คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 132

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 554 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1479-1480/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์หลังมีสัญญาประนีประนอมยอมความ และผลของการไม่จดทะเบียน
จ. กับ ส. และ ล. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลยอมยกที่ดินของตนให้ ว.ว. ได้ลงชื่อไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความตกลงรับที่ดินพิพาท เป็นการแสดงเจตนารับประโยชน์ตามสัญญาแล้ว ถือได้ว่า จ. มอบการครอบครองที่ดินให้ ว.ตั้งแต่วันนั้น.ว. ครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาเกิน10 ปีแล้ว จึงได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 การไม่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือไม่ใช้สิทธิเรียกร้องเอาที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความภายใน 10 ปี หาทำให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินสูญสิ้นไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1130/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้างเช่า: สัญญาเช่าต่างตอบแทนยังคงกรรมสิทธิ์ไว้จนกว่าจะครบกำหนดสัญญา แม้มีข้อตกลงสละสิทธิ์
สัญญาแบ่งเช่าที่ดินระหว่างการท่าเรือแห่งประเทศไทยกับโจทก์ผู้เช่าข้อ 4 ระบุว่า 'เมื่อครบสัญญาเช่าบรรดาวัสดุและสิ่งปลูกสร้างตลอดจนทรัพย์สินที่ติดอยู่กับที่ดินตกเป็นของผู้ให้เช่า' มีความหมายอยู่ในตัวว่าตลอดระยะเวลาที่การเช่ายังมีอยู่ กรรมสิทธิ์ในบรรดาวัสดุและสิ่งปลูกสร้างฯยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ แม้จะมีสัญญาข้อ 14ว่า 'โดยผู้เช่าไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแต่ประการใด' ก็หามีผลลบล้างข้อตกลงตามสัญญาแบ่งเช่าที่ดินไม่และสัญญาข้อ 14 นี้ เป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์กับการท่าเรือแห่งประเทศไทยจะผูกพันถึงจำเลยหรือไม่เพียงใดน่าจะต้องฟังพยานหลักฐานจากคู่ความเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1130/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้างในที่ดินเช่าเมื่อถูกเวนคืน: สัญญาต่างตอบแทนยังคงผูกพัน แม้มีข้อตกลงสละสิทธิค่าเสียหาย
สัญญาแบ่งเช่าที่ดินระหว่างการท่าเรือแห่งประเทศไทยกับโจทก์ผู้เช่าข้อ 8 ระบุว่า "เมื่อครบสัญญาเช่าบรรดาวัสดุและสิ่งปลูกสร้างตลอดจนทรัพย์สินที่ติดอยู่กับที่ดินตกเป็นของผู้ให้เช่า" มีความหมายอยู่ในตัวว่าตลอดระยะเวลาที่การเช่ายังมีอยู่ กรรมสิทธิ์ในบรรดาวัสดุและสิ่งปลูกสร้างฯ ยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ แม้จะมีสัญญาข้อ 14 ว่า โดยผู้เช่าไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแต่ประการใดก็หามีผลลบล้างข้อตกลงตามสัญญาแบ่งเช่าที่ดินไม่ และสัญญาข้อ 14 นี้ เป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์กับการท่าเรือแห่งประเทศไทยจะผูกพันถึงจำเลยหรือไม่เพียงใดน่าจะต้องฟังพยานหลักฐานจากคู่ความเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 30/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาทำงานเพื่อสิทธิหยุดพักผ่อน: เริ่มนับแต่เริ่มจ้าง ไม่ใช่วันเริ่มใช้ข้อตกลง
