พบผลลัพธ์ทั้งหมด 136 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2515/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายลดเช็คมีผลผูกพัน แม้เช็คไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ ผู้ขายเช็คต้องรับผิดตามสัญญา
จำเลยทั้งสองให้การว่า จ. ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาขายลดเช็คในฐานะผู้ให้สัญญาแต่ฝ่ายเดียวจึงเป็นคำเสนอของ จ. ยังไม่เกิดเป็นสัญญาที่บังคับได้ดังนี้คำให้การจำเลยทั้งสองดังกล่าวเท่ากับจำเลยทั้งสองให้การยอมรับว่า จ. ได้ลงลายมือชื่อทำสัญญาขายลดเช็คกับโจทก์แล้วฎีกาจำเลยทั้งสองที่ว่าตามปกติ จ. จะลงลายมือชื่อในเอกสารเป็นลายเซ็นไม่ใช่ลายมือเขียนลายมือชื่อในช่องผู้ให้สัญญาในสัญญาขายลดเช็คจะเป็นลายเซ็นของ จ. หรือไม่ไม่ทราบจึงฟังไม่ขึ้น สัญญาขายลดเช็คไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือหรือต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือเมื่อผู้ทำสัญญาได้ลงลายมือชื่อในสัญญาแล้วแม้จะมีพยานหรือไม่มีพยานลงลายมือชื่อในสัญญาสัญญาก็มีผลบังคับได้หากจะมีการเพิ่มเติมชื่อพยานลงในสัญญาภายหลังโดยไม่ได้แก้ไขข้อความก็ไม่ทำให้สัญญาเสียไป แม้ตามสัญญาขายลดเช็คจะมีข้อความว่า จ. นำเช็คมาขายเพื่อแลกเงินสดจากโจทก์แต่ จ. ก็ได้ทำสัญญากับโจทก์ไว้ว่าหากธนาคารไม่สามารถเรียกเก็บเงินตามเช็คได้ จ. ก็ยินยอมชำระเงินให้ทันทีที่ได้รับแจ้งจากธนาคารอันเป็นข้อสัญญาต่างหากว่าแม้เช็คจะเรียกเก็บเงินไม่ได้ผู้ขายเช็คก็ยินยอมใช้เงินตามเช็คให้โจทก์ทันทีดังนั้นแม้เช็คจะเรียกเก็บเงินไม่ได้เพราะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินและกำหนดอายุความฟ้องเรียกเงินตามเช็คได้สิ้นไปแล้วโจทก์ก็ยังมีสิทธิฟ้องเรียกให้ จ. ใช้เงินตามเช็คให้โจทก์ได้ตามสัญญากฎหมายไม่ได้กำหนดอายุความในการฟ้องเรียกเงินตามสัญญาขายลดเช็คไว้จึงต้องถือว่ามีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิมจำเลยผู้จัดการมรดกของ จ. จึงไม่อาจอ้างอายุความ1ปีตามมาตรา1002ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ จ. ได้ทำสัญญาขายลดเช็คแก่โจทก์2ฉบับเมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน จ. จึงต้องรับผิดใช้เงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์เมื่อ จ. ถึงแก่กรรมจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ จ. จึงต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2515/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายลดเช็คมีผลผูกพัน แม้เช็คไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ ผู้จัดการมรดกต้องรับผิดตามสัญญา
จำเลยทั้งสองให้การว่า จ. ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาขายลดเช็คในฐานะผู้ให้สัญญาแต่ฝ่ายเดียวจึงเป็นคำเสนอของ จ. ยังไม่เกิดเป็นสัญญาที่บังคับได้ดังนี้คำให้การจำเลยทั้งสองดังกล่าวเท่ากับจำเลยทั้งสองให้การยอมรับว่า จ. ได้ลงลายมือชื่อทำสัญญาขายลดเช็คกับโจทก์แล้วฎีกาจำเลยทั้งสองที่ว่าตามปกติ จ. จะลงลายมือชื่อในเอกสารเป็นลายเซ็นไม่ใช่ลายมือเขียนลายมือชื่อในช่องผู้ให้สัญญาในสัญญาขายลดเช็คจะเป็นลายเซ็นของ จ. หรือไม่ไม่ทราบจึงฟังไม่ขึ้น สัญญาขายลดเช็คไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือหรือต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือเมื่อผู้ทำสัญญาได้ลงลายมือชื่อในสัญญาแล้วแม้จะมีพยานหรือไม่มีพยานลงลายมือชื่อในสัญญาสัญญาก็มีผลบังคับได้หากจะมีการเพิ่มเติมชื่อพยานลงในสัญญาภายหลังโดยไม่ได้แก้ไขข้อความก็ไม่ทำให้สัญญาเสียไป