คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 137

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 306 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2839/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จเพื่อออกบัตรประชาชนปลอม จำเลยไม่มีส่วนร่วมโดยตรงในการแจ้งเท็จต่อเจ้าพนักงาน
การที่มีผู้ไปแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานปกครอง ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานบัตรประจำตัวประชาชนว่า บัตรประจำตัวประชาชนของด.สูญหายไป และผู้ที่มาร้องขอทำบัตรประชาชนฉบับใหม่แทนฉบับเดิมที่สูญหายไปคือ ด.ความจริงบัตรประจำตัวประชาชนของด.ไม่ได้สูญหายไป และผู้ที่แจ้งไม่ใช่ ด. ทำให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนฉบับใหม่และทำให้ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชนซึ่งมีข้อความอันเป็นเท็จไป เมื่อปรากฏว่าผู้มีหน้าที่รับผิดชอบทางทะเบียนทั่วไปและบัตรประจำตัวประชาชนได้ตรวจสอบคำร้องขอและสอบสวนผู้ร้องขอแล้วจึงได้มีคำสั่งอนุมัติให้ทำบัตรใหม่ได้ แม้ว่าในวันเกิดเหตุจำเลยไปที่ที่ว่าการอำเภอที่เกิดเหตุ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยมีส่วนร่วมในการที่ผู้ร้องขอยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ในการออกบัตรประจำตัวประชาชนออกบัตรประจำตัวประชาชนให้ใหม่อันเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานดังกล่าว หรือมีส่วนร่วมในการแจ้งให้เจ้าพนักงานดังกล่าวจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนฉบับใหม่แต่อย่างใด และแม้ว่าในวันเกิดเหตุ จำเลยได้พาเพื่อนของจำเลยมาให้ จ.ลงชื่อรับรองว่าเป็นด.เพื่อทำบัตรประจำตัวประชาชน และจ.ได้รับรองให้ก็ตามแต่จ.มีตำแหน่งเป็นพัฒนาการอำเภอที่เกิดเหตุ ซึ่งเป็นเพียงข้าราชการเท่านั้น จ.มิได้เป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจและหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานบัตรประจำตัวประชาชนประจำที่ว่าอำเภอที่เกิดเหตุ ทั้งจ.มิได้สังกัดกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย จ.จึงมิใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมายการที่จำเลยพาเพื่อนของจำเลยมาให้ จ. รับรองให้การขอทำบัตรประจำตัวประชาชนดังกล่าวจึงไม่ถือว่าจำเลยแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานส่วนการที่ จ.จะรับรองบุคคลที่มาขอทำบัตรประจำตัวประชาชนต่อเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่ออกบัตรประจำตัวประชาชนใหม่หรือไม่ เป็นเรื่อง ที่จ.จะต้องมีวิจารณญาณและความรับผิดชอบในการกระทำของตนเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2839/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จเกี่ยวกับบัตรประชาชนและการมีส่วนร่วมทางอาญา: จำเลยไม่มีส่วนร่วมโดยตรง
การที่มีผู้ไปแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานปกครองผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานบัตรประจำตัวประชาชนว่า บัตรประจำตัวประชาชนของ ด.สูญหายไป และผู้ที่มาร้องขอทำบัตรประจำตัวประชาชนฉบับใหม่แทนฉบับเดิมที่สูญหายไป คือ ด. ความจริงบัตรประจำตัวประชาชนของ ด.ไม่ได้สูญหายไป และผู้ที่แจ้งไม่ใช่ ด. ทำให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนฉบับใหม่และทำให้ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชนซึ่งมีข้อความอันเป็นเท็จไป เมื่อปรากฏว่าผู้มีหน้าที่รับผิดชอบทางทะเบียนทั่วไปและบัตรประจำตัวประชาชน ได้ตรวจสอบคำร้องขอและสอบสวนผู้ร้องขอแล้วจึงได้มีคำสั่งอนุมัติให้ทำบัตรใหม่ได้ แม้ว่าในวันเกิดเหตุจำเลยไปที่ที่ว่าการอำเภอที่เกิดเหตุ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยมีส่วนร่วมในการที่ผู้ร้องขอยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ในการออกบัตรประจำตัวประชาชน ออกบัตรประจำตัวประชาชนให้ใหม่อันเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานดังกล่าว หรือมีส่วนร่วมในการแจ้งให้เจ้าพนักงานดังกล่าวจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนฉบับใหม่แต่อย่างใด และแม้ว่าในวันเกิดเหตุ จำเลยได้พาเพื่อนของจำเลยมาให้ จ.