คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 132

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 554 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1836/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยผิดสัญญาซื้อขายอาคารพาณิชย์ โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย แม้ยังไม่ได้ซื้ออาคารอื่นแทน
โจทก์และจำเลยตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายอาคารพาณิชย์และที่ดินพร้อมกับชำระเงินงวดที่ 1 เมื่อการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ชั้นล่างแล้วเสร็จและกำลังก่อสร้างชั้นที่สอง ซึ่งตามผลงานก่อสร้างดังกล่าวสัญญาได้ระบุไว้ว่าต้องชำระเงินงวดที่ 2และงวดต่อไปแล้ว แต่ปรากฏว่าจำเลยก่อสร้างอาคารพาณิชย์นั้นต่อไปอีกประมาณ 7 วันก็หยุดการก่อสร้าง และทิ้งค้างไว้เนื่องจากเหตุขัดข้องอย่างอื่นที่มิใช่เพราะโจทก์ผิดนัดไม่ชำระราคาเป็นเวลานานกว่า 1 ปีจนกระทั่งโจทก์ฟ้องคดีก็ยังไม่ก่อสร้างต่อ และจำเลยก็มิได้ทวงถามให้โจทก์ชำระเงินงวดที่ 2 และงวดต่อๆ ไป ดังนี้ ถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา การที่โจทก์ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในอาคารพาณิชย์และที่ดินเนื่องจากจำเลยผิดสัญญา และโจทก์จะต้องซื้ออาคารพาณิชย์และที่ดินรายใหม่ในราคาสูงขึ้นกว่าเดิมนั้น ถือได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหาย จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยตามจำนวนเงินที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นจากราคาเดิมที่ตกลงในสัญญาได้ และค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องนี้ก็มิใช่ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษแต่เป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การที่จำเลยไม่ชำระหนี้ซึ่งแม้โจทก์จะยังมิได้ซื้ออาคารพาณิชย์และที่ดินใหม่ และไม่เป็นที่แน่นอนว่าโจทก์จะต้องเสียเงินเพิ่มเท่าไร ศาลก็มีอำนาจกำหนดจำนวนเงินค่าเสียหายให้โจทก์ตามควรแก่พฤติการณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3489/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหัวหน้าแผนกจากการละเลยหน้าที่จนเกิดการทุจริตของผู้ใต้บังคับบัญชา และการค้ำประกัน
จำเลยที่ 4 เป็นพนักงานของโจทก์ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกการเงินมีหน้าที่รับผิดชอบในการรับเงินและจ่ายเงินให้ถูกต้อง ตลอดจนการฝากเงิน ถอนเงินธนาคาร และรวบรวมเงินที่คงเหลือทุกวันส่งผู้ช่วยหัวหน้ากองบัญชีและการคลังฝ่ายการเงิน เพื่อตรวจสอบและเก็บรักษาไว้ จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นพนักงานการเงินของโจทก์และเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจำเลยที่ 4 ได้ร่วมกันกระทำการทุจริตเงินที่ผ่านเข้ามาในแผนกการเงินตามสายงานหลายครั้งต่อเนื่อง กันเป็นเวลาประมาณหนึ่งเดือน ทำให้เงินของโจทก์ขาดหายไปรวม 1,394,049.85 บาท วิธีการทุจริตส่วนใหญ่เป็นเรื่องรับเงินมาแล้วไม่ลงบัญชี ไม่ออกใบรับเงิน ทำหลักฐานว่านำเงินไปฝากธนาคารแต่ความจริงไม่ได้ฝาก พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ที่ 2 เหล่านี้ถ้าหากจำเลยที่ 4 ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามคำสั่งของโจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 ก็ไม่อาจทุจริตได้ การที่จำเลยที่ 4 ละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ตนมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติ จนเป็นเหตุให้เงินของโจทก์ขาดหายไปโดยการทุจริตของผู้ใต้บังคับบัญชาเช่นนี้เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อ จำเลยที่ 4 จึงต้องชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ ตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2503 มาตรา 29บัญญัติให้ผู้ว่าการเป็นผู้บริหารกิจการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคให้เป็นไปตามนโยบายที่คณะกรรมการกำหนดและมีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานทุกตำแหน่ง มาตรา 30 บัญญัติว่า ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกให้ผู้ว่าการเป็นผู้กระทำในนามของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและเป็นผู้กระทำการแทนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ส่วนคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคนั้นมาตรา 23 บัญญัติให้มีอำนาจหน้าที่วางนโยบายและควบคุมดูแลกิจการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ดังนี้ การบริหารก็คือการปกครองและดำเนินการหรือการจัดการ และการฟ้องคดีในนามของนิติบุคคลก็คือการจัดการหรือการดำเนินการนั่นเอง หาใช่การควบคุมดูแลกิจการของนิติบุคคลไม่ อำนาจฟ้องในนามของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจึงเป็นอำนาจของผู้ว่าการไม่ใช่อำนาจของคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ผู้ว่าการของโจทก์จึงมีอำนาจมอบอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องคดีในนามของโจทก์ได้ เดิมโจทก์มีคำสั่งจ้างจำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างรายวัน ต่อมาจึงได้มีคำสั่งบรรจุและแต่งตั้งจำเลยที่ 2 เป็นพนักงานของโจทก์ จำเลยที่ 7 ที่ 8 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์เมื่อจำเลยที่ 2 เข้าทำงาน เป็นลูกจ้างรายวัน เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับการบรรจุและ แต่งตั้งเป็นพนักงานประจำแล้วมิได้มีการทำสัญญาค้ำประกันใหม่อีก คดีได้ความว่าลูกจ้างชั่วคราวที่ได้รับการบรรจุเป็นพนักงานจะต้อง ยื่นใบสมัครและ ทำสัญญาค้ำประกันอีก เช่นนี้ ที่จำเลยที่ 7 ที่ 8 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์ไว้นั้น คู่สัญญามีเจตนา ให้จำเลยที่ 7 ที่ 8 ค้ำประกันจำเลยที่ 2 ในฐานะลูกจ้างรายวันเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานประจำ ไม่ได้มีการทำสัญญาค้ำประกันใหม่อีก และจำเลยที่ 2 ทำละเมิด ต่อโจทก์ในระหว่างเป็นพนักงานประจำ โจทก์จะนำสัญญาค้ำประกัน ดังกล่าวมาเป็นข้ออ้างให้จำเลยที่ 7 ที่ 8 รับผิดต่อโจทก์ในฐานะ ผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 2 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3489/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหัวหน้าแผนกการเงินต่อการทุจริตของลูกน้อง และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 4 เป็นพนักงานของโจทก์ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกการเงินมีหน้าที่รับผิดชอบในการรับเงินและจ่ายเงินให้ถูกต้อง ตลอดจนการฝากเงิน ถอนเงินธนาคาร และรวบรวมเงินที่คงเหลือทุกวันส่งผู้ช่วยหัวหน้ากองบัญชีและการคลัง ฝ่ายการเงิน