แม้ตามสัญญาขายลดเช็คจะมีข้อความว่า จ. นำเช็คมาขายเพื่อแลกเงินสดจากโจทก์แต่ จ. ก็ได้ทำสัญญากับโจทก์ไว้ว่าหากธนาคารไม่สามารถเรียกเก็บเงินตามเช็คได้ จ. ก็ยินยอมชำระเงินให้ทันทีที่ได้รับแจ้งจากธนาคารอันเป็นข้อสัญญาต่างหากว่าแม้เช็คจะเรียกเก็บเงินไม่ได้ผู้ขายเช็คก็ยินยอมใช้เงินตามเช็คให้โจทก์ทันทีดังนั้นแม้เช็คจะเรียกเก็บเงินไม่ได้เพราะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินและกำหนดอายุความฟ้องเรียกเงินตามเช็คได้สิ้นไปแล้วโจทก์ก็ยังมีสิทธิฟ้องเรียกให้ จ. ใช้เงินตามเช็คให้โจทก์ได้ตามสัญญากฎหมายไม่ได้กำหนดอายุความในการฟ้องเรียกเงินตามสัญญาขายลดเช็คไว้จึงต้องถือว่ามีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิมจำเลยผู้จัดการมรดกของ จ. จึงไม่อาจอ้างอายุความ1ปีตามมาตรา1002ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ จ. ได้ทำสัญญาขายลดเช็คแก่โจทก์2ฉบับเมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน จ. จึงต้องรับผิดใช้เงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์เมื่อ จ. ถึงแก่กรรมจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ จ. จึงต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2515/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายลดเช็คบังคับได้แม้ไม่มีพยานเพิ่มเติม อายุความ 10 ปีใช้บังคับ
จำเลยทั้งสองให้การว่า จ. ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาขายลดเช็คในฐานะผู้ให้สัญญาแต่ฝ่ายเดียว จึงเป็นคำเสนอของ จ. ยังไม่เกิดเป็นสัญญาที่บังคับได้ ดังนี้ คำให้การจำเลยทั้งสองดังกล่าวเท่ากับจำเลยทั้งสองให้การยอมรับว่า จ. ได้ลงลายมือชื่อทำสัญญาขายลดเช็คกับโจทก์แล้ว ฎีกาจำเลยทั้งสองที่ว่า ตามปกติ จ. จะลงลายมือชื่อในเอกสารเป็นลายเซ็น ไม่ใช่ลายมือเขียน ลายมือชื่อในช่องผู้ให้สัญญาในสัญญาขายลดเช็คจะเป็นลายเซ็นของ จ. หรือไม่ ไม่ทราบ จึงฟังไม่ขึ้น สัญญาขายลดเช็คไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือหรือต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ เมื่อผู้ทำสัญญาได้ลงลายมือชื่อในสัญญาแล้วแม้จะมีพยานหรือไม่มีพยานลงลายมือชื่อในสัญญา สัญญาก็มีผลบังคับได้หากจะมีการเพิ่มเติมชื่อพยานลงในสัญญาภายหลังโดยไม่ได้แก้ไขข้อความก็ไม่ทำให้สัญญาเสียไป แม้ตามสัญญาขายลดเช็คจะมีข้อความว่า จ. นำเช็คมาขายเพื่อแลกเงินสดจากโจทก์ แต่ จ. ก็ได้ทำสัญญากับโจทก์ไว้ว่า หากธนาคารไม่สามารถเรียกเก็บเงินตามเช็คได้ จ. ก็ยินยอมชำระเงินให้ทันทีที่ได้รับแจ้งจากธนาคาร อันเป็นข้อสัญญาต่างหากว่า แม้เช็คจะเรียกเก็บเงินไม่ได้ ผู้ขายเช็คก็ยินยอมใช้เงินตามเช็คให้โจทก์ทันที ดังนั้น แม้เช็คจะเรียกเก็บเงินไม่ได้เพราะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน และกำหนดอายุความฟ้องเรียกเงินตามเช็คได้สิ้นไปแล้วโจทก์ก็ยังมีสิทธิฟ้องเรียกให้ จ. ใช้เงินตามเช็คให้โจทก์ได้ตามสัญญา กฎหมายไม่ได้กำหนดอายุความในการฟ้องเรียกเงินตามสัญญาขายลดเช็คไว้ จึงต้องถือว่ามีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม จำเลยผู้จัดการมรดกของ จ. จึงไม่อาจอ้างอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 1002 ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ จ. ได้ทำสัญญาขายลดเช็คแก่โจทก์ 2 ฉบับ เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน จ. จึงต้องรับผิดใช้เงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ เมื่อ จ. ถึงแก่กรรม จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ จ. จึงต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5212/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในรถยนต์โอนเมื่อส่งมอบ ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียน โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากอุบัติเหตุ
การให้รถยนต์อันเป็นสังหาริมทรัพย์ย่อมสมบูรณ์เมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 523ไม่มีกฎหมายบังคับว่าการให้ทรัพย์สินดังกล่าวต้องทำตามแบบกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ย่อมโอนไปยังโจทก์ผู้รับแล้วหาจำต้องจดทะเบียนโอนกันเสียก่อนไม่ เพราะกฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนรถยนต์เป็นเรื่องเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่จะควบคุมยานพาหนะและภาษีรถยนต์ ไม่ใช่แบบของนิติกรรมแต่อย่างใด ดังนั้นแม้ยังไม่ได้เปลี่ยนชื่อในทะเบียนรถยนต์เป็นชื่อโจทก์โจทก์ก็เป็นเจ้าของรถยนต์ที่โจทก์ขับในวันเกิดเหตุโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายเนื่องจากละเมิดจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5596/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดิน น.ส.3 ที่ผิดแบบและห้ามโอน สิทธิครอบครองเกิดขึ้นได้หลังพ้นระยะห้าม
การซื้อขายที่ดิน น.ส.3 ซึ่งทางราชการห้ามโอนภายใน 10 ปีตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31 เมื่อไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงตกเป็นโมฆะ เพราะไม่ถูกต้องตามแบบและเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย แม้โจทก์ซื้อและยึดถือที่พิพาทโดยเจตนายึดถือเพื่อตนต่อมาในระยะเวลาห้ามโอนก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง แต่เมื่อโจทก์ยังคงครอบครองต่อมาจนล่วงเลยระยะเวลาห้ามโอนแล้ว โจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367 นับแต่วันที่พ้นกำหนดห้ามโอนนั้น เมื่อสัญญาซื้อขายที่พิพาทเป็นโมฆะ จำเลยย่อมไม่มีหน้าที่ทางนิติกรรมที่จะต้องไปจดทะเบียนโอนที่พิพาทให้แก่โจทก์ จึงบังคับจำเลยไปจดทะเบียนโอนที่พิพาทไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5596/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน น.ส.3 โมฆะหากไม่ทำตามแบบและฝ่าฝืนห้ามโอน แต่หากครอบครองหลังพ้นห้ามโอน ย่อมได้สิทธิครอบครอง
การซื้อขายที่ดิน น.ส.3 ซึ่งทางราชการห้ามโอนภายใน 10 ปีตาม ป.ที่ดิน มาตรา 31 เมื่อไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงตกเป็นโมฆะ เพราะไม่ถูกต้องตามแบบและเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายแม้โจทก์ซื้อและยึดถือที่พิพาทโดยเจตนายึดถือเพื่อตนต่อมาในระยะเวลาห้ามโอนก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง แต่เมื่อโจทก์ยังคงครอบครองต่อมาจนล่วงเลยระยะเวลาห้ามโอนแล้วโจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367 นับแต่วันที่พ้นกำหนดห้ามโอนนั้น
เมื่อสัญญาซื้อขายที่พิพาทเป็นโมฆะ จำเลยย่อมไม่มีหน้าที่ทางนิติกรรมที่จะต้องไปจดทะเบียนโอนที่พิพาทให้แก่โจทก์ จึงบังคับจำเลยไปจดทะเบียนโอนที่พิพาทไม่ได้
เมื่อสัญญาซื้อขายที่พิพาทเป็นโมฆะ จำเลยย่อมไม่มีหน้าที่ทางนิติกรรมที่จะต้องไปจดทะเบียนโอนที่พิพาทให้แก่โจทก์ จึงบังคับจำเลยไปจดทะเบียนโอนที่พิพาทไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2046/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญานายหน้าไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ สัญญาเกิดได้จากการตกลงด้วยวาจา
