พบผลลัพธ์ทั้งหมด 554 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 829/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความขัดแย้งในสัญญาขายฝาก: การตีความเจตนาที่แท้จริงและการสืบพยานเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง
เอกสารสัญญาขายฝากข้อแรกมีว่า ตกลงขายฝากมีกำหนดสองปีแต่ข้ออื่นถัดไปมีว่า กำหนดไถ่ถอนภายใน 1 ปีข้อความทั้งสองข้อนี้จึงขัดแย้งกัน เพราะมีข้อความไม่ชัดเจนพอที่จะพิจารณาถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาได้ ทั้งข้อเท็จจริงตามที่โจทก์ฟ้อง และจำเลยให้การตลอดจนคำแถลงรับของโจทก์จำเลยนั้นก็ยังมีข้อโต้แย้งกันอยู่ไม่ชัดแจ้งพอที่จะให้ศาลตีความตามเอกสารนั้นได้ กรณีจึงชอบที่จะให้มีการสืบพยานเพื่อฟังข้อเท็จจริงให้แน่ชัดว่าเป็นเช่นใดเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 373/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพินัยกรรม: เจตนาผู้มอบมรดกอยู่ที่เนื้อที่ดินทั้งหมดตาม ส.ค.1 แม้ระบุตัวเลขไม่ตรง
พินัยกรรมมีความว่า 'ฯลฯ ข้อ 1(1) ที่ดินหนึ่งแปลงตาม ส.ค.1 เลขที่ 64 อยู่หมู่ 4 ตำบลเกยไชย อำเภอชุมแสง เนื้อที่ 6 ไร่ 2 งาน 4 วา ฯลฯ ข้อ 3 ทรัพย์สินตามข้อ 1 ข้าพเจ้าขอมอบให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่บุตรของข้าพเจ้าจำนวน 2 คน ตามส่วนดังนี้ 1 ที่ดินตามข้อ 1(1) ทางด้านทิศตะวันออก จำนวนเนื้อที่ดิน 2 ไร่ ให้แก่นายจำลอง เดชเรืองศรี2 ที่ดินตามข้อ 1(1) ส่วนที่เหลือทั้งหมดจากที่แบ่งให้นายจำลอง เดชเรืองศรีแล้วข้าพเจ้าขอยกให้แก่นางบุญช่วย พันธ์เขียว แต่ผู้เดียว ฯลฯ' ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าเจ้ามรดกมีที่ดินแปลงเดียว ที่ดินมรดกแปลงนี้มีเนื้อที่ถึง 18 ไร่ 93 ตารางวาตามพินัยกรรมข้อ 1(1) เจ้ามรดกเจตนาทำพินัยกรรมยกที่ดินทั้งแปลงที่ตนมีอยู่ให้แก่โจทก์จำเลยการที่ระบุเนื้อที่ไว้เพียง 6 ไร่ 2 งาน 4 วา ก็เห็นได้ว่าเป็นการระบุเนื้อที่ตาม ส.ค.1 ที่แจ้งไว้แต่เดิม ซึ่งอาจเป็นการประมาณ ย่อมมากหรือน้อยจากความจริงก็ได้ ไม่มีเหตุที่เจ้ามรดกตั้งใจทำพินัยกรรมเฉพาะ 6 ไร่ 2 งาน 4 วา ส่วนที่เหลือให้เป็นมรดกไม่มีพินัยกรรมโจทก์ (นายจำลอง) จึงมีสิทธิได้รับที่ดินมรดกเพียง 2 ไร่ด้านตะวันออก ที่ดินที่เหลือทั้งหมดจากที่แบ่งให้โจทก์จึงตกเป็นของจำเลย (นางบุญช่วย) ตามพินัยกรรมข้อ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 373/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพินัยกรรม: เจตนาผู้ทำพินัยกรรมคือยกที่ดินทั้งหมด แม้ระบุเนื้อที่ในพินัยกรรมไม่ตรงกับความเป็นจริง
