คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 137

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 306 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4201/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ทุจริตออกใบมรณบัตรเท็จเพื่อขอคืนหลักประกันและเบิกความเท็จในศาล
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต โดยทำใบรับแจ้งการตายอันเป็นเท็จแล้วนำไปเป็นหลักฐานในการแจ้งการตายต่อนายทะเบียนให้ออกมรณบัตรของ จ. และนำไปเป็นหลักฐานในการขอคืนหลักประกันที่ ป. ได้ประกันตัว จ.และเบิกความเท็จต่อศาลว่า จ.ตายไปแล้ว การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137,157,162(1)(4),267 ซึ่งเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 157 ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดกระทงหนึ่งและเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 วรรคแรกอีกกระทงหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4191/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สมรู้ร่วมคิดใช้หนังสือเดินทางปลอม, เจ้าพนักงานเสียหาย, ตัวการใช้เอกสารราชการปลอม
ส.เป็นเจ้าพนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง มีหน้าที่ตรวจ-สอบว่าหนังสือเดินทางที่ผู้จะเดินทางออกนอกราชอาณาจักรนำมาให้ตรวจนั้นเป็นหนังสือเดินทางปลอมหรือไม่ ซึ่งก็ต้องตรวจดูว่าบุคคลผู้ถือหนังสือเดินทางเป็นบุคคลเดียวกันกับที่กระทรวงการต่างประเทศออกหนังสือเดินทางให้แท้จริงหรือไม่ ดังนั้น ที่จำเลยแจ้งแก่ ส.ว่า พ.ผู้นำหนังสือเดินทางมาให้ตรวจเป็นย.ภริยาของจำเลยซึ่งเป็นข้อความอันเป็นเท็จ ก็เพื่อให้ ส.หลงเชื่อว่า พ.เป็นบุคคลเดียวกันกับ ย.ซึ่งเป็นเจ้าของหนังสือเดินทาง และตรวจผ่านให้ พ.เดินทางออกนอกราชอาณาจักรได้ ทำให้ ส.ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานขณะปฏิบัติหน้าที่ได้รับความเสียหาย เป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน
พฤติการณ์ที่จำเลยพูดจากับ ส.เพื่อช่วยเหลือให้ พ.ใช้หนังสือเดินทางปลอมออกนอกราชอาณาจักรได้ ทั้งหนังสือเดินทางปลอมที่ พ.ใช้นั้นก่อนถูกปลอมเป็นหนังสือเดินทางฉบับแท้จริงของ ย.ภริยาจำเลย แสดงให้เห็นได้ว่าจำเลยได้สมรู้ร่วมคิดกับ พ.นำหนังสือเดินทางปลอมดังกล่าวมาใช้ จำเลยจึงเป็นตัวการในการใช้หนังสือเดินทางปลอมด้วยมีความผิดฐานเป็นตัวการใช้เอกสารราชการปลอมตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบกับ มาตรา265, 83

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4191/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จ-ใช้เอกสารปลอม: สมรู้ร่วมคิดช่วยเหลือผู้อื่นใช้หนังสือเดินทางปลอมออกนอกประเทศ
ส.เป็นเจ้าพนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมืองมีหน้าที่ตรวจสอบว่าหนังสือเดินทางที่ผู้จะเดินทางออกนอกราชอาณาจักรนำมาให้ตรวจนั้นเป็นหนังสือเดินทางปลอมหรือไม่ ซึ่งก็ต้องตรวจดูว่าบุคคลผู้ถือหนังสือเดินทางเป็นบุคคลเดียวกันกับที่กระทรวงการต่างประเทศออกหนังสือเดินทางให้แท้จริงหรือไม่ ดังนั้น ที่จำเลยแจ้งแก่ส.ว่าพ. ผู้นำหนังสือเดินทางมาให้ตรวจเป็นย. ภริยาของจำเลยซึ่งเป็นข้อความอันเป็นเท็จก็เพื่อให้ส.หลงเชื่อว่าพ. เป็นบุคคลเดียวกันกับย. ซึ่งเป็นเจ้าของหนังสือเดินทาง และตรวจผ่านให้พ.เดินทางออกนอกราชอาณาจักรได้ทำให้ส.ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานขณะปฏิบัติหน้าที่ได้รับความเสียหายเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน พฤติการณ์ที่จำเลยพูดจากับ ส. เพื่อช่วยเหลือให้พ. ใช้หนังสือเดินทางปลอมออกนอกราชอาณาจักรได้ทั้งหนังสือเดินทางปลอมที่ พ. ใช้นั้นก่อนถูกปลอมเป็นหนังสือเดินทางฉบับแท้จริงของย. ภริยาจำเลยแสดงให้เห็นได้ว่าจำเลยได้สมรู้ร่วมคิดกับ พ.นำหนังสือเดินทางปลอมดังกล่าวมาใช้ จำเลยจึงเป็นตัวการในการใช้หนังสือเดินทางปลอมด้วยมีความผิดฐานเป็นตัวการใช้เอกสารราชการปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบดับมาตรา 265,83

