คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 132

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 554 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1077-1079/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดัดแปลงทรัพย์สินที่เช่า: การกั้นห้องที่ไม่ทำให้เกิดความเสียหายและการอนุญาตดัดแปลงบันไดด้วยวาจา
ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยผู้เช่าได้กั้นห้องด้วยไม้อัดไม่แน่นหนา รื้อออกได้ง่ายและไม่ทำให้เกิดความเสียหายหรือเปลี่ยนแปลงรูปทรงอาคารเดิมของโจทก์ จึงไม่ถือว่าเป็นการดัดแปลงหรือต่อเติมแก่ทรัพย์ที่เช่า
ส่วนการดัดแปลงบันไดนั้น ปรากฏว่าโจทก์ได้อนุญาตด้วยวาจาให้จำเลยดัดแปลงได้ การที่ระบุไว้ในสัญญาว่าจำเลยจะไม่ดัดแปลงหรือต่อเติมอย่างใดแก่ทรัพย์ที่เช่าโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรนั้น ก็เพื่อความสะดวกแก่การพิสูจน์โดยมีหลักฐานแน่นอนและชัดแจ้งเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นเท่านั้นไม่ใช่ว่าโจทก์จะไม่อาจให้คำอนุญาตด้วยวาจาได้เลยประการหนึ่งและอีกประการหนึ่งเมื่อโจทก์ได้อนุญาตด้วยวาจาแล้วเช่นนี้ ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้สละข้อห้ามในสัญญานั้นแล้ว โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาเช่าไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 300/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องแทน, การบอกเลิกสัญญาเช่า, และผลผูกพันของข้อสัญญาเช่าเมื่อสัญญาเดิมสิ้นสุด
หนังสือมอบอำนาจ ระบุให้อำนาจตัวแทนทำกิจการแทนตัวการไว้หลายอย่างและให้ยื่นฟ้องต่อศาลเกี่ยวกับทรัพย์สินของตัวการได้ด้วยดังนี้ ตัวแทนผู้ได้รับมอบอำนาจนั้นย่อมมีอำนาจฟ้องคดีแทนตัวการได้หาจำต้องมีการมอบอำนาจกันเฉพาะเรื่องเฉพาะรายไม่
ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 801 บัญญัติว่าตัวแทน ได้รับมอบอำนาจทั่วไปไม่อาจยื่นฟ้องต่อศาลได้นั้นมีความหมายแต่เพียงว่า หากการมอบอำนาจมิได้ระบุไว้ว่าให้ตัวแทนยื่นฟ้องต่อศาลแทนตัวการ ตัวแทนก็ไม่อาจยื่นฟ้องได้
หนังสือบอกกล่าวของผู้ให้เช่าถึงผู้เช่า มีข้อความว่า'ขอรับตึกแถวดังกล่าวคืนจากการเช่าจากท่าน เพื่อมาทำการปรับปรุง' ถือได้ว่าเป็นการบอกเลิกการเช่าโดยชอบแม้จะมีข้อความต่อไปว่า หากผู้เช่าขัดข้องอย่างไร ก็ขอได้กรุณาแจ้งให้ผู้ให้เช่าทราบด้วย ก็เป็นแต่เพียงการแสดงความสุภาพในการใช้ถ้อยคำเท่านั้น ไม่เปลี่ยนแปลงความประสงค์ของผู้ให้เช่าอันเป็นสาระสำคัญที่จะเลิกการเช่า
