คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 132

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 554 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4785/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงื่อนเวลาชำระหนี้ในสัญญาจะซื้อขาย และการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงโดยการนำสืบพยานเพิ่มเติม
ตามสัญญาจะซื้อขายระบุว่า คู่สัญญาตกลงซื้อขายที่ดินพิพาทกันในราคาตารางวาละ 1,200 บาท และค่าบริการอีก ตารางวาละ 1,300 บาทรวมเป็นเงิน 160,000 บาท ในการจะซื้อขายนี้ โจทก์ผู้จะซื้อวางมัดจำให้จำเลยผู้จะขายไว้แล้วจำนวน 5,000 บาท ผู้จำเลยได้รับเงินมัดจำไว้ถูกต้องแล้ว โจทก์ตกลงชำระค่าที่ดินและค่าบริการที่เหลือให้แก่จำเลยเป็นรายเดือน ๆ ละ 2,676 บาทภายในวันที่ 5 ของทุก ๆ เดือน โดยเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน 2526 เป็นต้นไป โจทก์ตกลงจะนำค่าที่ดินและค่าบริการชำระให้แก่จำเลยให้ครบถ้วนภายใน 7 ปี นับแต่วันทำสัญญานี้ โจทก์จำเลยได้กำหนดวันจะไปทำการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่โจทก์ชำระค่าที่ดินและค่าบริการครบถ้วนแล้ว และตอนล่างของสัญญาดังกล่าวมีบันทึกรับผ่อนเงินดาวน์ (เงินมัดจำ) อีกจำนวน 15,000 บาทโดยจำเลยลงชื่อรับไว้ ดังนี้ สำหรับเงื่อนเวลา 7 ปี ที่สัญญาระบุให้โจทก์ชำระค่าที่ดินและค่าบริการให้ครบถ้วนนั้นเป็นเงื่อนเวลาสิ้นสุด ซึ่ง ป.พ.พ.มาตรา 192วรรคหนึ่ง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ากำหนดไว้เพื่อประโยชน์แก่ลูกหนี้ คือโจทก์ในภาระหน้าที่ที่จะต้องชำระค่าที่ดินและค่าบริการแก่จำเลย ดังนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะชำระค่าที่ดินและค่าบริการให้เสร็จสิ้นภายในเวลาใดก็ได้ แต่ต้องอยู่ภายในเวลา 7 ปีตามสัญญาเท่านั้น
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อขาย โดยทำหลักฐานเป็นหนังสือและสัญญาในข้อ 1 ระบุเพียงว่า ราคาที่ดินและค่าบริการรวมเป็นเงิน 160,000 บาทการที่จำเลยที่ 1 นำสืบว่า เงินค่าที่ดินและค่าบริการจำนวน 160,000 บาท เป็นราคาเงินสด และสัญญาข้อ 2 ก็ระบุว่าผ่อนชำระค่าที่ดินและค่าบริการ เมื่อโจทก์เลือกผ่อนชำระราคาดังกล่าว ต้องมีดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นด้วย จึงเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร ต้องห้ามมิให้นำสืบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1215/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ซ่อมแซมทรัพย์สินเช่า, สิทธิไม่ชำระค่าเช่าเมื่อทรัพย์สินชำรุด, สันนิษฐานการชำระหนี้
สัญญาเช่าโรงภาพยนตร์ข้อหนึ่งซึ่งมีข้อความว่า "ผู้เช่าสัญญา ว่าจะจัดการดูแลรักษาทรัพย์สินที่เช่าให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อย และบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้เสมอด้วยค่าใช้จ่ายของผู้เช่าเอง หากมีการชำรุดบกพร่อง แตกหักเสียหายด้วยประการใด ๆผู้เช่าจะต้องรีบแจ้งให้ผู้ให้เช่าทราบทันที และดำเนินการซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพเดิมด้วยค่าใช้จ่ายของผู้เช่าเองทั้งสิ้น" นั้น หมายถึง การซ่อมแซมบำรุงรักษาตามปกติและเป็นการซ่อมแซมเล็กน้อยเท่านั้น ผู้เช่าจึงจะมีหน้าที่ซ่อมแซมทรัพย์สินที่เช่า แต่ปรากฏว่าอาคาร โรงภาพยนตร์ทรุด และพื้นคอนกรีตแตกร้าวเสียหายมากหลายแห่ง เป็นความเสียหายร้ายแรงจนอาจเกิดการพังทลายเป็นอันตรายแก่ ผู้เข้าชมภาพยนตร์ได้ จึงเป็นเรื่องมีความจำเป็นและสมควรที่จะต้อง ซ่อมแซมใหญ่อย่างรีบด่วนเพื่อรักษาโรงภาพยนตร์อันเป็นทรัพย์สิน ที่เช่าให้สามารถใช้การต่อไปไม่ให้พังทลายไปเสียก่อนมิใช่กรณี ต้องซ่อมแซมเพียงเล็กน้อย ผู้ให้เช่าจึงมีหน้าที่ต้องซ่อมแซม ทรัพย์สินที่เช่าตาม ป.