คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 304

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 99 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1756/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาประสงค์ต่อทรัพย์เป็นสำคัญ หากไม่มี แต่มีการข่มขู่คุกคามเพื่อหวังผลอื่น ศาลลงโทษฐานกระทำผิดต่อเสรีภาพได้
ฟ้องอ้างบทลงโทษมาตรา 339 ฐานชิงทรัพย์โดยบรรยายฟ้องด้วยว่า จำเลยใช้มีดบังคับข่มขืนใจให้ผู้เสียหายขับรถยนต์เลี้ยวเข้าไปในถนนสุขาภิบาล 1 และขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายโดยใช้มีดแทงทำร้ายให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมิได้ประสงค์ต่อทรัพย์และผู้เสียหายยังไม่ทันได้กระทำตามที่ถูกข่มขู่ ศาลย่อมลงโทษจำเลยฐานพยายามทำผิดต่อเสรีภาพตามมาตรา 309 ประกอบด้วยมาตรา 80 ได้(นัยฎีกาที่ 1683/2500)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 940/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความถูกต้องของฟ้องฐานฉ้อโกงเมื่อมีการบรรยายลักษณะเช็คที่ใช้เป็นเท็จและไม่ตรงกับความเป็นจริง
ตามคำบรรยายฟ้องเป็นที่เข้าใจได้ว่า จำเลยแสดงเท็จโดยออกเช็คแลกเงินสดของผู้เสียหายไป แต่ความจริงกลับเป็นว่า เช็คนั้นเป็นเช็คในบัญชีชื่อบุคคลที่ 3 ลายเซ็นชื่อในเช็คไม่ใช่ลายมือชื่อบุคคลที่ 3 ทั้งไม่มีเงินจ่ายตามเช็ค อีกนัยหนึ่ง ก็คือ จำเลยออกเช็คว่าเป็นของจำเลย แต่ความจริงกลับเป็นเช็คของคนอื่น จึงไม่มีการจ่ายเงิน และฟ้องกล่าวพร้อมด้วยองค์ประกอบอื่น ๆ ตามกฎหมายแล้ว ย่อมเป็นฟ้องฐานฉ้อโกงถูกต้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 แล้ว (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 278-279/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงและปลอมแปลงเอกสารทางการค้า: การรวมกระทงลงโทษและการคำนวณค่าเสียหาย
การรวมกระทงลงโทษ เมื่อรวมโทษทุกกระทงเข้าด้วยกันแล้ว จะลงโทษเกินกว่าอัตราขั้นได้
การที่จำเลยเขียนชื่อและประทับตราชื่อห้างร้านที่ไม่มีตัวจริงแต่เป็นห้างร้านที่สมมุตขึ้นและใช้ชื่อและประทับตราที่สมมติขึ้นในการออกเช็คสั่งจ่ายหรือสลักหลังเช็คที่ไม่มีห้างร้านตัวจริง เป็นผิดฐานปลอมหนังสือทั้งฉบับ
เช็คเป็นใบสั่งให้จ่ายเงินตาม ก.ม.อาญา ม.225(4) และ ป.ม.อาญา ม.266(4) โดยอยู่ในลักษณะ 21 ป.พ.พ.
