พบผลลัพธ์ทั้งหมด 81 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7370/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างโดยเชื่อคำสั่งของเจ้าพนักงาน ย่อมได้รับการยกเว้นโทษฐานบุกรุก
โจทก์ครอบครองเพิงไม้ที่ปลูกอยู่ติดกับข้างอาคารพาณิชย์ที่จำเลยที่ 1 เช่าจากเทศบาลตำบลปากช่อง ซึ่งเทศบาลตำบลปากช่องแจ้งให้ภริยาโจทก์รื้อถอนเพิงไม้ดังกล่าว แต่ภริยาโจทก์อ้างว่าไม่ได้เป็นเจ้าของเพิงไม้นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลปากช่องจึงสั่งให้จำเลยที่ 1 รื้อถอนเพิงไม้ จำเลยที่ 1 เชื่อว่าคำสั่งนั้นเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายและมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม ดังนั้นแม้การที่จำเลยที่ 1 กับพวกรื้อถอนเพิงไม้จะเป็นความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ.มาตรา 365 (2) ประกอบมาตรา 362 ก็ตาม จำเลยที่ 1 ก็ย่อมได้รับยกเว้นโทษตาม ป.อ. มาตรา 70
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6344/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทำให้เสียทรัพย์ แม้จะอ้างคำสั่งนายอำเภอ ก็ต้องรับผิดตามกฎหมาย
นายอำเภอขอความร่วมมือจากประชาชนให้ร่วมกันพัฒนาบริเวณที่เกิดเหตุ จำเลยที่ 2 ได้ตัดฟันต้นไม้ของโจทก์ในบริเวณนั้นโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นของโจทก์ทั้งจำเลยที่ 2 เคยตัดฟันต้นไม้ของโจทก์มาก่อนจนถูกฟ้องมาแล้วครั้งหนึ่ง แสดงว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาทำให้ทรัพย์ของโจทก์เสียหาย การที่นายอำเภอขอความร่วมมือดังกล่าว เป็นแต่เพียงคำแนะนำ จำเลยที่ 2 จะกระทำหรือไม่กระทำตามก็ได้ มิได้มีลักษณะเป็นคำสั่งตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 70 อันจะทำให้จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับโทษ การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6344/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทำให้เสียทรัพย์ แม้ได้รับคำแนะนำจากนายอำเภอ ก็ไม่ถือเป็นเหตุให้ไม่ต้องรับโทษ
นายอำเภอขอความร่วมมือจากประชาชนให้ร่วมกันพัฒนาบริเวณที่เกิดเหตุ จำเลยที่ 2 ได้ฟันตัดไม้ของโจทก์ในบริเวณนั้นโดยรู้อยู่แล้วว่า เป็นของโจทก์ทั้งจำเลยที่ 2 เคยตัดฟันต้นไม้ของโจทก์มาก่อนจนถูกฟ้องมาแล้วครั้งหนึ่ง แสดงว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาทำให้ทรัพย์ของโจทก์เสียหาย การที่นายอำเภอขอความร่วมมือดังกล่าวเป็นแต่เพียงคำแนะนำจำเลยที่ 2 จะกระทำหรือไม่กระทำตามก็ได้มิได้มีลักษณะเป็นคำสั่งตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 70อันจะทำให้จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับโทษ การกระทำของจำเลยที่ 2จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 300/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติหน้าที่มิชอบช่วยเหลือผู้กระทำผิดตัดไม้ในเขตป่าสงวน มีความผิดตามมาตรา 200
