พบผลลัพธ์ทั้งหมด 40 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเครื่องหมายการค้า: จำเลยต้องรู้ว่าสินค้าปลอมเลียนเครื่องหมายการค้า โจทก์ต้องพิสูจน์ความรู้ของจำเลย
การกระทำที่จะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 110 (1) ผู้กระทำต้องรู้ว่าสินค้าที่ตนนำเข้ามาในราชอาณาจักร จำหน่าย เสนอจำหน่าย หรือมีไว้เพื่อจำหน่าย เป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยรู้ว่าสินค้าของกลางที่จำเลยเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร แต่เมื่อพิจารณาพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบคงได้ความเพียงว่า ตามวันและเวลาเกิดเหตุในฟ้อง พันตำรวจตรี ช. ได้รับแจ้งจาก บ. ผู้รับมอบอำนาจช่วงผู้เสียหายว่า ที่ร้าน ว. มีการนำสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรมาเสนอจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป พันตำรวจตรี ช. และ บ. กับพวก จึงนำหมายค้นของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเข้าตรวจค้นที่ร้านดังกล่าว พบว่าจำเลยเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าของกลางที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร จึงจับกุมจำเลยและยึดของกลางส่งพนักงานสอบสวน แต่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงจากทางนำสืบของโจทก์เลยว่า จำเลยรู้ว่าสินค้าของกลางเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร กลับได้ความจาก บ. ผู้รับมอบอำนาจช่วงผู้เสียหายให้การว่า สินค้าของผู้เสียหายยังไม่มีการจำหน่ายในประเทศไทย คงมีจำหน่ายเฉพาะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นเท่านั้น โดยผู้เสียหายยังไม่ได้มอบหมายให้ตัวแทนรายใดเป็นตัวแทนในการจำหน่ายสินค้าในประเทศไทย อันแสดงได้ว่าเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายยังไม่ได้เป็นที่แพร่หลายในประเทศไทย ซึ่งในส่วนนี้จำเลยนำสืบต่อสู้ว่า เครื่องหมายที่ติดบนสินค้าของกลางเป็นสัญลักษณ์ไม้กางเขน จำเลยเชื่อโดยสุจริตว่าเป็นเครื่องหมายที่บุคคลใดก็สามารถนำไปใช้ได้ สอดคล้องกับที่จำเลยให้การปฏิเสธในชั้นสอบสวนโดยอ้างว่า จำเลยซื้อสินค้าของกลางมาเพื่อขายต่อ โดยไม่ทราบว่าเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น และจำเลยยังมีบาทหลวง ท. เจ้าอาวาสวัด น. เป็นพยานเบิกความว่า เครื่องหมายการค้าตามฟ้องเป็นรูปกางเขนของศาสนาคริสต์ โดยโจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่ได้เป็นผู้ทำปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าด้วยตนเอง และการที่เครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายยังไม่ได้เป็นที่แพร่หลายในประเทศไทย ประกอบกับการที่เครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายมีลักษณะใกล้เคียงกับไม้กางเขนในศาสนาคริสต์ แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์จะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแล้ว ก็อาจเป็นไปได้ที่ประชาชนหรือผู้ขายสินค้าทั่วไปจะไม่รู้จักเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหาย และอาจเข้าใจได้ว่าเครื่องหมายการค้าที่ปรากฏบนสินค้าของกลางเป็นไม้กางเขนในศาสนาคริสต์ซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถใช้ได้ พยานหลักฐานโจทก์เท่าที่นำสืบมายังมีความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยรู้หรือไม่ว่าสินค้าของกลางที่จำเลยเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 40 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2461/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมแปลงเครื่องหมายการค้า HITACHI และจำหน่ายสินค้าเลียนแบบ ศาลฎีกาพิพากษากลับให้จำเลยมีความผิด
เมื่อพิจารณาฉลากสินค้า ของจำเลยทั้งสอง ในภาคส่วนคำว่า เปรียบเทียบกับเครื่องหมายการค้าคำว่า ของผู้เสียหาย แล้วจะเห็นได้ว่าเครื่องหมาย ของจำเลยทั้งสองมีสาระสำคัญอยู่ที่คำว่า HITACHI เหมือนกับเครื่องหมายการค้า ของผู้เสียหายทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบตัวอักษรและเสียงเรียกขาน ทั้งคำว่า HITACHI เป็นคำที่มีลักษณะเฉพาะตัว ไม่ใช่คำสามัญที่มีความหมายตามธรรมดาทั่วไป แม้เครื่องหมายของจำเลยทั้งสองที่ด้านหลังของคำว่า HITACHI จะมีเส้นบาง ๆ ต่อเฉียงออกไปทางขวามือ ในลักษณะที่ทำให้ตัวอักษรเป็นสามมิติ แต่ส่วนที่เพิ่มเติมดังกล่าวเป็นเพียงส่วนประกอบปลีกย่อยที่มองเห็นได้ยากและไม่ได้มีลักษณะโดดเด่นเพียงพอที่จะทำให้สาธารณชนแยกแยะความแตกต่างระหว่างเครื่องหมายของจำเลยทั้งสองและเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายได้ นอกจากนี้ ส่วนประกอบดังกล่าวไม่ได้ทำให้ภาคส่วนสาระสำคัญคำว่า HITACHI