คำร้องขอแก้ฟ้องที่ศาลไม่ได้สอบถามคู่ความและมีคำสั่งอย่างไรนั้น ไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง แม้ศาลจะได้ส่งสำเนาให้คู่ความอีกฝ่ายก็ตาม และศาลย่อมชี้ขาดคดีนอกฟ้องตามคำร้องที่ไม่ได้สอบถามและมีคำสั่งประการใดนี้ ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 463/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องผิดฐานความผิด การปรับฟ้องฐานความผิดที่ถูกต้องตามข้อเท็จจริงที่นำสืบได้
จำเลยขอให้โจทก์ลงลายมือในใบมอบอำนาจโดยหลอกลวงว่าเพื่อจำเลยจะได้ใช้ในการชำระภาษีอากรแทนโจทก์ เมื่อโจทก์ลงลายมือมอบให้จำเลยไปแล้ว จำเลยกลับไปกรอกข้อความในใบมอบอำนาจเป็นว่าโจทก์มอบให้จำเลยจัดการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์ให้แก่จำเลย เจ้าพนักงานที่ดินจึงจัดการโอนที่ดินของโจทก์ให้แก่จำเลยไป ดังนี้มิใช่ความผิดฐานฉ้อโกงหรือปลอมหนังสือแต่เป็นความผิดฐานยักยอกตามกฎหมายอาญา มาตรา 315
โจทก์บรรยายฟ้องไปในลักษณะฟ้องความผิดฐานฉ้อโกงและปลอมหนังสือแต่ในฟ้องของโจทก์นั้นเองจับใจความได้ว่าโจทก์กล่าวหาจำเลยว่าได้กระทำผิด ดังข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในฟ้อง เมื่อข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวมาในฟ้องไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงและปลอมหนังสือแต่เป็นความผิดฐานยักยอกซึ่งโจทก์มิได้อ้างบทความผิดฐานยักยอกมาถือได้ว่าโจทก์อ้างฐานความผิดและบทมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ ตาม มาตรา192 วรรค 4 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6)2499มาตรา13

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 463/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ้างฐานความผิดผิดพลาด ศาลแก้ไขฐานความผิดได้ตามข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้
จำเลยขอให้โจทก์ลงลายมือในใบมอบอำนาจ โดยหลอกลวงว่าเพื่อจำเลยจะได้ใช้ในการชำระภาษีอากรแทนโจทก์ เมื่อโจทก์ลงลายมือมอบให้จำเลยไปแล้ว จำเลยกลับไปกรอกข้อความในใบมอบอำนาจเป็นว่าโจทก์มอบให้จำเลยจัดการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์ให้แก่จำเลย เจ้าพนักงานที่ดินจึงจัดการโอนที่ดินของโจทก์ให้แก่จำเลยไป ดังนี้มิใช่ความผิดฐานฉ้อโกงหรือปลอมหนังสือ แต่เป็นความผิดฐานยักยอกตามกฎหมายอาญา ม. 315
โจทก์บรรยายฟ้องไปในลักษณะฟ้องความผิดฐานฉ้อโกงและปลอมหนังสือ แต่ในฟ้องของโจทก์นั้นเองจับใจความได้ว่าโจทก์กล่าวหาจำเลยว่าได้กระทำผิดดังข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในฟ้อง เมื่อข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวมาในฟ้องไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงและปลอมหนังสือแต่เป็นความผิดฐานยักยอกซึ่งโจทก์มิได้อ้างบทความผิดฐานยักยอกมา ถือได้ว่าโจทก์อ้างฐานความผิดและบทมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ ตาม ม.192 วรรค 4 ป.วิ.อาญาแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) 2499 ม.13.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1633/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฉ้อโกงต้องมีองค์ประกอบการหลงเชื่อจำเลยโดยตรง หากผู้เสียหายหลงเชื่อผู้อื่น การกระทำของจำเลยไม่ถือเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย
เมื่อข้อเท็จจริงในห้องสำนวนปรากฏว่า ผู้เสียหายมอบเงินให้แก่ผู้แทนผู้เสียหายไปรับจำนองแทนผู้เสียหายเพราะเชื่อตามที่ผู้แทนบอกเช่นนี้และศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าผู้เสียหายหลงเชื่อจำเลยดังนี้เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงไม่ตรงกับความจริง ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยเสียใหม่ให้ตรงความจริงได้