จำเลยที่ 1 เป็นนายอำเภอ จึงเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2และเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติซึ่งเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาด้วยในการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดเกี่ยวกับป่าสงวนแห่งชาติจำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจสืบสวนสอบสวนความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ ความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ หรือความผิดอาญาอื่นใดที่เกิดขึ้นภายในเขตอำนาจของตนได้ระเบียบของกระทรวงมหาดไทยที่ให้ตำรวจเป็นผู้ทำการสอบสวนฝ่ายเดียวนั้นเป็นแต่ระเบียบภายในกระทรวง หาได้ลบล้างอำนาจตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ไม่ จำเลยที่ 1 เป็นผู้ไปจับกุมผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติ ป่าไม้และพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติด้วยตนเองได้ทั้งผู้ต้องหาและไม้กับรถยนต์มาเป็นของกลาง การที่จำเลยที่ 1 สั่งให้สิบตำรวจเอกพ. ทำบันทึกว่าได้แต่ไม้ของกลางอย่างเดียว แสดงว่าจำเลยที่ 1 ประสงค์จะช่วยผู้กระทำความผิดไม่ให้ต้องรับโทษและในการที่เจ้าหน้าที่ตำรวจปล่อยผู้ต้องหาไปนั้น จำเลยที่ 1 ได้เป็นผู้สั่งการและรู้เห็นด้วย การกระทำของจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200 จำเลยที่ 2 เป็นป่าไม้อำเภอ ได้ร่วมไปจับกุมผู้ต้องหากับจำเลยที่ 1 ด้วย ชั้นแรกจำเลยที่ 2 ได้ให้สิบตำรวจเอก พ. เขียนบันทึกการจับกุมว่าได้ผู้ต้องหา 7 คน แต่ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้สั่งให้ทำบันทึกการจับกุมขึ้นใหม่ว่าจับผู้ต้องหาไม่ได้เลย และให้ผู้ร่วมจับกุมรวมทั้งจำเลยที่ 2 ลงชื่อไว้ การที่จำเลยที่ 2 ยอมลงชื่อในบันทึกการจับกุมฉบับหลังนั้น จำเลยที่ 2 ย่อมทราบอยู่แล้วว่าบันทึกฉบับนี้ทำขึ้นฝ่าฝืนต่อความจริงเพื่อจะช่วยเหลือผู้ต้องหาที่ถูกจับมิให้ต้องรับโทษ จำเลยที่ 2 ทราบดีว่าคำสั่งของจำเลยที่ 1 เป็นคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 2 จะอ้างว่ากระทำตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาหาได้ไม่ จำเลยที่ 2 ย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200 เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 ด้วย ทั้งจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นสารวัตรปกครองป้องกัน และจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนต่างทราบแล้วว่า ผู้ต้องหาทั้ง 7 คนที่ถูกจับมาต้องหาว่ากระทำผิดฐานลักลอบตัดไม้ในป่า แต่แทนที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 จะดำเนินคดีแก่ผู้ต้องหาในข้อหาดังกล่าว จำเลยที่ 3 กลับตั้งข้อกล่าวหาแก่ผู้ต้องหาเหล่านี้ว่ากระทำผิดฐานขับขี่รถยนต์ไม่มีใบอนุญาตขับขี่และไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนติดตัวและให้จำเลยที่ 4 ทำการเปรียบเทียบปรับแล้วปล่อยผู้ต้องหาและรถของกลางไป การกระทำของจำเลยที่ 3 และที่ 