คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 132

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 554 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1274/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความและผลผูกพันหลังหย่า: ทรัพย์สินที่ตกลงยกให้ย่อมตกเป็นสิทธิของอีกฝ่าย
โจทก์เคยฟ้องหย่าจำเลย ในที่สุดได้ทำสัญญาไว้ต่อกันเป็นข้อสารสำคัญว่า โจทก์จำเลยยอมคืนดีเป็นสามีภริยากันดังเดิม และข้อความในหนังสือสัญญานั้นได้กล่าวไว้ชัดว่าเป็นสัญญาที่ทำขึ้นเพื่อระงับการฟ้องหย่าระหว่างโจทก์จำเลยไม่ต้องเป็นความกันต่อไป โจทก์จำเลยจึงได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์สินกันเป็นสัดส่วน กล่าวคือให้โจทก์ได้วัวที่มีตั๋วพิมพ์รูปพรรณ 16 ตัว ฯลฯ นอกจากทรัพย์ดังกล่าวนี้แล้วโจทก์ไม่ขอเอาอีกต่อไป หนังสือสัญญานี้จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850
ข้อความในสัญญาที่ว่าจำเลยและโจทก์ได้ตกลงพร้อมใจกันทำหนังสือยกทรัพย์สินสมรสและสินเดิมให้แก่โจทก์ ฯลฯ นอกจากทรัพย์ที่โจทก์ได้รับไปนี้แล้ว ไม่ขอเอาอีกต่อไปเห็นว่าเมื่อข้อสัญญาระบุชัดว่าโจทก์จะไม่เอาทรัพย์อื่นนอกจากที่โจทก์ได้รับตามสัญญานี้ ก็เท่ากับยอมให้ทรัพย์พิพาทอันเป็นทรัพย์ที่มีอยู่แล้วในขณะที่ทำสัญญานั้น ตกเป็นสิทธิของจำเลยฝ่ายเดียว โจทก์จะมาฟ้องขอแบ่งทรัพย์พิพาทอีกไม่ได้
สัญญาที่ทำไว้ต่อกัน ระหว่างที่โจทก์จำเลยยังเป็นสามีภริยากันอยู่ เมื่อไม่บอกล้างภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันขาดจากการสมรส ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 ก็ต้องถือว่ายังคงบังคับได้อยู่เสมอ (ข้อกฎหมายตามวรรค 2 และ 3 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2521)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1274/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างคู่สมรสมีผลผูกพันและสิทธิในทรัพย์สินย่อมตกเป็นไปตามสัญญา
โจทก์เคยฟ้องหย่าจำเลย ในที่สุดได้ทำสัญญาไว้ต่อกันเป็นข้อสารสำคัญว่า โจทก์จำเลยยอมคืนดีเป็นสามีภริยากันดังเดิม และข้อความในหนังสือสัญญานั้นได้กล่าวไว้ชัดว่าเป็นสัญญาที่ทำขึ้นเพื่อระงับการฟ้องหย่าระหว่างโจทก์จำเลย ไม่ต้องเป็นความกันต่อไป โจทก์จำเลยจึงได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์สินกันเป็นสัดส่วน กล่าวคือให้โจทก์ได้วัวที่มีตัวพิมพ์รูปพรรณ 16 ตัว ฯลฯ นอกจากทรัพย์ดังกล่าวนี้แล้ว โจทก์ไม่ขอเอาอีกต่อไป หนังสือสัญญานี้จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850
ข้อความในสัญญาที่ว่าจำเลยและโจทก์ได้ตกลงพร้อมใจกันทำหนังสือยกทรัพย์สินสมรสและสินเดิมให้แก่โจทก์ ฯลฯ นอกจากทรัพย์ที่โจทก์ได้รับไปนี้แล้ว ไม่ขอเอาอีกต่อไป เห็นว่าเมื่อข้อสัญาระบุชัดว่าโจทก์จะไม่เอาทรัพย์อื่นนอกจากที่โจทก์ได้รับตามสัญญานี้ ก็เท่ากับยอมให้ทรัพย์พิพาทอันเป็นทรัพย์ที่มีอยู่แล้วในขณะที่ทำสัญญานั้น ตกเป็นสิทธิของจำเลยฝ่ายเดียว โจทก์จะมาฟ้องขอแบ่งทรัพย์พิพาทอีกไม่ได้
