คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 132

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 554 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2039/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินที่ได้จากการโอนเพื่อระงับข้อพิพาท ถือเป็นสินส่วนตัว ไม่ใช่สินสมรส
ในระหว่างสมรสของโจทก์จำเลย จำเลยได้ที่ดินโฉนดที่ 4084และ 4198 โดย ผ. ยกให้โดยเสน่หาระบุว่าให้เป็นสินส่วนตัวกับได้ที่ดินโฉนดที่ 5191 โดย ผ. ทำพินัยกรรมยกให้และระบุให้เป็นสินส่วนตัวเช่นเดียวกัน ต่อมา ล. อ้างว่าที่ดินดังกล่าวไม่ใช่ของ ผ. แต่เป็นของภรรยาซึ่งเป็นบุตรของ น. และฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งกับแจ้งความกล่าวหาจำเลยทางอาญาหลายคดี ในที่สุด ล. กับจำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีหนึ่งซึ่งศาลพิพากษาตามยอมมีใจความสำคัญว่า ให้จำเลยได้ที่ดินโฉนดที่ 1176 และให้ ล. ได้ที่ดินโฉนดที่ 5191 ส่วนที่ดินโฉนดที่ 4198 และ 4084 นั้น จำเลยตกลงโอนให้ ล. โดย ล. ต้องจ่ายเงินเป็นค่าตอบแทนให้ 3,100,000 บาท ดังนี้ต้องถือว่าที่ดินโฉนดที่ 4084 และ 4198 กับโฉนดที่ 5191 เดิมเป็นที่ดินที่จำเลยได้รับมาเป็นสินส่วนตัว แม้จำเลยจะทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับ ล. ดังกล่าว ก็เป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างจำเลยกับ ล. ในคดีนั้นซึ่งมีประเด็นเพียงว่าที่พิพาทเป็นของ ผ. และ ย. มีอำนาจยกให้จำเลยหรือไม่เท่านั้นไม่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะของทรัพย์ยังต้องถือว่าที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวเป็นสินส่วนตัวของจำเลยอยู่นั่นเอง และเมื่อจำเลยต้องโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินอันเป็นสินส่วนตัวทั้งสามแปลงนั้นให้แก่ ล. ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นเหตุให้จำเลยได้มาซึ่งที่ดินโฉนดที่ 1176 กับมีสิทธิได้เงินค่าตอบแทน 3,100,000 บาท ก็ต้องถือว่าที่ดินและเงินค่าตอบแทนดังกล่าวเข้ามาแทนที่ที่ดินทั้งสามแปลง อันเป็นสินส่วนตัวของจำเลยซึ่งมีผลเช่นเดียวกับการขายหรือแลกเปลี่ยนตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1465(1) ดังนั้น ที่ดินโฉนดที่ 1176 กับเงินค่าตอบแทน 3,100,000 บาท ซึ่งเป็นสินส่วนตัวของจำเลย หาใช่สินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1418/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ ศาลพิจารณาเจตนาแท้จริงจากการกระทำและเอกสารประกอบคดี
จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ค่ากระแสไฟฟ้าจำเลยที่ 2 ทำหนังสือตกลงรับชำระหนี้รายนี้และใช้หนี้นั้นไป 3 งวด และขอลดอัตราดอกเบี้ยเป็นการกระทำภายในวัตถุประสงค์ที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดรับโอนกิจการของจำเลยที่ 1 มาทำ จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดโดยการ แปลงหนี้ใหม่ ซึ่งศาลตีความในเอกสารประกอบพฤติการณ์แห่งคดีทั้งมวลโดยเพ่งเล็งเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าตัวอักษร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1303/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนมรดกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการจัดการมรดกโดยผู้จัดการมรดก