4จึงเป็นการกระทำการในตำแหน่งอันเป็นการมิชอบเพื่อจะช่วยเหลือผู้กระทำผิดมิให้ต้องรับโทษ จำเลยที่ 3 ที่ 4 จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200 และที่จำเลยที่ 3ที่ 4 อ้างว่าปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชานั้นเมื่อคำสั่งของผู้บังคับบัญชาในเรื่องนี้มิใช่คำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายซึ่งจำเลยที่ 3 ที่ 4 ทราบดีอยู่แล้วจึงจะอ้างมาเป็นเหตุยกเว้นโทษหาได้ไม่ จำเลยที่ 5 เป็นสารวัตรใหญ่ซึ่งทราบดีว่าในการจับกุมผู้ลักลอบตัดไม้รายนี้ นอกจากไม้แล้วยังได้ตัวผู้ต้องหาและได้รถยนต์บรรทุกไม้มาเป็นของกลางด้วย แต่จำเลยที่ 5กลับบิดเบือนข้อเท็จจริงว่าไม่มีผู้กระทำผิดและให้มีการเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาในข้อหาอื่นที่มิใช่ข้อหาเกี่ยวกับการลักลอบตัดไม้ และเป็นผู้สรุปความเห็นให้งดการสอบสวนเสนอต่อผู้กำกับการตำรวจว่าจับไม้ไม่ได้ตัวผู้กระทำผิด ได้แต่ไม้ของกลาง การกระทำของจำเลยที่ 5 ดังกล่าวจึงเป็นการร่วมกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ช่วยเจ้าของรถยนต์เจ้าของไม้ และช่วยผู้ต้องหาที่ถูกจับมิให้ต้องรับโทษหรือรับโทษน้อยลงอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานละเว้นหน้าที่, แจ้งความเท็จ, และการกระทำโดยทุจริตต่อหน้าที่
จำเลยเป็นกำนัน ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการโครงการสร้างถนนเข้าหมู่บ้าน เป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ฯ การที่จำเลยเบิกเงินต่อผู้ว่าราชการจังหวัดผ่านนายอำเภอ เพื่อจ่ายแก่ผู้รับเหมาทำถนนในขณะที่ถนนยังไม่เสร็จ แต่เบิกมาเพื่อจะจ่ายให้ผู้รับเหมาทำงานต่อไปได้และจำเลยจ่ายเงินแก่ผู้รับเหมาไปแล้วนั้น แม้ข้ออ้างของจำเลยที่ว่าทำตามคำแนะนำของนายอำเภอและไม่เป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องรับโทษ แต่ก็แสดงว่าจำเลยกระทำไปโดยขาดเจตนาที่จะแจ้งความเท็จแก่เจ้าพนักงาน จึงไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จและเหตุดังกล่าวเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องถึงจำเลยคนอื่นซึ่งคดีถึงที่สุดแล้วได้
เมื่อจำเลยรับเงินมาจ่ายให้ผู้รับเหมาแล้วได้ละเว้นไม่ดำเนินการให้ผู้รับเหมาทำงานต่อไปให้เสร็จตามสัญญา เป็นการทำให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย โดยผู้รับเหมาได้รับเงินมากกว่าที่ควรจะได้ จึงเป็นการกระทำโดยทุจริต เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
เมื่อจำเลยรับเงินมาจ่ายให้ผู้รับเหมาแล้วได้ละเว้นไม่ดำเนินการให้ผู้รับเหมาทำงานต่อไปให้เสร็จตามสัญญา เป็นการทำให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย โดยผู้รับเหมาได้รับเงินมากกว่าที่ควรจะได้ จึงเป็นการกระทำโดยทุจริต เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1562/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้เสียหายในคดีอาญา: การพิสูจน์ความเสียหายโดยตรงและการมีส่วนร่วมกระทำผิด
