คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 132

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 554 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 134/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินเป็นสินส่วนตัว และการสละสิทธิในมรดก ทำให้ทรัพย์สินนั้นไม่เป็นส่วนหนึ่งของมรดก
1. สามีมีภริยาสองคนก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และจัดหาบ้านให้ภริยาแยกกันอยู่คนละแห่งไม่เกี่ยวข้องกัน บุตรเกิดจากภริยาไหนก็อยู่กับภริยานั้น ภริยาทั้งสองต่างตั้งร้านค้าขายเป็นส่วนสัดการทำมาหาได้ของภริยาแต่ละคนก็ตกเป็นส่วนของภริยาในครอบครัวนั้น ๆทรัพย์สินมิได้ปะปนระคนกัน ในระหว่างสมรสภริยาคนแรกได้ที่ดินมาในนามของตน โดยสามียกที่ดินสินเดิมให้แม้ที่ดินที่ได้มานั้นจะเป็นสินสมรสก็เป็นสินสมรสระหว่างภริยาคนแรกกับสามี ภริยาคนหลังหามีส่วนได้ด้วยไม่
2. สามียกที่ดินสินเดิมให้ภริยาในระหว่างสมรส สินเดิมนั้นย่อมเปลี่ยนสภาพเป็นสินสมรสเว้นแต่จะระบุการให้เป็นอย่างอื่น
3. สามีขอพระราชทานที่ดินจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยกับภริยาคนแรกและบุตรที่เกิดจากภริยาคนแรก ต่อมาได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตโอนที่ดินนั้นให้ภริยาคนแรก ภริยาคนหลังซึ่งมีบ้านอยู่อาศัยและทำมาหากินเป็นส่วนสัดต่างหากไม่เคยเข้ามาเกี่ยวข้องกับที่ดินพระราชทานเลย ดังนี้ ภริยาคนหลังหามีส่วนได้ในที่ดินพระราชทานนี้ด้วยไม่
4. ที่ดินซึ่งสามีได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6เป็นทรัพย์ส่วนตัว ต่อมาสามีได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจำนองและขึ้นเงินจำนอง แล้วต่อมาได้มีหนังสือกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตโอนให้แก่ภริยาคนแรก โดยกล่าวข้อความว่าจึงดำริที่จะจัดการมรดกโดยแบ่งสันปันส่วนให้แก่ภริยาบุตรธิดาเป็นส่วนสัดเสียขณะนี้โดยเฉพาะที่ดินพระราชทานขอมอบเป็นสิทธิแก่ภริยาคนแรก เพื่อจะได้หาทางไถ่ถอนมาไว้สำหรับเป็นหลักแหล่งประกอบอาชีพต่อไป และก่อนหน้านั้นเล็กน้อยสามีได้ทำหนังสือฉบับหนึ่งระบุว่าขอมอบทรัพย์สินอันมีอยู่ทั้งสิ้นให้ภริยาคนแรกโดยเด็ดขาด ภริยาคนแรกจะจัดแบ่งส่วนทรัพย์สินให้แก่ผู้ใดมากน้อยเท่าใดก็แล้วแต่จะเห็นสมควร ครั้นเมื่อได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้วสามีก็จัดการจดทะเบียนโอนที่ดินพระราชทานนั้นให้แก่ภริยาคนแรกเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียว ดังนี้ ข้อความตามหนังสือทั้งสองฉบับดังกล่าวแสดงว่าสามีมีเจตนาให้ที่ดินพระราชทานแก่ภริยาคนแรกเป็นสินส่วนตัว
