คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 543

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3973/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าและการโอนสิทธิเรียกร้อง: ผู้ครอบครองก่อนมีสิทธิเหนือกว่า แม้ทำสัญญาก่อน
เทศบาลเมืองสมุทรปราการซึ่งมีสิทธิในที่ดินราชพัสดุที่ตั้งของอาคารพิพาท ได้ทำสัญญาให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ ในที่ดินดังกล่าวโดยใช้ทุนของจำเลยที่ 1 และให้โอนกรรมสิทธิ์แก่ กระทรวงการคลัง โดยให้สิทธิจำเลยที่ 1 เช่าอาคารจาก กระทรวงการคลัง เป็นเวลา 20 ปี และยอมให้จำเลยที่ 1โอนสิทธิการเช่าอาคารได้ ทั้งนี้ เทศบาลเมืองสมุทรปราการจะเป็นผู้นำจำเลยที่ 1 หรือบุคคลอื่นซึ่งจำเลยที่ 1 โอนสิทธิการเช่าให้ไปทำสัญญาเช่ากับ กระทรวงการคลัง โดยตรง เมื่อจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารแล้ว โจทก์ได้ทำสัญญาเช่าอาคารพิพาทรวม 3 คูหาจากจำเลยที่ 1 หลังจากนั้นจำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาเช่าอาคารคูหาเดียวกันจากจำเลยที่ 1 อีกซึ่งทั้งโจทก์และจำเลยที่ 3 ต่างมิได้จดทะเบียนสิทธิการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพียงแต่ตามสัญญากำหนดว่าจำเลยที่ 1 จะเป็นผู้จัดให้ผู้เช่าเป็นผู้ทำสัญญาโดยตรงกับเทศบาลเมืองสมุทรปราการ กรณีดังกล่าวมิใช่การเช่าช่วงแต่มีลักษณะเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อเทศบาลเมืองสมุทรปราการและ กระทรวงการคลัง ให้แก่โจทก์หรือจำเลยที่ 3เมื่อไม่ปรากฏว่าทั้งโจทก์และจำเลยที่ 3 ได้จัดให้มีการแจ้งการโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวให้เทศบาลเมืองสมุทรปราการทราบ กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 307 ที่จะวินิจฉัยว่าโจทก์หรือจำเลยที่ 3 มีสิทธิในอาคารพิพาทดีกว่ากันทั้งไม่มีกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีโดยตรง ต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 มาใช้ โดยอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งคือ มาตรา 543(3) คดีนี้แม้โจทก์จะทำหนังสือสัญญาโอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทกับจำเลยที่ 1 ก่อนจำเลยที่ 3 ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ได้เข้าครอบครองอาคารพิพาทแล้ว จึงมีสิทธิดีกว่าโจทก์ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนการเช่าและไม่ได้เข้าครอบครองอาคารพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3973/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิการเช่าช่วงและการเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์: สิทธิของผู้เช่าช่วงรายใดมีน้ำหนักมากกว่า
เทศบาลเมืองสมุทรปราการซึ่งมีสิทธิในที่ดินราชพัสดุที่ตั้งของอาคารพิพาทได้ทำสัญญาให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ในที่ดินดังกล่าวโดยใช้ทุนของจำเลยที่ 1 และให้โอนกรรมสิทธิ์แก่กระทรวงการคลังโดยให้สิทธิจำเลยที่ 1 เช่าอาคารจากกระทรวงการคลังเป็นเวลา 20 ปี และยอมให้จำเลยที่ 1 โอนสิทธิการเช่าอาคารได้ ทั้งนี้เทศบาลเมืองสมุทรปราการจะเป็นผู้นำจำเลยที่ 1หรือบุคคลอื่นซึ่งจำเลยที่ 1 โอนสิทธิการเช่าให้ไปทำสัญญาเช่ากับกระทรวงการคลังโดยตรง เมื่อจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารแล้ว