บันทึกข้อตกลงสภาพการจ้างซึ่งใช้บังคับเพียง 1 ปีมีความว่า ลูกจ้างที่ปฏิบัติงานเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี 12 วัน ผู้ที่ปฏิบัติงานเกิน 5 ปีมีสิทธิดังกล่าว 18 วัน ในการคำนวณระยะปฏิบัติงานนั้น ข้อตกลงมิได้กำหนดให้เริ่มนับแต่เมื่อใดจึงต้องถือตามความเป็นจริงโดยเริ่มคำนวณระยะเวลาการปฏิบัติงานมาแต่แรก มิใช่เริ่มนับตั้งแต่วันใช้ข้อตกลง เพราะหากคำนวณตั้งแต่วันใช้ข้อตกลงแล้ว จะไม่มีลูกจ้างคนใดได้สิทธิหยุดพักผ่อนเพราะเมื่อครบ 1 ปีก็ต้องเลิกใช้ข้อตกลงนั้นเสียแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 30/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี: เริ่มนับจากระยะเวลาทำงานจริง ไม่ใช่วันเริ่มข้อตกลง
บันทึกข้อตกลงสภาพการจ้างซึ่งใช้บังคับเพียง 1 ปี มีความว่า ลูกจ้างที่ปฏิบัติงานเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี 12 วัน ผู้ที่ปฏิบัติงานเกิน 5 ปีมีสิทธิดังกล่าว 18 วัน ในการคำนวณระยะปฏิบัติงานนั้นข้อตกลงมิได้กำหนดให้เริ่มนับแต่เมื่อใดจึงต้องถือตามความเป็นจริง โดยเริ่มคำนวณระยะเวลาการปฏิบัติงานมาแต่แรกมิใช่เริ่มนับตั้งแต่วันใช้ข้อตกลง เพราะหากคำนวณตั้งแต่วันใช้ข้อตกลงแล้ว จะไม่มีลูกจ้างคนใดได้สิทธิหยุดพักผ่อนเพราะเมื่อครบ 1 ปีก็ต้องเลิกใช้ข้อตกลงนั้นเสียแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2268/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทนาย หากแก้ต่างไม่สำเร็จต้องคืนเช็ค ถือเป็นสัญญาที่ผูกพัน และมีอายุความ 10 ปี
โจทก์จำเลยทำสัญญาจ้างว่าความโดยมีข้อสัญญาว่า จำเลยจะ ต้องทำหน้าที่ทนายความแก้ต่างจนทำให้ ส. พ้นโทษมิฉะนั้นจำเลย จะต้องคืนเช็คให้แก่โจทก์เมื่อศาลสั่งจำหน่ายคดีเพราะ ส. ถึงแก่ความ ตายไม่ใช่เพราะการแก้ต่างของจำเลยจำเลยจึงต้องคืนเช็คให้โจทก์ จำเลยโอนเช็คให้บุคคลภายนอกเป็นเหตุให้โจทก์ถูกฟ้องและศาลพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยให้ ใช้เงินได้ โดยมีอายุความ 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2025/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการบังคับใช้ข้อสัญญาซื้อขาย: การริบเงินประกัน vs. เบี้ยปรับ กรณีผู้ขายผิดสัญญาไม่ส่งมอบสินค้า
สัญญาซื้อขายข้อ 7 ใจความว่า ผู้ขายได้นำเงินจำนวนร้อยละ 10 ของราคาสิ่งของมามอบไว้ให้แก่ผู้ซื้อ ถ้าผู้ขายไม่ปฏิบัติตามสัญญา ผู้ซื้อจะริบเงินจำนวนนี้ ข้อ 8 มีความว่าถ้าผู้ขายไม่นำสิ่งของมอบให้แก่ผู้ซื้อเป็นการถูกต้องภายในกำหนด ผู้ขายย่อมให้ผู้ซื้อปรับเป็นเงินร้อยละ 10 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้ส่งมอบ และข้อ 9 ความว่า นอกจากที่กล่าวแล้วในข้อ 8 ถ้าผู้ขายไม่ปฏิบัติตามสัญญาด้วยเหตุใดๆ จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ซื้อ ผู้ขายยอมรับผิดชอบโดยสิ้นเชิง เช่นนี้ ข้อ 7 ใช้บังคับในกรณีผู้ขายไม่ปฏิบัติตามสัญญาเลย ข้อ 8 ใช้บังคับในกรณีผู้ขายส่งมอบสิ่งของให้แก่ผู้ซื้อ แต่ส่งมอบไม่ครบถ้วน หรือถูกต้องตามสัญญาส่วนข้อ 9 ถ้าผู้ซื้อได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ เนื่องจากการไม่ปฏิบัติตามสัญญาของผู้ขาย ผู้ขายต้องรับผิดด้วย ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยผู้ขายผิดสัญญาไม่ได้ส่งมอบสิ่งของให้แก่โจทก์ผู้ซื้อเลย โจทก์จึงมีสิทธิเพียงแต่ริบเงินที่จำเลยนำมาวาง ตามสัญญาข้อ 7 เท่านั้นจะเรียกเอาเบี้ยปรับจากจำเลยตามสัญญาข้อ 8 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2025/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการบังคับใช้ข้อสัญญาเบี้ยปรับ: การส่งมอบสินค้าไม่ครบถ้วน vs. ไม่ส่งมอบเลย
