พบผลลัพธ์ทั้งหมด 246 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12094/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องยังคงมีผลแม้มีการโอนสิทธิหลังฟ้องคดี ศาลยืนบังคับคดีตามคำพิพากษาเดิม
ขณะที่โจทก์เสนอคำฟ้องต่อศาล โจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาท โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสี่ซึ่งอยู่ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดยละเมิดสิทธิของโจทก์ แม้ภายหลังฟ้องคดีแล้ว โจทก์จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทให้แก่บุคคลอื่นไปแล้ว อำนาจฟ้องของโจทก์ที่บริบูรณ์อยู่แล้วยังคงมีผลอยู่ต่อไป อีกทั้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มีผลผูกพันจำเลยทั้งสี่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง กับไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดให้สิทธิในการบังคับคดีของโจทก์ต้องระงับสิ้นไป เมื่อจำเลยทั้งสี่ซึ่งแพ้คดีมิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษานั้นได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11925/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานใช้บัตรปลอม, ปลอมและใช้เอกสารราชการ, การริบทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิด
หลังจากเจ้าพนักงานจับจำเลยที่ 3 ได้พร้อมใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์และแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีรถยนต์ปลอมของรถยนต์หมายเลขทะเบียน 1ฬ - 2678 กรุงเทพมหานคร แล้ว จึงให้จำเลยที่ 3 โทรศัพท์ไปหาจำเลยที่ 4 เพื่อนัดรับใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ปลอมของรถยนต์หมายเลขทะเบียน 7ฮ - 9961 กรุงเทพมหานคร การที่จำเลยที่ 4 นำใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ปลอมของรถยนต์หมายเลขทะเบียน 7ฮ - 9961 กรุงเทพมหานคร มาส่งให้แก่จำเลยที่ 3 ตามที่จำเลยที่ 3 สั่งทำนั้น ถือว่าเป็นการใช้เอกสารราชการใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ปลอมของรถยนต์หมายเลขทะเบียน 7ฮ - 9961 กรุงเทพมหานคร แล้ว
ในวันรุ่งขึ้นหลังการจับกุมจำเลยที่ 4 พนักงานสอบสวนได้สอบคำให้การจำเลยที่ 4 และในชั้นพิจารณาที่จำเลยที่ 4 เบิกความต่อศาล จำเลยที่ 4 ไม่เคยกล่าวอ้างว่า จำเลยที่ 4 รับราชการทหาร ทั้งขณะฟ้องคดีนี้ไม่ปรากฏหลักฐานว่า จำเลยที่ 4 รับราชการทหาร ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้
การที่จำเลยที่ 4 ปลอมหนังสือแสดงการจดทะเบียนของรถบรรทุกส่วนบุคคลหมายเลขทะเบียน 81 - 0409 กรุงเทพมหานคร กับปลอมแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีของรถบรรทุกส่วนบุคคลดังกล่าวนั้น จำเลยที่ 4 มีเจตนาอย่างเดียวกันคือ เพื่อนำไปใช้หรือแสดงต่อผู้พบเห็นว่ารถยนต์คันดังกล่าวเป็นรถยนต์ที่จดทะเบียนและเสียภาษีถูกต้องเพื่อจะได้ใช้รถยนต์คันดังกล่าวโดยชอบ การกระทำของจำเลยที่ 4 ในส่วนนี้จึงเป็นความผิดกรรมเดียว
แม้ตรายางที่ยึดได้ภายในรถยนต์ของจำเลยที่ 4 บางอันจะไม่ใช่ตรายางที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ใช้ในการกระทำความผิดคดีนี้ แต่ตรายางที่ยึดได้นั้น เห็นได้ชัดว่า เป็นอุปกรณ์ที่มีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารราชการของกรมการขนส่งทางบกโดยเฉพาะ จึงต้องริบตรายางทั้ง 25 อัน ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
ในวันรุ่งขึ้นหลังการจับกุมจำเลยที่ 4 พนักงานสอบสวนได้สอบคำให้การจำเลยที่ 4 และในชั้นพิจารณาที่จำเลยที่ 4 เบิกความต่อศาล จำเลยที่ 4 ไม่เคยกล่าวอ้างว่า จำเลยที่ 4 รับราชการทหาร ทั้งขณะฟ้องคดีนี้ไม่ปรากฏหลักฐานว่า จำเลยที่ 4 รับราชการทหาร ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้
