คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 326

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 461 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3252/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาทจากการแจ้งความ: เจตนาใส่ความเพื่อทำลายชื่อเสียง แม้แจ้งความเพื่อเป็นหลักฐาน
จำเลยแจ้งความต่อร้อยตำรวจโท อ. เพื่อเป็นหลักฐานหากจะมีข้อความบางส่วนเป็นเท็จหรือผิดความจริงไปบ้างก็ยังไม่เป็นเหตุที่จะทำให้ร้อยตำรวจโท อ. ต้องทำการสอบสวนเนื่องจากไม่เป็นคำร้องทุกข์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(7) เมื่อจำเลยไม่มีเจตนาจะมอบเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่โจทก์ การแจ้งความของจำเลยจึงย่อมไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อันจะเป็นเหตุให้โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีเพื่อเอาผิดต่อจำเลยในความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานได้
คำว่า "ใส่ความ" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326ไม่ได้นิยามศัพท์ไว้ว่ามีความหมายว่าอย่างไร แต่ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานอธิบายว่า หมายถึงพูดหาเหตุร้าย กล่าวหาเรื่องร้ายให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย โจทก์มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับจำเลยไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะกล่าวหาเรื่องร้ายประจานโจทก์ด้วยถ้อยคำหมิ่นประมาทโจทก์ เมื่อจำเลยแจ้งความเพื่อเป็นหลักฐานเท่านั้น มิได้มีเจตนาให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีแก่โจทก์ จึงเห็นได้ว่าจำเลยมุ่งประสงค์ให้โจทก์ถูกดูหมิ่นเกลียดชังและทำลายชื่อเสียงของโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ ทั้งข้อความอันเป็นหมิ่นประมาทโจทก์เป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัวไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนแม้เรื่องที่กล่าวหาจะเป็นความจริง จำเลยก็ไม่อาจยกเอาเหตุกระทำเพื่อป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมขึ้นปฏิเสธความผิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3015/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาททางวาจา: ข้อความเกี่ยวกับพฤติกรรมเจ้าชู้ไม่ถึงขั้นทำให้เสียหาย
จำเลยที่ 1 เป็นพนักงานของห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. โจทก์เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยที่ 1 ได้ลาออกจากห้าง ฯ ไป ต่อมาในวันเกิดเหตุจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้มาที่ห้าง จำเลยที่ 1 ได้พูดกับพนักงานของห้างถึงสาเหตุที่จำเลยที่ 1 ลาออกว่า "โจทก์จะซื้อแหวนให้จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จะผ่อนคืนราคาแหวนหรือไม่ก็ได้ โจทก์เคยให้กระเป๋าสตางค์ซึ่งมีเงินจำนวนหนึ่งอยู่ในกระเป๋า โจทก์ถูกรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาลแล้วให้เงิน 6,000 บาท แก่จำเลยที่ 1 โจทก์เคยจับมือจำเลยที่ 1 โจทก์เคยขับรถยนต์พาจำเลยที่ 1 ไปส่งที่บ้านของจำเลยที่ 1 หลายครั้ง การกระทำของโจทก์เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ต้องตัดสินใจลาออกจากการเป็นพนักงานของห้าง เพื่อเป็นการตัดไฟแต่ต้นลม และเพื่อมิให้เกิดความเสียหายขึ้นแก่จำเลยที่ 1 " และจำเลยที่ 2 ได้พูดว่า "โจทก์มีพฤติการณ์ไม่น่าไว้วางใจ ปฏิบัติตนต่อจำเลยที่ 1ในลักษณะหมาหยอกไก่ ถ้าจำเลยที่ 1 เล่นด้วย เรื่องก็เงียบไป แต่จำเลยที่ 1 ไม่ยอม จำเลยที่ 2 ไม่ไว้วางใจในความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 จึงแนะนำให้จำเลยที่ 1 ออกจากงาน และห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ทำงานล่วงเวลาเพราะไม่ต้องการให้คนอื่นเข้าใจว่าเรื่องได้เลยเถิดไปไกลแล้ว