พบผลลัพธ์ทั้งหมด 246 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1490/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสและหนี้ร่วมหลังหย่า การหักหนี้ออกจากสินสมรสต้องมีเหตุผลตามกฎหมาย
จำเลยให้การและฟ้องแย้งโดยมิได้ขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่าหนี้ที่จำเลยกู้เงินจากบิดามานั้นเป็นหนี้ร่วมที่โจทก์จำเลยต้องรับผิดคนละกึ่งหนึ่ง หรือขอให้แบ่งบ้านอันเป็นสินสมรสโดยให้หักใช้หนี้เงินกู้ดังกล่าวก่อน การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้แบ่งบ้านอันเป็นสินสมรสโดยหักใช้หนี้เงินกู้ดังกล่าวก่อนจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในฟ้องแย้ง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142
การที่สามีภริยาต้องรับผิดในหนี้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1489 และมาตรา 1490 นั้น จะต้องรับผิดต่อเมื่อสามีหรือภริยาชำระหนี้ร่วมให้แก่เจ้าหนี้ไปแล้ว หากฝ่ายที่ชำระหนี้ร่วมให้แก่เจ้าหนี้ไปเกินส่วนที่ตนได้สินสมรสไปเท่าใดก็มีสิทธิเรียกร้องอีกฝ่ายหนึ่งชดใช้ให้ มิใช่ว่าหากสามีหรือภริยาหย่าและแบ่งสินสมรสกันแล้วจะต้องนำหนี้ร่วมมาหักออกจากสินสมรสให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเก็บรักษาไว้เพื่อชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ก่อนแล้วจึงจะแบ่งสินสมรสส่วนที่เหลือกัน เพราะหากไม่นำเงินที่หักไว้ไปชำระให้แก่เจ้าหนี้ เจ้าหนี้อาจเรียกให้อีกฝ่ายรับผิดชำระหนี้เงินกู้เต็มจำนวนได้อยู่
การที่สามีภริยาต้องรับผิดในหนี้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1489 และมาตรา 1490 นั้น จะต้องรับผิดต่อเมื่อสามีหรือภริยาชำระหนี้ร่วมให้แก่เจ้าหนี้ไปแล้ว หากฝ่ายที่ชำระหนี้ร่วมให้แก่เจ้าหนี้ไปเกินส่วนที่ตนได้สินสมรสไปเท่าใดก็มีสิทธิเรียกร้องอีกฝ่ายหนึ่งชดใช้ให้ มิใช่ว่าหากสามีหรือภริยาหย่าและแบ่งสินสมรสกันแล้วจะต้องนำหนี้ร่วมมาหักออกจากสินสมรสให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเก็บรักษาไว้เพื่อชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ก่อนแล้วจึงจะแบ่งสินสมรสส่วนที่เหลือกัน เพราะหากไม่นำเงินที่หักไว้ไปชำระให้แก่เจ้าหนี้ เจ้าหนี้อาจเรียกให้อีกฝ่ายรับผิดชำระหนี้เงินกู้เต็มจำนวนได้อยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1376/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมการประนอมหนี้ในคดีล้มละลาย คิดจากจำนวนเงินประนอมหนี้ทั้งหมด แม้เจ้าหนี้บางรายถอนคำขอรับชำระหนี้
การคิดค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินในคดีล้มละลายที่มีการประนอมหนี้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 179 (4) กล่าวคือ "ค่าธรรมเนียมในคดีล้มละลายให้คิดตามอัตรา ดังต่อไปนี้... (4) ค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินให้คิดในอัตราร้อยละสามของเงินสุทธิที่รวบรวมได้ สำหรับทรัพย์สินที่ไม่มีการขายหรือจำหน่ายให้คิดในอัตราร้อยละสองของราคาทรัพย์สินนั้น แต่ถ้ามีการประนอมหนี้ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละสามของจำนวนเงินที่ประนอมหนี้ ทั้งนี้ แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า..." ถ้อยคำ "ของจำนวนเงินที่ประนอมหนี้" หมายความว่า ให้คิดค่าธรรมเนียมจากจำนวนเงินที่ลูกหนี้ได้ขอประนอมหนี้ทั้งหมดซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ได้มีมติพิเศษยอมรับและศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแล้ว และความรับผิดในการชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าวเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้และไม่ได้เปลี่ยนแปลงไป แม้ต่อมาจะมีเจ้าหนี้ที่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้ถอนคำขอรับชำระหนี้ก็ตาม ดังนั้นเมื่อค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละสามของจำนวนเงินที่ประนอมหนี้มีจำนวน 34,811,370 บาท สูงกว่าค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละสองของราคาทรัพย์สินไม่มีการขายหรือจำหน่ายจำนวน 853,028 บาท จำเลยจึงต้องเสียค่าธรรมเนียม 34,811,370 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1323/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาเช่า การหักชำระหนี้ ค่าเสียหาย และการรับฟังพยานหลักฐาน ศาลแก้ไขคำพิพากษา