การที่จำเลยที่ 4 ปลอมหนังสือแสดงการจดทะเบียนของรถบรรทุกส่วนบุคคลหมายเลขทะเบียน 81 - 0409 กรุงเทพมหานคร กับปลอมแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีของรถบรรทุกส่วนบุคคลดังกล่าวนั้น จำเลยที่ 4 มีเจตนาอย่างเดียวกันคือ เพื่อนำไปใช้หรือแสดงต่อผู้พบเห็นว่ารถยนต์คันดังกล่าวเป็นรถยนต์ที่จดทะเบียนและเสียภาษีถูกต้องเพื่อจะได้ใช้รถยนต์คันดังกล่าวโดยชอบ การกระทำของจำเลยที่ 4 ในส่วนนี้จึงเป็นความผิดกรรมเดียว
แม้ตรายางที่ยึดได้ภายในรถยนต์ของจำเลยที่ 4 บางอันจะไม่ใช่ตรายางที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ใช้ในการกระทำความผิดคดีนี้ แต่ตรายางที่ยึดได้นั้น เห็นได้ชัดว่า เป็นอุปกรณ์ที่มีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารราชการของกรมการขนส่งทางบกโดยเฉพาะ จึงต้องริบตรายางทั้ง 25 อัน ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10507/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสุดความเป็นผู้อนุบาลเมื่อผู้ถูกอนุบาลถึงแก่ความตาย ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะจำหน่ายคดี
เมื่อ ส. คนไร้ความสามารถถึงแก่ความตาย ความเป็นผู้อนุบาลของคนไร้ความสามารถย่อมสิ้นสุดตาม ป.พ.พ. มาตรา 28 วรรคสอง และมาตรา 1598/18 วรรคสอง ประกอบมาตรา 1598/11 ผู้อนุบาลจะต้องรีบส่งมอบทรัพย์สินที่จัดการแก่ทายาทของ ส. และทำบัญชีในการจัดการทรัพย์สินส่งมอบภายในหกเดือนและถ้ามีเอกสารเกี่ยวกับเรื่องจัดการทรัพย์สินก็ให้ส่งมอบพร้อมกับบัญชี แต่ถ้าผู้อนุบาลหรือทายาทร้องขอศาลจะสั่งให้ยืดเวลาก็ได้ทั้งนี้ตามมาตรา 1598/18 วรรคสอง ประกอบมาตรา 1598/11 เมื่อ ส. ถึงแก่ความตายกองมรดกของ ส. ได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ย่อมตกทอดแก่ทายาทตามมาตรา 1599 วรรคหนึ่งและมาตรา 1600 ดังนั้น หากระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ของผู้อนุบาลก่อให้เกิดความเสียหายแก่ ส. อย่างไร ความเสียหายที่ ส. ได้รับย่อมเป็นมรดกของ ส. ที่ตกได้แก่ทายาทที่จะเรียกร้องเอาแก่ผู้อนุบาล เมื่อ ส. ถึงแก่ความตายก็ไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาว่าสมควรถอนผู้คัดค้านที่ 2 ออกจากการเป็นผู้อนุบาลหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะจำหน่ายคดีได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 132 ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6 กรณีเช่นนี้ถือว่าเป็นการเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นโดยปริยาย หาผูกพันว่าผู้คัดค้านที่ 2 ปฏิบัติผิดหน้าที่ไม่
อนึ่ง ศาลอุทธรณ์สั่งจำหน่ายคดีโดยมิได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคสามและมาตรา 167 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6 ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข
อนึ่ง ศาลอุทธรณ์สั่งจำหน่ายคดีโดยมิได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคสามและมาตรา 167 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6 ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10238/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีต้องมีเหตุตามกฎหมาย การตกลงนอกศาลไม่ผูกพันเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