แต่จำเลยที่ 1 ยังบริสุทธิ์อยู่ จะท้าพิสูจน์ที่ไหนอย่างไรก็ได้ และความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 คงไม่เลยเถิดไปถึงขั้นสามีภริยา และโจทก์เป็นผู้มีชื่อเสียงในสังคม ถ้าเรื่องทราบถึงคนอื่นจะทำให้เกิดความเสียหาย ดังนั้น น่าจะมาเจรจากันเพื่อไม่ให้เรื่องยืดเยื้อ " ข้อความที่จำเลยที่ 1 พูดนั้น เป็นการพูดเรื่องที่เกิดขึ้นกับตนเอง ซึ่งแปลความหมายได้ว่า โจทก์เป็นคนเจ้าชู้ จำเลยที่ 1 จึงลาออกจากงานเพราะกลัวตนเองจะเสียหาย โดยไม่ปรากฏข้อความใดที่กล่าวหาว่า โจทก์ได้กระทำการอันเป็นการลวนลามจำเลยที่ 1 โดยที่จำเลยที่ 1 ไม่ยินยอม ข้อความที่แปลความหมายได้เพียงว่า โจทก์เป็นคนเจ้าชู้นี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคำว่า "เจ้าชู้" หมายความถึงผู้ใฝ่ในการชู้สาว เมื่อปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้ชาย ตามความรู้สึกของสังคมหรือคนทั่วไปที่ได้ยินข้อความที่จำเลยที่ 1 พูด ก็ไม่อาจมีความรู้สึกได้ว่าเป็นการใส่ความโจทก์ที่จะทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายแก่ชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง แต่เป็นเรื่องของผู้ชายซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่จะใฝ่ในทางชู้สาวได้ คำพูดของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ ส่วนคำพูดของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นการพูดภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 พูดแล้วนั้น ก็เป็นการยืนยันถึงความเป็นคนเจ้าชู้ของโจทก์ ซึ่งมิได้ก่อให้เกิดอันตรายแก่จำเลยที่ 1 และไม่เคยกระทำการอันเป็นการก้าวล่วงลวนลามจำเลยที่ 1 ให้เกิดความเสียหาย แต่การกระทำของโจทก์เป็นการหยอกล้อจำเลยที่ 1 เหมือนหมาหยอกไก่ที่จำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 ลาออกจากงานและไม่ให้ทำงานล่วงเวลาก็ไม่ใช่เพราะกลัวโจทก์แต่อย่างใดไม่ แต่กลัวคนอื่น จะเข้าใจผิด อันเป็นการยืนยันถึงความบริสุทธิ์ของโจทก์ว่า โจทก์ไม่เคยทำอะไรให้จำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหายมาก่อน คำพูดของจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3015/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพูดเรื่องความเจ้าชู้ไม่ถึงขั้นหมิ่นประมาท เพราะเป็นเรื่องปกติทางสังคมและไม่มีความเสียหาย
ข้อความที่จำเลยที่ 1 พูด เป็นการพูดเรื่องที่เกิดขึ้นกับตนเอง ซึ่งแปลความหมายได้ว่าโจทก์เป็นคนเจ้าชู้ จำเลยที่ 1 จึงลาออกจากงานเพราะกลัวตนเองจะเสียหาย โดยไม่ปรากฏข้อความใดที่กล่าวหาว่าโจทก์ได้กระทำการอันเป็นการลวนลามจำเลยที่ 1 โดยที่จำเลยที่ 1 ไม่ยินยอม ข้อความที่แปลความหมายได้เพียงว่า โจทก์เป็นคนเจ้าชู้นี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคำว่า "เจ้าชู้" หมายความถึง ผู้ใฝ่ในการชู้สาว เมื่อปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้ชาย ตามความรู้สึกของสังคมหรือคนทั่วไปที่ได้ยินข้อความที่จำเลยที่ 1 พูด ก็ไม่อาจมีความรู้สึกได้ว่าเป็นการใส่ความโจทก์ที่จะทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายแก่ชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังแต่อย่างใด แต่เป็นเรื่องของผู้ชายซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่จะใฝ่ในทางชู้สาวได้ คำพูดของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์
