คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 137

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 306 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3602/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 แม้เจ้าพนักงานนั้นไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
การที่จำเลยซึ่งทราบดีอยู่แล้วว่าบ้านพิพาทเป็นของโจทก์ ได้นำยึดบ้านดังกล่าวโดยแจ้งแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีว่าบ้านนั้นเป็นของ ก. เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยได้แจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 แล้ว เพราะคำว่าเจ้าพนักงานตามบทกฎหมายดังกล่าวหาได้มีความหมายจำกัดเฉพาะว่าจะต้องเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่ แต่ยังมีความหมายรวมถึงเจ้าพนักงานอื่นโดยทั่วไปด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 734/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จเพื่อขอมีบัตรประจำตัวประชาชนโดยไม่มีสัญชาติไทย ถือเป็นกรรมเดียวผิดหลายบท
จำเลยที่ 1 เป็นชาวญวนอพยพ ไม่มีสัญชาติไทยและไม่เคยมีบัตรประจำตัวประชาชน ได้แจ้งความเท็จต่อพนักงานสอบสวนว่าบัตรประจำตัวประชาชนหาย แล้วนำหลักฐานที่พนักงานสอบสวนออกให้ไปยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนโดยแจ้งข้อความเท็จต่อเจ้าพนักงานเขตบางกอกน้อยว่าตนมีสัญชาติไทย และแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในบัตรประจำตัวประชาชนอันเป็นเอกสารราชการ เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในการแสดงตัวบุคคล ซึ่งเป็นการกระทำในวันเดียวกัน เวลาต่อเนื่องกัน โดยมีเจตนาเดียวกันเพื่อให้ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้ ถือได้ว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137, 267 และพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14 ต้องลงโทษตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 734/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จเพื่อขอมีบัตรประจำตัวประชาชนโดยไม่มีสัญชาติไทย ถือเป็นกรรมเดียวผิดหลายบท
จำเลยที่ 1 เป็นชาวญวนอพยพ ไม่มีสัญชาติไทยและไม่เคยมีบัตรประจำตัวประชาชน ได้แจ้งความเท็จต่อพนักงานสอบสวนว่าบัตรประจำตัวประชาชนหาย แล้วนำหลักฐานที่พนักงานสอบสวนออกให้ไปยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนโดยแจ้งข้อความเท็จต่อเจ้าพนักงานเขตบางกอกน้อยว่าตนมีสัญชาติไทย และแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในบัตรประจำตัวประชาชนอันเป็นเอกสารราชการ เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในการแสดงตัวบุคคล ซึ่งเป็นการกระทำในวันเดียวกัน เวลาต่อเนื่องกัน โดยมีเจตนาเดียวกันเพื่อให้ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้ ถือได้ว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137,267 และพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14 ต้องลงโทษตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 734/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จ-ใช้เอกสารเท็จเพื่อออกบัตรประจำตัวประชาชน - ความผิดกรรมเดียว
จำเลยที่ 1 เป็นชาวญวนอพยพ ไม่มีสัญชาติไทยและไม่เคยมีบัตรประจำตัวประชาชน ได้แจ้งความเท็จต่อพนักงานสอบสวนว่าบัตรประจำตัวประชาชนหาย แล้วนำหลักฐานที่พนักงานสอบสวนออกให้ไปยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ โดยแจ้งข้อความเท็จต่อเจ้าพนักงานเขตบางกอกน้อยว่าตนมีสัญชาติไทย และแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในบัตรประจำตัวประชาชนอันเป็นเอกสารราชการ เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในการแสดงตัวบุคคลซึ่งเป็นการกระทำต่อเนื่องกัน โดยมีเจตนาเดียวกันเพื่อให้ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้ ถือได้ว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137,267 และพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14 ต้องลงโทษตามพระราชบัญญัติ บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 173/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จเพื่อกลั่นแกล้งผู้อื่นเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 173 ฟ้องไม่เคลือบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 5 ถึง 6 มีนาคม 2528เวลากลางคืนและกลางวันต่อเนื่องกัน จำเลยนำความเท็จไปแจ้งต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลสำเหร่ ว่าโจทก์ทำร้ายร่างกายจำเลยและชิงทรัพย์คือสร้อยคอทองคำขาว 1 เส้น พร้อมจี้เพชรของจำเลยเพื่อแกล้งให้โจทก์รับโทษทางอาญา โดยระบุว่าความจริงเป็นอย่างไร โจทก์ไม่จำต้องระบุในฟ้องว่าพนักงานสอบสวนเป็นผู้ใดก็สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ และลักษณะของการกระทำผิดในคดีนี้ปรากฏว่าจำเลยแจ้งความ 2 ครั้ง ต่อเนื่องกันใน 2 วันดังกล่าวทั้งเป็นการกล่าวแสดงเจตนาของจำเลยในตัวว่า จำเลยทราบแล้วว่าความจริงไม่เป็นดังที่จำเลยแจ้งต่อพนักงานสอบสวน ฟ้องโจทก์ได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาสถานที่พอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158(5) แล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 173/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชัดเจนของฟ้องอาญา: