คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 326

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 461 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3725/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาท การฟังข้อเท็จจริงในชั้นอุทธรณ์ และเหตุเพื่อความชอบธรรมในการป้องกันตน
คดีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา193ทวิจำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลอุทธรณ์จะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา194ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าวันเวลาเกิดเหตุจำเลยได้ไปที่ทำงานของโจทก์และด่าว่าโจทก์เนื่องจากพฤติการณ์ต่างๆระหว่างโจทก์กับสามีจำเลยทำให้จำเลยเข้าใจว่าโจทก์มีความสัมพันธ์กับสามีจำเลยแต่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมว่าโจทก์มีความสัมพันธ์ในทำนองชู้สาวกับสามีจำเลยจริงจึงเป็นการฟังข้อเท็จจริงไม่ชอบต้องถือว่าข้อเท็จจริงฟังยุติตามที่ศาลชั้นต้นฟังมาดังนั้นแม้โจทก์จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวว่าโจทก์มิได้ความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับสามีจำเลยศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย การที่จำเลยเข้าใจว่าโจทก์มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับสามีจำเลยไม่ก่อให้จำเลยเกิดสิทธิที่จะเข้าไปกล่าวประจานโจทก์ในที่ทำงานของโจทก์ต่อหน้าเพื่อนร่วมงานของโจทก์ด้วยถ้อยคำหมิ่นประมาทโจทก์เห็นได้ว่าจำเลยมุ่งประสงค์เพื่อให้โจทก์อับอายและทำลายชื่อเสียงของโจทก์ดังนั้นจำเลยจะยกเหตุเพื่อความชอบธรรมป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมขึ้นเพื่อปฎิเสธความผิดไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3725/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการวินิจฉัยข้อเท็จจริงในชั้นอุทธรณ์ และการประเมินเหตุเพื่อความชอบธรรมในคดีหมิ่นประมาท
คดีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 193 ทวิ จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลอุทธรณ์จะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตาม ป.วิ.อ.มาตรา 194 ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า วันเวลาเกิดเหตุจำเลยได้ไปที่ทำงานของโจทก์และด่าว่าโจทก์เนื่องจากพฤติการณ์ต่าง ๆ ระหว่างโจทก์กับสามีจำเลยทำให้จำเลยเข้าใจว่าโจทก์มีความสัมพันธ์กับสามีจำเลย แต่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมว่าโจทก์มีความสัมพันธ์ในทำนองชู้สาวกับสามีจำเลยจริง จึงเป็นการฟังข้อเท็จจริงไม่ชอบ ต้องถือว่าข้อเท็จจริงฟังยุติตามที่ศาลชั้นต้นฟังมา ดังนั้นแม้โจทก์จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวว่าโจทก์มิได้มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับสามีจำเลย ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
การที่จำเลยเข้าใจว่าโจทก์มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับสามี-จำเลย ไม่ก่อให้จำเลยเกิดสิทธิที่จะเข้าไปกล่าวประจานโจทก์ในที่ทำงานของโจทก์ต่อหน้าเพื่อนร่วมงานของโจทก์ด้วยถ้อยคำหมิ่นประมาทโจทก์ เห็นได้ว่าจำเลยมุ่งประสงค์เพื่อให้โจทก์อับอายและทำลายชื่อเสียงของโจทก์ ดังนั้น จำเลยจะยกเหตุเพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมขึ้นเพื่อปฏิเสธความผิดไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1614/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาท - การระบุตัวบุคคล - การพิสูจน์ความเสียหาย