ลงชื่อรับรองว่าเป็น ด.เพื่อทำบัตรประจำตัวประชาชน และจ.ได้รับรองให้ก็ตาม แต่ จ.มีตำแหน่งเป็นพัฒนาการอำเภอที่เกิดเหตุ ซึ่งเป็นเพียงข้าราชการเท่านั้น จ.มิได้เป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจและหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานบัตรประจำตัวประชาชนประจำที่ว่าการอำเภอที่เกิดเหตุ ทั้ง จ.มิได้สังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย จ.จึงมิใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมาย การที่จำเลยพาเพื่อนของจำเลยมาให้ จ.รับรองในการขอทำบัตรประจำตัวประชาชนดังกล่าวจึงไม่ถือว่าจำเลยแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ส่วนการที่ จ.จะรับรองบุคคลที่มาขอทำบัตรประจำตัวประชาชนต่อเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่ออกบัตรประจำตัวประชาชนใหม่หรือไม่ เป็นเรื่องที่ จ.จะต้องมีวิจารณญาณและความรับผิดชอบในการกระทำของตนเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8043/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จเกี่ยวกับที่อยู่และการบังคับคดี: โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องหากไม่เสียหายโดยตรง
โจทก์ซื้อที่ดินพร้อมบ้านพิพาทคือบ้านเลขที่ 117 จากต.มารดาของสามีจำเลยต่อมาโจทก์ฟ้องขับไล่ต. ออกจากบ้านและที่ดิน ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีถึงที่สุดให้ขับไล่ต.แต่ต. ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ดำเนินการบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีตรวจสอบแล้วปรากฏว่า ต.ย้ายไปอยู่อีกห้องหนึ่งซึ่งเป็นบ้านเลขที่ 117/2 ที่จำเลย เป็นผู้ไปแจ้งขอเปลี่ยนหมายเลขประจำบ้านต่อผู้ใหญ่บ้านท้องที่จนได้รับหมายเลขประจำบ้านใหม่ดังกล่าว เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำรายงานเสนอศาลขอให้เพิกถอนหมายจับต.โดยอ้างว่าต. ได้ออกจากบ้านพิพาทแล้ว ความจริงบ้านเลขที่ 117/2 ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของบ้านเลขที่ 117ที่ศาลพิพากษาให้ขับไล่ ต. แต่จำเลยอ้างว่าเป็นบ้านที่จำเลยปลูกและขอหมายเลขประจำบ้านใหม่ ดังนี้หากบ้านเลขที่ 117/2 เป็นส่วนหนึ่งของบ้านที่โจทก์ฟ้องขับไล่โจทก์ก็สามารถบังคับคดีได้ การกระทำของจำเลยจึงไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของโจทก์ เพียงแต่ทำให้โจทก์ต้องโต้แย้งข้อเท็จจริงกับจำเลยเท่านั้น โจทก์ไม่ได้รับความเสียหายโดยตรง ความเสียหายอันเกิดจากการกระทำของจำเลย ตามที่โจทก์ฟ้อง หากมีก็เกิดแก่เจ้าพนักงานผู้รับแจ้งโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมายอันจะมีอำนาจฟ้องจำเลยฐานแจ้งความเท็จและฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 และ 267เป็นคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8043/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องแจ้งความเท็จ – การบังคับคดี – การแจ้งข้อมูลเท็จต่อเจ้าพนักงาน – สิทธิโจทก์
