คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 326

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 461 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาทจากการด่าด้วยถ้อยคำเสียดสีต่อหน้าบุคคลที่สาม โดยมีปมความขัดแย้งเรื่องหนี้สิน
จำเลยกับผู้เสียหายเคยมีความขัดแย้งกันในเรื่องหนี้เงินกู้มาก่อน ประกอบกับพฤติการณ์ของผู้เสียหายเมื่อไปถึงหน้ารั้วบ้านของจำเลยได้เรียกจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ให้ออกมาพูด นอกรั้วบ้าน อันถือว่าเป็นการไม่ให้เกียรติ จำเลย ทำให้จำเลยโกรธผู้เสียหาย และร้องด่าผู้เสียหายว่า "มึงเป็นเมียน้อยสารวัตรส.อย่ามาทำใหญ่ให้กู้เห็นนะ"ต่อหน้า พ.ซึ่งมากับผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการทำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังจาก พ. อันเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5782/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่ การระบุชื่อผู้ถูกกล่าวหา และการกล่าวเท็จทำให้เสียหาย
คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า ข้อความที่จำเลยอภิปรายพาดพิงถึงโจทก์นั้นเป็นข้อความที่ฝ่าฝืนความจริงอันมีความหมายอยู่ในตัวว่าข้อความที่จำเลยอภิปรายนั้นไม่ตรงต่อความจริงซึ่งเป็นความเท็จนั่นเอง ส่วนที่ว่าความจริงเป็นอย่างไรนั้น คำฟ้องโจทก์ก็ได้บรรยายไว้แล้วว่า ความจริงในการไปทอดกฐินครั้งนั้นไม่มีการลักลอบขนยาเสพติดให้โทษเฮโรอีนร่วมไปกับคณะทอดกฐินดังที่จำเลยอภิปรายแต่ประการใด ดังนี้ หากจำเลยมั่นใจว่าข้อความที่จำเลยอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรนั้นเป็นความจริง กล่าวคือ โจทก์เคยไปทอดกฐิน ที่ต่างประเทศและมีการลักลอบซุกซ่อนเฮโรอีนไว้ที่ใต้ฐานพระประธานไปด้วยจนเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ต่างประเทศทำการตรวจค้นบุคคลในคณะด้วยวิธีเปลื้องผ้าทำให้บุคคลในคณะซึ่งเป็นหญิงได้รับความอับอายทั่วหน้าแล้ว จำเลยย่อมให้การต่อสู้คดีโดยยืนยันตามข้อความอภิปรายและนำสืบพิสูจน์ได้ คำบรรยายฟ้องโจทก์ดังกล่าวไม่ทำให้จำเลยไม่เข้าใจฟ้องจนไม่สามารถให้การต่อสู้คดีได้อย่างถูกต้อง ฟ้องโจทก์จึงสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง ไม่เป็นคำฟ้องเคลือบคลุม ขณะอภิปรายนั้นจำเลยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคการเมืองฝ่ายค้าน จำเลยต้องการอภิปรายไม่ไว้วางใจพลเอกช. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้นโดยได้รับมอบหมายจากพรรคให้อภิปรายการบริหารงานของคนบางคน ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อันเป็นข้อหนึ่งที่จำเลยต้องอภิปรายในครั้งนั้น โจทก์ชื่อพลตรีศรชัย เป็นนายทหารรับราชการประจำสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม มาช่วยราชการที่สำนักงาน เลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย ตามคำขอของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และโจทก์เป็นคนสนิทหรือคนใกล้ชิดของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เนื่องจากเคยรับราชการร่วมกันมาตั้งแต่ปี 2524 ซึ่งขณะนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก โจทก์เป็นฝ่ายเสนาธิการประจำตัวผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก ทั้งในสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย มีโจทก์คนเดียวที่ชื่อศรชัยและทำหน้าที่เป็นเลขานุการส่วนตัวของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยการที่จำเลยอภิปรายได้ความว่า คุณศรชัยคนสนิทของท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตเคยไปทอดกฐินต่างประเทศและมียาเสพติดให้โทษเฮโรอีนอยู่ที่ใต้ฐานะพระประธาน จนคณะทั้งหมดถูกตรวจสอบทั้งภายนอกภายในเป็นเรื่องอับอายของบรรดาภรรยาข้าราชการทั้งหมด ฝรั่งเขาตรวจไม่ให้เกียรติโดยบรรดาคุณหญิงคุณนายถูกตรวจภายในเปลือยกายล่อนจ้อนน่าอายจริง ๆ ข้อความดังกล่าวจำเลยประสงค์จะอภิปรายถึงความประพฤติของคนใกล้ชิดของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยว่าเคยมีพฤติการณ์น่ารังเกียจกระทำผิดกฎหมาย ทำให้คณะที่ไปทอดกฐินด้วยเสียหายได้รับความอับอายขายหน้าในต่างประเทศแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยยังนำมาทำงานราชการในกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีเช่นว่านี้ไม่น่าไว้วางใจตามความต้องการของจำเลยที่อภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรในครั้งนั้น และเพื่อให้ผู้ฟังทราบว่าเป็นใครจึงระบุชื่อคุณศรชัยเช่นนี้ แม้จะไม่ระบุยศ ตำแหน่ง และนามสกุลของโจทก์ก็พอให้ผู้ฟังเข้าใจได้ว่าหมายถึงโจทก์ เพราะโจทก์ชื่อพลตรีศรชัยเป็นคนสนิทของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้นำคณะทอดกฐินไปทอดที่วัดไทยในนครลอสแองเจลิสจากพลเอกช. ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยขณะถูกอภิปราย แต่การไม่ทอดกฐินครั้งนั้น เจ้าหน้าที่ปราบปรามยาเสพติดสหรัฐอเมริกาได้จับกุม ช. ผู้ร่วมเที่ยวบินไปกับคณะทอดกฐิน กล่าวหาว่ามีส่วนร่วมกับพวกลักลอบขนยาเสพติดให้โทษเฮโรอีนเข้าประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งพวกของช.ถูกจับไว้ก่อนที่คณะทอดกฐินจะเดินทางไปถึงทั้งโจทก์นำคณะทอดกฐินไปทอดที่วัดไทยในนครลอสแองเจลิสครั้งนั้นไม่ได้นำพระประธานไปด้วย และไม่ได้ถูกสงสัยว่ามีการลักลอบนำเฮโรอีนมากับคณะทอดกฐิน คงผ่านการตรวจค้นของเจ้าหน้าที่สหรัฐอเมริกาตามปกติธรรมดา ไม่มีการตรวจค้นโดยให้เปลือยกายล่อนจ้อนดังที่จำเลยอภิปรายดังนั้นคำอภิปรายของจำเลยดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นการกล่าวข้อความฝ่าฝืนต่อความจริง เป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์เป็นการละเมิดต่อโจทก์จำต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์การที่จำเลยได้ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ที่ลงพิมพ์ไว้ตั้งแต่ปี 2529หรือ 2530 นับถึงวันอภิปรายนานกว่า 5 ปี จำเลยย่อมมีเวลาตรวจสอบข้อมูลที่ได้มาว่าถูกต้องตรงกับความจริงหรือไม่ จำเลยกลับนำข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงมาอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรเป็นที่เสียหายแก่โจทก์ แม้จำเลยจะอภิปรายในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อไม่เป็นความจริงย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน ก็ไม่อาจพ้นความรับผิดต่อโจทก์ได้ โจทก์เป็นนายทหารยศพลตรี มาช่วยราชการทำหน้าที่เลขานุการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นตำแหน่งหน้าที่อันมีเกียรติและเกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบต่องานบริหารราชการแผ่นดินของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยนอกจากจะเสียหายแก่โจทก์แล้ว ยังมีผลกระทบกระเทือนแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไปในทางเสื่อมเสียด้วย จำเลยเป็นผู้แทนของปวงชนอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรอันทรงเกียรติ และเป็นการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองระดับชาติ ข้อความที่อภิปรายปกติต้องตรงกับความจริงและเชื่อถือได้ เมื่อปรากฏเป็นความเท็จทั้งได้มีการถ่ายทอดคำอภิปรายของจำเลยทางวิทยุกระจายเสียแห่งประเทศไทยและแพร่ภาพทางโทรทัศน์สีช่อง 9 และช่อง 11ไปทั่วประเทศ ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์มากกว่าปกติเป็นทวีคูณ ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าเสียหาย แก่โจทก์500,000 บาท นั้นเหมาะสมแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5782/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดชื่อเสียงจากคำอภิปรายในสภาฯ จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย
คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า ข้อความที่จำเลยอภิปรายพาดพิงถึงโจทก์นั้นเป็นข้อความที่ฝ่าฝืนความจริงอันมีความหมายอยู่ในตัวว่าข้อความที่จำเลยอภิปรายนั้นไม่ตรงต่อความจริงซึ่งเป็นความเท็จนั่นเอง ส่วนที่ว่าความจริงเป็นอย่างไรนั้น คำฟ้องโจทก์ก็ได้บรรยายไว้แล้วว่า ความจริงในการไปทอดกฐินครั้งนั้นไม่มีการลักลอบขนยาเสพติดให้โทษเฮโรอีนร่วมไปกับคณะทอดกฐินดังที่จำเลยอภิปรายแต่ประการใด ดังนี้ หากจำเลยมั่นใจว่าข้อความที่จำเลยอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรนั้นเป็นความจริง กล่าวคือ โจทก์เคยไปทอดกฐินที่ต่างประเทศและมีการลักลอบซุกซ่อนเฮโรอีนไว้ที่ใต้ฐานพระประธานไปด้วย จนเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ต่างประเทศทำการตรวจค้นบุคคลในคณะด้วยวิธีเปลื้องผ้าทำให้บุคคลในคณะซึ่งเป็นหญิงได้รับความอับอายทั่วหน้าแล้ว จำเลยย่อมให้การต่อสู้คดีโดยยืนยันตามข้อความอภิปรายและนำสืบพิสูจน์ได้ คำบรรยายฟ้องโจทก์ดังกล่าวไม่ทำให้จำเลยไม่เข้าใจฟ้องจนไม่สามารถให้การต่อสู้คดีได้อย่างถูกต้อง ฟ้องโจทก์จึงสมบูรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง ไม่เป็นคำฟ้องเคลือบคลุม
ขณะอภิปรายนั้นจำเลยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคการเมืองฝ่ายค้าน จำเลยต้องการอภิปรายไม่ไว้วางใจพลเอก ช. รัฐมนตรี-ว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น โดยได้รับมอบหมายจากพรรคให้อภิปรายการบริหารงานของคนบางคนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อันเป็นข้อหนึ่งที่จำเลยต้องอภิปรายในครั้งนั้น โจทก์ชื่อพลตรีศรชัย เป็นนายทหาร-รับราชการประจำสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม มาช่วยราชการที่สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย ตามคำขอของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง-มหาดไทย และโจทก์เป็นคนสนิทหรือคนใกล้ชิดของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง-มหาดไทย เนื่องจากเคยรับราชการร่วมกันมาตั้งแต่ปี 2524 ซึ่งขณะนั้นรัฐมนตรี-ว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก โจทก์เป็นฝ่ายเสนาธิการประจำตัวผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก ทั้งในสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย มีโจทก์คนเดียวที่ชื่อศรชัยและทำหน้าที่เป็นเลขานุการส่วนตัวของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย การที่จำเลยอภิปรายได้ความว่า คุณศรชัยคนสนิทของท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตเคยไปทอดกฐินต่างประเทศและมียาเสพติดให้โทษเฮโรอีนอยู่ที่ใต้ฐานพระประธาน จนคณะทั้งหมดถูกตรวจสอบทั้งภายนอกภายใน เป็นเรื่องอับอายของบรรดาภรรยาข้าราชการทั้งหมด ฝรั่งเขาตรวจไม่ให้เกียรติโดยบรรดาคุณหญิงคุณนายถูกตรวจภายในเปลือยกายล่อนจ้อนน่าอายจริง ๆ ข้อความดังกล่าวจำเลยประสงค์จะอภิปรายถึงความประพฤติของคนใกล้ชิดของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยว่าเคยมีพฤติการณ์น่ารังเกียจกระทำผิดกฎหมาย ทำให้คณะที่ไปทอดกฐินด้วยเสียหายได้รับความอับอายขายหน้าในต่างประเทศ แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยยังนำมาทำงานราชการในกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีเช่นว่านี้ไม่น่าไว้วางใจตามความต้องการของจำเลยที่อภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรในครั้งนั้น และเพื่อให้ผู้ฟังทราบว่าเป็นใครจึงระบุชื่อคุณศรชัยเช่นนี้ แม้จะไม่ระบุยศ ตำแหน่ง และนามสกุลของโจทก์ก็พอให้ผู้ฟังเข้าใจได้ว่าหมายถึงโจทก์ เพราะโจทก์ชื่อพลตรีศรชัย เป็นคนสนิทของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้นำคณะทอดกฐินไปทอดที่วัดไทยในนครลอสแองเจลิสจากพลเอก ช.ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยขณะถูกอภิปราย แต่การไปทอดกฐินครั้งนั้น เจ้าหน้าที่ปราบปรามยาเสพติดสหรัฐ-อเมริกาได้จับกุม ช. ผู้ร่วมเที่ยวบินไปกับคณะทอดกฐิน กล่าวหาว่ามีส่วนร่วมกับพวกลักลอบขนยาเสพติดให้โทษเฮโรอีนเข้าประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งพวกของ ช.