เพื่อตรวจสอบและเก็บรักษาไว้ จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นพนักงานการเงินของโจทก์และเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจำเลยที่ 4 ได้ร่วมกันกระทำการทุจริตเงินที่ผ่านเข้ามาในแผนกการเงินตามสายงานหลายครั้งต่อเนื่องกันเป็นเวลาประมาณหนึ่งเดือน ทำให้เงินของโจทก์ขาดหายไปรวม 1,394,049.85 บาท วิธีการทุจริตส่วนใหญ่เป็นเรื่องรับเงินมาแล้วไม่ลงบัญชี ไม่ออกใบรับเงิน ทำหลักฐานว่านำเงินไปฝากธนาคารแต่ความจริงไม่ได้ฝาก พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ที่ 2 เหล่านี้ถ้าหากจำเลยที่ 4 ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามคำสั่งของโจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 ก็ไม่อาจทุจริตได้ การที่จำเลยที่ 4 ละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ตนมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติ จนเป็นเหตุให้เงินของโจทก์ขาดหายไปโดยการทุจริตของผู้ใต้บังคับบัญชาเช่นนี้ เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อ จำเลยที่ 4 จึงต้องชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์
ตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2503 มาตรา 29 บัญญัติให้ผู้ว่าการเป็นผู้บริหารกิจการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคให้เป็นไปตามนโยบายที่คณะกรรมการกำหนดและมีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานทุกตำแหน่ง มาตรา 30 บัญญัติว่า ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกให้ผู้ว่าการเป็นผู้กระทำในนามของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และเป็นผู้กระทำการแทนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ส่วนคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคนั้นมาตรา 23 บัญญัติให้มีอำนาจหน้าที่วางนโยบายและควบคุมดูแลกิจการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ดังนี้ การบริหารก็คือการปกครองและดำเนินการหรือการจัดการ และการฟ้องคดีในนามของนิติบุคคลก็คือการจัดการหรือการดำเนินการนั่นเอง หาใช่การควบคุมดูแลกิจการของนิติบุคคลไม่ อำนาจฟ้องในนามของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจึงเป็นอำนาจของผู้ว่าการไม่ใช่อำนาจของคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ผู้ว่าการของโจทก์จึงมีอำนาจมอบอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องคดีในนามของโจทก์ได้
เดิมโจทก์มีคำสั่งจ้างจำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างรายวัน ต่อมาจึงได้มีคำสั่งบรรจุและแต่งตั้งจำเลยที่ 2 เป็นพนักงานของโจทก์ จำเลยที่ 7ที่ 8 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์เมื่อจำเลยที่ 2 เข้าทำงาน เป็นลูกจ้างรายวัน เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับการบรรจุและ แต่งตั้งเป็นพนักงานประจำแล้วมิได้มีการทำสัญญาค้ำประกันใหม่อีก คดีได้ความว่าลูกจ้างชั่วคราวที่ได้รับการบรรจุเป็นพนักงานจะต้อง ยื่นใบสมัครและ ทำสัญญาค้ำประกันอีก เช่นนี้ ที่จำเลยที่ 7 ที่ 8 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์ไว้นั้น คู่สัญญามีเจตนา ให้จำเลยที่ 7 ที่ 8 ค้ำประกันจำเลยที่ 2 ในฐานะลูกจ้างรายวันเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานประจำ ไม่ได้มีการทำสัญญาค้ำประกันใหม่อีก