คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 806

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 117 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 932/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของตัวการในการรับเอาสัญญาที่ตัวแทนทำไว้ โดยไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือหรือให้สัตยาบัน
จำเลยทำสัญญาเช่าบ้านพิพาทจาก น. และทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับ น. ยอมออกจากบ้าน การที่โจทก์ตัวการเข้ารับเอาสัญญาทั้งสองที่ น. ทำไว้แทนตน นั้นเป็นสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 806 การเข้ารับเอาไม่จำต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐาน เป็นหนังสือแต่อย่างใด และไม่มีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณา ว่าโจทก์ให้สัตยาบันหรือไม่ เพราะการให้สัตยาบันเป็นปัญหา ที่จะพิจารณาถึงความรับผิดของตัวการตามมาตรา 823 มิใช่ปัญหาเรื่องสิทธิของตัวการซึ่งต้องพิจารณาตามมาตรา 806

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 465/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องสัญญาประกันภัย: ตัวแทน vs. ตัวการ เมื่อตัวการรับสัญญาเอง
โจทก์ที่ 2 ทำสัญญาประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุกับจำเลยภายหลังจากโจทก์ที่ 2 ขายรถยนต์คันเกิดเหตุให้โจทก์ที่ 1 ไปแล้วโดยโจทก์ที่ 1 เป็นผู้ออกเบี้ยประกันภัยเพราะใบอนุญาตทะเบียนรถยังมีชื่อโจทก์ที่ 2 เป็นเจ้าของอยู่ ระหว่างสัญญาประกันภัย รถยนต์คันเกิดเหตุเกิดชนกันเสียหาย จำเลยยอมผูกพันตามสัญญาประกันภัยดังกล่าวกับโจทก์ที่ 1โดยยอมชดใช้ค่าเสียหายแทนโจทก์ที่ 1 แสดงว่าจำเลยทราบแล้วว่าโจทก์ที่ 2 ขายรถยนต์คันพิพาทให้โจทก์ที่ 1 และจำเลยยอมผูกพันรับโจทก์ที่ 2 ทำสัญญาประกันภัยแทนโจทก์ที่ 1 ถือว่าโจทก์ที่ 1 เป็นคู่สัญญากับจำเลยโดยโจทก์ที่ 2 เป็นตัวแทน โจทก์ที่ 1ซึ่งเป็นตัวการแสดงตนให้ปรากฏและเข้ารับเอาสัญญาประกันภัยแล้ว ดังนี้ โจทก์ที่ 1 เท่านั้นมีอำนาจฟ้องโจทก์ที่ 2 ไม่มีอำนาจ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 465/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องสัญญาประกันภัย: ตัวแทน, ตัวการ, และการโอนสิทธิ
เดิมรถยนต์คันเกิดเหตุเป็นของโจทก์ที่ 2 ต่อมาได้ขายให้โจทก์ที่ 1 แต่มิได้แจ้งการโอนให้เป็นหลักฐานทางทะเบียน หลังจากนั้นโจทก์ที่ 2 ได้ทำสัญญาประกันภัยรถยนต์คันนี้กับจำเลยแทนโจทก์ที่ 1 โดยโจทก์ที่ 1 เป็นผู้ออกเบี้ยประกันภัย และจำเลยทราบว่าโจทก์ที่ 2 ได้โอนรถยนต์ให้แก่โจทก์ที่ 1 แล้ว ดังนี้ถือได้ว่าโจทก์ที่ 1 เป็นคู่สัญญากับจำเลยตามสัญญาประกันภัยโดยโจทก์ที่ 2 เป็นเพียงตัวแทนของโจทก์ที่ 1 เท่านั้น โจทก์ที่ 1 จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ที่ 1 ตามสัญญาประกันภัย
เมื่อโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการแสดงตนให้ปรากฏและเข้ารับเอาสัญญาประกันภัยที่โจทก์ที่ 2 ได้ทำแทนแล้ว โจทก์ที่ 2 ก็สิ้นความผูกพันกับจำเลย โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2276/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจำเลยในฐานะตัวแทน: หนี้สินไม่ได้เกิดจากงานรับเหมาก่อสร้าง จึงไม่ผูกพันผู้ร้อง
หนี้สินระหว่างโจทก์จำเลย ไม่ใช่หนี้สินที่เกิดแต่งานรับเหมาก่อสร้าง (รายพิพาท) แสดงว่าหนี้สินของโจทก์มิได้เกิดจากกิจการที่จำเลยกระทำการแทนผู้ร้อง กล่าวคือไม่ใช่หนี้สินที่จำเลยก่อขึ้นในฐานะเป็นตัวแทนของผู้ร้องดังนั้นความรับผิดของจำเลยต่อโจทก์ในกรณีนี้จึงไม่ใช่ความรับผิดตามลักษณะตัวแทนที่จะนำมาปรับบังคับใช้แก่ผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 311/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนการค้าผูกพันผู้ประกอบการต้องชำระภาษี แม้จะอ้างว่าถูกเชิดให้จดทะเบียน