โจทก์ที่ 1 ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาล ได้มีคำสั่งให้โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ช่วยพยาบาลทำหน้าที่เบิกจ่ายเงินค่าอาหารคนไข้และเก็บรักษาเงินสะสมโรงพยาบาล และให้ลงรายการจำนวนของและจำนวนเงินเกินกว่าที่จ่ายไปจริง อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่มิชอบ และโดยทุจริต ดังนี้ เมื่อตามฟ้องของโจทก์แสดงออกแจ้งชัดว่าโจทก์ที่ 1 ได้ร่วมกระทำผิดด้วยกับจำเลยที่ 1 และตนจะแก้ตัวอ้างความจำเป็นในฐานะผู้ใต้บังคับบัญชาที่จำต้องปฏิบัติตามคำสั่งที่ตนรู้อยู่ว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้บังคับบัญชาไม่ได้ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ที่จะมีอำนาจฟ้องคดีขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 157 ประมวลกฎหมายอาญาได้
ตามฟ้องโจทก์ที่ 2 กล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาล เอาหน้าที่ของโจทก์ที่ 2 ไปให้โจทก์ที่ 1 ทำบ้าง จำเลยที่ 2 ทำบ้าง และเป็นการกระทำโดยมิชอบและโดยทุจริต เป็นเหตุให้โจทก์ที่ 2 เสียหาย เมื่อการมอบหมายงานอยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่จะสั่งได้ และโจทก์ที่ 2 ซึ่งมิใช่เป็นผู้กระทำหรือละเว้นกระทำ จึงหาจำต้องรับผิดในความเสียหายนั้นแต่อย่างใดไม่ โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องคดีขอให้ลงโทษจำเลยอันเป็นความผิดตามมาตรา 267,268 ประมวลกฎหมายอาญาได้
ตามฟ้องโจทก์ที่ 2 กล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาล เอาหน้าที่ของโจทก์ที่ 2 ไปให้โจทก์ที่ 1 ทำบ้าง จำเลยที่ 2 ทำบ้าง และเป็นการกระทำโดยมิชอบและโดยทุจริต เป็นเหตุให้โจทก์ที่ 2 เสียหาย เมื่อการมอบหมายงานอยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่จะสั่งได้ และโจทก์ที่ 2 ซึ่งมิใช่เป็นผู้กระทำหรือละเว้นกระทำ จึงหาจำต้องรับผิดในความเสียหายนั้นแต่อย่างใดไม่ โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องคดีขอให้ลงโทษจำเลยอันเป็นความผิดตามมาตรา 267,268 ประมวลกฎหมายอาญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1562/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้ร่วมกระทำผิดและผู้เสียหายที่แท้จริง
โจทก์ที่ 1 ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งรักษาการในตำแหน่งผู้อำนายการโรงพยาบาล ได้มีคำสั่งให้โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ช่วยพยาบาลทำหน้าที่เบิกจ่ายค่าอาหารคนไข้และเก็บรักษาเงินสะสมโรงพยาบาล และให้รายการจำนวนของและจำนวนเงินเกินกว่าที่จ่ายไปจริง อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่มิชอบ และโดยทุจริต ดังนี้ เมื่อตามฟ้องของโจทก์แสดงออกแจ้งชัดว่าโจทก์ที่ 1 ได้ร่วมกระทำผิดด้วยกับจำเลยที่ 1 และตนจะแก้ตัวอ้างความจำเป็นในฐานะผู้ใต้บังคับบัญชาที่จำต้องปฏิบัติตามคำสั่งที่ตนรู้อยู่ว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้บังคับบัญชาไม่ได้ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องคดีขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 157 ประมวลกฎหมายอาญาได้