สัญญาที่ทำไว้ต่อกันระหว่างที่โจทก์จำเลยยังเป็นสามีภริยากันอยู่ เมื่อไม่บอกล้างภายในกำหนดหนึ่งปี นับแต่วันขาดจากการสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 ก็ต้องถือว่ายังคงบังคับได้อยู่เสมอ (ข้อกฎหมายตามวรรค 2 และ 3 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2521)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1185/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ตัดสิทธิผู้ค้ำประกัน หากไม่มีเจตนาสละสิทธิชัดเจน
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้กู้ และจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกัน ให้รับผิดใช้เงินแก่โจทก์ตามสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้อง ตามคำให้การต่อสู้คดีของจำเลยที่ 2 ก็มิได้ปฏิเสธว่า จำเลยที่ 2 มิใช่ผู้ค้ำประกัน คงปฏิเสธเพียงว่าจำเลยที่ 1 ชำระเงินกู้คืนโจทก์แล้วบางส่วน จำเลยที่ 2 ขอรับผิดเฉพาะส่วนที่ยังค้างอยู่เท่านั้น วันนัดคู่ความมาพร้อมกัน เมื่อคู่ความตกลงกันได้ และศาลชั้นต้น ทำ สัญญาประนีประนอมยอมความให้โดยจำเลยที่ 1 ยินยอมรับผิด ใช้ เงินแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ก็ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ด้วย ดังเห็นได้จากที่จำเลยที่ 2 ลงชื่อรับรู้ไว้ท้ายสัญญาดังกล่าว และรายงานกระบวนพิจารณาของศาล แม้ข้อความในสัญญาประนีประนอมยอมความจะไม่ได้ระบุถึงความรับผิดของจำเลยที่ 2 ไว้ แต่ตามพฤติการณ์คดีนี้ไม่มีข้อใดแสดงให้เห็นว่า โจทก์ไม่ติดใจให้จำเลยที่ 2 ต้องผูกพันรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันอีกต่อไป และรายงานกระบวนพิจารณาของศาลก็มิได้จดแจ้งไว้เช่นนั้น กรณีนี้เป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมรับผิดต่อโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ดังที่ได้ทำสัญญาไว้กับโจทก์แต่เดิม และที่โจทก์ฟ้องบังคับจำเลยที่ 2 ให้รับผิดเป็นคดีนี้ เมื่อโจทก์บังคับคดียึดทรัพย์จำเลยที่ 1 ได้ไม่พอชำระหนี้ก็ชอบที่จะขอให้บังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันในจำนวนหนี้ที่ยังขาดอยู่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1156/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาที่แท้จริงในสัญญาประนีประนอมยอมความ และสิทธิของบุคคลภายนอกผู้รับประโยชน์
เจ้ามรดกมีบุตร 5 คนคือโจทก์ทั้งสอง จำเลย ว.และพ. ผู้ร้องสอดเป็นภรรยาของ พ.ไม่มีบุตรด้วยกัน พ. ตายก่อนเจ้ามรดก เจ้ามรดกตายโดยไม่ได้ทำพินัยกรรม โจทก์ทั้งสองเคยฟ้องจำเลยขอแบ่งมรดก ผลที่สุดได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน จำเลยยอมแบ่งที่พิพาทออกเป็น 5 ส่วนเท่าๆ กัน ให้โจทก์ทั้งสอง ว.