พ.ร.บ.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.2522 ที่ใช้บังคับขณะฟ้อง มาตรา 4 และมาตรา 19 แสดงว่าอธิการบดีซึ่งเป็นผู้แทนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโจทก์ ซึ่งเป็นนิติบุคคลย่อมมีอำนาจดำเนินกิจการทั่วไปแทนโจทก์ การฟ้องคดีเป็นสิทธิของบุคคลในกระบวนการยุติธรรม และความประสงค์ของนิติบุคคลแสดงออกโดยผู้แทนของนิติบุคคลนั้น อธิการบดีผู้แทนของโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีในนามโจทก์ได้ โดยไม่จำต้องได้รับมอบอำนาจจากสภามหาวิทยาลัย
จำเลยยอมรับว่าได้เช่าอาคารพาณิชย์พิพาทจากโจทก์ จึงไม่มีอำนาจต่อสู้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจให้เช่าอีก และหากเป็นจริงตามที่โจทก์กล่าวอ้างว่าสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยครบกำหนดเวลาแล้ว โจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าต่อไป แต่จำเลยยังคงอยู่ในอาคารพาณิชย์ของโจทก์ ก็ถือได้ว่าจำเลยอยู่โดยไม่มีสิทธิอันเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ ถือว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ตามกฎหมายแพ่งตามความใน ป.วิ.พ. มาตรา 55 แล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้อง
จำเลยเคยยื่นฟ้องโจทก์ซึ่งศาลชั้นต้นในคดีก่อนได้ตรวจคำฟ้องแล้วเห็นว่า กรณียังไม่มีการโต้แย้งสิทธิ จำเลยไม่มีอำนาจฟ้องโจทก์ พิพากษายกฟ้อง ถือว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่จำเลยยกขึ้นอ้าง อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในการฟ้องคดีและเป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) อันมีผลเป็นการพิพากษาคดีแล้ว มิใช่เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นยังไม่รับคำฟ้อง เมื่อคดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยกลับมาฟ้องแย้งคดีนี้มีรายละเอียดและเหตุผลอย่างเดียวกัน ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นฟ้องซ้อน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
ป.พ.พ. มาตรา 538 บังคับให้สัญญาเช่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือจึงจะฟ้องร้องบังคับกันได้ เมื่อสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยมีกำหนดเวลาการเช่าแน่นอน จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบว่าเป็นสัญญาเช่าที่ไม่มีกำหนดเวลา เป็นการนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อความในเอกสาร จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
ร. เป็นนิติกรของโจทก์มีหน้าที่ตรวจสอบ ควบคุม ดูแลสัญญาเช่าพิพาท ถือเป็นผู้เกี่ยวข้องกับพยานเอกสารในคดีที่ตนได้ตรวจสอบแล้ว สามารถรับรองความถูกต้องแท้จริงได้ คำเบิกความของ ร. จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 95 (2)
จำเลยได้ทราบถึงความมีอยู่ของสำนวนคดีที่ประสงค์อ้างเป็นพยานตั้งแต่ก่อนวันสืบพยาน แต่มาระบุอ้างเพิ่มเติมเมื่อพ้นกำหนด 15 วัน นับแต่วันสืบพยาน จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคสอง
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของจำเลย เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้จึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226
คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ที่ว่า เอกสารที่จำเลยขอให้ศาลเรียกจากบุคคลภายนอกไม่น่าจะเกี่ยวเนื่องกับประเด็นข้อพิพาทในคดี เป็นเรื่องการใช้ดุลพินิจพิจารณาว่า พยานหลักฐานที่ขอให้เรียกมานั้นเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่จำเลยในคดีจะต้องนำสืบหรือไม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (1)
