คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 132

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 554 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2750/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของคนต่างด้าว, อายุความค่าสิทธิประดิษฐ์, การบอกเลิกสัญญา, และการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ
การที่โจทก์มอบอำนาจให้ ช.ซึ่งเป็นคนต่างด้าวมีอำนาจดำเนินคดีแก่จำเลย หาใช่เป็นการมอบอำนาจให้ประกอบธุรกิจบริการ โดยการเป็นนายหน้าหรือตัวแทนการค้าไม่ จึงไม่ต้องห้ามตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 281 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 4 และตามบัญชี ก.ท้ายประกาศ หมวด 3(5)
ค่าสิทธิประดิษฐ์ในการให้ความช่วยเหลือ แนะนำ ฝึกสอนวิธีการประดิษฐ์กระเบื้องซีรามิคตามสัญญา ซึ่งมีการตกลงจ่ายเป็นงวด ๆ โดยคำนวณเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขาย นั้น ไม่เข้าลักษณะการเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) (7) จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164
หนังสือของจำเลยตอบหนังสือของโจทก์ที่ถามความเห็นเกี่ยวกับการต่ออายุสัญญาว่าจำเลยตกลงใจไม่ต่อสัญญาความช่วยเหลือทางเทคนิคกับโจทก์และโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบว่า โจทก์ตกลงตามที่จำเลยตัดสินใจ ดังนี้ หนังสือของจำเลยดังกล่าวไม่ใช่หนังสือบอกเลิกสัญญากับโจทก์ แต่เป็นหนังสือที่มีลักษณะเป็นการสนองตอบตามที่โจทก์ขอความเห็นหรือหารือล่วงหน้าก่อนครบกำหนดต่ออายุสัญญาว่า จะมีการต่ออายุสัญญาต่อไปหรือไม่โจทก์กลับมีหนังสืออันมีข้อความในลักษณะเป็นการตกลงตามที่จำเลยสนองตอบข้อหารือของโจทก์นั้น จึงเท่ากับตกลงที่จะไม่ต่ออายุสัญญากันด้วยความสมัครใจของทั้งสองฝ่าย จำเลยมิได้เป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาก่อนกำหนด
สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยมีข้อความว่า ข้อขัดแย้งหรือข้อเรียกร้องใดซึ่งเกิดขึ้นหรือเกี่ยวเนื่องกับสัญญานี้หรือการประพฤติปฏิบัติผิดสัญญานี้ คู่สัญญาจะทำความตกลงกันด้วยสันติวิธี ถ้าไม่สามารถตกลงกันได้จะต้องชี้ขาดโดยอนุญาโตตุลาการ ดังนี้ สัญญามิได้บังคับเด็ดขาดว่าต้องตั้งอนุญาโตตุลาการให้ชี้ขาดข้อพิพาทเสียก่อน จึงจะฟ้องได้ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เสนอให้มีการตั้งอนุญาโตตุลาการ โจทก์จึงฟ้องคดีได้โดยไม่ต้องเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1867/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายรถเกรดเดอร์ การรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการขนส่ง และค่าเช่าโกดังตามสัญญา
เดิมจำเลยสั่งซื้อรถเกรดเดอร์ 11 คันจากโจทก์และจะต้องขนส่งทางเรือมาจากประเทศอังกฤษ แต่ต่อมาโจทก์จำเลยตกลงกันว่าให้โจทก์ซื้อรถทั้งหมดกลับคืนจากจำเลยโดยจำเลยขอรับผิดชอบสำหรับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการส่งคืนรถทั้ง 11 คันแก่โจทก์ และโจทก์ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและภาษีใด ๆ จนสินค้าลงเรือในกรุงเทพ ฯ ดังนี้ เมื่อค่าระวางขนส่งทางเรือจากประเทศอังกฤษมายังประเทศไทยไม่ได้รวมอยู่ในราคารถที่ขายคืนจึงเป็นค่าใช้จ่ายอย่างหนึ่งซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญา
ค่าขนส่งทางรถไฟจากกรุงเทพ ฯ ไปกัวลาลัมเปอร์ประเทศมาเลเซียเป็นค่าระวางขนส่งต่อไปยังผู้ซื้อในต่างประเทศ ตามข้อตกลงดังกล่าวโจทก์ผู้ซื้อรถคืนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ จนกระทั่งรถได้บรรทุกลงเรือ ดังนั้น เมื่อโจทก์เปลี่ยนมาเป็นการขนส่งทางบกโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยตกลงด้วย โจทก์จะเรียกค่าขนส่งดังกล่าวจากจำเลยโดยอาศัยข้อสัญญาดังกล่าวหาได้ไม่
สำหรับค่าเช่าโกดังสินค้าหลังจากมีข้อตกลงดังกล่าวแล้วนั้นการที่โจทก์จะนำรถบรรทุกลงเรือก็จำเป็นจะต้องออกของจากโกดังสินค้าซึ่งจะต้องเสียค่าเช่าโกดัง และตามสัญญาก็ได้ระบุให้ค่าเช่าโกดังเป็นค่าใช้จ่ายที่จำเลยจะต้องรับผิดด้วยเช่นนี้ แม้การออกของจากโกดังสินค้าจะเนิ่นช้าไปบ้าง แต่ก็ไม่ปรากฏว่าความล่าช้าเกิดจากเจตนาอันไม่สุจริตของโจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดในค่าเช่าโกดังสินค้าหลังจากวันทำสัญญาจนถึงวันออกของด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1867/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายรถเกรดเดอร์: ความรับผิดชอบค่าใช้จ่ายขนส่งและโกดังหลังซื้อคืน
เดิมจำเลยสั่งซื้อรถเกรดเดอร์ 11 คันจากโจทก์และจะต้องขนส่งทางเรือมาจากประเทศอังกฤษ แต่ต่อมาโจทก์จำเลยตกลงกันว่าให้โจทก์ซื้อรถทั้งหมดกลับคืนจากจำเลยโดยจำเลยขอรับผิดชอบสำหรับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการส่งคืนรถทั้ง 11 คันแก่โจทก์ และโจทก์ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและภาษีใด ๆ จนสินค้าลงเรือในกรุงเทพ ฯ ดังนี้ เมื่อค่าระวางขนส่งทางเรือจากประเทศอังกฤษมายังประเทศไทยไม่ได้รวมอยู่ในราคารถที่ขายคืนจึงเป็นค่าใช้จ่ายอย่างหนึ่งซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญา
ค่าขนส่งทางรถไฟจากกรุงเทพ ฯ ไปกัวลาลัมเปอร์ประเทศมาเลเซียเป็นค่าระวางขนส่งต่อไปยังผู้ซื้อในต่างประเทศ ตามข้อตกลงดังกล่าวโจทก์ผู้ซื้อรถคืนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ จนกระทั่งรถได้บรรทุกลงเรือ ดังนั้น เมื่อโจทก์เปลี่ยนมาเป็นการขนส่งทางบกโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยตกลงด้วย โจทก์จะเรียกค่าขนส่งดังกล่าวจากจำเลยโดยอาศัยข้อสัญญาดังกล่าวหาได้ไม่
สำหรับค่าเช่าโกดังสินค้าหลังจากมีข้อตกลงดังกล่าวแล้วนั้นการที่โจทก์จะนำรถบรรทุกลงเรือก็จำเป็นจะต้องออกของจากโกดังสินค้าซึ่งจะต้องเสียค่าเช่าโกดัง และตามสัญญาก็ได้ระบุให้ค่าเช่าโกดังเป็นค่าใช้จ่ายที่จำเลยจะต้องรับผิดด้วยเช่นนี้ แม้การออกของจากโกดังสินค้าจะเนิ่นช้าไปบ้างแต่ก็ไม่ปรากฏว่าความล่าช้าเกิดจากเจตนาอันไม่สุจริตของโจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดในค่าเช่าโกดังสินค้าหลังจากวันทำสัญญาจนถึงวันออกของด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 664/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายซองกระสุนชำรุด: สิทธิบอกเลิกสัญญา, ค่าเสียหาย, และการคืนหลักประกัน
สัญญาซื้อขายของกระสุนปืน เอ็ม .16 ซึ่งผลิตโดยโรงงานในประเทศสหรัฐอเมริกา แม้ตามสัญญาเรื่องการจัดการแก้ไขในกรณีที่ซองกระสุนปืนดังกล่าวไม่ถูกต้องจะมิได้ระบุให้ส่งไปให้ผู้ผลิตทำการแก้ไขก็ตาม แต่การแก้ไขชิ้นส่วนของซองกระสุนปืนเอ็ม .16 อันเป็นเครื่องกระสุนปืนตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ ซึ่งใช้ในราชการสงคราม จึงพึงเป็นที่เข้าใจว่าผู้ที่จะจัดการแก้ไขซ่อมแซมได้ จะต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย ดังนี้การที่จำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินการให้โรงงานผู้ผลิตรับเอาซองกระสุนปืนไปแก้ไขให้ถูกต้องตามสัญญาจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ และมีสิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลยนับแต่วันครบกำหนดส่งของตามสัญญาถึงวันครบกำหนดที่โจทก์ให้โอกาสจำเลยปฏิบัติตามสัญญา
