พบผลลัพธ์ทั้งหมด 554 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1117/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องเพิ่มจำเลยใหม่และการผูกพันตามการปฏิบัติจริงในการซื้อขาย
การแก้ไขคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา179 จะต้องเป็นการแก้ไขข้อหา ข้ออ้างที่มีต่อจำเลยคือตัวบุคคลที่จะต้อง ระบุไว้แน่ชัดตามมาตรา 55,67 โดยการเพิ่มหรือลดทุนทรัพย์ หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทในฟ้องเดิมหรือสละข้อหาในฟ้องเดิม ประกอบด้วยมาตราบางข้อ หรือเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ ดังนั้น การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอเพิ่มชื่อ ซ. เข้ามาเป็นจำเลยในภายหลังจึงเท่ากับเป็นการฟ้องบุคคลอื่นเป็นจำเลยเพิ่มเข้ามาในคดีอีกคนหนึ่ง จึงมิใช่เป็นเรื่องขอแก้ไขคำฟ้องตามนัยแห่งบทกฎหมายดังกล่าว
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับ ความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาว่าโจทก์ ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะเหตุนี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามมาตรา 142(5) แม้โจทก์จำเลยจะมีข้อตกลงกันว่า ในการสั่งซื้อสินค้าและลงชื่อรับสินค้าจะกระทำได้เฉพาะจำเลยที่ 2 ก็ตาม แต่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ส. พนักงานของจำเลยเคยลงชื่อเป็นผู้รับสินค้าแทนจำเลยและจำเลยก็ได้ชำระราคาสินค้านั้น จึงเป็นเรื่องที่คู่กรณีสมัครใจซื้อขายโดยมิได้คำนึงถึงตัวบุคคล ผู้มีอำนาจสั่งซื้อหรือรับสินค้าตามข้อตกลงทั้งสองฝ่ายย่อมจะต้อง ผูกพันตามที่ได้ปฏิบัติต่อกัน
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับ ความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาว่าโจทก์ ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะเหตุนี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามมาตรา 142(5) แม้โจทก์จำเลยจะมีข้อตกลงกันว่า ในการสั่งซื้อสินค้าและลงชื่อรับสินค้าจะกระทำได้เฉพาะจำเลยที่ 2 ก็ตาม แต่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ส. พนักงานของจำเลยเคยลงชื่อเป็นผู้รับสินค้าแทนจำเลยและจำเลยก็ได้ชำระราคาสินค้านั้น จึงเป็นเรื่องที่คู่กรณีสมัครใจซื้อขายโดยมิได้คำนึงถึงตัวบุคคล ผู้มีอำนาจสั่งซื้อหรือรับสินค้าตามข้อตกลงทั้งสองฝ่ายย่อมจะต้อง ผูกพันตามที่ได้ปฏิบัติต่อกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3572/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งมอบสินค้าและการคำนวณค่าปรับสัญญาซื้อขาย: การส่งมอบสินค้าที่กรมขนส่งทหารอากาศถือเป็นการส่งมอบตามสัญญา
สัญญาซื้อขายมีความว่า ผู้ขายจะส่งมอบสิ่งของที่ซื้อขายให้แก่ผู้ซื้อ ณ กรมขนส่งทหารอากาศ ให้ถูกต้องและครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในสัญญา และสิ่งของที่ซื้อนั้นผู้ขายสั่งเข้ามาจากต่างประเทศในราคาที่ไม่รวมภาษีขาเข้าและภาษีอื่นๆ ทั้งสิ้น โดยมีเงื่อนไขที่ผู้ขายต้องปฏิบัติตามเกี่ยวกับการขอยกเว้นอากรศุลกากรขาเข้าว่า เมื่อศุลกากรปล่อยของแล้วให้ผู้ขายนำเก็บในคลังของผู้ซื้อทันที ห้ามนำเข้าไปเก็บในที่เก็บของผู้ขาย และการเปิดหีบห่อจะทำได้ต่อเมื่อผู้ซื้อยินยอมเท่านั้น เห็นได้ว่าเมื่อสิ่งของนั้นถูกส่งจากต่างประเทศมาถึงประเทศไทย ผู้ขายไม่มีโอกาสตรวจสอบความสมบูรณ์เรียบร้อยของสิ่งของก่อนส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อเลย ดังนี้ เมื่อผู้ขายนำสิ่งของไปส่งที่กรมขนส่งทหารอากาศย่อมถือได้ว่าผู้ขายส่งมอบสิ่งของที่ซื้อขายให้ผู้ซื้อแล้ว โดยหาจำต้องให้กรรมการตรวจรับของยอมรับไว้ใช้ในราชการเสียก่อนจึงจะถือว่าเป็นการส่งมอบตามสัญญาไม่