ประมวลรัษฎากรมาตรา 78 วรรคแรกบัญญัติให้ผู้ประกอบการค้าตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้ามีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับของทุกเดือนภาษีตามอัตราในบัญชีอัตราภาษีการค้ามาตรา 80 วรรคแรก ให้ผู้ประกอบการค้ายื่นคำขอจดทะเบียนการค้าตามแบบที่อธิบดีกำหนดมาตรา 84 ให้ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการนั้น เห็นได้ว่ากฎหมายกำหนดหน้าที่ของผู้ประกอบการค้าไว้ดังกล่าวเพื่อประโยชน์แก่การจัดเก็บภาษี เมื่อโจทก์ยื่น คำขอจดทะเบียนการค้าโรงเลื่อย ส. ย่อมเป็นหลักฐานแสดงตนต่อทางราชการว่า โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าในกิจการนั้นตามกฎหมาย เป็นการยินยอมผูกพันตนที่จะยื่นแบบแสดงรายการการค้า และเสียภาษีการค้ารวมทั้งยอมรับว่ามีเงินได้จากกิจการที่จดทะเบียนการค้าไว้ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายด้วย โจทก์จะอ้างว่าโจทก์ถูกเชิดให้ขอจดทะเบียนการค้าอันเป็นความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างโจทก์กับ จ. นอกเหนือจากที่แสดงไว้ต่อทางราชการ เป็นข้อแก้ตัวให้พ้นความรับผิดชำระภาษีหาได้ไม่ เมื่อทะเบียนการค้ามีชื่อโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าทั้งแบบแสดงรายการการค้าและภาษีเงินได้ที่ยื่นไว้ในนามโจทก์ แสดงรายรับไว้ต่ำกว่าความจริงเจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจทำการประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเพิ่มให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2649/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบหมายให้ดำเนินการกู้เงิน เงินที่ได้รับถือเป็นสิทธิของเจ้าหนี้ในการเรียกร้องหนี้สินได้เต็มจำนวน
ลูกหนี้ได้กู้เงินเจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ไปสองครั้งโดยได้ทำสัญญากู้ไว้ 2 ฉบับฉบับละ 400,000 บาท แม้จะปรากฏว่าเงินที่เจ้าหนี้ให้ลูกหนี้กู้ในครั้งแรกจำนวน 400,000 บาท เป็นเงินของเจ้าหนี้เอง 200,000 บาท และเป็นเงินของบิดาเจ้าหนี้ 200,000 บาท และเงินที่ให้ลูกหนี้กู้ในครั้งที่สองเป็นเงินของเจ้าหนี้เอง 100,000 บาท เป็นของบิดาเจ้าหนี้ 100,000 บาท และเป็น ของ ท. ป้าของเจ้าหนี้ 200,000 บาท ก็ตาม เงินในส่วนที่เป็นของบิดาเจ้าหนี้และของป้าเจ้าหนี้ ถือได้ว่าเป็นเงินที่บิดาและป้ามอบหมายให้เจ้าหนี้เป็นผู้ดำเนินการให้ลูกหนี้กู้ไป จึงเท่ากับเจ้าหนี้เป็นผู้ให้กู้สำหรับจำนวนเงินทั้งหมดตามสัญญากู้ทั้งสองฉบับนั้นเจ้าหนี้จึงมีสิทธิเรียกร้องจากลูกหนี้ได้เต็มตามจำนวนที่ลูกหนี้ได้ทำสัญญากู้ไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2649/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้กู้เงินจากบุคคลอื่นแล้วนำมาให้ลูกหนี้กู้ต่อ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องหนี้ได้เต็มจำนวน
ลูกหนี้ได้กู้เงินเจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ไปสองครั้งโดยได้ทำสัญญากู้ไว้ 2 ฉบับ ฉบับละ 400,000 บาท แม้จะปรากฏว่าเงินที่เจ้าหนี้ให้ลูกหนี้กู้ในครั้งแรกจำนวน 400,000 บาท เป็นเงินของเจ้าหนี้เอง 200,000 บาท และเป็นเงินของบิดาเจ้าหนี้ 200,000 บาท และเงินที่ให้ลูกหนี้กู้ในครั้งที่สองเป็นเงินของเจ้าหนี้เอง 100,000 บาท เป็นของบิดาเจ้าหนี้ 100,000 บาท และเป็นของ ท.ป้าของเจ้าหนี้ 200,000 บาทก็ตาม เงินในส่วนที่เป็นของบิดาเจ้าหนี้และของป้าเจ้าหนี้ ถือได้ว่าเป็นเงินที่บิดาและป้ามอบหมายให้เจ้าหนี้เป็นผู้ดำเนินการให้ลูกหนี้กู้ไป จึงเท่ากับเจ้าหนี้เป็นผู้ให้กู้สำหรับจำนวนเงินทั้งหมดตามสัญญากู้ทั้งสองฉบับนั้น เจ้าหนี้จึงมีสิทธิเรียกร้องจากลูกหนี้ได้เต็มตามจำนวนที่ลูกหนี้ได้ทำสัญญากู้ไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1451/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกันภัยค้ำจุน: ตัวแทนทำสัญญาแทนตัวการ และความรับผิดตามสัญญา
รถยนต์ที่ บ.เอาไปประกันภัยค้ำจุนกับจำเลยที่ 2 เป็นของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 โดย บ.เป็นหุ้นส่วนของห้างจำเลยที่ 1 ในสัญญาประกันภัยก็ลงที่อยู่ของ บ.ที่เดียวกับที่ตั้งของห้างจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 2 รับว่าได้รับประกันภัยรถยนต์ของจำเลยที่ 1 ไว้จริง จึงน่าเชื่อว่า บ.เป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประกันภัยแทนจำเลยที่ 1 โดยไม่เปิดเผยชื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการ ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 ให้การว่าจำเลยที่ 1 เอารถยนต์ไปประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 2 จึงเป็นการที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการมิได้เปิดเผยชื่อกลับแสดงตนให้ปรากฏและรับเอาสัญญาประกันภัยซึ่ง บ.ตัวแทนได้ทำไว้แทนตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 806