และจำเลยที่ 2 ทำละเมิด ต่อโจทก์ในระหว่างเป็นพนักงานประจำ โจทก์จะนำสัญญาค้ำประกัน ดังกล่าวมาเป็นข้ออ้างให้จำเลยที่ 7 ที่ 8 รับผิดต่อโจทก์ในฐานะ ผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 2 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3278/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย้งเรื่องการมอบอำนาจ และสิทธิในเครื่องหมายการค้า การลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้าทำให้เกิดความเสียหาย
การที่จะตีความเอกสารฉบับใดเพื่อให้ได้ความหมายที่ถูกต้องแท้จริงจะพิจารณาจากข้อความเพียงประโยคใดตอนใด แล้วสรุปความหมายเอาหาได้ไม่ จำต้องพิเคราะห์จากถ้อยคำ ทั้งหมดในเอกสารนั้นประมวลเข้าด้วยกันจึงจะสามารถทราบ ความหมายที่แท้จริงได้ โดยเฉพาะถ้อยคำที่แปลและเรียบเรียง จากภาษาต่างประเทศมาเป็นภาษาไทยการใช้ถ้อยคำอาจไม่ตรงกัน แต่มีความหมายในทำนองเดียวกัน เกี่ยวกับการมอบอำนาจให้ ฟ้องคดีนี้ถ้อยคำที่เกี่ยวข้องคือ "เพื่อป้องกัน เครื่องหมายการค้าของ ข้าพเจ้าให้พ้นจากการปลอมแปลงเลียนแบบ จะโดยทางศาลแพ่งหรือกระบวนพิจารณาอาญารวมทั้ง ให้มีอำนาจที่จะกระทำการต่อสู้ในการเรียกร้องฟ้องแย้งหรือ ผู้ขอเรียกร้องที่แยกออก ประนีประนอมยอมความหรือตกลงกัน เกี่ยวกับการพิจารณาใดๆเช่นว่ามาแล้ว เพื่อให้ เป็นไป ตามความมุ่งหมายที่ได้กล่าวมาแล้วให้มีอำนาจ ไป กระทำการ และปรากฏตัวเพื่อและในนามของข้าพเจ้ายัง สำนักงานรัฐบาลแห่งประเทศไทยหรือสถานที่อื่นใด หรือที่ศาลสถิตย์ยุติธรรม "ถ้อยคำ ทั้งหมดดังกล่าวที่ว่า มอบอำนาจเพื่อป้องกันเครื่องหมายการค้าให้พ้น จากการปลอมแปลง เลียนแบบโดยทางศาลแพ่ง รวมทั้งมีอำนาจต่อสู้ เรียกร้อง ฟ้องแย้งก็มีความหมายชัดแจ้งถึงว่าให้มีอำนาจฟ้องคดีแพ่งเพื่อป้องกันสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์แทนโจทก์นั่นเอง จะตีความ ว่าเพียงมีอำนาจให้ฟ้องแย้งเพียงอย่างเดียว ย่อมไม่ได้ โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "BOSS" ใช้กับสินค้าประเภทเครื่องเขียนไว้ที่ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันตั้งแต่พ.ศ. 2518 และบริษัทซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยได้ สั่งสินค้าประเภทนี้ของโจทก์เข้ามาขายในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ.2517 ก่อนมีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า 1 ปี นอกจากนี้โจทก์ยังได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ในประเทศ ต่างๆ อีกหลายประเทศทั้งได้มีการโฆษณาถึงคุณภาพสินค้า สำหรับประเทศไทยทำผ่านบริษัทซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่าย โจทก์ เป็นผู้คิด ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าคำว่า "BOSS" ขึ้น มาใช้กับสินค้าของโจทก์ก่อนจำเลยจะผลิตสินค้าของจำเลย ประเภทเดียวกันนี้เป็นเวลาหลายปี เมื่อจำเลยใช้ เครื่องหมายการค้าคำว่า "BOSS" กับสินค้าจำพวกเดียวกันมีลักษณะเหมือนและคล้ายของโจทก์โดยรู้ถึงว่าสินค้าของ โจทก์ประเภทนี้มีเครื่องหมายการค้าคำว่า "BOSS" จำหน่าย อยู่ในประเทศไทยแล้ว แม้จำเลยจะนำเครื่องหมายการค้าคำว่า "BOSS" ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าใน ประเทศไทยไว้ก่อน ก็หาทำให้จำเลยมีสิทธิดีกว่าโจทก์ผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นไม่ ฎีกาปัญหาข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การและไม่ เป็นประเด็นแห่งคดี จึงไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากัน มาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า"BOSS" ดีกว่า จำเลย จำเลยเป็นฝ่ายลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไป ลวงขาย ทำให้ผู้ซื้อสินค้า หลงผิดซื้อสินค้าจำเลยโดยเข้าใจ ผิดว่าเป็นของโจทก์ โจทก์ย่อมเป็นฝ่าย ได้รับความเสียหาย และ ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายเอาได้ตามพระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้าพุทธศักราช2474 มาตรา 29 วรรคสอง และ ศาลมีอำนาจ กำหนดให้ตามสมควรแก่พฤติการณ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3278/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจฟ้องคดีและสิทธิในเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความหมายของเอกสารและการลอกเลียนแบบ
การที่จะตีความเอกสารฉบับใดเพื่อให้ได้ความหมายที่ถูกต้องแท้จริงจะพิจารณาจากข้อความเพียงประโยคใดตอนใดแล้วสรุปความหมายเอาหาได้ไม่ จำต้องพิเคราะห์จากถ้อยคำทั้งหมดในเอกสารนั้นประมวลเข้าด้วยกันจึงจะสามารถทราบ ความหมายที่แท้จริงได้ โดยเฉพาะถ้อยคำที่แปลและเรียบเรียง จากภาษาต่างประเทศมาเป็นภาษาไทยการใช้ถ้อยคำอาจไม่ตรงกัน แต่มีความหมายในทำนองเดียวกัน เกี่ยวกับการมอบอำนาจให้ ฟ้องคดีนี้ถ้อยคำที่เกี่ยวข้องคือ "เพื่อป้องกัน เครื่องหมายการค้าของ ข้าพเจ้าให้พ้นจากการปลอมแปลงเลียนแบบ จะโดยทางศาลแพ่งหรือกระบวนพิจารณาอาญารวมทั้ง ให้มีอำนาจที่จะกระทำการต่อสู้ในการเรียกร้องฟ้องแย้งหรือ ผู้ขอเรียกร้องที่แยกออก ประนีประนอมยอมความหรือตกลงกัน เกี่ยวกับการพิจารณาใดๆเช่นว่ามาแล้วเพื่อให้ เป็นไป ตามความมุ่งหมายที่ได้กล่าวมาแล้วให้มีอำนาจ ไปกระทำการ และปรากฏตัวเพื่อและในนามของข้าพเจ้ายัง สำนักงานรัฐบาลแห่งประเทศไทยหรือสถานที่อื่นใด หรือที่ศาลสถิตย์ยุติธรรม "ถ้อยคำ ทั้งหมดดังกล่าวที่ว่า มอบอำนาจเพื่อป้องกันเครื่องหมายการค้าให้พ้นจากการปลอมแปลง เลียนแบบโดยทางศาลแพ่ง รวมทั้งมีอำนาจต่อสู้ เรียกร้อง ฟ้องแย้งก็มีความหมายชัดแจ้งถึงว่าให้มีอำนาจฟ้องคดีแพ่งเพื่อป้องกันสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์แทนโจทก์นั่นเอง จะตีความ ว่าเพียงมีอำนาจให้ฟ้องแย้งเพียงอย่างเดียว ย่อมไม่ได้
โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า " BOSS " ใช้กับสินค้าประเภทเครื่องเขียนไว้ที่ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันตั้งแต่พ.ศ. 2518และบริษัทซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยได้ สั่งสินค้าประเภทนี้ของโจทก์เข้ามาขายในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ.2517 ก่อนมีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า 1 ปี นอกจากนี้โจทก์ยังได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ในประเทศ ต่างๆ อีกหลายประเทศทั้งได้มีการโฆษณาถึงคุณภาพสินค้า สำหรับประเทศไทยทำผ่านบริษัทซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่าย โจทก์ เป็นผู้คิด ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าคำว่า " BOSS " ขึ้น มาใช้กับสินค้าของโจทก์ก่อนจำเลยจะผลิตสินค้าของจำเลย ประเภทเดียวกันนี้เป็นเวลาหลายปี เมื่อจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า " BOSS " กับสินค้าจำพวกเดียวกันมีลักษณะเหมือนและคล้ายของโจทก์โดยรู้ถึงว่าสินค้าของ โจทก์ประเภทนี้มีเครื่องหมายการค้าคำว่า " BOSS " จำหน่าย อยู่ในประเทศไทยแล้ว แม้จำเลยจะนำเครื่องหมายการค้าคำว่า " BOSS " ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าใน ประเทศไทยไว้ก่อน ก็หาทำให้จำเลยมีสิทธิดีกว่าโจทก์ผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นไม่