โจทก์ได้ทำสัญญาเช่าอาคารพิพาทรวม 3 คูหาจากจำเลยที่ 1 หลังจากนั้นจำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาเช่าอาคารคูหาเดียวกันจากจำเลยที่ 1อีก ซึ่งทั้งโจทก์และจำเลยที่ 3 ต่างมิได้จดทะเบียนสิทธิการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพียงแต่ตามสัญญากำหนดว่า จำเลยที่ 1จะเป็นผู้จัดให้ผู้เช่าเป็นผู้ทำสัญญาโดยตรงกับเทศบาลเมืองสมุทรปราการกรณีดังกล่าวนี้ใช่การเช่าช่วงแต่มีลักษณะเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อเทศบาลเมืองสมุทรปราการและกระทรวงการคลังให้แก่โจทก์หรือจำเลยที่ 3 เมื่อไม่ปรากฏว่าทั้งโจทก์และจำเลยที่ 3 ได้จัดให้มีการแจ้งการโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวให้เทศบาลเมืองสมุทรปราการทราบ กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 307 ที่จะวินิจฉัยว่าโจทก์หรือจำเลยที่ 3 มีสิทธิในอาคารพิพาทดีกว่ากัน ทั้งไม่มีกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีโดยตรง ต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 4 มาใช้ โดยอาศัยเทียบกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งคือ มาตรา 543(3) คดีนี้แม้โจทก์จะทำหนังสือสัญญาโอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทกับจำเลยที่ 1 ก่อนจำเลยที่ 3 ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ได้เข้าครอบครองอาคารพิพาทแล้ว จึงมีสิทธิดีกว่าโจทก์ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนการเช่าและไม่ได้เข้าครอบครองอาคารพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3973/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่า/โอนสิทธิเรียกร้อง - การเข้าครอบครองก่อนมีผลเหนือการทำสัญญาก่อน
เทศบาลเมืองสมุทรปราการซึ่งมีสิทธิในที่ดินราชพัสดุที่ตั้งของอาคารพิพาท ได้ทำสัญญาให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ ในที่ดินดังกล่าวโดยใช้ทุนของจำเลยที่ 1 และให้โอนกรรมสิทธิ์แก่ กระทรวงการคลัง โดยให้สิทธิจำเลยที่ 1 เช่าอาคารจาก กระทรวงการคลัง เป็นเวลา 20 ปี และยอมให้จำเลยที่ 1โอนสิทธิการเช่าอาคารได้ ทั้งนี้ เทศบาลเมืองสมุทรปราการจะเป็นผู้นำจำเลยที่ 1 หรือบุคคลอื่นซึ่งจำเลยที่ 1 โอนสิทธิการเช่าให้ไปทำสัญญาเช่ากับ กระทรวงการคลัง โดยตรง เมื่อจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารแล้ว โจทก์ได้ทำสัญญาเช่าอาคารพิพาทรวม 3 คูหาจากจำเลยที่ 1 หลังจากนั้นจำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาเช่าอาคารคูหาเดียวกันจากจำเลยที่ 1 อีกซึ่งทั้งโจทก์และจำเลยที่ 3 ต่างมิได้จดทะเบียนสิทธิการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพียงแต่ตามสัญญากำหนดว่าจำเลยที่ 1 จะเป็นผู้จัดให้ผู้เช่าเป็นผู้ทำสัญญาโดยตรงกับเทศบาลเมืองสมุทรปราการ กรณีดังกล่าวมิใช่การเช่าช่วงแต่มีลักษณะเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อเทศบาลเมืองสมุทรปราการและ กระทรวงการคลัง ให้แก่โจทก์หรือจำเลยที่ 3เมื่อไม่ปรากฏว่าทั้งโจทก์และจำเลยที่ 3 ได้จัดให้มีการแจ้งการโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวให้เทศบาลเมืองสมุทรปราการทราบ กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 307 ที่จะวินิจฉัยว่าโจทก์หรือจำเลยที่ 3 