โจทก์ซื้อที่ดินพร้อมบ้านพิพาทคือบ้านเลขที่ 117 จาก ต.มารดาของสามีจำเลย ต่อมาโจทก์ฟ้องขับไล่ ต.ออกจากบ้านและที่ดิน ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีถึงที่สุดให้ขับไล่ ต. แต่ ต.ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ดำเนินการบังคับคดีเจ้าพนักงานบังคับคดีตรวจสอบแล้วปรากฏว่า ต.ย้ายไปอยู่อีกห้องหนึ่งซึ่งเป็นบ้านเลขที่ 117/2 ที่จำเลยเป็นผู้ไปแจ้งขอเปลี่ยนหมายเลขประจำบ้านต่อผู้ใหญ่บ้านท้องที่จนได้รับหมายเลขประจำบ้านใหม่ดังกล่าว เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำรายงานเสนอศาลขอให้เพิกถอนหมายจับ ต.โดยอ้างว่า ต.ได้ออกจากบ้านพิพาทแล้วความจริงบ้านเลขที่ 117/2 ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของบ้านเลขที่ 117 ที่ศาลพิพากษาให้ขับไล่ ต. แต่จำเลยอ้างว่าเป็นบ้านที่จำเลยปลูกและขอหมายเลขประจำบ้านใหม่ ดังนี้ หากบ้านเลขที่ 117/2 เป็นส่วนหนึ่งของบ้านที่โจทก์ฟ้องขับไล่โจทก์ก็สามารถบังคับคดีได้ การกระทำของจำเลยจึงไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของโจทก์ เพียงแต่ทำให้โจทก์ต้องโต้แย้งข้อเท็จจริงกับจำเลยเท่านั้น โจทก์ไม่ได้รับความเสียหายโดยตรง ความเสียหายอันเกิดจากการกระทำของจำเลยตามที่โจทก์ฟ้อง หากมีก็เกิดแก่เจ้าพนักงานผู้รับแจ้ง โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมายอันจะมีอำนาจฟ้องจำเลยฐานแจ้งความเท็จและฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จตาม ป.อ.มาตรา 137 และ 267 เป็นคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6796/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน: การพิสูจน์สถานะเจ้าพนักงานและการแจ้งข้อมูลเท็จเกี่ยวกับสัญชาติ
ความผิดฐานแจ้งข้อความเท็จแก่เจ้าพนักงานซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 นั้น หมายถึงการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานทั่วไปมิใช่เจ้าพนักงานฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดโดยเฉพาะ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าขณะที่จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่ร้อยตำรวจตรี ก. ว่าจำเลยเป็นบุคคลสัญชาติไทย ร้อยตำรวจตรี ก. รับราชการเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ มีตำแหน่งเป็นรองสารวัตรฝ่ายสืบสวนสอบสวน ประจำสำนักงานควบคุมชนต่างชาติผู้อพยพกองตำรวจสันติบาล โดยร้อยตำรวจตรี ก. ร่วมทำการสืบสวนสถานภาพของจำเลยตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาก่อนเกิดเหตุประมาณ 1 เดือน การสืบสวนของร้อยตำรวจตรี ก. เกี่ยวกับสถานภาพของจำเลยและการสอบปากคำจำเลยจึงเป็นการกระทำในฐานะเจ้าพนักงาน หาใช่กระทำการโดยปราศจากคำสั่งหรือมิได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาไม่ ดังนั้น การที่จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่ร้อยตำรวจตรี ก. ให้กรอกข้อความในแบบสอบปากคำว่า จำเลยเป็นบุคคลสัญชาติไทยทั้ง ๆ ที่จำเลยรู้อยู่ว่าจำเลยเป็นบุคคลสัญชาติเวียดนามหรือญวน มีสถานภาพเป็นคนญวนอพยพมิได้มีสัญชาติไทย และความเท็จนั้นอาจทำให้บุคคลอื่นหรือประชาชนเสียหาย จำเลยย่อมมีความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5346/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จก่อนถูกสอบสวน: ไม่ใช่การให้การในฐานะผู้ต้องหา
จำเลยแจ้งข้อความต่อพนักงานสอบสวนขณะปฏิบัติหน้าที่ร้อยเวรสอบสวน อันเป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่ว่า "ภายหลังเกิดเหตุรถชนกันแล้ว ผู้ขับขี่รถสามล้อเครื่องได้หลบหนีไป" ซึ่งเป็นความเท็จ ความจริงแล้วคนขับรถสามล้อเครื่องยังคงอยู่ในที่เกิดเหตุ การกระทำของจำเลยน่าจะทำให้พนักงานสอบสวน หรือประชาชนเสียหาย แม้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 134 ผู้ต้องหาจะให้การหรือไม่ให้การเลยก็ได้ เป็นสิทธิของผู้ต้องหาก็ตาม แต่ได้ความจากคำร้องขอผัดฟ้องและฝากขังว่าพนักงานสอบสวนได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอผัดฟ้องและฝากขังจำเลยเมื่อวันที่ 16กุมภาพันธ์ 2539 โดยระบุในคำร้องดังกล่าวว่าจำเลยถูกจับเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์2539 และถูกกล่าวหาว่าขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้เฉี่ยวชนทรัพย์สินผู้อื่นเสียหายไม่หยุดให้การช่วยเหลือ ไม่แสดงตนและแจ้งเหตุต่อเจ้าหน้าที่ใกล้เคียง และแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นเสียหาย อันเป็นความผิดตามพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (4), 78, 157, 160 วรรคหนึ่งและ ป.