คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ.

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 205 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3326/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมกันมีไว้ซึ่งยาเสพติดเพื่อจำหน่าย โดยมีพฤติการณ์แสดงเจตนาและส่วนร่วม
กัญชาของกลางจำนวนมากมีน้ำหนักสุทธิ 1,900 กิโลกรัม ก่อนที่ ส. ผู้ร่วมกระทำผิดอีกคนหนึ่งจะไปรับจำเลยมาดูกัญชาของกลางที่บ้านเกิดเหตุ ส. ได้นำกัญชาของกลางมาเก็บไว้ที่บ้านเกิดเหตุด้วยวิธีการอันเร้นลับ บ้านดังกล่าวมีกำแพงทึบประตูเข้าก็เป็นบานทึบแน่นหนามีคนเฝ้าระแวดระวังอยู่ตลอดเวลายากที่บุคคลภายนอกทั่วไปจะล่วงรู้และเข้าไปได้ เช่นนี้การที่ ส. ขับรถยนต์ไปรับจำเลยจากโรงแรมพามายังบ้านเกิดเหตุและขึ้นไปตรวจดูกัญชาของกลางบนบ้านชั้นสอง ซึ่งเป็นที่เก็บกัญชานานประมาณ10 นาที แล้วลงมาพร้อมกับ ส. นั้น ถือได้ว่าจำเลยได้มีส่วนรู้เห็นและร่วมกับ ส. นำกัญชาของกลางมาเก็บไว้ที่บ้านเกิดเหตุ และได้ร่วมกันมีไว้ในครอบครองซึ่งกัญชาของกลางเพื่อจำหน่าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3203/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางตาม พ.ร.บ.แร่ฯ การประกาศขอริบต้องระบุรายละเอียดชัดเจนเพื่อให้เจ้าของมีโอกาสคัดค้านก่อนศาลตัดสิน
ประกาศของพนักงานเจ้าหน้าที่ในหนังสือพิมพ์รายวันเกี่ยวแก่การกระทำผิดของจำเลยไม่ได้ลงข้อความว่าจำเลยได้ใช้รถยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะขนแร่ตะกั่ว และไม่มีข้อความว่าพนักงานอัยการได้ร้องขอต่อศาลขอให้ริบรถยนต์ของกลาง จึงไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 154 วรรคสอง ดังนั้น ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนของกลางภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2532)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3107/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายที่ดินและต้นยางพาราหลังฟ้องคดีแพ่ง ไม่เข้าข่ายโกงเจ้าหนี้หากเจ้าหนี้ยังไม่ได้รับการชำระหนี้ทั้งหมด
โจทก์ฟ้องคดีแพ่งขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายต้นยางพาราหรือให้คืนเงินมัดจำและใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ โดยอ้างว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อจำเลยให้การว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาและฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ จึงยังไม่เป็นที่แน่นอนว่าโจทก์จะเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยหรือไม่ ทั้งศาลชั้นต้นได้พิพากษา ยกฟ้องโจทก์ในคดีแพ่งดังกล่าวแล้ว คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ และแม้หากจะฟังว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้มีสิทธิขอให้บังคับจำเลยยอมให้โจทก์ตัดโค่นต้นยางพาราตามสัญญาได้ก็ตาม โจทก์ก็ยังต้องชำระเงินส่วนที่เหลือให้จำเลยตามสัญญาอยู่ดี โจทก์จะได้ผลประโยชน์หรือเป็นเจ้าหนี้เพียงไม่เกินจำนวนตามที่โจทก์ขอเป็นค่าเสียหายตามคำขอท้ายฟ้องซึ่งเมื่อรวมกับเงินมัดจำที่จะได้คืนแล้ว ก็ยังน้อยกว่าทรัพย์สินที่จำเลยมีอยู่ การที่ภายหลังจำเลยขายที่ดินและต้นยางพาราให้บุคคลอื่น จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อมิให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนอันจะมีมูลความผิดฐานโกงเจ้าหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2957/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานทางอ้อมจากคำให้การชั้นสอบสวนประกอบกับพยานหลักฐานอื่นเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงในคดีอาญา
โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็นเหตุการณ์ขณะเกิดเหตุ ทั้งไม่มีพยานบุคคลมาเบิกความว่าเห็นจำเลยในวันเกิดเหตุเลย แต่โจทก์มีคำให้การชั้นสอบสวนของบุตรผู้ตายและภริยาของจำเลยเป็นพยานแม้คำให้การชั้นสอบสวนดังกล่าวเป็นพยานบอกเล่าจะรับฟังดังคำเบิกความของพยานในชั้นพิจารณาไม่ได้ แต่ศาลอาจรับฟังว่าบุคคลทั้งสองเคยให้การไว้เช่นนั้นต่อพนักงานสอบสวนเพื่อพิเคราะห์สอดส่องถึงข้อเท็จจริงในคดีได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าพนักงานสอบสวนจดบันทึกคำให้การโดยไม่ถูกต้องแต่อย่างใด จึงฟังได้ว่าบุคคลทั้งสองให้การไว้เช่นนั้นจริง และคำให้การของผู้รู้เห็นเหตุการณ์ในชั้นสอบสวนไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามมิให้รับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่น ดังนี้ ศาลรับฟังคำให้การชั้นสอบสวนของพยานดังกล่าวประกอบพยานหลักฐานอื่นและพฤติการณ์แห่งคดีลงโทษจำเลยตามฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2898/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยที่เป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐในคดีจำหน่ายยาเสพติด: การใช้ดุลพินิจลงโทษประหารชีวิต
