พบผลลัพธ์ทั้งหมด 306 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งเท็จเกี่ยวกับสัญชาติและข้อมูลในทะเบียนบ้าน ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 และ 137
การที่จำเลยเป็นคนสัญชาติญวนไม่เคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านหลังหนึ่งเลย แล้วไปแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ควบคุมทะเบียน จดข้อความเท็จลงในทะเบียนบ้านอีกหลังหนึ่ง ว่าจำเลยเป็นคนสัญชาติไทย ย้ายมาจากบ้านที่จำเลยไม่เคยมีชื่ออยู่นั้นการกระทำของจำเลย ย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบังอาจแจ้งความเท็จต่อนายทะเบียนเขตดุสิตว่า จำเลยมีสัญชาติไทย ขอทำบัตรประชาชนคนไทยและนายทะเบียนเขตดุสิต ได้ออกบัตรประจำตัวประชาชนให้จำเลยอันเป็นเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์ สำหรับใช้เป็นหลักฐานยืนยันตัวบุคคลและสัญชาติ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่นายทะเบียนเขตดุสิตนั้น เมื่อปรากฏว่าบัตรประจำตัวประชาชน ที่เจ้าพนักงานออกให้นั้น ไม่มีการจดข้อความเท็จที่ว่าจำเลยมีสัญชาติไทย ลงไว้กรณีจึงไม่ครบองค์ประกอบที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 จำเลยคงมีความผิดฐานแจ้งความเท็จ แก่เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 เท่านั้น
การที่จำเลยซึ่งถูกเจ้าหน้าที่จับกุมในข้อหาว่าเป็นคนญวนอพยพ หนีจากเขตควบคุมให้การปฏิเสธพร้อมทั้งแสดงบัตรประจำตัวประชาชน ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดูนั้นเป็นการปฏิเสธในฐานะผู้ต้องหาแม้ข้อความ ที่จำเลยให้การนั้นจะเป็นเท็จก็ไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 และจะเอาผิดแก่จำเลยฐานใช้ หรืออ้างเอกสารอันเกิดจากการกระทำผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงาน จดข้อความเท็จลงในเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 ก็ไม่ได้อีกเช่นกัน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบังอาจแจ้งความเท็จต่อนายทะเบียนเขตดุสิตว่า จำเลยมีสัญชาติไทย ขอทำบัตรประชาชนคนไทยและนายทะเบียนเขตดุสิต ได้ออกบัตรประจำตัวประชาชนให้จำเลยอันเป็นเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์ สำหรับใช้เป็นหลักฐานยืนยันตัวบุคคลและสัญชาติ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่นายทะเบียนเขตดุสิตนั้น เมื่อปรากฏว่าบัตรประจำตัวประชาชน ที่เจ้าพนักงานออกให้นั้น ไม่มีการจดข้อความเท็จที่ว่าจำเลยมีสัญชาติไทย ลงไว้กรณีจึงไม่ครบองค์ประกอบที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 จำเลยคงมีความผิดฐานแจ้งความเท็จ แก่เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 เท่านั้น
การที่จำเลยซึ่งถูกเจ้าหน้าที่จับกุมในข้อหาว่าเป็นคนญวนอพยพ หนีจากเขตควบคุมให้การปฏิเสธพร้อมทั้งแสดงบัตรประจำตัวประชาชน ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดูนั้นเป็นการปฏิเสธในฐานะผู้ต้องหาแม้ข้อความ ที่จำเลยให้การนั้นจะเป็นเท็จก็ไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 และจะเอาผิดแก่จำเลยฐานใช้ หรืออ้างเอกสารอันเกิดจากการกระทำผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงาน จดข้อความเท็จลงในเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 ก็ไม่ได้อีกเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2039/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งงบดุลกองมรดกเท็จที่ไม่ทำให้ทายาทเสียประโยชน์ ไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ
โจทก์และจำเลยต่างก็เป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นทายาทยื่นคำร้องต่อศาลขอให้จำเลยจ่ายเงินแก่ทายาท. จำเลยยื่นงบดุลกองมรดกต่อศาลแสดงจำนวนเงินเหลืออยู่มากกว่าจำนวนที่เหลืออยู่จริง แม้จะเป็นเท็จก็มิใช่เป็นข้อสำคัญในคดี. และโจทก์ซึ่งเป็นทายาทก็ไม่ได้รับความเสียหายเพราะไม่ทำให้โจทก์มีสิทธิได้รับเงินมรดกน้อยกว่าจำนวนที่เป็นจริง การกระทำของจำเลยไม่มีมูลความผิดฐานแจ้งความเท็จหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 9/2518).