ส่วนคำพูดของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นการพูดภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 พูดแล้วนั้น ก็เป็นการยืนยันถึงความเป็นคนเจ้าชู้ของโจทก์ ซึ่งมิได้ก่อให้เกิดอันตรายแก่จำเลยที่ 1 และไม่เคยกระทำการอันเป็นการก้าวล่วงลวนลามจำเลยที่ 1 ให้เกิดความเสียหายแต่อย่างใด แต่การกระทำของโจทก์เป็นการหยอกล้อจำเลยที่ 1 เหมือนหมาหยอกไก่ ที่จำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 ลาออกจากงานและไม่ให้ทำงานล่วงเวลาก็ไม่ใช่เพราะกลัวโจทก์แต่อย่างใดไม่ แต่กลัวคนอื่นจะเข้าใจผิด อันเป็นการยืนยันถึงความบริสุทธิ์ของโจทก์ว่าโจทก์ไม่เคยทำอะไรให้จำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหายมาก่อน คำพูดของจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 148/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการลงโทษจำเลยในคดีหมิ่นประมาท: ศาลจำกัดเฉพาะข้อความที่ระบุในคำฟ้องเดิม
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยที่ 1 กับพวกนำข้อความที่ว่าโจทก์สมคบกับประธานสภาจังหวัดชัยภูมิประวิงหรือหลีกเลี่ยง ละเว้น ไม่พิจารณาคำขอเปิดประชุมสภาจังหวัดชัยภูมิสมัยวิสามัญครั้งที่ 1 ประจำปี 2538 ของจำเลยกับพวกซึ่งเป็นสมาชิกสภาจังหวัดชัยภูมิโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและประเพณีปฏิบัติราชการไปยื่นฟ้อง และจำเลยกับพวกจัดการโฆษณาเผยแพร่ข้อความตามคำฟ้องในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐและหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่น และถูกเกลียดชัง ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326,328,83 แต่เมื่อทางพิจารณาปรากฏว่า ข้อความที่พิมพ์เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐนอกจากจะเป็นข้อความตามคำฟ้องของจำเลยที่ 1 กับพวกแล้ว ยังมีข้อความเพิ่มเติมเป็นเบื้องหลังการที่โจทก์ไม่สั่งเปิดประชุมสภาจังหวัดเพราะเกี่ยวข้องกับการทุจริตและการย้ายข้าราชการโดยไม่เป็นธรรม อันเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ขึ้นใหม่อีกส่วนหนึ่งข้อความหมิ่นประมาทถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของความผิดฐานหมิ่นประมาทเมื่อโจทก์มิได้บรรยายไว้ให้ปรากฏในคำฟ้องถือได้ว่าไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ศาลไม่อาจนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาพิจารณาลงโทษจำเลยที่ 1 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 148/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำฟ้องอาญาหมิ่นประมาท: ศาลจำกัดการพิจารณาเฉพาะข้อความที่บรรยายในคำฟ้องเท่านั้น
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยกับพวกนำข้อความที่ว่า โจทก์สมคบกับประธานสภาจังหวัด ช. ประวิงหรือหลีกเลี่ยง ละเว้นไม่พิจารณาคำขอเปิดประชุมสภาจังหวัดสมัยวิสามัญประจำปีของจำเลยกับพวกซึ่งเป็นสมาชิกสภาจังหวัดโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและประเพณีปฏิบัติราชการไปยื่นฟ้อง และจำเลยกับพวกจัดการโฆษณาเผยแพร่ข้อความตามคำฟ้องในหนังสือพิมพ์ ทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นและถูกเกลียดชัง ขอให้ลงโทษตาม ป.อ.มาตรา 326, 328, 83 แต่ทางพิจารณาปรากฏว่า ข้อความที่พิมพ์เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์นอกจากจะเป็นข้อความตามคำฟ้องของจำเลยกับพวกแล้ว ยังมีข้อความเพิ่มเติมเป็นเบื้องหลังการที่โจทก์ไม่สั่งเปิดประชุมสภาจังหวัดเพราะเกี่ยวข้องกับการทุจริตและการย้ายข้าราชการโดยไม่เป็นธรรมอันเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ขึ้นใหม่อีกส่วนหนึ่ง ข้อความหมิ่นประมาทถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของความผิดฐานหมิ่นประมาท เมื่อโจทก์มิได้บรรยายไว้ให้ปรากฏในคำฟ้องถือได้ว่าไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ศาลจึงไม่อาจนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาพิจารณาลงโทษจำเลยได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4249/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: ศาลยืนความผิดมาตรา 326 แม้เกินอำนาจศาลแขวงตามมาตรา 328
ความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 เป็นบทความผิดลักษณะฉกรรจ์ของความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 326 กฎหมายหาได้บัญญัติแยกการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 326 กับความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาตามมาตรา 328 ออกต่างหากจากกันไม่ เมื่อเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาตามมาตรา 328 แล้ว ก็ไม่จำต้องยกมาตรา 326 ขึ้นปรับมาลงโทษอีกดังนี้ เมื่อศาลแขวงไม่มีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 เพราะเกินอำนาจพิจารณาพิพากษาและได้มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับข้อหาความผิดตามมาตรา 328 ไปแล้ว เมื่อจำเลยหมิ่นประมาทโจทก์ด้วยการโฆษณาที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 326 จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4249/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา: ศาลแขวงปรับบทลงโทษตามมาตรา 328 มิได้ แม้เป็นบทหนักกว่า
ความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาตาม ป.อ. มาตรา 328 เป็นบทความผิดลักษณะฉกรรจ์ของความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 326 กฎหมายหาได้บัญญัติแยกการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 326 กับความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาตามมาตรา 328 ออกต่างหากจากกันไม่
ศาลแขวงไม่มีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 328 เพราะเกินอำนาจพิจารณาพิพากษา และได้มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับข้อหาความผิดตามมาตรา 328 ไปแล้วเท่านั้น หาใช่ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 326 ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดตามมาตรา 326 จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1006/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดดูหมิ่น-หมิ่นประมาทจากการเบิกความเท็จต่อศาล
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 136, 326, 90และ 91 คำฟ้องที่โจทก์บรรยายไว้มีข้อความครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 158 (5)แห่ง ป.วิ.อ. แล้ว ทั้งฟ้องโจทก์ได้ระบุข้อเท็จจริงและรายละเอียดต่าง ๆ พร้อมทั้งถ้อยคำเบิกความอันเกี่ยวกับข้อหมิ่นประมาทและดูหมิ่นไว้เพียงพอ ที่จะทำให้จำเลยที่ 2เข้าใจข้อหาทั้งสองได้ดี โจทก์จึงไม่จำเป็นต้องแยกว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 ส่วนใดเป็นความผิดในข้อหาหมิ่นประมาทและส่วนใดเป็นความผิดในข้อหาดูหมิ่นเจ้าพนักงาน
จำเลยที่ 2 เบิกความเป็นพยานของจำเลยที่ 1 ในคดีที่จำเลยที่ 1ฟ้องโจทก์ต่อศาลอาญาว่า ในขณะที่โจทก์ทำหน้าที่สืบสวนหามูลคดีในเรื่องที่จำเลยที่ 1และที่ 2 ถูก ด. กับพวก ร้องเรียนกล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 สมคบกันข่มขู่ให้จำเลยให้การปรักปรำ ด. โดยโจทก์ได้เรียกร้องเงินจำนวน 30,000 บาท จากจำเลยที่ 1 เพื่อเป็นการตอบแทนในการปั้นพยานอันเป็นการสร้างพยานหลักฐานที่ไม่เป็นความจริงให้แก่จำเลยที่ 1 แต่ความจริงโจทก์ไม่เคยเรียกร้องเงินจำนวน 30,000 บาทจากจำเลยที่ 1 ตามที่จำเลยที่ 2 เบิกความ การที่จำเลยที่ 2 ไม่ได้ถูกสอบสวนเอาความผิดทางวินัยในเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้ เพราะกรณีเช่นนี้ผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 อาจจะรอผลการพิจารณาพิพากษาคดีนี้ก็ได้ ดังนั้น ถ้อยคำเบิกความของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็นการใส่ความโจทก์ โดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการดูหมิ่นและหมิ่นประมาทโจทก์ อันเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท หาใช่เป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม ตาม ป.อ. มาตรา 329 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1006/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานหมิ่นประมาทและดูหมิ่นเจ้าพนักงานจากคำเบิกความเท็จในชั้นศาล
