คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1635

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 37 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 413/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กฎหมายที่ใช้บังคับกับมรดก: ใช้กฎหมาย ณ เวลาที่เจ้ามรดกเสียชีวิต
มรดกหรือการแบ่งมรดกจะมีขึ้นได้ต่อเมื่อบุคคลถึงแก่ความตาย ฉะนั้น เมื่อบุคคลใดถึงแก่ความตายในขณะใช้กฎหมายใด ก็ต้องตกอยู่ในบังคับแห่งกฎหมายซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้น
เป็นสามีภริยากันมาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5-6 แต่ตายจากกันภายหลังใช้ บรรพ 5-6 แล้วต้องแบ่งมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1302/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ้างพินัยกรรมปลอมและการแบ่งมรดก กรณีทรัพย์สินจากการสมรสเดิม
โจทก์ฟ้องอ้างว่ามารดาโจทก์มีสินเดิมและสินสมรสกับบิดาโจทก์ มารดาโจทก์ถึงแก่กรรม จึงตกทอดเป็นมรดกได้แก่โจทก์กับน้องและบิดา ต่อมาบิดาโจทก์ถึงแก่กรรมอีก จำเลยเป็นภรรยาน้อยบิดาโจทก์ ไม่มีสินเดิมได้นำสำเนาพินัยกรรมปลอมไปอ้างขอรับมรดกของบิดาโจทก์ โจทก์จึงขอให้ศาลทำลายพินัยกรรมปลอมนั้น ถ้าเป็นพินัยกรรมจริง บิดาโจทก์ก็ไม่มีอำนาจที่จะเอาส่วนสินเดิมและสินสมรสของมารดาโจทก์ไปทำได้ จึงขอให้ศาลบังคับให้จำเลยเอาทรัพย์ตามบัญชีท้ายฟ้องขายทอดตลาดแบ่งกัน
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าพินัยกรรมที่โต้เถียงเป็นพินัยกรรมจริงแล้ว และข้อที่โจทก์ว่าบิดาโจทก์เอาสินบริคณห์ระหว่างมารดาโจทก์กับบิดาโจทก์มาทำพินัยกรรมยกให้จำเลยเป็นการไม่ชอบนั้น ก็ได้ความว่าบิดาโจทก์แต่งงานอยู่กินกับจำเลยมาร่วม 20 ปีเศษ เกิดบุตรด้วยกันหลายคน ส่วนมารดาโจทก์อยู่เมืองจีน มิได้มาอยู่ร่วมด้วยเลย และโจทก์สืบไม่ได้ว่าบิดาโจทก์ได้นำทรัพย์ของมารดาโจทก์มาเป็นทุน อันเป็นทางให้เกิดสมรสอย่างใด ไม่มีเหตุพอที่จะให้รับฟังได้ว่าทรัพย์สิ่งใดบ้างเป็นส่วนของมารดาโจทก์ ฉะนั้นเมื่อบิดาโจทก์ได้ทำพินัยกรรมให้จำเลย ก็ไม่มีทางจะแบ่งให้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1302/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้ภรรยาน้อยและการอ้างสิทธิในทรัพย์สินเดิมของภริยาหลวง
โจทก์ฟ้องอ้างว่ามารดาโจทก์มีสินเดิมและสินสมรสกับบิดาโจทก์ มารดาโจทก์ถึงแก่กรรม จึงตกทอดเป็นมรดกได้แก่โจทก์กับน้องและบิดาต่อมาบิดาโจทก์ถึงแก่กรรมอีก จำเลยเป็นภรรยาน้อยบิดาโจทก์ ไม่มีสินเดิมได้นำสำเนาพินัยกรรมปลอมไปอ้างขอรับมรดกของบิดาโจทก์ โจทก์จึงขอให้ศาลทำลายพินัยกรรมปลอมนั้น ถ้าเป็นพินัยกรรมจริง บิดาโจทก์ก็ไม่มีอำนาจที่จะเอาส่วนสินเดิมและสินสมรสของมารดกโจทก์ไปทำได้ จึงขอให้ศาลบังคับให้จำเลยเอาทรัพย์ตามบัญชีท้ายฟ้องขายทอดตลาดแบ่งกัน
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าพินัยกรรมที่ได้เถียงเป็นพินัยกรรมจริงแล้ว และข้อที่โจทก์ว่าบิดาโจทก์เอาสินบริคณห์ระหว่างมารดาโจทก์กับบิดาโจทก์มาทำพินัยกรรมยกให้จำเลยเป็นการไม่ชอบนั้น ก็ได้ความว่าบิดาโจทก์แต่งงานอยู่กินกับจำเลยมาร่วม 20 ปีเศษ เกิดบุตรด้วยกันหลายคน ส่วนมารดาโจทก์อยู่เมืองจีน มิได้มาอยู่ร่วมด้วยเลย และโจทก์สิบไม่ได้ว่าบิดาโจทก์ได้นำทรัพย์ของมารดาโจทก์มาเป็นทุน อันเป็นทางให้เกิดสมรสอย่างใด ไม่มีเหตุพอที่จะให้รับฟังได้ ว่าทรัพย์สิ่งใดบ้างเป็นส่วนของมารดาโจทก์ ฉะนั้นเมื่อบิดาโจทก์ได้ทำพินัยกรรมให้จำเลย ก็ไม่มีทางจะแบ่งให้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1574/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสโมฆะหลังมีภรรยาแล้ว และสิทธิในมรดก
