คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
กฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 72

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 139/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสระหว่างสามีภริยา การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า และอายุความในการฟ้องเรียกคืน
ว. และ ห. อยู่กินฉันสามีภริยาที่ประเทศมาเลเซียประมาณ 90 ปีมาแล้ว จึงเป็นสามีภริยาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม ห. ถึงแก่กรรมเมื่อปี 2484 อันเป็นปีที่ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 แล้ว จึงต้องนำกฎหมายลักษณะผัวเมียมาใช้กับการแบ่งสินสมรส โดยบทที่ 72 กำหนดให้ทรัพย์ที่บิดามารดาหรือญาติฝ่ายหญิงหรือชายให้ไว้ในวันแต่งงานให้เป็นสินเดิมถ้าให้เมื่ออยู่กินเป็นผัวเมียกันแล้วให้เป็นสินสมรส ดังนั้นถ้าได้ทรัพย์มาก่อนปี 2484 ก็ต้องแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยากันตามบทที่ 68 คือ ถ้าชายและหญิงต่างมีสินเดิม ให้คืนสินเดิมแก่แต่ละฝ่าย ส่วนสินสมรสให้แบ่งเป็น 3 ส่วน ชายได้ 2 ส่วนหญิงได้ 1 ส่วน ถ้าต่างฝ่ายไม่มีสินเดิมก็แบ่งสินสมรสแบบเดียวกันแต่ถ้าได้ทรัพย์มาภายหลังจากที่คู่สมรสของตนถึงแก่กรรมไปแล้วทรัพย์ดังกล่าวย่อมไม่ใช่สินสมรสที่จะแบ่งระหว่างสามีภริยาอีกต่อไป เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทได้มาก่อนปี 2484 จึงเป็นสินสมรสที่ต้องแบ่งระหว่างสามีภริยาตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย โดย ว. ได้ 2 ส่วน ห. ได้ 1 ส่วน หลังจากนั้นส่วนของ ว. จึงตกทอดเป็นมรดกที่ ว. มีสิทธิทำพินัยกรรมยกให้แก่จำเลยที่ 1ถึงที่ 3 กับจำเลยร่วมที่ 2 และที่ 3 ได้ ส่วนของ ห. นั้น โจทก์ผู้จัดการมรดกย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ว. ส่งมอบทรัพย์ดังกล่าวแก่โจทก์เพื่อจัดแบ่งให้แก่ทายาทของ ห. โดย ว. หามีสิทธิทำพินัยกรรมยกทรัพย์ส่วนที่มิใช่ของตนให้แก่ทายาทตามพินัยกรรมไม่
ทรัพย์อันเป็นสินสมรสที่ยังไม่ได้แบ่งนั้น โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกมีสิทธิติดตามเอาคืนมาเพื่อจัดการแบ่งแก่ทายาทได้แม้เกิน 10 ปีนับแต่ ห. ถึงแก่กรรม คดีหาขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำพินัยกรรมยกที่ดินสินสมรสขัดต่อกฎหมาย และการแบ่งสินสมรสระหว่างคู่สมรส
โจทก์และ ช.ซึ่งสมรสกันก่อนปี 2476 ต่างตกลงยินยอมให้แต่ละฝ่ายทำพินัยกรรมยกที่ดินสินสมรสส่วนของตนให้บุคคลอื่น ในการทำพินัยกรรมที่เกี่ยวกับสินสมรสระหว่างโจทก์และ ช.นี้ ต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 1481 แม้โจทก์ตกลงยินยอมให้ ช.ทำพินัยกรรมดังกล่าว ข้อตกลงยินยอมนั้นย่อมฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายข้างต้น และยังขัดต่อความมุ่งหมายของ ป.พ.พ.มาตรา 1646 ที่กำหนดให้บุคคลใด ๆ มีสิทธิทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้บุคคลอื่นได้ก็แต่เฉพาะทรัพย์สินที่เป็นของตนเท่านั้น เหตุนี้ ข้อตกลงยินยอมดังกล่าว จึงไม่ทำให้พินัยกรรมที่ ช.จัดทำมีผลผูกพันไปถึงที่ดินสินสมรสที่เป็นส่วนของโจทก์ด้วยโจทก์ย่อมฟ้องขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่าพินัยกรรมไม่มีผลผูกพันสินสมรสที่เป็นส่วนของโจทก์ได้