พ. และจำเลยคนละส่วนตามคดีแดงที่ 239/2515 ขณะทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว โจทก์และจำเลยย่อมรู้อยู่แล้วว่า พ. ตายไปก่อนเจ้ามรดกแล้ว ยังยอมทำสัญญาประนีประนอมยอมความให้ พ. มีส่วนในที่พิพาท 1 ส่วนใน 5 ส่วน จึงแสดงว่าต่างมีเจตนาอันแท้จริงที่จะมอบที่ดินส่วนนี้ให้แก่ผู้มีสิทธิรับมรดกของ พ. หาใช่มอบให้แก่ พ. ซึ่งตายไปแล้วไม่ ทั้งนี้เป็นการตีความในสัญญาโดยเพ็งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนตามตัวอักษร ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 132
สัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์จำเลยทำไว้นั้น เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก เมื่อผู้ร้องสอดซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้แสดงเจตนาจะรับเอาทรัพย์ส่วนนี้โดยร้องสอดเข้ามาเป็นจำเลยร่วม ถือได้ว่าผู้ร้องสอดได้แสดงเจตนาแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นแล้ว ตามมาตรา 374 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สิทธิของผู้ร้องสอดได้เกิดมีขึ้นแล้ว โจทก์จะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธินี้ของผู้ร้องสอดมิได้ ตามมาตรา 375 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 900/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายไม้: เงินมัดจำ, L/C, และความผิดของผู้ซื้อ
โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายไม้มีกำหนดการซื้อขายเป็นเวลา1 ปี และมีข้อสัญญาเกี่ยวกับจำนวนไม้อย่างต่ำที่จะต้องซื้อขายกันต่อเดือน เมื่อจำเลยผู้ขายได้รับเงินมัดจำค่าซื้อไม้จากโจทก์ 200,000 บาทเงินจำนวนนี้ย่อมเป็นเงินมัดจำตามสัญญาซื้อขายที่มีกำหนดเวลาซื้อขายกัน 1 ปี ไม่ใช่เงินมัดจำสำหรับการซื้อขายไม้จำนวนใดจำนวนหนึ่งหรือของเดือนใดเดือนหนึ่ง ดังนั้น แม้จะได้ความว่า ไม้จำนวน 5 หีบที่ ตัวแทนโจทก์ได้คัดเลือกให้จำเลยเพื่อส่งไปให้โจทก์ยังต่างประเทศจะมีราคาประมาณ 200,000 บาท โจทก์ก็จะนำเงินมัดจำดังกล่าวมาหักเอาชำระราคาไม้ที่จะส่งออกไม่ได้ เพราะการซื้อขายยังไม่เสร็จสิ้น ยังจะต้องมีการซื้อขายตามสัญญาอีกจนกว่าจะครบ 1 ปี หากนำเงินมัดจำดังกล่าวมาหักชำระราคาไม้รายพิพาทแล้ว ก็จะไม่มีเงินมัดจำเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายต่อไปอีก
เมื่อได้ความว่าตามประเพณีการค้าการส่งสินค้าไปต่างประเทศผู้ซื้อจะต้องเปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตมาให้ผู้ขายเท่าราคาสินค้าที่ส่งออกอันเป็นวิธีการเกี่ยวกับการชำระเงินค่าสินค้า และปรากฏว่าเป็นความผิดของโจทก์เองที่เปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตมาให้จำเลยไม่พอกับราคาไม้ที่ส่งออก จึงส่งไม้ออกไปให้โจทก์ไม่ได้ เช่นนี้จะว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหาได้ไม่โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกเงินมัดจำดังกล่าวคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 900/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายไม้, เงินมัดจำ, L/C, ความผิดของผู้ซื้อ, สิทธิเรียกคืนเงินมัดจำ
โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายไม้ มีกำหนดการซื้อขายเป็นเวลา 1 ปี และมีข้อสัญญาเกี่ยวกับจำนวนไม้อย่างต่ำที่จะต้องซื้อขายกันต่อเดือน เมื่อจำเลยผู้ขายได้รับเงินมัดจำค่าซื้อไม่จากโจทก์ 200,000 บาท เงินจำนวนนี้ย่อมเป็นเงินมัดจำตามสัญญาซื้อขายที่มีกำหนดเวลาซื้อขายกัน 1 ปี ไม่ใช่เงินมัดจำสำหรับการซื้อขายไม้จำนวนใดจำนวนหนึ่งหรือของเดือนใดเดือนหนึ่ง ดังนั้น แม้จะได้ความว่า ไม้จำนวน 5 หีบที่ตัวแทนโจทก์ได้คัดเลือกให้จำเลยเพื่อส่งไปให้โจทก์ยังต่างประเทศ จะมีราคาประมาณ 200,000 บาท โจทก์ก็จะนำเงินมัดจำดังกล่าวมาหักเอาชำระราคาไม้ที่จะส่งออกไม่ได้ เพราะการซื้อขายยังไม่เสร็จสิ้น ยังจะต้องมีการซื้อขายตามสัญญาอีกจนกว่าจะครบ 1 ปี หากนำเงินมัดจำดังกล่าว มาหักชำระราคาไม้รายพิพาทแล้ว ก็จะไม่มีเงินมัดจำเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายต่อไปอีก
เมื่อได้ความว่า ตามประเพณีการค้า การส่งสินค้าไปต่างประเทศ ผู้ซื้อจะต้องเปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตมาให้ผู้ขาย เท่าราคาสินค้าที่ส่งออกอันเป็นวิธีการเกี่ยวกับการชำระเงินค่าสินค้า และปรากฏว่าเป็นความผิดของโจทก์เอง ที่เปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตมาให้จำเลยไม่พอกับราคาไม้ที่ส่งออก จึงส่งไม้ออกไปให้โจทก์ไม่ได้ เช่นนี้จำว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหาได้ไม่ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกเงินมัดจำดังกล่าวคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือยินยอมจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: หน้าที่ของจำเลยในการยืนยันแก้ไขเอกสารเพื่อให้บรรลุผลตามสัญญา
โจทก์ จำเลยทำสัญญาแบ่งทรัพย์สินกันในสัญญาข้อ 8 ระบุว่า จำเลยจะเซ็นหนังสือยินยอมให้โจทก์ไปขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารวม 4 คำขอ และจำเลยได้เซ็นหนังสือยินยอมให้โจทก์ตามสัญญา โดยแยกทำหนังสือยินยอม 1 ฉบับ ต่อคำขอของโจทก์ 1 คำขอโจทก์ได้นำหนังสือยินยอมดังกล่าวไปยื่นประกอบคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ต่อเจ้าหน้าที่กองเครื่องหมายการค้า หลังจากนั้นโจทก์ได้ขอยืมหนังสือยินยอมของจำเลยจากเจ้าหน้าที่มาจัดการขูดลบ แก้ไขเพิ่มเติมจากเดิมเป็นระบุหมายเลขคำขอโจทก์ 4 เลขหมายที่ จำเลยยินยอมให้โจทก์ใช้ตามสัญญาต่อหนังสือยินยอมของจำเลย 1 ฉบับ โดยมิได้เพิ่มเติมเลขหมายคำขอให้มีจำนวนมากขึ้นและมิได้เปลี่ยนแปลงเนื้อความอื่นให้ผิดไปจากเดิมอันจะทำให้จำเลยเสียหายแต่อย่างใดซึ่งโจทก์ได้ทำไปโดยพลการปราศจากการรู้เห็นยินยอมของจำเลย แล้วโจทก์นำหนังสือยินยอมของจำเลยที่แก้ไขนั้นไปยื่นใหม่ เจ้าหน้าที่เห็นว่ามีรอยขูดลบ แก้ไข จึงมีหนังสือให้โจทก์นำจำเลยไปยืนยันและเซ็นชื่อกำกับข้อความที่แก้ไขเพราะสงสัยว่าจะไม่ใช่หนังสือยินยอมอันแท้จริงของจำเลย