คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 6

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1330/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจโอนคดีอาญา: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจจำกัดตามกฎหมายเฉพาะ, ไม่อาจใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งอนุโลม
โจทก์ฟ้องต่อศาลจังหวัดปัตตานี ขอให้ลงโทษจำเลยฐานหมิ่นประมาทโจทก์จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้รวมการพิจารณาคดีที่โจทก์ฟ้องเข้ากับคดีที่โจทก์อีกคนหนึ่งฟ้องจำเลยที่ศาลแขวงพระนครเหนือ โดยขอให้โอนคดีไปพิจารณาพิพากษาที่ศาลแขวงพระนครเหนือ แต่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต เช่นนี้จำเลยหาอาจยื่นคำร้องขอให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ชี้ขาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 6,8 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ได้ไม่ เพราะคดีอาญานั้นมีบทบัญญัติตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 23,26บัญญัติเรื่องการโอนคดีไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตราดังกล่าวมาปรับแก่กรณีของจำเลยได้.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1330/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนคดีอาญา: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าต้องใช้บทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาโดยเฉพาะ แม้จะมีความเกี่ยวข้องกัน
โจทก์ฟ้องต่อศาลจังหวัดปัตตานีขอให้ลงโทษจำเลยฐานหมิ่นประมาทจำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้รวมการพิจารณาคดีที่โจทก์ฟ้องเข้ากับคดีที่โจทก์อีกคนหนึ่งฟ้องจำเลยที่ศาลแขวงพระนครเหนือ โดยขอให้โอนคดีไปพิจารณาพิพากษาที่ศาลแขวงพระนครเหนือ แต่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต เช่นนี้จำเลยหาอาจยื่นคำร้องขอให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ชี้ขาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 6,8ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ได้ไม่เพราะคดีอาญานั้นมีประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 23,26บัญญัติเรื่องการโอนคดีไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตราดังกล่าวมาปรับแก่กรณีของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 900/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตาม ม.248 และการฎีกาไม่ชัดแจ้งตาม ม.249 กรณีข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์และที่สาธารณะ
คดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งอาจให้เช่าได้เดือนละ 200 บาท จำเลยให้การว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณะ มิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธินั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นโดยฟังข้อเท็จจริงว่าที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ เช่นนี้จำเลยจะฎีกาในข้อเท็จจริงว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินอีกไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
จำเลยฎีกาลอยๆ ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม มิได้ยกเหตุขึ้นอ้างอิงว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไม่ถูกต้องด้วยเหตุใด ไม่เป็นฎีกาที่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1979/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: คดีทุนทรัพย์น้อย, แก้ไขเล็กน้อย, ไม่มีเหตุสมควรฎีกา, ประเด็นความประมาท
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะค่าทนายความที่ให้จำเลยใช้แทนโจทก์ เป็นการแก้ไขเล็กน้อย เมื่อคดีมีทุนทรัพย์เพียง 27,500 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 จำเลยจะฎีกาว่ามิได้ขับรถประมาทหรือผู้อื่นมีส่วนประมาทด้วยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 679/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลยกคำร้องขอโอนคดีก่อนมีคำพิพากษา เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่อุทธรณ์ได้ตามมาตรา 226
คดีที่ศาลสั่งรับคำฟ้องแล้ว เป็นคดีที่อยู่ในระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 ก่อนยื่นคำให้การ จำเลยยื่นคำร้องขอโอนคดีไปยังศาลอื่น ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 คำร้องขอโอนคดีไปศาลอื่นนั้น เป็นวิธีการเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลที่จะพิจารณาคดี มิใช่เกี่ยวด้วยคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์อย่างใดของคู่ความในระหว่างการพิจารณา ดังเช่นที่บัญญัติไว้ในมาตรา 264 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 228(2) คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งยกคำร้องขอโอนคดีของจำเลยจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 226(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 679/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลยกคำร้องขอโอนคดีเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 226
คดีที่ศาลสั่งรับคำฟ้องแล้ว เป็นคดีที่อยู่ในระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 ก่อนยื่นคำให้การจำเลยยื่นคำร้องขอโอนคดีไปยังศาลอื่น ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226 คำร้องขอโอนคดีไปศาลอื่นนั้น เป็นวิธีการเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลที่จะพิจารณาคดี มิใช่เกี่ยวด้วยคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์อย่างใดของคู่ความในระหว่างการพิจารณา ดังเช่นที่บัญญัติไว้ในมาตรา 264 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 228(2) คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งยกคำร้องขอโอนคดีของจำเลยจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 226(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกจ่ายเงินเกินระเบียบของเทศบาล: จำเลยต้องคืนเงินที่เบิกเกินไป แม้จะอ้างสุจริตไม่ได้