สัญญาเช่าตึกแถวมีกำหนดเวลา 1 ปี และมีข้อสัญญาข้อหนึ่งว่า เมื่อผู้เช่าชำระค่าเช่าให้ตามกำหนดและปฏิบัติตามข้อสัญญาครบถ้วน ผู้เช่าจะอยู่ในสถานที่เช่าได้โดยสบายตลอดระยะเวลาที่เช่าซึ่งกล่าวแล้ว เว้นเสียต่อทางการหรือรัฐบาลต้องการเพื่อผลประโยชน์ใด ๆ แล้ว แม้แต่ยังไม่ครบกำหนดอายุสัญญาเช่าผู้เช่าจำต้องส่งสถานที่เช่าคืนภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ผู้ให้เช่าบอกกล่าวข้อสัญญานี้ย่อมมีผลใช้บังคับเฉพาะภายในกำหนดอายุสัญญาเช่า 1 ปีเท่านั้น เมื่อสัญญาเช่าระงับเมื่อครบ 1 ปี ข้อสัญญาดังกล่าวย่อมระงับไปด้วย. ไม่มีผลใช้บังคับถึงการเช่าต่อมาโดยไม่มีกำหนดเวลา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 300/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องแทน, การบอกเลิกสัญญาเช่า, และขอบเขตของข้อตกลงในสัญญาเช่า (การเช่าทรัพย์สิน)
หนังสือมอบอำนาจระบุให้อำนาจตัวแทนทำกิจการแทนตัวการไว้หลายอย่างและให้ยื่นฟ้องต่อศาลเกี่ยวกับทรัพย์สินของตัวการได้ด้วย ดังนี้ ตัวแทนผู้ได้รับมอบอำนาจนั้นย่อมมีอำนาจฟ้องคดีแทนตัวการได้หาจำต้องมีการมอบอำนาจกันเฉพาะเรื่องเฉพาะรายไม่
ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 801 บัญญัติว่า ตัวแทนได้รับมอบอำนาจทั่วไปไม่อาจยื่นฟ้องต่อศาลได้นั้น มีความหมายแต่เพียงว่า หากการมอบอำนาจมิได้ระบุไว้ว่าให้ตัวแทนยื่นฟ้องต่อศาลแทนตัวการ ตัวแทนก็ไม่อาจยื่นฟ้องได้
หนังสือบอกกล่าวของผู้ให้เช่าถึงผู้เช่า มีข้อความว่า'ขอรับตึกแถวดังกล่าวคืนจากการเช่าจากท่าน เพื่อมาทำการปรับปรุง' ถือได้ว่าเป็นการบอกเลิกการเช่าโดยชอบแม้จะมีข้อความต่อไปว่า หากผู้เช่าขัดข้องอย่างไรก็ขอได้กรุณาแจ้งให้ผู้ให้เช่าทราบด้วย ก็เป็นแต่เพียงการแสดงความสุภาพในการใช้ถ้อยคำเท่านั้น ไม่เปลี่ยนแปลงความประสงค์ของผู้ให้เช่าอันเป็นสาระสำคัญที่จะเลิกการเช่า
สัญญาเช่าตึกแถวมีกำหนดเวลา 1 ปี และมีข้อสัญญาข้อหนึ่งว่า เมื่อผู้เช่าชำระค่าเช่าให้ตามกำหนดและปฏิบัติตามข้อสัญญาครบถ้วน ผู้เช่าจะอยู่ในสถานที่เช่าได้โดยสบายตลอดระยะเวลาที่เช่าซึ่งกล่าวแล้ว เว้นเสียต่อทางการหรือรัฐบาลต้องการเพื่อผลประโยชน์ใด ๆ แล้ว แม้แต่ยังไม่ครบกำหนดอายุสัญญาเช่าผู้เช่าจำต้องส่งสถานที่เช่าคืนภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ผู้ให้เช่าบอกกล่าวข้อสัญญานี้ย่อมมีผลใช้บังคับเฉพาะภายในกำหนดอายุสัญญาเช่า 1 ปีเท่านั้น เมื่อสัญญาเช่าระงับเมื่อครบ 1 ปี ข้อสัญญาดังกล่าวย่อมระงับไปด้วย. ไม่มีผลใช้บังคับถึงการเช่าต่อมาโดยไม่มีกำหนดเวลา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2033/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาซื้อขาย: เงินชำระล่วงหน้า vs. เงินมัดจำ ศาลพิจารณาจากพฤติการณ์และข้อสัญญา
สัญญาซื้อขาย มีข้อความเกี่ยวกับการชำระเงินว่า ผู้ซื้อได้ชำระเงินในวันทำสัญญา 40,000 บาท ไม่ชัดแจ้งว่าเป็นเงินมัดจำหรือเงินที่ชำระราคาของล่วงหน้า ศาลย่อมฟังคำพยานบุคคลประกอบการแปลสัญญาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2033/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระเงินล่วงหน้า vs. เงินมัดจำ: การตีความสัญญาซื้อขายจากพยานหลักฐานและข้อเท็จจริง