เบี้ยปรับเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหาย เมื่อโจทก์เรียกร้องเอาเบี้ยปรับแล้วและจำนวนเบี้ยปรับสูงกว่าค่าเสียหายที่โจทก์ต้องซื้อของในราคาที่แพงกว่าราคาเดิม โจทก์จึงจะเรียกเอาค่าเสียหายดังกล่าวอีกไม่ได้ เพราะเป็นการเรียกร้องค่าเสียหายนอกเหนือไปจากความเสียหายที่โจทก์ได้รับ ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคสอง
ตามสัญญากำหนดให้ธนาคารวางหนังสือค้ำประกันต่อโจทก์เพื่อค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา และจะคืนให้แก่ผู้ค้ำประกันเมื่อผู้ขายพ้นจากข้อผูกพันตามสัญญา ดังนี้ถือได้ว่าหลักประกันดังกล่าวเป็นการวางไว้ล่วงหน้าเพื่อความเสียหายในกรณีที่มีการผิดสัญญา เมื่อโจทก์ได้เรียกร้องให้จำเลยชำระค่าเสียหายเต็มจำนวนแล้ว จึงต้องคืนหลักประกันดังกล่าวให้จำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 664/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายซองกระสุน: การผิดสัญญา, ค่าเสียหาย, และการคืนหลักประกัน
สัญญาซื้อขายของกระสุนปืน เอ็ม .16 ซึ่งผลิตโดยโรงงานในประเทศสหรัฐอเมริกา แม้ตามสัญญาเรื่องการจัดการแก้ไขในกรณีที่ซองกระสุนปืนดังกล่าวไม่ถูกต้องจะมิได้ระบุให้ส่งไปให้ผู้ผลิตทำการแก้ไขก็ตาม แต่การแก้ไขชิ้นส่วนของซองกระสุนปืนเอ็ม .16 อันเป็นเครื่องกระสุนปืนตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ ซึ่งใช้ในราชการสงคราม จึงพึงเป็นที่เข้าใจว่าผู้ที่จะจัดการแก้ไขซ่อมแซมได้ จะต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย ดังนี้การที่จำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินการให้โรงงานผู้ผลิตรับเอาซองกระสุนปืนไปแก้ไขให้ถูกต้องตามสัญญาจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ และมีสิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลยนับแต่วันครบกำหนดส่งของตามสัญญาถึงวันครบกำหนดที่โจทก์ให้โอกาสจำเลยปฏิบัติตามสัญญา
เบี้ยปรับเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหาย เมื่อโจทก์เรียกร้องเอาเบี้ยปรับแล้วและจำนวนเบี้ยปรับสูงกว่าค่าเสียหายที่โจทก์ต้องซื้อของในราคาที่แพงกว่าราคาเดิม โจทก์จึงจะเรียกเอาค่าเสียหายดังกล่าวอีกไม่ได้ เพราะเป็นการเรียกร้องค่าเสียหายนอกเหนือไปจากความเสียหายที่โจทก์ได้รับ ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคสอง
ตามสัญญากำหนดให้ธนาคารวางหนังสือค้ำประกันต่อโจทก์เพื่อค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา และจะคืนให้แก่ผู้ค้ำประกันเมื่อผู้ขายพ้นจากข้อผูกพันตามสัญญา ดังนี้ถือได้ว่าหลักประกันดังกล่าวเป็นการวางไว้ล่วงหน้าเพื่อความเสียหายในกรณีที่มีการผิดสัญญา เมื่อโจทก์ได้เรียกร้องให้จำเลยชำระค่าเสียหายเต็มจำนวนแล้ว จึงต้องคืนหลักประกันดังกล่าวให้จำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1548/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งมอบสินค้าบกพร่องและการคิดค่าปรับ สัญญาซื้อขายกำหนดให้สินค้าต้องใช้งานได้จริง
ตามสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์จำเลย โจทก์จะต้องส่งมอบเครื่องสูบน้ำรายการที่ 2 จำนวน 24 เครื่องให้จำเลยภายในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2521 โจทก์ส่งมอบในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2521 จำนวน 12 เครื่อง ส่วนอีก 12 เครื่อง โจทก์จำเลยยังโต้แย้งกันอยู่ว่า ส่งในวันที่ 3 หรือวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2521 ปรากฏว่าเครื่องสูบน้ำทำงานไม่ได้ เนื่องจากการต่อท่อไม่ถูกต้อง โจทก์จึงขอรับเครื่องสูบน้ำทั้ง 24 เครื่องไปแก้ไขใหม่แล้วส่งกลับมาให้จำเลยเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2522 กรรมการของจำเลยได้ตรวจรับเรียบร้อยเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2522 สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์จำเลยได้กำหนดไว้ในข้อ ซี 16 ว่า ถ้าผู้ขายไม่สามารถส่งมอบสินค้าได้ภายในกำหนด ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกร้องค่าปรับจากผู้ขายได้ เป็นรายเดือนในอัตราร้อยละ 5 ของราคาสินค้าที่ยังไม่ได้ส่งมอบ เมื่อโจทก์ส่งของเกินกำหนดเวลาดังกล่าวก็ต้องถือว่าส่งมอบล่าช้าแล้ว และเมื่อปรากฏว่าเครื่องสูบน้ำที่โจทก์ส่งใช้งานไม่ได้จนโจทก์ต้องรับคืนไปแก้ไข และส่งมาให้จำเลยในวันที่ 16 ตุลาคม 2522 นั้นเอง ความล่าช้าเกิดขึ้นเพราะสินค้าของโจทก์บกพร่องใช้งานไม่ได้ โจทก์จึงต้องรับผิดในความล่าช้านั้น จะถือว่าโจทก์ส่งมอบเครื่องสูบน้ำแล้ว ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2521 ไม่ได้ เพราะการส่งมอบเครื่องสูบน้ำของโจทก์ก็คือ การชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายนั่นเอง ตามสัญญานั้นโจทก์จะต้องส่งเครื่องสูบน้ำที่มีอุปกรณ์ครบถ้วนและต้องเป็นเครื่องสูบน้ำที่อยู่ในสภาพใช้งานได้ เมื่อเครื่องสูบน้ำขาดอุปกรณ์บางชิ้นและใช้งานไม่ได้ ดังนี้จำเลยย่อมมีสิทธิจะปฏิเสธไม่รับเครื่องสูบน้ำนั้นได้ โจทก์จะบังคับให้จำเลยรับเครื่องสูบน้ำดังกล่าวไว้หาได้ไม่ และจำเลยก็ไม่ยอมรับเครื่องสูบน้ำนั้นจนกระทั่งโจทก์ได้แก้ไขจนใช้งานได้แล้ว การที่โจทก์ส่งเครื่องสูบน้ำมาให้จำเลยในตอนแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2521 จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการส่งมอบอันเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขาย ต้องถือว่าโจทก์เพิ่งส่งมอบเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2522 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ส่งเครื่องสูบน้ำที่อยู่ในสภาพใช้งานได้ แม้สัญญาซื้อขายจะไม่ได้ระบุว่า การส่งมอบจะต้องทำอย่างไร จึงจะถือว่าสมบูรณ์ แต่การตีความว่า โจทก์มีสิทธิส่งเครื่องสูบน้ำที่ใช้งานไม่ได้นั้น ย่อมไม่เป็นไปตามความประสงค์ในทางสุจริตแต่อย่างไรก็ดี จำเลยมีส่วนทำให้การส่งมอบล่าช้าอยู่เหมือนกัน โจทก์ส่งเครื่องสูบน้ำให้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2521 จำเลยเพิ่งตรวจสอบเมื่อเดือนสิงหาคม 2521 จึงทราบว่าเครื่องสูบน้ำขาดอุปกรณ์และต่อมาจึงทราบว่าใช้งานไม่ได้ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยเสียหายอะไรเป็นพิเศษจากการส่งมอบล่าช้า จึงเห็นสมควรลดค่าปรับลงจากที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้อีกซึ่งศาลมีอำนาจลดได้เองตามบทบัญญัติ ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383