การร้องขอให้ถอนการบังคับคดีต้องมีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 295 แต่ตามคำร้องของจำเลยที่ 6 ซึ่งมีเนื้อหาเป็นทำนองขอให้ศาลชั้นต้นถอนการบังคับคดีนั้น ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 6 ได้อ้างเหตุตาม ป.วิ.พ. มาตรา 295 จำเลยที่ 6 จึงไม่อาจร้องขอให้ถอนการบังคับคดีได้ ส่วนที่จำเลยที่ 6 อ้างว่า ก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา โจทก์กับจำเลยที่ 6 ได้ทำบันทึกข้อตกลงยินยอมชำระหนี้ และจำเลยที่ 6 ได้ชำระหนี้ตามบันทึกดังกล่าวให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว โจทก์จึงไม่อาจมาบังคับคดีแก่จำเลยที่ 6 ได้อีกนั้น เห็นว่า บันทึกข้อตกลงยินยอมชำระหนี้ทำขึ้นนอกศาลโดยศาลมิได้รับรู้ด้วย โจทก์เองก็ยื่นคำคัดค้านว่า บันทึกดังกล่าว ทนายโจทก์คนเดิมทำขึ้นโดยไม่ตรงตามความประสงค์ของโจทก์ และทนายมีพฤติการณ์ร่วมมือกับฝ่ายจำเลยฉ้อฉลโจทก์ บันทึกดังกล่าวหากสามารถบังคับกันได้ ก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 6 จะต้องว่ากล่าวแก่โจทก์เป็นอีกส่วนหนึ่ง กรณีจึงไม่ถือเป็นเหตุตามกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8753/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของกลุ่มออมทรัพย์ที่ไม่เป็นบุคคลตามกฎหมาย และการมีอำนาจฟ้องแทนกัน
ผู้ที่จะเป็นคู่ความในคดีโดยเป็นโจทก์ยื่นคำฟ้องหรือเป็นจำเลยที่ถูกฟ้องต่อศาลได้นั้น จะต้องเป็นบุคคลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) ซึ่งบัญญัติว่า "คู่ความ หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาล ฯลฯ" และคำว่า บุคคล นั้น ตาม ป.พ.พ. ได้แก่ บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านหัวเขาสมอคร้า ที่เป็นโจทก์นั้นมิใช่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล โจทก์เป็นเพียงคณะบุคคลมิใช่บุคคลตามกฎหมายจึงไม่อาจเป็นคู่ความในคดีนี้ได้ และการรวมกันก่อตั้งกลุ่มออมทรัพย์โจทก์เป็นการตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกันโดยไม่ปรากฏจากการนำสืบของโจทก์ว่ามีวัตถุประสงค์จะแบ่งปันผลกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำจึงไม่เข้าลักษณะเป็นสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญตาม ป.พ.พ. มาตรา 1012 ประกอบมาตรา 1025 อีกทั้งการรวมกลุ่มโจทก์มิได้มีการจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลตาม ป.พ.พ. มาตรา 1015 โจทก์จึงไม่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย นอกจากนี้ ส. ก็มิได้ฟ้องคดีในฐานะบุคคลธรรมดา หรือได้รับมอบอำนาจจากสมาชิกทั้งกลุ่มของกลุ่มออมทรัพย์โจทก์ให้ฟ้องคดีนี้ เมื่อโจทก์ไม่ใช่บุคคลตามกฎหมาย จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8752/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดถือใบจอง (น.ส.2) เพื่อประกันหนี้กู้เงิน แม้ไม่เกิดสิทธิยึดหน่วง แต่จำเลยมีสิทธิยึดถือได้จนกว่าจะชำระหนี้ครบ
การที่ผู้ตายมอบใบจอง (น.ส.2) ให้จำเลยยึดถือไว้เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ตามสัญญากู้เงิน แม้ไม่ก่อให้เกิดสิทธิยึดหน่วงแก่จำเลยเพราะหนี้ที่จำเลยมีเป็นเพียงหนี้เงินกู้ที่จำเลยจะได้รับชำระหนี้คืนจากผู้ตายเท่านั้น หาได้มีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่จำเลยเกี่ยวด้วยที่ดินใบจอง (น.ส.2) ซึ่งครอบครองไว้นั้นจึงไม่เป็นสิทธิยึดหน่วงดังที่โจทก์ฎีกากล่าวอ้างก็ตาม แต่อย่างไรก็ดีเมื่อผู้ตายมอบใบจอง (น.ส.2) ให้แก่จำเลยเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ตามสำเนาหนังสือสัญญากู้เงิน ซึ่งจำเลยมีสิทธิฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ ดังนั้นตราบใดที่จำเลยยังไม่ได้รับชำระหนี้คืนจนเสร็จสิ้นเชิง จำเลยย่อมมีสิทธิยึดถือใบจอง (น.ส.2) ดังกล่าวไว้
โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายฟ้องเรียกใบจอง (น.ส.2) ที่พิพาทซึ่งมีชื่อผู้ตายเป็นผู้ขอเข้าครอบครองที่ดินคืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือ หาใช่ฟ้องเรียกที่ดินคืนจากจำเลย แม้จำเลยจะให้การต่อสู้ว่าจำเลยได้สิทธิครอบครองที่พิพาทเนื่องจากผู้ตายขายที่พิพาทให้จำเลยแล้ว ก็ถือว่าจำเลยต่อสู้ว่าจำเลยไม่ต้องคืนต้นฉบับใบจอง (น.ส.2) เท่านั้น ทั้งผลของคดีไม่ทำให้สิทธิครอบครองในที่ดินเปลี่ยนแปลงไปแต่ประการใดจึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แม้ศาลชั้นต้นให้คู่ความตีราคาที่ดินตามใบจอง (น.ส.2) ที่พิพาทไว้ด้วย ก็ไม่ทำให้กลายเป็นคดีมีทุนทรัพย์ จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นเพียง 200 บาท ที่ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นต้นเพิ่มอย่างคดีมีทุนทรัพย์เป็นเงิน 8,600 บาท จึงไม่ถูกต้อง ต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เสียเกินมา 8,600 บาทให้แก่โจทก์
โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายฟ้องเรียกใบจอง (น.ส.2) ที่พิพาทซึ่งมีชื่อผู้ตายเป็นผู้ขอเข้าครอบครองที่ดินคืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือ หาใช่ฟ้องเรียกที่ดินคืนจากจำเลย แม้จำเลยจะให้การต่อสู้ว่าจำเลยได้สิทธิครอบครองที่พิพาทเนื่องจากผู้ตายขายที่พิพาทให้จำเลยแล้ว ก็ถือว่าจำเลยต่อสู้ว่าจำเลยไม่ต้องคืนต้นฉบับใบจอง (น.ส.2) เท่านั้น ทั้งผลของคดีไม่ทำให้สิทธิครอบครองในที่ดินเปลี่ยนแปลงไปแต่ประการใดจึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แม้ศาลชั้นต้นให้คู่ความตีราคาที่ดินตามใบจอง (น.ส.2) ที่พิพาทไว้ด้วย ก็ไม่ทำให้กลายเป็นคดีมีทุนทรัพย์ จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นเพียง 200 บาท ที่ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นต้นเพิ่มอย่างคดีมีทุนทรัพย์เป็นเงิน 8,600 บาท จึงไม่ถูกต้อง ต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เสียเกินมา 8,600 บาทให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8402/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาในคดีละเมิด กรณีการกีดขวางทางเข้าออกที่ดิน
การขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (2) ต้องเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสองขอให้ศาลมีคำสั่งเนื่องจากจำเลยได้กระทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายและเดือดร้อนระหว่างการพิจารณาคดี คดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันทำละเมิด อ้างว่าจำเลยทั้งสองใช้สิทธิของตนเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เสียหายและเดือดร้อนเกินสมควร เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองไม่สามารถใช้ที่สาธารณะเพื่อเป็นทางเชื่อมออกสู่ถนนสายอยุธยา-วังน้อยได้ตามที่โจทก์ทั้งสองได้รับอนุญาตแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 1337 ดังนั้น ตราบใดที่ไม้เสาเข็มที่จำเลยทั้งสองนำมาปลูกเป็นเพิงพักบนที่ดินพิพาทยังคงมีอยู่ ย่อมถือได้ว่ายังมีการกระทำซ้ำ หรือกระทำต่อไปซึ่งการละเมิดตามที่จำเลยทั้งสองถูกฟ้อง จึงรับฟังได้ว่าคำฟ้องมีมูลและมีเหตุผลเพียงพอที่โจทก์ทั้งสองจะขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8360/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. ม.216 วรรคหนึ่ง เหตุจำเลยอ้างอุทธรณ์แทนการโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
จำเลยฎีกาว่าจำเลยขออ้างอุทธรณ์จำเลยเป็นส่วนหนึ่งของฎีกาจำเลย เท่ากับฎีกาของจำเลยที่อ้างอุทธรณ์เป็นการโต้แย้งคัดค้านเฉพาะคำพิพากษาศาลชั้นต้น มิได้โต้แย้งคัดค้านว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่ชอบอย่างไร และจำเลยไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 เพราะเหตุใด ทั้ง ๆ ที่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 อ้างเหตุคนละอย่างกับเหตุที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย จึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 อันเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7411/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาของผู้ติดยาเสพติดระหว่างการฟื้นฟู: อำนาจฟ้องและการนำตัวจำเลยมาศาล
พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 33 วรรคสอง บัญญัติว่า ในกรณีที่ผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดผู้ใดแม้จะได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจนครบกำหนดตามมาตรา 25 แล้ว แต่ผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดยังไม่เป็นที่พอใจ ให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดรายงานความเห็นไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณี เพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินคดีผู้นั้นต่อไปและให้นำมาตรา 22 วรรคสี่ ซึ่งเป็นบทบัญญัติให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการมารับตัวผู้ต้องหาไปในทันทีที่สามารถกระทำได้ มาบังคับใช้โดยอนุโลม คดีนี้พนักงานสอบสวนนำตัวจำเลยไปศาลตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2555 ศาลมีคำสั่งให้ส่งตัวจำเลยไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติด ต่อมาวันที่ 2 มีนาคม 2555 สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดน่านมีหนังสือรายงานผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดและแจ้งคำวินิจฉัยคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดน่านว่า การฟื้นฟูดังกล่าวไม่น่าจะใช้ได้และไม่เป็นประโยชน์สำหรับจำเลย กรณีถือว่าการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดยังไม่เป็นที่พอใจ ทั้งปรากฏจากรายงานการผัดฟ้องจำเลยครั้งที่ 1 ซึ่งพันตำรวจโท ท. บันทึกว่า ในวันที่ 12 เมษายน 2555 จะนำตัวจำเลยมาศาลเพื่อผัดฟ้องต่อไป แสดงให้เห็นว่า ในระยะเวลาดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการสอบสวน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยโดยไม่นำตัวจำเลยมาศาล ดังนั้น เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2555 โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้โดยไม่มีตัวจำเลยมาศาล จึงขัดต่อบทบัญญัติ ป.วิ.อ. มาตรา 165 ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัว ฯ มาตรา 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7390/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุจำเลยขณะกระทำผิดกระทบต่อการลงโทษฐานกระทำอนาจาร ศาลฎีกายกอายุเป็นเหตุให้ไม่ลงโทษ
จำเลยเกิดเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2537 จำเลยกระทำความผิดฐานกระทำอนาจาร 2 กระทงในปี 2549 ดังนั้นจำเลยจึงมีอายุกว่าสิบปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปี จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษ ตาม ป.อ. มาตรา 74 แต่ศาลมีอำนาจที่จะดำเนินการตาม ป.อ. มาตรา 74 (1) ถึง (5) ได้ ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอายุของจำเลยผิดจากพยานหลักฐานในสำนวน และลดมาตราส่วนโทษให้จำเลยในความผิดฐานดังกล่าวตาม ป.อ. มาตรา 75 แล้วลงโทษจำเลยโดยเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปรับการฝึกอบรม ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 104 (2) จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงฟังข้อเท็จจริงใหม่แทนข้อเท็จจริงของศาลล่างทั้งสองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (3) (ก) ประกอบมาตรา 247 และ ป.วิ.อ. มาตรา 15