สัญญาซื้อขายมีข้อความเกี่ยวกับการชำระเงินว่า ผู้ซื้อได้ชำระเงินในวันทำสัญญา 40,000 บาท ไม่ชัดแจ้งว่าเป็นเงินมัดจำหรือเงินที่ชำระราคาของล่วงหน้า ศาลย่อมฟังคำพยานบุคคลประกอบการแปลสัญญาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1306/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัยมีผลผูกพันเมื่อตกลงกันแล้ว แม้ยังไม่ชำระเบี้ยประกันภัยทั้งหมด
โจทก์เสนอขอเอาประกันภัยรถยนต์บรรทุกของโจทก์ต่อบริษัทรับประกันภัยจำเลยนอกจากบริษัทจำเลยจะให้โจทก์กรอกแบบคำเสนอขอเอาประกันภัยแล้ว พนักงานบริษัทยังได้จดแจ้งจำนวนเงินเบี้ยประกันภัยไว้บนใบเสนอขอเอาประกันภัยนี้เพื่อโจทก์ได้ทราบด้วยแล้วต่อมาบริษัทจำเลยได้ออกกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่โจทก์ พร้อมทั้งมีหนังสือเตือนให้โจทก์ส่งเงินเบี้ยประกันภัยไปยังบริษัททันทีเมื่อได้รับกรมธรรม์ประกันภัย เช่นนี้ย่อมถือว่าสัญญาประกันภัยได้เกิดขึ้นและมีผลผูกมัดคู่กรณีแล้ว ข้อความในหนังสือบริษัทจำเลยซึ่งขอให้โจทก์รีบส่งเบี้ยประกันภัยไปยังบริษัททันที รวมทั้งที่มีระบุไว้ในคำขอเอาประกันภัยว่า "ยังไม่มีความรับผิดใด ๆ จนกว่าบริษัทจะยอมรับคำขอเอาประกันนี้และได้ชำระเบี้ยประกันเต็มจำนวนแล้ว"ไม่พอฟังเป็นเงื่อนไขว่า สัญญาจะมีผลผูกพันต่อเมื่อมีการชำระเบี้ยประกันภัยครบถ้วนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1306/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัยมีผลผูกพันเมื่อตกลงกันสมบูรณ์ แม้จะมีการแบ่งชำระเบี้ยประกันภัย การบอกล้างกรมธรรม์เป็นประเด็นที่ต้องพิจารณา
โจทก์เสนอขอเอาประกันภัยรถยนต์บรรทุกของโจทก์ต่อบริษัทรับประกันภัยจำเลยนอกจากบริษัทจำเลยจะให้โจทก์กรอกแบบคำเสนอขอเอาประกันภัยแล้ว พนักงานบริษัทยังได้จดแจ้งจำนวนเงินเบี้ยประกันภัยไว้บนใบเสนอขอเอาประกันภัยนี้ เพื่อโจทก์ได้ทราบด้วยแล้วต่อมาบริษัทจำเลยได้ออกกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่โจทก์ พร้อมทั้งมีหนังสือเตือนให้โจทก์ส่งเงินเบี้ยประกันภัยไปยังบริษัททันทีเมื่อได้รับกรมธรรม์ประกันภัย เช่นนี้ย่อมถือว่าสัญญาประกันภัยได้เกิดขึ้นและมีผลผูกมัดคู่กรณีแล้ว ข้อความในหนังสือบริษัทจำเลยซึ่งขอให้โจทก์รีบส่งเบี้ยประกันภัยไปยังบริษัททันที รวมทั้งที่มีระบุไว้ในคำขอเอาประกันภัยว่า "ยังไม่มีความรับผิดใด ๆ จนกว่าบริษัทจะยอมรับคำขอเอาประกันนี้และได้ชำระเบี้ยประกันเต็มจำนวนแล้ว" ไม่พอฟังเป็นเงื่อนไขว่า สัญญาจะมีผลผูกพันต่อเมื่อมีการชำระเบี้ยประกันภัยครบถ้วนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1123/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะริบเงินวางได้เฉพาะกรณีผิดแบบแปลน การเลิกสัญญากลับสู่สภาพเดิมต้องคืนเงิน
