คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 9

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 127 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 102/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินมีผลผูกพันแม้ไม่มีพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือ หากมีการวางมัดจำแล้ว
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่จำเลยที่ 1 พิมพ์ลายนิ้วมือไว้โดยไม่มีพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือใช้บังคับจำเลยที่ 1 ไม่ได้ แต่โจทก์ผู้ซื้อได้วางมัดจำเป็นเงินไว้ซึ่งถือว่าเป็นการวางประจำตามกฎหมาย โจทก์จึงฟ้องบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 ให้โอนขายที่ดินให้โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสอง ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสิบห้าวันร่วมกันโอนที่ดินให้โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายโดยไม่บังคับให้โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินที่ค้างให้จำเลย ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 369 แม้จำเลยจะไม่อุทธรณ์ฎีกาในข้อนี้ ศาลฎีกาก็พิพากษาแก้ไขให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นเรื่องการชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 894/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำพินัยกรรมโดยพิมพ์ลายนิ้วมือ พยานต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าผู้ทำพินัยกรรม เพื่อให้พินัยกรรมมีผลสมบูรณ์
อ.ทำพินัยกรรมโดยพิมพ์ลายนิ้วมือต่อหน้าค. และ ล.พร้อมกัน ส่วน บ. ลงชื่อเป็นพยานในพินัยกรรมภายหลัง เมื่อ ค.และ ล. ลงลายมือชื่อในฐานะพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของ อ.ในขณะที่ทำพินัยกรรมแล้ว พินัยกรรมจึงมีพยานครบ 2 คน มีผลสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3797/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับสภาพหนี้ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย เนื่องจากขาดลายมือชื่อพยานรับรองและเจตนาที่แท้จริงของผู้ลงลายมือชื่อ
หนังสือรับสภาพความรับผิดมีลายพิมพ์นิ้วมือของจำเลยที่ 1ในช่องผู้ให้สัญญา และมีลายมือชื่อโจทก์ในช่องผู้รับสัญญา โดยไม่มีผู้ใดลงลายมือชื่อเป็นพยานในสัญญาและรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของจำเลยที่ 1 ส่วนทางด้านซ้ายมือเยื้อง ๆ กับช่องที่จำเลยที่ 1พิมพ์ลายนิ้วมือมีการเขียนเติมให้จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในช่องผู้ให้สัญญาและจำเลยที่ 3 พิมพ์ลายนิ้วมือในช่องผู้ให้สัญญาอีกช่องหนึ่งซึ่งเขียนถัดลงมา โดยไม่มีพยานลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือเช่นเดียวกันดังนี้ เท่ากับจำเลยที่ 1 และที่ 3ไม่ได้ลงลายมือชื่อไว้ในเอกสารดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 9 วรรคสาม จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งแม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ไว้และมิได้ยกขึ้นมาในฎีกาก็ตาม แต่ก็เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2484/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักฐานการกู้ยืมเงิน: ลายมือชื่อผู้กู้เพียงฝ่ายเดียวก็ฟ้องร้องบังคับคดีได้
เมื่อ ป.พ.พ. มาตรา 653 บังคับให้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้กู้ จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ โดยมิได้บังคับผู้ให้กู้ต้องลงลายมือชื่อด้วย ดังนั้น แม้สัญญากู้เงินจะเป็นนิติกรรมสองฝ่าย แต่ก็เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม เมื่อจำเลยลงลายมือชื่อผู้กู้แล้ว โจทก์หรือผู้แทนโจทก์มิได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้ให้กู้ สัญญากู้ก็ฟ้องร้องบังคับคดีได้ไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2484/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักฐานการกู้ยืมเงิน: ลายมือชื่อผู้กู้สำคัญกว่าผู้ให้กู้
เมื่อ ป.พ.พ. มาตรา 653 บังคับให้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้กู้ จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้โดยมิได้บังคับผู้ให้กู้ต้องลงลายมือชื่อด้วย ดังนั้น แม้สัญญากู้เงินจะเป็นนิติกรรมสองฝ่าย แต่ก็เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเมื่อจำเลยลงลายมือชื่อผู้กู้แล้ว โจทก์หรือผู้แทนโจทก์มิได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้ให้กู้ สัญญากู้ก็ฟ้องร้องบังคับคดีได้ไม่เป็นโมฆะ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1844-1845/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินด้วยหนังสือมอบอำนาจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และสิทธิการรับมรดก