ถูกจับไว้ก่อนที่คณะทอดกฐินจะเดินทางไปถึง ทั้งโจทก์นำคณะทอดกฐินไปทอดที่วัดไทยในนครลอสแองเจลิสครั้งนั้นไม่ได้นำพระประธานไปด้วย และไม่ได้ถูกสงสัยว่ามีการลักลอบนำเฮโรอีนมากับคณะทอดกฐิน คงผ่านการตรวจค้นของเจ้าหน้าที่สหรัฐอเมริกาตามปกติธรรมดา ไม่มีการตรวจค้นโดยให้เปลือยกายล่อนจ้อนดังที่จำเลยอภิปรายดังนั้น คำอภิปรายของจำเลยดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นการกล่าวข้อความฝ่าฝืนต่อความจริง เป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์ เป็นการละเมิดต่อโจทก์จำต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ การที่จำเลยได้ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ที่ลงพิมพ์ไว้ตั้งแต่ปี 2529 หรือ 2530 นับถึงวันอภิปรายนานกว่า 5 ปี จำเลยย่อมมีเวลาตรวจสอบข้อมูลที่ได้มาว่าถูกต้องตรงกับความจริงหรือไม่ จำเลยกลับนำข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงมาอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรเป็นที่เสียหายแก่โจทก์ แม้จำเลยจะอภิปรายในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อไม่เป็นความจริงย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน ก็ไม่อาจพ้นความรับผิดต่อโจทก์ได้
โจทก์เป็นนายทหารยศพลตรี มาช่วยราชการทำหน้าที่เลขานุการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นตำแหน่งหน้าที่อันมีเกียรติและเกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบต่องานบริหารราชการแผ่นดินของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยนอกจากจะเสียหายแก่โจทก์แล้ว ยังมีผลกระทบกระเทือนแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไปในทางเสื่อมเสียด้วย จำเลยเป็นผู้แทนของปวงชนอภิปรายในสภาผู้แทน-ราษฎรอันทรงเกียรติ และเป็นการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองระดับชาติ ข้อความที่อภิปรายปกติต้องตรงกับความจริงและเชื่อถือได้ เมื่อปรากฏเป็นความเท็จ ทั้งได้มีการถ่ายทอดคำอภิปรายของจำเลยทางวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยและแพร่ภาพทางโทรทัศน์สีช่อง 9 และช่อง 11 ไปทั่วประเทศ ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์มากกว่าปกติเป็นทวีคูณ ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าเสียหายแก่โจทก์500,000 บาท นั้นเหมาะสมแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2887/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวงพิจารณาคดีหมิ่นประมาท การแบ่งแยกความผิดหลายกรรม และการพิจารณาเฉพาะข้อที่อยู่ในอำนาจ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326,328,83 ต่อศาลแขวง โดยบรรยายฟ้องแยกเป็น 3 ข้อ แต่ละข้อวันเวลาเกิดเหตุต่างกันและการกระทำของจำเลยไม่เหมือนกันแต่ละกรรมเป็นความผิดสำเร็จในตัวเองจึงเป็นความผิดหลายกรรมมิใช่เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทที่ศาลจะต้องลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 เมื่อปรากฏว่าความผิดฟ้องข้อ 1เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 15 ประกอบด้วยมาตรา 22(5)ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงก็ชอบที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ตามฟ้องข้อ 1 นี้ได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้วมีคำสั่งไปตามรูปคดีแม้ว่าความผิดตามฟ้องข้อ 2 และข้อ 3 จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกิน 200,000 บาท เกินอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2887/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวงพิจารณาคดีหมิ่นประมาทหลายกรรม การแยกพิจารณาเฉพาะกรรมที่อยู่ในอำนาจ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 326, 328,83 ต่อศาลแขวง โดยบรรยายฟ้องแยกเป็น 3 ข้อ แต่ละข้อวันเวลาเกิดเหตุต่างกันและการกระทำของจำเลยไม่เหมือนกัน แต่ละกรรมเป็นความผิดสำเร็จในตัวเองจึงเป็นความผิดหลายกรรม มิใช่เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทที่ศาลจะต้องลงโทษตาม ป.