การระบุวันเวลาและพนักงานสอบสวนในการแจ้งความเท็จ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 5 ถึง 6 มีนาคม 2528 เวลากลางคืนและกลางวันต่อเนื่องกัน จำเลยนำความเท็จไปแจ้งต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลสำเหร่ว่า โจทก์ทำร้ายร่างกายจำเลยและชิงทรัพย์คือสร้อยคอทองคำขาว 1 เส้น พร้อมจี้เพชรของจำเลย เพื่อแกล้งให้โจทก์รับโทษทางอาญา โจทก์ไม่จำต้องระบุในฟ้องว่าพนักงานสอบสวนเป็นผู้ใดก็สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ทั้งเป็นการกล่าวแสดงเจตนาของจำเลยในตัวว่า จำเลยทราบแล้วว่าความจริงไม่เป็นดังที่จำเลยแจ้งต่อพนักงานสอบสวน ฟ้องโจทก์ได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาสถานที่พอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้วฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3754/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษายกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริง และการห้ามอุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นผู้เช่าบ้านและเปิดเป็นร้านให้เช่าวีดีโอ คดีโจทก์ไม่มีมูล เป็นการพิพากษายกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริง คดีโจทก์สำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137172 และ 310 จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ โจทก์อุทธรณ์ว่าพยานหลักฐานโจทก์ชั้นไต่สวนมูลฟ้องมีน้ำหนักน่าเชื่อว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของร้านดังกล่าวแต่อย่างใด เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นจึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าว ความผิดในข้อหาทั้งสามนี้จึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นโจทก์ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ส่วนข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157162 ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 5 ถึงที่ 8 จับกุมโจทก์เนื่องจากเชื่อคำ ของ พยานและของโจทก์ในขณะตรวจค้นจับกุมตามที่ปรากฏในบันทึกการตรวจค้นจับกุมและรายงานประจำวัน ถือได้ว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริต ไม่มีพฤติการณ์พิเศษให้เห็นว่ากระทำไม่ชอบประการใด และโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาสืบว่าโจทก์ได้แจ้งต่อฝ่ายจำเลยว่าโจทก์ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดดังกล่าวเป็นการพิพากษายกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริงอีกเช่นกัน โจทก์ฎีกามีใจความว่าข้อความตามบันทึกการตรวจค้นจับกุมไม่เป็นความจริงการที่ศาลอุทธรณ์ฟังว่าบันทึกการตรวจค้นจับกุมดังกล่าวถูกต้องเป็นการฟังข้อเท็จจริงนอกสำนวน ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่นนี้ฎีกาของโจทก์ที่อ้างมาเป็นข้อกฎหมายว่าศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงนอกสำนวนก็เพียงเพื่อสนับสนุนข้ออ้างที่ว่าข้อเท็จจริงไม่ได้เป็นไปตามบันทึกการตรวจค้นจับกุม เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2641/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาแจ้งข้อมูลเท็จต่อเจ้าพนักงาน: ปัญหาการรับแจ้งข้อความตามความเป็นจริง
จำเลยแจ้งข้อความต่อ บ. ผู้ใหญ่บ้านซึ่งเป็นผู้ช่วยนายทะเบียนตำบลว่าเด็กหญิง ธ. เป็นบุตรของตนเกิดที่จังหวัดร้อยเอ็ดอันเป็นความเท็จ เพราะเด็กหญิง ธ. เกิดที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำเลยกรอกข้อความดังกล่าวลงในแบบฟอร์ม ใบรับแจ้งความการเกิดเอง โดย บ. มิได้แนะนำ ขณะเกิดเหตุจำเลยเป็นอาจารย์ใหญ่ย่อมทราบดีว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ จำเลยจึงมีเจตนาแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงาน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2641/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาแจ้งเท็จการเกิดต่อเจ้าพนักงาน แม้ผู้แนะนำปฏิเสธ การกระทำโดยรู้ว่าเป็นเท็จมีเจตนา
จำเลยแจ้งข้อความต่อ บ. ผู้ใหญ่บ้านซึ่งเป็นผู้ช่วยนายทะเบียนตำบลว่าเด็กหญิง ธ. เป็นบุตรของตนเกิดที่จังหวัดร้อยเอ็ดอันเป็นความเท็จ เพราะเด็กหญิง ธ. เกิดที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำเลยกรอกข้อความดังกล่าวลงในแบบฟอร์มใบรับแจ้งความการเกิดเอง โดย บ. มิได้แนะนำ ขณะเกิดเหตุจำเลยเป็นอาจารย์ใหญ่ย่อมทราบดีว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จจำเลยจึงมีเจตนาแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2141/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงเจตจงใจเท็จเพื่อรับมรดก ทำให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์โดยมิชอบ
จำเลยทั้งสี่ยื่นคำร้องต่อ เจ้าพนักงานที่ดินขอรับมรดกที่ดินมีโฉนด แล้วจำเลยทั้งสี่ให้ถ้อยคำและยืนยันรับรองบัญชีเครือญาติต่อ เจ้าหน้าที่ที่ดินที่สอบสวนที่ดินมรดกว่า ผู้ตายมีทายาทเพียง 4 คน คือ จำเลยทั้งสี่ อันเป็นเท็จ ซึ่ง ความจริงจำเลยทั้งสี่ต่าง ทราบดี อยู่แล้วว่าผู้ตายยังมีบุตรสาวอีก 2 คน เป็นทายาทโดยธรรม เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ถึง ที่ 4 ตาม คำขอของจำเลยทั้งสี่ทำให้กรมที่ดินและบุตรสาวอีก 2 คน ของผู้ตายเสียหาย จำเลยทั้งสี่ย่อมมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 และกรณีเช่นนี้ถือว่าเป็นความผิดสำเร็จในวันที่กระทำความผิดนั้นเอง.
of 31