ดังนี้จำเลยมีหน้าที่ต้องทำหนังสือยืนยันและไปลงชื่อกำกับรอยแก้ไขในหนังสือยินยอมให้ถูกต้องตามระเบียบปฏิบัติของเจ้าหน้าที่นั้น จำเลยจะอ้างว่าได้เซ็นหนังสือยินยอมให้โจทก์แล้ว จึงหมดความผูกพันตามสัญญาหาได้ไม่ เพราะการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เจ้าหน้าที่ไม่ยอมรับพิจารณาหนังสือยินยอมของจำเลย เท่ากับว่ายังขาดหนังสือยินยอมของจำเลยนั่นเอง คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงไม่บรรลุผลสำเร็จตามที่ตกลงกันในสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือยินยอมจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: หน้าที่ของผู้ให้ยินยอมในการยืนยันแก้ไขเอกสารเพื่อให้บรรลุผล
โจทก์ จำเลยทำสัญญาแบ่งทรัพย์สินกันในสัญญาข้อ 8 ระบุว่า จำเลยจะเซ็นหนังสือยินยอมให้โจทก์ไปขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารวม 4 คำขอ และจำเลยได้เซ็นหนังสือยินยอมให้โจทก์ตามสัญญา โดยแยกทำหนังสือยินยอม 1 ฉบับ ต่อคำขอของโจทก์ 1 คำขอ โจทก์ได้นำหนังสือยินยอมดังกล่าวไปยื่นประกอบคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ต่อเจ้าหน้าที่กองเครื่องหมายการค้า หลังจากนั้นโจทก์ได้ขอยืมหนังสือยินยอมของจำเลยจากเจ้าหน้าที่มาจัดการขูดลบ แก้ไข เพิ่มเติมจากเดิมเป็นระบุหมายเลขคำขอของโจทก์ 4 เลขหมายที่จำเลยยินยอมให้โจทก์ใช้ตามสัญญาต่อหนังสือยินยอมของจำเลย 1 ฉบับ โดยมิได้เพิ่มเติมเลขหมายคำขอให้มีจำนวนมากขึ้นและมิได้เปลี่ยนแปลงเนื้อความอื่นให้ผิดไปจากเดิมอันจะทำให้จำเลยเสียหายแต่อย่างใด ซึ่งโจทก์ได้ทำไปโดยพลการปราศจากการรู้เห็นยินยอมของจำเลย แล้วโจทก์นำหนังสือยินยอมของจำเลยที่แก้ไขนั้นไปยื่นใหม่ เจ้าหน้าที่เห็นว่ามีรอยขูดลบ แก้ไข จึงมีหนังสือให้โจทก์นำจำเลยไปยืนยันและเซ็นชื่อกำกับข้อความที่แก้ไขเพราะสงสัยว่าจะไม่ใช่หนังสือยินยอมอันแท้จริงของจำเลย ดังนี้จำเลยมีหน้าที่ต้องทำหนังสือยืนยันและไปลงชื่อกำกับรอยแก้ไขในหนังสือยินยอมให้ถูกต้องตามระเบียบปฏิบัติของเจ้าหน้าที่นั้น จำเลยจะอ้างว่าได้เซ็นหนังสือยินยอมให้โจทก์แล้ว จึงหมดความผูกพันตามสัญญาได้ไม่ เพราะการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เจ้าหน้าที่ไม่ยอมรับพิจารณาหนังสือยินยอมของจำเลย เท่ากับว่ายังขาดหนังสือยินยอมของจำเลยนั่นเอง คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงยังไม่บรรลุผลสำเร็จตามที่ตกลงกันในสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2537/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายเสาไฟฟ้าฯ มิใช่สัญญาจ้างทำของ ผู้ประกอบการค้าไม่ต้องเสียภาษี