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2090/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รับของโจร, ปลอมแปลงเอกสาร, แจ้งความเท็จ: องค์ประกอบความผิดและอำนาจฟ้อง
ส.พบรถยนต์ที่ถูกคนร้ายลักไปอยู่ในความครอบครองของจำเลยจึงขอรถยนต์คืน โดยนำหลักฐานสัญญาเช่าซื้อไปแสดงต่อจำเลย จำเลยไม่คืนให้โดยไม่ได้ให้เหตุผลว่าจำเลยได้รถยนต์มาอย่างไร และจำเลยยังเรียกร้องเอาเงินจาก ส.โดยอ้างว่าจำเลยนำรถยนต์ไปซ่อมอีกทั้งจำเลยกลับนำรถยนต์คันดังกล่าวที่ติดแผ่นป้ายทะเบียนปลอมและหมายเลขเครื่องยนต์ที่ถูกขูดลบแก้ไขไปยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อขอออกใบแทนใบคู่มือการจดทะเบียนรถยนต์ที่จำเลยแจ้งว่าหายทั้งที่รู้ว่าเป็นความเท็จพร้อมกับขอโอนรถยนต์จากผู้อื่นมาเป็นของจำเลย ขอเปลี่ยนสีและขอเสียภาษีรถยนต์ย้อนหลัง พฤติการณ์ต่าง ๆ ของจำเลยดังกล่าวถือได้ว่า จำเลยครอบครองรถยนต์ดังกล่าวไว้โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ จำเลยย่อมมีความผิดฐานรับของโจร เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานรับของโจรแล้ว ก็ย่อมไม่เป็นความผิดฐานยักยอกอีกแต่ข้อหาฐานรับของโจรนั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์ไม่อุทธรณ์ ข้อหาฐานรับของโจรย่อมยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่อาจลงโทษจำเลยฐานรับของโจรได้ จำเลยรู้อยู่แล้วว่าหมายเลขเครื่องยนต์และแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์นั้นเป็นเอกสารราชการปลอม เมื่อจำเลยนำรถยนต์ที่มีหมายเลขเครื่องยนต์และแผ่นป้ายทะเบียนดังกล่าวไปยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อขอออกใบแทนใบคู่มือการจดทะเบียนรถยนต์ที่จำเลยไปแจ้งเจ้าพนักงานว่าหายทั้งที่รู้ว่าเป็นความเท็จ การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดฐานใช้หมายเลขเครื่องยนต์และแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ซึ่งเป็นเอกสารราชการปลอม กับมีความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(7) ได้ให้คำนิยามของคำว่า "เอกสาร"ไว้ว่าหมายความว่า กระดาษหรือวัตถุอื่นใด ซึ่งได้ทำให้ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษร ตัวเลข ผังหรือแบบแผนอย่างอื่น จะเป็นโดยวิธีพิมพ์ ถ่ายภาพหรือวิธีอื่นอันเป็นหลักฐานแห่งความหมายนั้นจากบทนิยามดังกล่าวหมายเลขเครื่องยนต์และแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์จึงเป็นเอกสาร โจทก์ได้บรรยายฟ้องโดยใช้ข้อความว่า "จำเลยบังอาจแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ" ซึ่งย่อมมีความหมายแสดงอยู่ในตัวว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิด คือรู้อยู่แล้วว่าข้อความที่แจ้งนั้นเป็นความเท็จแม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องอีกว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่าข้อความนั้นเป็นความเท็จ ก็เป็นการเพียงพอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว คำฟ้องของโจทก์จึงสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) ฎีกาข้อกฎหมายของจำเลยที่ว่าคดีนี้ผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ในข้อหายักยอกภายในสามเดือนนับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีจึงขาดอายุความและพนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องกับที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยฐานยักยอกไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 