ในเครื่องหมายของจำเลยทั้งสองที่เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายเปลี่ยนแปลงหรือสูญเสียลักษณะความเหมือนกันกับเครื่องหมายการค้าคำว่า ของผู้เสียหายไป ภาคส่วนคำว่า HITACHI ในเครื่องหมายของจำเลยทั้งสองยังคงสภาพความเหมือนกับเครื่องหมายการค้าคำว่า ของผู้เสียหายอยู่ ดังนั้น เครื่องหมาย ของจำเลยทั้งสองจึงเป็นเครื่องหมายปลอมเครื่องหมายการค้า ของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตสติกเกอร์ ที่มีเครื่องหมาย รวมอยู่ด้วย แล้วนำไปติดที่สินค้าสายทองแดงที่หุ้มฉนวนของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสินค้าประเภทเดียวกับสินค้าที่ผู้เสียหายได้จดทะเบียนไว้แล้วเพื่อจำหน่ายแก่ลูกค้าของจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร และฐานร่วมกันจำหน่าย เสนอจำหน่าย หรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงของผู้เสียหายตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8995/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าไม่คล้ายกัน และไม่มีการใช้ชื่อ/รูป/รอยประดิษฐ์เดียวกัน การฟ้องร้องฐานละเมิด/เลียนแบบเครื่องหมายการค้าจึงไม่สำเร็จ
เมื่อเปรียบเทียบเครื่องหมายการค้า ของจำเลยทั้งสองกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามเครื่องหมายการค้า แล้ว เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีภาพวงกลมประดิษฐ์ขนาดเล็กอยู่เหนืออักษรโรมันคำว่า "genufood" และด้านล่างเป็นอักษรจีน ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองมีลักษณะเป็นภาพวงกลมประดิษฐ์ขนาดใหญ่มีเส้นผ่าศูนย์กลางและปลายเส้นรอบวงทั้งด้านบนและด้านล่างไม่ติดกัน ตรงกลางมีอักษรโรมันคำว่า "genufood" แม้จะมีอักษรโรมันเป็นคำเดียวกัน แต่เมื่อพิจารณาภาพรวมของเครื่องหมายการค้าทั้งสองเครื่องหมายแล้วจะเห็นได้ว่าแตกต่างกัน ทั้งจำเลยทั้งสองยังใช้กับสินค้าสบู่สมุนไพรผสมโสมไข่มุกและกาแฟขจัดปัญหาไขมันส่วนเกินซึ่งเป็นคนละจำพวกและรายการสินค้ากับสินค้าอาหารเสริมทำมาจากธัญพืชใช้บำรุงร่างกายตามเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองจึงไม่คล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 109 และเมื่อไม่เป็นความผิดตามมาตรา 109 แล้ว การที่จำเลยทั้งสองจำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายซึ่งสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นย่อมไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 110 (1) ประกอบมาตรา 109 ด้วย
องค์ประกอบความผิดของ ป.อ. มาตรา 272 (1) จะต้องเป็นการเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความใด ๆ ในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้ และมาตรา 275 เป็นการจำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายซึ่งสินค้าอันเป็นสินค้าที่มีชื่อ รูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความใด ๆ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 272 (1) โดยจะต้องเป็นการนำมาใช้ในชื่อหรือข้อความเดียวกันหรือในรูปรอยประดิษฐ์ที่ตั้งใจให้เหมือนกันในลักษณะปลอม ไม่ใช่เพียงแต่เลียนแบบ เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบเครื่องหมายการค้าของโจทก์คือ และ กับเครื่องหมายการค้า ของจำเลยทั้งสอง จะเห็นได้ว่าไม่เหมือนกัน จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองนำเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาใช้เป็นชื่อ รูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความใด ๆ ในการประกอบการค้าของจำเลยทั้งสอง การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272 (1) เมื่อไม่เป็นความผิดตามมาตรา 272 (1) แม้จำเลยทั้งสองจำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายซึ่งสินค้าดังกล่าว จำเลยทั้งสองก็ไม่มีความผิดตามมาตรา 275 ประกอบมาตรา 272 (1) อีกเช่นกัน
เครื่องหมายการค้าบนวัตถุพยานคือคำว่า "genufood" และมีคำว่า "VICTOR" กับเครื่องหมายคล้ายรวงข้าวประกอบ โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองได้ใช้เครื่องหมายการค้า ในการโฆษณาขายสินค้าซึ่งไม่ได้บรรยายฟ้องว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า "genugood" และมีคำว่า "VICTOR" เป็นการทำเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ใช้หรือทำให้ปรากฏเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่สินค้าของจำเลยทั้งสองและเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่สินค้าตามวัตถุพยานจึงเป็นข้อที่โจทก์ไม่ได้กล่าวมาในฟ้อง คำวินิจฉัยในส่วนนี้ของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงไม่ชอบ