ที่ดินโฉนดเลขที่ 4837 ในส่วนที่ พ.ยกให้ ช.ตามสารบาญแก้ทะเบียนท้ายโฉนดดังกล่าว พ.ยกที่ดินส่วนนี้ให้ ช.เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2476ก่อนที่ ป.พ.พ.บรรพ 5 พ.ศ.2477 ว่าด้วยเรื่องครอบครัวประกาศใช้ จึงต้องนำกฎหมายลักษณะผัวเมียมาใช้บังคับ ซึ่งในกฎหมายดังกล่าว บทที่ 72 ว่าด้วยทรัพย์สินระหว่างผัวเมีย บัญญัติว่า "ทรัพย์ที่บิดามารดาหรือญาติฝ่ายหญิงหรือชายให้ในวันมีแขก (วันแต่งงาน) ให้เป็นสินเดิม ถ้าให้เมื่ออยู่กินเป็นผัวเมียกันแล้วให้เป็นสินสมรส" ซึ่งไม่ได้บัญญัติว่าให้เป็นสินส่วนตัวเลย พ.ได้ยกที่ดินส่วนดังกล่าวให้ ช.ภายหลังการแต่งงาน ที่ดินส่วนนี้จึงเป็นสินสมรสระหว่าง ช.กับโจทก์ เมื่อไม่ปรากฏว่า ช.และโจทก์มีสินเดิม การแบ่งสินสมรสจึงเป็นไปตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 คือชายหาบ หญิงคอน ช.จึงมีส่วนเป็นเจ้าของ 2 ส่วน และโจทก์มี 1 ส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสและการทำพินัยกรรมที่ขัดต่อกฎหมาย โดยการยินยอมให้แบ่งสินสมรสก่อนถึงเวลาไม่สมบูรณ์
โจทก์และช.ซึ่่งสมรสกันก่อนปี2476ต่างตกลงยินยอมให้แต่่ละฝ่ายทำนิติกรรมยกที่ดินสินสมรสส่วนของตนให้บุคคลอื่นในการทำพินัยกรรมที่เกี่ยวกับสินสมรสระหว่างโจทก์และช. นี้ต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1481แม้โจทก์ตกลงยินยอมให้ช.ทำพินัยกรรมดังกล่าวข้อตกลงยินยอมนั้นย่อมฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายข้างต้นและยังขัดต่อความมุ่งหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1646ที่กำหนดให้บุคคลใดๆมีสิทธิทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้บุคคลอื่นได้ก็แต่เฉพาะทรัพย์สินที่เป็นของตนเท่านั้นเหตุนี้ข้อตกลงยินยอมดังกล่าวจึงไม่ทำให้พินัยกรรมที่ช. จัดทำมีผลผูกพันไปถึงที่ดินสินสมรสที่เป็นส่วนของโจทก์ด้วยโจทก์ย่อมฟ้องขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่าพินัยกรรมไม่มีผลผูกพันสินสมรสที่เป็นส่วนส่วนของโจทก์ได้ ที่ดินโฉนดเลขที่4837ในส่วนที่พ.ยกให้ช. ตามสารบาญแก้ทะเบียนท้ายโฉนดดังกล่าวพ. ยกที่ดินส่วนนี้ให้ช. เมื่อวันที่9ตุลาคม2476ก่อนที่่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5พ.ศ.2477ว่าด้วยเรื่องครอบครัวประกาศใช้จึงต้องนำกฎหมายลักษณะผัวเมียมาใช้บังคับซึ่งในกฎหมายดังกล่าวบทที่72ว่าด้วยทรัพย์สินระหว่างผัวเมียบัญญัติว่า"ทรัพย์ที่บิดามารดาหรือญาติฝ่ายหญิงหรือชายให้ในวันที่แขก(วันแต่งงาน)ให้เป็นสินเดิมถ้าให้เมื่ออยู่กินเป็นผัวเมียกันแล้วให้เป็นสินสมรส"ซึ่งไม่ได้บัญญัติว่าให้เป็นสินส่วนตัวเลยพ.ได้ยกที่ดินส่วนดังกล่าวให้ช.ภายหลังการแต่งงานที่ดินส่วนนี้จึงเป็นสินสมรสระหว่างช.กับโจทก์เมื่อไม่ปรากฎว่าช.และโจทก์มีสินเดิมการแบ่งสินสมรสจึงเป็นไปตามกฎหมายลักษณะผัวเมียบทที่68คือชายหาบหญิงคอนช.จึงมีส่วนเป็นเจ้าของ2ส่วนและโจทก์มี1ส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1691/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสกรณีมีภรรยาหลายคน และทรัพย์สินคละปะปน