นั้น เมื่อได้วินิจฉัยแล้วว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานยักยอก แม้จะวินิจฉัยข้อฎีกาดังกล่าวของจำเลย ก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ฎีกาในข้อกฎหมายของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1088/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาโดยรู้ว่าไม่มีความผิด เพื่อกลั่นแกล้งผู้อื่น เป็นความผิดตามมาตรา 173 ประกอบ 174 วรรคสอง
จำเลยเป็นทนายความไม่ได้รับแลกเช็คจากคุณหญิง ศ. จริงเพียงแต่รับสมอ้างดังกล่าว จึงไม่ได้เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายจำเลยไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าเป็นผู้ทรงเช็คไม่ว่าจะโดยรับมาจากโจทก์หรือจากคุณหญิง ศ.ก็ตาม โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์ไม่ได้ลงวันที่สั่งจ่ายในเช็ค เป็นเช็คที่ไม่มีมูลความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497เพื่อให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่โจทก์ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวการกระทำของจำเลยจึงเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาต่อเจ้าพนักงานซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนโดยรู้ว่ามิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น เพื่อแกล้งให้โจทก์ต้องรับโทษ ได้รับความเสียหายถูกจับกุมดำเนินคดี เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 173 ประกอบ มาตรา 174 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทบัญญัติเฉพาะไม่ผิดมาตรา 137 ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานทั่ว ๆ ไปอีกและไม่เป็นความผิดตามมาตรา 172

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จเพื่อออกโฉนดที่ดินกระทบสิทธิมรดก และการอุทธรณ์คำสั่งศาลระหว่างพิจารณา
เมื่อ ท.ถึงแก่กรรมสิทธิครอบครองที่ดินส.ค.1ของท.ย่อมตกเป็นของโจทก์ซึ่งเป็นทายาทในทันที การที่จำเลยแจ้งความเท็จต่อพนักงานสอบสวนว่า ส.ค.1 ดังกล่าวสูญหายไป แล้วไปคัดสำเนา ส.ค.1จากอำเภอและไปดำเนินการขอให้ออกโฉนดในที่ดินดังกล่าวย่อมกระทบกระเทือนสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย ที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าทนายโจทก์ไม่ป่วยจริงตามคำร้องขอเลื่อนคดีจึงสั่งให้ยกคำร้องและโจทก์ไม่มีพยานมาสืบตามนัด จึงถือว่าไม่มีพยานมาสืบ ให้งดสืบพยานโจทก์และนัดสืบพยานจำเลยต่อไปนั้นมิใช่กรณีศาลมีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 166,181 คำสั่งระหว่างพิจารณาในคดีอาญา ผู้อุทธรณ์ไม่จำต้องโต้แย้งคัดค้านไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 144/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้การกับพนักงานสอบสวนในฐานะผู้ต้องหา: คำให้การใหม่ย่อมใช้ได้ โจทก์ไม่อาจอ้างคำรับเดิม
เมื่อจำเลยตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(2) แล้ว จำเลยจะให้การเท็จจริงอย่างไรหรือไม่ให้การอะไรก็ได้ ไม่มีกฎหมายใดบังคับดังนั้น โจทก์จะอ้างคำรับของจำเลยในชั้นสอบสวนซึ่งในชั้นพิจารณาจำเลยได้ปฏิเสธ ให้เห็นว่าคำเบิกความชั้นศาลของจำเลยเป็นความจริงมาใช้ประกอบเพื่อให้ฟังว่าข้อความที่จำเลยให้ไว้แก่พนักงานสอบสวนนั้นเป็นความเท็จหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 88/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จต้องพิจารณาถึงเจตนาและข้อเท็จจริง ผู้แจ้งต้องรู้สาระสำคัญและใช้สิทธิโดยสุจริต