องค์ประกอบความผิดของ ป.อ. มาตรา 272 (1) จะต้องเป็นการเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความใด ๆ ในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้ และมาตรา 275 เป็นการจำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายซึ่งสินค้าอันเป็นสินค้าที่มีชื่อ รูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความใด ๆ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 272 (1) โดยจะต้องเป็นการนำมาใช้ในชื่อหรือข้อความเดียวกันหรือในรูปรอยประดิษฐ์ที่ตั้งใจให้เหมือนกันในลักษณะปลอม ไม่ใช่เพียงแต่เลียนแบบ เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบเครื่องหมายการค้าของโจทก์คือ และ กับเครื่องหมายการค้า ของจำเลยทั้งสอง จะเห็นได้ว่าไม่เหมือนกัน จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองนำเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาใช้เป็นชื่อ รูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความใด ๆ ในการประกอบการค้าของจำเลยทั้งสอง การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272 (1) เมื่อไม่เป็นความผิดตามมาตรา 272 (1) แม้จำเลยทั้งสองจำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายซึ่งสินค้าดังกล่าว จำเลยทั้งสองก็ไม่มีความผิดตามมาตรา 275 ประกอบมาตรา 272 (1) อีกเช่นกัน
เครื่องหมายการค้าบนวัตถุพยานคือคำว่า "genufood" และมีคำว่า "VICTOR" กับเครื่องหมายคล้ายรวงข้าวประกอบ โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองได้ใช้เครื่องหมายการค้า ในการโฆษณาขายสินค้าซึ่งไม่ได้บรรยายฟ้องว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า "genugood" และมีคำว่า "VICTOR" เป็นการทำเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ใช้หรือทำให้ปรากฏเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่สินค้าของจำเลยทั้งสองและเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่สินค้าตามวัตถุพยานจึงเป็นข้อที่โจทก์ไม่ได้กล่าวมาในฟ้อง คำวินิจฉัยในส่วนนี้ของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2662/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายสินค้าปลอมเครื่องหมายการค้า: ความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า และประมวลกฎหมายอาญา
ความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 110 (1) ประกอบมาตรา 108 บัญญัติให้เฉพาะการเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นซึ่งได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรเท่านั้นเป็นความผิดทางอาญา โดยมิได้คุ้มครองสิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วนอกราชอาณาจักร ส่วนการเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นซึ่งได้จดทะเบียนไว้นอกราชอาณาจักร จะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 275 ประกอบมาตรา 273 คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานจำหน่าย เสนอจำหน่าย หรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 6 ที่จดทะเบียนไว้แล้วในราชอาณาจักร และของผู้เสียหายที่ 7 ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วนอกราชอาณาจักร เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงตามฟ้องว่า สินค้าในคดีนี้มีทั้งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมของผู้อื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วทั้งในราชอาณาจักรและนอกราชอาณาจักร การกระทำของจำเลยในส่วนของการจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนในราชอาณาจักรของผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 6 จึงเป็นความผิดฐานจำหน่ายและเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วในราชอาณาจักร ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 110 (1) ประกอบมาตรา 108 ส่วนการกระทำของจำเลยในส่วนของการจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ 7 เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 275 ประกอบมาตรา 273 อีกบทหนึ่งต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14617/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำหน่ายสินค้าควบคุมฉลากผิดกฎหมายเป็นความผิดต่างกรรมกันจากละเมิดเครื่องหมายการค้า ศาลแก้คำพิพากษาเพิ่มโทษปรับ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยขาย เสนอขาย สินค้าเครื่องสำอางชิเซโดจำนวน 2 กล่อง เครื่องสำอางปัดคิ้วยี่ห้อแม็กจำนวน 1 กล่อง อันเป็นสินค้าควบคุมฉลากตามกฏหมาย โดยเสนอขายต่อผู้มาติดต่อซื้อ ซึ่งฉลากของสินค้าดังกล่าวไม่มีข้อความแสดงวิธีใช้และข้อแนะนำการใช้หรือข้อห้าม ไม่ถูกต้องตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ตามคำฟ้องของโจทก์ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานขายสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่มีฉลากหรือการแสดงฉลากไม่ถูกต้อง อันเป็นความผิดอีกกระทงหนึ่งต่างหากจากความผิดฐานเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าเลียนเครื่องหมายที่แท้จริงของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้ในราชอาณาจักรโดยชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5707/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายสินค้าเลียนแบบเครื่องหมายการค้า: องค์ประกอบความผิดตามมาตรา 110(1) ประกอบมาตรา 109