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ มาตรา 100 บัญญัติว่าถ้าผู้กระทำผิดเป็นข้าราชการหรือพนักงานขององค์การและหน่วยงานของรัฐ จะต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 ร่วมกันกระทำความผิดฐานจำหน่ายเฮโรอีนมีปริมาณเกินกว่า 100 กรัม ซึ่งตามมาตรา 66 วรรคสองมีโทษสองสถานคือจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิตเมื่อศาลใช้ดุลพินิจกำหนดโทษจำคุกตลอดชีวิตแก่จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 6 แล้ว การที่ศาลกำหนดโทษประหารชีวิตจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 8 ซึ่งเป็นข้าราชการและพนักงานองค์การและหน่วยงานของรัฐ จึงเป็นการใช้ดุลพินิจกำหนดโทษให้สูงกว่าโทษของจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 6 นั่นเอง หาใช่เป็นการเปลี่ยนโทษหรือเพิ่มโทษจากจำคุกตลอดชีวิตเป็นประหารชีวิตไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2758/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินยังเป็นของผู้ถือเดิมจนกว่าจะออกหนังสือแสดงสิทธิใหม่ หลังการจัดรูปที่ดิน การไถนาจึงไม่เป็นบุกรุก
การจัดรูปที่ดินตามพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2517 นั้น ตราบใดที่ยังไม่มีการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินสำหรับแปลงที่ดินในโครงการที่จัดรูปที่ดินตามมาตรา 41 ใหม่แล้ว สิทธิในที่ดินยังคงเป็นของผู้ถือหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเดิมอยู่ ผู้เสียหายที่ 1 เป็นผู้ได้รับสิทธิในที่ดินตามโครงการจัดรูปที่ดินบริเวณที่นาพิพาทซึ่งยังไม่ได้รับหนังสือแสดงสิทธิสำหรับที่ดินที่จัดรูปแล้ว สิทธิในที่นาพิพาทจึงยังคงเป็นของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ถือหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเดิม จำเลยทั้งสองยังไม่ได้มอบการครอบครองที่นาพิพาทให้แก่ผู้เสียหายที่ 1 ดังนั้นการที่จำเลยทั้งสองเอารถไถเข้าไปไถนาพิพาทจึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2730/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานมียาเสพติดประเภท 1 และ 2 เป็นความผิดต่างกระทง ศาลลงโทษทุกกรรมได้
ความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษประเภท 1 และประเภท 2 เป็นความผิดที่มีบทความผิดและบทลงโทษคนละมาตรากัน จึงเป็นความผิดต่างกระทงกันเมื่อตามฟ้องโจทก์มีความผิดเพียง 2 กระทง แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องแยกเป็นรายกระทง ก็เป็นที่เข้าใจได้ว่าเป็นความผิด 2 กระทงทั้งคำฟ้องตอนต้นได้บรรยายแล้วว่าเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระและคำขอท้ายฟ้องก็อ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ไว้แล้วศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2720/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์ในการวินิจฉัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายนอกเหนือจากประเด็นอุทธรณ์ และการพิจารณาว่าคำเบิกความเท็จเป็นข้อสำคัญในคดีหรือไม่
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ข้อความที่จำเลยเบิกความในคดีแพ่งนั้นเป็นความเท็จแต่มิได้เป็นข้อสำคัญในคดี พิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้แจ้งชัดว่าจำเลยเบิกความเท็จมีความเห็นพ้อง ด้วยในผล พิพากษายืน ดังนี้กรณีไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 เนื่องจากศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้ลงโทษจำคุกจำเลยแต่อย่างใดและคดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยอาศัยข้อกฎหมาย กรณีจึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 อีกเช่นกัน
การพิจารณาคดีอาญาของศาลอุทธรณ์ไม่จำกัดอยู่เพียงในปัญหาที่คู่ความอุทธรณ์เท่านั้น ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะหยิบยกพยานหลักฐานข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายทั้งปวงที่ปรากฏในสำนวนขึ้นวินิจฉัยได้ทั้งสิ้น เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่า ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้แจ้งชัดว่าจำเลยกระทำความผิดดังที่โจทก์ฟ้อง ก็ชอบที่จะวินิจฉัยคดีไปตามนั้นและพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 ซึ่งมาตรา 215 ให้นำมาใช้บังคับ โดยไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์เพราะย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่คดีอย่างใด.