อ.มาตรา 137 การที่จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จดังกล่าวตามฟ้องแก่เจ้าพนักงานในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2539 จึงเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเช่นนั้นแก่เจ้าพนักงานก่อนจำเลยถูกสอบสวนว่าได้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 หรือไม่ มิใช่เป็นการให้การของจำเลยในฐานะผู้ต้องหาในความผิดดังกล่าวต่อพนักงานสอบสวนอันจะทำให้จำเลยไม่มีความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานตาม ป.อ.มาตรา 137

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5346/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จก่อนถูกกล่าวหา: การแจ้งข้อความเท็จต่อพนักงานสอบสวนก่อนการถูกสอบสวนในความผิดอื่น ไม่ถือเป็นการให้การเท็จ
จำเลยแจ้งข้อความต่อพนักงานสอบสวนขณะปฏิบัติหน้าที่ร้อยเวรสอบสวน อันเป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่ว่า"ภายหลังเกิดเหตุรถชนกันแล้ว ผู้ขับขี่รถสามล้อเครื่องได้หลบหนีไป" ซึ่งเป็นความเท็จ ความจริงแล้วคนขับรถสามล้อเครื่องยังคงอยู่ในที่เกิดเหตุ การกระทำของจำเลยน่าจะทำให้พนักงานสอบสวน หรือประชาชนเสียหาย แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 ผู้ต้องหาจะให้การหรือไม่ให้การเลยก็ได้ เป็นสิทธิของผู้ต้องหาก็ตามแต่ได้ความจากคำร้องขอผัดฟ้องและฝากขังว่า พนักงานสอบสวนได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอผัดฟ้องและฝากขังจำเลยเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2539 โดยระบุในคำร้องดังกล่าวว่าจำเลยถูกจับเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2539 และถูกกล่าวหาว่าขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้เฉี่ยวชนทรัพย์สินผู้อื่นเสียหายไม่หยุดให้การช่วยเหลือ ไม่แสดงตนและแจ้งเหตุต่อเจ้าหน้าที่ใกล้เคียง และแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นเสียหาย อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 43(4),78,157,160 วรรคหนึ่ง และประมวลกฎหมายอาญามาตรา 177 การที่จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จดังกล่าวตามฟ้องแก่เจ้าพนักงานในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2539 จึงเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเช่นนั้นแก่เจ้าพนักงานก่อนจำเลยถูกสอบสวนว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 หรือไม่ มิใช่เป็นการให้การของจำเลยในฐานะผู้ต้องหาในความผิดดังกล่าวต่อพนักงานสอบสวนอันจะทำให้จำเลยไม่มีความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3162/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จเกี่ยวกับเอกสารหายเพื่อออกฉบับใหม่ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการ
ก่อนจำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์สูญหายไป จำเลยทราบดีว่าเอกสารดังกล่าวมิได้สูญหาย แต่ อ.เป็นผู้เอาไปจากตู้เก็บเอกสารของ ก.และไม่ยอมคืนให้จำเลยเพราะอ้างว่าเป็นเจ้าของรถยนต์และจำเลยทราบจากเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบกว่าทางราชการจะออกใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ให้เจ้าของรถใหม่ต่อเมื่อฉบับเก่าสูญหายโดยมีหลักฐานของเจ้าพนักงานตำรวจมาแสดง เมื่อเป็นความประสงค์ของจำเลยเองที่ต้องการให้ทางราชการออกใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ให้จำเลยใหม่โดยจำเลยไม่ต้องเสียเวลาในการฟ้องร้อง อ. จำเลยจึงแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์สูญหายไปอันเป็นความเท็จ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ครบองค์ประกอบในความผิดฐานแจ้งความเท็จแก่เจ้าพนักงานตามที่ ป.