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยจำหน่าย เสนอจำหน่าย และมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้ารองเท้ากีฬาที่มีตราเครื่องหมายการค้าอันเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีผู้ทำเลียนเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงของผู้เสียหายให้แก่ประชาชนทั่วไป ทั้งนี้โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นสินค้าที่มีผู้ทำเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหาย โดยมิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้เลียนแบบเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร อีกทั้งโจทก์ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 4, 109, 110, 115, 117 ย่อมแสดงว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษการกระทำผิดของจำเลยฐานจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าเลียนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 110 (1) แต่เหตุที่การปรับบทลงโทษต้องนำมาตรา 109 มาประกอบด้วยเนื่องจากองค์ประกอบของมาตรา 110 (1) เป็นการจำหน่าย เสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว้ตามมาตรา 108 หรือจำหน่าย เสนอจำหน่ายสินค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นตามมาตรา 109 ซึ่งมีลักษณะเป็นการนำสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมหรือที่เลียนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นไปหาประโยชน์อันเป็นการส่งเสริมให้สินค้าดังกล่าวแพร่หลายหรือกระจายไปสู่ประชาชนตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 110 ว่า บุคคลใด (1) เข้ามาในราชอาณาจักร จำหน่าย เสนอจำหน่าย หรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วมปลอมตามมาตรา 108 หรือที่เลียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายรับรองหรือเครื่องหมายร่วมของบุคคลอื่นตามมาตรา 109 ..." องค์ประกอบของความผิดตามมาตรา 110 (1) จึงแตกต่างจากความผิดตามมาตรา 109 ซึ่งผู้เลียนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรต้องมีเจตนาพิเศษ คือ เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเครื่องหมายการค้าที่ตนเลียนนั้นเป็นเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นด้วย ดังนั้น การกระทำที่จะเป็นความผิดตามมาตรา 110 (1) ผู้กระทำเพียงมีเจตนาธรรมดา คือ รู้ว่าสินค้าที่ตนนำเข้ามาในราชอาณาจักร จำหน่าย เสนอจำหน่าย หรือมีไว้เพื่อจำหน่ายเป็นสินค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร ก็เป็นความผิดตามมาตรา 110 (1) แล้วโดยไม่จำต้องมีเจตนาพิเศษว่าเพื่อทำให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นอีก คดีจึงรับฟังได้ว่าโจทก์บรรยายฟ้องครบองค์ประกอบตามมาตรา 110 (1) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5707/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิด พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า: เจตนาจำหน่ายสินค้าเลียนแบบต่างจากผู้เลียนแบบ
องค์ประกอบความผิดของ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 110 (1) แตกต่างจากความผิดตามมาตรา 109 ซึ่งผู้เลียนเครื่องหมายการค้าต้องมีเจตนาพิเศษ คือ เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเครื่องหมายการค้าที่ตนเลียนนั้นเป็นเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นด้วย แต่การกระทำที่จะเป็นความผิดตามมาตรา 110 (1) ผู้กระทำเพียงมีเจตนาธรรมดา คือ รู้ว่าสินค้าที่ตนนำเข้ามาในราชอาณาจักร จำหน่าย เสนอจำหน่าย หรือมีไว้เพื่อจำหน่ายเป็นสินค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร ก็เป็นความผิดตามมาตรา 110 (1) แล้ว โดยไม่จำต้องมีเจตนาพิเศษดังกล่าวอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5446/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าและจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงปลอมปน จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าและ พ.ร.บ.การค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