อ.มาตรา 328 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ.มาตรา 90เมื่อปรากฏว่าความผิดตามฟ้องข้อ 1 เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 326 ซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 15 ประกอบด้วยมาตรา 22 (5) ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงก็ชอบที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับความผิดตาม ป.อ.มาตรา 326 ตามฟ้องข้อ 1 นี้ได้ โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้วมีคำสั่งไปตามรูปคดี แม้ว่าความผิดตามฟ้องข้อ 2 และข้อ 3 จะเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 328 ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท เกินอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2887/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวงพิจารณาคดีหมิ่นประมาท: แยกความผิดเป็นกรรมต่างได้ หากมีโทษไม่เกินอำนาจ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา326,328,83ต่อศาลแขวงโดยบรรยายฟ้องแยกเป็น3ข้อแต่ละข้อวันเวลาเกิดเหตุต่างกันและการกระทำของจำเลยไม่เหมือนกันแต่ละกรรมเป็นความผิดสำเร็จในตัวเองจึงเป็นความผิดหลายกรรมมิใช่เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทที่ศาลจะต้องลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา328ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา90เมื่อปรากฏว่าความผิดฟ้องข้อ1เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา326ซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา15ประกอบด้วยมาตรา22(5)ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงก็ชอบที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา326ตามฟ้องข้อ1นี้ได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้วมีคำสั่งไปตามรูปคดีแม้ว่าความผิดตามฟ้องข้อ2และข้อ3จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา328ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกิน200,000บาทเกินอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9426/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาเพื่อขอความเป็นธรรมในการประกวดราคา ไม่ถือเป็นการหมิ่นประมาท
การกระทำของโจทก์ทำให้จำเลยทั้งสองมีความรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม จำเลยทั้งสองทำหนังสือร้องเรียนโจทก์ต่อผู้มีอำนาจเหนือกว่า ทำนองว่าโจทก์ใช้อิทธิพลบีบบังคับคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาอนุมัติให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. เป็นผู้ได้งาน การที่โจทก์เป็นผู้บังคับบัญชาและเป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาและเป็นผู้ชี้ขาดในการประชุมในความเข้าใจของบุคคลทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งจำเลยทั้งสองซึ่งได้รับผลกระทบจากการกระทำของโจทก์ ย่อมมีสิทธิแสดงความคิดเห็นและเสนอความคิดเห็นไปยังผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่าโจทก์พิจารณาให้ความเป็นธรรมได้โดยเชื่อว่าโจทก์มีพฤติการณ์ตามนั้นจริง จึงเป็นการกระทำเพื่อความชอบธรรมป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329(1) การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6990/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใส่ความหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การติชมด้วยความเป็นธรรม vs. การยืนยันข้อเท็จจริงที่เป็นเท็จ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า วันที่ 23 ธันวาคม 2532 เวลากลางวันจำเลยที่ 1 ใส่ความโจทก์ด้วยข้อความอันเป็นเท็จ โดยให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ว่า "อย่างไรก็ตาม ได้รับเอกสารสำคัญที่ชี้ให้เห็นว่า ส.ส.พรรครัฐบาลเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งคนงานไปประเทศญี่ปุ่น 4 คน คือ นายไชยยศ จิรเมธากร (โจทก์)ส.ส. อุดรธานี นายสุรชาติ ชำนาญศิลป์ ส.ส. อุดรธานี นายอุดร ทองน้อย ส.ส.ยโสธร และนายประณต เสริฐวิชา ส.ส. ร้อยเอ็ด ทั้ง 4 คน เป็น ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ตนมีหลักฐานต่าง ๆ พร้อมแล้ว และพร้อมที่จะไปพิสูจน์กันในศาล หากต้องการ" โดยจำเลยที่ 1 มีเจตนาที่จะให้หนังสือพิมพ์ลงพิมพ์ข้อความที่จำเลยที่ 1ให้สัมภาษณ์เพื่อเผยแพร่ต่อประชาชนทั่วไป ข้อความที่จำเลยที่ 1 ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ดังกล่าวเป็นการแสดงความคิดเห็นติชมด้วยความเป็นธรรมว่า โจทก์เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งคนงานไปทำงานในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น ไม่มีข้อความตอนใดที่บ่งชี้ว่า โจทก์ได้ร่วมกับผู้มีชื่อหลอกลวงคนงานให้ไปทำงานในประเทศญี่ปุ่นอันแสดงว่าโจทก์เป็นบุคคลทุจริตหรือประพฤติมิชอบหรือไม่เหมาะสมแก่เกียรติศักดิ์ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่ประการใด ทั้งไม่อาจเข้าใจได้ว่า โจทก์มีส่วนร่วมในการฉ้อโกงแรงงานดังกล่าว ข้อความที่จำเลยที่ 1 ให้สัมภาษณ์นั้นยังไม่ถือว่าเป็นการใส่ความโดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง
จำเลยที่ 1 ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ว่า โจทก์เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งคนงานไปประเทศญี่ปุ่น และจำเลยที่ 2 นำข้อความที่จำเลยที่ 1ให้สัมภาษณ์ไปลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ โดยพาดหัวข่าวว่า "แฉ 4 ส.ส. ประชาธิปัตย์พัวพันตุ๋นคนงานไปประเทศญี่ปุ่น" ซึ่งข้อความที่พาดหัวข่าวในหนังสือพิมพ์ที่จำเลยที่ 2นำไปลงพิมพ์นั้น ไม่ตรงกับข้อความที่จำเลยที่ 1 ให้สัมภาษณ์ ทั้งเนื้อข่าวที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวก็ตีพิมพ์แต่เพียงว่า จำเลยที่ 1 ให้สัมภาษณ์ว่า มีหลักฐานว่าโจทก์เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งคนงานไปประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น จำเลยที่ 2มิได้อ้างข้อความจริงใดเลยในการแสดงความคิดเห็นในการพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์เช่นนั้น และข้อความที่จำเลยที่ 2 ลงพิมพ์พาดหัวข่าวก็เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงเพื่อให้ประชาชนผู้อ่านหนังสือพิมพ์ทุกคนเชื่อว่า โจทก์มีส่วนร่วมทุจริตฉ้อโกงแรงงานราษฎร ไม่เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ จึงเป็นการใส่ความหมิ่นประมาทโจทก์ ทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 328
ศาลล่างทั้งสองให้โฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์โดยไม่ได้ระบุว่าให้โฆษณาคำพิพากษาในลักษณะใด ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ชัดแจ้ง และเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี จึงให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 ที่มิได้อุทธรณ์ฎีกา และจำเลยที่ 4ที่มิได้ฎีกาด้วย ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213 และมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6990/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การพาดหัวข่าวเกินเลยถือเป็นความผิด แม้เนื้อข่าวไม่เกินเลย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าวันที่23ธันวาคม2532เวลากลางวันจำเลยที่1ใส่ความโจทก์ด้วยข้อความอันเป็นเท็จโดยให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ว่า"อย่างไรก็ตามได้รับเอกสารสำคัญที่ชี้ให้เห็นว่าส.ส.พรรครัฐบาลเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งคนงานไปประเทศญี่ปุ่น4คนคือนายไชยยศจิรเมธากร (โจทก์)ส.ส.อุดรธานีนายอุดรทองน้อยส.ส.ยโสธรและนายประณตเสริฐวิชา ส.ส.