เจ้ามรดกยกที่นาพิพาทให้โจทก์โดยทำหนังสือมอบอำนาจให้ไปจดทะเบียนโอนที่อำเภอ หนังสือมอบอำนาจมีลายพิมพ์นิ้วมือของเจ้ามรดก แต่เจ้ามรดกผู้มอบอำนาจมิได้พิมพ์ลายนิ้วมือต่อหน้าพยาน การรับรองลายพิมพ์นิ้วมือจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งเจ้ามรดกมิได้พิมพ์ลายนิ้วมือต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ทำนิติกรรม การมอบอำนาจและการทำนิติกรรมโอนที่นาพิพาทให้แก่โจทก์จึงไม่ชอบ นาพิพาทเป็นทรัพย์ที่ยังไม่ได้แบ่ง โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งเป็นทายาทด้วยคนหนึ่งไม่ได้ และจำเลยฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนดังกล่าวเสียได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3148/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลายมือชื่อในเอกกู้ยืม: ชื่อเล่นใช้ได้ตามกฎหมาย หากแสดงเจตนาชัดเจน
จำเลยทั้งสองเป็นสามีภริยากัน เขียนจดหมายถึงโจทก์ข้อความในจดหมายดังกล่าวฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันกู้ยืมเงินโจทก์ โดยจำเลยทั้งสองเขียนชื่อเล่น ของจำเลยทั้งสองไว้ในตอนท้ายจดหมาย ด้วยตัวอักษรหวัดแกมบรรจงถือว่า เป็นการลงลายมือชื่อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3148/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลายมือชื่อในหนังสือสัญญา กู้ยืมเงิน ชื่อเล่นใช้ได้ หากแสดงเจตนาชัดเจน
จำเลยทั้งสองเขียนจดหมายถึงโจทก์อ่านแล้วได้ความว่า จำเลยทั้งสองกู้ยืมเงินโจทก์เพื่อสร้างบ้านให้เสร็จ การที่จำเลยทั้งสองเขียนชื่อเล่นของจำเลยทั้งสองไว้ในตอนท้าย จดหมายดังกล่าวด้วยตัวอักษรธรรมดา (หวัดแกมบรรจง) นั้น ถือว่าเป็นการลงลายมือชื่อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 แล้ว
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2530)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3148/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญา การใช้ชื่อเล่นแทนชื่อจริง และการกู้ยืมเงิน
จำเลยทั้งสองเป็นสามีภริยากัน เขียนจดหมายถึงโจทก์ข้อความในจดหมายดังกล่าวฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันกู้ยืมเงินโจทก์ โดยจำเลยทั้งสองเขียนชื่อเล่น ของจำเลยทั้งสองไว้ในตอนท้ายจดหมาย ด้วยตัวอักษรหวัดแกมบรรจงถือว่า เป็นการลงลายมือชื่อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4136/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมแบบธรรมดา: การลงลายพิมพ์นิ้วมือและลายมือชื่อพยาน, การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองท้องที่ และการสมบูรณ์ของพินัยกรรม
พินัยกรรมแบบธรรมดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1656 ซึ่งผู้ทำพินัยกรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือไว้ พยานรับรองพินัยกรรมโดยลงลายพิมพ์นิ้วมือย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1656 และ 1666
พินัยกรรมซึ่งผู้ทำพินัยกรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือไว้ มีพยานรับรองพินัยกรรมสองคน คนหนึ่งลงลายพิมพ์นิ้วมือ อีกคนหนึ่งลงลายมือชื่อ และมี พ.ลงลายมือชื่อในฐานะผู้ปกครองท้องที่ เมื่อปรากฏว่า พ.อยู่รู้เห็นการทำพินัยกรรมมาแต่ต้นจนกระทั่งผู้ทำพินัยกรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือต่อหน้าพยานซึ่งลงลายมือชื่อรับรองพินัยกรรมที่สมบูรณ์คนหนึ่งแล้ว พ.จึงลงลายมือชื่อในฐานะผู้ปกครองท้องที่ แม้จะไม่ได้เขียนคำว่าพยานไว้ท้ายชื่อของ พ.ก็ถือได้ว่า พ.เป็นพยานรับรองพินัยกรรมอีกคนหนึ่งเพราะพยานในพินัยกรรมไม่จำต้องเขียนคำว่าพยานไว้ท้ายชื่อ เป็นแต่เพียงมีข้อความให้เห็นได้ว่าเป็นพยาน ก็ถือว่าเป็นพยานในพินัยกรรมแล้ว พินัยกรรมจึงสมบูรณ์(อ้างฎีกาที่363/2492)
พยานที่ลงลายมือชื่อเป็นพยานในพินัยกรรมขณะทำพินัยกรรมไม่จำต้องลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ทำพินัยกรรมอีกหนหนึ่ง เพราะถือได้ว่าพยานทำหน้าที่สองฐานะคือ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 9, 1665 และตามมาตรา 1656 (อ้างฎีกาที่111/2497)
ฎีกาโจทก์ที่ว่าพินัยกรรมแบบธรรมดาจะต้องมีลายมือชื่อผู้เขียนกำกับไว้ และระบุด้วยว่าเป็นผู้เขียน ประเด็นดังกล่าวน่าจะต้องได้รับการวินิจฉัยโดยลึกซึ้ง เป็นฎีกาที่ไม่ได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องอย่างใด เพียงแต่เสนอความเห็นว่าน่าจะต้องได้รับการวินิจฉัยในปัญหาข้อนี้ให้ลึกซึ้งเท่านั้น เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 13