โจทก์และจำเลยต่างเป็นภรรยาของผู้ตายตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย โดยผู้ตายได้กับโจทก์ก่อน เมื่อผู้ตายแต่งงานกับจำเลยได้นำเงิน 6 ชั่งไปกองทุนกับจำเลย และต่อมาได้ทำมาหากินกับจำเลยจนเกิดทรัพย์พิพาทขึ้น เงิน 6 ชั่งย่อมเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับผู้ตาย เมื่อนำไปใช้ทำทุนจนเกิดทรัพย์พิพาทขึ้น ถือได้ว่าสินสมรสที่โจทก์มีส่วน ได้คละปะปนกับสินสมรสของจำเลย โจทก์จึงมีส่วนแบ่งในทรัพย์พิพาท
ให้แบ่งสินสมรสเป็น 3 ส่วน ผู้ตายได้ 2 ส่วน โจทก์และจำเลยได้ 1 ส่วน
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 28/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1052/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในสินสมรสกรณีสามีภริยาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งฯ และการขายสินเดิมโดยไม่ต้องยินยอม
โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากันก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 สิทธิในสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ต้องบังคับตามกฎหมายลักษณะผัวเมียซึ่งใช้อยู่ก่อนวันประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เมื่อโจทก์ได้จำเลยที่ 1 เป็นสามีโจทก์ไม่มีสินเดิม ตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย โจทก์ไม่มีสิทธิจะได้ส่วนแบ่งในสินสมรส (อ้างฎีกาที่ 326/2479)
เมื่อฟังว่านาพิพาทเป็นสินเดิมของจำเลยที่ 1 และแม้หากจะฟังว่าเรือนและครัวซึ่งปลูกอยู่บนนาพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิจะได้ส่วนแบ่งในสินสมรส จำเลยที่ 1 ก็มีอำนาจขายนาพิพาทพร้อมด้วยเรือนและครัวให้จำเลยที่ 2 ได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1052/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในสินสมรสก่อน-หลังใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์: กรณีโจทก์ไม่มีสินเดิม
โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากันก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 สิทธิในสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ต้องบังคับตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย ซึ่งใช้อยู่ก่อนวันประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เมื่อโจทก์ได้จำเลยที่ 1 เป็นสามีโจทก์ไม่มีสินเดิม ตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย โจทก์ไม่มีสิทธิจะได้ส่วนแบ่งในสินสมรส
(อ้างฎีกาที่ 326/2479)
เมื่อฟังว่านาพิพาทเป็นสินเดิมของจำเลยที่ 1 และแม้หากจะฟังว่าเรือนและครัวซึ่งปลูกอยู่บนนาพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิจะได้ส่วนแบ่งในสินสมรส จำเลยที่ 1 ก็มีอำนาจขายนาพิพาทพร้อมด้วยเรือนและครัวให้จำเลยที่ 2 ได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส, พินัยกรรม, การครอบครองปรปักษ์ และข้อยกเว้นการเป็นพยานในคดี
สามีภริยาซึ่งทำการสมรสกันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สินสมรสของภริยามีอยู่ 1 ใน 3 และของสามีมีอยู่ 2 ใน 3
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1477 สามีภริยาทำพินัยกรรมยกทรัพย์อันเป็นสินบริคณห์ให้แก่ผู้อื่นได้เฉพาะแต่ที่เป็นส่วนของตนเท่านั้น
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1653 ผู้เขียนหรือพยานในพินัยกรรมจะเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมไม่ได้เท่านั้น มิได้ห้ามศาลไม่ให้รับฟังคำบุคคลเหล่านี้เป็นพยาน