อ.มาตรา 137 บัญญัติไว้เพราะหากกรมการขนส่งทางบกเชื่อว่าใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์สูญหายไปจริงตามที่จำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน ทางราชการก็จะต้องออกเอกสารดังกล่าวฉบับใหม่ขึ้นแทน ซึ่งอาจก่อให้เกิดความสับสนทางทะเบียนเป็นที่เสียหายแก่เจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบก พนักงานสอบสวนและประชาชนทั่วไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3162/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จเกี่ยวกับใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์เพื่อออกเอกสารใหม่ มีความผิดฐานแจ้งความเท็จ
ก่อนจำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์สูญหายไปจำเลยทราบดีว่าเอกสารดังกล่าวมิได้สูญหายไปแต่อ. เป็นผู้เอาไปจากตู้เก็บเอกสารของก. และไม่ยอมคืนให้จำเลยเพราะอ้างว่าเป็นเจ้าของรถยนต์และจำเลยทราบจากเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบกว่าทางราชการจะออกใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ให้เจ้าของรถใหม่ต่อเมื่อฉบับเก่าสูญหายโดยมีหลักฐานของเจ้าพนักงานตำรวจมาแสดงเมื่อเป็นความประสงค์ของจำเลยเองที่ต้องการให้ทางราชการออกใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ให้จำเลยใหม่โดยจำเลยไม่ต้องเสียเวลาในการฟ้องร้องอ. จำเลยจึงแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์สูญหายไปอันเป็นความเท็จการกระทำของจำเลยจึงเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหายครบองค์ประกอบในความผิดฐานแจ้งความเท็จแก่เจ้าพนักงานตามที่ประมวลกฎหมายอาญามาตรา137บัญญัติไว้เพราะหากกรมการขนส่งทางบกเชื่อว่าใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์สูญหายไปจริงตามที่จำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนทางราชการก็จะต้องออกเอกสารดังกล่าวฉบับใหม่ขึ้นแทนซึ่งอาจก่อให้เกิดความสับสนทางทะเบียนเป็นที่เสียหายแก่เจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบกพนักงานสอบสวนและประชาชนทั่วไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3162/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จเกี่ยวกับใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์เพื่อออกฉบับใหม่ มีความผิดฐานแจ้งความเท็จ
ก่อนจำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์สูญหายไป จำเลยทราบดีว่าเอกสารดังกล่าวมิได้สูญหายไป แต่ อ. เป็นผู้เอาไปจากตู้เก็บเอกสารของก. และไม่ยอมคืนให้จำเลยเพราะอ้างว่าเป็นเจ้าของรถยนต์และจำเลยทราบจากเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบกว่าทางราชการจะออกใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ให้เจ้าของรถใหม่ต่อเมื่อฉบับเก่าสูญหายโดยมีหลักฐานของเจ้าพนักงานตำรวจมาแสดงเมื่อเป็นความประสงค์ของจำเลยเองที่ต้องการให้ทางราชการออกใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ให้จำเลยใหม่โดยจำเลยไม่ต้องเสียเวลาในการฟ้องร้อง อ. จำเลยจึงแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์สูญหายไปอันเป็นความเท็จ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ครบองค์ประกอบในความผิดฐานแจ้งความเท็จแก่เจ้าพนักงานตามที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 บัญญัติไว้เพราะหากกรมการขนส่งทางบกเชื่อว่าใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์สูญหายไปจริงตามที่จำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนทางราชการก็จะต้องออกเอกสารดังกล่าวฉบับใหม่ขึ้นแทนซึ่งอาจก่อให้เกิดความสับสนทางทะเบียนเป็นที่เสียหายแก่เจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบก พนักงานสอบสวนและประชาชนทั่วไปได้
of 31