พินัยกรรมมีความว่า "ฯลฯ ข้อ 1 (1) ที่ดินหนึ่งแปลงตาม ส.ด.1 เลขที่ 64 อยู่หมู่ 4 ตำบลเกยไชย อำเภอชุมแสง เนื้อที่ 6 ไร่ 2 งาน 4 วา ฯลฯ ข้อ 3 ทรัพย์สินตามข้อ 1 ข้าพเจ้าขอมอบให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่บุตรของข้าพเจ้าจำนวน 2 คน ตามส่วนดังนี้ 1. ที่ดินตามข้อที่ 1(1) ทางทิศตะวันออก จำนวนเนื้อที่ดิน 2 ไร่ ให้แก่นายจำลอง เดชเรืองศรี 2. ที่ดินตามข้อ 1(1) ส่วนที่เหลือทั้งหมดจากที่แบ่งให้นายจำลอง เดชเรืองศรี แล้วข้าพเจ้าขอยกให้แก่นางบุญช่วย พันธ์เขียว แต่ผู้เดียวฯลฯ " ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าเจ้ามรดกมีที่ดินแปลงเดียว ที่ดินมรดกแปลงนี้มีเนื้อที่ถึง 18 ไร่ 93 ตารางวา ตามพินัยกรรมข้อ 1(1) เจ้ามรดกเจตนาทำพินัยกรรมยกที่ดินทั้งแปลงที่ตนมีอยู่ให้แก่โจทก์จำเลย การที่ระบุเนื้อที่ไว้เพียง 6 ไร่ 2 งาน 4 วา ก็เห็นได้ว่าเป็นการระบุเนื้อที่ตาม ส.ค.1 ที่แจ้งไว้แต่เดิม ซึ่งอาจเป็นการประมาณ ย่อมมากหรือน้อยจากความจริงก็ได้ ไม่มีเหตุที่เจ้ามรดกตั้งใจทำพินัยกรรมเฉพาะ 6 ไร่ 2 งาน 4 วา ส่วนที่เหลือให้เป็นมรดกไม่มีพินัยกรรม โจทก์ (นายจำลอง) จึงมีสิทธิได้รับที่ดินมรดกเพียง 2 ไร่ด้านตะวันออก ที่ดินที่เหลือทั้งหมดจากที่แบ่งให้โจทก์ จึงตกเป็นของจำเลย (นางบุญช่วย) ตามพินัยกรรมข้อ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1478/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาช่วยเหลือคดีมรดก: สิทธิรับเงินรางวัลเมื่อยอมความได้ตามเจตนา
จำเลยขอให้โจทก์เจรจาติดต่อกับผู้เชี่ยวชาญการพิสูจน์ลายมือเพื่อพิสูจน์ลายมือในพินัยกรรมในคดีที่จำเลยฟ้องขอแบ่งมรดก โจทก์ได้เจรจาจนผู้เชี่ยวชาญนั้นยอมรับจะพิสูจน์จำเลยจึงได้ทำสัญญาให้โจทก์ไว้มีข้อความว่า
ข้อ 1 ผู้ให้สัญญายอมให้ผู้ถือสัญญาจัดการวิ่งเต้นช่วยเหลือคดีมรดกของผู้ให้สัญญา และ
ข้อ 2 เมื่อคดีมรดกของผู้ให้สัญญาได้เสร็จสิ้นลงและผู้ให้สัญญาได้รับเงินส่วนแบ่งในคดีมรดกนั้นแล้ว ผู้ให้สัญญาต้องจ่ายเงิน 60,000 บาทให้แก่ผู้ถือสัญญา ฯลฯ
ข้อ 3 หากคดีมรดกนี้ได้มีการประนีประนอมยอมความลงก่อนศาลพิพากษาผู้ให้สัญญายอมจ่ายเงินรางวัลให้แก่ผู้ถือสัญญาเพียง 30,000 บาท
ดังนี้ หากมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลโดยจำเลยได้รับส่วนแบ่งมรดกแล้ว แม้ผู้เชี่ยวชาญจะยังมิได้ทำการพิสูจน์ลายมือ จำเลยก็ต้องจ่ายเงินให้แก่โจทก์ตามสัญญาข้อ 3
ข้อ 1 ผู้ให้สัญญายอมให้ผู้ถือสัญญาจัดการวิ่งเต้นช่วยเหลือคดีมรดกของผู้ให้สัญญา และ