ฎีกาปัญหาข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การและไม่ เป็นประเด็นแห่งคดี จึงไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากัน มาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า" BOSS " ดีกว่า จำเลย จำเลยเป็นฝ่ายลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไป ลวงขาย ทำให้ผู้ซื้อสินค้าหลงผิดซื้อสินค้าจำเลยโดยเข้าใจ ผิดว่าเป็นของโจทก์ โจทก์ย่อมเป็นฝ่าย ได้รับความเสียหาย และ ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายเอาได้ตามพระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้าพุทธศักราช2474 มาตรา 29 วรรคสองและ ศาลมีอำนาจ กำหนดให้ตามสมควรแก่พฤติการณ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2811/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจรจาต่อรองโบนัส: บันทึกความเห็นของผู้แทนยังไม่ผูกพันจำเลย ต้องมีข้อตกลงที่ชัดเจน
ข้อความซึ่งบันทึกไว้ในบันทึกผลของการเจรจาข้อเรียกร้อง ล้วนแต่เป็น ความเห็นของผู้แทนของโจทก์จำเลย ไม่มีข้อความ ตอนใดที่แสดงว่าผู้แทนจำเลยตกลงหรือให้สัญญาจะจ่าย เงินโบนัสให้แก่พนักงานปีละ 2 เท่าของเงินเดือน แม้ ผู้แทนจำเลยจะเห็นด้วยกับผู้แทนโจทก์ในการจ่ายเงินโบนัส ดังกล่าว ก็เพียงเห็นด้วยในหลักการเบื้องต้นซึ่งจะต้องเสนอ จำเลยต่อไป ไม่ใช่ข้อสัญญาหรือข้อตกลงซึ่งจะใช้บังคับกันทันที โดยเฉพาะข้อความตอนท้ายของบันทึกระบุว่า'ส่วน ขั้นตอนดำเนินการในเรื่องนี้ธนาคารฯจะได้ดำเนินการต่อไป'แสดงว่าความเห็นของทั้งสองฝ่ายยังไม่ผูกพันคู่กรณี เพราะ จำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนเพื่อให้ความเห็นมีผลใช้บังคับ ถือไม่ได้ว่าข้อเรียกร้องนั้นสามารถตกลงกันได้ แล้ว บันทึกดังกล่าวจึงไม่มีสภาพเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับ สภาพการจ้างซึ่งจำเลยจะต้องปฏิบัติตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2811/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเรื่องโบนัสยังไม่ผูกพัน จำเป็นต้องมีขั้นตอนดำเนินการเพิ่มเติม
ข้อความซึ่งบันทึกไว้ในบันทึกผลของการเจรจาข้อเรียกร้อง ล้วนแต่เป็น ความเห็นของผู้แทนของโจทก์จำเลย ไม่มีข้อความ ตอนใดที่แสดงว่าผู้แทนจำเลยตกลงหรือให้สัญญาจะจ่าย เงินโบนัสให้แก่พนักงานปีละ 2 เท่าของเงินเดือน แม้ ผู้แทนจำเลยจะเห็นด้วยกับผู้แทนโจทก์ในการจ่ายเงินโบนัส ดังกล่าว ก็เพียงเห็นด้วยในหลักการเบื้องต้นซึ่งจะต้องเสนอ จำเลยต่อไป ไม่ใช่ข้อสัญญาหรือข้อตกลงซึ่งจะใช้ บังคับกัน ทันที โดยเฉพาะข้อความตอนท้ายของบันทึกระบุว่า 'ส่วน ขั้นตอนดำเนินการในเรื่องนี้ธนาคารฯจะได้ดำเนินการต่อไป'แสดงว่าความเห็นของทั้งสองฝ่ายยังไม่ผูกพันคู่กรณี เพราะ จำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนเพื่อให้ความเห็นมีผล ใช้บังคับ ถือไม่ได้ว่าข้อเรียกร้องนั้นสามารถตกลงกันได้ แล้ว บันทึกดังกล่าวจึงไม่มีสภาพเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับ สภาพการจ้างซึ่งจำเลยจะต้องปฏิบัติตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2629/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ่ายค่าชดเชยของนายจ้างผูกพันตามกฎหมาย แม้ลูกจ้างลาออกเอง แต่ไม่รวมถึงสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