พ.พ.มาตรา 547 หาใช่หน้าที่ของผู้เช่าไม่ โจทก์อ้างว่าจำเลยค้างชำระค่าเช่าเดือนกันยายน 2525 แต่โจทก์รับค่าเช่าจากจำเลยโดยไม่ได้ทวงถามค่าเช่าเดือนดังกล่าวจนล่วงเลยมา ถึงเดือนกันยายน 2526 การรับเงินค่าเช่าโจทก์ได้ออกใบรับเงินให้จำเลยทุกครั้ง กรณีจึงต้องด้วยบทสันนิษฐานของ ป.พ.พ. มาตรา 327 ที่ว่าในกรณีชำระดอกเบี้ยหรือชำระหนี้อย่างอื่นอันมีกำหนดชำระเป็น ระยะเวลานั้น ถ้าเจ้าหนี้ออกใบเสร็จรับเงินให้เพื่อระยะหนึ่งแล้วโดย มิได้อิดเอื้อน ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ เพื่อระยะก่อน ๆ นั้นด้วยแล้ว เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานที่มี น้ำหนักมาหักล้างข้อสันนิษฐานตามกฎหมายนี้ได้ จึงต้องฟังตามบท สันนิษฐานนี้ว่าจำเลยได้ชำระค่าเช่าเดือนกันยายน 2525 ให้โจทก์แล้ว โจทก์ปิดและบูรณะปรับปรุงโรงภาพยนตร์ที่ให้เช่า จำเลยผู้เช่าจึงไม่อาจใช้โรงภาพยนตร์ดังกล่าวฉายภาพยนตร์ได้ตามสิทธิการเช่าของตน สัญญาเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทน จำเลยย่อมมีสิทธิไม่ยอมชำระค่าเช่า ในระหว่างที่โรงภาพยนตร์ต้องปิดได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 369 เมื่อศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่า การที่โจทก์ไม่ซ่อมแซมทรัพย์สินที่ให้จำเลยเช่า ทำให้จำเลยเสียหาย แต่ค่าเสียหายของจำเลย จำเลยไม่สามารถแสดงได้ ไม่พิพากษาให้จำเลยได้รับค่าเสียหายแล้ว กรณีจึงไม่มีความจำเป็นที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยว่า ฟ้องแย้ง เรียกค่าเสียหายดังกล่าวของจำเลยขาดอายุความหรือไม่ เพราะ เป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1215/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ซ่อมแซมทรัพย์สินเช่า, สิทธิไม่ชำระค่าเช่าเมื่อเจ้าของไม่ปฏิบัติตามสัญญา, และผลของการรับเงินค่าเช่า
สัญญาเช่าโรงภาพยนตร์ข้อหนึ่งซึ่งมีข้อความว่า "ผู้เช่าสัญญาว่าจะจัดการดูแลรักษาทรัพย์สินที่เช่าให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อย และบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้เสมอด้วยค่าใช้จ่ายของผู้เช่าเอง หากมีการชำรุดบกพร่อง แตกหักเสียหายด้วยประการใด ๆ ผู้เช่าจะต้องรีบแจ้งให้ผู้ให้เช่าทราบทันที และดำเนินการซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพเดิมด้วยค่าใช้จ่ายของผู้เช่าเองทั้งสิ้น" นั้น หมายถึงการซ่อมแซมบำรุงรักษาตามปกติและเป็นการซ่อมแซมเล็กน้อยเท่านั้น ผู้เช่าจึงจะมีหน้าที่ซ่อมแซมทรัพย์สินที่เช่า แต่ปรากฏว่าอาคารโรงภาพยนตร์ทรุด และพื้นคอนกรีตแตกร้าวเสียหายมากหลายแห่ง เป็นความเสียหายร้ายแรงจนอาจเกิดการพังทลายเป็นอันตรายแก่ผู้เข้าชมภาพยนตร์ได้ จึงเป็นเรื่องมีความจำเป็นและสมควรที่จะต้องซ่อมแซมใหญ่อย่างรีบด่วนเพื่อรักษาโรงภาพยนตร์อันเป็นทรัพย์สินที่เช่าให้สามารถใช้การต่อไปไม่ให้พังทลายไปเสียก่อนมิใช่กรณีต้องซ่อมแซมเพียงเล็กน้อย ผู้ให้เช่าจึงมีหน้าที่ต้องซ่อมแซมทรัพย์สินที่เช่าตาม ป.พ.พ.มาตรา 547 หาใช่หน้าที่ของผู้เช่าไม่