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 9/2518).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2039/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งงบดุลกองมรดกเท็จที่ไม่ทำให้ทายาทเสียสิทธิ ไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ
โจทก์และจำเลยต่างก็เป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก. เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นทายาทยื่นคำร้องต่อศาลขอให้จำเลยจ่ายเงินแก่ทายาท. จำเลยยื่นงบดุลกองมรดกต่อศาลแสดงจำนวนเงินเหลืออยู่มากกว่าจำนวนที่เหลืออยู่จริง. แม้จะเป็นเท็จก็มิใช่เป็นข้อสำคัญในคดี. และโจทก์ซึ่งเป็นทายาทก็ไม่ได้รับความเสียหายเพราะไม่ทำให้โจทก์มีสิทธิได้รับเงินมรดกน้อยกว่าจำนวนที่เป็นจริง. การกระทำของจำเลยไม่มีมูลความผิดฐานแจ้งความเท็จหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ. (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 9/2518).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3520/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมโฉนดที่ดินและใช้เอกสารปลอมเพื่อประกันตัว: ศาลพิจารณาเป็นกรรมเดียวตามบทบัญญัติมาตรา 268 วรรคสอง
จำเลยกับพวกปลอมดวงตราของผู้ว่าราชการจังหวัดและดวงตราของเจ้าพนักงานที่ดิน แล้วเอาดวงตราปลอมไปดังกล่าวไปประทับในโฉนดที่ดินช่องผู้ว่าราชการจังหวัดและช่องเจ้าพนักงานที่ดินทุกแห่งที่จำเลยลงลายมือชื่อปลอมของบุคคลดังกล่าว ก็เพื่อให้โฉนดที่ดินปลอมมีที่จำเลยกับพวกทำขึ้นนั้นมีข้อความ ลายมือชื่อและรอยตราประทับเหมือนของจริงอันเป็นการปลอมโฉนดที่ดินทั้งฉบับสำเร็จสมดังเจตนาของจำเลยการกระทำของจำเลยกับพวกดังกล่าวจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 วรรคแรก,266(1),251 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
จำเลยกับพวกนำโฉนดที่ดินปลอมซึ่งมีรอยตราปลอมของเจ้าพนักงานประทับและแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานศาลอาญาก็เพื่อประโยชน์ของจำเลยกับพวกในการใช้โฉนดที่ดินปลอมโดยให้เจ้าพนักงานศาลหลงเชื่อว่าจำเลยมีหลักทรัพย์เพียงพอที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาจะใช้ดุลพินิจอนุญาตให้จำเลยประกันตัว ซ. จึงจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบด้วย มาตรา 266,252,137 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
การปลอมเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการเป็นความผิดสำเร็จเมื่อทำการปลอมเสร็จ แยกเจตนาได้จากการนำเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอมนั้นไปใช้ มาตรา 268 วรรคสองให้ลงโทษฐานใช้แต่กระทงเดียว จึงลงโทษจำเลยตามมาตรา 268 ประกอบด้วยมาตรา 266
จำเลยกับพวกนำโฉนดที่ดินปลอมซึ่งมีรอยตราปลอมของเจ้าพนักงานประทับและแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานศาลอาญาก็เพื่อประโยชน์ของจำเลยกับพวกในการใช้โฉนดที่ดินปลอมโดยให้เจ้าพนักงานศาลหลงเชื่อว่าจำเลยมีหลักทรัพย์เพียงพอที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาจะใช้ดุลพินิจอนุญาตให้จำเลยประกันตัว ซ. จึงจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบด้วย มาตรา 266,252,137 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
การปลอมเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการเป็นความผิดสำเร็จเมื่อทำการปลอมเสร็จ แยกเจตนาได้จากการนำเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอมนั้นไปใช้ มาตรา 268 วรรคสองให้ลงโทษฐานใช้แต่กระทงเดียว จึงลงโทษจำเลยตามมาตรา 268 ประกอบด้วยมาตรา 266
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3443/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้พ้นตำแหน่ง ไวยาวัจกร ไม่มีสิทธิเรียกร้องความเสียหายจากการแจ้งความหายของสมุดบัญชีวัด