ชายมีภรรยาอยู่แล้วตั้งแต่ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ครั้นเมื่อใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แล้วมีภรรยาอีกคนหนึ่ง แม้จะได้ทะเบียนสมรสกับภรรยาคนหลังนี้การสมรสนั้นก็เป็นโมฆะ ภรรยาคนหลังจึงไม่มีสิทธิได้รับมรดกของชายผู้เป็นสามี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1574/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสซ้อนและการรับมรดก: การสมรสที่จดทะเบียนภายหลังการมีภรรยาอยู่แล้วเป็นโมฆะ ทำให้สิทธิในการรับมรดกเป็นอันตกไป
ชายมีภรรยาอยู่แล้วตั้งแต่ก่อนใช้ ป.ม.แพ่งฯ บรรพ 5 ครั้นเมื่อใช้ ป.ม.แพ่งฯ บรรพ 5 แล้วมีภรรยาอีกคนหนึ่ง แม้จะได้ทะเบียนสมรสกับภรรยาคนหลังนี้การสมรสนั้นก็เป็นโมฆะภรรยาคนหลังจึงไม่มีสิทธิได้รับมรดกของชายผู้ เป็นสามี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 930/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกตามกฎหมายแพ่ง: สามี บุตร และภรรยาผู้มีสิทธิ
ผู้ตายมีสามีและมีบุตร ต้องแบ่งมรดกให้คนละเท่าๆกัน
ผู้ตายมีบิดาและมีภรรยาต้องแบ่งให้คนละครึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 930/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกตามกฎหมาย โดยคำนึงถึงทายาทโดยธรรมและสินเดิม
ผู้ตายมีสามีและมีบุตร ต้องแบ่งมฤดกให้คนละเท่าๆกัน
ผู้ตายมีบิดาและมีภรรยาต้องแบ่งให้คนละครึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 821/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์: สิทธิทายาทและการกันส่วนมรดก
การแบ่งทรัพย์มรดก เมื่อเจ้ามรดกตายเมื่อใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 แล้ว ต้องแบ่งตาม มาตรา 1635 และ 1636
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดก ศาลต้องแบ่งให้เพียงเท่าที่โจทก์มีสิทธิควรจะได้
คำว่า "กันส่วนไว้เพื่อทายาทอื่น" ตามที่มาตรา 1749 ห้ามไว้นั้น หมายความว่า กันไว้เพื่อทายาทนั้นมารับเอาไปได้ทีเดียว โดยมิต้องฟ้องร้องเป็นคดีใหม่ดังเช่นที่เคยปฏิบัติกันมาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 การแบ่งให้โจทก์เพียงเท่าที่โจทก์มีสิทธิควรจะได้ตามกฎหมายนั้น หาใช่เป็นการกันส่วนไว้เพื่อทายาทอื่นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 821/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกตาม ป.พ.พ. บรรพ 6: สิทธิทายาทและขอบเขตการแบ่ง
การแบ่งทรัพย์มฤดก เมื่อเจ้ามฤดกตาย เมื่อใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 แล้ว ต้องแบ่งตามมาตรา 1635 และ 1636
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมฤดก ศาลต้องแบ่งให้เพียงเท่าที่โจทก์มีสิทธิควรจะได้
คำว่า "กันส่วนไว้เพื่อทายาทอื่น" ตามที่มาตรา 1749 ห้ามไว้นั้น หมายความว่า กันไว้เพื่อทายาทนั้นมารับเอาไปได้ทีเดียว โดยมิต้องฟ้องร้องเป็นคดีใหม่ ดังเช่นที่เคยปฏิบัติกันมาก่อนใช้ ป.พ.พ.บรรพ 6 การแบ่งให้โจทก์เพียงเท่าที่โจทก์มีสิทธิควรจะได้ตามกฎหมายนั้น หาใช่เป็นการกันส่วนไว้เพื่อทายาทไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 618/2488

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์มรดกกรณีภริยาหลายคนและการพิจารณาเรื่องสินเดิม
ฟ้องเรียกทรัพย์ของผู้ตายโดยฟ้องว่าเป็นผู้รับมฤดกและว่าจำเลยไม่ใช่ภริยาชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายและมีสิทธิควรได้ส่วนแบ่งมฤดก ดั่งนี้ศาลตัดสินแบ่งทรัพย์ระหว่างผัวเมียและแบ่งมฤดกได้ตาม ป.ม.วิ.แพ่ง มาตรา 142 (2)
ป.ม.แพ่ง ฯ ม.1636 บัญญัติถึงกรณีเจ้ามฤดกมีภรรยาหลายคนให้ได้รับมฤดกตามลำดับชั้นและส่วนแบ่งดังระบุไว้ใน ม.1635 และบัญญัติให้ภริยาน้อยได้ส่วนแบ่งเพียงกึ่งส่วนของภริยาหลวง
คู่ความไม่ได้นำสืบถึงสินเดิมแต่ศาลอุทธรณ์ฟังว่าทั้งสองฝ่ายมีสินเดิม ฎีกาของจำเลยคัดค้านว่าไม่ชอบแต่มิได้กล่าวว่าการแบ่งเช่นนั้นจำเลยเสียเปรียบอย่างไรหรือควรแบ่งอย่างไร ฎีกาย่อมฟังไม่ขึ้น
of 4