สัญญานายหน้าเป็นการตกลงระหว่างกันว่า นายหน้าจะทำการเพื่อชี้ช่องหรือจัดการให้อีกฝ่ายหนึ่งได้ทำสัญญากับบุคคลภายนอก และไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าการทำสัญญาจะต้องปฏิบัติเช่นใด ดังนั้นการทำสัญญาหรือตกลงดังกล่าวจึงไม่มีแบบ เพียงแต่คู่สัญญาตกลงกันด้วยวาจาสัญญานายหน้าย่อมเกิดขึ้นตามข้อตกลงนั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4117/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายลดตั๋วเงินสมบูรณ์ แม้มีผู้ลงนามเพียงคนเดียว และการมอบอำนาจตั้งตัวแทนผูกพันบริษัท
สัญญาซื้อขายลดเช็คเป็นสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งกฎหมายมิได้กำหนดแบบไว้เมื่อมีการทำกันขึ้นจริง เพียงแต่ลงชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดตามสัญญาเพียงฝ่ายเดียวก็เป็นการเพียงพอแล้ว ดังนั้นสัญญาซื้อขายลดตั๋วเงินที่บริษัทเจ้าหนี้ทำไว้กับบริษัท พ. แม้จะมีชื่อกรรมการบริษัทเจ้าหนี้ผู้ซื้อลดตั๋วเงินเพียงคนเดียวก็มีผลผูกพันบริษัทพ. ผู้ขายลดตั๋วเงินนั้น บริษัท พ.มอบอำนาจให้นางด. ลงนามร่วมกับกรรมการบริหารคนใดคนหนึ่งในสามคน มีนาย ข. นาย ธ.นายฤ. ในเอกสารขายลดเช็คของบริษัท พ. ได้ ดังนี้ เป็นการตั้งตัวแทนเพื่อการขายลดตั๋วเงิน เมื่อกรรมการคนหนึ่งของบริษัท พ. ได้ลงลายมือชื่อร่วมกับนาง ด. ในการเสนอขายลดตั๋วเงินกับบริษัทเจ้าหนี้ การกระทำของตัวแทนจึงมีผลผูกพันบริษัท พ.ซึ่งเป็นตัวการ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 148/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิธนาคารในการเบิกเงินเกินบัญชี ดอกเบี้ย การนำเงินฝากประจำมาชำระหนี้ และการฟ้องร้องบังคับคดี
จำเลยรับว่าจำเลยได้เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันตามหนังสือขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ซึ่งระบุว่าจำเลยทราบประเพณีการค้าของธนาคารและระเบียบการบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของธนาคารตามที่ได้รับไปแล้ว และจำเลยยินยอมผูกพันตามประเพณีและระเบียบการที่ได้กำหนดไว้ เช่นนี้ การที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่ได้รับระเบียบการบัญชีเงินฝากกระแสรายวันจึงรับฟังไม่ได้ ข้อตกลงที่จำเลยยอมให้โจทก์นำเงินฝากประจำของจำเลยไปชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีได้ไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ หนังสือขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันเป็นเพียงคำเสนอฝ่ายเดียวของจำเลยในการขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับโจทก์ไม่ใช่ตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร ดังนั้นเอกสารดังกล่าวจะไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีคือสัญญาบัญชีเดินสะพัดซึ่งไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือหรือต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือดังนั้น แม้ไม่ได้ทำเป็นหนังสือก็ฟ้องร้องบังคับคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5607/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่ไม่เป็นโมฆะ และสิทธิในการฟ้องขอให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์
โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม2528 โดยมีการตกลงกันว่าจำเลยจะต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2529 จึงมิใช่การซื้อขายเสร็จเด็ดขาดแต่เป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขายไม่เป็นโมฆะ และโจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ตามข้อตกลงได้.