โจทก์ถูกดำเนินคดีอาญาตามคำแจ้งความของจำเลย ดังนี้ เพียงแต่การที่ศาลยกฟ้องจะถือว่าจำเลยมีความผิดฐานแจ้งความเท็จเสมอไปนั้นไม่ได้ ต้องขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงว่าการแจ้งความนั้นผู้แจ้งได้รู้ถึงสาระสำคัญและเข้าใจถึงการใช้สิทธิของตนโดยสุจริตหรือไม่ประกอบด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2803/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดแจ้งความเท็จ แม้มีการกระทำต่อเนื่องทำให้เกิดความเสียหายภายหลัง ศาลพิพากษายกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 6 เดือน ศาลอุทธรณ์แก้เป็นว่า ให้ปรับจำเลย 3,000 บาท อีกสถานหนึ่ง และรอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท แม้ศาลอุทธรณ์จะลงโทษปรับจำเลยด้วยแต่ให้รอการลงโทษจำคุกไว้ โทษที่จำเลยได้รับตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงต่ำกว่าโทษที่จำเลยจะต้องรับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น มิใช่ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 219 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานแจ้งความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานและแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 และมาตรา 267 แต่การกระทำของจำเลยที่โจทก์บรรยายไว้ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 นั้น ก็เฉพาะการกระทำในส่วนที่อ้างว่าจำเลยแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตำรวจและที่ให้เจ้าพนักงานตำรวจจดข้อความอันเป็นเท็จลงในสมุดรายงานประจำวันอันเป็นเอกสารราชการเท่านั้น ส่วนการที่โจทก์กล่าวไว้ในคำฟ้องว่าต่อมาจำเลยนำสำเนารายงานประจำวันไปขอออกใบแทนโฉนดที่ดินแล้วนำไปจดทะเบียนให้แก่ผู้มีชื่อนั้น โจทก์มิได้บรรยายการกระทำและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ตามที่ต้องกล่าวตามมาตรา158(5) จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยสำหรับการกระทำในส่วนนี้ด้วย ดังนั้นในการวินิจฉัยข้อกฎหมายว่าโจทก์จะเป็นผู้เสียหายหรือไม่จึงต้องพิจารณาเฉพาะการกระทำที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยคือการที่จำเลยนำข้อความอันเป็นเท็จไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่าโฉนดที่ดินของจำเลยหาย เพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจจดบันทึกไว้ในสมุดรายงานประจำวันอันเป็นเอกสารราชการ การกระทำตามฟ้องที่จำเลยนำข้อความอันเป็นเท็จไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่าโฉนดที่ดินของจำเลยหาย เป็นการกระทำต่อเจ้าพนักงานมิได้กระทำต่อโจทก์และข้อความเท็จที่จำเลยแจ้งให้ร้อยตำรวจโทพ.จดบันทึกลงในสมุดรายงานประจำวันที่เป็นเอกสารราชการนั้น แม้จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137และมาตรา 267 ก็ตาม แต่ข้อความเท็จที่จำเลยแจ้งนั้น มิได้มีการกล่าวอ้างถึงการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดที่เป็นของโจทก์ ความที่ปรากฏว่าเป็นเท็จก็ดี สมุดรายงานที่เจ้าพนักงานจดบันทึกไว้มีข้อความเป็นเท็จก็ดีมิได้ทำให้สิทธิของโจทก์เกี่ยวกับการมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินในโฉนดต้องถูกเปลี่ยนแปลงหรือกระทบกระเทือนต่อการที่โจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินในทางที่ทำให้สิทธิที่มีอยู่ลดน้อยถอยลงในการกระทำความผิดของจำเลยในส่วนนี้โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายแม้จะได้ความต่อมาว่า