โจทก์ทั้งสิบเป็นผู้แทนครูและดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการอำนวยการคุรุสภา โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ลงบทความในหนังสือพิมพ์ซึ่งมีจำเลยที่ 2เป็นบรรณาธิการหมิ่นประมาทโจทก์สิ้นโดยบรรยายฟ้องว่า กรรมการจำนวนหนึ่งได้ทำหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการให้เลิกจ้าง ส. เลขาธิการคุรุสภาอ้างว่าเป็นคนสร้างความแตกแยกคนในกระทรวงศึกษาธิการหลายคนได้ยินข่าวผู้แทนครูในคณะกรรมการจำนวนหนึ่งเสนอเลิกจ้าง ส. ถึงกับส่ายหน้าและทุเรศในพฤติการณ์ที่แสดงออก... การแบ่งสัดส่วนจำนวนกรรมการอำนวยการที่ครูหลายกรมยังไม่มีส่วนร่วม...นั้น การที่คำฟ้องโจทก์ที่ระบุว่า กรรมการจำนวนหนึ่งไม่ได้ระบุว่าเป็นผู้ใดบ้าง ไม่ได้ระบุว่ากรรมการอำนวยการซึ่งเป็นโจทก์ทั้งสิบคนมีพฤติการณ์เช่นนั้นทั้งหมดและไม่อาจทราบได้ว่าเป็นกรรมการอำนวยการคนใด ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องได้ความเพียงว่า ผู้ยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นกรรมการอำนวยการคุรุสภาจำนวนหนึ่ง ไม่ปรากฏว่าเป็นผู้ใดบ้าง ส่วนข้อความในหนังสือพิมพ์ที่ว่า เข้ามาเพื่อคิดถึงผลประโยชน์ของตนเอง ไม่เคยรักษาผลประโยขน์ของส่วนรวมนั้น ก็เป็นการเท้าความถึงกรรมการอำนวยการที่ยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการนั่นเอง ซึ่งไม่ทราบแน่นอนว่าเป็นผู้ใด คดีโจทก์จึงไม่มีมูลความผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6863/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์และฎีกาในคดีอาญาที่ศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษเป็นรอการลงโทษ โจทก์ฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษ ถือเป็นการโต้เถียงดุลยพินิจ จึงต้องห้ามฎีกา
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา326จำคุกกระทงละ1เดือนรวม3กระทงจำคุก3เดือนศาลอุทธรณ์ภาค1พิพากษาแก้เป็นว่าให้ปรับจำเลยกระทงละ1,000บาทอีกสถานหนึ่งรวม3กระทงปรับ3,000บาทโทษจำคุกให้รอไว้มีกำหนด2ปีแม้ศาลอุทธรณ์ภาค1พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นให้รอการลงโทษแก่จำเลยเป็นการแก้ไขมากแต่ก็ถือว่าศาลอุทธรณ์ภาค1ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินสองปีจึงเป็นคดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา219โจทก์ฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษเป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลว่าสมควรลงโทษจำเลยเพียงใดเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา219ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯมาตรา4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6863/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโต้แย้งดุลพินิจศาลในการรอการลงโทษ จำเลยต้องโทษจำคุกไม่เกินสองปี จึงห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 326จำคุกกระทงละ 1 เดือน รวม 3 กระทง จำคุก 3 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่าให้ปรับจำเลยกระทงละ 1,000 บาท อีกสถานหนึ่ง รวม 3 กระทง ปรับ3,000 บาท โทษจำคุกให้รอไว้มีกำหนด 2 ปี แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นให้รอการลงโทษแก่จำเลย เป็นการแก้ไขมาก แต่ก็ถือว่าศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินสองปี จึงเป็นคดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 โจทก์ฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษ เป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลว่าสมควรลงโทษจำเลยเพียงใด เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ประกอบด้วยพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวง ฯ มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6863/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: โจทก์ฎีกาขอไม่รอการลงโทษ ศาลอุทธรณ์แก้โทษเป็นรอการลงโทษ ถือเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 จำคุกกระทงละ 1 เดือน รวม 3 กระทง จำคุก 3 เดือนศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่าให้ปรับจำเลยกระทงละ 1,000 บาทอีกสถานหนึ่ง รวม 3 กระทง ปรับ 3,000 บาท โทษจำคุกให้รอไว้มีกำหนด 2 ปี แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นให้รอการลงโทษแก่จำเลย เป็นการแก้ไขมาก แต่ก็ถือว่าศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินสองปี จึงเป็นคดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 โจทก์ฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษ เป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลว่าสมควรลงโทษจำเลยเพียงใด เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6661/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การใส่ความทำให้เสียชื่อเสียง
