้รับพระราชทานอภัยโทษตามพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษให้ลดโทษลงเพียงใด ถึงขั้นปล่อยตัวไปก็ตาม คำพิพากษาของศาลที่กำหนดโทษไว้เดิมนั้นก็หาได้ถูกลบล้างไปไม่
การที่ศาลทหารกล่าวไว้ในคำพิพากษาให้ยกคำขอที่ขอให้กักกันจำเลย เพราะไม่อยู่ในอำนาจของศาลทหารนั้น หาตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องขอให้กักกันจำเลยต่อศาลที่มีอำนาจไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 789/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักลอบนำเข้าสินค้าหลีกเลี่ยงภาษี จำเลยต้องพิสูจน์ความบริสุทธิ์ หากพิสูจน์ไม่ได้ถือว่ามีความผิด
ในการฟ้องร้องเกี่ยวด้วยของซึ่งต้องยึดเพราะไม่เสียภาษีหรือเพราะเหตุพึงริบโดยประการอื่นก็ดีหรือยึดเพื่อเอาค่าปรับก็ดีนั้น พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 100 บัญญัติให้หน้าที่พิสูจน์ตกอยู่แก่จำเลย ถ้ามีข้อโต้เถียงเกิดขึ้นว่าค่าภาษีสำหรับของนั้นๆ ได้ส่งชำระถูกต้องแล้วหรือหาไม่ หรือว่าของนั้น ๆ ได้นำเข้ามา ๆ ได้ย้ายขนไป ๆ โดยชอบด้วยกฎหมายหรือหาไม่ ถ้าจำเลยพิสูจน์ความบริสุทธิ์ไม่ได้ จำเลยย่อมมีความผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 827/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษกักกันผู้กระทำผิดซ้ำ ศาลฎีกาพิจารณาเงื่อนไขตามประมวลกฎหมายอาญาแทน พ.ร.บ.กักกันผู้ร้าย
โจทก์ฟ้องขอให้กักกันจำเลยในฐานเป็นผู้มีสันดานเป็นผู้ร้าย โดยจำเลยเคยทำผิดต้องโทษจำคุกอันมิใช่ประมาทหรือลหุโทษมา 4 ครั้ง และมาทำผิดฐานชิงทรัพย์อีก โจทก์จึงฟ้องขอให้กักกันจำเลยฐานเป็นผู้มีสันดานเป็นผู้ร้าย เมื่อคดีมาสู่ศาลฎีกาเมื่อใช้ประมวลกฎหมายอาญาแล้ว ศาลฎีกาเห็นว่าการลงโทษผู้มีสันดานเป็นผู้ร้ายตาม พ.ร.บ. กักกันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้าย พ.ศ. 2479 นั้น มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญาแล้ว ศาลฎีกาจึงยกบทบัญญัติใน ประมวลกฎหมายอาญาอันมีมาตรา 43, 41 เป็นต้นมาใช้แทน และชี้ว่าตาม ม.43 โจทก์มีอำนาจแยกฟ้องได้ แต่ตาม ม.41 จะลงโทษกักกันได้ต่อเมื่อจำเลยเคยต้องโทษกักกันมาแล้ว หรือเคยถูกศาลพิพากษาให้จำคุกมาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง และมาทำผิด จำเลยนี้เคยต้องโทษเกิน 6 เดือนครั้งเดียว จึงยังฟ้องให้ลงโทษกักกันจำเลย ไม่ได้ ให้ยกฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 827/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องกักกันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้าย: เงื่อนไขการลงโทษและอำนาจฟ้องแยก
โจทก์ฟ้องขอให้กักกันจำเลยในฐานเป็นผู้มีสันดานเป็นผู้ร้ายโดยจำเลยเคยทำผิดต้องโทษจำคุกอันมิใช่ประมาทหรือลหุโทษมา 4 ครั้ง และมาทำผิดฐานชิงทรัพย์อีกโจทก์จึงฟ้องขอให้กักกันจำเลยฐานเป็นผู้มีสันดานเป็นผู้ร้ายเมื่อคดีมาสู่ศาลฎีกาเมื่อใช้ประมวลกฎหมายอาญาแล้วศาลฎีกาเห็นว่าการลงโทษผู้มีสันดานเป็นผู้ร้ายตาม พ.ร.บ.กักกันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้าย พ.ศ.2479นั้น มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญาแล้ว ศาลฎีกาจึงยกบทบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญาอันมีมาตรา 43,41 เป็นต้นมาใช้แทนและชี้ว่าตาม มาตรา43 โจทก์มีอำนาจแยกฟ้องได้แต่ตาม มาตรา 41 จะลงโทษกักกันได้ต่อเมื่อจำเลยเคยต้องโทษกักกันมาแล้ว หรือเคยถูกศาลพิพากษาให้จำคุกมาไม่ต่ำกว่า 6 เดือนไม่น้อยกว่า 2 ครั้งและมาทำผิด จำเลยนี้เคยต้องโทษเกิน 6เดือนครั้งเดียว จึงยังฟ้องให้ลงโทษกักกันจำเลยไม่ได้ ให้ยกฟ้อง
of 10