โจทก์และจำเลยที่ 2 ท้ากันให้ศาลวินิจฉัยโดยไม่ต้องสืบพยานว่า จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดชดใช้เงินแก่โจทก์ตามกรมธรรม์ประกันภัยที่จำเลยที่ 2 รับประกันภัยค้ำจุนหรือไม่ ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อเท็จจริงในคำให้การของจำเลยที่ 1 มาวินิจฉัย ก็เป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการวินิจฉัยความรับผิดตามสัญญาประกันภัยที่โจทก์และจำเลยที่ 2 ท้ากัน หาใช่เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงในประเด็นที่สละแล้วไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1451/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนทำสัญญาประกันภัยแทนตัวการ การรับผิดตามสัญญาประกันภัยค้ำจุน
รถยนต์ที่ บ.เอาไปประกันภัยค้ำจุนกับจำเลยที่ 2 เป็นของห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 1 โดย บ.เป็นหุ้นส่วนของห้างจำเลยที่ 1 ในสัญญาประกันภัยรถยนต์ของจำเลยที่ 1 ไว้จริงจึงน่าเชื่อว่า บ.เป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประกันภัยแทนจำเลยที่ 1 โดยไม่เปิดเผยชื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 ให้การว่าจำเลยที่ 1 เอารถยนต์ไปประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 2 จึงเป็นการที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการมิได้เปิดเผยชื่อกลับแสดงตนให้ปรากฏและรับเอาสัญญาประกันภัยซึ่ง บ.ตัวแทนได้ไว้แทนตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 806
โจทก์และจำเลยที่ 2 ท้ากันให้ศาลวินิจฉัยโดยไม่ต้องสืบพยานว่า จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์ตามกรมธรรม์ประกันภัยที่จำเลยที่ 2 รับประกันภัยค้ำจุนหรือไม่ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อเท็จจริงในคำให้การของจำเลยที่ 1 มาวินิจฉัย ก็เป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการวินิจฉัยความรับผิดตามสัญญาประกันภัยที่โจทก์และจำเลยที่ 2 ท้ากันหาใช่เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงในประเด็นที่สละแล้วไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1122/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนเชิด vs. ตัวแทนจริง: การรับผิดในสัญญาจะซื้อขายที่ดิน แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมอบให้ ส. เป็นตัวแทนทำสัญญาจะขายที่ดินให้โจทก์แล้วจำเลยผิดสัญญาไม่จัดการโอนให้ ดังนี้ การที่ศาลวินิจฉัยว่า ส. เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยมิใช่เป็นการวินิจฉัยยกฟ้องเพราะตัวแทนกับตัวแทนเชิดก็มีความรับผิด ในลักษณะอย่างเดียวกัน และมีมาตรา 798 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติถึงการตั้งตัวแทนว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือต้องทำเป็นหนังสือนั้น ใช้แก่กรณีที่มีการตั้งตัวแทนจริง ๆ ส่วนการเชิดบุคคลเป็นตัวแทนตามมาตรา 821 นั้นใช้แก่กรณีที่มิได้มีการตั้งตัวแทนจริงจังตามกฎหมาย ดังนั้น การที่จำเลยเชิดส. เป็นตัวแทนในการทำสัญญาจะขายที่ดินจึงนำมาตรา 798 มาบังคับไม่ได้
ส. ทำสัญญาจะขายที่ดินให้โจทก์โดยมิได้ระบุว่าทำให้ฐานเป็นตัวแทนจำเลย ดังนี้ โจทก์นำสืบพยานบุคคลว่า ส.เป็นตัวแทนของจำเลยได้ หาใช่เป็นการนำสืบเพิ่มเติมตัดทอนเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวไม่ เพราะสัญญาจะซื้อขายที่โจทก์และส. ได้ทำกันไว้ก็ยังคงผูกพันกันตามเอกสารดังกล่าว การนำสืบพยานบุคคลของโจทก์เป็นแต่เพียงการนำสืบความจริงว่าจำเลยเป็นตัวการของ ส. เพื่อให้จำเลยเข้ามารับผิดแทน ส.เท่านั้น (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 420/2491)
of 12