สัญญาซื้อขายข้อ 7 ใจความว่า ผู้ขายได้นำเงินจำนวนร้อยละ 10 ของราคาสิ่งของมามอบไว้แก่ผู้ซื้อ ถ้าผู้ขายไม่ปฏิบัติตามสัญญา ผู้ซื้อ จะริบเงินจำนวนนี้ข้อ 8 มีความว่าถ้าผู้ขายไม่นำสิ่งของมอบให้แก่ผู้ซื้อ เป็นการถูกต้องภายในกำหนด ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นเงินร้อยละ 10 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้ส่งมอบ และข้อ 9 ความว่า นอกจากที่กล่าวแล้วในข้อ 8 ถ้าผู้ขายไม่ปฏิบัติตามสัญญาด้วยเหตุใด ๆ จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ซื้อผู้ขายยอมรับผิดชอบโดยสิ้นเชิง เช่นนี้ข้อ 7 ใช้บังคับในกรณีผู้ขายไม่ปฏิบัติตามสัญญาเลยข้อ 8 ใช้บังคับในกรณีผู้ขายส่งมอบสิ่งของให้แก่ผู้ซื้อ แต่ส่งมอบไม่ครบถ้วน หรือ ถูกต้องตามสัญญาส่วนข้อ 9 ถ้าผู้ซื้อได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ เนื่องจากการไม่ปฏิบัติตามสัญญาของผู้ขายผู้ขายต้องรับผิดด้วย ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยผู้ขายผิดสัญญาไม่ได้ส่งมอบสิ่งของ ให้แก่โจทก์ผู้ซื้อเลย โจทก์จึงมีสิทธิเพียงแต่ริบเงินที่จำเลยนำมาวาง ตามสัญญาข้อ 7 เท่านั้นจะเรียกเอาเบี้ยปรับจากจำเลยตามสัญญาข้อ 8 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1962/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาแบ่งที่ดินตามสัดส่วนการครอบครองสำคัญกว่าเนื้อที่ตามโฉนด สัญญาประนีประนอมยอมความต้องผูกพันตามเจตนาที่แท้จริง
โจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์ส่วนหนึ่งของที่พิพาทมาจาก ช. ผู้ถือกรรมสิทธิ์ รวมกับจำเลยแล้วโจทก์ครอบครองที่พิพาทส่วนทางทิศเหนือตามที่ ช. เจ้าของเดิมครอบครองมา ส่วนจำเลยครอบครองทางทิศใต้โดยถือเอาคันสวนเป็นแนวเขต ต่อมาโจทก์จำเลยได้ ทำบันทึกตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมมีความว่า โจทก์จำเลยตกลงแบ่งส่วนที่ดินของตนที่มีอยู่ในที่ดินแปลงนี้ออกจากกันทางทิศใต้แบ่งเป็นของจำเลยให้ได้เนื้อที่ครึ่งหนึ่ง ส่วนแปลงคงเหลือเป็นของโจทก์ บันทึก ดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความใช้บังคับกันได้
บันทึกดังกล่าวข้อ 1 ระบุว่าให้แบ่งตามส่วนที่แต่ละฝ่ายมีอยู่ กับข้อ 2 ระบุว่าโจทก์จำเลยจะนำช่างแผนที่ไปทำการรังวัดปักหลักเขตให้เป็นการแน่นอนต่อไป เมื่ออ่าน 2 ข้อประกอบกันแล้วเห็นได้ว่าคู่กรณีเจตนาให้แบ่งกันตามส่วนที่ทั้งสองฝ่ายมีอยู่แล้ว ต้องถือตามเจตนาที่แท้จริงของคู่กรณี คือแบ่งครึ่งกันตามที่ทั้งสองฝ่ายนำชี้ ที่ซึ่งตนครอบครองอยู่แล้ว หาใช่แบ่งครึ่งกันตามเนื้อที่ที่คำนวณได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1962/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาแบ่งที่ดินตามส่วนการครอบครองเดิมสำคัญกว่าเนื้อที่จริง ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
โจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์ส่วนหนึ่งของที่พิพาทมาจาก ข. ผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมกับจำเลยแล้ว โจทก์ครอบครองที่พิพาทส่วนทางทิศเหนือตามที่ ข. เจ้าของเดิมครอบครองมา ส่วนจำเลยครอบครองทางทิศใต้โดยถือเอาคันสวนเป็นแนวเขต ต่อมาโจทก์จำเลยได้ทำบันทึกตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมมีความว่า โจทก์จำเลยตกลงแบ่งส่วนที่ดินของตนที่มีอยู่ในที่ดินแปลงนี้ออกจากกัน ทางทิศใต้แบ่งเป็นของจำเลยให้ได้เนื้อที่ครึ่งหนึ่ง ส่วนแปลงคงเหลือเป็นของโจทก์ บันทึกดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความใช้บังคับกันได้
บันทึกดังกล่าวข้อ 1 ระบุว่าให้แบ่งตามส่วนที่แต่ละฝ่ายมีอยู่ กับข้อ 2 ระบุว่า โจทก์จำเลยจะนำช่างแผนที่ไปทำการรับวัดปักหลักเขตให้เป็นการแน่นอนต่อไป เมื่ออ่าน 2 ข้อประกอบกันแล้วเห็นได้ว่า คู่กรณีเจตนาให้แบ่งกันตามส่วนที่ทั้งสองฝ่ายมีอยู่แล้ว ต้องถือตามเจตนาที่แท้จริงของคู่กรณี คือแบ่งครึ่งกันตามที่ทั้งสองฝ่ายนำชี้ที่ซึ่งตนครอบครองอยู่แล้ว หาใช่แบ่งครึ่งกันตามเนื้อที่ที่คำนวณได้ไม่
of 56