คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 550

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1471/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้เช่าในการซ่อมแซมทรัพย์สินที่เช่าตามสัญญาเช่า และหน้าที่ของผู้ให้เช่าในการบำรุงรักษา
ตามสัญญาเช่าระหว่างโจทก์และจำเลยระบุว่าเป็นการเช่าสำหรับบ้านเช่า เฟอร์นิเจอร์และของใช้ส่วนตัวตามที่ระบุในเอกสารแนบท้าย แสดงว่าการเช่าตามสัญญาครอบคลุมไปถึงเฟอร์นิเจอร์ของใช้ส่วนตัวอื่น ๆ ด้วย มิใช่เป็นการเช่าเฉพาะตัวบ้าน ซึ่งหากมีการต้องซ่อมแซมก็ต้องหมายรวมถึงการซ่อมแซมเฟอร์นิเจอร์และของใช้ส่วนตัวต่าง ๆ ดังกล่าวด้วย
สัญญาเช่าที่ระบุว่า ผู้เช่าต้องบำรุงรักษาทรัพย์สินทั้งหมดประกอบเป็นสิ่งที่เช่าให้อยู่ในสภาพดีและเรียบร้อย เพื่อซ่อมสิ่งที่สึกหรอจากการใช้งานตามปกตินั้น หมายถึงข้อสัญญาที่ให้ผู้เช่ามีหน้าที่ต้องสงวนทรัพย์สินที่เช่าเสมอกับที่วิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเอง ต้องบำรุงรักษา และทำการซ่อมแซมเล็กน้อย ตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 553 บัญญัติไว้เท่านั้น มิได้หมายความว่าผู้เช่าจะต้องรับผิดซ่อมแซมทรัพย์ที่เช่าในทุก ๆ กรณี
สัญญาเช่าที่ระบุให้ผู้เช่ามีหน้าที่ต้องชำระค่าไฟฟ้า น้ำประปา แก๊ส โทรศัพท์และสาธารณูปโภคอื่น ๆ ทั้งหมดตามที่ถูกเรียกเก็บและต้องชำระค่าเสียหายทั้งหมดที่เกิดโดยผู้เช่าหรือครอบครัว แขก คนรับใช้ หรือสัตว์เลี้ยงของผู้เช่า ไม่มีข้อความตอนใดระบุให้เป็นข้อความรับผิดของผู้เช่าในการจัดการซ่อมแซมความชำรุดบกพร่องของทรัพย์สินที่เช่าแทนผู้ให้เช่า ทั้งรายการซ่อมแซมล้วนเป็นการซ่อมแซมใหญ่ซึ่งเป็นเรื่องความจำเป็นและสมควรเพื่อรักษาทรัพย์สินที่เช่าให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ อันเป็นหน้าที่ของจำเลยผู้ให้เช่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 547 มิใช่เป็นการบำรุงรักษาตามปกติและเพื่อซ่อมแซมเล็กน้อยอันจะตกอยู่ในความรับผิดของโจทก์ผู้เช่า จำเลยจึงเป็นฝ่ายต้องรับผิดในการซ่อมแซมดังกล่าวตามมาตรา 550

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1471/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้เช่าในการซ่อมแซมทรัพย์สินที่เช่า: ซ่อมเล็กน้อย vs. ซ่อมใหญ่
สัญญาเช่าข้อ 4 ระบุว่า ผู้เช่าต้องบำรุงรักษาทรัพย์สินทั้งหมดซึ่งประกอบเป็นสิ่งที่เช่าให้อยู่ในสภาพดีและเรียบร้อย เพื่อซ่อมสิ่งที่สึกหรอจากการใช้งานตามปกตินั้น หมายถึงข้อสัญญาที่ให้ผู้เช่ามีหน้าที่ต้องสงวนทรัพย์สินที่เช่าเสมอกับที่วิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเอง ต้องบำรุงรักษาและทำการซ่อมแซมเล็กน้อยตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 553 บัญญัติไว้เท่านั้น หาได้หมายความว่าผู้เช่าจะต้องรับผิดซ่อมแซมทรัพย์ที่เช่าในทุกๆ กรณีไม่
การซ่อมแซมใหญ่ซึ่งเป็นเรื่องความจำเป็นและสมควรเพื่อรักษาทรัพย์สินที่เช่าให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ เป็นหน้าที่ของจำเลยผู้ให้เช่าตามมาตรา 547 หาใช่เป็นการบำรุงรักษาตามปกติและเพื่อซ่อมแซมเล็กน้อยอันจะตกอยู่ในความรับผิดของโจทก์ผู้เช่าไม่ ดังนั้น จำเลยในฐานะผู้ให้เช่าจึงเป็นฝ่ายต้องรับผิดในการซ่อมแซมดังกล่าวตามมาตรา 550