เจตนารมณ์ของการส่งสำเนาเอกสาร ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 90 มุ่งประสงค์เพียงให้ฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารมายันได้มีโอกาสตรวจสอบเอกสารก่อนเพื่อจะได้ซักค้านพยานได้ถูกต้องไม่เสียเปรียบแก่กัน เมื่อโจทก์แนบสำเนาหนังสือมอบอำนาจช่วงมาท้ายคำฟ้อง ย่อมนับได้ว่าตรงตามเจตนารมณ์ของกฎหมายแล้ว สำหรับเอกสารอื่นที่มิได้เป็นประเด็นโต้เถียงกันในคดี โจทก์จึงไม่จำต้องส่งสำเนาเอกสารแก่จำเลย
สัญญาเช่า ข้อ 22 ระบุว่า เมื่อสัญญาเช่าระงับลง ผู้เช่าต้องส่งมอบทรัพย์สินแก่ผู้ให้เช่าโดยพลัน หากไม่ดำเนินการผู้เช่ายินยอมให้ค่าเสียหายแก่ผู้ให้เช่าเป็นเงินวันละ 5,000 บาท ต่อคูหา นับแต่วันที่สัญญาเช่าระงับจนถึงวันที่ผู้เช่าส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าคืนเสร็จเรียบร้อย หรือวันที่ผู้ให้เช่าได้เข้าครอบครองทรัพย์สินที่เช่าแล้วแต่กรณี ถือว่าสัญญาเช่าได้กำหนดค่าเสียหายกันไว้ล่วงหน้า อันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 380 วรรคสอง บัญญัติว่า เจ้าหนี้จะเรียกเอาเบี้ยปรับอันจะพึงริบในฐานเป็นจำนวนน้อยที่สุดแห่งค่าเสียหายก็ได้ ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความจากการให้เช่าอาคารพาณิชย์บริเวณพิพาทเป็นคูหาละ 154,200 บาท ต่อเดือน ใกล้เคียงกับเบี้ยปรับตามสัญญา จึงชอบด้วยเหตุผล
จำเลยยอมรับว่าได้เช่าอาคารพาณิชย์พิพาทจากโจทก์ จึงไม่มีอำนาจต่อสู้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจให้เช่าอีก และหากเป็นจริงตามที่โจทก์กล่าวอ้างว่าสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยครบกำหนดเวลาแล้ว โจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าต่อไป แต่จำเลยยังคงอยู่ในอาคารพาณิชย์ของโจทก์ ก็ถือได้ว่าจำเลยอยู่โดยไม่มีสิทธิอันเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ ถือว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ตามกฎหมายแพ่งตามความใน ป.วิ.พ. มาตรา 55 แล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้อง
จำเลยเคยยื่นฟ้องโจทก์ซึ่งศาลชั้นต้นในคดีก่อนได้ตรวจคำฟ้องแล้วเห็นว่า กรณียังไม่มีการโต้แย้งสิทธิ จำเลยไม่มีอำนาจฟ้องโจทก์ พิพากษายกฟ้อง ถือว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่จำเลยยกขึ้นอ้าง อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในการฟ้องคดีและเป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) อันมีผลเป็นการพิพากษาคดีแล้ว มิใช่เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นยังไม่รับคำฟ้อง เมื่อคดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยกลับมาฟ้องแย้งคดีนี้มีรายละเอียดและเหตุผลอย่างเดียวกัน ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นฟ้องซ้อน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
ป.พ.พ. มาตรา 538 บังคับให้สัญญาเช่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือจึงจะฟ้องร้องบังคับกันได้ เมื่อสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยมีกำหนดเวลาการเช่าแน่นอน จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบว่าเป็นสัญญาเช่าที่ไม่มีกำหนดเวลา เป็นการนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อความในเอกสาร จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
ร. เป็นนิติกรของโจทก์มีหน้าที่ตรวจสอบ ควบคุม ดูแลสัญญาเช่าพิพาท ถือเป็นผู้เกี่ยวข้องกับพยานเอกสารในคดีที่ตนได้ตรวจสอบแล้ว สามารถรับรองความถูกต้องแท้จริงได้ คำเบิกความของ ร. จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 95 (2)
จำเลยได้ทราบถึงความมีอยู่ของสำนวนคดีที่ประสงค์อ้างเป็นพยานตั้งแต่ก่อนวันสืบพยาน แต่มาระบุอ้างเพิ่มเติมเมื่อพ้นกำหนด 15 วัน นับแต่วันสืบพยาน จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคสอง
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของจำเลย เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้จึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226
คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ที่ว่า เอกสารที่จำเลยขอให้ศาลเรียกจากบุคคลภายนอกไม่น่าจะเกี่ยวเนื่องกับประเด็นข้อพิพาทในคดี เป็นเรื่องการใช้ดุลพินิจพิจารณาว่า พยานหลักฐานที่ขอให้เรียกมานั้นเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่จำเลยในคดีจะต้องนำสืบหรือไม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (1)
เจตนารมณ์ของการส่งสำเนาเอกสาร ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 90 มุ่งประสงค์เพียงให้ฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารมายันได้มีโอกาสตรวจสอบเอกสารก่อนเพื่อจะได้ซักค้านพยานได้ถูกต้องไม่เสียเปรียบแก่กัน เมื่อโจทก์แนบสำเนาหนังสือมอบอำนาจช่วงมาท้ายคำฟ้อง ย่อมนับได้ว่าตรงตามเจตนารมณ์ของกฎหมายแล้ว สำหรับเอกสารอื่นที่มิได้เป็นประเด็นโต้เถียงกันในคดี โจทก์จึงไม่จำต้องส่งสำเนาเอกสารแก่จำเลย
สัญญาเช่า ข้อ 22 ระบุว่า เมื่อสัญญาเช่าระงับลง ผู้เช่าต้องส่งมอบทรัพย์สินแก่ผู้ให้เช่าโดยพลัน หากไม่ดำเนินการผู้เช่ายินยอมให้ค่าเสียหายแก่ผู้ให้เช่าเป็นเงินวันละ 5,000 บาท ต่อคูหา นับแต่วันที่สัญญาเช่าระงับจนถึงวันที่ผู้เช่าส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าคืนเสร็จเรียบร้อย หรือวันที่ผู้ให้เช่าได้เข้าครอบครองทรัพย์สินที่เช่าแล้วแต่กรณี ถือว่าสัญญาเช่าได้กำหนดค่าเสียหายกันไว้ล่วงหน้า อันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 380 วรรคสอง บัญญัติว่า เจ้าหนี้จะเรียกเอาเบี้ยปรับอันจะพึงริบในฐานเป็นจำนวนน้อยที่สุดแห่งค่าเสียหายก็ได้ ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความจากการให้เช่าอาคารพาณิชย์บริเวณพิพาทเป็นคูหาละ 154,200 บาท ต่อเดือน ใกล้เคียงกับเบี้ยปรับตามสัญญา จึงชอบด้วยเหตุผล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1219/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมศาล อุทธรณ์คำสั่งพิจารณาคดีใหม่ และการวางเงินค่าธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229
จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งกลับคำสั่งศาลชั้นต้น โดยอนุญาตให้จำเลยดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ ซึ่งจะทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์เป็นอันเพิกถอนไป มีผลเท่ากับเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นอยู่ในตัว จำเลยจึงมีหน้าที่นำเงินค่าธรรมเนียมศาลซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ทั้งหมดของจำเลย โดยให้เหตุผลว่า การยื่นอุทธรณ์คำสั่งคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ไม่จำต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลที่จะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายตามคำพิพากษา จึงเป็นการไม่ถูกต้อง
จำเลยยื่นอุทธรณ์พร้อมกับคำร้องขอให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ทั้งหมด หากศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วเห็นว่า มีเหตุอันควรยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ให้แก่จำเลย ค่าธรรมเนียมศาลที่จำเลยได้รับยกเว้นย่อมรวมถึงค่าธรรมเนียมศาลซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นตามป.วิ.พ.มาตรา 229 ด้วย แต่หากศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องของจำเลยแล้วเห็นว่า ไม่มีเหตุอันควรยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ ให้ยกคำร้อง ศาลชั้นต้นจะต้องกำหนดเวลาให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์มาวางด้วย ซึ่งหากจำเลยนำเงินมาวางตามคำสั่ง อุทธรณ์ของจำเลยย่อมเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยมาตรา 229 หรือหากศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องของจำเลยแล้วเห็นว่า มีเหตุอันควรยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลบางส่วนและจำเลยนำเงินส่วนที่ไม่ได้รับยกเว้นมาวางศาล อุทธรณ์ของจำเลยย่อมเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยมาตรา 229 เช่นเดียวกัน กรณีจึงมีเหตุย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขอให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ทั้งหมดของจำเลยก่อน