มีสิทธิในอาคารพิพาทดีกว่ากันทั้งไม่มีกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีโดยตรง ต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 มาใช้ โดยอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งคือ มาตรา 543(3) คดีนี้แม้โจทก์จะทำหนังสือสัญญาโอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทกับจำเลยที่ 1 ก่อนจำเลยที่ 3 ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ได้เข้าครอบครองอาคารพิพาทแล้ว จึงมีสิทธิดีกว่าโจทก์ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนการเช่าและไม่ได้เข้าครอบครองอาคารพิพาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3243/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจครอบคลุมการแก้ฟ้องแย้ง สิทธิเช่าที่ดินเป็นไปตามการจดทะเบียน
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ระบุให้ ส.ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจตั้งทนายความเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆในศาล ย่อมมีความหมายรวมถึงให้ตั้งทนายความแก้ต่าง และให้การแก้ฟ้องแย้งด้วย โจทก์มีอำนาจฟ้องและให้การแก้ฟ้องแย้ง
โจทก์จดทะเบียนเลิกการเช่าที่ดินกับ ช. และวันเดียวกันโจทก์ได้จดทะเบียนการเช่าให้ ป. แม้ต่อมาภายหลังจำเลยจะซื้อบ้านจาก ช. และโจทก์ทำหนังสือยินยอมให้จำเลยมีสิทธิการเช่าที่ดินสืบต่อจาก ช. ดังนี้ สิทธิการเช่าของจำเลยเป็นเพียงหลักฐานการเช่าแต่ไม่ได้จดทะเบียน ป.มีสิทธิยิ่งกว่าจำเลยในการเช่าที่ดินตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 543 จำเลยไม่มีสิทธิบังคับให้โจทก์ไปจดทะเบียนการเช่าอีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2017/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเช่าที่ไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่า และสิทธิของผู้เช่าเดิม
โจทก์ทำสัญญารับโอนสิทธิการเช่าตึกพิพาทของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จากผู้เช่าเดิมโดยผู้ให้เช่ามิได้ตกลงยินยอมด้วย เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 544จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้เป็นผู้เช่าตึกพิพาทแม้ศาลจะพิพากษาให้ผู้เช่าเดิมโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์ คำพิพากษานั้นย่อมผูกพันเฉพาะคู่ความในคดี หาผูกพันสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ผู้ให้เช่าไม่
กรณีผู้เช่าหลายคนเรียกร้องเอาอสังหาริมทรัพย์อันเดียวกันโดยอาศัยมูลสัญญาเช่าต่างรายกัน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 543 ได้บัญญัติวางหลักเกณฑ์ให้ศาลวินิจฉัยไว้ซึ่งแสดงว่าถ้าต่างคนต่างแย่งการเช่าอสังหาริมทรัพย์โดยอาศัยมูลสัญญาเช่าต่างรายกันแล้ว คู่กรณีย่อมจะมาฟ้องขอให้ศาลแสดงว่าตนมีสิทธิการเช่าดีกว่าคนอื่นได้แต่โจทก์รับโอนสิทธิการเช่าโดยไม่ถูกต้อง และยังมิได้เป็นผู้เช่าตึกพิพาทจากผู้ให้เช่า ย่อมไม่มีทางที่จะฟ้องขอให้แสดงว่า โจทก์มีสิทธิการเช่าได้ ดังที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 543 บัญญัติไว้