5. หนังสือยกให้ซึ่งสามีให้ทรัพย์สินแก่ภริยา แม้มิได้ระบุไว้ชัดว่าให้เป็นสินส่วนตัว ก็อาจแปลเจตนาจากข้อความในเอกสารตามพฤติการณ์แห่งกรณีได้ และเมื่อหนังสือยกให้แปลข้อความตามเจตนาของผู้ให้ได้ว่าให้เป็นสินส่วนตัว แม้เมื่อไปทำพิธีโอนทางทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จะมิได้ระบุไว้ว่าให้เป็นสินส่วนตัว ทรัพย์สินนั้นก็เป็นสินส่วนตัวของภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1464(3) 6. หนังสือซึ่งสามีทำระบุชื่อว่าคำสั่งแทนพินัยกรรมมีข้อความว่า ขอมอบทรัพย์สินทั้งสิ้นให้ภริยาคนแรกโดยเด็ดขาด ภริยาคนแรกจะจัดแบ่งให้แก่ผู้ใดมากน้อยเท่าใดก็แล้วแต่จะเห็นสมควรหนังสือนี้มิใช่พินัยกรรมเพราะมีข้อความเป็นหนังสือยกให้ทันที
7. หลังจากภริยาคนแรกตายเมื่อปี 2503 จำเลยซึ่งเป็นบุตรเกิดจากภริยาคนแรกได้ไปขอจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินสินส่วนตัวของมารดาพร้อมทั้งที่ดินสินสมรสซึ่งมีชื่อมารดาในโฉนดเมื่อปี 2504-2505 โดยบิดามิได้โต้แย้งคัดค้านและยังทำหนังสือว่า ยินดีสละสิทธิในการรับมรดกที่ดินสินสมรส ยินยอมให้โอนใส่ชื่อจำเลยซึ่งเป็นบุตร ต่อมาปี 2506 บิดาก็ถึงแก่ความตาย ดังนี้ การที่บิดารู้อยู่ว่าจำเลยซึ่งเป็นบุตรไปขอจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินดังกล่าวของมารดาจำเลย แต่มิได้โต้แย้งคัดค้านประการใดโดยบิดามีเจตนาสละกรรมสิทธิ์ให้จำเลย และยินยอมให้โอนใส่ชื่อจำเลยเป็นเจ้าของไปแล้วนั้น แม้บิดายังมีชีวิตอยู่ก็จะกลับมาเรียกส่วนแบ่งในที่ดินนั้นอีกหาได้ไม่ ที่ดินนั้นจึงมิใช่ทรัพย์มรดกของบิดาอันโจทก์ซึ่งเป็นบุตรเกิดจากภริยาอื่นจะเรียกร้องขอส่วนแบ่งได้
(ข้อกฎหมายตามวรรค 4,5 และ 7 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 30-33/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 49/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าหมดอายุ ผู้เช่ายังอยู่ต่อ ผู้ให้เช่ามีสิทธิฟ้องขับไล่ได้ทันที โดยไม่ต้องบอกเลิกสัญญา
สัญญาเช่าตึกมีกำหนดเวลาเช่าแน่นอนในอัตราค่าเช่าเดือนละ 3 เหรียญอเมริกัน แต่มีสัญญาข้อหนึ่งระบุว่า เมื่อครบกำหนดสัญญาแล้ว ถ้าผู้เช่ายังขืนอยู่ต่อไปอีก ผู้เช่ายอมเสียค่าเช่าเดือนละ 20 เหรียญอเมริกัน เว้นแต่จะได้ทำสัญญาทำใหม่ สัญญาข้อนี้แสดงเจตนาของคู่สัญญาว่า ถ้าผู้เช่ายังขืนอยู่ต่อไป เป็นการอยู่โดยผู้ให้เช่าไม่ยินยอม ผู้เช่าจะต้องเสียค่าเช่ามากกว่าค่าเช่าปกติที่ตกลงไว้ ค่าเช่านี้ถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับหรือค่าเสียหายที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้า หาใช่เงื่อนไขการเช่าที่มีผลให้ผู้เช่าได้เช่าตึกต่อไปหลังจากครบกำหนดตามสัญญาแล้ว โดยไม่มีกำหนดเวลาไม่