จำเลยยื่นอุทธรณ์พร้อมกับคำร้องขอให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ทั้งหมด หากศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วเห็นว่า มีเหตุอันควรยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ให้แก่จำเลย ค่าธรรมเนียมศาลที่จำเลยได้รับยกเว้นย่อมรวมถึงค่าธรรมเนียมศาลซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นตามป.วิ.พ.มาตรา 229 ด้วย แต่หากศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องของจำเลยแล้วเห็นว่า ไม่มีเหตุอันควรยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ ให้ยกคำร้อง ศาลชั้นต้นจะต้องกำหนดเวลาให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์มาวางด้วย ซึ่งหากจำเลยนำเงินมาวางตามคำสั่ง อุทธรณ์ของจำเลยย่อมเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยมาตรา 229 หรือหากศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องของจำเลยแล้วเห็นว่า มีเหตุอันควรยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลบางส่วนและจำเลยนำเงินส่วนที่ไม่ได้รับยกเว้นมาวางศาล อุทธรณ์ของจำเลยย่อมเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยมาตรา 229 เช่นเดียวกัน กรณีจึงมีเหตุย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขอให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ทั้งหมดของจำเลยก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 918/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นนอกฟ้อง, มัดจำ, การเลิกสัญญาซื้อขาย, การชำระหนี้บางส่วน, การคืนเงิน
ประเด็นแห่งคดีย่อมเกิดจากคำฟ้องและคำให้การ มิใช่เป็นข้อโต้แย้งที่เพิ่งเกิดขึ้นจากที่คู่ความนำสืบโต้แย้งในระหว่างการพิจารณา คดีนี้ตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลย ประเด็นแห่งคดีจึงมีเพียงว่าการที่ไม้สักต้องห้ามขนย้ายออกนอกเขตพื้นที่จังหวัดลำพูน ถือว่าจำเลยไม่สามารถส่งมอบบ้านไม้สักให้แก่โจทก์อันจะถือว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา ตามหนังสือสัญญาซื้อขายบ้านไม้สัก และหนังสือที่โจทก์แจ้งให้จำเลยคืนเงินจำนวน 100,000 บาท ที่รับไว้ที่เป็นเอกสารแนบท้ายคำฟ้อง ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องนั้นก็ไม่มีข้อความส่วนใดที่ระบุว่าจำเลยมีหน้าที่ต้องขออนุญาตรื้อถอนบ้านหรือขออนุญาตย้ายไม้สัก ดังนั้นที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าเมื่อจำเลยยังไม่ได้ยื่นคำขออนุญาตรื้อถอนบ้านต่อเจ้าพนักงานจึงถือว่าจำเลยยังไม่ได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้แก่โจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิที่ยังไม่ขอปฏิบัติการชำระหนี้แก่จำเลยเช่นกันและถือว่าโจทก์มิได้ผิดสัญญานั้น จึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
คำว่า "มัดจำ" ป.พ.พ. มาตรา 377 บัญญัติว่า "เมื่อเข้าทำสัญญา ถ้าได้ให้สิ่งใดไว้เป็นมัดจำ ท่านให้ถือว่าการที่ให้มัดจำนั้นย่อมเป็นพยานหลักฐานว่าสัญญานั้นได้ทำกันขึ้นแล้ว..." ดังนั้นเงินที่โจทก์ให้ไว้แก่จำเลยในวันทำหนังสือสัญญาซื้อขายบ้านไม้สัก จึงถือว่าเป็นมัดจำตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายวางมัดจำเป็นฝ่ายผิดสัญญาละเลยไม่ชำระหนี้แก่จำเลย จำเลยจึงมีสิทธิริบเงินจำนวน 50,000 บาท ดังกล่าวได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 378 (2) ส่วนเงินอีกจำนวน 50,000 บาท ที่โจทก์นำมามอบไว้ให้แก่จำเลยภายหลังจากวันทำหนังสือสัญญาซื้อขายบ้านไม้สัก แม้จะมีข้อความของตอนท้ายหนังสือสัญญาดังกล่าวระบุว่า " สัญญาเพิ่มเติม ผู้ซื้อจะโอนเงินค่ามัดจำเพิ่มเติมให้แก่ผู้ขาย 50,000 บาท รวมเป็นค่ามัดจำ 100,000 บาท" ก็ตาม แต่เงินจำนวนดังกล่าวนี้ โจทก์ได้ให้ไว้แก่จำเลยภายหลังจากวันทำสัญญา จึงไม่ถือว่าเป็นมัดจำ ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 377 แต่เป็นเพียงเงินที่ชำระราคาซื้อขายบ้านไม้สักบางส่วน