ข้อ 2 เมื่อคดีมรดกของผู้ให้สัญญาได้เสร็จสิ้นลงและผู้ให้สัญญาได้รับเงินส่วนแบ่งในคดีมรดกนั้นแล้ว ผู้ให้สัญญาต้องจ่ายเงิน 60,000 บาทให้แก่ผู้ถือสัญญา ฯลฯ
ข้อ 3 หากคดีมรดกนี้ได้มีการประนีประนอมยอมความลงก่อนศาลพิพากษาผู้ให้สัญญายอมจ่ายเงินรางวัลให้แก่ผู้ถือสัญญาเพียง 30,000 บาท
ดังนี้ หากมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลโดยจำเลยได้รับส่วนแบ่งมรดกแล้ว แม้ผู้เชี่ยวชาญจะยังมิได้ทำการพิสูจน์ลายมือ จำเลยก็ต้องจ่ายเงินให้แก่โจทก์ตามสัญญาข้อ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1478/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาช่วยเหลือคดีมรดก: จ่ายเงินรางวัลเมื่อยอมความได้ส่วนแบ่ง แม้ยังไม่มีผลพิสูจน์ลายมือ
จำเลยขอให้โจทก์เจรจาติดต่อกับผู้เชี่ยวชาญการพิสูจน์ลายมือเพื่อพิสูจน์ลายมือในพินัยกรรมในคดีที่จำเลยฟ้องขอแบ่งมรดก โจทก์ได้เจรจาจนผู้เชี่ยวชาญนั้นยอมรับจะพิสูจน์ จำเลยจึงได้ทำสัญญาให้โจทก์ไว้มีข้อความว่า
ข้อ 1 ผู้ให้สัญญายอมให้ผู้ถือสัญญาจัดการวิ่งเต้นช่วยเหลือคดีมรดกของผู้ให้สัญญา และ
ข้อ 2 เมื่อคดีมรดกของผู้ให้สัญญาได้เสร็จสิ้นลงและผู้ให้สัญญาได้รับเงินส่วนแบ่งในคดีมรดกนั้นแล้ว ผู้ให้สัญญาต้องจ่ายเงิน 60,000 บาทให้แก่ผู้ถือสัญญา ฯลฯ
ข้อ 3 หากคดีมรดกนี้ได้มีการประนีประนอมยอมความลงก่อนศาลพิพากษา ผู้ให้สัญญายอมจ่ายเงินรางวัลให้แก่ผู้ถือสัญญาเพียง 30,000 บาท
ดังนี้ หากมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลโดยจำเลยได้รับส่วนแบ่งมรดกแล้ว แม้ผู้เชี่ยวชาญจะยังมิได้ทำการพิสูจน์ลายมือ จำเลยก็ต้องจ่ายเงินให้แก่โจทก์ตามสัญญาข้อ 3
ข้อ 1 ผู้ให้สัญญายอมให้ผู้ถือสัญญาจัดการวิ่งเต้นช่วยเหลือคดีมรดกของผู้ให้สัญญา และ
ข้อ 2 เมื่อคดีมรดกของผู้ให้สัญญาได้เสร็จสิ้นลงและผู้ให้สัญญาได้รับเงินส่วนแบ่งในคดีมรดกนั้นแล้ว ผู้ให้สัญญาต้องจ่ายเงิน 60,000 บาทให้แก่ผู้ถือสัญญา ฯลฯ
ข้อ 3 หากคดีมรดกนี้ได้มีการประนีประนอมยอมความลงก่อนศาลพิพากษา ผู้ให้สัญญายอมจ่ายเงินรางวัลให้แก่ผู้ถือสัญญาเพียง 30,000 บาท
ดังนี้ หากมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลโดยจำเลยได้รับส่วนแบ่งมรดกแล้ว แม้ผู้เชี่ยวชาญจะยังมิได้ทำการพิสูจน์ลายมือ จำเลยก็ต้องจ่ายเงินให้แก่โจทก์ตามสัญญาข้อ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 725/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนเวลาหนี้และการรับสภาพหนี้ใหม่โดยมีประกัน การตีความเจตนาของเจ้าหนี้