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1082/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าทรัพย์: การปรับปรุงสถานที่เช่า, ความเสียหาย, และขอบเขตความรับผิดของตัวแทน
แม้โจทก์ทำสัญญาเช่าสิทธิขายอาหารและสิ่งพิมพ์ประจำสถานีรถไฟนครราชสีมากับจำเลยที่ 1 มีกำหนด 5 ปี แต่ในสัญญาดังกล่าวมีข้อตกลงว่าโจทก์ต้องรักษาที่เช่าให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยต้องไม่ปลูกสร้างต่อเติมส่วนใดส่วนหนึ่งต้องให้พนักงานของจำเลยที่ 1 ตรวจที่เช่าได้ทุกเมื่อ และต้องไม่ให้ผู้อื่นเช่าช่วงนั้นเป็นข้อสัญญาที่มิได้ให้สิทธิโจทก์ขายอาหารและสิ่งพิมพ์ในบริเวณสถานีรถไฟแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังให้สิทธิโจทก์ได้ใช้ประโยชน์ในลักษณะเป็นผู้ครอบครอง ส่วนที่เป็นบริเวณร้านขายอาหารและเคาน์เตอร์ขายสิ่งพิมพ์ซึ่งอยู่ในบริเวณสถานีรถไฟอีกด้วย ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 4 เช่าทรัพย์ดังนั้น ในระหว่างอายุสัญญาเช่าจำเลยที่ 1 จะเข้าปรับปรุงอาคารสถานีรถไฟดังกล่าวในส่วนที่เป็นร้านขายอาหารและเคาน์เตอร์ขายสิ่งพิมพ์อันเป็นสถานที่เช่าโดยปราศจากความยินยอมของโจทก์มิได้ แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 ให้ฝ่ายช่างโยธามาทุบร้านอาหารและเคาน์เตอร์ขายสิ่งพิมพ์ โจทก์ก็มิได้โต้แย้งหรือห้ามปราม ฉะนั้น การที่โจทก์มาร้องขอลดค่าเช่ากับจำเลยที่ 1 อ้างว่าไม่สามารถทำการค้าได้ตามปกติหลังจากจำเลยที่ 1 เข้าปรับปรุงอาคารแล้วถึง 1 เดือนเศษ จึงเป็นพฤติการณ์มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าโจทก์ยินยอมอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ทุบร้านอาหารและเคาน์เตอร์ขายสิ่งพิมพ์ จำเลยที่ 1 จึงไม่ผิดสัญญาในส่วนนี้ แต่เมื่อการปรับปรุงอาคารเสร็จแล้วเคาน์เตอร์ขายสิ่งพิมพ์ถูกดัดแปลงกลายสภาพเป็นห้องประชาสัมพันธ์และจำเลยที่ 1 เข้าครอบครองใช้ประโยชน์สืบมาอันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่อาจครอบครองใช้ประโยชน์ในสถานที่เช่าตามสัญญาได้ต่อไป จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานจำเลยที่ 1 กระทำการในฐานะเป็นตัวแทนเพื่อประโยชน์ในกิจการของจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 เป็นการส่วนตัว
ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทในส่วนที่โจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 คืนมัดจำให้แก่โจทก์เมื่อสัญญาเช่าสิทธิสิ้นสุดลงและได้พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในส่วนนี้ดังนั้น เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์ ปัญหาดังกล่าวจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่โจทก์ฎีกาปัญหานี้มาจึงเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4075/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันของบันทึกข้อตกลงยุติข้อพิพาท: การระงับสิทธิฟ้องคดีจากการนัดหยุดงาน