คำว่า "มัดจำ" ป.พ.พ. มาตรา 377 บัญญัติว่า "เมื่อเข้าทำสัญญา ถ้าได้ให้สิ่งใดไว้เป็นมัดจำ ท่านให้ถือว่าการที่ให้มัดจำนั้นย่อมเป็นพยานหลักฐานว่าสัญญานั้นได้ทำกันขึ้นแล้ว..." ดังนั้นเงินที่โจทก์ให้ไว้แก่จำเลยในวันทำหนังสือสัญญาซื้อขายบ้านไม้สัก จึงถือว่าเป็นมัดจำตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายวางมัดจำเป็นฝ่ายผิดสัญญาละเลยไม่ชำระหนี้แก่จำเลย จำเลยจึงมีสิทธิริบเงินจำนวน 50,000 บาท ดังกล่าวได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 378 (2) ส่วนเงินอีกจำนวน 50,000 บาท ที่โจทก์นำมามอบไว้ให้แก่จำเลยภายหลังจากวันทำหนังสือสัญญาซื้อขายบ้านไม้สัก แม้จะมีข้อความของตอนท้ายหนังสือสัญญาดังกล่าวระบุว่า " สัญญาเพิ่มเติม ผู้ซื้อจะโอนเงินค่ามัดจำเพิ่มเติมให้แก่ผู้ขาย 50,000 บาท รวมเป็นค่ามัดจำ 100,000 บาท" ก็ตาม แต่เงินจำนวนดังกล่าวนี้ โจทก์ได้ให้ไว้แก่จำเลยภายหลังจากวันทำสัญญา จึงไม่ถือว่าเป็นมัดจำ ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 377 แต่เป็นเพียงเงินที่ชำระราคาซื้อขายบ้านไม้สักบางส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 565/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อทรัพย์ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต เอื้อประโยชน์บุตรเขย ทำให้รัฐเสียหาย
จำเลยทราบดีว่านาง ล. ตกลงขายที่ดินแก่นาย พ. บุตรเขยจำเลยในราคาเพียง 220,000 บาท แต่มีการปลอมแปลงลายมือชื่อนาง ล. ในใบเสนอราคาขายที่ดินดังกล่าวเป็นเงิน 594,800 บาท แล้วนำไปยื่นต่อองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใต้ พร้อมกับใบเสนอราคาของเจ้าของที่ดินอีกสองแปลงซึ่งเสนอราคาสูงกว่า และเมื่อคณะกรรมการจัดซื้อเห็นสมควรซื้อที่ดินของนาง ล. ที่เสนอราคาต่ำสุด จำเลยในฐานะนายกองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใต้ ก็ได้อนุมัติให้จัดซื้อที่ดินดังกล่าวในราคาภายหลังการต่อรองแล้ว 594,000 บาท สูงกว่าราคาที่นาง ล. ต้องการขาย 374,000 บาท และเมื่อหักเงินที่จำเลยต้องนำไปชำระเป็นค่าภาษี 5,940 บาท คงมีส่วนต่างที่เป็นประโยชน์แก่บุตรเขยของจำเลย 368,060 บาท การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเอื้อประโยชน์แก่บุตรเขยของจำเลย อันถือได้ว่าเป็นการแสวงประโยชน์โดยมิชอบ เป็นเหตุให้องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใต้ ได้รับความเสียหายต้องซื้อที่ดินในราคาสูงเกินกว่าที่ควรจะเป็น จำเลยจึงมีความผิดฐานเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อทรัพย์ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริตอันเป็นการเสียหายแก่รัฐ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18797/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แผนฟื้นฟูกิจการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ล้มละลาย: การชำระหนี้ที่ไม่เป็นธรรมและการเลือกปฏิบัติ
การที่แผนข้อ 6.3.3 หนี้ส่วน ฉ 1 และ 2 กำหนดให้เจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้และมีสิทธิได้รับชำระหนี้ คือ เจ้าหนี้ที่รวมทั้งที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลมีคำสั่งเป็นที่สุดให้ได้รับชำระหนี้และให้ยกคำขอรับชำระหนี้ และตามหนี้ส่วน ฉ 3 กำหนดให้เจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้แล้วมีคำสั่งเป็นที่สุดของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลให้ได้รับชำระหนี้หรือยกคำขอรับชำระหนี้และทำหนังสือแจ้งความประสงค์จะไม่รับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด จะได้รับชำระหนี้ในอัตราร้อยละ 10 ของเงินต้นนั้นตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/32 วรรคสอง (2) และ (3) และวรรคสาม เจ้าหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการซึ่งจะมีสิทธิได้รับชำระหนี้ต้องเป็นเจ้าหนี้ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้ ส่วนเจ้าหนี้นั้นจะได้รับชำระหนี้เพียงใดและอย่างไรต้องเป็นไปตามที่แผนกำหนดซึ่งได้จัดกลุ่มเจ้าหนี้และจัดสรรการชำระหนี้ไว้ แต่หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลมีคำสั่งเป็นที่สุดให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายใดแล้ว เจ้าหนี้รายนั้นก็ย่อมไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้แม้แผนจะกำหนดให้เจ้าหนี้ดังกล่าวได้รับชำระหนี้ก็ตาม เพราะมิใช่เจ้าหนี้ที่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามบทบัญญัติดังกล่าว ทั้งกรณีแตกต่างกับที่แผนกำหนดให้เจ้าหนี้ที่ไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในเวลาที่กำหนดมีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามแผนอันเป็นกรณีถือว่าแผนกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/61 (1) ซึ่งเป็นบทบัญญัติยกเว้นมิให้เจ้าหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการและไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดต้องหมดสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ ไม่ได้หมายความรวมถึงเจ้าหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลมีคำสั่งให้ยกคำขอรับชำระหนี้ด้วย ประกอบกับคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลที่ให้ยกคำขอรับชำระหนี้นั้นย่อมจะผูกพันคู่ความที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งลูกหนี้ซึ่งไม่ต้องชำระหนี้แก่เจ้าหนี้รายที่มีคำสั่งให้ยกคำขอรับชำระหนี้ ดังนั้น แผนข้อ 6.3.3 หนี้ส่วน ฉ ในส่วนที่กำหนดให้เจ้าหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลมีคำสั่งเป็นที่สุดให้ยกคำขอรับชำระหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามเงื่อนไขการชำระหนี้นั้น เป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/32 ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 การที่แผนกำหนดให้เจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 ดังกล่าวมีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามแผนจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18006/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเลิกการล้มละลายต้องพิจารณาจากกระบวนการชำระหนี้ในคดีล้มละลาย หากไม่มีเจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ อาจยกเลิกได้ตามมาตรา 135(2)
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 135 บัญญัติว่า "เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอ ศาลมีอำนาจสั่งยกเลิกการล้มละลายได้ ถ้าปรากฏเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปนี้... (3) หนี้สินของบุคคลล้มละลายได้ชำระเต็มจำนวนแล้ว..." นั้น หมายความถึง การดำเนินการชำระหนี้จนเต็มจำนวนภายใต้กระบวนพิจารณาและวิธีการในคดีล้มละลายที่มีการตรวจสอบได้ทั้งจากผู้มีส่วนได้เสีย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และศาล เนื่องจากหากมีการยกเลิกการล้มละลายตามอนุมาตรานี้ จำเลยจะหลุดพ้นจากหนี้สินตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 136 ดังนั้น จำเลยที่จะได้รับประโยชน์เช่นนี้จึงเป็นจำเลยที่ดำเนินการอยู่ภายใต้กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายและการตรวจสอบตามกฎหมาย
คดีนี้มีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ต่อมาเจ้าหนี้ยื่นคำร้องเพื่อขอถอนคำขอรับชำระหนี้ จนไม่มีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เหลืออยู่ จึงไม่มีการดำเนินการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ทุกรายเต็มจำนวนโดยตรงภายใต้กระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย แต่เป็นกรณีที่ไม่มีเจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายจึงมีเหตุที่ลูกหนี้ไม่ควรถูกพิพากษาให้ล้มละลาย ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจรายงานศาลเพื่อสั่งยกเลิกการล้มละลายได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 135 (2) ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งแก้ไขคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลยโดยให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 135 (3) จึงไม่ถูกต้อง
คดีนี้มีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ต่อมาเจ้าหนี้ยื่นคำร้องเพื่อขอถอนคำขอรับชำระหนี้ จนไม่มีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เหลืออยู่ จึงไม่มีการดำเนินการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ทุกรายเต็มจำนวนโดยตรงภายใต้กระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย แต่เป็นกรณีที่ไม่มีเจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายจึงมีเหตุที่ลูกหนี้ไม่ควรถูกพิพากษาให้ล้มละลาย ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจรายงานศาลเพื่อสั่งยกเลิกการล้มละลายได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 135 (2) ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งแก้ไขคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลยโดยให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 135 (3) จึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17225/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค่าเสียหายที่วางศาลเพื่อบรรเทาผลร้าย ยังเป็นสิทธิของโจทก์ร่วม แม้ศาลรอการลงโทษ
เมื่อจำเลยยื่นคำแถลงและวางเงินเพื่อบรรเทาผลร้ายให้แก่โจทก์ร่วมต่อศาลชั้นต้นแล้ว จำเลยขอถอนคำให้การเดิมที่ให้การปฏิเสธและขอให้การรับสารภาพ กับแถลงขอให้ศาลลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษแก่จำเลย การที่จำเลยวางเงินต่อศาลชั้นต้นดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงว่าจำเลยได้พยายามบรรเทาความเสียหายอันเป็นผลที่เกิดจากจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ร่วมเพื่อประกอบดุลพินิจของศาลในการพิจารณาพิพากษา เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษารอการลงโทษให้แก่จำเลย แม้คดีจะถึงที่สุด โจทก์ร่วมก็ยังมีสิทธิขอรับเงินที่จำเลยวางต่อศาลเพื่อชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ร่วมได้ เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมแสดงเจตนาโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายว่าไม่ประสงค์จะรับเงินค่าเสียหายที่จำเลยวางไว้ดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีสิทธิมาขอรับเงินจำนวนดังกล่าวคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14436/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนเชิดและการชำระหนี้: การชำระค่าผลไม้ผ่านตัวแทนย่อมถือเป็นการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยซื้อผลไม้ตามโครงการช่วยเหลือเกษตรกรของโจทก์ จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยซื้อผลไม้จากโจทก์ ไม่เคยค้างชำระค่าผลไม้ จำเลยซื้อผลไม้จาก ส. และ ด.โดยชำระราคาค่าผลไม้ให้แก่บุคคลทั้งสองไปแล้ว ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่า จำเลยซื้อผลไม้จากโจทก์และชำระราคาแล้วหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยชำระราคาค่าผลไม้แก่ ส. และ ด. โดยบุคคลทั้งสองเป็นตัวแทนเชิดของโจทก์ เท่ากับจำเลยได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ไปครบถ้วนแล้ว จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับประเด็นที่ว่าจำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์แล้วหรือไม่ เพราะจำเลยอาจชำระหนี้แก่โจทก์โดยตรงหรือชำระผ่านตัวแทนของโจทก์ก็ได้ มิใช่เรื่องนอกประเด็น