ส่วนข้อสัญญาที่ว่า ในกรณีที่ผู้ขายส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ถูกต้อง หรือส่งมอบไม่ครบจำนวน ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ ถ้าไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนั้น คำว่า "สิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบ"หมายถึงราคาสิ่งของส่วนที่ผู้ขายยังไม่ได้ส่งมอบเท่านั้น มิได้หมายถึงราคาสิ่งของที่ซื้อขายกันทั้งหมด
ส่วนข้อสัญญาที่ว่า ในกรณีที่ผู้ขายส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ถูกต้อง หรือส่งมอบไม่ครบจำนวน ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ ถ้าไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนั้น คำว่า "สิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบ"หมายถึงราคาสิ่งของส่วนที่ผู้ขายยังไม่ได้ส่งมอบเท่านั้น มิได้หมายถึงราคาสิ่งของที่ซื้อขายกันทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3572/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งมอบสินค้า การคำนวณค่าปรับจากสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบ และขอบเขตการส่งมอบที่ถูกต้องตามสัญญา
สัญญาซื้อขายมีความว่า ผู้ขายจะส่งมอบสิ่งของที่ซื้อขายให้แก่ผู้ซื้อ ณ กรมขนส่งทหารอากาศ ให้ถูกต้องและครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในสัญญา และสิ่งของที่ซื้อนั้นผู้ขายสั่งเข้ามาจากต่างประเทศในราคาที่ไม่รวมภาษีขาเข้าและภาษีอื่น ๆ ทั้งสิ้น โดยมีเงื่อนไขที่ผู้ขายต้องปฏิบัติตามเกี่ยวกับการขอยกเว้นอากรศุลกากรขาเข้าว่า เมื่อศุลกากรปล่อยของแล้วให้ผู้ขายนำเก็บในคลังของผู้ซื้อทันที ห้ามนำเข้าไปเก็บในที่เก็บของผู้ขาย และการเปิดหีบห่อจะทำได้ต่อเมื่อผู้ซื้อยินยอมเท่านั้น เห็นได้ว่าเมื่อสิ่งของนั้นถูกส่งจากต่างประเทศมาถึงประเทศไทย ผู้ขายไม่มีโอกาสตรวจสอบความสมบูรณ์เรียบร้อยของสิ่งของก่อนส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อเลย ดังนี้ เมื่อผู้ขายนำสิ่งของไปส่งที่กรมขนส่งทหารอากาศย่อมถือได้ว่าผู้ขายส่งมอบสิ่งของที่ซื้อขายให้ผู้ซื้อแล้ว โดยหาจำต้องให้กรรมการตรวจรับของยอมรับไว้ใช้ในราชการเสียก่อนจึงจะถือว่าเป็นการส่งมอบตามสัญญาไม่
ส่วนข้อสัญญาที่ว่า ในกรณีที่ผู้ขายส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ถูกต้องหรือส่งมอบไม่ครบจำนวน ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ถ้าไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนั้น คำว่า "สิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบ "หมายถึงราคาสิ่งของส่วนที่ผู้ขายยังไม่ได้ส่งมอบเท่านั้น มิได้หมายถึงราคาสิ่งของที่ซื้อขายกันทั้งหมด
ส่วนข้อสัญญาที่ว่า ในกรณีที่ผู้ขายส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ถูกต้องหรือส่งมอบไม่ครบจำนวน ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ถ้าไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนั้น คำว่า "สิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบ "หมายถึงราคาสิ่งของส่วนที่ผู้ขายยังไม่ได้ส่งมอบเท่านั้น มิได้หมายถึงราคาสิ่งของที่ซื้อขายกันทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2210/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาแท้จริงในสัญญาเช่า, การบอกเลิกสัญญา, และสิทธิในสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินเช่า