น้ำมันหล่อลื่นของกลางเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีไว้เพื่อจำหน่ายอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 110 (1) ประกอบมาตรา 108 จึงต้องริบตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 115
เครื่องจักรสำหรับบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงของกลางเป็นทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้ในการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2543 ชอบที่จะริบได้ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
ขวดพลาสติกเปล่าสำหรับบรรจุน้ำมันหล่อลื่น กล่องกระดาษเปล่า ฝาครอบขวดน้ำมัน กระดาษฟอยล์ปิดปากขวด ม้วนเศษกระดาษฟอยล์สำหรับปิดปากขวดบรรจุน้ำมันซึ่งบรรจุอยู่ในถุง กล่องกระดาษที่ใช้สำหรับบรรจุแกลลอนน้ำมัน สติกเกอร์ติดขวด และแกลลอนเปล่าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรดังกล่าวนั้น แม้ไม่อาจถือว่าเป็นสินค้าน้ำมันหล่อลื่นที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร เพราะจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยังมิได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค่าน้ำมันหล่อลื่น โดยยังอยู่ในขั้นตระเตรียมการทำความผิด แต่ของกลางดังกล่าวถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ชอบที่ศาลจะสั่งให้ริบได้ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
เมื่อน้ำมันหล่อลื่นของกลางเป็นทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2543 มาตรา 49 วรรคสอง ประกอบมาตรา 50 และเครื่องจักรสำหรับบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงของกลางเป็นทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้ในการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงและทรัพย์สินที่ต้องส่งมอบแก่กรมธุรกิจพลังงานเพื่อทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรต่อไปตาม พ.ร.บ.การค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2543 มาตรา 61
เครื่องจักรสำหรับบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงของกลางเป็นทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้ในการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2543 ชอบที่จะริบได้ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
ขวดพลาสติกเปล่าสำหรับบรรจุน้ำมันหล่อลื่น กล่องกระดาษเปล่า ฝาครอบขวดน้ำมัน กระดาษฟอยล์ปิดปากขวด ม้วนเศษกระดาษฟอยล์สำหรับปิดปากขวดบรรจุน้ำมันซึ่งบรรจุอยู่ในถุง กล่องกระดาษที่ใช้สำหรับบรรจุแกลลอนน้ำมัน สติกเกอร์ติดขวด และแกลลอนเปล่าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรดังกล่าวนั้น แม้ไม่อาจถือว่าเป็นสินค้าน้ำมันหล่อลื่นที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร เพราะจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยังมิได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค่าน้ำมันหล่อลื่น โดยยังอยู่ในขั้นตระเตรียมการทำความผิด แต่ของกลางดังกล่าวถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ชอบที่ศาลจะสั่งให้ริบได้ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
เมื่อน้ำมันหล่อลื่นของกลางเป็นทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2543 มาตรา 49 วรรคสอง ประกอบมาตรา 50 และเครื่องจักรสำหรับบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงของกลางเป็นทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้ในการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงและทรัพย์สินที่ต้องส่งมอบแก่กรมธุรกิจพลังงานเพื่อทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรต่อไปตาม พ.ร.บ.การค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2543 มาตรา 61
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3377/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีทรัพย์สินทางปัญญาต้องแสดงรายละเอียดการกระทำผิดที่ชัดเจน มิฉะนั้นศาลอาจยกฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า ไซยาโนเทค ไบโอแอสติน (Bioastin) เมื่อประมาณต้นปี 2555 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกันถึงวันฟ้อง จำเลยได้ลงโฆษณาสินค้าทางอินเทอร์เน็ท ชื่อเว็บไซต์ www.