บันทึกข้อตกลงระหว่างฝ่ายโจทก์กับฝ่ายจำเลย เมื่อเป็นเพียงรายละเอียดที่ศาลแรงงานบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ทั้งฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยมิได้ส่งบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นพยาน และตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวระบุว่าบริษัทจะไม่ดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญาแก่พนักงานที่ได้กระทำความผิดเท่านั้นโดยมิได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่า บริษัทดังกล่าวหมายถึงบริษัทใดบ้าง ดังนี้แม้โจทก์ทั้งสามเป็นนิติบุคคลต่างหากจากกัน แต่กรรมการบริหารผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ทั้งสามเป็นกรรมการบริหารชุดเดียวกัน และฝ่ายจำเลยก็แถลงต่อศาลแรงงานว่า ในการทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นการทำข้อตกลงเพื่อยุติปัญหาข้อพิพาททั้งหมด ไม่ได้ทำขึ้นเฉพาะกับโจทก์ที่ 2 และที่ 3 เพราะผู้บริหารของโจทก์ทั้งสามเป็นคนเดียวกัน เช่นนี้การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยเชื่อว่าทั้งสองฝ่ายมีเจตนายุติปัญหาข้อพิพาททั้งหมดที่มีอยู่ต่อกัน และฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ที่ 1 ตกลงทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวด้วย บันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 จึงเป็นการที่ศาลแรงงานวินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงและพฤติการณ์แห่งคดีตามที่ปรากฏในสำนวน จึงย่อมมิใช่เป็นการฟังข้อเท็จจริงผิดไปจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวน
ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวระบุว่า บริษัทจะไม่ดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญาแก่พนักงานที่ได้กระทำความผิดระหว่างการนัดหยุดงานระหว่างวันที่ 3 ถึง 8 กรกฎาคม 2540 จึงเป็นการตกลงกันเพื่อระงับข้อพิพาททั้งหมดระหว่างฝ่ายโจทก์กับฝ่ายจำเลย รวมตลอดถึงการกระทำความผิดอันได้แก่การปิดกั้นทางเข้าออกโรงงานของโจทก์ที่ 1 และที่ 3 ในระหว่างการนัดหยุดงานซึ่งเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 3 กรกฎาคม 2540 จนถึงวันที่ 8 กรกฎาคม 2540 ซึ่งเป็นวันที่ฝ่ายโจทก์กับฝ่ายจำเลยตกลงทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าว แม้ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวมิได้ระบุให้การฟ้องคดีนี้ก็ตาม แต่การที่โจทก์ที่ 1 และที่ 3 ฟ้องคดีนี้ก็เนื่องจากการนัดหยุดงานในวันที่ 3 กรกฎาคม 2540 นั่นเอง ดังนั้น การตกลงดังกล่าวจึงรวมถึงการฟ้องและการดำเนินคดีนี้ด้วย มิใช่การตกลงมีผลตั้งแต่วันที่8 กรกฎาคม 2540 ซึ่งเป็นวันทำข้อตกลงเป็นต้นไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2541ความที่ระบุในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวที่ว่า ในช่วงตั้งแต่วันที่ทำข้อตกลงฉบับนี้ถึงวันที่31 ธันวาคม 2541 เพราะขัดกับข้อตกลงที่ว่า บริษัทจะไม่ดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญาแก่พนักงานที่ได้กระทำความผิดระหว่างวันที่ 3 ถึง 8 กรกฎาคม 2540ดังนั้น สิทธิการฟ้องและการดำเนินคดีนี้ของโจทก์ที่ 1 และที่ 3 ย่อมระงับไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 312/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้เช่าและผู้ให้เช่าต่อความเสียหายของทรัพย์สินที่เช่า และการหักกลบลบหนี้