จำเลยที่ 4 เป็นบุตรของ อ. จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นบุตรและผู้จัดการมรดกของ อ. โจทก์เป็นบุตรของจำเลยที่ 4 เดิมที่ดินพิพาทเป็นของ อ. ก่อนตาย อ. ได้ลงลายมือชื่อในใบมอบอำนาจเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทไว้ หลังจาก อ. ตายแล้วโจทก์นำใบมอบอำนาจดังกล่าวไปโอนที่พิพาทมาเป็นของตน เจ้าพนักงานที่ดินไม่ทราบว่า อ. ตายแล้ว จึงจัดทำให้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 กับบรรดาทายาทของ อ. ทำหนังสือรับรองและรับรู้ว่า เมื่อยังมีชีวิตอยู่ อ. ยกที่ดินพิพาท และทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ไปโอนกรรมสิทธิ์ ต่อมาเจ้าพนักงานที่ดินได้ถอนชื่อโจทก์ออกจากโฉนด เพราะรับโอนมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ลงชื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ อ. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 โอนที่พิพาทให้จำเลยที่ 4 เช่นนี้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นผู้จัดการมรดกของ อ. มีหน้าที่แบ่งมรดกของ อ.ให้แก่ทายาทโดยธรรม โจทก์มิใช่ทายาทโดยธรรมของอ.ไม่มีสิทธิรับมรดกที่โจทก์เอาหนังสือมอบอำนาจของ อ. ไปขอโอนกรรมสิทธิ์หลัง อ. ตายแล้ว เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และทายาทของ อ. จะได้ทำหนังสือรับรองและรับรู้ดังกล่าวข้างต้น ก็เป็นเพียงมีความหมายว่า ไม่ติดใจยกเอาเรื่องดังกล่าวเป็นข้ออ้าง เพื่อฟ้องร้องเรียกที่ดินนั้นคืนจากโจทก์เท่านั้น การที่โจทก์ถูกเพิกถอนชื่อออกจากโฉนด เป็นเพราะเจ้าพนักงานที่ดินเห็นว่าการโอนกรรมสิทธิ์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 โอนที่ดินให้จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ อ. เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1045/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีขับไล่: หนังสือมอบอำนาจยังไม่สิ้นสุด แม้มีการถอนฟ้องคดีก่อนหน้า
โจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้ อ.ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท ในคดีหนึ่งไปครั้งหนึ่งแล้ว จำเลยให้การว่าจำเลยมีสิทธิ อยู่ต่อไปชั่วเวลามีกำหนด โจทก์จึงถอนฟ้องอ้างว่ายังไม่ประสงค์ดำเนินคดีกับจำเลย ต่อมา อ.ใช้หนังสือมอบอำนาจนั้นฟ้องจำเลยคดีนี้ เช่นนี้กิจการที่โจทก์มอบอำนาจให้ อ.ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทยังไม่เสร็จสิ้นและโจทก์ยังมิได้ถอนหรือบอกเลิกการมอบอำนาจ อ.มีหน้าที่ฟ้องขับไล่จำเลยตามที่ได้รับมอบอำนาจ จึงใช้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวฟ้องขับไล่จำเลยในคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 858/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินและสร้างถนน: การปฏิบัติตามข้อตกลงเรื่องไหล่ถนนเป็นสาระสำคัญของสัญญา
โจทก์จำเลยตกลงกันว่า "โจทก์จะต้องทำถนนขนาดมาตรฐาน คอนกรีตเสริมเหล็กหนา 15 เซนติเมตร ส่วนหน้ากว้าง 8 เมตร ผิวจราจร 6 เมตร ไหล่ถนนข้างละ 1 เมตร ใต้ไหล่ทางมีท่อระบายน้ำ และท่อพักเปิดปิดทำความสะอาดได้ ???" ตามข้อตกลงดังกล่าว หมายความว่าโจทก์ต้องทำไหล่ถนนข้างละ 1 เมตร เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กด้วย เมื่อโจทก์ไม่ได้ทำไหล่ถนนข้างละ 1 เมตร เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กด้วย เมื่อโจทก์ไม่ได้ทำไหล่ถนนข้างละ 1 เมตร เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กเพียงแต่ทำท่อระบายน้ำมีบ่อพักและมีฝาปิดเปิดเท่านั้น ถือได้ว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับในสัญญาโดยครบถ้วน
คดีนี้โจทก์มีคำขอให้เรียกร้องที่ดินมาเป็นของโจทก์ ราคาที่ดินย่อมเป็นทุนทรัพย์ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 858/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาทำถนนไม่ถูกต้องตามข้อตกลง ถือเป็นการผิดสัญญา จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและยึดเงินมัดจำ
โจทก์จำเลยตกลงกันว่า "โจทก์จะต้องทำถนนขนาดมาตรฐานคอนกรีตเสริมเหล็กหนา 15 เซนติเมตรส่วนหน้ากว้าง 8เมตร ผิวจราจร 6 เมตร ไหล่ถนนข้างละ 1 เมตรใต้ไหล่ทางมีท่อระบายน้ำ และท่อพักเปิดปิดทำความสะอาดได้"ตามข้อตกลงดังกล่าวหมายความว่าโจทก์ต้องทำไหล่ถนนข้างละ1 เมตร เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กด้วยเมื่อโจทก์ไม่ได้ทำไหล่ถนนข้างละ 1 เมตรเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กเพียงแต่ทำท่อระบายน้ำมีบ่อพักและมีฝาปิดเปิดเท่านั้นถือได้ว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับในสัญญาโดยครบถ้วน
คดีนี้โจทก์มีคำขอให้เรียกร้องที่ดินมาเป็นของโจทก์ราคาที่ดินย่อมเป็นทุนทรัพย์จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 249/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนำใบหุ้นประกันหนี้รวมถึงหนี้ในอนาคต ผู้จำนำต้องชำระหนี้ทั้งหมดก่อนเรียกคืนใบหุ้น
โจทก์จำนำใบหุ้นกับธนาคารจำเลยประกันหนี้ของ บ. ต่อจำเลย บ. เป็นลูกหนี้คนภายนอกโดยจำเลยค้ำประกันจำเลยใช้หนี้ของ บ. แก่คนภายนอก บ. ย่อมตกเป็นลูกหนี้จำเลยในเงินที่จำเลยใช้แทนไปแล้วและที่จะต้องใช้แทนในภายหน้า จำนำใบหุ้นจึงยังผูกพันโจทก์อยู่โจทก์เรียกใบหุ้นคืนจากจำเลยไม่ได้
ข้อความในเอกสารจำนำใบหุ้นแสดงเจตนาแท้จริงชัดแจ้งอยู่แล้วไม่ต้องสืบพยานบุคคลตีความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2343/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาแท้จริงในสัญญาสัญญาประนีประนอมและการตีความตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 132
จำเลยถูกโจทก์ฟ้องคดีอาญาในข้อหาว่ายักยอกเงินโจทก์ไป214,878 บาท 8 สตางค์ ระหว่างพิจารณาคดีอาญาโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ตามสัญญาข้อ 1 จำเลยยอมรับผิดใช้เงินจำนวน 50,000 บาท เพื่อเป็นการชดเชยยอดเงินที่ขาดบัญชี จ่ายซ้ำสองครั้ง ส่วนตามสัญญาข้อ 2 ยอดเงินที่ใช้จ่ายไปโดยไม่มีใบสำคัญจำนวน 130,045 บาท 75 สตางค์ โจทก์ยอมให้จำเลยไปจัดหาใบสำคัญมาหักล้าง หรือหลักฐานอื่นอันแสดงว่าได้ใช้จ่ายไปมาแสดงให้เป็นที่พอใจคณะกรรมการบริษัทโจทก์ภายใน 120 วัน และข้อ 3 ฝ่ายโจทก์ไม่ติดใจที่จะดำเนินคดีกับจำเลยต่อไปอีก ดังนี้เมื่อจำเลยไม่จัดหาใบสำคัญมาหักล้างหรือหลักฐานอื่นอันแสดงว่าได้ใช้จ่ายไปมาแสดงภายใน 120 วัน ปัญหาว่าจำเลยต้องรับผิดชำระเงินที่ใช้จ่ายไปจำนวน 130,045 บาท 75 สตางค์ ให้แก่โจทก์ตามสัญญาข้อ 2 หรือไม่ เป็นเรื่องการตีความแสดงเจตนาซึ่งต้องเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนตามตัวอักษร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 132 และความประสงค์หรือเจตนาของคู่สัญญาต้องแปลจากสัญญาทั้งฉบับไม่ใช่ยกเอาเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งหรือสัญญาข้อใดข้อหนึ่งขึ้นมาแปล สัญญาประนีประนอมดังกล่าวแม้จะไม่มีข้อความว่าถ้าจำเลยหามาไม่ได้ภายในกำหนดจำเลยจะต้องชดใช้เงินให้โจทก์ แต่ก็เห็นเจตนาของโจทก์จำเลยได้ว่าต้องการระงับคดีอาญาโดยจำเลยต้องใช้เงินในสัญญาข้อ 1 ให้โจทก์ ส่วนตามข้อ 2 นั้น ยังมีปัญหาว่าจำเลยได้ใช้จ่ายไปจริงหรือไม่ โจทก์จึงให้โอกาสจำเลยไปหาใบสำคัญมาแสดงอันเป็นการแสดงเจตนาแก่จำเลยว่า ถ้าจำเลยหาใบสำคัญหรือหลักฐานการใช้เงินมาแสดงได้ โจทก์ยอมหักเงินให้จำเลย ถ้าจำเลยหามาไม่ได้ก็ต้องรับผิดในเงินยอดนั้นเมื่อจำเลยหามาไม่ได้ภายใน 120 วัน ตามสัญญาข้อ 2 ก็ต้องถือว่าจำเลยยอมรับผิด และไม่เข้ากรณีที่มีข้อสงสัยอันให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะต้องเป็นผู้เสียในมูลหนี้นั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11(ประชุมใหญ่ครั้งที่19/2521)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2330/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันภาษีอากรต่างด้าว: ความรับผิดเมื่อไม่กลับเข้าประเทศภายใน 180 วัน
