พบผลลัพธ์ทั้งหมด 40 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2481/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางคดีศุลกากรและการลงโทษปรับที่ถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งห้าในความผิดฐานร่วมกันช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย พาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้ด้วยประการใดๆ ซึ่งของอันตนรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ฐานมีไว้เพื่อขายซึ่งยาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบ และฐานเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม และขอให้ศาลสั่งริบรถยนต์เก๋งของกลาง โดยอ้างว่าจำเลยทั้งห้าใช้รถยนต์เก๋งของกลางดังกล่าวบรรทุกบุหรี่ของกลาง เมื่อคดีนี้มิได้สืบพยานโจทก์จำเลยจึงต้องพิจารณาข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากคำฟ้องและคำให้การ เมื่อข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งห้าได้ใช้รถยนต์เก๋งคันดังกล่าวซุกซ่อนขนย้ายบุหรี่ของกลางไปในลักษณะอย่างไร ทั้งรถยนต์โดยสภาพแล้วก็เป็นยานพาหนะที่บุคคลทั่วไปใช้เป็นยานพาหนะสัญจรตามธรรมดาในชีวิตประจำวัน รถยนต์เก๋งของกลางจึงมิได้เป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ หรือยานพาหนะที่จำเลยทั้งห้าได้ใช้ในการกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้องโดยตรง จึงไม่อาจริบรถยนต์เก๋งของกลางตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) ได้
เมื่อโจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งห้าร่วมกันกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ทวิ และข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยทั้งห้ากระทำความผิดมาตราดังกล่าว มิใช่มาตรา 27 ซึ่งมาตรา 27 ทวิ เพิ่งบัญญัติขึ้นเมื่อปี 2499 ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2499 ส่วน พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 32 ที่บัญญัติว่า "เรือชนิดใดๆ อันมีระวางบรรทุกไม่เกินสองร้อยห้าสิบตันก็ดี รถ เกวียน ยานพาหนะ หีบห่อ หรือภาชนะใดๆ หากได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการย้าย ซ่อนเร้นหรือขนของที่ยังมิได้เสียค่าภาษี หรือที่ต้องจำกัดหรือต้องห้าม ให้ริบเสียทั้งสิ้น" ย่อมเป็นบทบัญญัติที่เป็นการระบุให้ริบทรัพย์ซึ่งเป็นความผิดตามกฎหมายศุลกากรซึ่งใช้ในขณะนั้น ซึ่งมิได้รวมถึงความผิดตามมาตรา 27 ทวิด้วยแต่อย่างใด รถยนต์เก๋งของกลางในคดีนี้จึงจะริบตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 32 ไม่ได้เช่นกัน
พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ทวิ กำหนดให้ลงโทษปรับแก่ผู้กระทำความผิดเป็นสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว ซึ่งแม้จะมิได้บัญญัติความเจาะจงลงไปว่า สำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วเช่นเดียวกับมาตรา 27 ก็ตาม แต่มาตรา 27 ทวิ เป็นบทบัญญัติต่อท้ายและเป็นความผิดต่อเนื่องจากมาตรา 27 ดังนั้น ในเรื่องโทษนี้ก็ย่อมมีความหมายเช่นเดียวกับที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 ว่า สำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ นั่นเอง ไม่ใช่ให้ปรับสำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ แล้วแบ่งปรับเป็นรายบุคคลคนละเท่าๆ กัน การที่ศาลลงโทษปรับจำเลยทั้งห้าเรียงตัวคนละสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วจึงเป็นการปรับจำเลยทั้งห้าสำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ เกินกว่าสี่เท่า ซึ่งขัดต่อบทบัญญัติมาตราดังกล่าว ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
เมื่อโจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งห้าร่วมกันกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ทวิ และข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยทั้งห้ากระทำความผิดมาตราดังกล่าว มิใช่มาตรา 27 ซึ่งมาตรา 27 ทวิ เพิ่งบัญญัติขึ้นเมื่อปี 2499 ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2499 ส่วน พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 32 ที่บัญญัติว่า "เรือชนิดใดๆ อันมีระวางบรรทุกไม่เกินสองร้อยห้าสิบตันก็ดี รถ เกวียน ยานพาหนะ หีบห่อ หรือภาชนะใดๆ หากได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการย้าย ซ่อนเร้นหรือขนของที่ยังมิได้เสียค่าภาษี หรือที่ต้องจำกัดหรือต้องห้าม ให้ริบเสียทั้งสิ้น" ย่อมเป็นบทบัญญัติที่เป็นการระบุให้ริบทรัพย์ซึ่งเป็นความผิดตามกฎหมายศุลกากรซึ่งใช้ในขณะนั้น ซึ่งมิได้รวมถึงความผิดตามมาตรา 27 ทวิด้วยแต่อย่างใด รถยนต์เก๋งของกลางในคดีนี้จึงจะริบตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 32 ไม่ได้เช่นกัน
พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ทวิ กำหนดให้ลงโทษปรับแก่ผู้กระทำความผิดเป็นสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว ซึ่งแม้จะมิได้บัญญัติความเจาะจงลงไปว่า สำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วเช่นเดียวกับมาตรา 27 ก็ตาม แต่มาตรา 27 ทวิ เป็นบทบัญญัติต่อท้ายและเป็นความผิดต่อเนื่องจากมาตรา 27 ดังนั้น ในเรื่องโทษนี้ก็ย่อมมีความหมายเช่นเดียวกับที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 ว่า สำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ นั่นเอง ไม่ใช่ให้ปรับสำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ แล้วแบ่งปรับเป็นรายบุคคลคนละเท่าๆ กัน การที่ศาลลงโทษปรับจำเลยทั้งห้าเรียงตัวคนละสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วจึงเป็นการปรับจำเลยทั้งห้าสำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ เกินกว่าสี่เท่า ซึ่งขัดต่อบทบัญญัติมาตราดังกล่าว ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8151/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าและมีไว้เพื่อจำหน่ายเป็นความผิดหลายกรรม ศาลต้องเรียงกระทงลงโทษตามกฎหมาย
ความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 108 สำหรับความผิดฐานมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 110 (1) ซึ่งเป็นคนละมาตรากัน และแต่ละฐานความผิดอาจแยกการกระทำออกจากกันได้ เมื่อจำเลยที่ 3 ให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดตามฟ้อง การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเป็นความผิดหลายกรรมที่ศาลต้องเรียงกระทงลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 91 ส่วนความผิดฐานเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความใด ๆ ในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้นั้น แม้รูป "hp ทั้ง 3 รูป" กับ "canon" ตามเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายทั้งสองจะเป็นรูป รอยประดิษฐ์ที่ใช้ในการประกอบการค้าของผู้เสียหายทั้งสองด้วยก็ตาม แต่เมื่อผู้เสียหายทั้งสองได้นำรูป รอยประดิษฐ์ดังกล่าวไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าจนมีสภาพเป็นเครื่องหมายการที่ได้จดทะเบียนไว้ในราชอาณาจักร อันมีผลทำให้ได้รับความคุ้มครองอย่างเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนที่หากผู้อื่นปลอมเครื่องหมายการค้าจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 108 โดยเฉพาะแล้วจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272 (1) อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3091/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท: อาหารปลอมและเครื่องหมายการค้าปลอม มีเจตนาเดียวคือจำหน่ายอาหารปลอม
การที่จำเลยมีอาหารปลอมหรืออาหารที่ไม่ได้มาตรฐานไว้เพื่อจำหน่าย โดยที่สินค้านั้นมีเครื่องหมายการค้าปลอมติดอยู่ ก็ด้วยเจตนาเดียวคือประสงค์จะมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งอาหารปลอม การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท มิใช่การกระทำความผิดต่างกรรมกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 871/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรม: ยาสูบเถื่อน & เครื่องหมายการค้าปลอม - โทษปรับตามอัตรากฎหมาย
การมีไว้ในครอบครองและมีไว้เพื่อขายซึ่งบุหรี่ซิกาแรต ซึ่งเป็นยาสูบที่ผลิตในต่างประเทศอันเป็นยาสูบที่มีน้ำหนักเกินกว่าห้าร้อยกรัมซึ่งมิได้ปิดแสตมป์ยาสูบตามกฎหมายเป็นความผิดต่อ พ.ร.บ.ยาสูบ ฯ ส่วนการมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเป็นความผิดต่อ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า ฯ ความผิดดังกล่าวเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ที่มีโทษทางอาญาคนละฉบับกันมีองค์ประกอบความผิดแตกต่างกัน สามารถแยกการกระทำต่างหากจากกันได้ประกอบกับโจทก์บรรยายฟ้องข้อหามียาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบตามกฎหมายไว้ในครอบครองเกินกว่าห้าร้อยกรัม และข้อหามีไว้เพื่อขายซึ่งยาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบตามกฎหมายในฟ้องข้อหนึ่ง และบรรยายความผิดข้อหามีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมแยกมาในฟ้องอีกข้อหนึ่ง โดยอ้าง ป.อ. มาตรา 91 มาด้วยเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ จึงรับฟังได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ส่วนการที่จำเลยมียาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบไว้ในครอบครองเกินกว่าห้าร้อยกรัมและมีไว้เพื่อขายซึ่งยาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบ จำเลยมีเจตนามุ่งประสงค์ต่อผลอย่างเดียวกันคือการหลีกเลี่ยงที่จะไม่ต้องเสียภาษีอากรตามกฎหมาย จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษในความผิดฐานมีไว้เพื่อขายซึ่งยาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบตาม พ.ร.บ.ยาสูบ ฯ มาตรา 24 วรรคหนึ่ง, 50 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุด
ส่วนการที่จำเลยมียาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบไว้ในครอบครองเกินกว่าห้าร้อยกรัมและมีไว้เพื่อขายซึ่งยาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบ จำเลยมีเจตนามุ่งประสงค์ต่อผลอย่างเดียวกันคือการหลีกเลี่ยงที่จะไม่ต้องเสียภาษีอากรตามกฎหมาย จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษในความผิดฐานมีไว้เพื่อขายซึ่งยาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบตาม พ.ร.บ.ยาสูบ ฯ มาตรา 24 วรรคหนึ่ง, 50 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5037/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานใช้เครื่องหมายการค้าผู้อื่นกับสินค้าต่างจำพวก และความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 275
สินค้าบางส่วนในคดีที่เอาชื่อ รูปรอยประดิษฐ์ และข้อความในการประกอบการค้าของผู้เสียหายมาใช้เป็นสินค้าเสื้อยืดคอกลมแขนสั้นและกางเกงซึ่งอยู่ในสินค้าจำพวก 25 คนละจำพวกกับสินค้า ปากกา ดินสอ ที่อยู่ในสินค้าจำพวก 16 ซึ่งผู้เสียหายจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแล้วในราชอาณาจักร และผู้เสียหายประกอบอาชีพขายสินค้านี้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 275 ประกอบมาตรา 272 (1) คนละฐานกับความผิดฐานจำหน่ายและเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 110 (1) ประกอบมาตรา 108, 109
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11055/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมเครื่องหมายการค้าและเสนอขายเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระ ต้องลงโทษตามกระทง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ปลอมเครื่องหมายการค้า ร. อันเป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัท ล. ผู้เสียหาย โดยใช้เครื่องปั๊มแบบอัตโนมัติปั๊มเครื่องหมายการค้า ร. ลงบนแว่นกันแดดจำนวน 1,254 อัน และกล่องใส่แว่นกันแดด จำนวน 1,100 อัน อันเป็นการปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย นอกจากนี้จำเลยยังมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งแว่นกันแดด จำนวน 1,254 อัน และกล่องใส่แว่นกันแดด จำนวน 1,100 อัน ดังกล่าวที่มีตราเครื่องหมายการค้าซึ่งจำเลยทำปลอมเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงของผู้เสียหาย ซึ่งได้จดทะเบียนโดยชอบแล้วโดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นสินค้าที่ปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหาย เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ดังกล่าวจึงต้องถือว่าการกระทำความผิดของจำเลยเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน เนื่องจากความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 108 กับความผิดฐานเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 110 (1) เป็นการกระทำความผิดที่มีองค์ประกอบความผิดและเจตนาที่ต่างหากจากกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1204/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกาแก้โทษจำเลยในคดีเครื่องหมายการค้าและยาสูบ โดยชี้ว่าการลงโทษตามบทมาตราผิดและปรับบทลงโทษไม่ถูกต้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าบุหรี่ซิกาแรตที่มีเครื่องหมายการค้าสองยี่ห้อซึ่งปลอมเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงของผู้เสียหายที่จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 110 (1) ประกอบมาตรา 108 แต่โจทก์อ้างบทมาตรา 111 มาในคำขอท้ายฟ้องอันเป็นการอ้างบทมาตราผิด และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวตามมาตรา 111 ประกอบมาตรา 108 ซึ่งเป็นบทมาตราผิดไปตามที่โจทก์ขอ
การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาสูบฯ ไม่ถูกต้อง เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและลงโทษจำเลยตามบทมาตราที่ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า, 195 วรรคสอง
การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาสูบฯ ไม่ถูกต้อง เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและลงโทษจำเลยตามบทมาตราที่ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า, 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 777/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสนอขายสินค้าเลียนเครื่องหมายการค้าและสินค้าจำพวกเดียวกับที่จดทะเบียน ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า
ความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 110 (1) ประกอบมาตรา 109 มีองค์ประกอบความผิดที่เป็นสาระสำคัญ 2 ประการ ข้อแรก สาระสำคัญขององค์ประกอบความผิดอยู่ที่ตัวเครื่องหมายการค้าว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงหรือเครื่องหมายการค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหาย ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าผู้เสียหายไม่เคยอนุญาตให้ผู้ใดทำกล่องที่มีเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหาย เครื่องหมายการค้าบนกล่องจึงมิใช่เครื่องหมายการค้าที่แท้จริงของผู้เสียหายแต่เป็นเครื่องหมายการค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายโดยไม่ได้รับอนุญาต เมื่อฟังว่าเครื่องหมายการค้าบนกล่องมิใช่เครื่องหมายการค้าที่แท้จริงและจำเลยเสนอจำหน่ายสินค้าโดยไม่ได้รับอนุญาต การกระทำของจำเลยจึงเข้าองค์ประกอบประการแรกของความผิดฐานนี้แล้ว สำหรับองค์ประกอบความผิดข้อที่สอง เป็นสินค้าตามจำพวกที่จดทะเบียนไว้ เมื่อสินค้าตามวัตถุพยานเป็นหน่วยประมวลผลกลางของคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นสินค้าจำพวก 9 ตรงตามสินค้าที่ผู้เสียหายจดทะเบียนไว้ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา แม้จะมีข้อความบนฉลากในกล่องระบุว่าอุปกรณ์ในกล่องประกอบด้วยหน่วยประมวลผลกลางของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ระบายความร้อนประสิทธิภาพสูง แต่หน่วยประมวลผลกลางจะมีพัดลมเป็นส่วนหนึ่งของสินค้า ซึ่งมีความสำคัญและพัดลมเป็นส่วนควบของหน่วยประมวลผลกลาง ดังนั้น พัดลมระบายความร้อนจึงเป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่งของหน่วยประมวลผลกลาง มิใช่เป็นสินค้าที่ประสงค์จะแยกขายต่างหาก การที่จำเลยเสนอขายพัดลมระบายความร้อนที่ไม่ได้ผลิตโดยผู้เสียหายพร้อมกับหน่วยประมวลผลกลางในลักษณะทำให้ผู้ซื้อหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของผู้เสียหาย จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 110 (1) ประกอบมาตรา 109
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5275/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ชื่อ รูป รอยประดิษฐ์บนสินค้า: ความผิดตามมาตรา 275 ป.อ. ครอบคลุมเฉพาะเครื่องหมายการค้า ไม่รวมรูปทรง/ลวดลาย
ความผิดฐานเสนอจำหน่ายสินค้า ซึ่งเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ ในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้ หรือทำให้ปรากฏที่สินค้า หีบ ห่อ วัตถุที่ใช้ห่อหุ้ม หรือสิ่งอื่นในทำนองเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของผู้อื่น ตาม ป.อ. มาตรา 275 ประกอบมาตรา 272 (1) นั้น เป็นบทบัญญัติว่าด้วยเรื่องเครื่องหมายของสินค้า มิได้บังคับในเรื่องรูปทรง ลวดลายของสินค้าหรือสิ่งผลิต ซึ่งหากมีผู้นำชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ ไปทำเป็นรูปร่างของสินค้า ผู้มีสิทธิในชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ อาจได้รับความคุ้มครองภายใต้กฎหมายในลักษณะอื่น เช่น กฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ จำพวกงานศิลปกรรม หรือกฎหมายว่าด้วยสิทธิบัตร จำพวกการออกแบบผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 712/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ไม่ถือเป็นการเลียนเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้ว
การที่จำเลยจำหน่ายยาเส้นภายใต้เครื่องหมายการค้ารูปวัวแดง 2 ตัวชนกันเป็นการจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าซึ่งปู่จำเลยเป็นผู้คิดขึ้นและใช้มาก่อนที่โจทก์ร่วมจะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนถึงประมาณ 46 ปี และเป็นการที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่บิดาจำเลยซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่งของปู่จำเลยได้รับมรดกสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้น ไม่ปรากฏว่าบิดาจำเลยและป้าจำเลยซึ่งเป็นทายาทอีกคนหนึ่งได้ห้ามจำเลยมิให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นแต่อย่างใด การที่จำเลยจำหน่ายยาเส้นภายใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 110 (1) ประกอบมาตรา 109 ตามที่โจทก์ฟ้อง