จำเลยได้เช่าโป๊ะเหล็กพร้อมด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ประจำโป๊ะจำนวน 1 ลำ ในอัตราค่าเช่าเดือนละ 177,000 บาท และเช่าเครื่องกว้านพร้อมเครื่องยนต์จำนวน 1 ชุด ในอัตราค่าเช่าเดือนละ 7,500 บาท รวมค่าเช่าเดือนละ 184,500 บาท ผู้เช่ามีหน้าที่ใช้ทรัพย์สินที่เช่าด้วยความระมัดระวังตามประเพณีนิยม และมีหน้าที่สงวนรักษาทรัพย์สินที่เช่าเสมอกับที่วิญญูชนพึงสงวนรักษาทรัพย์สินของตนเอง การที่โจทก์ผู้ให้เช่าได้รับทรัพย์สินที่เช่ากลับคืนมา แต่ทรัพย์สินที่เช่าดังกล่าวได้รับความเสียหายและชำรุด โจทก์ทำการซ่อมแซมโป๊ะและเครื่องกว้านที่ชำรุดเสียหาย แต่โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าความเสียหายดังกล่าวเกิดจากความผิดของจำเลยผู้เช่า ดังนี้จึงฟังได้ว่าความชำรุดบกพร่องดังกล่าวเกิดจากการที่จำเลยผู้เช่าใช้ทรัพย์สินที่เช่าโดยชอบ โจทก์ผู้ให้เช่าย่อมต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องอันเกิดขึ้นในระหว่างเวลาเช่า และโจทก์ต้องจัดการซ่อมแซมทุกอย่างบรรดาซึ่งเป็นการจำเป็นขึ้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 550 โจทก์จึงไม่อาจเรียกค่าซ่อมโป๊ะและเครื่องกว้านจากจำเลยได้
เมื่อเลิกสัญญาเช่าแล้ว โจทก์เสียค่าใช้จ่ายในการลากจูงโป๊ะที่ให้จำเลยเช่ากลับมายังอู่ของโจทก์ ตามที่โจทก์อ้างมีข้อความระบุว่า โจทก์จะให้เรือยนต์ไปลากโป๊ะเอง แสดงว่าโจทก์สละสิทธิที่จะให้จำเลยลากโป๊ะคืนโจทก์ โจทก์จึงเรียกค่าลากโป๊ะ จากจำเลยไม่ได้
จำเลยค้างชำระค่าเช่าโป๊ะแก่โจทก์เป็นเงิน 313,650 บาทสำหรับรายการที่จำเลยอ้างว่าได้จัดซื้ออุปกรณ์ที่ใช้กับเครื่องกว้านทดแทนอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่พนักงานของโจทก์ผู้ให้เช่าได้ทำสูญหายไป เช่น แบตเตอรี่ เชือกสลิงและกิ๊ปจับสลิง รวมเป็นเงิน 66,530 บาท นั้น เมื่อปรากฏว่าพนักงานของโจทก์ได้ทำงานให้จำเลยและอยู่ในความควบคุมดูแลของจำเลย กรณีจึงถือว่าความสูญหายหรือบุบสลายเกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินที่เช่าเพราะความผิดของผู้เช่าหรือของบุคคลซึ่งอยู่กับผู้เช่า ตาม ป.พ.พ.มาตรา 562 วรรคแรก ดังนั้นเมื่อเกิดความเสียหายในส่วนนี้ขึ้น จำเลยจะเรียกร้องความเสียหายจากโจทก์ไม่ได้ และจะนำค่าเสียหายดังกล่าวไปหักกลบลบหนี้จากโจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3705/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าเรือ: อายุความ, การหักกลบลบหนี้, ค่าใช้จ่ายทดรอง และการพิสูจน์ความเสียหาย
สัญญาเช่าเรือที่โจทก์จำเลยทำกันไว้เดิมเป็นสัญญาเช่าเรือกินริกิ เมื่อเรือดังกล่าวจมลงสัญญาเช่าเรือกินริกิ ย่อมระงับไปแต่เมื่อตามเจตนา และทางปฏิบัติในระหว่างโจทก์กับจำเลยเห็นได้ว่าโจทก์และจำเลย ตกลงกันให้ถือเอาสัญญาเช่าเรือกินริกิที่ได้ทำสัญญากันไว้นั้น มาเป็นสัญญาเช่าเรือลำใหม่โดยอนุโลมและมิต้องทำสัญญากันใหม่ การเช่าเรือลำใหม่จึงต้องเป็นไปตามข้อสัญญาเช่าเรือกินริกิ ความชำรุดบกพร่องของเรือถ้าไม่เป็นเหตุถึงแก่ผู้เช่าจะต้อง ปราศจากการใช้และประโยชน์ ทั้งผู้ให้เช่ายังแก้ไขได้กรณีไม่เข้าเกณฑ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 548แต่เป็นไปตาม มาตรา 551 ที่ผู้เช่าจะต้องบอกกล่าวแก่ผู้ให้เช่าให้จัดการแก้ไข ความชำรุดบกพร่องนั้นก่อนเมื่อปรากฏว่าก่อนมีการบอกเลิกสัญญา จำเลยผู้เช่าไม่เคยบอกกล่าวให้โจทก์ผู้ให้เช่าจัดการแก้ไข ความชำรุดบกพร่องมาก่อนเลยการบอกเลิกสัญญาของจำเลยจึงไม่ชอบ หลังจากบอกเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้วจำเลยได้ส่งมอบเรือที่เช่าคืน ให้แก่โจทก์โดยไม่ยอมเช่าเรือดังกล่าวอีกต่อไปจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา และชอบที่จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์แต่โจทก์มิได้ ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยกลับเรียกร้องค่าเช่าที่ยังไม่ครบกำหนด ตามสัญญาเช่าประกอบกับเรือที่เช่าอยู่ในความครอบครองของโจทก์ ตลอดมาจำเลยมิได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในเรือดังกล่าว จำเลย จึงไม่จำต้องรับผิดในค่าเช่าที่ยังไม่ครบกำหนดตามสัญญาเช่า โจทก์มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการต่างๆ รวมทั้งการเช่า หรือให้เช่าสังหาริมทรัพย์ การที่โจทก์ให้จำเลยเช่าเรือจึงถือได้ว่าโจทก์ เป็นผู้ประกอบการค้าในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกร้อง ให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างจึงตกอยู่ในอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(6) ส่วนกรณีที่โจทก์ ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการเดินเรือขนส่งสินค้า ของจำเลยซึ่งโจทก์เป็นผู้ออกเงินทดรองไปมิใช่เป็นเรื่องผู้ให้เช่าฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่าดังที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 563 แต่เป็นกรณีที่ต้อง บังคับตามมาตรา 164 ซึ่งกำหนดอายุความ 10 ปี โจทก์จำเลยยังตกลงกันไม่ได้เกี่ยวกับภาษาและข้อบังคับที่จะให้ อนุญาโตตุลาการใช้ในการพิจารณา และอนุญาโตตุลาการของทั้งสองฝ่าย ยังไม่มีโอกาสพบปะดำเนินการพิจารณารวมกันทั้งยังไม่ได้รับข้อกล่าวหา ของโจทก์และข้อต่อสู้ของจำเลย ไว้โดยโจทก์เพียงแต่มอบหลักฐาน และข้อเรียกร้องของตนไว้แก่อนุญาโตตุลาการของโจทก์เท่านั้น กรณีจึงถือไม่ได้ว่าได้มีการมอบคดีให้อนุญาโตตุลาการพิจารณา อันจะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา173 ค่าเสียหายตามที่จำเลยอ้างถึง จำเลยเพียงแต่ให้การต่อสู้ข้อหา ของโจทก์โดยอ้างว่าจำเลยได้รับความเสียหายจากการเช่าเรือของโจทก์ หากจำเลยจะต้องรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ก็ขอเอาค่าเสียหายดังกล่าว หักกลบลบหนี้ โดยจำเลยมิได้ฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์จำนวน ค่าเสียหายก็ยังไม่แน่นอนทั้งโจทก์ก็นำสืบปฏิเสธค่าเสียหายตามที่ จำเลยกล่าวอ้างจึงเป็นหนี้ที่ยังมีข้อต่อสู้อยู่จำเลยไม่มีสิทธิที่จะ ขอ หักกลบลบหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3705/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาเช่าเรือ, อายุความ, การหักกลบลบหนี้, ค่าเสียหายจากการเช่า, การจ่ายทดรองค่าใช้จ่าย
สัญญาเช่าเรือที่โจทก์จำเลยทำกันไว้เดิมเป็นสัญญาเช่าเรือกินริกิ เมื่อเรือดังกล่าวจมลงสัญญาเช่าเรือกินริกิย่อมระงับไป แต่เมื่อตามเจตนา และทางปฏิบัติในระหว่างโจทก์กับจำเลยเห็นได้ว่าโจทก์และจำเลยตกลงกันให้ถือเอาสัญญาเช่าเรือกินริกิที่ได้ทำสัญญากันไว้นั้นมาเป็นสัญญาเช่าเรือลำใหม่โดยอนุโลมและมิต้องทำสัญญากันใหม่ การเช่าเรือลำใหม่จึงต้องเป็นไปตามข้อสัญญาเช่าเรือกินริกิ