สัญญาที่โจทก์จำเลยทำกันไว้ให้โจทก์ก่อสร้างอาคารในที่ดินของจำเลยมีข้อความว่า " ข้อ 6 ผู้รับสร้างรับรองจะดำเนินการก่อสร้างอาคารตามแบบแปลนท้ายสัญญาให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี 6 เดือนนับแต่วันทำสัญญาฯลฯ" และ " ข้อ 9 หากการก่อสร้างได้ผิดแผกแตกต่างไปจากแบบแปลนท้ายสัญญานี้ และเมื่อผู้ให้สร้างได้บอกกล่าวให้แก้ไขเปลี่ยนแปลง ผู้รับสร้างจะต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามสัญญาภายในกำหนดเวลาอันสมควร หากผู้รับสร้างมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามสัญญานี้ ให้ถือได้ว่าเป็นฝ่ายผิดสัญญา ผู้ให้สร้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้วัสดุภัณฑ์บรรดาที่มีอยู่และสร้างทำลงในที่ดินให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ให้สร้าง และผู้รับสร้างจะเรียกร้องขอคืนเงินส่วนใด ๆ บรรดาที่ได้วางชำระไว้แล้วตามสัญญานี้ไม่ ได้" ความในสัญญาดังนี้ จำเลยผู้ให้สร้างจะริบเงินของโจทก์ที่วางไว้ได้ก็เฉพาะแต่กรณีที่การก่อสร้างได้ผิดแผกแตกต่างไปจากแบบแปลนท้ายสัญญา เมื่อผู้ให้สร้างบอกให้แก้ไขแล้ว ผู้รับสร้างไม่ปฏิบัติเท่านั้น ส่วนกรณีที่ผู้รับสร้างก่อสร้างไม่เสร็จตามสัญญาข้อ 6 ผู้ให้สร้างจะรับเงินที่วางไว้หาได้ไม่ เพราะนอกเหนือข้อตกลงในสัญญาข้อ 9ทั้งสัญญาข้อ 6 ก็มิได้ตกลงให้ริบได้
จำเลยเป็นฝ่ายใช้สิทธิเลิกสัญญาต่อโจทก์ ซึ่งโจทก์ก็ไม่ขัดข้องสัญญาที่โจทก์จำเลยทำไว้ย่อมเป็นอันเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายย่อมกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมเสมือนดังว่ามิได้มีสัญญาต่อกันเลยและสิ่งใดที่ส่งมอบให้แก่กันไปแล้วก็ต้องคืนให้แก่กัน แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิที่จะเรียกร้องเอาค่าเสียหาย ในเรื่องผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ซึ่งเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก
เมื่อสัญญาเลิกกันแล้ว จำเลยก็ต้องคืนเงินที่รับไว้จากโจทก์ให้แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตั้งแต่วันที่จำเลยได้รับเงินไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1123/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาก่อสร้างและการริบเงินวางหน้าสัญญา ต้องเป็นไปตามข้อตกลงในสัญญาเท่านั้น
สัญญาที่โจทก์จำเลยทำกันไว้ให้โจทก์ก่อสร้างอาคารในที่ดินของจำเลยมีข้อความว่า " ข้อ 6 ผู้รับสร้างรับรองจะดำเนินการก่อสร้างอาคารตามแบบแปลนท้ายสัญญาให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี 6 เดือนนับแต่วันทำสัญญาฯลฯ" และ " ข้อ 9 หากการก่อสร้างได้ผิดแผกแตกต่างไปจากแบบแปลนท้ายสัญญานี้ และเมื่อผู้ให้สร้างได้บอกกล่าวให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงผู้รับสร้างจะต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามสัญญาภายในกำหนดเวลาอันสมควร หากผู้รับสร้างมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามสัญญานี้ ให้ถือได้ว่าเป็นฝ่ายผิดสัญญา ผู้ให้สร้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้วัสดุภัณฑ์บรรดาที่มีอยู่และสร้างทำลงในที่ดินให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ให้สร้าง และผู้รับสร้างจะเรียกร้องขอคืนเงินส่วนใด ๆ บรรดาที่ได้วางชำระไว้แล้วตามสัญญานี้ไม่ได้" ความในสัญญาดังนี้ จำเลยผู้ให้สร้างจะริบเงินของโจทก์ที่วางไว้ได้ก็เฉพาะแต่กรณีที่การก่อสร้างได้ผิดแผกแตกต่างไปจากแบบแปลนท้ายสัญญา เมื่อผู้ให้สร้างบอกให้แก้ไขแล้ว ผู้รับสร้างไม่ปฏิบัติเท่านั้น ส่วนกรณีที่ผู้รับสร้างก่อสร้างไม่เสร็จตามสัญญาข้อ 6 ผู้ให้สร้างจะรับเงินที่วางไว้หาได้ไม่ เพราะนอกเหนือข้อตกลงในสัญญาข้อ 9 ทั้งสัญญาข้อ 6 ก็มิได้ตกลงให้ริบได้
จำเลยเป็นฝ่ายใช้สิทธิเลิกสัญญาต่อโจทก์ ซึ่งโจทก์ก็ไม่ขัดข้องสัญญาที่โจทก์จำเลยทำไว้ย่อมเป็นอันเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายย่อมกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมเสมือนดังว่ามิได้มีสัญญาต่อกันเลยและสิ่งใดที่ส่งมอบให้แก่กันไปแล้วก็ต้องคืนให้แก่กัน แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิที่จะเรียกร้องเอาค่าเสียหายในเรื่องผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ซึ่งเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก
เมื่อสัญญาเลิกกันแล้ว จำเลยก็ต้องคืนเงินที่รับไว้จากโจทก์ให้แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตั้งแต่วันที่จำเลยได้รับเงินไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 653/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้อง vs. การมอบอำนาจรับเงินแทน: การพิจารณาเจตนาของคู่สัญญาเป็นสำคัญ
บันทึกข้อตกลงแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างที่ผู้ว่าจ้างกับผู้รับจ้างทำขึ้นเป็นหนังสือ แม้จะมีข้อความว่าผู้รับจ้างได้ตกลงยินยอมและมอบให้ธนาคาร... แต่ผู้เดียวเป็นผู้รับเงินเกี่ยวกับค่าจ้างเหมาทั้งสิ้น และผู้ว่าจ้างตกลงจะจ่ายเงินจำนวนนี้ให้แก่ธนาคาร... โดยธนาคารผู้รับมอบลงชื่อไว้ร่วมกับผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างในบันทึกเป็นหนังสือนี้ก็ตาม เมื่อเจตนาของคู่กรณีที่ประพฤติปฏิบัติต่อกันมาเห็นได้ว่า เป็นการชำระเงินโดยผ่านธนาคารเพื่อที่ธนาคารเอาไปหักกับหนี้สินที่ผู้รับจ้างมีอยู่ต่อธนาคารก่อน ส่วนที่เหลือยังเป็นของจำเลยอยู่เช่นนี้ ก็แปลไม่ได้ว่าบันทึกนี้เป็นหนังสือโอนสิทธิเรียกร้อง คงเป็นเพียงหนังสือมอบให้รับเงินแทน (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2514)
of 56