เมื่อผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ร้องทุกข์ มิได้เสียหายเนื่องจากหลงเชื่อการกระทำของจำเลยแล้วก็ย่อมขาดองค์สำคัญแห่งความผิดฐานฉ้อโกง จะลงโทษจำเลยหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1004/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำที่เจ้าของมอบครองทรัพย์ให้ผู้อื่น แล้วผู้นั้นยินยอมให้จำเลยเอาไป โดยจำเลยอ้างว่าได้รับอนุญาตจากเจ้าของ ถือเป็นฉ้อโกง ไม่ใช่ลักทรัพย์
หัวผักกาดที่เจ้าทรัพย์มอบให้บุคคลอื่นครอบครอง บุคคลอื่นยินยอมให้จำเลยเอาไปได้โดยดี เพราะหลงเชื่อในถ้อยคำของจำเลยที่อ้างว่าเจ้าของให้มาเอาไปขายและหลงเชื่อในอาการที่จำเลยเป็นคนมาติดต่อขอซื้อและจำเลยเป็นคนพูดจาฝากหัวผักกาดเหล่านั้นไว้ โดยผู้ครอบครองมิได้รู้ถึงความจริงว่าหัวผักกาดเหล่านั้นเป็นของผู้ใดกันแน่กรณีเช่นนี้จะเป็นความผิดอาญาก็เป็นเรื่องฉ้อโกงหาใช่ฐานลักทรัพย์ไม่
ฟ้องว่าลักทรัพย์พิจารณาได้ความว่ากระทำผิดฐานฉ้อโกงต้องยกฟ้องตาม ป.วิ.อาญา ม.192

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 491/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงทรัพย์: การรับว่าจะจัดหาเสาแต่ไม่สามารถส่งมอบได้ และมีเจตนาทุจริตตั้งแต่แรก
การที่จำเลยไม่มีอาชีพในทางค้าเสาไม่เคยขออนุญาตตัดฟันไม้ แต่รับจะจัดการตัดเสาอ้างว่ามีโควต้าทำไม้ ผู้เสียหายยอมให้เงิน 3,600 บาท ค่าลูกจ้างและค่าเข็นโดยจำเลยว่าเสาตามที่สั่งตัดไว้ครบแล้ว หลังจากนั้นอีกนานก็ไม่มีเสามา เมื่อถูกจับก็บอกตำรวจว่าหาเสาไม่ได้ แต่กลับปฏิเสธต่อผู้เสียหายว่าไม่รู้เรื่องไม่ได้รับเงิน พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมแสดงว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตคิดฉ้อโกงทรัพย์ของผู้เสียหาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1728/2498 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานทางอ้อมพิสูจน์ความผิดฐานลักทรัพย์ และการขาดการร้องทุกข์ในความผิดฐานฉ้อโกง
ที่จะมีความผิดฐานลักทรัพย์นั้นแม้ไม่มีประจักษ์พยานเห็นว่าจำเลยเป็นคนร้ายเข้าไปลักกระบือแต่ได้ความว่ากระบือหายเวลาค่อนแจ้ง กำนันจับจำเลยได้ขณะขี่กระบือในวันรุ่งขึ้นเวลาบ่าย จำเลยก็รับว่าไม่รู้จักเจ้าทรัพย์แม้บ้านก็ไม่รู้จัก ครั้นจำเลยได้ประกันตัวไปจากอำเภอเพื่อนำหลักฐานมาแสดง จำเลยก็ตรงไปหาเจ้าทรัพย์ถูก ซ้ำยังหลอกลวงว่าจะไปไถ่กระบือคืนให้ ๆ เจ้าทรัพย์มอบตั๋วพิมพ์รูปพรรณไปพฤติการณ์ดังนี้เป็นเหตุแวดล้อมให้เห็นว่าจำเลยนั่นเองเป็นผู้เข้าไปลักกระบือรายนี้
อันความผิดฐานฉ้อโกงนั้นแม้ในฟ้องจะกล่าวว่า เจ้าทุกข์ได้ร้องทุกข์ให้เจ้าพนักงานสอบสวนจัดการดำเนินคดีแก่จำเลยก็ดีแต่เวลาโจทก์นำสืบไม่ปรากฎว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงาน ขอให้ดำเนินคดีในความผิดฐานี้เลย ทั้งหลักฐานการร้องทุกข์ก็ไม่ปรากฎฉนั้นจะฟังว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานขอให้ดำเนินคดีแก่จำเลยหาได้ไม่ โจทก์จึงฟ้องจำเลยฐานฉ้อโกงยังไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1666/2498 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฉ้อโกง: เริ่มนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและตัวผู้กระทำผิด แม้มีการผัดผ่อน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยใช้อุบายหลอกลวงว่าที่ดินเป็นของจำเลยจะจำนองโจทก์ ๆ หลงเชื่อจ่ายเงินมัดจำล่วงหน้าไป ครั้นต่อมาปรากฎว่าที่ดินมีชื่อบุตรจำเลยเป็นเจ้าของ จำเลยได้หลอกลวงว่าจะขออนุญาตศาลจำนองในคำร้องจำเลยอ้างว่าจะเอาเงินไปซื้อที่ดินใหม่และใช้จ่ายการศึกษาของบุตร แต่จำเลยรับกับเจ้าพนักงานศาลว่าเอาไปใช้หนี้ส่วนตัว ศาลจึงยกคำร้อง โจทก์จึงทราบชัดว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตฉ้อโกงโจทก์ เช่นนี้ต้องถือว่าโจทก์รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดตั้งแต่วันที่โจทก์รู้ว่าที่ดินมีชื่อบุตรในโฉนด นับจากวันนั้นพ้นสามเดือนโจทก์จึงไปร้องทุกข์ คดีโจทก์จึงขาดอายุความแล้ว
of 10