ความชำรุดบกพร่องของเรือถ้าไม่เป็นเหตุถึงแก่ผู้เช่าจะต้อง ปราศจากการใช้และประโยชน์ ทั้งผู้ให้เช่ายังแก้ไขได้ กรณีไม่เข้าเกณฑ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 548 แต่เป็นไปตาม มาตรา 551 ที่ผู้เช่าจะต้องบอกกล่าวแก่ผู้ให้เช่าให้จัดการแก้ไขความชำรุดบกพร่องนั้นก่อนเมื่อปรากฏว่าก่อนมีการบอกเลิกสัญญาจำเลยผู้เช่าไม่เคยบอกกล่าวให้โจทก์ผู้ให้เช่าจัดการแก้ไขความชำรุดบกพร่องมาก่อนเลย การบอกเลิกสัญญาของจำเลยจึงไม่ชอบ
หลังจากบอกเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้วจำเลยได้ส่งมอบเรือที่เช่าคืนให้แก่โจทก์โดยไม่ยอมเช่าเรือดังกล่าวอีกต่อไป จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา และชอบที่จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ แต่โจทก์มิได้ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลย กลับเรียกร้องค่าเช่าที่ยังไม่ครบกำหนดตามสัญญาเช่าประกอบกับเรือที่เช่าอยู่ในความครอบครองของโจทก์ตลอดมา จำเลยมิได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในเรือดังกล่าว จำเลยจึงไม่จำต้องรับผิดในค่าเช่าที่ยังไม่ครบกำหนดตามสัญญาเช่า
โจทก์มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการต่าง ๆ รวมทั้งการเช่าหรือให้เช่าสังหาริมทรัพย์ การที่โจทก์ให้จำเลยเช่าเรือจึงถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์ กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างจึงตกอยู่ในอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (6) ส่วนกรณีที่โจทก์ ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการเดินเรือขนส่งสินค้าของจำเลยซึ่งโจทก์เป็นผู้ออกเงินทดรองไป มิใช่เป็นเรื่องผู้ให้เช่าฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่าดังที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 563 แต่เป็นกรณีที่ต้องบังคับตามมาตรา 164 ซึ่งกำหนดอายุความ 10 ปี
โจทก์จำเลยยังตกลงกันไม่ได้เกี่ยวกับภาษาและข้อบังคับที่จะให้อนุญาโตตุลาการใช้ในการพิจารณา และอนุญาโตตุลาการของทั้งสองฝ่ายยังไม่มีโอกาสพบปะดำเนินการพิจารณารวมกัน ทั้งยังไม่ได้รับข้อกล่าวหาของโจทก์และข้อต่อสู้ของจำเลยไว้ โดยโจทก์เพียงแต่มอบหลักฐานและข้อเรียกร้องของตนไว้แก่อนุญาโตตุลาการของโจทก์เท่านั้น กรณีจึงถือไม่ได้ว่าได้มีการมอบคดีให้อนุญาโตตุลาการพิจารณา อันจะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173
ค่าเสียหายตามที่จำเลยอ้างถึง จำเลยเพียงแต่ให้การต่อสู้ข้อหาของโจทก์โดยอ้างว่าจำเลยได้รับความเสียหายจากการเช่าเรือของโจทก์ หากจำเลยจะต้องรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ก็ขอเอาค่าเสียหายดังกล่าวหักกลบลบหนี้ โดยจำเลยมิได้ฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์จำนวนค่าเสียหายก็ยังไม่แน่นอน ทั้งโจทก์ก็นำสืบปฏิเสธค่าเสียหายตามที่จำเลยกล่าวอ้าง จึงเป็นหนี้ที่ยังมีข้อต่อสู้อยู่จำเลยไม่มีสิทธิที่จะ ขอ หักกลบลบหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 162/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าธรรมดาอายุ 3 ปี, การคุ้มครองการเช่าเคหะ, และสิทธิเรียกร้องค่าซ่อมแซม
จำเลยเช่าห้องโจทก์ 2 ห้อง คือ ห้องเลขที่ 123 - 125 ตามสัญญาเช่ากำหนดว่า ค่าเช่าเดือนละ 500 บาท มิได้แบ่งเป็นค่าเช่าห้องละ 250 บาท เคหะหลังที่เช่าจึงมิใช่เคหะคุ้มครองตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ.2504