ตามฟ้องโจทก์ที่ 2 กล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลเอาหน้าที่ของโจทก์ที่ 2 ไปให้โจทก์ที่ 1 ทำบ้าง จำเลยที่ 2 ทำบ้าง และเป็นการกระทำโดยมิชอบและโดยทุจริต เป็นเหตุให้โจทก์ที่ 2 เสียหาย เมื่อการมอบหมายงานอยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่จะสั่งได้ และโจทก์ที่ 2 ซึ่งมิใช่เป็นผู้กระทำผิดหรือละเว้นกระทำ จึงหาจำต้องรับผิดในความเสียหายนั้นแต่อย่างใดไม่ โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องคดีขอให้ลงโทษจำเลยอันเป็นความผิดตามมาตรา 267,268 ประมวลกฎหมายอาญาได้
ตามฟ้องโจทก์ที่ 2 กล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลเอาหน้าที่ของโจทก์ที่ 2 ไปให้โจทก์ที่ 1 ทำบ้าง จำเลยที่ 2 ทำบ้าง และเป็นการกระทำโดยมิชอบและโดยทุจริต เป็นเหตุให้โจทก์ที่ 2 เสียหาย เมื่อการมอบหมายงานอยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่จะสั่งได้ และโจทก์ที่ 2 ซึ่งมิใช่เป็นผู้กระทำผิดหรือละเว้นกระทำ จึงหาจำต้องรับผิดในความเสียหายนั้นแต่อย่างใดไม่ โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องคดีขอให้ลงโทษจำเลยอันเป็นความผิดตามมาตรา 267,268 ประมวลกฎหมายอาญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1562/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาโดยผู้ไม่เป็นผู้เสียหาย และความรับผิดของผู้ถูกกล่าวหาตามหน้าที่
โจทก์ที่ 1 ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาล. ได้มีคำสั่งให้โจทก์ที่ 1ซึ่งเป็นผู้ช่วยพยาบาลทำหน้าที่เบิกจ่ายเงินค่าอาหารคนไข้และเก็บรักษาเงินสะสมโรงพยาบาล และให้ลงรายการจำนวนของและจำนวนเงินเกินกว่าที่จ่ายไปจริง อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่มิชอบ และโดยทุจริต. ดังนี้ เมื่อตามฟ้องของโจทก์แสดงออกแจ้งชัดว่าโจทก์ที่ 1 ได้ร่วมกระทำผิดด้วยกับจำเลยที่ 1 และตนจะแก้ตัวอ้างความจำเป็นในฐานะผู้ใต้บังคับบัญชาที่จำต้องปฏิบัติตามคำสั่งที่ตนรู้อยู่ว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้บังคับบัญชาไม่ได้.โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย.ที่จะมีอำนาจฟ้องคดีขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 157 ประมวลกฎหมายอาญาได้.
ตามฟ้องโจทก์ที่ 2 กล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาล.เอาหน้าที่ของโจทก์ที่ 2 ไปให้โจทก์ที่ 1 ทำบ้าง จำเลยที่ 2 ทำบ้าง และเป็นการกระทำโดยมิชอบและโดยทุจริต เป็นเหตุให้โจทก์ที่ 2เสียหาย. เมื่อการมอบหมายงานอยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่จะสั่งได้. และโจทก์ที่ 2 ซึ่งมิใช่เป็นผู้กระทำหรือละเว้นกระทำ. จึงหาจำต้องรับผิดในความเสียหายนั้นแต่อย่างใดไม่. โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องคดีขอให้ลงโทษจำเลยอันเป็นความผิดตามมาตรา 267,268 ประมวลกฎหมายอาญาได้.
