คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 9

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 127 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 75/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองลายพิมพ์นิ้วมือในใบมอบฉันทะต้องรู้เห็นการพิมพ์ลายมือ มิเช่นนั้นไม่สมบูรณ์
การลงชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 9 ในใบมอบฉันทะให้โอนที่ดิน(ยกให้) นั้น พยานผู้ลงชื่อจำต้องรู้เห็นในการพิมพ์ลายนิ้วมือ มิฉะนั้นจะเรียกว่าเป็นการรับรองลายพิมพ์นิ้วมือตามกฎหมาย หาได้ไม่ ผู้รับมรดกของผู้มอบฉันทะของเพิกถอนการโอนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 732/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมลายพิมพ์นิ้วมือ: การพิสูจน์ความถูกต้องของพยาน และการรับฟังพยานหลักฐานเมื่อโจทก์ไม่นำสืบ
พินัยกรรมที่ผู้ทำลงลายพิมพ์นิ้วมือ มีพยานรับรองครบ 2 คนแล้ว แม้ผู้เขียนพินัยกรรมจะเขียนชื่อผู้ทำพินัยกรรมและผู้รับพินัยกรรมลงในช่องผู้มอบและผู้รับพินัยกรรม เพื่อให้ทราบว่าในช่องมีลายพิพม์นิ้วมือนั้นเป็นลายพิพม์นิ้วมือของใคร ก็ไม่ทำให้พินัยกรรมที่สมบูรณ์อยู่แล้วนั้นเสียไป
การรับรองลายพิพม์นิ้วมือนั้นหาจำต้องมีขอ้ความเขียนบอกไว้ให้ชัดเจนว่าได้รับรองลายพิพม์นิ้วมือด้วยเพียงแต่ในพินัยกรรมมีลายพิมพ์นิ้วมือผู้ให้ แล้วมีพยาน 2 คนลงรวมกำกับรับรองไว้ ก็เพียงพอแล้ว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยสมคบกันทำพินัยกรรมปลอมจึงขอให้ทำลาย จำเลยต่อสู้ว่า ไม่ใช่พินัยกรรมปลอมส่งพินัยกรรมเป็นพยานต่อศาล โจทก์ยืนยันว่าพินัยกรรมนั้นปลอม แต่จะทำปลอมอย่างไร ไม่กล่า และงดไม่สืบพยาน ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าพินักรรมนั้นไม่มีอะไรชำรุดบกพร่อง หากแต่มีอะไรเกินเลยหรือทำให้เป็นที่น่าสงสัยได้บ้างเท่านั้น ก็เป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องนำสืบตามข้ออ้าง เมื่อโจทก์ไม่สืบให้เห็นว่ามีพิรุธเสียหายปลอมแปลงอย่างไร ตรงไหน ให้เป็นที่แน่นอน ศาลก็ยากที่จะฟังว่าปลอมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 732/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมที่ทำโดยการพิมพ์ลายนิ้วมือ และการรับรองพยานที่ไม่ต้องมีข้อความระบุชัดเจนว่าเป็นการรับรองลายพิมพ์นิ้วมือ
พินัยกรรมที่ผู้ทำลงลายพิมพ์นิ้วมือ มีพยานรับรองครบ 2 คนแล้วแม้ผู้เขียนพินัยกรรมจะเขียนชื่อผู้ทำพินัยกรรมและผู้รับพินัยกรรมลงในช่องผู้มอบและผู้รับพินัยกรรม เพื่อให้ทราบว่าในช่องที่มีลายพิมพ์นิ้วมือนั้นเป็นลายพิมพ์นิ้วมือของใคร ก็ไม่ทำให้พินัยกรรมที่สมบูรณ์อยู่แล้วนั้นเสียไป
การรับรองลายพิมพ์นิ้วมือนั้นหาจำต้องมีข้อความเขียนบอกไว้ให้ชัดเจนว่าได้รับรองลายพิมพ์นิ้วมือด้วย เพียงแต่ในพินัยกรรมมีลายพิมพ์นิ้วมือผู้ให้ แล้วมีพยาน 2 คนลงรวมกำกับรับรองไว้ก็เพียงพอแล้ว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยสมคบกันทำพินัยกรรมปลอมจึงขอให้ทำลายจำเลยต่อสู้ว่า ไม่ใช่พินัยกรรมปลอมส่งพินัยกรรมเป็นพยานต่อศาล โจทก์ยืนยันว่าพินัยกรรมนั้นปลอม แต่จะทำปลอมอย่างไร ไม่กล่าว และงดไม่สืบพยานดังนี้เมื่อปรากฏว่าพินัยกรรมนั้นไม่มีอะไรชำรุดบกพร่องหากแต่มีอะไรเกินเลยหรือทำให้เป็นที่น่าสงสัยได้บ้างเท่านั้น ก็เป็นหน้าที่โจทก์จะต้องสืบตามข้ออ้างเมื่อโจทก์ไม่สืบให้เห็นว่ามีพิรุธเสียหายปลอมแปลงอย่างไร ตรงไหน ให้เป็นที่แน่นอน ศาลก็ยากที่จะฟังว่าปลอมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 860/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือมีพยานเซ็นชื่อ ถือเป็นพินัยกรรมสมบูรณ์ แม้ไม่ได้ระบุรับรองลายพิมพ์นิ้วมือ
พินัยกรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือผู้เป็นเจ้าของและมีพยานเซ็นชื่อ 3 คนว่าเป็นพยานแม้จะมิได้เขียนระบุไว้ว่า ได้รับรองและพิมพ์ลายพิมพ์นิ้วมือของเจ้าของพินัยกรรมก็ดี ยังไม่เป็นเหตุที่จะถือว่า เป็นพินัยกรรมที่ขาดพยานผู้รับรองลายพิมพ์นิ้วมือ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 860/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือและมีพยานเซ็นชื่อ ถือเป็นพินัยกรรมสมบูรณ์ได้ แม้ไม่ได้ระบุรับรองลายพิมพ์นิ้วมือ
พินัยกรรม์ลงลายพิมพ์นิ้วมือผู้เป็นเจ้าของและมีพะยานเซ็นชื่อ 3 คนว่าเป็นพะยาย แม้จะมิได้เขียนระบุไว้ว่า ได้รับรองและพิมพ์พิมพ์นิ้วมือของเจ้าของพินัยกรรม์ก็ดี ยังไม่เป็นเหตุที่จะถือว่า เป็นพินัยกรรม์ที่ขาดพะยานผู้รับรองลายพิมพ์นิ้วมือ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 109/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของพินัยกรรม: การบังคับใช้กฎหมายลักษณะมรดก vs. ประมวลกฎหมายแพ่งฯ และการรับรองลายพิมพ์นิ้วมือ
พินัยกรรมทำเมื่อก่อนใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการทำพินัยกรรมพ.ศ.2475 และก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 ต้องใช้กฎหมายลักษณะมรดก บทที่ 49 บังคับ
ผู้ตายทำพินัยกรรมเมื่อใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 1แล้ว ในพินัยกรรมมีพยานลงลายมือชื่อเพียง 2 คน และมีผู้พิมพ์ลายมืออีก 2 คน แต่ไม่มีพยานลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือ ดังนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 มาตรา 9 บังคับให้มีพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือพินัยกรรมดังกล่าวจึงมีผู้ลุกนั่งเพียง 2 คน ไม่ครบ 3 คนตามกฎหมายลักษณะมรดก บทที่ 49 จึงไม่สมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2489