เงินแป๊ะเจี๊ยะคือเงินกินเปล่า ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่า แม้จำเลยจะให้ผู้ให้เช่าไป ก็ไม่ทำให้สัญญาเช่ามีลักษณะตอบแทนเป็นพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา นอกจากนี้ในสัญญาเช่าระหว่างจำเลยกับผู้ให้เช่ามิได้ระบุถึงเงินรายนี้ที่จะให้เห็นว่าเป็นสัญญาเช่าที่มีลักษณะตอบแทนเป็นพิเศษเกี่ยวกับการให้เช่าจนตลอดชีวิต และต่อไปจนถึงบุตรภรรยาจำเลยด้วย อันจะทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนชนิดพิเศษ นอกไปจากให้ค่าแป๊ะเจี๊ยะตามปกติธรรมดาของการเช่า เมื่อสัญญาเช่าเป็นสัญญาเช่าธรรมดาไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ อายุของการเช่าคงลดลงมาให้มีผลบังคับกันได้เพียง 3 ปี พ้นกำหนดแล้วถือว่าเป็นการเช่าโดยไม่มีกำหนดเวลา โจทก์บอกเลิกการเช่าล่วงหน้าตามกฎหมายแล้ว ย่อมฟ้องขอให้ขับไล่ได้
เมื่อสัญญาเช่ามีผลให้ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้เพียง 3ปี กำหนดเวลาเช่าที่เกินจาก 3 ปี ตามที่ตกลงกันไว้ไม่มีผลบังคับกันต่อไป เพราะไม่ได้จดทะเบียนไว้ จึงไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับกำหนดเวลาเช่าตามสัญญาเหลืออยู่และโดยที่ผู้เช่ายังครองทรัพย์สินอยู่ต่อมาโดยผู้ให้เช่าไม่ทักท้วง จึงถือว่าเป็นการเช่าโดยไม่มีกำหนดเวลาและข้อตกลงเกี่ยวกับกำหนดเวลาเช่าเดิมย่อมระงับและหมดสิ้นไปจึงไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับระยะเวลาเช่าที่จะบังคับให้ไปจดทะเบียนได้ตามที่จำเลยขอ
เมื่อการซ่อมแซมเป็นการซ่อมเพื่อความสะดวกสะบายในการอยู่และความสวยงาม ไม่ใช่ต้องซ่อมเพราะความจำเป็นและสมควรเพื่อการรักษาทรัพย์ที่เช่า ทั้งบางรายการก็เป็นการซ่อมแซมเล็กน้อย ผู้เช่าจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินค่าซ่อมแซมอาคารพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 162/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าไม่คุ้มครองตามกฎหมาย, สัญญาเช่าธรรมดาอายุ 3 ปี, สิทธิเรียกร้องค่าซ่อมแซมอาคาร
จำเลยเช่าห้องโจทก์ 2 ห้อง คือ ห้องเลขที่ 123-125. ตามสัญญาเช่ากำหนดว่า ค่าเช่าเดือนละ 500 บาท. มิได้แบ่งเป็นค่าเช่าห้องละ 250 บาท. เคหะหลังที่เช่าจึงมิใช่เคหะคุ้มครองตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ.2504.
เงินแป๊ะเจี๊ยะคือเงินกินเปล่า ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่า แม้จำเลยจะให้ผู้ให้เช่าไป ก็ไม่ทำให้สัญญาเช่ามีลักษณะตอบแทนเป็นพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา. นอกจากนี้ในสัญญาเช่าระหว่างจำเลยกับผู้ให้เช่ามิได้ระบุถึงเงินรายนี้ที่จะให้เห็นว่าเป็นสัญญาเช่าที่มีลักษณะตอบแทนเป็นพิเศษเกี่ยวกับการให้เช่าจนตลอดชีวิต และต่อไปจนถึงบุตรภรรยาจำเลยด้วย. อันจะทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนชนิดพิเศษ นอกไปจากให้ค่าแป๊ะเจี๊ยะตามปกติธรรมดาของการเช่า. เมื่อสัญญาเช่าเป็นสัญญาเช่าธรรมดาไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ อายุของการเช่าคงลดลงมาให้มีผลบังคับกันได้เพียง 3 ปี. พ้นกำหนดแล้วถือว่าเป็นการเช่าโดยไม่มีกำหนดเวลา. โจทก์บอกเลิกการเช่าล่วงหน้าตามกฎหมายแล้ว ย่อมฟ้องขอให้ขับไล่ได้.