จำเลยได้นำหลักฐานการแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตำรวจไปดำเนินการต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อขอใบแทนโฉนดแล้วนำไปขายให้บุคคลอื่นอันเป็นการกระทำที่เกิดความเสียหายให้แก่โจทก์ก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยในส่วนนี้ที่กระทำต่อมาหลังจากการกระทำความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตำรวจและให้เจ้าพนักงานตำรวจจดข้อความเท็จลงในเอกสารราชการสำเร็จแล้วนั้น เป็นการกระทำอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากการกระทำที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษ จึงนำเอาการกระทำส่วนนี้มาเป็นข้อพิจารณาว่าโจทก์เสียหายในส่วนของการกระทำตามฟ้องไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2803/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องอาญา: ผู้เสียหายต้องเป็นผู้ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำผิด การแจ้งความเท็จไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ลดลง
คดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 6 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ปรับจำเลย 3,000 บาท อีกสถานหนึ่ง และรอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี นั้น เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท แม้ศาลอุทธรณ์จะลงโทษปรับจำเลยด้วยแต่ให้รอการลงโทษจำคุกไว้ โทษที่จำเลยได้รับตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงต่ำกว่าโทษที่จำเลยจะต้องรับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงมิใช่กรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า จำเลยได้แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่า โฉนดที่ดินที่โจทก์ฟ้องเป็นของจำเลยได้หายไปจากบ้านพักพนักงานสอบสวนจึงได้จดข้อความตามที่จำเลยแจ้งลงในสมุดรายงานประจำวันอันเป็นเอกสารราชการ ซึ่งความที่จำเลยแจ้งต่อพนักงานสอบสวนดังกล่าวเป็นความเท็จ ดังนี้ เห็นได้ว่า การกระทำตามที่บรรยายฟ้องมานั้นจำเลยกระทำต่อเจ้าพนักงานมิได้กระทำต่อโจทก์และข้อความเท็จที่จำเลยแจ้งให้พนักงานสอบสวนจดบันทึกลงในสมุดรายงานประจำวันที่เป็นเอกสารราชการนั้น แม้จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137 และมาตรา 267 ก็ตาม แต่ข้อความเท็จที่จำเลยแจ้งนั้นมิได้มีการกล่าวอ้างถึงการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดที่เป็นของโจทก์ความที่ปรากฏว่าเป็นเท็จก็ดี สมุดรายงานที่เจ้าพนักงานจดบันทึกไว้มีข้อความเป็นเท็จก็ดี มิได้ทำให้สิทธิของโจทก์เกี่ยวกับการมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินในโฉนดต้องถูกเปลี่ยนแปลงหรือกระทบกระเทือนต่อการที่โจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามโฉนดดังกล่าวในทางที่ทำให้สิทธิที่มีอยู่ลดน้อยถอยลงแต่ประการใด ในการกระทำความผิดของจำเลยในส่วนนี้โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหาย แม้จะได้ความต่อมาว่า จำเลยได้นำหลักฐานการแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตำรวจไปดำเนินการต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อขอใบแทนโฉนดแล้วนำไปขายให้บุคคลอื่น อันเป็นการกระทำที่เกิดความเสียหายให้แก่โจทก์ก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยในส่วนนี้ที่กระทำต่อมาหลังจากการกระทำความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตำรวจและให้เจ้าพนักงานตำรวจจดข้อความเท็จลงในเอกสารราชการสำเร็จแล้วนั้น เป็นการกระทำอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากการกระทำที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลย จึงนำเอาการกระทำส่วนนี้มาเป็นข้อพิจารณาว่าโจทก์เสียหายในส่วนของการกระทำตามฟ้องไม่ได้เมื่อโจทก์มิใช่ผู้เสียหายสำหรับการกระทำที่เป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง
of 31