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136,326,90 และ 91 คำฟ้องที่โจทก์บรรยายไว้มีข้อความครบถ้วน ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 158(5) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แล้ว ทั้งฟ้องโจทก์ได้ระบุข้อเท็จจริงและรายละเอียดต่าง ๆ พร้อมทั้ง ถ้อยคำเบิกความอันเกี่ยวกับข้อหมิ่นประมาทและดูหมิ่น ไว้เพียงพอ ที่จะทำให้จำเลยที่ 2 เข้าใจข้อหาทั้งสองได้ดี โจทก์จึงไม่จำเป็นต้องแยกว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 ส่วนใดเป็นความผิดในข้อหาหมิ่นประมาทและส่วนใดเป็นความผิดในข้อหาดูหมิ่นเจ้าพนักงานฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม จำเลยที่ 2 เบิกความเป็นพยานของจำเลยที่ 1 ในคดี ที่จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ต่อศาลอาญาว่า ในขณะที่โจทก์ทำหน้าที่สืบสวนหามูลคดีในเรื่องที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ถูกด. กับพวก ร้องเรียนกล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 สมคบกัน ข่มขู่ให้จำเลยให้การปรักปรำ ด. โดยโจทก์ได้เรียกร้องเงินจำนวน 30,000 บาท จากจำเลยที่ 1 เพื่อเป็นการตอบแทน ในการปั้นพยานอันเป็นการสร้างพยานหลักฐานที่ไม่เป็น ความจริงให้แก่จำเลยที่ 1 ความจริงโจทก์ไม่เคยเรียกร้อง เงินจำนวน 30,000 บาท จากจำเลยที่ 1 ตามที่จำเลยที่ 2 เบิกความ การที่จำเลยที่ 2 ไม่ได้ถูกสอบสวนเอาความผิด ทางวินัยในเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้ เพราะกรณี เช่นนี้ผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 อาจจะรอผลการพิจารณา พิพากษาคดีนี้ก็ได้ ดังนั้น ถ้อยคำเบิกความของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็นการใส่ความโจทก์ โดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการดูหมิ่นและหมิ่นประมาทโจทก์อันเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทหาใช่เป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4301/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาทด้วยการกล่าวอ้างเรื่องส่วนตัวและปัญหาภายในครอบครัวต่อบุคคลที่สาม
สิทธิส่วนบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัวย่อมได้รับความคุ้มครอง การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการธนาคารกล่าวข้อความว่า"โจทก์มีปัญหาในครอบครัว ทะเลาะเบาะแว้งกัน มีปัญหากับพนักงานในสาขาถึงได้ถูกย้ายไปสำนักงานใหญ่คงอยู่ไม่ได้นานต้องถูกไล่ออก" ต่อ อ. ลูกค้าของธนาคารย่อมเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงที่ล่วงสิทธิส่วนบุคคลซึ่งข้อความดังกล่าววิญญูชนทั่วไปย่อมจะเข้าใจได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานฝ่ายสินเชื่อเป็นคนไม่ดีทะเลาะกับสามีมีปัญหากับเพื่อนร่วมงานจนต้องถูกย้ายและกระทำความผิดร้ายแรงถึงขนาดจะถูกไล่ออกจากงานด้วย จึงเป็นข้อความที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังอันเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท หาใช่เป็นเรื่องปกติธรรมดาที่สามีภริยาทะเลาะกันหรือเป็นคำติชมของผู้บังคับบัญชาหรือเป็นการกล่าวคาดคะเนแต่อย่างใดไม่ แต่เมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีที่จำเลยกล่าวข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ต่อญาติของโจทก์เพียงคนเดียว และข้อความหมิ่นประมาทก็มิได้ทำให้ โจทก์เสียหายมากมายนัก นับว่าเป็นการกระทำความผิดที่มีลักษณะ ไม่ร้ายแรง ที่ศาลชั้นต้นกำหนดโทษจำคุกและรอการลงโทษนั้น หนักเกินไปควรให้ปรับจำเลย 5,000 บาท
of 47