เมื่อสัญญาเช่ามีผลให้ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้เพียง 3ปี กำหนดเวลาเช่าที่เกินจาก 3 ปี ตามที่ตกลงกันไว้ไม่มีผลบังคับกันต่อไป. เพราะไม่ได้จดทะเบียนไว้. จึงไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับกำหนดเวลาเช่าตามสัญญาเหลืออยู่.และโดยที่ผู้เช่ายังครองทรัพย์สินอยู่ต่อมาโดยผู้ให้เช่าไม่ทักท้วง. จึงถือว่าเป็นการเช่าโดยไม่มีกำหนดเวลา.และข้อตกลงเกี่ยวกับกำหนดเวลาเช่าเดิมย่อมระงับและหมดสิ้นไปจึงไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับระยะเวลาเช่าที่จะบังคับให้ไปจดทะเบียนได้ตามที่จำเลยขอ.
เมื่อการซ่อมแซมเป็นการซ่อมเพื่อความสะดวกสะบายในการอยู่และความสวยงาม. ไม่ใช่ต้องซ่อมเพราะความจำเป็นและสมควรเพื่อการรักษาทรัพย์ที่เช่า. ทั้งบางรายการก็เป็นการซ่อมแซมเล็กน้อย. ผู้เช่าจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินค่าซ่อมแซมอาคารพิพาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 162/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ไม่จดทะเบียน, อายุสัญญา, การคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเช่า และสิทธิเรียกร้องค่าซ่อมแซม
จำเลยเช่าห้องโจทก์ 2 ห้อง คือ ห้องเลขที่ 123-125
ตามสัญญาเช่ากำหนดว่า ค่าเช่าเดือนละ 500 บาทมิได้แบ่งเป็นค่าเช่าห้องละ 250 บาท เคหะหลังที่เช่าจึงมิใช่เคหะคุ้มครองตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ.2504
เงินแป๊ะเจี๊ยะคือเงินกินเปล่า ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าแม้จำเลยจะให้ผู้ให้เช่าไป ก็ไม่ทำให้สัญญาเช่ามีลักษณะตอบแทนเป็นพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดานอกจากนี้ในสัญญาเช่าระหว่างจำเลยกับผู้ให้เช่ามิได้ระบุถึงเงินรายนี้ที่จะให้เห็นว่าเป็นสัญญาเช่าที่มีลักษณะตอบแทนเป็นพิเศษเกี่ยวกับการให้เช่าจนตลอดชีวิต และต่อไปจนถึงบุตรภรรยาจำเลยด้วยอันจะทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนชนิดพิเศษนอกไปจากให้ค่าแป๊ะเจี๊ยะตามปกติธรรมดาของการเช่า เมื่อสัญญาเช่าเป็นสัญญาเช่าธรรมดาไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ อายุของการเช่าคงลดลงมาให้มีผลบังคับกันได้เพียง 3 ปี พ้นกำหนดแล้วถือว่าเป็นการเช่าโดยไม่มีกำหนดเวลา โจทก์บอกเลิกการเช่าล่วงหน้าตามกฎหมายแล้ว ย่อมฟ้องขอให้ขับไล่ได้
เมื่อสัญญาเช่ามีผลให้ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้เพียง 3 ปี กำหนดเวลาเช่าที่เกินจาก 3 ปี ตามที่ตกลงกันไว้ไม่มีผลบังคับกันต่อไปเพราะไม่ได้จดทะเบียนไว้จึงไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับกำหนดเวลาเช่าตามสัญญาเหลืออยู่และโดยที่ผู้เช่ายังครองทรัพย์สินอยู่ต่อมาโดยผู้ให้เช่าไม่ทักท้วงจึงถือว่าเป็นการเช่าโดยไม่มีกำหนดเวลาและข้อตกลงเกี่ยวกับกำหนดเวลาเช่าเดิมย่อมระงับและหมดสิ้นไปจึงไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับระยะเวลาเช่าที่จะบังคับให้ไปจดทะเบียนได้ตามที่จำเลยขอ
เมื่อการซ่อมแซมเป็นการซ่อมเพื่อความสะดวกสะบายในการอยู่และความสวยงามไม่ใช่ต้องซ่อมเพราะความจำเป็นและสมควรเพื่อการรักษาทรัพย์ที่เช่า ทั้งบางรายการก็เป็นการซ่อมแซมเล็กน้อยผู้เช่าจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินค่าซ่อมแซมอาคารพิพาท
of 2