โจทก์อ้างว่าจำเลยค้างชำระค่าเช่าเดือนกันยายน 2525 แต่โจทก์รับค่าเช่าจากจำเลยโดยไม่ได้ทวงถามค่าเช่าเดือนดังกล่าวจนล่วงเลยมาถึงเดือนกันยายน 2526 การรับเงินค่าเช่าโจทก์ได้ออกใบรับเงินให้จำเลยทุกครั้ง กรณีจึงต้องด้วยบทสันนิษฐานของ ป.พ.พ. มาตรา327 ที่ว่า ในกรณีชำระดอกเบี้ยหรือชำระหนี้อย่างอื่นอันมีกำหนดชำระเป็นระยะเวลานั้น ถ้าเจ้าหนี้ออกใบเสร็จรับเงินให้เพื่อระยะหนึ่งแล้วโดยมิได้อิดเอื้อน ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้เพื่อระยะก่อน ๆ นั้นด้วยแล้ว เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักมาหักล้างข้อสันนิษฐานตามกฎหมายนี้ได้ จึงต้องฟังตามบทสันนิษฐานนี้ว่าจำเลยได้ชำระค่าเช่าเดือนกันยายน2525 ให้โจทก์แล้ว
โจทก์ปิดและบูรณะปรับปรุงโรงภาพยนตร์ที่ให้เช่า จำเลยผู้เช่าจึงไม่อาจใช้โรงภาพยนตร์ดังกล่าวฉายภาพยนตร์ได้ตามสิทธิการเช่าของตน สัญญาเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทน จำเลยย่อมมีสิทธิไม่ยอมชำราะค่าเช่าในระหว่างที่โรงภาพยนตร์ต้องปิดได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 369
เมื่อศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่า การที่โจทก์ไม่ซ่อมแซมทรัพย์สินที่ให้จำเลยเช่า ทำให้จำเลยเสียหาย แต่ค่าเสียหายของจำเลย จำเลยไม่สามารถแสดงได้ ไม่พิพากษาให้จำเลยได้รับค่าเสียหายแล้ว กรณีจึงไม่มีความจำเป็นที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยว่า ฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายดังกล่าวของจำเลยขาดอายุความหรือไม่ เพราะเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 155/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อแตกต่างระหว่างสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขกับสัญญาเช่าซื้อ และอำนาจฟ้องของตัวแทน
สัญญาระบุว่าเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข โดยมีข้อตกลงว่า กรรมสิทธิ์ในรถยนต์จะตกไปอยู่แก่ผู้ซื้อเมื่อผู้ซื้อชำระราคา ตามเงื่อนไขครบถ้วนและในกรณีที่ผู้ซื้อผิดนัดขาดการชำระเงินงวดใด ผู้ขายมีสิทธิที่จะเรียก ให้ผู้ซื้อชำระราคาที่เหลืออยู่โดยพลัน ซึ่งแตกต่างจากบทบัญญัติเรื่องเช่าซื้อตาม ป.พ.พ. มาตรา 572 และ มาตรา 574 ในสาระสำคัญ จึงเป็น สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขดังที่ระบุไว้ในสัญญา มิใช่สัญญาเช่าซื้อตามที่จำเลยอ้าง โจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ม.มีอำนาจจดทะเบียนและโอนทะเบียนรถยนต์ไปยังผู้ซื้อแทนโจทก์ได้ ม.จึงมีอำนาจลงลายมือชื่อในสัญญาซื้อขายแทนโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5476/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตพินัยกรรมจำกัดเฉพาะทรัพย์สินในต่างประเทศ ผู้จัดการมรดกไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินที่ไม่ได้ระบุ
ผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้ จ. โดยให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดก ในพินัยกรรมมีการกรอกข้อความในช่องทรัพย์สินระบุเฉพาะทรัพย์สินที่มีอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้น ไม่ได้ระบุถึงทรัพย์สินที่มีอยู่ในประเทศไทย ทั้งหลังคำว่าอื่น ๆ ก็เว้นว่างไว้ แสดงว่าผู้ตายประสงค์จะยกทรัพย์สินเฉพาะที่ระบุในพินัยกรรมให้ จ. เท่านั้น ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายตามคำสั่งศาลสูงของมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกาจึงไม่มีส่วนได้เสียที่จะขอให้ถอนผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการทรัพย์มรดกในประเทศไทยของผู้ตาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5598/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดชอบค่าภาษีตามสัญญาเช่า: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ไม่ระบุในสัญญา
จำเลยได้ลงทุนก่อสร้างโรงแรมแล้วยกกรรมสิทธิ์ในสิ่งก่อสร้างให้แก่เจ้าของที่ดิน โดยมีข้อตกลงว่า จำเลยมีสิทธิเช่าโรงแรมที่ก่อสร้างเพื่อดำเนินกิจการโรงแรมเป็นเวลา 16 ปี 6 เดือน และตลอดเวลาการเช่า จำเลยจะเป็นผู้ชำระค่าภาษีโรงเรือน ภาษีการค้าหรือภาษีอื่นใด และภาษีส่วนที่ทางราชการประเมินสูงกว่าที่ปรากฏในสัญญาเช่า การที่จำเลยยกกรรมสิทธิ์ในที่ก่อสร้างให้แก่เจ้าของที่ดินนี้ กรมสรรพากรถือว่าเป็นรายได้พึงประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของเจ้าของที่ดิน เจ้าของที่ดินมีหน้าที่ตามกฎหมายโดยตรงที่จะต้องเสียภาษี เมื่อพิจารณาถึงเจตนาของคู่สัญญาแล้ว ถ้าเจ้าของที่ดินมีเจตนาให้จำเลยชำระภาษีส่วนนี้แทนด้วยก็ควรจะต้องระบุไว้ให้ชัดแจ้งเพราะภาษีโรงเรือน ภาษีการค้า ยังระบุไว้ได้ หรือมิฉะนั้นระบุว่าภาษีใด ๆ ก็เพียงพอแล้วไม่ต้องระบุรายละเอียดว่าเป็นภาษีในกรณีใดบ้างอย่างเช่นที่ได้ระบุไว้ในสัญญาเช่า ทำให้เห็นเจตนาของคู่สัญญาว่ามิได้หมายความรวมถึงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วยจำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องชำระภาษีส่วนนี้แทนเจ้าของที่ดิน โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับมรดกของเจ้าของที่ดินย่อมไม่มีสิทธิยกเอาเหตุนี้มาบอกเลิกสัญญาเช่าได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5598/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาสัญญาเช่าและขอบเขตความรับผิดชอบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีจำเลยไม่ต้องรับผิดชอบแทนเจ้าของที่ดิน
จำเลยได้ลงทุนก่อสร้างโรงแรมแล้วยกกรรมสิทธิ์ในสิ่งก่อสร้างให้แก่เจ้าของที่ดิน โดยมีข้อตกลงว่า จำเลยมีสิทธิเช่าโรงแรมที่ก่อสร้างเพื่อดำเนินกิจการโรงแรมเป็นเวลา 16 ปี 6 เดือน และตลอดเวลาการเช่า จำเลยจะเป็นผู้ชำระค่าภาษีโรงเรือน ภาษีการค้า หรือภาษีอื่นใด และภาษีส่วนที่ทางราชการประเมินสูงกว่าที่ปรากฏในสัญญาเช่า การที่จำเลยยกกรรมสิทธิ์ในที่ก่อสร้างให้แก่เจ้าของที่ดินนี้ กรมสรรพากรถือว่าเป็นรายได้พึงประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของเจ้าของที่ดิน เจ้าของที่ดินมีหน้าที่ตามกฎหมายโดยตรงที่จะต้องเสียภาษี เมื่อพิจารณาถึงเจตนาของคู่สัญญาแล้ว ถ้าเจ้าของที่ดินมีเจตนาให้จำเลยชำระภาษีส่วนนี้แทนด้วยก็ควรจะต้องระบุไว้ให้ชัดแจ้งเพราะภาษีโรงเรือน ภาษีการค้า ยังระบุไว้ได้ หรือมิฉะนั้นระบุว่าภาษีใด ๆ ก็เพียงพอแล้วไม่ต้องระบุรายละเอียดว่าเป็นภาษีในกรณีใดบ้างอย่างเช่นที่ได้ระบุไว้ในสัญญาเช่า