หลังจากครบกำหนดเวลาเช่าตามสัญญาได้ 8 วัน ผู้ให้เช่าก็ยื่นฟ้องขอให้ขับไล่ผู้เช่า ถือว่าผู้ให้เช่าทักท้วงไม่ยอมให้เช่าต่อไป ผู้ให้เช่าจึงมีอำนาจฟ้องได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวเลิกสัญญาเช่าอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1686/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความเจตนาแบ่งที่ดินต้องพิจารณาสภาพที่ดินและเจตนาของผู้แบ่งเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทุกฝ่าย
การตีความแสดงเจตนานั้น กฎหมายให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนตามตัวอักษร ในการแบ่งที่ดินระหว่างเจ้าของรวมซึ่งมีกรรมสิทธิ์คนละส่วนเท่า ๆ กัน แม้ฝ่ายหนึ่งจะตกลงให้อีกฝ่ายหนึ่งเลือกเอาก่อน โดยมิได้กำหนดวิธีการรังวัดแบ่งแยกไว้ชัดแจ้ง ก็มิได้หมายความว่า ฝ่ายที่มีสิทธิเลือก จะเลือกชี้แบ่งเอาได้ตามใจชอบ เมื่อมีปัญหาว่าจะแบ่งอย่างไรจึงจะถูกต้องตรงตามเจตนา ศาลย่อมต้องพิเคราะห์ถึงสภาพของที่ดินประกอบ เพื่อหยั่งทราบถึงเจตนาอันแท้จริง
โจทก์ 2 คนและจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลยอมแบ่งที่ดินกันคนละส่วนเท่า ๆ กัน ที่ดินนั้นด้านตะวันออกติดทะเล และด้านตะวันตกมีทางออก ทางทิศเหนือสุดมีบ้านจำเลยปลูกอยู่ และทิศใต้สุดมีบ้านโจทก์ที่ 1 ปลูกอยู่ โจทก์ที่ 1 ได้ส่วนแบ่งของตนไปแล้ว โดยได้ที่ดินด้านทิศใต้สุดยาวจากทิศตะวันออกไปตะวันตก ส่วนที่เหลือ โจทก์ที่ 2 แถลงต่อศาลว่า ให้จำเลยเลือกเอาก่อนตามสภาพของที่ดินหากแบ่งเป็นส่วน ๆ เรียกต่อจากโจทก์ที่ 1 ยาวจากทิศตะวันออกไปตะวันตก ที่ดินจะมีทางออกและติดทะเลด้วยกันทุกแปลง หากแบ่งยาวจากทิศเหนือไปใต้ แปลงที่อยู่ติดทะเลจะถูกที่ดินอื่นล้อมขนาบไม่มีทางออก ย่อมเล็งเห็นเจตนาของโจทก์ที่ 2 ได้ว่า ประสงค์ให้แบ่งที่ดินเป็น 2 ส่วน ยาวจะทิศตะวันออกไปตะวันตกเรียงกันไป และติดทะเลด้วยกันทุกแปลง แล้วให้จำเลยเลือกเอาก่อนแปลงใดแปลงหนึ่ง ซึ่งไม่เดือดร้อนด้วยกันทุกฝ่าย จำเลยจะเลือกแบ่งให้โจทก์ที่ 2 ได้ที่ดินด้านติดทะเลแต่ถูกล้อมขนาดไม่มีทางออกหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1686/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความเจตนาการแบ่งที่ดิน ต้องพิจารณาสภาพที่ดินและเจตนาที่แท้จริงของผู้แบ่ง มากกว่าถ้อยคำที่ใช้
การตีความแสดงเจตนานั้น กฎหมายให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนตามตัวอักษร. ในการแบ่งที่ดินระหว่างเจ้าของรวมซึ่งมีกรรมสิทธิ์คนละส่วนเท่าๆ กัน. แม้ฝ่ายหนึ่งจะตกลงให้อีกฝ่ายหนึ่งเลือกเอาก่อน โดยมิได้กำหนดวิธีการรังวัดแบ่งแยกไว้ชัดแจ้ง. ก็มิได้หมายความว่า ฝ่ายที่มีสิทธิเลือก จะเลือกชี้แบ่งเอาได้ตามใจชอบ.เมื่อมีปัญหาว่าจะแบ่งอย่างไรจึงจะถูกต้องตรงตามเจตนาศาลย่อมต้องพิเคราะห์ถึงสภาพของที่ดินประกอบ เพื่อหยั่งทราบถึงเจตนาอันแท้จริง.
