คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 802

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจผู้จัดการกิจการทรัพย์สิน: ศาลจำกัดอำนาจเฉพาะกิจการโรงเรียนเทคโนโลยี
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ในคดีนี้ซึ่งเป็นหนี้ค่าจ้างก่อสร้างอาคารโรงเรียนเทคโนโลยี ร. การที่ ผู้ร้องยื่นคำร้องขอจัดการกิจการโรงเรียนเทคโนโลยี ฉ. แทนจำเลยผู้ไม่อยู่ชั่วคราว จนกว่าจำเลยจะกลับมา และผู้ร้องได้รับแต่งตั้งจากศาลให้เป็นผู้จัดการกิจการของโรงเรียนเทคโนโลยี ฉ. ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่า ผู้ร้องมีอำนาจ จัดการแต่เฉพาะในกิจการของโรงเรียนเทคโนโลยี ฉ. อันเป็นกรณีที่ศาลสั่งให้ทำการอย่างหนึ่งอย่างใดไปพลางก่อนตามที่จำเป็นเพื่อจัดการทรัพย์สินของจำเลยผู้ไม่อยู่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 48 วรรคหนึ่ง หาใช่กรณีที่ศาลตั้งผู้ร้องเป็น ผู้จัดการทรัพย์สินของจำเลยผู้ไม่อยู่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 48 วรรคสอง อันจะทำให้ผู้ร้องมีอำนาจหน้าที่อย่างเดียวกับ ตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไปไม่แม้ในเหตุฉุกเฉินผู้ร้องก็ไม่อาจจะก้าวล่วงไปจัดการในกิจการอื่นของจำเลยได้ ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจที่จะยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีนี้ใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2445/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วน, อำนาจผู้ชำระบัญชี, การแต่งทนาย, และการดำเนินคดีเมื่อหุ้นส่วนถึงแก่กรรม
จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการห้างฯ จำเลยที่ 1 ถึงแก่กรรม ห้างฯ จำเลยที่ 1 ต้องเลิกกันและจัดให้มีการชำระบัญชี ว.หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดห้างฯ จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจแต่งทนายสู้คดีแทนห้างฯ จำเลยที่ 1 กระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตั้งแต่ ว. แต่งตั้งทนายสู้คดีแทนจำเลยที่ 1 ต้องเพิกถอนเสีย เพราะเป็นอำนาจของผู้ชำระบัญชี การที่จะอ้างเหตุฉุกเฉินตาม ป.พ.พ.มาตรา 802 ต้องเป็นตัวแทนกันมาก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2445/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดหลังผู้จัดการเสียชีวิต อำนาจการดำเนินคดีเป็นของผู้ชำระบัญชี
จำเลยที่ 2 ซึ่ง เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ได้ ถึงแก่ความตายไปก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ล้มละลาย ห้างฯ จำเลยที่ 1 ซึ่ง มีผู้เป็นหุ้นส่วนอยู่สองคนคือจำเลยที่ 2 และ ว. จึงต้อง เลิกกัน เนื่องจากสภาพความเป็นหุ้นส่วนย่อมไม่มีอยู่ต่อไปอีก คงมีอยู่แต่ เฉพาะ ว. ผู้เดียวหากจะดำเนิน กิจการของห้างฯ จำเลยที่ 1 ต่อไปก็เท่ากับดำเนินการในกิจการส่วนตัวของ ว. เท่านั้น เมื่อห้างฯ จำเลยที่ 1เลิกกันก็ต้อง จัดให้มีการชำระบัญชีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1247 ถึง1273 ว. จึงไม่มีอำนาจตั้ง ตนเองเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 และแต่งทนายเข้ามาสู้ คดีแทนจำเลยที่ 1 ได้ เพราะเป็นอำนาจของผู้ชำระบัญชีตาม มาตรา 1259(1) และกรณีดังกล่าวก็ไม่ต้องด้วยป.