ตามฟ้องโจทก์ที่ 2 กล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาล.เอาหน้าที่ของโจทก์ที่ 2 ไปให้โจทก์ที่ 1 ทำบ้าง จำเลยที่ 2 ทำบ้าง และเป็นการกระทำโดยมิชอบและโดยทุจริต เป็นเหตุให้โจทก์ที่ 2เสียหาย. เมื่อการมอบหมายงานอยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่จะสั่งได้. และโจทก์ที่ 2 ซึ่งมิใช่เป็นผู้กระทำหรือละเว้นกระทำ. จึงหาจำต้องรับผิดในความเสียหายนั้นแต่อย่างใดไม่. โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องคดีขอให้ลงโทษจำเลยอันเป็นความผิดตามมาตรา 267,268 ประมวลกฎหมายอาญาได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1601/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมและการพิสูจน์ข้อเท็จจริง: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิมเมื่อไม่มีการฟังข้อเท็จจริงนอกสำนวน
ศาลชั้นต้นฟังว่า "ฯลฯ ขณะจับก็ยังพบ(โจทก์)คาดเข็มขัดตำรวจและมีนาฬิกาข้อมือที่ตามวิทยุว่าถูกลักมาอยู่ด้วยดังนี้ โจทก์ย่อมจะต้องถูกจับอยู่เองเป็นธรรมดา" ดังนี้ แม้นาฬิกาที่จับได้จากโจทก์เป็นยี่ห้อวิลน่า ส่วนตามวิทยุสั่งจับนั้นเป็นยี่ห้อฮอนซ่าก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นเพียงแต่ฟังว่า จำเลยพบโจทก์มีนาฬิกาข้อมือตรงกับที่วิทยุว่านาฬิกาข้อมือเป็นของที่ถูกลัก อันเป็นข้อสังเกตเบื้องต้นประกอบข้อพิรุธอื่น ๆ ของโจทก์ ซึ่งเป็นเหตุให้จำเลยเชื่อว่าโจทก์เป็นพลตำรวจสำเริงซึ่งต้องหาว่าลักนาฬิกาข้อมือเท่านั้น ศาลชั้นต้นมิได้ฟังเลยไปถึงว่านาฬิกาที่โจทก์ใส่อยู่นั้นเป็นของร้าย อันเป็นของกลางที่จับได้จากโจทก์อย่างใด หาเป็นการฟังข้อเท็จจริงนอกสำนวนไม่
จำเลยเข้าใจว่า คำสั่งของร้อยตำรวจเอกสุรพลผู้ทำการแทนผู้กำกับที่สั่งให้จำเลยไปจับกุมโจทก์นั้นเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้วิทยุสั่งจับมิได้มีข้อความแสดงว่าได้ออกหมายจับแล้ว กรณีก็ต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 70 จำเลยไม่ต้องรับโทษ(อ้างฎีกาที่ 1135/2508)
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า " ฯลฯ ในเรื่องสาเหตุจำเลยที่ 2 ก็สามารถนำนางสาวน้อยหรือแมวมาเบิกความแสดงความบริสุทธิ์ได้อีกว่า แท้จริงจำเลยกับนางสาวน้อยหรือแมวไม่ได้เคยรู้จักกันเลย ฯลฯ " ดังนี้ เมื่อนางสาวน้อยหรือแมวซึ่งจำเลยนำสืบเบิกความว่าไม่เคยรู้จักจำเลยที่ 2 มาก่อน คดีจึงมีคำพยานสนับสนุนให้ศาลชั้นต้นฟังว่านางสาวแมวไม่รู้จักจำเลยที่ 2 มาก่อนไม่เป็นการฟังข้อเท็จจริงนอกสำนวน
จำเลยเข้าใจว่า คำสั่งของร้อยตำรวจเอกสุรพลผู้ทำการแทนผู้กำกับที่สั่งให้จำเลยไปจับกุมโจทก์นั้นเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้วิทยุสั่งจับมิได้มีข้อความแสดงว่าได้ออกหมายจับแล้ว กรณีก็ต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 70 จำเลยไม่ต้องรับโทษ(อ้างฎีกาที่ 1135/2508)