โจทก์ 2 คนและจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลยอมแบ่งที่ดินกันคนละส่วนเท่าๆ กัน. ที่ดินนั้นด้านตะวันออกติดทะเล และด้านตะวันตกมีทางออก ทางทิศเหนือสุดมีบ้านจำเลยปลูกอยู่ และทิศใต้สุดมีบ้านโจทก์ที่ 1 ปลูกอยู่. โจทก์ที่ 1 ได้ส่วนแบ่งของตนไปแล้ว โดยได้ที่ดินด้านทิศใต้สุดยาวจากทิศตะวันออกไปตะวันตก. ส่วนที่เหลือ โจทก์ ที่ 2 แถลงต่อศาลว่า ให้จำเลยเลือกเอาก่อนตามสภาพของที่ดิน.หากแบ่งเป็นส่วนๆ เรียงต่อจากโจทก์ที่ 1 ยาวจากทิศตะวันออกไปตะวันตก ที่ดินจะมีทางออกและติดทะเลด้วยกันทุกแปลงหากแบ่งยาวจากทิศเหนือไปใต้ แปลงที่อยู่ติดทะเลจะถูกที่ดินผู้อื่นล้อมขนาบไม่มีทางออก. ย่อมเล็งเห็นเจตนาของโจทก์ที่ 2 ได้ว่า ประสงค์ให้แบ่งที่ดินเป็น 2 ส่วน ยาวจากทิศตะวันออกไปตะวันตกเรียงกันไป และติดทะเลด้วยกันทุกแปลง. แล้วให้จำเลยเลือกเอาก่อนแปลงใดแปลงหนึ่ง ซึ่งได้เดือดร้อนด้วยกันทุกฝ่าย. จำเลยจะเลือกแบ่งให้โจทก์ที่ 2 ได้ที่ดินด้านติดทะเลแต่ถูกล้อมขนาบไม่มีทางออกหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1686/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความเจตนาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ต้องพิจารณาจากสภาพที่ดินและเจตนาอันแท้จริงของผู้ทำสัญญา
การตีความแสดงเจตนานั้น กฎหมายให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนตามตัวอักษร ในการแบ่งที่ดินระหว่างเจ้าของรวมซึ่งมีกรรมสิทธิ์คนละส่วนเท่าๆ กัน แม้ฝ่ายหนึ่งจะตกลงให้อีกฝ่ายหนึ่งเลือกเอาก่อน โดยมิได้กำหนดวิธีการรังวัดแบ่งแยกไว้ชัดแจ้ง ก็มิได้หมายความว่า ฝ่ายที่มีสิทธิเลือก จะเลือกชี้แบ่งเอาได้ตามใจชอบเมื่อมีปัญหาว่าจะแบ่งอย่างไรจึงจะถูกต้องตรงตามเจตนาศาลย่อมต้องพิเคราะห์ถึงสภาพของที่ดินประกอบ เพื่อหยั่งทราบถึงเจตนาอันแท้จริง
โจทก์ 2 คนและจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลยอมแบ่งที่ดินกันคนละส่วนเท่าๆ กัน ที่ดินนั้นด้านตะวันออกติดทะเล และด้านตะวันตกมีทางออก ทางทิศเหนือสุดมีบ้านจำเลยปลูกอยู่ และทิศใต้สุดมีบ้านโจทก์ที่ 1 ปลูกอยู่ โจทก์ที่ 1 ได้ส่วนแบ่งของตนไปแล้ว โดยได้ที่ดินด้านทิศใต้สุดยาวจากทิศตะวันออกไปตะวันตก ส่วนที่เหลือ โจทก์ ที่ 2 แถลงต่อศาลว่า ให้จำเลยเลือกเอาก่อนตามสภาพของที่ดิน หากแบ่งเป็นส่วนๆ เรียงต่อจากโจทก์ที่ 1 ยาวจากทิศตะวันออกไปตะวันตก ที่ดินจะมีทางออกและติดทะเลด้วยกันทุกแปลงหากแบ่งยาวจากทิศเหนือไปใต้ แปลงที่อยู่ติดทะเลจะถูกที่ดินผู้อื่นล้อมขนาบไม่มีทางออก ย่อมเล็งเห็นเจตนาของโจทก์ที่ 2 ได้ว่า ประสงค์ให้แบ่งที่ดินเป็น 2 ส่วน ยาวจากทิศตะวันออกไปตะวันตกเรียงกันไป และติดทะเลด้วยกันทุกแปลง แล้วให้จำเลยเลือกเอาก่อนแปลงใดแปลงหนึ่ง ซึ่งได้เดือดร้อนด้วยกันทุกฝ่าย จำเลยจะเลือกแบ่งให้โจทก์ที่ 2 ได้ที่ดินด้านติดทะเลแต่ถูกล้อมขนาบไม่มีทางออกหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 964/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้และการยกอายุความของผู้ค้ำประกัน สัญญาค้ำประกันไม่ได้ตัดสิทธิการยกอายุความ
เจ้ามรดกกู้เงินโจทก์ แล้วถึงแก่ความตายลงโดยยังมิได้ชำระหนี้ โจทก์เพิ่งฟ้องทายาทเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก สิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมขาดอายุความฟ้องร้อง
นอกจากข้อต่อสู้ซึ่งผู้ค้ำประกันมีต่อเจ้าหนี้แล้ว ผู้ค้ำประกันอาจยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ได้ด้วย ดังนั้น เมื่อสิทธิเรียกร้องของโจทก์ซึ่งมีต่อลูกหนี้ขาดอายุความแล้ว ผู้ค้ำประกันก็ย่อมยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
สัญญาค้ำประกันที่มีข้อความว่า ถ้าผู้กู้ไม่ชำระต้นเงินและดอกเบี้ยให้ตามสัญญาหรือผู้กู้ถึงแก่กรรม หรือหนี้ระงับด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดซึ่งกระทำให้ผู้ให้กู้ต้องขาดสูญต้นเงินหรือดอกเบี้ย ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชอบชำระหนี้ให้แทนทั้งสิ้นนั้น ยังแปลไม่ได้ว่า แม้เมื่อหนี้เงินกู้ขาดอายุความแล้ว ผู้ค้ำประกันก็ยอมสละสิทธิไม่ยกอายุความขึ้นต่อสู้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 964/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค้ำประกัน: ผู้ค้ำประกันยกอายุความได้เมื่อหนี้เงินกู้ขาดอายุความ แม้ในสัญญาค้ำประกันจะระบุถึงความรับผิดชอบ
เจ้ามรดกกู้เงินโจทก์ แล้วถึงแก่ความตายลงโดยยังมิได้ชำระหนี้. โจทก์เพิ่งฟ้องทายาทเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก. สิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมขาดอายุความฟ้องร้อง.
นอกจากข้อต่อสู้ซึ่งผู้ค้ำประกันมีต่อเจ้าหนี้แล้วผู้ค้ำประกันยังอาจยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ได้ด้วย. ดังนั้น เมื่อสิทธิเรียกร้องของโจทก์ซึ่งมีต่อลูกหนี้ขาดอายุความแล้ว ผู้ค้ำประกันก็ย่อมยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้.