โจทก์พ้นจากตำแหน่งไวยาวัจกร และทางวัดได้เพิกถอนอำนาจของ โจทก์ในการสั่งจ่าย-ถอนเงินของวัดแล้ว ขณะเกิดเหตุโจทก์ไม่ ได้เป็นไวยาวัจกรของวัด ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเงินหรือ สมุดฝากเงินของวัดแล้ว การที่จำเลยผู้เป็นเจ้าอาวาส แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าสมุดเงินฝากของวัดตกหาย จึงไม่ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3176/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแจ้งความเท็จ: ความเสียหายต้องเกิดจากการกระทำโดยตรงต่อโจทก์ ไม่ใช่ผลกระทบทางอ้อม
การที่จำเลยที่ 5 รับรองข้อความในหนังสือชี้แจงเรื่องราวว่า ซ. ซึ่งเป็นกรรมการของบริษัทด้วยผู้หนึ่งได้ลงลายมือชื่อต่อหน้าจำเลยที่ 5 เพื่อยืนยันหนังสือชี้แจงที่ยื่นต่อนายทะเบียนนั้น มิได้มีข้อความพาดพิงเกี่ยวเนื่องไปถึงโจทก์ซึ่งพ้นจากการเป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทไปแล้วแต่เป็นการกระทำของจำเลยที่ 5 เกี่ยวกับ ซ. ต่อนายทะเบียนโจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายใดๆจากการกระทำของจำเลยที่ 5ที่โจทก์อ้างว่ากรรมการที่เปลี่ยนแปลงใหม่ไม่รับผิดชอบในเช็คที่โจทก์ออกในนามของบริษัทสั่งจ่ายให้เจ้าหนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทแล้ว ไม่ได้ทำบัญชีเกี่ยวกับกิจการของบริษัทและทำบัญชีงบดุลของบริษัทให้ถูกต้องตามความเป็นจริงนั้น ก็มิใช่การกระทำของจำเลยที่ 5 โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 5 ในข้อหาความผิดฐานแจ้งความเท็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2673/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องแจ้งความเท็จและเอกสารราชการไม่ขัดแย้งกัน แต่ขาดอายุความตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดเป็นสองตอนคือ การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานเกี่ยวกับสัญชาติของ จำเลยในการยื่นคำขอรับบัตรประจำตัวประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 ตอนหนึ่ง และการแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จดังกล่าวลงในเอกสารราชการตามแบบบ.ป.1 ตามมาตรา 267 อีกตอนหนึ่ง ข้อหาความผิดทั้งสองตอนตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องต่อเนื่องเชื่อมโยงกันและอาจเกิดขึ้นในคราวเดียวกันได้ หาเป็นการขัดแย้งกันไม่ และข้อเท็จจริงตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ก็เป็นไปโดยแจ้งชัดพอสมควรที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี คำฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยได้โดย โจทก์ไม่จำต้องสืบพยานประกอบ
ความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137 ระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และความผิดตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505 มาตรา 17 ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จำเลยกระทำผิดเมื่อวันที่ 27 มกราคม2519 โจทก์ นำตัวจำเลยมายื่นฟ้องต่อศาลในวันที่18 พฤษภาคม 2526 เกินกำหนดห้าปีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 (4)
ความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137 ระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และความผิดตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505 มาตรา 17 ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จำเลยกระทำผิดเมื่อวันที่ 27 มกราคม2519 โจทก์ นำตัวจำเลยมายื่นฟ้องต่อศาลในวันที่18 พฤษภาคม 2526 เกินกำหนดห้าปีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2673/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดแจ้งความเท็จและเอกสารราชการ: อายุความและกรรมเดียวผิดหลายบท