(ความในวรรคแรกเป็นการวินิจฉัย มาตรา 220 ก่อนพ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 ใช้บังคับ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2674/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์: การลักทรัพย์สำเร็จแล้วต่อเนื่องกับการใช้กำลังประทุษร้ายหลบหนี
จำเลยลักทรัพย์สำเร็จแล้ว ขณะหลบหนี ญ. ผู้ดูแลรักษาทรัพย์นั้นได้วิ่งไล่จับจำเลย จำเลยสะบัดหลุดแล้วใช้มีดแทง ญ. ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกันยังไม่ขาดตอนจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ จำเลยใช้มีดแทง ญ. อันเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อให้พ้นจากการจับกุม การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2576/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงมติของราชการโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้จะกระทบสิทธิคู่สัญญาเดิม ก็ไม่ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
บริษัทขนส่ง จำกัด ผู้รับมอบอำนาจจากกรมการขนส่งทางบกได้ทำสัญญาให้โจทก์เข้าปรับปรุงพื้นที่สถานีขนส่งสายเหนือ (ตลาดหมอชิต)ของบริษัทขนส่ง จำกัด แต่บริษัทขนส่ง จำกัด ไม่สามารถส่งมอบที่ดินให้โจทก์ทำการก่อสร้างได้ เนื่องจากกรมธนารักษ์โต้แย้งว่าที่ดินดังกล่าวเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะกรมการขนส่งทางบก จึงไม่มีสิทธิมอบอำนาจให้บริษัทขนส่ง จำกัด ทำสัญญา กระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลังกรมการขนส่งทางบก กรมธนารักษ์ และบริษัทขนส่ง จำกัด ได้ร่วมประชุมและมีมติให้กรมการขนส่งทางบก มอบที่ดินดังกล่าวคืน กระทรวงการคลัง เพื่อดำเนินการถอนสภาพการเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ให้เป็นที่ดินราชพัสดุที่ใช้ในการจัดหาประโยชน์ เพื่อที่จะให้กรมธนารักษ์พิจารณาให้โจทก์มีสิทธิปลูกสร้างและรับประโยชน์ตอบแทนตามเงื่อนไขแห่งสัญญาที่โจทก์ทำไว้กับบริษัทขนส่ง จำกัด ต่อมาเมื่อจำเลยที่ 1ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และจำเลยที่ 2 ในฐานะปลัดกระทรวงคมนาคม พิจารณาเห็นว่ามติดังกล่าวไม่เป็นประโยชน์ต่อทางราชการ ก็ย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลง เป็นอย่างอื่นได้การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำเรื่องขอที่ดินดังกล่าวคืนจากจำเลยที่ 3 ในฐานะรองอธิบดีกรมธนารักษ์ รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง เพื่อ กระทรวงคมนาคม จะได้มอบหมายให้กรมการขนส่งทางบกนำที่ดินบริเวณสถานีขนส่งตลาดหมอชิตทั้งหมด รวมทั้งที่ดินแปลงดังกล่าวไปดำเนินการตามโครงการที่ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศ เบลเยี่ยม เสนอ อันจะเป็นประโยชน์ต่อทางราชการมากกว่าที่จะแบ่งให้โจทก์ไปทำการปรับปรุงแต่เพียงบางส่วนการกระทำของจำเลยทั้งสามจึงหาใช่เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์แต่อย่างใดไม่ อีกทั้งโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสามทุจริตอย่างไร คดีโจทก์จึงไม่มีมูล
of 21