โจทก์จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินเป็นหนังสือ เจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาย่อมเห็นได้จากเอกสารหรือหนังสือนั้น ถ้าข้อความในสัญญาชัดแล้วย่อมไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีการตีความการแสดงเจตนา และจะนำสืบพยานบุคคลว่าคู่สัญญามีเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าข้อความในสัญญาหาได้ไม่
หนังสือสัญญาเช่าที่ดินมีกำหนดเวลาเช่าไว้แน่นอน 1 ปี ย่อมไม่อาจตีความว่าโจทก์จำเลยมีเจตนาอันแท้จริงที่จะต่ออายุสัญญาเช่ากันทุกๆ ปี ซึ่งบังคับโจทก์ให้เช่าได้ และข้อความในสัญญาเช่าที่ว่า "การต่ออายุสัญญาเช่า ผู้เช่าย่อมชำระค่าธรรมเนียมต่อสัญญาหรือทำสัญญาใหม่ในอัตราร้อยละ 20 ของค่าเช่า 1 เดือน ต่อ 1 ปี" เพียงแต่กำหนด ว่าจำเลยจะยอมชำระค่าธรรมเนียมให้โจทก์ ในกรณีที่มีการต่ออายุสัญญาหรือทำสัญญาใหม่ ส่วนจะมีการต่ออายุสัญญา หรือทำสัญญาใหม่หรือไม่ อยู่ที่การตกลงระหว่างโจทก์จำเลย มิได้บังคับว่าโจทก์จะต้องยอมต่ออายุสัญญาเช่าให้แก่จำเลย
จำเลยปลูกสร้างโรงเรือนลงในที่ดินซึ่งเช่าจากโจทก์ แม้จะปลูกสร้างโดยสุจริต ก็เป็นการปลูกสร้างในที่ดินของผู้อื่นโดยมีสิทธิ โรงเรือนนั้นไม่กลายเป็นส่วนควบของที่ดิน และมิใช่เป็นการสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310
โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่า การที่โจทก์ไม่ยอมต่ออายุ สัญญาเช่าให้จำเลยและบอกเลิกสัญญาเช่า จะถือว่าเป็นการใช้ สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าและฟ้องขับไล่โดยไม่สุจริตไม่ได้
จำเลยฎีกาขอให้ยกคำพิพากษาศาลล่าง ให้ดำเนินการชี้สองสถานและสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาใหม่ มิได้ขอให้พิพากษาให้จำเลยชนะคดี ต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาเพียงสองร้อยบาท ตาม ตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ข้อ 2 ก. จำเลยเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกามาตามทุนทรัพย์ศาลฎีกาให้คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่จำเลย
หนังสือสัญญาเช่าที่ดินมีกำหนดเวลาเช่าไว้แน่นอน 1 ปี ย่อมไม่อาจตีความว่าโจทก์จำเลยมีเจตนาอันแท้จริงที่จะต่ออายุสัญญาเช่ากันทุกๆ ปี ซึ่งบังคับโจทก์ให้เช่าได้ และข้อความในสัญญาเช่าที่ว่า "การต่ออายุสัญญาเช่า ผู้เช่าย่อมชำระค่าธรรมเนียมต่อสัญญาหรือทำสัญญาใหม่ในอัตราร้อยละ 20 ของค่าเช่า 1 เดือน ต่อ 1 ปี" เพียงแต่กำหนด ว่าจำเลยจะยอมชำระค่าธรรมเนียมให้โจทก์ ในกรณีที่มีการต่ออายุสัญญาหรือทำสัญญาใหม่ ส่วนจะมีการต่ออายุสัญญา หรือทำสัญญาใหม่หรือไม่ อยู่ที่การตกลงระหว่างโจทก์จำเลย มิได้บังคับว่าโจทก์จะต้องยอมต่ออายุสัญญาเช่าให้แก่จำเลย
จำเลยปลูกสร้างโรงเรือนลงในที่ดินซึ่งเช่าจากโจทก์ แม้จะปลูกสร้างโดยสุจริต ก็เป็นการปลูกสร้างในที่ดินของผู้อื่นโดยมีสิทธิ โรงเรือนนั้นไม่กลายเป็นส่วนควบของที่ดิน และมิใช่เป็นการสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310
โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่า การที่โจทก์ไม่ยอมต่ออายุ สัญญาเช่าให้จำเลยและบอกเลิกสัญญาเช่า จะถือว่าเป็นการใช้ สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าและฟ้องขับไล่โดยไม่สุจริตไม่ได้
จำเลยฎีกาขอให้ยกคำพิพากษาศาลล่าง ให้ดำเนินการชี้สองสถานและสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาใหม่ มิได้ขอให้พิพากษาให้จำเลยชนะคดี ต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาเพียงสองร้อยบาท ตาม ตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ข้อ 2 ก. จำเลยเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกามาตามทุนทรัพย์ศาลฎีกาให้คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2210/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ดิน: เจตนาคู่สัญญา, การต่ออายุ, และสิทธิในสิ่งปลูกสร้าง