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่า โจทก์มีสิทธิได้รับโอนสิทธิการเช่าตึกพิพาทจากผู้เช่าเดิมดีกว่าจำเลย โจทก์มีสิทธิจะทำสัญญาเช่าตึกพิพาทกับผู้ให้เช่าได้ก่อนจำเลยและขอให้บังคับจำเลยถอนคำร้องโต้แย้งคัดค้าน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้ให้เช่าได้อนุมัติให้โอนสิทธิการเช่าแก่จำเลยและสิทธิการเช่าตึกพิพาทได้โอนไปยังจำเลยโดยถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้อง
ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานในวันพุธที่ 12 และนัดฟังคำพิพากษาวันศุกร์ที่ 14 เดือนเดียวกัน ถือว่ามีเวลาพอที่คู่ความจะโต้แย้งคำสั่งนั้นได้ เมื่อมิได้โต้แย้งไว้จะอุทธรณ์ฎีกาขอให้มีการพิจารณาสืบพยานต่อไปหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2017/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิการเช่าต้องได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่า มิฉะนั้นสิทธิการเช่าไม่สมบูรณ์ และไม่มีผลผูกพันต่อผู้ให้เช่า
โจทก์ทำสัญญารับโอนสิทธิการเช่าตึกพิพาทของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จากผู้เช่าเดิมโดยผู้ให้เช่ามิได้ตกลงยินยอมด้วยเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 544จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้เป็นผู้เช่าตึกพิพาทแม้ศาลจะพิพากษาให้ผู้เช่าเดิมโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์ คำพิพากษานั้นย่อมผูกพันเฉพาะคู่ความในคดี หาผูกพันสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ผู้ให้เช่าไม่
กรณีผู้เช่าหลายคนเรียกร้องเอาอสังหาริมทรัพย์อันเดียวกันโดยอาศัยมูลสัญญาเช่าต่างรายกัน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 543 ได้บัญญัติวางหลักเกณฑ์ให้ศาลวินิจฉัยไว้ ซึ่งแสดงว่าถ้าต่างคนต่างแย่งการเช่าอสังหาริมทรัพย์โดยอาศัยมูลสัญญาเช่าต่างรายกันแล้ว คู่กรณีย่อมจะมาฟ้องขอให้ศาลแสดงว่าตนมีสิทธิการเช่าดีกว่าคนอื่นได้ แต่โจทก์รับโอนสิทธิการเช่าโดยไม่ถูกต้องและยังมิได้เป็นผู้เช่าตึกพิพาทจากผู้ให้เช่า ย่อมไม่มีทางที่จะฟ้องขอให้แสดงว่า โจทก์มีสิทธิการเช่าได้ ดังที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 543 บัญญัติไว้
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่า โจทก์มีสิทธิได้รับโอนสิทธิการเช่าตึกพิพาทจากผู้เช่าเดิมดีกว่าจำเลย โจทก์มีสิทธิจะทำสัญญาเช่าตึกพิพาทกับผู้ให้เช่าได้ก่อนจำเลยและขอให้บังคับจำเลยถอนคำร้องโต้แย้งคัดค้าน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้ให้เช่าได้อนุมัติให้โอนสิทธิการเช่าแก่จำเลยและสิทธิการเช่าตึกพิพาทได้โอนไปยังจำเลยโดยถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายแล้วโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้อง
ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานในวันพุธที่ 12 และนัดฟังคำพิพากษาวันศุกร์ที่ 14 เดือนเดียวกัน ถือว่ามีเวลาพอที่คู่ความจะโต้แย้งคำสั่งนั้นได้ เมื่อมิได้โต้แย้งไว้จะอุทธรณ์ฎีกาขอให้มีการพิจารณาสืบพยานต่อไปหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 240/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาเช่าและสิทธิในอสังหาริมทรัพย์: การพิสูจน์สิทธิที่แท้จริงของผู้ให้เช่าและผลกระทบต่อสัญญาเช่าช่วง
โจทก์มิได้รับข้อเท็จจริงที่จำเลยอ้างว่า ล. ผิดสัญญากับจำเลยร่วมโดยทำการก่อสร้างไม่เสร็จตามสัญญา จำเลยร่วมจึงได้บอกเลิกสัญญา ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้จึงไม่พอแก่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย
โจทก์เช่าตึกพิพาทจาก ล. โดยให้โจทก์มีสิทธิให้เช่าช่วงได้ จำเลยเช่าช่วงตึกแถวจากโจทก์ จำเลยค้างชำระค่าเช่า โจทก์จึงฟ้องขับไล่และให้จำเลยชำระค่าเช่า จำเลยให้การว่าตึกพิพาทเป็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงการคลังให้ ล. สร้างแล้วยกให้กระทรวงการคลัง กระทรวงการคลังให้ ล. เช่า ล. ก่อสร้างไม่เสร็จตามสัญญา กระทรวงการคลังจึงบอกเลิกสัญญา ล. จึงหมดสิทธิที่จะเช่าอาคารพิพาท ดังนี้ ไม่ใช่เรื่องที่บุคคลหลายคนเรียกร้องเอาอสังหาริมทรัพย์อันเดียวกันอาศัยมูลสัญญาเช่าต่างราย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 543

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 240/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสิทธิเช่าและการพิพากษาที่ไม่สมบูรณ์ ศาลฎีกาเห็นว่าต้องฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อพิพากษาคดีให้ถูกต้อง
โจทก์มิได้รับข้อเท็จจริงที่จำเลยอ้างว่า ล. ผิดสัญญากับจำเลยร่วมโดยทำการก่อสร้างไม่เสร็จตามสัญญา จำเลยร่วมจึงได้บอกเลิกสัญญาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้ จึงไม่พอแก่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย
โจทก์เช่าตึกพิพาทจาก ล. โดยให้โจทก์มีสิทธิให้เช่าช่วงได้จำเลยเช่าช่วงตึกแถวจากโจทก์ จำเลยค้างชำระค่าเช่า โจทก์จึงฟ้องขับไล่และให้จำเลยชำระค่าเช่า จำเลยให้การว่าตึกพิพาทเป็นของกระทรวงการคลังกระทรวงการคลังให้ ล. สร้างแล้วยกให้กระทรวงการคลัง กระทรวงการคลังให้ล. เช่า ล. ก่อสร้างไม่เสร็จตามสัญญา กระทรวงการคลังจึงบอกเลิกสัญญาล. จึงหมดสิทธิที่จะเช่าอาคารพิพาท ดังนี้ ไม่ใช่เรื่องที่บุคคลหลายคนเรียกร้องเอาอสังหาริมทรัพย์อันเดียวกันอาศัยมูลสัญญาเช่าต่างราย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 543

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1610/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่มีนิติสัมพันธ์และอำนาจฟ้องขับไล่ จำเลยครอบครองก่อนโจทก์ทำสัญญาเช่า
จำเลยครอบครองที่พิพาทมาก่อนโจทก์ทำสัญญาเช่ากับเจ้าของ แม้ต่อมาจำเลยจะขอเช่าจากเจ้าของและเจ้าของไม่ยอมให้เช่า จำเลยก็หาได้ครอบครองที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิโจทก์ไม่ โจทก์จำเลยจึงไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน การที่จำเลยคงอยู่ในที่พิพาทโดยไม่มีสิทธิ ก็เป็นการละเมิดต่อเจ้าของ มิใช่ละเมิดต่อโจทก์ซึ่งยังมิได้รับมอบการครอบครอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1610/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่มีนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่ แม้จำเลยจะบุกรุก
จำเลยครอบครองที่พิพาทมาก่อนโจทก์ทำสัญญาเช่ากับเจ้าของแม้ต่อมาจำเลยจะขอเช่าจากเจ้าของและเจ้าของไม่ยอมให้เช่า จำเลยก็หาได้ครอบครองที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิโจทก์ไม่ โจทก์จำเลยจึงไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน การที่จำเลยคงอยู่ในที่พิพาทโดยไม่มีสิทธิ ก็เป็นการละเมิดต่อเจ้าของ มิใช่ละเมิดต่อโจทก์ซึ่งยังมิได้รับมอบการครอบครอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย
of 2