สัญญาค้ำประกันที่มีข้อความว่า ถ้าผู้กู้ไม่ชำระต้นเงินและดอกเบี้ยให้ตามสัญญา. หรือผู้กู้ถึงแก่กรรม. หรือหนี้ระงับด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดซึ่งกระทำให้ผู้ให้กู้ต้องขาดสูญต้นเงินหรือดอกเบี้ย. ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชอบชำระหนี้ให้แทนทั้งสิ้นนั้น. ยังแปลไม่ได้ว่า. แม้เมื่อหนี้เงินกู้ขาดอายุความแล้ว ผู้ค้ำประกันก็ยอมสละสิทธิไม่ยกอายุความขึ้นต่อสู้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 964/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้และการต่อสู้ของผู้ค้ำประกัน: ผู้ค้ำประกันอาจยกอายุความได้แม้มีข้อตกลงพิเศษ
เจ้ามรดกกู้เงินโจทก์ แล้วถึงแก่ความตายลงโดยยังมิได้ชำระหนี้โจทก์เพิ่งฟ้องทายาทเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกสิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมขาดอายุความฟ้องร้อง
นอกจากข้อต่อสู้ซึ่งผู้ค้ำประกันมีต่อเจ้าหนี้แล้วผู้ค้ำประกันยังอาจยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ได้ด้วยดังนั้น เมื่อสิทธิเรียกร้องของโจทก์ซึ่งมีต่อลูกหนี้ขาดอายุความแล้ว ผู้ค้ำประกันก็ย่อมยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
สัญญาค้ำประกันที่มีข้อความว่า ถ้าผู้กู้ไม่ชำระต้นเงินและดอกเบี้ยให้ตามสัญญาหรือผู้กู้ถึงแก่กรรมหรือหนี้ระงับด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดซึ่งกระทำให้ผู้ให้กู้ต้องขาดสูญต้นเงินหรือดอกเบี้ยผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชอบชำระหนี้ให้แทนทั้งสิ้นนั้นยังแปลไม่ได้ว่า แม้เมื่อหนี้เงินกู้ขาดอายุความแล้ว ผู้ค้ำประกันก็ยอมสละสิทธิไม่ยกอายุความขึ้นต่อสู้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 450/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ: การยกเลิกเฉพาะส่วนของสัญญาจากข้อตกลงประนีประนอม และสิทธิในการบังคับคดีตามสัญญาที่เหลือ
โจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อที่ดินจากจำเลย. โจทก์ค้างค่าเช่าซื้องวดที่ 3 ซึ่งเป็นงวดสุดท้ายอีก 7,700 บาท. จำเลยเข้าไปปลูกบ้านในที่ให้เช่าซื้อ โจทก์ไปร้องอำเภอ อำเภอทำการเปรียบเทียบ. คู่กรณีตกลงกันว่า เฉพาะบริเวณที่จำเลยปลูกบ้าน เนื้อที่ 200 ตารางวา โจทก์ยอมให้แก่จำเลยโดยตีราคา 7,700 บาท เท่าที่โจทก์ยังค้างค่าเช่าซื้อ. ดังนี้ สัญญาเช่าซื้อหาได้ถูกยกเลิกไปหมดโดยสัญญาประนีประนอมซึ่งทำกันที่อำเภอไม่. สัญญาเช่าซื้อจึงนับว่าถูกยกเลิกไปเฉพาะแต่ในส่วนที่ดิน 200 ตารางวาบริเวณที่จำเลยปลูกบ้านเท่านั้น. สัญญาเช่าซื้อสำหรับที่ดินนอกบริเวณที่ปลูกบ้าน 200 ตารางวาก็คงมีต่อไป. และถือได้ว่าโจทก์ได้ชำระเงินให้แก่จำเลยครบหมดแล้ว. โจทก์ชอบที่จะขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินในส่วนที่เหลือนั้นให้แก่โจทก์ได้.