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า " ฯลฯ ในเรื่องสาเหตุจำเลยที่ 2 ก็สามารถนำนางสาวน้อยหรือแมวมาเบิกความแสดงความบริสุทธิ์ได้อีกว่า แท้จริงจำเลยกับนางสาวน้อยหรือแมวไม่ได้เคยรู้จักกันเลย ฯลฯ " ดังนี้ เมื่อนางสาวน้อยหรือแมวซึ่งจำเลยนำสืบเบิกความว่าไม่เคยรู้จักจำเลยที่ 2 มาก่อน คดีจึงมีคำพยานสนับสนุนให้ศาลชั้นต้นฟังว่านางสาวแมวไม่รู้จักจำเลยที่ 2 มาก่อนไม่เป็นการฟังข้อเท็จจริงนอกสำนวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1601/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมและการพิสูจน์ข้อเท็จจริง: เหตุอันควรเชื่อและขอบเขตการวินิจฉัยของศาล
ศาลชั้นต้นฟังว่า "ฯลฯ ขณะจับก็ยังพบ (โจทก์) คาดเข็มขัดตำรวจและมีนาฬิกาข้อมือที่ตามวิทยุว่าถูกลักมาอยู่ด้วย ดังนี้ โจทก์ย่อมจะต้องถูกจับอยู่เองเป็นธรรมดา" ดังนี้ แม้นาฬิกาที่จับได้จากโจทก์เป็นยี่ห้อวิลน่าส่วนตามวิทยุสั่งจับนั้นเป็นยี่ห้อฮอนซ่าก็ตามก็เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นเพียงแต่ฟังว่า จำเลยพบโจทก์มีนาฬิกาข้อมือตรงกับที่วิทยุว่านาฬิกาข้อมือเป็นของที่ถูกลัก อันเป็นข้อสังเกตเบื้องต้นประกอบข้อพิรุธอื่นๆ ของโจทก์ ซึ่งเป็นเหตุให้จำเลยเชื่อว่าโจทก์เป็นพลตำรวจสำเริงซึ่งต้องหาว่าลักนาฬิกาข้อมือเท่านั้น ศาลชั้นต้นมิได้ฟังเลยไปถึงว่านาฬิกาที่โจทก์ใส่อยู่นั้นเป็นของร้าน อันเป็นของกลางที่จับได้จากโจทก์อย่างใดหาเป็นการฟังข้อเท็จจริงนอกสำนวนไม่
จำเลยเข้าใจว่า คำสั่งของร้อยตำรวจเอกสุรพลผู้ทำการแทนผู้กำกับที่สั่งให้จำเลยไปจับกุมโจทก์นั้นเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้วิทยุสั่งจับมิได้มีข้อความแสดงว่าได้ออกหมายจับแล้ว กรณีก็ต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 70 จำเลยไม่ต้องรับโทษ(อ้างฎีกาที่ 1135/2508)
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า "ฯลฯ ในเรื่องสาเหตุจำเลยที่ 2 ก็สามารถนำนางสาวน้อยหรือแมวมาเบิกความแสดงความบริสุทธิ์ได้อีกว่า แท้จริงจำเลยกับนางสาวน้อยหรือแมวไม่ได้เคยรู้จักกันเลย ฯลฯ" ดังนี้ เมื่อนางสาวน้อยหรือแมวซึ่งจำเลยนำสืบเบิกความว่าไม่เคยรู้จักจำเลยที่ 2 มาก่อน คดีจึงมีคำพยานสนับสนุนให้ศาลชั้นต้นฟังว่านางสาวแมวไม่รู้จักจำเลยที่ 2 มาก่อน ไม่เป็นการฟังข้อเท็จจริงนอกสำนวน
จำเลยเข้าใจว่า คำสั่งของร้อยตำรวจเอกสุรพลผู้ทำการแทนผู้กำกับที่สั่งให้จำเลยไปจับกุมโจทก์นั้นเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้วิทยุสั่งจับมิได้มีข้อความแสดงว่าได้ออกหมายจับแล้ว กรณีก็ต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 70 จำเลยไม่ต้องรับโทษ(อ้างฎีกาที่ 1135/2508)
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า "ฯลฯ ในเรื่องสาเหตุจำเลยที่ 2 ก็สามารถนำนางสาวน้อยหรือแมวมาเบิกความแสดงความบริสุทธิ์ได้อีกว่า แท้จริงจำเลยกับนางสาวน้อยหรือแมวไม่ได้เคยรู้จักกันเลย ฯลฯ" ดังนี้ เมื่อนางสาวน้อยหรือแมวซึ่งจำเลยนำสืบเบิกความว่าไม่เคยรู้จักจำเลยที่ 2 มาก่อน คดีจึงมีคำพยานสนับสนุนให้ศาลชั้นต้นฟังว่านางสาวแมวไม่รู้จักจำเลยที่ 2 มาก่อน ไม่เป็นการฟังข้อเท็จจริงนอกสำนวน