จำเลยให้การว่า ระเบียบและคำสั่งของกระทรวงมหาดไทยขัดต่อพระราชกฤษฎีกาและปลัดกระทรวงก็ไม่มีอำนาจลงนามในระเบียบและคำสั่ง โดยหาได้ยกข้อเท็จจริงขึ้นกล่าวอ้างว่าขัดต่อพระราชกฤษฎีกาบทใดข้อใดและเหตุใดปลัดกระทรวงจึงไม่มีอำนาจลงนามนั้นถือว่าไม่มีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยให้
จำเลยจะอ้างว่าไม่ต้องคืนลาภมิควรได้ก็ต่อเมื่อจำเลยเป็นผู้รับเงินไว้โดยสุจริตหากจำเลยเป็นผู้สั่งให้จ่ายเงินฝ่าฝืนระเบียบให้แก่ตนเองแล้ว ก็จะอ้างว่ารับเงินไว้โดยสุจริตมิได้ จำเลยจึงต้องคืนเงินที่รับเกินไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1307/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลฟ้องหย่า: ความสะดวกในการดำเนินคดีและภูมิลำเนาของคู่ความ
โจทก์ซึ่งเป็นสามีจำเลยมีภูมิสำเนาอยู่ที่จังหวัดอุตรดิตถ์ ฟ้องขอหย่าขาดกับจำเลยต่อศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยโจทก์ยื่นคำร้องว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดพระนครในเขตศาลแพ่ง แต่มูลคดีอันเป็นเหตุขอหย่าตามที่โจทก์ฟ้อง เกิดขึ้นในจังหวัดอุตรดิตถ์ ทั้งตัวโจทก์และพยานโจทก์มีภูมิลำเนาในจังหวัดอุตรดิตถ์ ถ้าดำเนินการพิจารณาในศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ จะเป็นการสดวกจึงขออนุญาตยื่นคำฟ้องต่อศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ เช่นนี้ บทกฎหมายอันว่าด้วยการฟ้องคดีแพ่งนั้น บัญญัติขึ้นเพื่อจะให้ความสดวกแก่การฟ้องร้องคดีการต่อสู้คดีและการพิจารณาคดีประกอบกัน ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) จะเห็นได้ว่า กฎหมายให้พิจารณาถึงความสดวกเป็นสำคัญ จะว่าหากให้ฟ้องยังศาลจังหวัดอุตรดิตถ์จำเลย จะต้องลำบากในการไปจากจังหวัดพระนคร แต่การให้ไปฟ้องยังศาลในจังหวัดพระนคร โจทก์ก็ต้องลำบากเช่นเดียวกันตามเหตุที่อ้างในคำร้องของโจทก์นั้น ศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ ก็เป็นศาลที่มีอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) และการให้ฟ้องยังศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ก็เป็นการสดวกแก่พยาน หากศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ยังไม่เป็นที่พอใจตามคำร้องของโจทก์หรือสงสัยประการใด ศาลจังหวัดอุตรดิตถ์จะสอบถามหรือไต่สวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 21 ก่อนก็ได้
กรณีเช่นนี้ กล่าวทางแง่ของจำเลย หากศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ อนุญาตให้โจทก์ฟ้องที่ศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ได้ ถ้าไม่มีเหตุสมควรที่จะทำการพิจารณาในศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ ่จำเลยก็ยังมีทางแก้ไข โดยยื่นคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 6 ขอโอนคดีไปยังศาลในจังหวัดพระนครได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1307/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลฟ้องหย่า: พิจารณาความสะดวกของคู่ความและพยานเป็นสำคัญ
โจทก์ซึ่งเป็นสามีจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดอุตรดิตถ์ ฟ้องขอหย่าขาดกับจำเลยต่อศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยโจทก์ยื่นคำร้องว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดพระนครในเขตศาลแพ่ง แต่มูลคดีอันเป็นเหตุขอหย่าตามที่โจทก์ฟ้องเกิดขึ้นในจังหวัดอุตรดิตถ์ ทั้งตัวโจทก์และพยานโจทก์มีภูมิลำเนาในจังหวัดอุตรดิตถ์ ถ้าดำเนินการพิจารณาในศาลจังหวัดอุตรดิตถ์จะเป็นการสดวกจึงขออนุญาตยื่นคำฟ้องต่อศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ เช่นนี้ บทกฎหมายอันว่าด้วยการฟ้องคดีแพ่งนั้นบัญญัติขึ้นเพื่อจะให้ความสดวกแก่การฟ้องร้องคดีการต่อสู้คดีและการพิจารณาคดีประกอบกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) จะเห็นได้ว่ากฎหมายให้พิจารณาถึงความสดวกเป็นสำคัญ จะว่าหากให้ฟ้องยังศาลจังหวัดอุตรดิตถ์จำเลยจะต้องลำบากในการไปจากจังหวัดพระนคร แต่การให้ไปฟ้องยังศาลในจังหวัดพระนครโจทก์ก็ต้องลำบากเช่นเดียวกัน ตามเหตุที่อ้างในคำร้องของโจทก์นั้น ศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ก็เป็นศาลที่มีอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) และการให้ฟ้องยังศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ก็เป็นการสดวกแก่พยาน หากศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ยังไม่เป็นที่พอใจตามคำร้องของโจทก์หรือสงสัยประการใด ศาลจังหวัดอุตรดิตถ์จะสอบถามหรือไต่สวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 21 ก่อนก็ได้
กรณีเช่นนี้ กล่าวทางแง่ของจำเลย หากศาลจังหวัดอุตรดิตถ์อนุญาตให้โจทก์ฟ้องที่ศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ได้ ถ้าไม่มีเหตุสมควรที่จะทำการพิจารณาในศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ จำเลยก็ยังมีทางแก้ไข โดยยื่นคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 6 ขอโอนคดีไปยังศาลในจังหวัดพระนครได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 166/2490

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องร้องคดีไม่เป็นละเมิด หากมีเรื่องฟ้องและศาลยังไม่ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริง
การใช้สิทธิฟ้องร้องคดีแพ่งหรือคดีอาญานั้น ทำได้ไม่ถือว่าเป็นละเมิด แต่ต้องเป็นการฟ้องโดยมีเรื่องฟ้อง
จำเลยฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญาและแพ่ง ศาลตัดสินยกฟ้องโดยไม่ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงนั้น ยังไม่พอฟังว่า จำเลยใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหรือละเมิดต่อโจทก์
ค่าทนายชั้นศาลชั้นต้นคิดตามทุนทรัพย์ในฟ้อง ชั้นอุทธรณ์คิดตามทุนทรัพย์ที่อุทธรณ์
of 2