แม้โจทก์จะฟ้องขอบังคับเอาเต็มตามสัญญาเช่าซื้อเดิม.เมื่อศาลฟังว่าโจทก์มีสิทธิขอบังคับเอาได้แต่เพียงบางส่วน ศาลก็ย่อมพิพากษาให้เท่าที่โจทก์มีสิทธินั้นได้. และการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้สิทธิในที่ดินตกไปเป็นของโจทก์โดยให้โจทก์กันที่ดินคืนให้แก่จำเลย 200ตารางวา ณ ที่บริเวณที่จำเลยปลูกบ้านนั้น. ถ้าเกิดขัดข้องขึ้นว่าจะกันเขตให้กันตรงไหน ก็เป็นเรื่องที่จะว่ากันได้ในชั้นบังคับคดี. ไม่ใช่เป็นการหมดหลักเกณฑ์ที่จะทำการบังคับกันไม่ได้ดังทำนองที่จำเลยว่ามา. ส่วนข้อที่ว่าที่ดินตามสัญญาเช่าซื้อระบุไว้ว่ามีอยู่ 1ไร่เศษ แต่ปรากฏขึ้นในภายหลังว่ามีอยู่ถึง 2 ไร่ 2งาน มากกว่าที่กล่าวในสัญญานั้น. ก็เห็นว่าตามสัญญาเช่าซื้อท้ายฟ้องได้บ่งถึงการเช่าซื้อที่ดินทั้งแปลงตามที่ลงไว้ใน ส.ค.1 เลขที่ 13. ส่วนที่ลงไว้ว่ามีเนื้อที่เท่าใดนั้น เป็นการประมาณเอาตามที่เข้าใจว่ามี. หาใช่มุ่งหมายไปในทางว่าจำเลยได้แบ่งขายที่แปลงนั้นให้โจทก์ไปราว 1 ไร่เศษเท่านั้นไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 450/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ: การยกเลิกเฉพาะส่วนของสัญญาจากข้อตกลงประนีประนอม และการบังคับตามสิทธิที่เหลือ
โจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อที่ดินจากจำเลย โจทก์ค้างค่าเช่าซื้องวดที่ 3 ซึ่งเป็นงวดสุดท้ายอีก 7,700 บาท จำเลยเข้าไปปลูกบ้านในที่ให้เช่าซื้อ โจทก์ไปร้องอำเภอ อำเภอทำการเปรียบเทียบคู่กรณีตกลงกันว่า เฉพาะบริเวณที่จำเลยปลูกบ้าน เนื้อที่ 200 ตารางวา โจทก์ยอมให้แก่จำเลยโดยตีราคา 7,700 บาท เท่าที่โจทก์ยังค้างค่าเช่าซื้อ ดังนี้ สัญญาเช่าซื้อหาได้ถูกยกเลิกไปหมดโดยสัญญาประนีประนอมซึ่งทำกันที่อำเภอไม่สัญญาเช่าซื้อจึงนับว่าถูกยกเลิกไปเฉพาะแต่ในส่วนที่ดิน 200 ตารางวาบริเวณที่จำเลยปลูกบ้านเท่านั้น สัญญาเช่าซื้อสำหรับที่ดินนอกบริเวณที่ปลูกบ้าน 200 ตารางวาก็คงมีต่อไป และถือได้ว่าโจทก์ได้ชำระเงินให้แก่จำเลยครบหมดแล้ว โจทก์ชอบที่จะขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินในส่วนที่เหลือนั้นให้แก่โจทก์ได้
แม้โจทก์จะฟ้องขอบังคับเอาเต็มตามสัญญาเช่าซื้อเดิมเมื่อศาลฟังว่าโจทก์มีสิทธิขอบังคับเอาได้แต่เพียงบางส่วน ศาลก็ย่อมพิพากษาให้เท่าที่โจทก์มีสิทธินั้นได้และการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้สิทธิในที่ดินตกไปเป็นของโจทก์โดยให้โจทก์กันที่ดินคืนให้แก่จำเลย 200 ตารางวา ณ ที่บริเวณที่จำเลยปลูกบ้านนั้นถ้าเกิดขัดข้องขึ้นว่าจะกันเขตให้กันตรงไหน ก็เป็นเรื่องที่จะว่ากันได้ในชั้นบังคับคดี ไม่ใช่เป็นการหมดหลักเกณฑ์ที่จะทำการบังคับกันไม่ได้ดังทำนองที่จำเลยว่ามาส่วนข้อที่ว่าที่ดินตามสัญญาเช่าซื้อระบุไว้ว่ามีอยู่ 1 ไร่เศษ แต่ปรากฏขึ้นในภายหลังว่ามีอยู่ถึง 2 ไร่ 2งาน มากกว่าที่กล่าวในสัญญานั้น ก็เห็นว่าตามสัญญาเช่าซื้อท้ายฟ้องได้บ่งถึงการเช่าซื้อที่ดินทั้งแปลงตามที่ลงไว้ใน ส.ค.1 เลขที่ 13 ส่วนที่ลงไว้ว่ามีเนื้อที่เท่าใดนั้น เป็นการประมาณเอาตามที่เข้าใจว่ามีหาใช่มุ่งหมายไปในทางว่าจำเลยได้แบ่งขายที่แปลงนั้นให้โจทก์ไปราว 1 ไร่เศษเท่านั้นไม่
of 56