พ.พ. มาตรา 802 เนื่องจาก ว. มิได้เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 มาก่อน ว. จึงไม่มีอำนาจเข้าดำเนินคดีแทนจำเลยที่ 1เพราะเหตุฉุกเฉิน ได้ ดังนี้ ศาลชอบที่จะเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนับแต่ ว. แต่งทนายเข้ามาสู้ คดีแทนจำเลยที่ 1เสียทั้งหมด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2445/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดหลังผู้จัดการเสียชีวิต และอำนาจของผู้ชำระบัญชีในการดำเนินคดีแทน
จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการห้างฯ จำเลยที่ 1 ถึง แก่กรรมห้างฯ จำเลยที่ 1 ต้อง เลิกกันและจัดให้มีการชำระบัญชี ว.หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดห้างฯ จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจแต่ง ทนายสู้ คดีแทนห้างฯ จำเลยที่ 1 กระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตั้งแต่ ว. แต่งตั้ง ทนายสู้ คดีแทนจำเลยที่ 1 ต้อง เพิกถอนเสีย เพราะเป็นอำนาจของผู้ชำระบัญชี การที่จะอ้างเหตุฉุกเฉิน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 802 ต้อง เป็นตัวแทนกันมาก่อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1071/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องฎีกาของกรรมการบริษัทหลังเลิกบริษัท: ผู้ชำระบัญชีเท่านั้นที่มีอำนาจ และต้องดำเนินการภายในกำหนดเวลา
เมื่อบริษัทได้จดทะเบียนเลิกบริษัทและตั้งผู้อื่นเป็นผู้ขำระบัญชีแล้ว อำนาจของกรรมการบริษัทย่อมหมดไป กรรมการของบริษัท 2 นายซึ่งมิใช่ผู้ชำระบัญชีจึงไม่มีอำนาจลงชื่อในฟ้องฎีกาแทนบริษัทจำเลยที่ได้เลิกไปก่อนวันยื่นฎีกานั้นได้และผู้ชำระบัญชีจะให้สัตยาบันแก่ฎีกานั้นภายหลังที่พ้นกำหนดระยะเวลาฎีกาแล้วไม่ได้ ตามนัยแห่งฎีกาที่ 425/2503
ประชุมใหญ่ครั้งที่ 26-27/2504

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 925/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแทนบริษัท: การมอบอำนาจหลังยื่นฟ้องเป็นโมฆะ แม้มีการให้สัตยาบัน
ในคดีแพ่ง ศาลจำจะต้องพิจารณาวินิจฉัยเฉพาะแต่ในข้อประเด็นที่คู่ความอ้างอิงยกขึ้นเป็นสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาอันปรากฏตามฟ้องและคำให้การเท่านั้น
ตามฟ้อง โจทก์กล่าวอ้างว่า นายฟูจิโอ ผู้จัดการสาขาในประเทศไทย ได้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีในนามบริษัทโจทก์ในญี่ปุ่นได้ โดยมีหนังสือมอบอำนาจเป็นหลักฐาน จะได้อ้างส่งศาลวันพิจารณา นายฟูจิโอมิได้อ้างว่าตนเป็นตัวแทนรับมอบอำนาจทั่วไปและมีกรณีฉุกเฉินเพื่อป้องกันความเสียหายของบริษัทโจทก์แต่อย่างไรเลย ต่อมาภายหลังที่จำเลยให้การตัดฟ้องและร้องขอให้ศาลวินิจฉัยเบื้องต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 