โจทก์จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินเป็นหนังสือ เจตนาอันแท้จริง ของคู่สัญญาย่อมเห็นได้จากเอกสารหรือหนังสือนั้น ถ้าข้อความในสัญญาชัดแล้วย่อมไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีการ ตีความการแสดงเจตนา และจะนำสืบพยานบุคคลว่าคู่สัญญามีเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าข้อความในสัญญาหาได้ไม่
หนังสือสัญญาเช่าที่ดินมีกำหนดเวลาเช่าไว้แน่นอน 1 ปีย่อมไม่อาจตีความว่าโจทก์จำเลยมีเจตนาอันแท้จริงที่จะ ต่ออายุสัญญาเช่ากันทุกๆ ปี ซึ่งบังคับโจทก์ให้เช่าได้ และข้อความในสัญญาเช่าที่ว่า 'การต่ออายุสัญญาเช่าผู้เช่า ย่อมชำระค่าธรรมเนียมต่อสัญญาหรือทำสัญญาใหม่ ในอัตราร้อยละ 20 ของค่าเช่า 1 เดือน ต่อ 1 ปี' เพียงแต่กำหนด ว่าจำเลยจะยอมชำระค่าธรรมเนียมให้โจทก์ ในกรณีที่มีการ ต่ออายุสัญญาหรือทำสัญญาใหม่ ส่วนจะมีการต่ออายุสัญญา หรือทำสัญญาใหม่หรือไม่ อยู่ที่การตกลงระหว่างโจทก์จำเลยมิได้บังคับว่าโจทก์จะต้องยอมต่ออายุสัญญาเช่าให้แก่ จำเลย
จำเลยปลูกสร้างโรงเรือนลงในที่ดินซึ่งเช่าจากโจทก์ แม้ จะปลูกสร้างโดยสุจริต ก็เป็นการปลูกสร้างในที่ดินของผู้อื่นโดยมีสิทธิ โรงเรือนนั้นไม่กลายเป็นส่วนควบของที่ดิน และมิใช่เป็นการสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310
โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่า การที่โจทก์ไม่ยอมต่ออายุ สัญญาเช่าให้จำเลยและบอกเลิกสัญญาเช่า จะถือว่าเป็นการใช้ สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าและฟ้องขับไล่โดยไม่สุจริตไม่ได้
จำเลยฎีกาขอให้ยกคำพิพากษาศาลล่าง ให้ดำเนินการชี้สองสถานและสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาใหม่ มิได้ขอให้พิพากษาให้จำเลยชนะคดี ต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาเพียงสองร้อยบาท ตาม ตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ข้อ 2 ก. จำเลยเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกามาตามทุนทรัพย์ศาลฎีกาให้คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่จำเลย
หนังสือสัญญาเช่าที่ดินมีกำหนดเวลาเช่าไว้แน่นอน 1 ปีย่อมไม่อาจตีความว่าโจทก์จำเลยมีเจตนาอันแท้จริงที่จะ ต่ออายุสัญญาเช่ากันทุกๆ ปี ซึ่งบังคับโจทก์ให้เช่าได้ และข้อความในสัญญาเช่าที่ว่า 'การต่ออายุสัญญาเช่าผู้เช่า ย่อมชำระค่าธรรมเนียมต่อสัญญาหรือทำสัญญาใหม่ ในอัตราร้อยละ 20 ของค่าเช่า 1 เดือน ต่อ 1 ปี' เพียงแต่กำหนด ว่าจำเลยจะยอมชำระค่าธรรมเนียมให้โจทก์ ในกรณีที่มีการ ต่ออายุสัญญาหรือทำสัญญาใหม่ ส่วนจะมีการต่ออายุสัญญา หรือทำสัญญาใหม่หรือไม่ อยู่ที่การตกลงระหว่างโจทก์จำเลยมิได้บังคับว่าโจทก์จะต้องยอมต่ออายุสัญญาเช่าให้แก่ จำเลย
จำเลยปลูกสร้างโรงเรือนลงในที่ดินซึ่งเช่าจากโจทก์ แม้ จะปลูกสร้างโดยสุจริต ก็เป็นการปลูกสร้างในที่ดินของผู้อื่นโดยมีสิทธิ โรงเรือนนั้นไม่กลายเป็นส่วนควบของที่ดิน และมิใช่เป็นการสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310
โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่า การที่โจทก์ไม่ยอมต่ออายุ สัญญาเช่าให้จำเลยและบอกเลิกสัญญาเช่า จะถือว่าเป็นการใช้ สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าและฟ้องขับไล่โดยไม่สุจริตไม่ได้