โจทก์ทำเสาไฟฟ้าคอนกรีตอัดแรงส่งแก่การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สัญญาที่โจทก์ทำกับการไฟฟ้าทั้งสองระบุว่าเป็นหนังสือสัญญาซื้อขาย ข้อความในหนังสือสัญญาแสดงให้เห็นว่าคู่สัญญามีเจตนามุ่งจะให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์เพื่อตอบแทนการ ใช้ราคา มิได้มุ่งหวังในผลสำเร็จในการงานแม้ข้อความในสัญญาจะได้กำหนดคุณสมบัติและลักษณะทรัพย์ที่จะต้องส่งมอบว่าจะต้องเป็นไปตามแบบและรายการแนบท้ายสัญญา ก็เห็นได้ว่าเป็นการกำหนดรายละเอียดไว้เป็นเงื่อนไขในการรับซื้อ สัญญาดังกล่าวจึงเข้าลักษณะสัญญาซื้อขายหาใช่สัญญาจ้างทำของไม่
โจทก์นำลวดเหล็กเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อใช้ในการผลิตเสาไฟฟ้าคอนกรีตอัดแรงเพื่อขาย มิใช่สั่งลวดเหล็กนั้นเข้ามาเพื่อขาย โจทก์จึงมิใช่ผู้ประกอบการค้าตามความหมายในประมวลรัษฎากรมาตรา 77 โจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามความหมายในประมวลรัษฎากรมาตรา 77 ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามที่ระบุในบัญชีอัตราภาษีการค้าและรายการที่ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคแรก และโจท์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในกรณีให้ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง (อ้างฎีกาที่ 1606/2512) กรณีนี้โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล
กรณีเรื่องภาษีอากรอยู่ในอำนาจหน้าที่และการควบคุมของกรมสรรพากรตามประมวลรัษฎากรมาตรา 5 ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องกรมสรรพากรเป็นจำเลยและเมื่อศาลเห็นว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่ กรมสรรพากรจำเลยยกขึ้นอ้างอิงเพื่อเรียกเก็บ ภาษีจากโจทก์ไม่ถูกต้องตามกฎหมายไม่ว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะถูกฟ้องเป็นจำเลยหรือไม่ ศาลย่อมมีอำนาจไม่ใช้บังคับตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หรือให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1632/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความพินัยกรรม: การยกบ้านและที่ดิน vs. การยกเฉพาะวัสดุ
เจ้ามรดกทำพินัยกรรมฝ่ายเมืองยกที่ 2 แปลงให้บุคคลหลายคนโดยให้แบ่งแปลงแรกไว้เป็นถนนทางเข้าออกก่อน ส่วนที่เหลือยกให้บุคคล 3 คนโดยวัดยาวจากถนน 16 เมตรครึ่งบ้านพัก 3 ห้องซึ่งอยู่ในที่แปลงแรกยกให้โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ส่วนที่เหลือนอกจากที่กล่าวทั้งหมดยกให้จำเลยดังนี้ ถ้าจะยกเฉพาะวัสดุที่ปลูกสร้างให้รื้อเอาไป คำสั่งในพินัยกรรมน่าจะกล่าวให้ชัดเจนเช่นนั้น เมื่อพินัยกรรมระบุว่ายกบ้านให้ ถ้าเพียงแต่ให้เฉพาะไม้ที่สร้างบ้านเห็นได้ว่าไม่สมกับคำสั่ง เพราะบ้านทั้ง 3 ห้องปลูกลักษณะเป็นเพิงหมาแหงนมีหน้าถังและเป็นห้องๆซึ่งน่าจะเป็นห้องแถว ถ้ารื้อออกขายจะได้เงินประมาณเพียง 1,500 บาทเท่านั้น ลักษณะของบ้านปลูกมาถึงประมาณ 20 ปีเศษ ประตูบางประตูทำด้วยไม้ไผ่สาน จึงไม่น่าจะยกให้เฉพาะวัสดุที่สร้างบ้านแก่คนถึง 2 คน ตามพินัยกรรมดังกล่าวเชื่อว่าเจ้ามรดกประสงค์จะยกบ้านพร้อมทั้งที่ดินที่ปลูกบ้านให้แก่โจทก์ที่ 1 ที่ 2
of 56