ที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 4 อัฏฐ บัญญัติให้คนต่างด้าวซึ่งมีความจำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศเป็นปกติธุรเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพยื่นคำร้องขอรับใบผ่านภาษีอากรโดยมีหลักประกันหรือหลักทรัพย์อยู่ในประเทศไทยพอคุ้มค่าภาษีอากรที่ค้างหรือที่จะต้องชำระนั้น ก็เพียงป้องกันไม่ให้รัฐต้องขาดรายได้จากภาษีอากรที่คนต่างด้าวค้างชำระหรือที่จะต้องชำระ เพราะเหตุที่คนต่างด้าวออกจากประเทศไทยไปแล้วไม่กลับเข้ามาในประเทศไทยอีก
จำเลยทำสัญญาค้ำประกัน อ.คนต่างด้าวไว้ต่อโจทก์ เนื่องจากเหตุที่ อ.มีความจำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศ และร้องขอรับใบผ่านภาษีอากรนั้นเป็นการค้ำประกันการเดินทางไปต่างประเทศของ อ.ว่า เมื่อ อ.ไปต่างประเทศแล้วจะต้องเดินทางกลับมาประเทศไทยภายใน 180 วันนับแต่วันออกใบผ่านภาษีอากร ดังนั้น ที่สัญญาค้ำประกันระบุว่า "หากทางราชการจะเรียกร้อง (ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร) เอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวก ข้าพเจ้า (จำเลย) ยินยอมชำระแทนให้จนครบถ้วนทั้งสิ้น" นั้น หมายถึงว่าถ้า อ.ไม่เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยภายใน 180 วันนั้นนับตั้งแต่วันออกใบผ่านภาษีอากรหากทางราชการจะเรียกร้องภาษีอากรเอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวก จำเลยยินยอมชำระแทนให้จนครบ มิใช่หมายความว่าแม้ อ.เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยภายใน 180 วัน นับตั้งแต่วันออกใบผ่านภาษีอากรแล้ว หากทางราชการจะเรียกร้องเอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวกแล้วจำเลยยังจะต้องรับผิดชำระแทนครบถ้วน
อ.คนต่างด้าวได้รับใบผ่านภาษีอากรประเภทเดินทางหลายครั้ง (ระบบ ผ.3 ก) มีสิทธิใช้ใบผ่านภาษีอากรเดินทางไปต่างประเทศได้หลายครั้ง แต่ต้องเดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยภายใน 180 วันนับตั้งแต่วันออกใบผ่านภาษีอากรแล้ว เมื่อ อ.ได้เดินทางไปต่างประเทศแล้วกลับเข้ามาในประเทศไทย หลังจากนั้นก็ได้เดินทางไปต่างประเทศอีกภายใน 180 วันนั้นแล้วไม่ได้เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยอีกเลย ดังนี้ สัญญาค้ำประกันดังกล่าวหาได้ระงับไปเพราะ อ.กลับเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกไม่ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ภาษีอากรแทน อ.ตามสัญญาค้ำประกัน
จำเลยขอค้ำประกัน อ.ต่อโจทก์ว่า ถ้า อ.มีหน้าที่จะต้องเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรไม่ว่าในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะแทนผู้อื่น หากทางราชการจะเรียกร้องเอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวก จำเลยยินยอมชำระแทนให้จนครบถ้วน ดังนั้นหนี้อากรแสตมป์และเงินเพิ่มที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ. โดย อ.หุ้นส่วนผู้จัดการค้างชำระอยู่ก่อนที่จำเลยจะค้ำประกัน อ. แม้เจ้าพนักงานประเมินจะแจ้งให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.นำเงินอากรแสตมป์และเงินเพิ่มไปชำระหลังจากที่จำเลยค้ำประกัน อ.จำเลยก็จะต้องรับผิดเพราะหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่ อ.ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการจะต้องชำระให้โจทก์ เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.ที่ อ.เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการผิดนัดไม่ชำระภาษีอากรต้องถือว่า อ.ผิดนัดด้วย โจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้ฟ้องให้จำเลยผู้ค้ำประกันชำระหนี้ภาษีอากรแทน อ.ได้ โดยไม่จำต้องทวงถามจำเลยก่อน และไม่จำต้องเรียกร้องหรือทวงถามให้ อ.รับผิดเป็นส่วนตัวก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2330/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันภาษีอากรของคนต่างด้าวมีผลผูกพันเมื่อผู้ค้ำประกันต้องชำระแทนเนื่องจากผู้ถูกค้ำประกันไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข
ที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 4อัฏฐ บัญญัติให้คนต่างด้าวซึ่งมีความจำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศเป็นปกติธุระ เกี่ยวกับการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพยื่นคำร้องขอรับใบผ่านภาษีอากรโดยมีหลักประกันหรือหลักทรัพย์อยู่ในประเทศไทยพอคุ้มค่าภาษีอากรที่ค้างหรือที่จะต้องชำระนั้น ก็เพียงป้องกันไม่ให้รัฐต้องขาดรายได้จากภาษีอากรที่คนต่างด้าวค้างชำระหรือที่จะต้องชำระ เพราะเหตุที่คนต่างด้าวออกจากประเทศไทยไปแล้วไม่กลับเข้ามาในประเทศไทยอีก
จำเลยทำสัญญาค้ำประกัน อ.คนต่างด้าวไว้ต่อโจทก์ เนื่องจากเหตุที่ อ.มีความจำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศ และร้องขอรับใบผ่านภาษีอากรนั้นเป็นการค้ำประกันการเดินทางไปต่างประเทศของ อ.ว่าเมื่ออ.ไปต่างประเทศแล้วจะต้องเดินทางกลับมาประเทศไทยภายใน 180 วันนับแต่วันออกใบผ่านภาษีอากร ดังนั้น ที่สัญญาค้ำประกันระบุว่า"หากทางราชการจะเรียกร้อง (ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร)เอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวก ข้าพเจ้า (จำเลย) ยินยอมชำระแทนให้จนครบถ้วนทั้งสิ้น" นั้น หมายถึงว่าถ้าอ.ไม่เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยภายใน 180 วันนั้นนับตั้งแต่วันออกใบผ่านภาษีอากรหากทางราชการจะเรียกร้องภาษีอากรเอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวก จำเลยยินยอมชำระแทนให้จนครบ มิใช่หมายความว่าแม้ อ.เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยภายใน 180 วันนับตั้งแต่วันออกใบผ่านภาษีอากรแล้ว หากทางราชการจะเรียกร้องเอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวกแล้วจำเลยยังจะต้องรับผิดชำระแทนจนครบถ้วน
อ.คนต่างด้าวได้รับใบผ่านภาษีอากรประเภทเดินทางหลายครั้ง(ระบบ ผ.3ก) มีสิทธิใช้ใบผ่านภาษีอากรเดินทางไปต่างประเทศได้หลายครั้ง แต่ต้องเดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยภายใน 180 วันนับตั้งแต่วันออกใบผ่านภาษีอากรแล้ว เมื่อ อ.ได้เดินทางไปต่างประเทศแล้วกลับเข้ามาในประเทศไทย หลังจากนั้นก็ได้เดินทางไปต่างประเทศอีกภายใน 180 วันนั้นแล้วไม่ได้เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยอีกเลย ดังนี้ สัญญาค้ำประกันดังกล่าวหาได้ระงับไปเพราะ อ.กลับเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกไม่ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ภาษีอากรแทน อ.ตามสัญญาค้ำประกัน
จำเลยขอค้ำประกัน อ.ต่อโจทก์ว่าถ้าอ.มีหน้าที่จะต้องเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรไม่ว่าในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะแทนผู้อื่น หากทางราชการจะเรียกร้องเอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวก จำเลยยินยอมชำระแทนให้จนครบถ้วนดังนั้นหนี้อากรแสตมป์และเงินเพิ่มที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดบ. โดย อ.หุ้นส่วนผู้จัดการค้างชำระอยู่ก่อนที่จำเลยจะค้ำประกันอ. แม้เจ้าพนักงานประเมินจะแจ้งให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ. นำเงินอากรแสตมป์และเงินเพิ่มไปชำระหลังจากที่จำเลยค้ำประกัน อ. จำเลยก็จะต้องรับผิดเพราะหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่ อ. ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการจะต้องชำระให้โจทก์ เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด บ. ที่อ. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการผิดนัดไม่ชำระภาษีอากรต้องถือว่า อ. ผิดนัดด้วย โจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้ฟ้องให้จำเลยผู้ค้ำประกันชำระหนี้ภาษีอากรแทน อ.ได้ โดยไม่จำต้องทวงถามจำเลยก่อน และไม่จำต้องเรียกร้องหรือทวงถามให้อ. รับผิดเป็นส่วนตัวก่อน
of 56