โจทก์ให้จำเลยทำหนังสือรับรองหนี้ค่าเช่าซื้อที่จำเลยไม่ชำระตามกำหนดเวลาในสัญญาเช่าซื้อทั้งหมด และยอมให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อได้ต่อไปอีก 12 เดือน ย่อมเป็นการที่จำเลยรับสภาพหนี้และโจทก์ยอมผ่อนเวลาการชำระหนี้ค่าเช่าซื้อไปโดยมีกำหนดเวลา เมื่อถึงกำหนดเวลาจำเลยไม่ชำระ โจทก์ยอมให้จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้โดยให้จำเลยเอาทรัพย์สินมาจำนองเป็นประกันการชำระหนี้มีกำหนด 5 ปี ย่อมเป็นการรับสภาพหนี้ด้วยให้ประกัน ต่อมาโจทก์ยอมรับเอาการรับสภาพหนี้ด้วยการให้จำเลยเอาทรัพย์สินมาทำสัญญาจำนองเป็นประกันการชำระหนี้ โดยมิได้กำหนดเวลาการชำระค่าเช่าซื้อไว้เป็นอย่างอื่น นอกจากกำหนดเวลาตามสัญญาจำนอง 5 ปีเท่านั้น จึงต้องแปลเจตนาของโจทก์ว่าจะไม่บังคับการชำระหนี้ค่าเช่าซื้อแก่จำเลยก่อนครบกำหนด 5 ปี เท่ากำหนดเวลาในสัญญาจำนองนั้น โจทก์จะอ้างว่ารับสภาพหนี้โดยไม่มีกำหนดเวลาและฟ้องตามสัญญาเช่าซื้อหาได้ไม่ เพราะยังไม่พ้นกำหนดเวลาที่จำเลยจะชำระค่าเช่าซื้อตามที่โจทก์ได้ผ่อนเวลาให้จำเลยตามสัญญาจำนองนั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 725/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนเวลาชำระหนี้และทำสัญญาจำนองย่อมแสดงเจตนาที่จะไม่บังคับชำระหนี้เดิมจนกว่าจะครบกำหนดตามสัญญาจำนอง
โจทก์ให้จำเลยทำหนังสือรับรองหนี้ค่าเช่าซื้อที่จำเลยไม่ชำระตามกำหนดเวลาในสัญญาเช่าซื้อทั้งหมด และยอมให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อได้ต่อไปอีก 12 เดือนย่อมเป็นการที่จำเลยรับสภาพหนี้และโจทก์ยอมผ่อนเวลาการชำระหนี้ค่าเช่าซื้อไปโดยมีกำหนดเวลาเมื่อถึงกำหนดเวลาจำเลยไม่ชำระ โจทก์ยอมให้จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้โดยให้จำเลยเอาทรัพย์สินมาจำนองเป็นประกันการชำระหนี้มีกำหนด 5 ปี ย่อมเป็นการรับสภาพหนี้ด้วยให้ประกันต่อมาโจทก์ยอมรับเอาการรับสภาพหนี้ด้วยการให้จำเลยเอาทรัพย์สินมาทำสัญญาจำนองเป็นประกันการชำระหนี้ โดยมิได้กำหนดเวลาการชำระค่าเช่าซื้อไว้เป็นอย่างอื่น นอกจากกำหนดเวลาตามสัญญาจำนอง 5 ปีเท่านั้น จึงต้องแปลเจตนาของโจทก์ว่าจะไม่บังคับการชำระหนี้ค่าเช่าซื้อแก่จำเลยก่อนครบกำหนด 5 ปี เท่ากำหนดเวลาในสัญญาจำนองนั้นโจทก์จะอ้างว่ารับสภาพหนี้โดยไม่มีกำหนดเวลาและฟ้องตามสัญญาเช่าซื้อหาได้ไม่ เพราะยังไม่พ้นกำหนดเวลาที่จำเลยจะชำระค่าเช่าซื้อตามที่โจทก์ได้ผ่อนเวลาให้จำเลยตามสัญญาจำนองนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 558/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินเฉพาะส่วนของเจ้าของร่วม สัญญาชัดเจนถึงส่วนที่จะขาย แม้มีการเช่าปลูกอาคารไว้ก่อน
สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยมีความว่า "ผู้ขายเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินตามโฉนดที่ 9017 ร่วมกับผู้อื่นรวม 6 คน บัดนี้ ผู้ขายตกลงขายกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนของผู้ขายซึ่งมีอยู่ในโฉนดดังกล่าวแล้วแก่ผู้ซื้อในราคา 50,000 บาท การโอนที่ดินเฉพาะส่วนทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะทำการโอนและรับโอนภายในเวลา 2 ปี ที่ดินส่วนของผู้ขายที่จะขายนั้น ผู้ซื้อได้เช่าปลูกอาคารลงไว้แล้วก่อนวันทำสัญญานี้" ดังนี้ สัญญามีความหมายชัดเจนว่า โจทก์ซื้อเฉพาะส่วนของจำเลยที่มีอยู่ในโฉนดรวมกับผู้อื่นอีก 5 คน ส่วนของจำเลยนี้ก็คือหนึ่งในหกของที่ดินทั้งหมด ไม่มีข้อความตอนใดที่แสดงว่าหนึ่งในหกของที่ดินตอนที่โจทก์เช่าปลูกอาคารไว้แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 558/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินเฉพาะส่วนในโฉนดร่วม: การตีความสัญญาและการโอนกรรมสิทธิ์
สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยมีความว่า 'ผู้ขายเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินตามโฉนดที่ 9017 ร่วมกับผู้อื่นรวม 6 คนบัดนี้ ผู้ขายตกลงขายกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนของผู้ขายซึ่งมีอยู่ในโฉนดดังกล่าวแล้วแก่ผู้ซื้อในราคา 50,000 บาท การโอนที่ดินเฉพาะส่วนทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะทำการโอนและรับโอนภายในเวลา 2 ปีที่ดินส่วนของผู้ขายที่จะขายนั้น ผู้ซื้อได้เช่าปลูกอาคารลงไว้แล้วก่อนวันทำสัญญานี้' ดังนี้ สัญญามีความหมายชัดเจนว่าโจทก์ซื้อเฉพาะส่วนของจำเลยที่มีอยู่ในโฉนดรวมกับผู้อื่นอีก 5 คน ส่วนของจำเลยนี้ก็คือหนึ่งในหกของที่ดินทั้งหมด ไม่มีข้อความตอนใดที่แสดงว่าหนึ่งในหกของที่ดินตอนที่โจทก์เช่าปลูกอาคารไว้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1220/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขัดแย้งกัน ศาลต้องสืบพยานเพื่อหาเจตนาจริงของคู่สัญญา
เมื่อข้อความในสัญญาฉบับเดียวกันขัดแย้งกันเองและไม่ชัดเจนพอที่จะพิจารณาถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาได้ ศาลจะให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยเสียโดยพิจารณาแต่เพียงตัวสัญญาเท่านั้นย่อมไม่ได้ ในกรณีเช่นนี้ ศาลต้องสืบพยานต่อไปตามข้อต่อสู้ของจำเลย