ข่าวในหนังสือพิมพ์มีข้อความว่า "กูละเบื่อ ศาลสั่งจำคุกภูมิ ศรีธัญรัตน์บก.นสพ. ประชาธิปไตย ฐานเบี้ยวเช็ค"มีความหมายว่า โจทก์ซึ่งเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ประชาธิปไตยถูกศาลพิพากษาจำคุกเพราะเป็นคนไม่ตรง คดโกงออกเช็คโดยคดโกง มีลักษณะเป็นการใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่สามน่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6624/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกล่าวถ้อยคำสบประมาทต่อหน้า: ความผิดฐานดูหมิ่น vs. หมิ่นประมาท
จำเลยกล่าวถ้อยคำต่อหน้าโจทก์ร่วมและลูกน้องของโจทก์ร่วมว่า"แม่มึงไม่ต้องไปฟัง กูจะเอาอย่างนี้ ถ้าเซ็นไม่ได้ก็ไม่เป็นไร คุณเป็นหัวหน้าคนได้อย่างไร ทำงานไม่รับผิดชอบ ตัดสินปัญหาไม่ได้ พอมีปัญหาก็โยนกันไปโยนกันมา คนร.ส.พ.ทำงานกันอย่างนี้หรือ" โดยกล่าวในที่ทำงานของโจทก์ร่วมขณะที่โจทก์ร่วมกำลังปฏิบัติหน้าที่ จึงเป็นการสบประมาทโจทก์ร่วม ทำให้โจทก์ร่วมอับอายขายหน้าเป็นการดูหมิ่นโจทก์ร่วมซึ่งหน้า ตาม ป.อ. มาตรา 393 และเนื่องจากถ้อยคำดังกล่าวเป็นการวิจารณ์การทำงานของโจทก์ร่วมที่กล่าวต่อโจทก์ร่วมโดยตรง ไม่มีลักษณะเป็นการใส่ความโจทก์ร่วมต่อบุคคลที่สามโดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์ร่วมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง จึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6624/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดูหมิ่นซึ่งหน้า vs. หมิ่นประมาท: การวิจารณ์การทำงานต่อหน้าผู้ถูกวิจารณ์
จำเลยกับ อ. ไปหาโจทก์ร่วมที่ห้องทำงานเพื่อให้โจทก์ร่วมลงนามในหนังสือรับรองการเบิกค่ารักษาพยาบาลของจำเลย โจทก์ร่วมให้ จ. นำไปตรวจสอบจึงเกิดการโต้เถียงกัน จำเลยพูดขึ้นว่า"แม่มึงไม่ต้องไปฟัง กูจะเอาอย่างนี้ ถ้าเซ็นไม่ได้ก็ไม่เป็นไรคุณเป็นหัวหน้าคนได้อย่างไร ทำงานไม่รับผิดชอบ ตัดสินปัญหาไม่ได้พอมีปัญหาก็โยนกันไปโยนกันมา คน ร.ส.พ. ทำงานกันอย่างนี้หรือ"ต่อหน้าโจทก์ร่วมในขณะที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ เป็นการสบประมาททำให้โจทก์ร่วมอับอายขายหน้า จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 393 แต่ถ้อยคำดังกล่าวเป็นการดูหมิ่นและวิจารณ์การทำงานของโจทก์ร่วมและกล่าวถึงโจทก์ร่วมโดยตรง ไม่มีลักษณะเป็นการใส่ความโจทก์ร่วมต่อบุคคลที่สามโดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์ร่วมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง จึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6624/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดูหมิ่นซึ่งหน้าและการสบประมาทในที่ทำงาน: การวินิจฉัยความผิดฐานหมิ่นประมาทและดูหมิ่น
จำเลยกล่าวถ้อยคำต่อหน้าโจทก์ร่วมและลูกน้องของโจทก์ร่วมว่า"แม่มึงไม่ต้องไปฟัง กูจะเอาอย่างนี้ ถ้าเซ็นไม่ได้ก็ไม่เป็นไรคุณเป็นหัวหน้าคนได้อย่างไร ทำงานไม่รับผิดชอบ ตัดสินปัญหาไม่ได้พอมีปัญหาก็โยนกันไปโยนกันมา คน ร.ส.พ. ทำงานกันอย่างนี้หรือ"โดยกล่าวในที่ทำงานของโจทก์ร่วมขณะที่โจทก์ร่วมกำลังปฏิบัติหน้าที่จึงเป็นการสบประมาทโจทก์ร่วม ทำให้โจทก์ร่วมอับอายขายหน้าเป็นการดูหมิ่นโจทก์ร่วมซึ่งหน้า ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393และเนื่องจากถ้อยคำดังกล่าวเป็นการวิจารณ์การทำงานของโจทก์ร่วมที่กล่าวต่อโจทก์ร่วมโดยตรง ไม่มีลักษณะเป็นการใส่ความโจทก์ร่วมต่อบุคคลที่สามโดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์ร่วมเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง จึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
of 47