จำเลยฎีกาขอให้ยกคำพิพากษาศาลล่าง ให้ดำเนินการชี้สองสถานและสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาใหม่ มิได้ขอให้พิพากษาให้จำเลยชนะคดี ต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาเพียงสองร้อยบาท ตาม ตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ข้อ 2 ก. จำเลยเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกามาตามทุนทรัพย์ศาลฎีกาให้คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1936/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาตามพินัยกรรม: การยกทรัพย์สินรวมถึงที่ดินที่สิ่งปลูกสร้างตั้งอยู่ แม้ไม่ได้ระบุในพินัยกรรม
ตามพินัยกรรม ข้อ 9 มีข้อความว่า "ตึก 2 ชั้น 1 หลัง 7 ห้อง ชั้นบนเป็นโรงแรมชายทะเล ชั้นล่างเป็นห้องแถวและเป็นทางขึ้นโรงแรมเสีย 1 ห้องให้ได้แก่....เท่านั้น" เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ตึกแถวสร้างเต็มเนื้อที่ดิน หากไม่ให้ที่ดินที่ตึกตั้งอยู่ตกแก่ผู้รับพินัยกรรมแล้วก็ต้องรื้อตึกทำให้ตึกไร้ค่าไป แสดงว่าเจ้ามรดกมีความประสงค์จะให้ตึกแถว 2 ชั้นนั้นตั้งอยู่ในที่ดินอย่างถาวรในลักษณะเป็นอสังหาริมทรัพย์ แม้ตามพินัยกรรม ข้อ 9 ดังกล่าวจะไม่กล่าวถึงที่ดินที่ตั้งตึก 2 ชั้นไว้ ต้องถือว่าเจ้ามรดกมีเจตนายกที่ดินที่ตั้งของตึกให้แก่ผู้รับพินัยกรรมด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1936/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาตามพินัยกรรม: การยกทรัพย์สินรวมถึงที่ดินที่สิ่งปลูกสร้างตั้งอยู่ แม้ไม่ได้ระบุในพินัยกรรม
ตามพินัยกรรม ข้อ 9 มีข้อความว่า 'ตึก 2 ชั้น1 หลัง 7 ห้อง ชั้นบนเป็นโรงแรมชายทะเล ชั้นล่างเป็นห้องแถวและเป็นทางขึ้นโรงแรมเสีย 1 ห้องให้ได้แก่....เท่านั้น' เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าตึกแถวสร้างเต็มเนื้อที่ดิน หากไม่ให้ที่ดินที่ตึกตั้งอยู่ตกแก่ผู้รับพินัยกรรมแล้วก็ต้องรื้อตึกทำให้ตึกไร้ค่าไป แสดงว่าเจ้ามรดกมีความประสงค์จะให้ตึกแถว 2 ชั้นนั้นตั้งอยู่ในที่ดินอย่างถาวรในลักษณะเป็นอสังหาริมทรัพย์ แม้ตามพินัยกรรม ข้อ 9 ดังกล่าวจะไม่กล่าวถึงที่ดินที่ตั้งตึก2ชั้นไว้ต้องถือว่าเจ้ามรดกมีเจตนายกที่ดินที่ตั้งของตึกให้แก่ผู้รับพินัยกรรมด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 673/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีข้อพิพาทเกี่ยวกับข้อตกลงสภาพการจ้าง และการตีความข้อตกลงเรื่องอัตราเงินเดือน
การที่มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้แรงงานจังหวัดเป็นผู้ตีความนั้น มิได้มีข้อห้ามมิให้นำข้อตกลงดังกล่าวมาฟ้องต่อศาล โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาในปัญหาเกี่ยวกับการตีความข้อตกลงซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายได้
เมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดว่า การปรับเงินเดือนให้ถือเกณฑ์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในชั้นที่สูงกว่านั้น หมายความว่าให้ปรับอัตราเงินเดือนเดิมของลูกจ้างให้เท่ากับอัตราเงินเดือนในชั้นที่สูงกว่าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเท่านั้น หาใช่ว่าจะต้องนำอัตราเงินเดือนมากำหนดว่าอยู่ในขั้นที่เท่าใด แล้วไปเทียบให้ตรงกับขั้นที่กำหนดแล้วปรับให้สูงขึ้นอีก 1 ขั้นในบัญชีเงินเดือนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไม่
เมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดว่า การปรับเงินเดือนให้ถือเกณฑ์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในชั้นที่สูงกว่านั้น หมายความว่าให้ปรับอัตราเงินเดือนเดิมของลูกจ้างให้เท่ากับอัตราเงินเดือนในชั้นที่สูงกว่าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเท่านั้น หาใช่ว่าจะต้องนำอัตราเงินเดือนมากำหนดว่าอยู่ในขั้นที่เท่าใด แล้วไปเทียบให้ตรงกับขั้นที่กำหนดแล้วปรับให้สูงขึ้นอีก 1 ขั้นในบัญชีเงินเดือนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 673/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีข้อพิพาทเกี่ยวกับข้อตกลงสภาพการจ้าง และการตีความข้อตกลงการปรับเงินเดือน
การที่มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้แรงงานจังหวัดเป็นผู้ตีความนั้น มิได้มีข้อห้ามมิให้นำข้อตกลงดังกล่าวมาฟ้องต่อศาลโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาในปัญหาเกี่ยวกับการตีความข้อตกลงซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายได้
เมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดว่า การปรับเงินเดือนให้ถือเกณฑ์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในชั้นที่สูงกว่านั้นหมายความว่าให้ปรับอัตราเงินเดือนเดิมของลูกจ้างให้เท่ากับอัตราเงินเดือนในชั้นที่สูงกว่าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเท่านั้น หาใช่ว่าจะต้องนำอัตราเงินเดือนมากำหนดว่าอยู่ในขั้นที่เท่าใด แล้วไปเทียบให้ตรงกับขั้นที่กำหนดแล้วปรับให้สูงขึ้นอีก 1 ขั้นในบัญชีเงินเดือนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไม่
เมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดว่า การปรับเงินเดือนให้ถือเกณฑ์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในชั้นที่สูงกว่านั้นหมายความว่าให้ปรับอัตราเงินเดือนเดิมของลูกจ้างให้เท่ากับอัตราเงินเดือนในชั้นที่สูงกว่าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเท่านั้น หาใช่ว่าจะต้องนำอัตราเงินเดือนมากำหนดว่าอยู่ในขั้นที่เท่าใด แล้วไปเทียบให้ตรงกับขั้นที่กำหนดแล้วปรับให้สูงขึ้นอีก 1 ขั้นในบัญชีเงินเดือนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 229/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาก่อสร้าง, ค่าเสียหายจากการผิดสัญญา, และการคืนเงินภาษีการค้าที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
โจทก์ทำสัญญาจ้างจำเลยทำเฟอร์นิเจอร์ ต่อมาเกิดเพลิงไหม้โรงงานของจำเลย จำเลยจึงมีหนังสือถึงโจทก์ขอทำเฟอร์นิเจอร์เพียงบางรายการและขอต่ออายุสัญญาออกไป โจทก์เรียกจำเลยและผู้รับจ้างรายอื่นมาประชุมแล้วตกลงให้จำเลยทำงานตามที่ขอและให้ผู้รับจ้างรายอื่นทำงานส่วนที่จำเลยขอไม่ทำ เมื่อจำเลยทำงานเสร็จโจทก์ก็ยอมรับมอบแต่โดยดี พฤติการณ์ดังกล่าวนี้ถือได้ว่าโจทก์ จำเลย ตกลงเลิกสัญญาฉบับเดิมแล้ว
ค่าจ้างทนายความให้ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้ผิดสัญญา มิใช่ค่าเสียหายอันเกิดขึ้นจากผลที่จำเลยปฏิบัติผิดสัญญาว่าจ้างระหว่างโจทก์จำเลยโดยตรงแต่ประการใด โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาจากจำเลยได้
จำเลยรับจ้างทำเฟอร์นิเจอร์ให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุน จำเลยจึงไม่ต้องชำระภาษีการค้าในส่วนนี้ให้แก่ทางราชการ แต่ต้องใช้ให้แก่โจทก์
ค่าจ้างทนายความให้ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้ผิดสัญญา มิใช่ค่าเสียหายอันเกิดขึ้นจากผลที่จำเลยปฏิบัติผิดสัญญาว่าจ้างระหว่างโจทก์จำเลยโดยตรงแต่ประการใด โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาจากจำเลยได้
จำเลยรับจ้างทำเฟอร์นิเจอร์ให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุน จำเลยจึงไม่ต้องชำระภาษีการค้าในส่วนนี้ให้แก่ทางราชการ แต่ต้องใช้ให้แก่โจทก์