แล้วทนายโจทก์จะอ้างหนังสือมอบอำนาจของบริษัทโจทก์ซึ่งเพิ่งมอบอำนาจขึ้นภายหลังวันที่นายฟูจิโอแต่งทนายยื่นฟ้องศาลแล้ว 9 วันมาเพื่อแสดงว่านายฟูจิโอมีอำนาจแต่งทนายยื่นฟ้องแทนบริษัทโจทก์หาได้ไม่ และกรณีเช่นว่านี้หาเป็นกรณีฉุกเฉินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 802 ไม่ เพราะการรู้ว่าบริษัทจะต้องเสียหายด้วยการเสียภาษีนั้น สาขาบริษัทได้รู้นับแต่วันรับแจ้งการประเมินแล้ว มีเวลาเพียงพอตามประมวลรัษฎากรที่จะจัดการให้ได้รับมอบอำนาจให้กระทำการยื่นฟ้องต่อศาลได้ถ้าบริษัทโจทก์เห็นว่าการเรียกเก็บภาษีไม่ถูกต้องและติดใจจะยื่นฟ้องต่อศาลเมื่อการอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากรไม่สำเร็จ
การที่นายฟูจิโอแต่งทนายยื่นฟ้องต่อศาลแล้ว 9 วัน บริษัทโจทก์จึงได้ทำการมอบอำนาจให้นายฟูจิโอทำการยื่นฟ้องต่อศาลแทนบริษัทได้ ทั้งได้ให้สัตยาบันการกระทำที่แล้วมานั้นด้วย ก็ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องอันชอบด้วยวิธีพิจารณา เพราะเมื่อนายฟูจิโอไม่มีอำนาจแต่งทนายยื่นฟ้องแทนบริษัทในเวลาที่ยื่นฟ้องนั้นแล้วฟ้องของโจทก์ก็ไม่เป็นฟ้องอันชอบด้วยวิธีพิจารณามาแต่แรก ไม่มีทางใดๆ ที่ศาลจะรับฟ้องไว้พิจารณามาแต่ต้น แม้จะได้มีการรับรองหรือให้สัตยาบันในภายหลังต่อมา ก็หากระทำให้ฟ้องที่เสียใช้ไม่ได้แล้วนั้นกลับคืนดีมาเป็นฟ้องอันชอบด้วยวิธีพิจารณาในภายหลังได้ไม่ (อ้างฎีกาที่ 723-724/2502 ซึ่งวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2502)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1281/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ของตัวแทนบริษัทที่เลิกกิจการและการให้สัตยาบันโดยผู้ชำระบัญชี
บริษัทจำกัดที่ฮ่องกงมีมติให้เลิกบริษัทและตั้งผู้ชำระบัญชีเมื่อวันที่ 8 เม.ย.2495 ส่วนสาขาในประเทศไทยได้จดทะเบียนเลิกกิจการเมื่อ พ.ศ.2496 ในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวต้องถือว่า สาขาในประเทศไทยยังคงดำเนินกิจการในฐานะเป็นตัวแทนของบริษัทจำกัดที่ฮ่องกงนั้นอยู่ ถ้าเป็นเวลาก่อนที่สาขาในประเทศไทยได้ไปจดทะเบียนเลิกกิจการ นายจูกงซี ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากบริษัทที่ฮ่องกงให้เป็นผู้จัดการสาขาในประเทศไทย ก่อนบริษัทเลิกและให้ชำระบัญชี ย่อมมีอำนาจโดยสมบูรณ์ที่จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายในฐานะยังเป็นตัวแทนของบริษัทจำกัดที่ฮ่องกงนั้นอยู่
แต่ถึงแม้ว่าในขณะที่นายจูกงซียื่นคำขอรับชำระหนี้ภายหลังที่สาขาในประเทศไทยได้เลิกกิจการไปแล้ว อันเป็นผลให้การยื่นคำขอรับชำระหนี้ของนายจูกงซีเป็นการกระทำโดยปราศจากอำนาจ เพราะเหตุที่บริษัทจำกัดที่ฮ่องกงได้เลิกกิจการและตั้งผู้ชำระบัญชีขึ้นแล้วด้วยก็ดี แต่ผู้ชำระบัญชีก็ได้มีหนังสือแต่งตั้งให้นายจูกงซีมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทซ้ำมาอีก เป็นการให้สัตยาบันแก่การที่นายจูกงซียื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้ก่อนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลแพ่งจะได้มีคำสั่งในเรื่องนี้ คำขอรับชำระหนี้ของนายจูกงซีย่อมไม่เสียไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1281/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจยื่นคำขอรับชำระหนี้หลังเลิกบริษัท: การให้สัตยาบันโดยผู้ชำระบัญชีทำให้คำขอรับชำระหนี้ไม่เสียไป