ร้อยเอ็ดทั้ง4คนเป็นส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ตนมีหลักฐานต่างๆพร้อมแล้วและพร้อมที่จะไปพิสูจน์กันในศาลหากต้องการ"โดยจำเลยที่1มีเจตนาที่จะให้หนังสือพิมพ์ลงพิมพ์ข้อความที่จำเลยที่1ให้สัมภาษณ์เพื่อเผยแพร่ต่อประชาชนทั่วไปข้อความที่จำเลยที่1ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ดังกล่าวเป็นการแสดงความคิดเห็นติชมด้วยความเป็นธรรมว่าโจทก์เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งคนงานไปทำงานในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้นไม่มีข้อความตอนใดที่บ่งชี้ว่าโจทก์ได้ร่วมกับผู้มีชื่อหลอกลวงคนงานให้ไปทำงานในประเทศญี่ปุ่นแสดงว่าโจทก์เป็นบุคคลทุจริตหรือประพฤติมิชอบหรือไม่เหมาะสมแก่เกียรติศักดิ์ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่ประการใดทั้งไม่อาจเข้าใจได้ว่าโจทก์มีส่วนร่วมในการฉ้อโกงแรงงานดังกล่าวข้อความที่จำเลยที่1ให้สัมภาษณ์นั้นยังไม่ถือว่าเป็นการใส่ความโดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง จำเลยที่1ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ว่าโจทก์เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งคนงานไปประเทศญี่ปุ่นและจำเลยที่2นำข้อความที่จำเลยที่1ให้สัมภาษณ์ไปลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์โดยพาดหัวข่าวว่า"แฉ4ส.ส.ประชาธิปัตย์"พัวพันตุ๋นคนงานไปประเทศญี่ปุ่น"ซึ่งข้อความที่พาดหัวข่าวในหนังสือพิพม์ที่จำเลยที่2นำไปลงพิมพ์นั้นไม่ตรงกับข้อความที่จำเลยที่1ให้สัมภาษณ์ทั้งเนื้อข่าวที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวก็ตีพิมพ์แต่เพียงว่าจำเลยที่1ให้สัมภาษณ์ว่ามีหลักฐานว่าโจทก์เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งคนงานไปประเทศญี่ปุ่นเท่านั้นจำเลยที่2มิได้อ้างข้อความจริงใดเลยในการแสดงความคิดเห็นในการพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์เช่นนั้นและข้อความที่จำเลยที่2ลงพิมพ์พาดหัวข่าวก็เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงเพื่อให้ประชาชนผู้อ่านหนังสือพิมพ์ทุกคนเชื่อว่าโจทก์มีส่วนร่วมทุจริตฉ้อโกงแรงงานราษฎรไม่เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำจึงเป็นการใส่ความหมิ่นประมาทโจทก์ทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังจำเลยที่2จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา328 ศาลล่างทั้งสองให้โฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์โดยไม่ได้ระบุว่าให้โฆษณาคำพิพากษาในลักษณะใดศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ชัดแจ้งและเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดีจึงให้มีผลถึงจำเลยที่3ที่มิได้อุทธรณ์ฎีกาและจำเลยที่4ที่มิได้ฎีกาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา213และมาตรา225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6310/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวเพื่อแจ้งเรื่องวินัยข้าราชการ ไม่ถือเป็นการหมิ่นประมาท หากกระทำโดยสุจริตและเป็นวิสัยของประชาชน
จำเลยนำแถบบันทึกเสียงที่มีผู้สนทนากันกล่าวถึงผู้เสียหายทั้งสองมีพฤติกรรมในทางชู้สาวต่อกันที่โรงเรียนที่ผู้เสียหายทั้งสองสอนอยู่ไปเปิดให้นาย ส.ม.หัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอกับพวกฟังที่บ้านของนาย ส.ม.โดยเกิดจากการแนะนำของนาย ส.กับนายส.ม. และผู้ร่วมฟังแถบบันทึกเสียงก็เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับวงการศึกษาทั้งสิ้น ทั้งไม่ใช่เปิดในที่สาธารณสถานเป็นทำนองปรึกษาหารือกันว่าจะทำอย่างไรต่อไป เพราะหากผู้เสียหายทั้งสองกระทำการในทางชู้สาวจริง นอกจากจะผิดต่อศีลธรรมแล้วยังผิดในทางวินัยข้าราชการอีกด้วย เนื่องจากผู้เสียหายทั้งสองต่างรับราชการเป็นครูและต่างมีสามีและภรรยาแล้ว ดังนั้น การกระทำดังกล่าวจึงไม่มีเจตนาที่จะใส่ความผู้เสียหายทั้งสองให้ถูกดูหมิ่นเกลียดชังหรือเสียหาย แต่เป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำจำเลยไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท
of 47