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดเป็นสองตอนคือการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานเกี่ยวกับสัญชาติของ จำเลยในการยื่นคำขอรับบัตรประจำตัวประชาชน ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 ตอนหนึ่ง และการแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จดังกล่าวลงใน เอกสารราชการตามแบบบ.ป.1 ตามมาตรา 267 อีกตอนหนึ่งข้อหาความผิดทั้งสองตอนตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง ต่อเนื่องเชื่อมโยงกันและอาจเกิดขึ้นในคราวเดียวกันได้หาเป็นการขัดแย้งกันไม่และข้อเท็จจริงตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ก็เป็นไปโดยแจ้งชัดพอสมควรที่จะให้จำเลยเข้าใจ ข้อหาได้ดี คำฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) เมื่อจำเลย ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยได้โดย โจทก์ไม่จำต้องสืบพยานประกอบ ความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137 ระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่ เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับและความผิดตาม พระราชบัญญัติ บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505 มาตรา 17 ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จำเลยกระทำผิดเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2519 โจทก์ นำตัวจำเลยมายื่นฟ้องต่อศาลในวันที่18 พฤษภาคม 2526 เกินกำหนดห้าปีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2633/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องและอายุความแจ้งความเท็จ กรณีแจ้งสัญชาติเท็จเพื่อออกบัตรประชาชน
ฟ้องของโจทก์ที่อ้างว่าจำเลยแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานและให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จโดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยแจ้งต่อเจ้าพนักงานว่าเป็นคนสัญชาติไทยในการยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนกับแจ้งต่อเจ้าพนักงานให้จดข้อความลงในเอกสารราชการว่าจำเลยมีสัญชาติไทยอันเป็นความเท็จนั้นหาเป็นการขัดแย้งกันไม่เพราะต่างก็เป็นการกระทำอันเป็นความผิดในตัวแยกต่างหากจากกันได้จำเลยก็เข้าใจข้อหาได้ดี และให้การรับสารภาพโดยไม่มีข้อโต้แย้งใดๆเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 ปัญหาเรื่องคดีโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 95 เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2633/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแจ้งความเท็จและจดข้อความเท็จในเอกสารราชการ แม้เป็นคนละกรรม แต่ฟ้องไม่ขัดแย้ง หากขาดอายุความ ศาลฎีกายกฟ้องได้
ฟ้องของโจทก์ที่อ้างว่าจำเลยแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน และให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จ โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยแจ้งต่อเจ้าพนักงานว่าเป็นคนสัญชาติไทยในการยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชน กับแจ้งต่อเจ้าพนักงานให้จดข้อความลงในเอกสารราชการว่าจำเลยมีสัญชาติไทยอันเป็นความเท็จนั้น หาเป็นการขัดแย้งกันไม่ เพราะต่างก็เป็นการกระทำอันเป็นความผิดในตัวแยกต่างหากจากกันได้จำเลยก็เข้าใจข้อหาได้ดี และให้การรับสารภาพโดยไม่มีข้อโต้แย้งใดๆเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158
ปัญหาเรื่องคดีโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 95 เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
ปัญหาเรื่องคดีโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 95 เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้