เจ้าแม่อาหารเสริม.com อ้างว่าจำเลยเป็นผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารเสริมประเภทสาหร่ายแดงไบโอแอสติน (Bioastin) ซึ่งเป็นความเท็จ รายละเอียดปรากฏตามคำโฆษณาของจำเลยในเว็บไซต์ แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยเอาชื่อ รูป และรอยประดิษฐ์ ไซยาโนเทค ไบโอแอสติน (Bioastin) ในการประกอบการค้าของบริษัทไซยาโนเทค จำกัด และโจทก์มาใช้หรือทำให้ปรากฏที่สินค้าหีบ ห่อ วัตถุที่ใช้หุ้มห่อ แจ้งความ รายการแสดงราคา จดหมายเกี่ยวกับการค้าหรือสิ่งอื่นทำนองเดียวกัน โดยมีเจตนาเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าไซยาโนเทค ไบโอแอสติน (Bioastin) หรือการค้าของบริษัทไซยาโนเทค จำกัด และโจทก์ และจำเลยไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความเท็จอย่างไรเพื่อให้เสียความเชื่อถือในสถานที่การค้า สินค้า อุตสาหกรรมหรือพาณิชย์การของบริษัทไซยาโนเทค จำกัด และโจทก์ โดยมุ่งประโยชน์แก่การค้าของจำเลยซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272 (1) (3) และ 275 และโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า สินค้าที่จำเลยจำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายนั้นเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าของบริษัทไซยาโนเทค จำกัด และโจทก์ และจำเลยเป็นผู้ปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว ซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 108, 109 และ ป.อ. มาตรา 273, 274 หรือจำเลยเป็นผู้นำเข้ามาในราชอาณาจักร จำหน่าย เสนอจำหน่าย หรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมตามมาตรา 108 หรือที่เลียนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นตามมาตรา 109 อันจะเป็นความผิดตามมาตรา 110 (1) ประกอบมาตรา 108 หรือ 109 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ทั้งโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า บริษัทไซยาโนเทค จำกัด เป็นเจ้าของสิทธิบัตรในผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีใด และสินค้าที่จำเลยจำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายนั้นเป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นหรือใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตรของบริษัทไซยาโนเทค จำกัด อย่างไรอันจะเป็นความผิดตามมาตรา 36, 38 และ 85 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 ซึ่งโจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยมาอีกเช่นกัน ฟ้องโจทก์จึงมิได้แสดงข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับการกระทำนั้นๆ พอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาความผิดดังกล่าวได้ดีตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14298/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้า ผลิตอาหารปลอม ศาลยืนโทษจำคุกเหมาะสม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในฐานะผู้สร้างสรรค์งานศิลปกรรมลักษณะงานจิตรกรรมสร้างสรรค์รูปทรง งานภาพพิมพ์ ใช้ชื่องานว่า เอนไซม์ เจนิฟู้ด ตามบัญชีรายชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์ ภาพและชื่องานศิลปกรรมที่ได้สร้างสรรค์ ข้อมูลลิขสิทธิ์ หนังสือรับรองความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ วันเดือนปีและประเทศที่โฆษณาครั้งแรก เอกสารท้ายฟ้อง จึงได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 จำเลยให้การรับสารภาพ ดังนี้ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ดังฟ้องโจทก์ การที่จำเลยกระทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏภาพซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมบนกล่องบรรจุผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแล้วนำออกจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ร่วมจึงเป็นความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมเพื่อการค้า แม้งานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมจะถูกนำไปใช้ร่วมกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมก็ตาม แต่งานอันมีลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์ร่วมก็มีลักษณะแยกต่างหากจากกันอย่างเด็ดขาด มิได้เป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของกันและกัน จึงเป็นงานคนละประเภทแยกต่างหากจากกันและได้รับความคุ้มครองแยกจากกัน
การกระทำของจำเลยนอกจากก่อให้เกิดความเสียหายโจทก์ร่วมแล้ว ยังเกิดความเสียหายต่อผู้บริโภคทั่วไป เป็นการกระทำที่ขาดความรับผิดชอบต่อส่วนรวม พฤติการณ์แห่งคดีจึงเป็นเรื่องร้ายแรง ที่ศาลทรัพย์สินฯ พิพากษาลงโทษจำคุกโดยไม่รอการลงโทษให้นั้นเหมาะสมแล้ว
การกระทำของจำเลยนอกจากก่อให้เกิดความเสียหายโจทก์ร่วมแล้ว ยังเกิดความเสียหายต่อผู้บริโภคทั่วไป เป็นการกระทำที่ขาดความรับผิดชอบต่อส่วนรวม พฤติการณ์แห่งคดีจึงเป็นเรื่องร้ายแรง ที่ศาลทรัพย์สินฯ พิพากษาลงโทษจำคุกโดยไม่รอการลงโทษให้นั้นเหมาะสมแล้ว