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและสิทธิจำเลยในการมีทนายความ
จำเลยในคดีอาญาพิมพ์นิ้วมือในคำคู่ความโดยไม่ปรากฏว่าได้ต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ และไม่มีพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือนั้นจะถือว่าเป็นถ้อยคำของจำเลยไม่ได้
ในคดีที่ศาลลงโทษประหารชีวิตและไม่มีอุทธรณ์นั้นเมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่า ศาลไม่ได้สอบถามจำเลย เรื่องมีทนายความหรือไม่ ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วให้ดำเนินการใหม่ให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2489 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และสิทธิในการปรึกษาทนายความในคดีอาญา
จำเลยในคดีอาญาพิมพ์นิ้วมือในคำคู่ความโดยไม่ปรากฏว่าได้ทำต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่และไม่มีพะยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือนั้น จะถือว่าเป็นถ้อยคำของจำเลยไม่ได้
ในคดีที่ศาลลงโทษประหารชิวิตและไม่มีอุทธรณ์นั้น เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่า ศาลไม่ได้สอบถามจำเลย เรื่องมีทนายความหรือไม่ ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วให้ดำเนินการใหม่ให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 634-635/2488

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการจดพินัยกรรมของปลัดอำเภอ: กรมการอำเภอสามารถมอบหมายให้ผู้อื่นจดพินัยกรรมแทนได้ตามกฎหมาย
ปลัดอำเภอประจำตำบลไม่ใช่กรมการอำเภอ
พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองกฎหมายมาตรา 1658 (2) มิได้บัญญัติว่ากรมการอำเภอ ต้องจดข้อความด้วยตนเอง จึงใช้ให้คนอื่นจดแทนได้ ถ้ากฎหมายจะให้กรมการอำเภอจดด้วยตนเองก็คงบัญญัติไว้ชัดเจนดังเช่นข้อ 4 ของมาตรา 1658 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 151/2487

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือหย่าโดยความยินยอม ไม่ต้องมีพยานลงชื่อก็สมบูรณ์
หนังสือหย่าที่หย่ากันโดยความยินยอมนั้นหย่าไม่จำเป็นต้องลงชื่อต่อหน้าพยานก็สมบูรณ์
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 19/2487
of 13