ข้อที่จำเลยไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ให้เป็นประเด็นในศาลล่างแล้ว ข้อต่อสู้ดังกล่าวของจำเลยก็ไม่มีกฎหมายสนับสนุนอีกด้วย จึงฟังไม่ขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4070/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องร้องสัญญากู้ และอัตราดอกเบี้ยตามกฎหมาย กรณีสัญญามิได้ระบุอัตราดอกเบี้ย
สัญญากู้มีข้อความว่า "ข้าพเจ้าจะนำดอกเบี้ยมาชำระให้ท่านตามกำหนดระยะเวลา 1 เดือนต่อครั้ง และจะนำต้นเงินมาชำระให้ภายในวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2515 ถ้าข้าพเจ้าไม่นำดอกเบี้ยและต้นเงินมาชำระให้ตามกำหนดด้วยเหตุใดๆ ก็ดีข้าพเจ้ายอมให้ท่านฟ้องร้องเรียกเอาต้นเงินและดอกเบี้ยจากข้าพเจ้าได้ตามกฎหมาย"ตีความได้ว่าสิทธิฟ้องร้องเรียกเงินต้นคืนจะเกิดขึ้นเมื่อผู้กู้ผิดนัดในการนำเงินต้นมาชำระคืนด้วยเพราะข้อความในสัญญาระบุว่าจะต้องผิดนัดทั้งในการนำดอกเบี้ยและเงินต้นมาชำระให้ตามกำหนด สิทธิฟ้องร้องของโจทก์ในการเรียกเงินต้นและดอกเบี้ยจึงจะเกิดขึ้นเหตุนี้อายุความฟ้องร้องเรียกเงินต้นของโจทก์จึงเริ่มนับแต่วันที่22 เมษายน 2515 โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 20 เมษายน 2525คดีจึงไม่ขาดอายุความ สัญญากู้มิได้ระบุอัตราดอกเบี้ยไว้จึงต้องบังคับตามมาตรา 7 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์คือคิดอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ดังนั้นการที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยตกลงให้ดอกเบี้ยโจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จึงเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติและสัญญากู้ดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวได้ อำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลย่อมมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ในเมื่อเห็นสมควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2832/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันและผู้จำนองตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีภายในวงเงิน 700,000 บาท จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนองเป็นประกันหนี้ราย นี้เป็นจำนวนเงิน 700,000 บาท ตามสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองระบุว่า เมื่อลูกหนี้ เบิกเงินเกินกว่ายอดเงินในบัญชีของ ลูกหนี้หรือลูกหนี้เป็นหนี้ผู้รับจำนอง อยู่ในเวลานี้หรือที่จะเป็นหนี้ต่อไปในภายหน้า ฯลฯ ผู้จำนองและ หรือลูกหนี้ยอมรับผิดชอบด้วยทั้งสิ้นเมื่อมีการบังคับจำนองเอาทรัพย์สิน ซึ่งจำนองขายทอดตลาดได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระ ฯลฯ เงินยังขาดอยู่จำนวนเท่าใด ผู้จำนองและหรือลูกหนี้ยอมรับผิดชอบรับใช้เงิน ที่ขาดให้แก่ผู้รับจำนองจนครบถ้วน และจำเลยที่ 2 ยังทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้เงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวจนกว่าธนาคารจะได้รับและถึงแม้ลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญาไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ก็ตามอันทำให้ธนาคารไม่ได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนก็ดี ผู้ค้ำประกันยอมเข้ารับผิดร่วมกับลูกหนี้ในอันที่จะต้องชำระหนี้ตามสัญญานั้นทันทีตีความตามสัญญาจำนองและสัญญาค้ำประกันดังกล่าวได้ว่าจำเลยที่ 2 รับผิดชำระหนี้จำนวน 700,000 บาท รวมทั้งดอกเบี้ยด้วยเท่านั้น หาใช่ จำเลยที่ 2 ยอมรับผิดชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2832/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันและผู้จำนองในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี วงเงินจำกัดตามสัญญา