บริษัทจำกัดที่ฮ่องกงมีมติให้เลิกบริษัทและตั้งผู้ชำระบัญชีเมื่อวันที่ 8 เม.ย. 2495 ส่วนสาขาในประเทศไทยได้จดทะเบียนเลิกกิจการเมื่อ พ.ศ.2496 ในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวต้องถือว่า สาขาในประเทศไทยยังคงดำเนินกิจการในฐานะเป็นตัวแทนของบริษัทจำกัดที่ฮ่องกงนั้นอยู่ ถ้าเป็นเวลาก่อนที่สาขาในประเทศไทยได้ไปจดทะเบียนเลิกกิจการ นายจูกงซี ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากบริษัทที่ฮ่องกงให้เป็นผู้จัดการสาขาในประเทศไทยก่อนบริษัทเลิกและให้ชำระบัญชี ย่อมมีอำนาจโดยสมบูรณ์ที่จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ในฐานะยังเป็นตัวแทนของบริษัทจำกัดที่ฮ่องกงนั้นอยู่
แต่ถึงแม้ว่าในขณะที่นายจูกงซียื่นคำขอรับชำระหนี้ภายหลังที่สาขาในประเทศไทยได้เลิกกิจการไปแล้ว อันเป็นผลให้การยื่นคำขอรับชำระหนี้ของนายจูกงซีเป็นการกระทำโดยปราศจากอำนาจเพราะเหตุที่บริษัทจำกัดที่ฮ่องกงได้เลิกกิจการและตั้งผู้ชำระบัญชีขึ้นแล้วด้วยก็ดี แต่ผู้ชำระบัญชีก็ได้มีหนังสือแต่งตั้งให้นายจูกงซีมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทซ้ำมาอีก เป็นการให้สัตยาบันแก่การที่นายจูกงซียื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้ก่อนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลแพ่งจะได้มีคำสั่งในเรื่องนี้ คำขอรับชำระหนี้ของนายจูกงซีย่อมไม่เสียไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1799/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจของผู้จัดการร้าน: เจ้าของร้านต้องรับผิดชอบการจำนำทรัพย์สินของร้านโดยผู้จัดการ
ผู้จัดการร้านซึ่งทำการขายเครื่องเพ็ชรและทองได้นำเครื่องเพ็ชรและทองไปจำนำผู้อื่นเอาเงินมาใช้ในร้าน ในระหว่างที่เจ้าของร้านไปต่างประเทศเสียชั่วคราว และได้นำเงินนั้นเข้าบัญชีในร้าน ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าผู้จัดการมิได้ทำนอกเหนืออำนาจอย่างใด อันจะทำให้เจ้าของร้านไม่ต้องรับผิด บุคคลภายนอกผู้รับจำนำย่อมมีสิทธิฟ้องให้เจ้าของร้านชำระหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1799/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้จัดการร้านจำนำทรัพย์สินของเจ้าของร้าน: เจ้าของร้านต้องรับผิดหากผู้จัดการกระทำการภายในขอบเขตอำนาจ
ผู้จัดการร้านซึ่งทำการขายเครื่องเพชรและทองได้นำเครื่องเพชรและทองไปจำนำผู้อื่นเอาเงินมาใช้ในร้าน ในระหว่างที่เจ้าของร้านไปต่างประเทศเสียชั่วคราว และได้นำเงินนั้นเข้าบัญชีในร้าน ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าผู้จัดการมิได้ทำนอกเหนืออำนาจอย่างใด อันจะทำให้เจ้าของร้านไม่ต้องรับผิด บุคคลภายนอกผู้รับจำนำย่อมมีสิทธิฟ้องให้เจ้าของร้านชำระหนี้ได้
of 2