ทำให้เห็นเจตนาของคู่สัญญาว่ามิได้หมายความรวมถึงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วยจำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องชำระภาษีส่วนนี้แทนเจ้าของที่ดิน โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับมรดกของเจ้าของที่ดินย่อมไม่มีสิทธิยกเอาเหตุนี้มาบอกเลิกสัญญาเช่าได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5552/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาติดตั้งสายเทเล็กซ์: จำเลยต้องคืนเงินค่าติดตั้งหากไม่ได้ติดตั้งโดยไม่ใช่ความผิดของโจทก์
โจทก์ยื่นคำขอเช่าใช้บริการเทเลกช์ กับการสื่อสารแห่งประเทศไทยการสื่อสารแห่งประเทศไทยจึงมีหนังสือติดต่อขอเช่าคู่สายเคเบิลจากจำเลย จำเลยเรียกค่าใช้จ่ายในการติดตั้งคู่สายเคเบิลจากโจทก์7,000 บาท โจทก์ชำระให้โดยทราบเงื่อนไขการชำระเงินตามหนังสือเรื่องการสร้างคู่สายเคเบิลสำหรับบริการเทเล็กซ์ เอกสารหมาย จ.1แล้ว ปรากฏว่าจำเลยกำหนดคู่สายเพื่อจะติดตั้งแก่โจทก์แล้วแต่จำเลยได้รับหนังสือการเลิกเช่าสายเคเบิลเพื่อใช้บริการเทเล็กซ์จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเสียก่อน จึงยังไม่ได้ติดตั้งแก่โจทก์หนังสือเอกสารหมาย จ.1 นั้นมีข้อความว่า...เมื่อนำไปใช้บริการเทเล็กซ์ อาจไม่ได้รับความสะดวก จำเลยจะไม่รับผิดชอบแล้วมีข้อความต่อเนื่องเกี่ยวโยงกันว่า เมื่อโจทก์ได้ชำระค่าติดตั้งสายเทเล็กซ์แล้วเกิดขัดข้องจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ไม่สามารถติดตั้งใช้งานเทล็กซ์ได้ด้วยเหตุใดก็ตาม จำเลยสงวนสิทธิที่จะไม่คืนเงินค่าติดตั้ง แสดงเจตนารมณ์ในสัญญาว่าจำเลยมีหน้าที่ต้องติดตั้งคู่สายเทเล็กซ์ ให้การสื่อสารแห่งประเทศไทย เมื่อติดตั้งแล้วการสื่อสารแห่งประเทศไทยไม่สามารถใช้งานเทเล็กซ์ จำเลยจึงจะมีสิทธิที่จะไม่คืนเงินค่าติดตั้งได้เท่านั้น ส่วนการที่การสื่อสารแห่งประเทศไทยบอกเลิกการเช่าสายเคเบิลไปยังจำเลยโดยปรากฎใจความว่า การสื่อสารแห่งประเทศไทยแจ้งให้โจทก์นำเงินค่าสร้างคู่สายไปชำระให้จำเลยแล้วตอบรับไป แต่โจทก์ไม่ตอบรับการสื่อสารแห่งประเทศไทยจึงขอ บอกเลิกการเช่าสายเคเบิลต่อจำเลยทั้ง ๆ ที่โจทก์ยังไม่เคยรับการติดตั้งเครื่องเทเล็กซ์ แต่ประการใดการบอกเลิกสัญญาเช่นนี้ไม่ใช่ข้อขัดข้องจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยที่ไม่สามารถติดตั้งใช้งานเทเล็กซ์ ตามความหมายของหนังสือเอกสารหมายจ.1 จำเลยรับเงินค่าติดตั้งสายเคเบิลจากโจทก์แล้วไม่ได้ติดตั้งโดยไม่ใช่ความผิดของโจทก์ จำเลยต้องคืนเงินแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4725/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของตัวแทนเรือในความเสียหายจากการลากจูง: สัญญาผูกพันจำเลย
จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนเรือซาอุดี เย็นโบ ในการลากจูงเรือออกจากท่าเรือของโจทก์ จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นผู้ครอบครองเรือไม่ได้เป็นผู้ควบคุมและสั่งการเดินเรือเมื่อเกิดเหตุเรือชนท่าเรือของโจทก์ กรณีละเมิดดังกล่าวมิได้เกิดจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิด ปรากฏตามคำร้องขอเช่าเรือลากจูงจากโจทก์ของจำเลยที่ 2 ว่า"ข้าพเจ้ายอมเป็นผู้รับผิดชอบในความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นเนื่องในการลากจูงนี้ และไม่เรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ จากการท่าเรือแห่งประเทศไทยในกรณีที่มีการเสียหายเกิดขึ้นแก่เรือที่ถูกลากจูง ไม่ว่าในกรณีใด ๆ" ซึ่งหมายความว่า หากการลากจูงนั้นเกิดความเสียหายอย่างใด ๆ ขึ้นแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ยอมรับผิดชอบแต่ถ้าหากการลากจูงนั้นเกิดความเสียหายอย่างใด ๆ ขึ้นแก่เรือที่ถูกลากจูงซึ่งจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนอยู่ จำเลยที่ 2 ก็ดีฝ่ายเรือที่ถูกลากจูงก็ดี ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากโจทก์ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์หรือไม่จึงต้องดูที่ว่าความเสียหายเกิดจากการลากจูงหรือไม่เมื่อปรากฏว่าความเสียหายเกิดขึ้นขณะที่เรือลากจูงดันเรือซาอุดี เย็นโบ เข้าเทียบท่าเนื่องจากเครื่องยนต์ดับ การลากจูงยังไม่เสร็จสิ้นยังไม่พ้นจากท่าเรือของโจทก์ ขณะดัน เรือเข้าเทียบท่ายังอยู่ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบของเรือลากจูง ฉะนั้น การที่เรือลากจูงดันเรือซาอุดี เย็นโบเข้าเทียบท่าไปกระทบปั้นจั่นและโรงพักของโจทก์เสียหาย ความเสียหายที่เกิดขึ้นถือว่าเป็นความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นเนื่องในการลากจูงซึ่งจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชอบตามคำร้องขอเช่าหรือลากจูงซึ่งโจทก์ตกลงด้วยแล้ว คำร้องดังกล่าวถือเป็นสัญญาผูกพันจำเลยที่ 2 ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3945/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาแท้จริงสัญญาเช่า: เงินช่วยเหลือฯ เป็นค่าเช่าล่วงหน้า, สิทธิคืนเงินเมื่อผู้ให้เช่าผิดสัญญา
ขณะที่โจทก์จำเลยทำความตกลงเกี่ยวกับเงินค่าประกันสัญญาและเงินช่วยค่าปลูกสร้างนั้น อาคารสถานที่เช่าได้ปลูกเสร็จแล้วจึงไม่ใช่เงินช่วยค่าปลูกสร้างที่แท้จริง แต่เป็นเงินที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าให้เป็นค่าตอบแทนแก่จำเลยซึ่งเป็นผู้ให้เช่าในการที่จะให้โจทก์เช่าโดยมีกำหนดระยะเวลาเช่า 2 ปีอันเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าเช่นเดียวกับเงินกินเปล่า การตีความแสดงเจตนานั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 132 ให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนตามตัวอักษร และตามมาตรา 368 ให้ตีความตามสัญญาไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงประเพณีด้วย โดยปกติของการทำสัญญาเช่าที่ผู้เช่าต้องให้เงินกินเปล่าล่วงหน้าจำนวนหนึ่งแก่ผู้ให้เช่าก็เพื่อผู้เช่าจะได้เช่าทรัพย์ตามกำหนดระยะเวลาที่ตกลงกันไว้เป็นการตอบแทนกำหนดระยะเวลาเช่าจึงเป็นข้อสาระสำคัญแห่งสัญญาว่าหากผู้เช่าไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่า ผู้ให้เช่าก็มีหน้าที่ต้องให้ผู้เช่าเช่าจนครบเวลาที่ตกลงกัน ฉะนั้นข้อความในสัญญาเช่าที่ว่า "เงินที่ผู้เช่าได้ชำระให้แก่ผู้ให้เช่าตามสัญญานี้ไปแล้วทั้งหมดหรือบางส่วนไม่ว่าผู้เช่าจะอยู่จนครบกำหนดตามสัญญาเช่าหรือไม่ก็ตามผู้เช่าไม่มีสิทธิเรียกคืนจากผู้ใช้เช่าไม่ว่ากรณีใด ๆทั้งสิ้น" จึงใช้บังคับเฉพาะกรณีที่โจทก์ผู้เช่าเป็นฝ่ายผิดสัญญาเท่านั้น หาได้ใช้บังคับในกรณีที่จำเลยผู้ให้เช่าเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเงินดังกล่าวคืนจากจำเลย
of 56