จำเลยประกาศสัญญาว่าจะจ่ายค่าชดเชยตามอายุการทำงานแก่ลูกจ้างซึ่งลาออกโดยสมัครใจ ถ้อยคำว่า 'ค่าชดเชย' ที่จำเลยใช้ในประกาศ ตรงกับถ้อยคำที่ใช้ในกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงาน ย่อมมีความหมายอย่างเดียวกันดังนี้ จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างที่สมัครใจลาออกให้ครบถ้วนตามอัตราที่กฎหมายกำหนด
จำเลยมิได้ประกาศสัญญาจะจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ลูกจ้างที่สมัครใจลาออก เมื่อลูกจ้างลาออกโดยจำเลยมิได้เลิกจ้างจำเลยไม่ต้องจ่ายเงินประเภทนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2629/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างลาออกเองมีผลผูกพันตามกฎหมาย แต่ไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
จำเลยประกาศสัญญาว่าจะจ่ายค่าชดเชยตามอายุการทำงานแก่ลูกจ้างซึ่งลาออกโดยสมัครใจถ้อยคำว่า 'ค่าชดเชย' ที่จำเลยใช้ในประกาศ ตรงกับถ้อยคำที่ใช้ในกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงาน ย่อมมีความหมายอย่างเดียวกันดังนี้จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างที่สมัครใจลาออกให้ครบถ้วนตามอัตราที่กฎหมายกำหนด จำเลยมิได้ประกาศสัญญาจะจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ลูกจ้างที่สมัครใจลาออกเมื่อลูกจ้างลาออกโดยจำเลยมิได้เลิกจ้างจำเลยไม่ต้องจ่ายเงินประเภทนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1117/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องเพิ่มจำเลยใหม่และการผูกพันตามการปฏิบัติจริงในการซื้อขาย
การแก้ไขคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา179 จะต้องเป็นการแก้ไขข้อหา ข้ออ้างที่มีต่อจำเลยคือตัวบุคคลที่จะต้อง ระบุไว้แน่ชัดตามมาตรา 55,67 โดยการเพิ่มหรือลดทุนทรัพย์ หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทในฟ้องเดิมหรือสละข้อหาในฟ้องเดิม ประกอบด้วยมาตราบางข้อ หรือเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ ดังนั้น การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอเพิ่มชื่อ ซ. เข้ามาเป็นจำเลยในภายหลังจึงเท่ากับเป็นการฟ้องบุคคลอื่นเป็นจำเลยเพิ่มเข้ามาในคดีอีกคนหนึ่ง จึงมิใช่เป็นเรื่องขอแก้ไขคำฟ้องตามนัยแห่งบทกฎหมายดังกล่าว
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับ ความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาว่าโจทก์ ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะเหตุนี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามมาตรา 142(5) แม้โจทก์จำเลยจะมีข้อตกลงกันว่า ในการสั่งซื้อสินค้าและลงชื่อรับสินค้าจะกระทำได้เฉพาะจำเลยที่ 2 ก็ตาม แต่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ส. พนักงานของจำเลยเคยลงชื่อเป็นผู้รับสินค้าแทนจำเลยและจำเลยก็ได้ชำระราคาสินค้านั้น จึงเป็นเรื่องที่คู่กรณีสมัครใจซื้อขายโดยมิได้คำนึงถึงตัวบุคคล ผู้มีอำนาจสั่งซื้อหรือรับสินค้าตามข้อตกลงทั้งสองฝ่ายย่อมจะต้อง ผูกพันตามที่ได้ปฏิบัติต่อกัน
of 56