ผู้ที่ครอบครองมิได้มีเจตนาครอบครองที่พิพาทไม่มีทางได้กรรมสิทธิ์
เดิม โจทก์มอบอำนาจให้ไวยาวัจกรดำเนินคดี ต่อมาไวยาวัจกรตาย โจทก์จึงมอบอำนาจให้บุคคลอีกคนหนึ่งดำเนินคดีต่อไปในชั้นฎีกา ผู้รับมอบอำนาจคนหลังจึงมีสิทธิยื่นฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส, พินัยกรรม, การครอบครอง และการเพิกถอนพินัยกรรม: สิทธิในทรัพย์สินหลังการสมรส
สามีภริยาซึ่งทำการสมรสกันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สินสมรสของภริยามีอยู่ 1 ใน3 และของสามีมีอยู่ 2 ใน 3
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1477 สามีภริยาทำพินัยกรรมยกทรัพย์อันเป็นสินบริคณห์ให้แก่ผู้อื่นได้เฉพาะแต่ที่เป็นส่วนของตนเท่านั้น
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1653 ผู้เขียนหรือพยานในพินัยกรรมจะเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมไม่ได้เท่านั้น มิได้ห้ามศาลไม่ให้รับฟังคำบุคคลเหล่านี้เป็นพยาน
ผู้ที่ครอบครองมิได้มีเจตนาครอบครองที่พิพาท ไม่มีทางได้กรรมสิทธิ์
เดิมโจทก์มอบอำนาจให้ไวยาวัจกรดำเนินคดี ต่อมาไวยาวัจกรตาย โจทก์จึงมอบอำนาจให้บุคคลอีกคนหนึ่งดำเนินคดีต่อไปในชั้นฎีกาผู้รับมอบอำนาจคนหลังจึงมีสิทธิยื่นฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 46/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้เรื่องสินเดิมและสิทธิในสินสมรส: การกำหนดประเด็นชัดเจนและการสืบพยาน
ประเด็นที่โจทก์ตั้งมาในคำฟ้องมีว่า ภริยาโจทก์ไม่มีสิทธิได้ส่วนแบ่งในสินสมรสเพราะไม่มีสินเดิม จำเลยให้การว่าภริยาโจทก์มีสิทธิได้ส่วนแบ่งเพราะมีสินเดิมดังนี้ คำให้การของจำเลยเป็นการถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองแล้วจำเลยไม่จำเป็นต้องระบุลงไปในคำให้การว่ามีทรัพย์อะไรบ้างเป็นสินเดิมซึ่งผิดกับกรณีที่มีประเด็น ขอให้หักสินสมรสชดใช้สินเดิมด้วย เพราะในกรณีหลังนี้ความสำคัญอยู่ที่ว่าอะไรเป็นสินเดิม ราคาเท่าใด มิฉะนั้นก็ให้ชดใช้กันไม่ได้การตั้งประเด็นจึงต้องระบุถึงทรัพย์ที่เป็นสินเดิมและราคา
หากโจทก์เห็นว่าข้อต่อสู้ของจำเลยยังไม่ชัด เพื่อที่โจทก์จะได้สืบหักล้างเสียก่อนในกรณีที่โจทก์เป็นฝ่ายนำสืบก่อนเช่นนี้โจทก์ชอบที่จะขอต่อศาลให้สอบถามจำเลยในชั้นชี้สองสถานเพื่อให้ได้ความชัดในประเด็นข้อพิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 ได้ เมื่อได้มีการสอบถามมัดประเด็นลงไปแน่นอนว่าสินเดิมเป็นทรัพย์อะไรแล้วคู่ความก็ต้องดำเนินการตามประเด็นที่มัดไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 489/2486

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สมรสก่อน-หลังประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์: แบ่งสินสมรสตามลักษณะผัวเมีย, แบ่งมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่ง
เป็นสามีภรรยาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5แต่ตายจากกันเมื่อใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 แล้วต้องแบ่งสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย แต่แบ่งมรดกตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6
ในชั้นฎีกาผู้ฎีกาต้องเสียค่าขึ้นศาลเฉพาะในทุนทรัพย์ที่เรียกร้องในชั้นฎีกา ไม่ต้องเสียในทุนทรัพย์ที่ศาลอุทธรณ์ตัดสินให้โจทก์แล้ว
of 2