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีภายในวงเงิน700,000 บาท จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนองเป็นประกันหนี้ราย นี้เป็นจำนวนเงิน 700,000บาทตามสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองระบุว่าเมื่อลูกหนี้ เบิกเงินเกินกว่ายอดเงินในบัญชีของ ลูกหนี้หรือลูกหนี้เป็นหนี้ผู้รับจำนอง อยู่ในเวลานี้หรือที่จะเป็นหนี้ต่อไปในภายหน้าฯลฯผู้จำนองและ หรือลูกหนี้ยอมรับผิดชอบด้วยทั้งสิ้นเมื่อมีการบังคับจำนองเอาทรัพย์สิน ซึ่งจำนองขายทอดตลาดได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระฯลฯ เงินยังขาดอยู่จำนวนเท่าใดผู้จำนองและหรือลูกหนี้ยอมรับผิดชอบรับใช้เงิน ที่ขาดให้แก่ผู้รับจำนองจนครบถ้วนและจำเลยที่ 2 ยังทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้เงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวจนกว่าธนาคารจะได้ รับและถึงแม้ ลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญาไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ ก็ตามอันทำให้ ธนาคารไม่ได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนก็ดี ผู้ค้ำประกันยอมเข้ารับผิดร่วมกับ ลูกหนี้ในอันที่จะต้องชำระหนี้ตามสัญญานั้นทันทีตีความตาม สัญญาจำนองและสัญญาค้ำประกันดังกล่าวได้ว่าจำเลยที่ 2 รับผิดชำระหนี้จำนวน 700,000 บาท รวมทั้งดอกเบี้ยด้วยเท่านั้น หาใช่ จำเลยที่ 2 ยอมรับผิดชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1836/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยผิดสัญญาซื้อขายอาคารพาณิชย์ โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย แม้ยังไม่ได้ซื้ออาคารอื่นแทน
โจทก์และจำเลยตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายอาคารพาณิชย์และที่ดินพร้อมกับชำระเงินงวดที่ 1 เมื่อการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ชั้นล่างแล้วเสร็จและกำลังก่อสร้างชั้นที่สอง ซึ่งตามผลงานก่อสร้างดังกล่าวสัญญาได้ระบุไว้ว่าต้องชำระเงินงวดที่ 2และงวดต่อไปแล้ว แต่ปรากฏว่าจำเลยก่อสร้างอาคารพาณิชย์นั้นต่อไปอีกประมาณ 7 วันก็หยุดการก่อสร้าง และทิ้งค้างไว้เนื่องจากเหตุขัดข้องอย่างอื่นที่มิใช่เพราะโจทก์ผิดนัดไม่ชำระราคาเป็นเวลานานกว่า 1 ปีจนกระทั่งโจทก์ฟ้องคดีก็ยังไม่ก่อสร้างต่อ และจำเลยก็มิได้ทวงถามให้โจทก์ชำระเงินงวดที่ 2 และงวดต่อๆ ไป ดังนี้ ถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา การที่โจทก์ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในอาคารพาณิชย์และที่ดินเนื่องจากจำเลยผิดสัญญา และโจทก์จะต้องซื้ออาคารพาณิชย์และที่ดินรายใหม่ในราคาสูงขึ้นกว่าเดิมนั้น ถือได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหาย จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยตามจำนวนเงินที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นจากราคาเดิมที่ตกลงในสัญญาได้ และค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องนี้ก็มิใช่ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษแต่เป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การที่จำเลยไม่ชำระหนี้ซึ่งแม้โจทก์จะยังมิได้ซื้ออาคารพาณิชย์และที่ดินใหม่ และไม่เป็นที่แน่นอนว่าโจทก์จะต้องเสียเงินเพิ่มเท่าไร ศาลก็มีอำนาจกำหนดจำนวนเงินค่าเสียหายให้โจทก์ตามควรแก่พฤติการณ์
of 56